ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 50 คน
 สถิติเมื่อวาน 26 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
749 คน
6120 คน
379436 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ







ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 869 ถึง มาตราที่ 1,755

หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 869 อันคำว่า "วินาศภัย" ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอา ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้

มาตรา 870 ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันเพื่อความวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกัน ภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับ ประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศจริง เท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศจริงแบ่งตาม ส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประกันภัยไว้

อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ ทำพร้อมกัน

ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองราย หรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็น
ลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัย ก่อนถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้ม จำนวนวินาศภัยไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ ยังขาดอยู่นั้นต่อ ๆ กันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ

มาตรา 871 ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันก็ดี หรือสืบเนื่องเป็นลำดับกันก็ดี ท่านว่าการที่ย่อมสละสิทธิ อันมีต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่งนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ ของผู้รับประกันภัยรายอื่น ๆ

มาตรา 872 ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญา เสียก็ได้ แต่ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยกึ่งจำนวน

มาตรา 873 ถ้าในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้น มูลประกันภัย ได้ลดน้อยถอยลงไปหนักไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลด จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ และลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย

การลดจำนวนเบี้ยประกันนั้น ให้เป็นผลต่อในอนาคต

มาตรา 874 ถ้าคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ผู้รับ ประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน ก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำนวนสูงเกิน ไปหนัก และคืนจำนวนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย

มาตรา 875 ถ้าวัตถุอันได้ประกันภัยไว้นั้น เปลี่ยนมือไปจากผู้ เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยบัญญัติกฎหมายก็ดี ท่านว่า สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยก็ย่อมโอนตามไปด้วย

ถ้าในสัญญามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอน วัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัยไซร้ ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย อนึ่ง ถ้าในการโอนเช่นนี้ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มขึ้นหนักไซร้ ท่านว่าสัญญาประกันภัยนั้นกลายเป็นโมฆะ

มาตรา 876 ถ้าผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือ จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

ถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายท่านให้ใช้ วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดี ถ้าเบี้ยประกันภัย ได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง

มาตรา 877 ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดั่งจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ
(1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
(2) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สิน ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
(3) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ

อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่ง เหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่งจำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคา เช่นว่านั้นท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอา ประกันภัยไว้

มาตรา 878 ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับ ประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้

มาตรา 879 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัย หรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ ประโยชน์

ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผลโดยตรง มาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่ จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

มาตรา 880 ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของ บุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวน เพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และ ของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น

ถ้าผู้รับประกันภัย ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้น ใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอา ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น

มาตรา 881 ถ้าความวินาศเกิดขึ้นเพราะภัยมีขึ้นดั่งผู้รับประกันภัย ตกลงประกันภัยไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบ ความวินาศนั้นแล้วต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้าถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัย อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิด แต่การนั้นได้เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้

มาตรา 882 ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้อง คดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย

ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อ พ้นเวลาสองปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด

ส่วนที่ 2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน

มาตรา 883 อันสัญญาประกันภัยในการรับขนนั้น ย่อมคุ้มถึงความ วินาศภัยทุกอย่าง ซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ ขนส่งได้รับของไป จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง และจำนวนค่า สินไหมทดแทนนั้นย่อมกำหนดตามที่ของซึ่งขนส่งนั้นจะได้มีราคาเมื่อ ถึงตำบลอันกำหนดให้ส่ง

มาตรา 884 ถ้าของซึ่งขนส่งนั้นเอาประกันภัยเมื่ออยู่ในระหว่างส่ง เดินทางไป ท่านให้คิดมูลประกันภัยในของนั้นนับรวมทั้งราคาของ ณ สถานที่และในเวลาที่ผู้ขนส่งได้รับของ และให้เพิ่มค่าระวางส่งของไป ยังสถานที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องด้วยการ ส่งของไปนั้นเข้าด้วย

กำไรอันจะพึงได้ในเวลา เมื่อส่งมอบของนั้นย่อมจะคิดรวมเข้าเป็น มูลประกันภัยได้ต่อเมื่อได้มีข้อตกลงกันไว้เช่นนั้นชัดแจ้ง

มาตรา 885 อันสัญญาประกันภัยในการรับขนนั้น ถึงแม้การขนส่ง จะต้องสะดุดหยุดลงชั่วขณะ หรือจะต้องเปลี่ยนทางหรือเปลี่ยนวิธี ขนส่งอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเหตุจำเป็นในระหว่างส่งเดินทางก็ดี ท่านว่าสัญญานั้นก็ย่อมคงเป็นอันสมบูรณ์อยู่ เว้นแต่จะได้ระบุไว้ใน สัญญาเป็นอย่างอื่น

มาตรา 886 อันกรมธรรม์ประกันภัยในการรับขนนั้น นอกจากที่ ได้ระบุไว้แล้วใน มาตรา 867 ต้องมีรายการเพิ่มขึ้นอีกดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ระบุทางและวิธีขนส่ง
(2) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ขนส่ง
(3) สถานที่ซึ่งกำหนดให้รับและส่งมอบของ
(4) กำหนดระยะเวลาขนส่งตามแต่มี

ส่วนที่ 3 ประกันภัยค้ำจุน

มาตรา 887 อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้ รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัย จะต้องรับผิดชอบ

บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควร จะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้ หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตาม สัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย นั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย

อนึ่ง ผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอา ประกันภัยแล้ว ก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้อง เสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอา ประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว

มาตรา 888 ถ้าค่าสินไหมทดแทนอันผู้รับประกันภัยได้ใช้ไป โดยคำพิพากษานั้นยังไม่คุ้มค่าวินาศภัยเต็มจำนวนไซร้ ท่านว่าผู้เอา ประกันภัยก็ยังคงต้องรับใช้จำนวนที่ยังขาด เว้นไว้แต่บุคคลผู้ต้อง เสียหายจะได้ละเลยเสียไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วย ดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา ก่อน
หมวด 3 ประกันชีวิต

มาตรา 889 ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัย ความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง

มาตรา 890 จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น จะชำระเป็นเงินจำนวนเดียว หรือเป็นเงินรายปีก็ได้ สุดแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคู่สัญญา

มาตรา 891 แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์ เองก็ดีผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้ แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น

ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยได้ทำเป็นรูปให้ใช้เงินตามเขาสั่งแล้ว ท่าน ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 309 มาใช้บังคับ

มาตรา 892 ในกรณีบอกล้างสัญญาตามความใน มาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอา ประกันภัย หรือทายาทของผู้นั้น

มาตรา 893 การใช้เงินอาศัยเหตุความทรงชีพ หรือมรณะของ บุคคลผู้ใด แม้ได้แถลงอายุของบุคคลผู้นั้นได้คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ได้กำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัยไว้ต่ำไซร้ ท่านให้ลดจำนวน เงินอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้นั้นลงตามส่วน

แต่ถ้าผู้รับประกันภัยพิสูจน์ได้ว่า ในขณะที่ทำสัญญานั้นอายุที่ ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติของเขาแล้ว ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัย เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและ ได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปีไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือรับกรมธรรม์ใช้ เงินสำเร็จจากผู้รับ ประกันภัย

มาตรา 895 เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคล คนหนึ่งคนใดท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัย อันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
(1) บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่ง นับแต่วันทำสัญญา หรือ
(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาในกรณีที่ 2 นี้ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น

 

มาตรา 896 มรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอก นั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะ ในอันจะได้ค่าสินไหม ทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจำนวนเงิน อันพึงจะใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะหวนกลับมาได้แก่ตนด้วย

มาตรา 897 ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนด ว่าเมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดย มิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่าน ให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันซึ่ง เจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้

ถ้าได้เอาประกันภัยไว้ โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลใดบุคคล หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้น จัดเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่ง กองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้

ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 898 อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมาย นี้มีสามประเภท ๆ หนึ่งคือ ตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือ ตั๋วสัญญา ใช้เงิน ประเภทหนึ่งคือเช็ค

มาตรา 899 ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่

มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมี พยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน นั้นไม่

มาตรา 901 ถ้าบุคคลคนใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน และมิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้น ย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา 902 ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้น ซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

มาตรา 903 ในการใช้เงินตามตั๋วเงิน ท่านมิให้ให้วันผ่อน

มาตรา 904 อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา 905 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลัง ไปอีกท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้นเป็นผู้ได้ซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่ง คำสลักหลัง เมื่อขีดฆ่าเสียแล้ว ท่านให้ถือว่าเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดั่งกล่าวมาใน วรรคก่อนนั้น หาจำต้องสลักตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่ง ข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

มาตรา 906 คำว่าคู่สัญญาคนก่อน ๆ นั้น รวมทั้งผู้สั่งจ่ายหรือ ผู้ออกตั๋วเงินและผู้สลักหลังคนก่อน ๆ ด้วย

มาตรา 907 เมื่อใดไม่มีที่ในตั๋วเงินซึ่งจะสลักหลังได้ต่อไปไซร้ ท่านอนุญาตให้เอากระดาษแผ่นหนึ่งผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงินเรียกว่าใบประจำต่อนับเป็นส่วนหนึ่งแห่งตั๋วเงินนั้น

การสลักหลังในใบประจำต่อครั้งแรกต้องเขียนคาบบนตั๋วเงินเดิมบ้าง บนใบประจำต่อบ้าง

หมวด 2 ตั๋วแลกเงิน ส่วนที่ 1 การออกและการสลักหลังตั๋วแลกเงิน

มาตรา 908 อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง แก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน

มาตรา 909 อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
(4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
(5) สถานที่ใช้เงิน
(6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
(7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
(8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา 910 ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบัง คับไว้ใน มาตรา ก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่กรณีดั่งจะกล่าว ดังต่อไปนี้ คือ

ตั๋วแลกเงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น

ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของ ผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน

ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย

ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย คนหนึ่งคนใดทำ การโดยสุจริต จะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

มาตรา 911 ผู้สั่งจ่ายจะเขียนข้อความกำหนดลงไว้ว่าจำนวนเงินอันจะ พึงใช้นั้นให้คิดดอกเบี้ยด้วยก็ได้ และในกรณีเช่นนั้น ถ้ามิได้กล่าวลงไว้เป็น อย่างอื่น ท่านว่าดอกเบี้ยย่อมคิดแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน

มาตรา 912 อันตั๋วแลกเงินนั้นจะออกสั่งให้ใช้เงินตามคำสั่งของ ผู้สั่งจ่ายก็ได้

อนึ่ง จะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเอง หรือสั่งจ่ายเพื่อบุคคล ภายนอกก็ได้

มาตรา 913 อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น ท่านว่าย่อมเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น

มาตรา 914 บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอัน สัญญาว่าเมื่อตั๋วนั้นได้นำยื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรอง และใช้เงินตาม เนื้อความแห่งตั๋วถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรอง ก็ดีหรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น ถ้า หากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา 915 ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดีจะจด ข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้ คือ
(1) ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรง ตั๋วเงิน
(2) ข้อกำหนดยอมลดละให้แก่ผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหน้าที่ทั้งหลาย อันผู้ทรงจะพึงต้องมีแก่ตนบางอย่างหรือทั้งหมด

มาตรา 916 บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะ ต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกัน เฉพาะบุคคลระหว่าง ตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะ ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

มาตรา 917 อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่ บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดั่งนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการ โอนสามัญ

อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋ว นั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายใด แห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงิน นั้นต่อไปอีกได้

มาตรา 918 ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อม โอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน

มาตรา 919 คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำ ต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไร ยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ในประจำต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกันการ สลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า "สลักหลังลอย"

มาตรา 920 อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ ตั๋วแลกเงิน

ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดั่งกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่ง ประการใดก็ ได้ คือ
(1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่น ผู้ใดผู้หนึ่ง
(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้ แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอก โดยไม่กรอกความลง ในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อม เป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา 922 การสลักหลังนั้นต้องให้เป็นข้อความอันปราศจากเงื่อนไข ถ้าและวางเงื่อนไขบังคับลงไว้อย่างใด ท่านให้ถือเสมือนว่าข้อเงื่อนไขนั้น มิได้เขียนลงไว้เลย

อนึ่ง การสลักหลังโอนแต่บางส่วน ท่านว่าเป็นโมฆะ

มาตรา 923 ผู้สลักหลังคนใดระบุข้อความห้ามสลักหลังสืบไปลง ไว้แล้วผู้สลักหลังคนนั้นย่อมไม่ต้องรับผิดต่อบุคคล อันเขาสลักหลัง ตั๋วแลกเงินนั้นให้ไปในภายหลัง

มาตรา 924 ถ้าตั๋วแลกเงินสลักหลังต่อเมื่อสิ้นเวลาเพื่อคัดค้านการ ไม่รับรอง หรือการไม่ใช้เงินนั้นแล้วไซร้ ท่านว่าผู้รับสลักหลังย่อมได้ไป ซึ่งสิทธิแห่งการรับรองตามแต่มีต่อผู้จ่าย กับสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดา ผู้ซึ่งสลักหลังตั๋วเงินนั้นภายหลังที่สิ้นเวลาเช่นนั้น

แต่ถ้าตั๋วเงินนั้นได้มีคัดค้านการไม่รับรอง หรือการไม่ใช้เงินมาแต่ ก่อนสลักหลังแล้วไซร้ ท่านว่าผู้รับสลักหลังย่อมได้ไปแต่เพียงสิทธิของ ผู้ซึ่งสลักหลังให้แก่ตนอันมีต่อผู้รับรอง ต่อผู้สั่งจ่าย และต่อบรรดาผู้ที่ สลักหลังตั๋วเงินนั้นมาก่อนย้อนขึ้นไปจนถึงเวลาคัดค้านเท่านั้น

มาตรา 925 เมื่อใดความที่สลักหลังมีข้อกำหนดว่า "ราคาอยู่ที่เรียก เก็บ" ก็ดี "เพื่อเรียกเก็บ" ก็ดี "ในฐานจัดการแทน" ก็ดี หรือความสำนวน อื่นใดอันเป็นปริยายว่าตัวแทนไซร้ ท่านว่าผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิ ทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นก็ย่อมได้ทั้งสิ้น แต่ว่าจะสลักหลังได้เพียงในฐาน เป็นตัวแทน

ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดอาจจะต่อสู้ผู้ทรงได้ แต่เพียงด้วยข้อต่อสู้อันจะพึงใช้ได้ต่อผู้สลักหลังเท่านั้น

มาตรา 926 เมื่อใดความที่สลักหลังมีข้อกำหนดว่า "ราคาเป็นประกัน" ก็ดี "ราคาเป็นจำนำ" ก็ดี หรือข้อกำหนดอย่างอื่นใดอันเป็นปริยายว่า จำนำไซร้ ท่านว่าผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้น ก็ย่อมได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าผู้ทรงสลักหลังตั๋วนั้น ท่านว่าการสลักหลังย่อม ใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทน

คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้ อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สลักหลังนั้นได้ไม่ เว้นแต่การสลักหลังจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

ส่วนที่ 2 การรับรอง

มาตรา 927 อันตั๋วแลกเงินนั้นจะนำไปยื่นแก่ผู้จ่าย ณ ที่อยู่ของผู้จ่าย เพื่อให้รับรองเมื่อไร ๆ ก็ได้ จนกว่าจะถึงเวลากำหนดใช้เงิน และผู้ทรงจะ เป็นผู้ยื่น หรือเพียงแต่ผู้ที่ได้ตั๋วนั้นไว้ในครอบครองจะเป็นผู้นำไปยื่นก็ได้

ในตั๋วแลกเงินนั้น ผู้สั่งจ่ายจะลงข้อกำหนดไว้ว่าให้นำยื่นเพื่อรับรองโดย กำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ยื่น หรือไม่กำหนดเวลาก็ได้

ผู้สั่งจ่ายจะห้ามการนำตั๋วแลกเงินยื่นเพื่อรับรองก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่
เป็นตั๋วเงินอันได้ออกสั่งให้ใช้เงินเฉพาะ ณ สถานที่อื่นใดอันมิใช่ภูมิลำเนาของ ผู้จ่าย หรือได้ออกสั่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่ง นับแต่ได้เห็น

อนึ่ง ผู้สั่งจ่ายจะลงข้อกำหนดไว้ว่ายังมิให้นำตั๋วยื่นเพื่อให้รับรองก่อน ถึงกำหนดวันใดวันหนึ่งก็ได้

ผู้สลักหลังทุกคนจะลงข้อกำหนดไว้ว่า ให้นำตั๋วเงินยื่นเพื่อรับรองโดย กำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ยื่น หรือไม่กำหนดเวลาก็ได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ ห้ามการรับรอง

มาตรา 928 ผู้ทรงตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนด อย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่ได้เห็นนั้น ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายใน หกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน หรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้

มาตรา 929 ภายในบังคับบทบัญญัติ มาตรา 927 ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน มีสิทธิที่จะยื่นตั๋วเงินแก่ผู้จ่ายได้ในทันใดเพื่อให้รับรอง ถ้าและเขาไม่ รับรองภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงไซร้ ผู้ทรงก็มีสิทธิที่จะคัดค้าน

มาตรา 930 ในการยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองนั้น ผู้ทรง ไม่จำต้องปล่อยตั๋วนั้นให้ไว้ในมือผู้จ่าย

อนึ่ง ผู้จ่ายจะเรียกให้ยื่นตั๋วแลกเงินอีกเป็นครั้งที่สองในวันรุ่งขึ้น แต่วันที่ยื่นครั้งแรกนั้นก็ได้ ท่านห้ามมิให้คู่กรณีที่มีส่วนได้เสียยกเอา การที่มีอนุวรรตน์ตามคำเรียกอันนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่การเรียก นั้นได้ระบุในคำคัดค้าน

มาตรา 931 การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้า แห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำสำนวนว่า "รับรองแล้ว" หรือความอย่าง อื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย อนึ่งแต่เพียง ลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ท่านก็จัดว่าเป็น คำรับรองแล้ว

มาตรา 932 ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลา อย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ก็ดี หรือตั๋วเงินฉบับใดสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่ง นับแต่ได้เห็น แต่หากคำรับรองตั๋วนั้นมิได้ลงวันไว้ก็ดี ตั๋วแลกเงิน เช่นว่ามานี้ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋วหรือวันรับรองลงตามที่แท้จริง ก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น

อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวัน คลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิด และในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่า ในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตั๋วเงินจะเสียไปเพราะเหตุก็หาไม่ ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้ และ พึงใช้เงินกันเสมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง

มาตรา 933 ถ้าการรับรองมิได้ลงวัน ท่านให้ถือเอาวันสุดท้าย แห่งระยะเวลาอันกำหนดไว้เพื่อรับรองนั้นเป็นวันรับรอง

มาตรา 934 ถ้าผู้จ่ายเขียนคำรับรองลงในตั๋วแลกเงินแล้ว แต่หาก กลับขีดฆ่าเสียก่อนตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นไปจากมือตนไซร้ ท่านให้ถือเป็น อันว่าได้บอกปัดไม่รับรอง แต่ถ้าผู้จ่ายได้แจ้งความเป็นหนังสือไปยัง ผู้ทรง หรือคู่สัญญาฝ่ายอื่นซึ่งได้ลงนามในตั๋วเงินว่าตนรับรองตั๋วเงิน นั้นก่อนแล้วจึ่งมาขีดฆ่าคำรับรองต่อภายหลังไซร้ ท่านว่าผู้จ่ายก็คง ต้องผูกพันอยู่ตามเนื้อความที่ตนได้เขียนรับรองนั้นเอง

มาตรา 935 อันการรับรองนั้นย่อมมีได้สองสถาน คือรับรองตลอดไป หรือรับรองเบี่ยงบ่าย

การรับรองตลอดไป คือยอมตกลงโดยไม่แก้แย้งคำสั่งของผู้สั่งจ่ายแต่ อย่างหนึ่งอย่างใดเลย

ส่วนการรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น กล่าวเป็นเนื้อความทำผลแห่งตั๋วเงินให้ แผกไปจากที่เขียนสั่งไว้

กล่าวโดยเฉพาะก็คือว่า ถ้าคำรับรองมีเงื่อนไขก็ดี หรือรับรองแต่เพียง บางส่วนก็ดี ท่านว่าเป็นรับรองเบี่ยงบ่าย

มาตรา 936 คำรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะบอกปัดเสีย ก็ได้ และถ้าไม่ได้คำรับรองอันไม่เบี่ยงบ่าย จะถือเอาตั๋วเงินนั้นเป็นอันขาด ความเชื่อถือรับรองก็ได้

ถ้าผู้ทรงรับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่าย และผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังมิได้ให้ อำนาจแก่ผู้ทรงโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้รับเอาคำรับรองเบี่ยง บ่ายเช่นนั้นก็ดีหรือไม่ยินยอมด้วยในภายหลังก็ดี ท่านว่าผู้สั่งจ่ายหรือ ผู้สลักหลังนั้นๆย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋วเงินนั้น แต่บท บัญญัติทั้งนี้ท่านมิให้ใช้ไปถึงการรับรองแต่บางส่วน ซึ่งได้บอกกล่าว ก่อนแล้วโดยชอบ

ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วเงินรับคำบอกกล่าวการรับรองเบี่ยงบ่าย แล้วไม่โต้แย้งไปยังผู้ทรงภายในเวลาอันสมควร ท่านให้ถือว่าผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังนั้นเป็นอันได้ยินยอมด้วยกับการนั้นแล้ว

มาตรา 937 ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพัน ในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน

ส่วนที่ 3 อาวัล

มาตรา 938 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า "อาวัล"

อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญา แห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

มาตรา 939 อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วแลก เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ

ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินท่าน ก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย

ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือ ว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน

แม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

ส่วนที่ 4 การใช้เงิน

มาตรา 941 อันตั๋วแลกเงินนั้น ย่อมจะพึงใช้เงินในวันถึงกำหนด และถึงกำหนดวันใดผู้ทรงต้องนำตั๋วเงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันนั้น

มาตรา 942 อันจะบังคับให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินรับใช้ก่อนตั๋วเงินถึง กำหนดนั้น ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่

อนึ่ง ผู้จ่ายคนใดใช้เงินไปแต่ก่อนเวลาตั๋วเงินถึงกำหนด ท่านว่า ย่อมทำเช่นนั้นด้วยเสี่ยงเคราะห์ของตนเอง

มาตรา 943 อันการถึงกำหนดแห่งตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินเมื่อ สิ้นระยะเวลาอันใดอันหนึ่งนับแต่วันได้เห็นนั้น ท่านให้กำหนดนับแต่วัน รับรองหรือวันคัดค้าน

ถ้าไม่มีคำคัดค้าน และคำรับรองมิได้ลงวัน ท่านให้ถือว่าผู้รับรอง ได้ให้คำรับรองนั้นในวันท้ายแห่งกำหนดเวลาซึ่งจำกัดไว้ตามกฎหมาย หรือตามสัญญาเพื่อการยื่นตั๋วนั้น

มาตรา 944 อันตั๋วแลกเงินซึ่งให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นนั้น ท่านว่าย่อม จะพึงใช้เงินในวันเมื่อยื่นตั๋ว ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลา ซึ่งบังคับไว้ เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายหลังได้เห็นนั้น

มาตรา 945 การใช้เงินจะเรียกเอาได้ต่อเมื่อเวนตั๋วแลกเงินให้ ผู้ใช้เงินจะให้ผู้ทรงลงลายมือชื่อรับเงินในตั๋วเงินนั้นก็ได้

มาตรา 946 อันตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าเขาจะใช้เงินให้แต่เพียงบางส่วน ท่านว่าผู้ทรงจะบอกปัดเสียไม่ยอมรับเอาก็ได้

ถ้าและรับเอาเงินที่เขาใช้แต่เพียงบางส่วน ผู้ทรงต้องบันทึกข้อความ นั้นลงไว้ในตั๋วเงิน และส่งมอบใบรับให้แก่ผู้ใช้เงิน

มาตรา 947 ถ้าตั๋วแลกเงินมิได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนดไซร้ ท่านว่าผู้รับรองจะเปลื้องตนให้พ้นจากความรับผิด โดยวางจำนวนเงินที่ ค้างชำระตามตั๋วนั้นไว้ก็ได้

มาตรา 948 ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่ายไซร้ท่านว่า ผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อน ๆ ซึ่งมิได้ตกลงใน การผ่อนเวลานั้น

มาตรา 949 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง อนึ่ง บุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการ สลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือ ชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง

ส่วนที่ 5 การสอดเข้าแก้หน้า

มาตรา 950 ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะระบุบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดก็ไว้ ก็ได้เป็นผู้จะรับรอง หรือใช้เงินยามประสงค์ ณ สถานที่ใช้เงิน

ภายในเงื่อนบังคับดั่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดจะรับ รองหรือใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน ในฐานเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าบุคคลใด ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วนั้นก็ได้

ผู้สอดเข้าแก้หน้านั้นจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ แม้จะเป็นผู้จ่าย หรือบุคคลซึ่งต้องรับผิดโดยตั๋วเงินนั้นอยู่แล้วก็ได้ ห้ามแต่ผู้รับรอง เท่านั้น

ผู้สอดเข้าแก้หน้าจำต้องให้คำบอกกล่าวโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้านั้นทราบการที่ตนเข้าแก้หน้า

ส่วนที่5 การสอดเข้าแก้หน้า*(1) การรับรองเพื่อแก้หน้า

มาตรา 951 การรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้า ย่อมมีได้ในบรรดากรณี ซึ่งผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยได้ก่อนถึงกำหนดตามตั๋วเงิน อันเป็นตั๋วสามารถ จะรับรองได้

การรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้านั้น ผู้ทรงจะบอกปัดเสียก็ได้ แม้ถึงว่าบุคคลผู้ซึ่งบ่งไว้ว่าจะเป็นผู้รับรอง หรือใช้เงินยามประสงค์นั้น จะเป็นผู้เสนอเข้ารับรองก็บอกปัดได้

ถ้าผู้ทรงยอมให้เข้ารับรองแล้ว ผู้ทรงย่อมเสียสิทธิไล่เบี้ยก่อนถึง กำหนดเอาแก่คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตน

มาตรา 952 อันการรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้านั้น ย่อมทำด้วย เขียนระบุความลงบนตั๋วแลกเงิน และลงลายมือชื่อของผู้สอดเข้า แก้หน้าเป็นสำคัญอนึ่งต้องระบุลงไว้ว่าการรับรองนั้นทำให้เพื่อผู้ใด ถ้ามิได้ระบุไว้เช่นนั้นท่านให้ถือว่าทำให้เพื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา 953 ผู้รับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้าย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตั๋วเงินนั้น และรับผิดต่อผู้สลักหลังทั้งหลายภายหลังคู่สัญญาฝ่ายซึ่ง ตนเข้าแก้หน้าอย่างเดียวกันกับที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องรับผิดอยู่เอง

(2) การใช้เงินเพื่อแก้หน้า

มาตรา 954 อันการใช้เงินเพื่อแก้หน้าย่อมมีได้ในบรรดากรณีซึ่ง ผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดหรือก่อนถึงกำหนด

การใช้เงินนั้น ท่านว่าอย่างช้าที่สุดต้องทำในวันรุ่งขึ้นแต่วันท้าย แห่งกำหนดเวลาซึ่งจำกัดอนุญาตไว้ให้ทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงิน

มาตรา 955 ถ้าตั๋วแลกเงินได้รับรองเพื่อแก้หน้าแล้วก็ดี หรือได้ มีตัวบุคคลระบุว่าเป็นผู้จะใช้เงินยามประสงค์แล้วก็ดี ผู้ทรงต้องยื่นตั๋ว เงินนั้นต่อบุคคลนั้น ๆ ณ สถานที่ใช้เงิน และถ้าจำเป็นก็ต้องจัดการทำ คำคัดค้านการไม่ใช้เงินอย่างช้าที่สุดในวันรุ่งขึ้นแต่วันท้ายแห่งกำหนด เวลาอันจำกัดไว้ เพื่อทำคำคัดค้าน

ถ้าไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลานั้น ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ระบุ ตัวผู้ใช้เงินยามประสงค์ หรือคู่สัญญาฝ่ายซึ่งได้มีผู้รับรองตั๋วเงินให้ แล้วนั้นกับทั้งบรรดาผู้สลักหลังในภายหลังย่อมเป็นอันหลุดพ้นจาก ความรับผิด

มาตรา 956 การใช้เงินเพื่อแก้หน้านั้น ใช้เพื่อคู่สัญญาฝ่ายใดต้อง ใช้จงเต็มจำนวนอันคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องใช้ เว้นแต่ค่าชักส่วนลดดั่ง บัญญัติไว้ใน มาตรา 968 (4)

ผู้ทรงคนใดบอกปัดไม่ยอมรับเงินอันเขาใช้ให้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้น ย่อมเสียสิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งพอที่ จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินนั้น

มาตรา 957 การใช้เงินเพื่อแก้หน้าต้องทำให้เป็นหลักฐานด้วย ใบรับเขียนลงในตั๋วแลกเงิน ระบุความว่าได้ใช้เงินเพื่อบุคคลผู้ใด ถ้ามิได้ระบุตัวไว้ดั่งนั้น ท่านให้ถือว่าการใช้เงินนั้นได้ทำไปเพื่อผู้สั่งจ่าย

ตั๋วแลกเงินกับทั้งคำคัดค้านหากว่าได้ทำคัดค้าน ต้องส่งให้แก่ บุคคลผู้ใช้เงินเพื่อแก้หน้า

มาตรา 958 บุคคลผู้ใช้เงินเพื่อแก้หน้าย่อมรับช่วงสิทธิทั้งปวงของ ผู้ทรงอันมีต่อคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนได้ใช้เงินแทนไป และต่อคู่สัญญา ทั้งหลายผู้ต้องรับผิดต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้น แต่หาอาจจะสลักหลังตั๋ว แลกเงินนั้นอีกต่อไปได้ไม่

อนึ่ง บรรดาผู้ซึ่งสลักหลังภายหลังคู่สัญญาฝ่ายซึ่งเขาได้ใช้เงินแทน ไปนั้น ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด

ในกรณีแข่งกันเข้าใช้เงินเพื่อแก้หน้า ท่านว่าการใช้เงินรายใดจะ ให้ผลปลดหนี้มากรายที่สุด พึงนิยมเอารายนั้นเป็นดียิ่ง

ถ้าไม่ดำเนินตามวิธีดั่งกล่าวนี้ ท่านว่าผู้ใช้เงินทั้งที่รู้เช่นนั้นย่อม เสียสิทธิในอันที่จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลทั้งหลาย ซึ่งพอที่จะได้หลุดพ้น จากความรับผิด

:: ส่วนที่6 สิทธิไล่เบี้ยเพราะเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน มาตรา 959-974

มาตรา 959 ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้คือ
(ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน
(ข) ไล่เบี้ยได้แม้ทั้งตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าเขาบอกปัดไม่รับรองตั๋วเงิน
(2) ถ้าผู้จ่ายหากจะได้รับรองหรือไม่ก็ตาม ตกเป็นคนล้มละลาย หรือได้งดเว้นการใช้หนี้ แม้การงดเว้นใช้หนี้นั้นจะมิได้มีคำพิพากษา เป็นหลักฐานก็ตาม หรือถ้าผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้นไร้ผล
(3) ถ้าผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินชนิดไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใดรับรองนั้น ตกเป็นคน ล้มละลาย
มาตรา 960 การที่ตั๋วแลกเงินขาดรับรองหรือขาดใช้เงินนั้น ต้องทำให้ เป็นหลักฐานตามแบบระเบียบด้วยเอกสารฉบับหนึ่ง เรียกว่าคำคัดค้าน
คำคัดค้านการไม่ใช้เงินต้องทำในวันซึ่งจะพึงใช้เงินตามตั๋วนั้น หรือวัน ใดวันหนึ่งภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
คำคัดค้านการไม่รับรองต้องทำภายในจำกัดเวลาซึ่งกำหนดไว้ เพื่อการ ยื่นตั๋วเงินให้เขารับรอง หรือภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
เมื่อมีคำคัดค้านการไม่รับรองขึ้นแล้วก็เป็นอันไม่ต้องยื่นเพื่อให้ใช้เงินและ และไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงิน
ในกรณีทั้งหลายซึ่งกล่าวไว้ใน มาตรา959 ข) (2) นั้น ท่านว่าผู้ทรง ยังหาอาจจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ไม่ จนกว่าจะได้ยื่นตั๋วเงินให้ผู้จ่ายใช้เงินและ ได้ทำคำคัดค้านขึ้นแล้ว
ในกรณีทั้งหลายดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา959 ข) (3) นั้น ท่านว่าถ้าเอา คำพิพากษาซึ่งสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายออกแสดง ก็เป็นการเพียงพอ ที่จะทำให้ผู้ทรงสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยได้
มาตรา 961 คำคัดค้านนั้นให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนนายอำเภอ หรือทนายความผู้ได้รับอนุญาตเพื่อการนี้เป็นผู้ทำ
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็น ไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการออกใบอนุญาตและ การทำคำคัดค้าน รวมทั้งกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น
มาตรา 962 ในคำคัดค้านนั้นนอกจากชื่อ ตำแหน่ง และลายมือชื่อ ของผู้ทำ ต้องมีสำเนาตั๋วเงินกับรายการสลักหลังทั้งหมดตรงถ้อยตรงคำ กับระบุความดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ชื่อ หรือยี่ห้อของบุคคลผู้คัดค้านและผู้ถูกคัดค้าน
(2) มูล หรือเหตุที่ต้องทำคำคัดค้านตั๋วเงิน การทวงถามและคำตอบ ถ้ามี หรือข้อที่ว่าหาตัวผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่พบ
(3) ถ้ามีการรับรอง หรือใช้เงินเพื่อแก้หน้า ให้แถลงลักษณะแห่งการ เข้าแก้หน้าทั้งชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับรองหรือผู้ใช้เงินเพื่อแก้หน้า และชื่อ บุคคลซึ่งเขาเข้าแก้หน้านั้นด้วย
(4) สถานที่และวันทำคำคัดค้าน
ให้ผู้ทำคำคัดค้านส่งมอบคำคัดค้านแก่ผู้ร้องขอให้ทำ และให้ผู้ทำคำ คัดค้านรีบส่งคำบอกกล่าวการคัดค้านนั้นไปยังผู้ถูกคัดค้าน ถ้าทราบ ภูมิลำเนาก็ให้ส่งโดยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ หรือส่งมอบไว้ ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ได้ถ้าไม่ทราบภูมิลำเนาก็ให้ปิดสำเนาคำคัดค้านไว้ ยังที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่ว่าการอำเภอประจำท้องที่อันผู้ถูกคัดค้านมีถิ่น ที่อยู่ครั้งหลังที่สุด 
มาตรา 963 ผู้ทรงต้องให้คำบอกกล่าวการที่เข้าไม่รับรองตั๋วแลกเงิน หรือไม่ใช้เงินนั้นไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปกับทั้งผู้สั่งจ่ายด้วยภายในเวลา สี่วันต่อจากวันคัดค้าน หรือต่อจากวันยื่นตั๋วในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า "ไม่ จำต้องมีคำคัดค้าน"
ผู้สลักหลังทุก ๆ คนต้องให้คำบอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไป ภายในสองวัน ให้ทราบคำบอกกล่าวอันตนได้รับ จดแจ้งให้ทราบชื่อและ สำนักของผู้ที่ได้ให้คำบอกกล่าวมาก่อน ๆ นั้นด้วย ทำเช่นนี้ติดต่อกัน ไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งจำกัดเวลาซึ่งกล่าวมานั้น ท่าน นับแต่เมื่อคนหนึ่ง ๆ ได้รับคำบอกกล่าวแต่คนก่อน
ถ้าผู้สลักหลังคนหนึ่งคนใดมิได้ระบุสำนักของตนไว้ก็ดี หรือได้ระบุ แต่อ่านไม่ได้ความก็ดี ท่านว่าสุดแต่คำบอกกล่าวได้ส่งไปยังผู้สลักหลัง คนก่อนก็เป็นอันพอแล้ว
บุคคลผู้จะต้องให้คำบอกกล่าว จะทำคำบอกกล่าวเป็นรูปอย่างใด ก็ได้ทั้งสิ้น แม้เพียงแต่ด้วยส่งตั๋วแลกเงินคืนก็ใช้ได้ อนึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่า ได้ส่งคำบอกกล่าวภายในเวลากำหนด
ถ้าส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจดทะเบียนไปรษณีย์ หากว่าหนังสือ นั้นได้ส่งไปรษณีย์ภายในเวลากำหนดดั่งกล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้ถือว่า คำบอกกล่าวเป็นอันได้ส่งภายในจำกัดเวลาบังคับแล้ว
บุคคลซึ่งมิได้ให้คำบอกกล่าวภายในจำกัดเวลาดั่งได้ว่ามานั้นหาเสีย สิทธิไล่เบี้ยไม่ แต่จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ ความประมาทเลินเล่อของตน แต่ท่านมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกิน กว่าจำนวนในตั๋วแลกเงิน
มาตรา 964 ด้วยข้อกำหนดเขียนลงไว้ว่า "ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน" ก็ดี"ไม่มีคัดค้าน" ก็ดี หรือสำนวนอื่นใดทำนองนั้นก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลัก หลังจะยอมปลดเปลื้องผู้ทรง จากการทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการ ไม่ใช้เงินก็ได้ เพื่อตนจะได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย
ข้อกำหนดอันนี้ ย่อมไม่ปลดผู้ทรงให้พ้นจากหน้าที่นำตั๋วเงินยื่นภายใน เวลากำหนด หรือจากหน้าที่ให้คำบอกกล่าวตั๋วเงินขาดความเชื่อถือแก่ ผู้สลักหลังคนก่อนหรือผู้สั่งจ่าย อนึ่งหน้าที่นำสืบว่าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตาม กำหนดเวลาจำกัดนั้น ย่อมตกอยู่แก่บุคคลผู้แสวงจะใช้ความข้อนั้นเป็น ข้อต่อสู้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน
ข้อกำหนดอันนี้ ถ้าผู้สั่งจ่ายเป็นผู้เขียนลงไปแล้ว ย่อมเป็นผลตลอด ถึงคู่สัญญาทั้งปวงบรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น ถ้าและทั้งมีข้อ กำหนดดั่งนี้แล้ว ผู้ทรงยังขืนทำคำคัดค้านไซร้ ท่านว่าผู้ทรงต้องเป็นผู้ ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น หากว่าข้อกำหนดนั้นผู้สลักหลังเป็นผู้เขียนลง และถ้ามีคำคัดค้านทำขึ้นไซร้ ท่านว่าค่าใช้จ่ายในการคัดค้านนั้นอาจจะ เรียกเอาใช้ได้จากคู่สัญญาอื่น ๆ บรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงินนั้น
มาตรา 965 ในกรณีตั๋วเงินภายในประเทศ ถ้าผู้จ่ายบันทึกลงไว้ใน ตั๋วแลกเงินเป็นข้อความบอกปัดไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ทั้งลงวันที่ บอกปัดลงลายมือชื่อไว้ด้วยแล้ว ท่านว่าคำคัดค้านนั้นก็เป็นอันไม่จำเป็น ต้องทำ และผู้ทรงต้องส่งคำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือไปยังบุคคลซึ่ง ตนจำนงจะไล่เบี้ยภายในสี่วันต่อจากวันเขาบอกปัดไม่รับรองนั้น
มาตรา 966 คำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือในกรณีไม่รับรองหรือ ไม่ใช้เงินนั้น ต้องมีรายการคือ วันที่ลงในตั๋วแลกเงิน ชื่อหรือยี่ห้อของผู้สั่งจ่ายและของผู้จ่าย จำนวนเงินในตั๋วเงิน วันถึงกำหนดใช้เงินชื่อหรือ ยี่ห้อและสำนักของผู้ทรงตั๋วเงิน วันที่คัดค้านหรือวันที่บอกปัดไม่รับรอง หรือไม่ใช้เงิน กับข้อความว่าเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น
มาตรา 967 ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรอง ก็ดีสลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อ ผู้ทรง
ผู้ทรงย่อมมีสิทธิว่ากล่าวเอาความแก่บรรดาบุคคลเหล่านี้เรียงตัว หรือรวมกันก็ได้ โดยมิพักต้องดำเนินตามลำดับที่คนเหล่านั้นมาต้อง ผูกพัน
สิทธิเช่นเดียวกันนี้ ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน และเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่ แล้วก่อนตน
การว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนหนึ่ง ซึ่งต้องรับผิดย่อมไม่ตัดหน ทางที่จะว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนอื่น ๆ แม้ทั้งจะเป็นฝ่ายอยู่ใน ลำดับภายหลังบุคคลที่ได้ว่ากล่าวเอาความมาก่อน
มาตรา 968 ผู้ทรงจะเรียกร้องเอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่ เบี้ยนั้นก็ได้ คือ
(1) จำนวนเงินในตั๋วแลกเงินซึ่งเขาไม่รับรอง หรือไม่ใช้กับทั้งดอก เบี้ยด้วย หากว่ามีข้อกำหนดไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ย
(2) ดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันถึงกำหนด
(3) ค่าใช้จ่ายในการคัดค้าน และในการส่งคำบอกกล่าวของผู้ทรงไป ยังผู้สลักหลังถัดจากตนขึ้นไปและผู้สั่งจ่าย กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ  (4) ค่าชักส่วนลดซึ่งถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ ท่านให้คิดร้อยละ 1/6 ใน ต้นเงินอันจะพึงใช้ตามตั๋วเงิน และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ท่านมิให้คิดสูง กว่าอัตรานี้
ถ้าใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนด ท่านให้หักลดจำนวนเงินในตั๋วเงินลงให้ ร้อยละห้า
มาตรา 969 คู่สัญญาฝ่ายซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินอาจ จะเรียกเอาเงินใช้จากคู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตนได้ คือ
(1) เงินเต็มจำนวนซึ่งตนได้ใช้ไป
(2) ดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้น คิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้ เงินไป
(3) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันตนต้องออกไป
(4) ค่าชักส่วนลดจากต้นเงินจำนวนในตั๋วแลกเงิน ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา968 อนุ มาตรา (4)
มาตรา 970 คู่สัญญาทุกฝ่ายซึ่งต้องรับผิดและถูกไล่เบี้ย หรืออยู่ใน ฐานะจะถูกไล่เบี้ยได้นั้น อาจจะใช้เงินแล้วเรียกให้เขาสละตั๋วเงินให้แก่ตนได้ รวมทั้งคำคัดค้านและบัญชีรับเงินด้วย
ผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้วจะขีดฆ่าคำ สลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้
มาตรา 971 ผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังคนก่อนก็ดีซึ่งเขา สลักหลังหรือโอนตั๋วแลกเงินให้อีกทอดหนึ่งนั้น หามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอา แก่คู่สัญญาฝ่าย ซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่กันก่อนแล้วตามตั๋ว เงินนั้นได้ไม่
มาตรา 972 ในกรณีใช้สิทธิไล่เบี้ยภายหลังการรับรองแต่บางส่วน ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งใช้เงินอันเป็นจำนวนเขาไม่รับรองนั้น อาจจะ เรียกให้จดระบุความที่ใช้เงินนี้ลงไว้ในตั๋วเงิน และเรียกให้ทำใบรับให้ แก่ตนได้ อนึ่งผู้ทรงตั๋วเงินต้องให้สำเนาตั๋วเงินอันรับรองว่าถูกต้อง แก่คู่สัญญาฝ่ายนั้น พร้อมทั้งคำคัดค้านด้วย เพื่อให้เขาสามารถใช้ สิทธิไล่เบี้ยในภายหลังได้สืบไป
มาตรา 973 เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไป แล้วคือ
(1) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือ ในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น
(2) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน
(3) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า"ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน"
ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง
อนึ่ง ถ้าไม่ยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองภายในเวลาจำกัดดั่งผู้สั่ง จ่ายได้กำหนดไว้ ท่านว่าผู้ทรงย่อมเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยทั้งเพื่อการที่เขา ไม่ใช้เงิน และเพื่อการที่เขาไม่รับรอง เว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่าผู้ สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง
ถ้าข้อกำหนดจำกัดเวลายื่นตั๋วแลกเงินนั้นมีอยู่ที่คำสลักหลังท่านว่า เฉพาะแต่ผู้สลักหลังเท่านั้นจะอาจเอาประโยชน์ในข้อกำหนดนั้นได้
มาตรา 974 การยื่นตั๋วแลกเงินก็ดี การทำคำคัดค้านก็ดี ถ้ามีเหตุจำ เป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้มาขัดขวางมิให้ทำได้ ภายในกำหนดเวลาจำกัด สำหรับการนั้นไซร้ ท่านให้ยืดกำหนดเวลาออกไปอีกได้
เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ดั่งว่ามานั้น ผู้ทรงต้องบอกกล่าวแก่ ผู้สลักหลังคนถัดตนขึ้นไปโดยไม่ชักช้า และคำบอกกล่าวนั้นต้องเขียนระบุ ลงในตั๋วเงิน หรือใบประจำต่อ ต้องลงวันและลงลายมือชื่อของผู้ทรงการอื่น ๆ
นอกจากที่กล่าวนี้ ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติ มาตรา 963
เมื่อเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้นั้นสุดสิ้นลงแล้ว ผู้ทรงต้องยื่น ตั๋วเงินใช้เขารับรองหรือใช้เงินโดยไม่ชักช้า และถ้าจำเป็นก็ทำคำคัดค้านขึ้น
ถ้าเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้นั้น ยังคงมีอยู่ต่อไปจนเป็นเวลา กว่าสามสิบวันภายหลังตั๋วเงินถึงกำหนดไซร้ ท่านว่าจะใช้สิทธิไล่เบี้ยก็ได้ และถ้าเช่นนั้นการยื่นตั๋วเงินก็ดี การทำคำคัดค้านก็ดี เป็นอันไม่จำเป็นต้อง ทำ
ในส่วนตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือให้ใช้เงินในระยะเวลา อย่างหนึ่งอย่างใดภายหลังได้เห็นนั้น กำหนดสามสิบวันเช่นว่ามานี้ ท่าน ให้นับแต่วันที่ผู้ทรงได้ให้คำบอกกล่าวเหตุจำเป็น อันมิอาจก้าวล่วงเสีย
ได้นั้นแก่ผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไป และถึงแม้ว่าจะเป็นการก่อนล่วงกำหนด เวลายื่นตั๋วเงิน ก็ให้นับเช่นนั้น

ส่วนที่ 7 ตั๋วแลกเงินเป็นสำรับ

มาตรา 975 อันตั๋วแลกเงินนั้น นอกจากชนิดที่สั่งจ่ายแก่ผู้ถือแล้ว จะออกไปเป็นคู่ฉีกความต้องกันสองฉบับ หรือกว่านั้นก็อาจจะออกได้

คู่ฉีกเหล่านี้ต้องมีหมายลำดับลงไว้ในตัวตราสารนั้นเอง มิฉะนั้นคู่ฉีก แต่ละฉบับย่อมใช้ได้เป็นตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่ง ๆ แยกเป็นตั๋วเงินต่าง ฉบับกัน

บุคคลทุกคนซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วเงินอันมิได้ระบุว่าได้ออกเป็นตั๋วเดี่ยว นั้น จะเรียกให้ส่งมอบคู่ฉีกสองฉบับหรือกว่านั้นแก่ตนก็ได้ โดยยอมให้ คิดค่าใช้จ่ายเอาแก่ตน ในการนี้ผู้ทรงต้องว่ากล่าวไปยังผู้สลักหลังคน ถัดตนขึ้นไป และผู้สลักหลังคนนั้นก็จำต้องช่วยผู้ทรงว่ากล่าวไปยังผู้ที่ สลักหลังให้แก่ตนต่อไปอีก สืบเนื่องกันไปเช่นนี้ตลอดสายจนกระทั่ง ถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งผู้สลักหลังทั้งหลายจำต้องเขียนคำสลักหลังของ ตนเป็นความเดียวกันลงในฉบับคู่ฉีกใหม่แห่งตั๋วสำรับนั้นอีกด้วย

มาตรา 976 ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินสำรับหนึ่งสลักหลังคู่ฉีกสองฉบับ หรือกว่านั้นให้แก่บุคคลต่างคนกัน ท่านว่าผู้ทรงย่อมต้องรับผิดตามคู่ฉีก เช่นว่านั้นทุก ๆ ฉบับ และผู้สลักหลังภายหลังผู้ทรงทุก ๆ คนก็ต้องรับ ผิดตามคู่ฉีกอันตนเองได้สลักลงไปนั้น เสมือนดั่งว่าคู่ฉีกที่ว่านั้นแยก เป็นตั๋วเงินต่างฉบับกัน

มาตรา 977 ถ้าคู่ฉีกสองฉบับหรือกว่านั้นในสำรับหนึ่งได้เปลี่ยนมือ ไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่างคนกันไซร้ ในระหว่างผู้ทรง เหล่านั้นด้วยกันคนใดได้เป็นสิทธิก่อน ท่านให้ถือว่าคนนั้นเป็นเจ้าของ อันแท้จริงแห่งตั๋วเงินนั้นแต่ความใด ๆ ในบท มาตรานี้ ไม่กระทบกระทั่ง ถึงสิทธิของบุคคลผู้ทำการโดยชอบด้วยกฎหมายรับรอง หรือใช้เงินไป ตามคู่ฉีกฉบับซึ่งเขายื่นแก่ตนก่อน

มาตรา 978 คำรับรองนั้นจะเขียนลงในคู่ฉีกฉบับใดก็ได้ และจะต้อง เขียนลงในคู่ฉีกแต่เพียงฉบับเดียวเท่านั้น

ถ้าผู้จ่ายรับรองลงไปกว่าฉบับหนึ่ง และคู่ฉีกซึ่งรับรองเช่นนั้นตกไปถึง มือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่างคนกันไซร้ ท่านว่าผู้จ่ายจะต้องรับผิด ตามคู่ฉีกนั้น ๆ ทุกฉบับ เสมือนดั่งว่าแยกเป็นตั๋วเงินต่างฉบับกัน

มาตรา 979 ถ้าผู้รับรองตั๋วเงินซึ่งออกเป็นสำรับใช้เงินไปโดยมิได้ เรียกให้ส่งมอบคู่ฉีกฉบับซึ่งมีคำรับรองของตนนั้นให้แก่ตน และในเวลา ตั๋วเงินถึงกำหนด คู่ฉีกฉบับนั้นไปตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมายคนใดคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้รับรองจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงคู่ฉีก ฉบับนั้น

มาตรา 980 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายซึ่งกล่าวมาก่อน นั้น ถ้าคู่ฉีกฉบับใดแห่งตั๋วเงินออกเป็นสำรับได้หลุดพ้นไปด้วยการ ใช้เงิน หรือประการอื่นฉบับหนึ่งแล้ว ท่านว่าตั๋วเงินทั้งสำรับก็ย่อม หลุดพ้นไปตามกัน

มาตรา 981 คู่สัญญาซึ่งส่งคู่ฉีกฉบับหนึ่งไปให้เขารับรองต้องเขียน แถลงลงในคู่ฉีกฉบับอื่นว่าคู่ฉีกฉบับโน้นอยู่ในมือบุคคลชื่อไร ส่วนบุคคล คนนั้นก็จำต้องสละตั๋วให้แก่ผู้ทรง โดยชอบด้วยกฎหมายแห่งคู่ฉีกฉบับ อื่นนั้น

ถ้าบุคคลคนนั้นบอกปัดไม่ยอมให้ ท่านว่าผู้ทรงยังจะใช้สิทธิไล่เบี้ย ไม่ได้จนกว่าจะได้ทำคัดค้านระบุความดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ว่าคู่ฉีกฉบับซึ่งได้ส่งไปเพื่อรับรองนั้น เขาไม่สละให้แก่ตนเมื่อ ทวงถาม
(2) ว่าไม่สามารถจะให้เขารับรองหรือใช้เงินด้วยคู่ฉีกฉบับอื่นได้

หมวด 3 ตั๋วสัญญาใช้เงิน

มาตรา 982 อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่ง บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวน หนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน

มาตรา 983 ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
(2) คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) วันถึงกำหนดใช้เงิน
(4) สถานที่ใช้เงิน
(5) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน
(6) วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
(7) ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

มาตรา 984 ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่าน ระบุบังคับไว้ใน มาตรา ก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน เว้นแต่ในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อ ได้เห็น

ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ท่านให้ถือเอา
ภูมิลำเนาของผู้ออกตราสารนั้นเป็นสถานที่ใช้เงิน ถ้าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ระบุสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วนั้นได้ ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว

ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่ง คนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

มาตรา 985 บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 ว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 911,มาตรา 913,มาตรา 916,มาตรา 917,มาตรา 919,มาตรา 920,มาตรา 922 ถึง มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 947,มาตรา 949,มาตรา 950,มาตรา 954 ถึง มาตรา 959,มาตรา 967 ถึง มาตรา 971

ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบท บัญญัติต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973,มาตรา 974

มาตรา 986 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียว กันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายหลังได้เห็น นั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ใน มาตรา 928 กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่น นี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้น ให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น
หมวด 4 เช็ค

มาตรา 987 อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน

มาตรา 988 อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) ชื่อ หรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร
(4) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
(5) สถานที่ใช้เงิน
(6) วันและสถานที่ออกเช็ค
(7) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา 989 บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับ สภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 910,มาตรา 914 ถึง มาตรา 923,มาตรา 925,มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 940, มาตรา 945,มาตรา 946,มาตรา 959มาตรา 967,มาตรา 971

ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา มาตรา 924,มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973 ถึง มาตรา 977,มาตรา 980

มาตรา 990 ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่า ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ต้องยื่นภายใน เดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่น ภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะ เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลย เสียไม่ยื่นเช็คนั้น

อนึ่ง ผู้ทรงเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดไปแล้วนั้น ท่านให้รับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายคนนั้นอันมีต่อธนาคาร

มาตรา 991 ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคาร ได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตาม เช็คนั้นหรือ
(2) เช็คนั้นยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ
(3) ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

มาตรา 992 หน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิก แก่ตนนั้น ท่านว่าเป็นอันสุดสิ้นไปเมื่อกรณีเป็นดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) มีคำบอกห้ามการใช้เงิน
(2) รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย
(3) รู้ว่าศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็น คนล้มละลาย หรือได้มีประกาศโฆษณาคำสั่งเช่นนั้น

มาตรา 993 ถ้าธนาคารเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า "ใช้ได้" หรือ "ใช้เงินได้" หรือคำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ท่านว่าธนาคารต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คเป็นผู้จัดการให้ธนาคารลงข้อความรับรองดั่งว่านั้น ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังทั้งปวงเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด ตามเช็คนั้น

ถ้าธนาคารลงข้อความรับรองดั่งนั้นโดยคำขอร้องของผู้สั่งจ่าย ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและปวงผู้สลักหลังก็หาหลุดพ้นไปไม่

มาตรา 994 ถ้าในเช็คมีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้า กับมี หรือไม่มีคำว่า "และบริษัท" หรือคำย่ออย่างใด ๆ แห่งของความนี้อยู่ ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้นไซร้ เช็คนั้นชื่อว่าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น

ถ้าในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อธนาคารอันหนึ่งอันใดลงไว้ โดยเฉพาะ เช็คเช่นนั้นชื่อว่าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ และจะใช้เงิน ตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารอันนั้น

มาตรา 995 (1) เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่ง จะเรียกขีดคร่อมเสียก็ได้ และจะทำเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อม เฉพาะก็ได้
(2) เช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะทำให้เป็นขีดคร่อมเฉพาะเสียก็ได้
(3) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคำลงว่า"ห้ามเปลี่ยนมือ" ก็ได้
(4) เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อม เฉพาะให้ไปแก่ธนาคารอื่นเพื่อเรียกเก็บเงินก็ได้
(5) เช็คไม่มีขีดคร่อมก็ดี เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ส่งไปยังธนาคารใด เพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะลงขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนเองก็ได้

มาตรา 996 การขีดคร่อมเช็คตามที่อนุญาตไว้ใน มาตรา ก่อนนั้น ท่านว่าเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของเช็ค ใครจะลบล้างย่อมไม่เป็นการ ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 997 เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป เมื่อนำเบิกเอาแก่ธนาคารใด ท่านให้ธนาคารนั้นบอกปัดเสียอย่าใช้เงินให้ เว้นแต่ที่ขีดคร่อมให้แก่ธนาคารในฐานเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงิน

ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คเบิกขืนใช้เงินไปตามเช็คที่ขีดคร่อมอย่างว่ามา นั้นก็ดี ใช้เงินตามเช็คอันเขาขีดคร่อมทั่วไปเป็นประการอื่นนอกจากใช้ให้ แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่งก็ดี ใช้เงินตามเช็คอันเขาขีดคร่อมเฉพาะเป็น ประการอื่นนอกจากใช้ให้แก่ธนาคาร ซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดย เฉพาะหรือแก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นก็ดี ท่านว่า ธนาคารซึ่งใช้เงินไปดั่งกล่าวนี้ จะต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริง แห่งเช็คนั้นในการที่เขาต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะการที่ตนใช้เงินไป ตามเช็คดั่งนั้น

แต่หากเช็คใดเขานำยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และเมื่อยื่นไม่ปรากฏว่าเป็นเช็ค ขีดคร่อมก็ดี หรือไม่ปรากฏว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่นนอกจากที่อนุญาตไว้โดยกฎหมาย ก็ดี เช็คเช่นนี้ถ้าธนาคารใดใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากประมาท เลินเล่อ ท่านว่าธนาคารนั้นไม่ต้องรับผิดหรือต้องมีหน้าที่รับใช้เงิน อย่างใด ๆ

มาตรา 998 ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คขีดคร่อมเบิกเงินใช้เงินไปตาม เช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ กล่าวคือว่าถ้าเป็นเช็ค ขีดคร่อมทั่วไปก็ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อม เฉพาะก็ใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดยเฉพาะหรือใช้ให้ แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นไซร้ ท่านว่าธนาคารซึ่ง ใช้เงินไปตามเช็คนั้นฝ่ายหนึ่ง กับถ้าเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินแล้ว ผู้สั่ง จ่ายอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน และเข้าอยู่ในฐานอัน เดียวกันเสมือนดั่งว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว

มาตรา 999 บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและ ไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้ เช็คของเขามา

 มาตรา 1000 ธนาคารใดได้รับเงินไว้เพื่อผู้เคยค้าของตนโดยสุจริต และปราศจากประมาทเลินเล่อ อันเป็นเงินเขาใช้ให้ตามเช็คขีดคร่อม ทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ดี หากปรากฏว่าผู้เคยค้านั้น ไม่มีสิทธิหรือมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คนั้นไซร้ ท่านว่าเพียงแต่ เหตุที่ได้รับเงินไว้หาทำให้ธนาคารนั้นต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอัน แท้จริงแห่งเช็คนั้นแต่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่

หมวด 5 อายุความ

มาตรา 1001 ในคดีฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงินก็ดี ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ก็ดี ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน

มาตรา 1002 ในคดีที่ผู้ทรงตั๋วเงินฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ท่าน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้น ภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือนับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ใน กรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า "ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน

มาตรา 1003 ในคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่ เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายแห่งตั๋วเงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา หกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือนับแต่ วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง

มาตรา 1004 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงเพราะการอันหนึ่งอันใด ซึ่งกระทำแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ท่านว่าย่อมมีผลสะดุด หยุดลงเพียงแต่แก่คู่สัญญาฝ่ายนั้น

มาตรา 1005 ถ้าตั๋วเงินได้ทำขึ้นหรือได้โอนหรือสลักหลังไปแล้ว ในมูลหนี้อันหนึ่งอันใด และสิทธิตามตั๋วเงินนั้นมาสูญสิ้นไปเพราะ อายุความก็ดี หรือเพราะละเว้นไม่ดำเนินการให้ต้องตามวิธีใด ๆ อัน จะพึงต้องทำก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังคงมีอยู่ตามหลักกฎหมายอัน แพร่หลายทั่วไปเท่าที่ลูกหนี้มิได้ต้องเสียหายแต่การนั้น เว้นแต่จะ ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

หมวด 6 ตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วเงินหาย

มาตรา 1006 การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น

มาตรา 1007 ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตาม ตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังใน ภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยน แปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมายไซร้ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดั่งว่ามิได้มีการเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อ ความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือ ว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลง อย่างใดๆ แก่วันที่ลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไป ไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเติม ความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

มาตรา 1008 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่ บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่า ลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะ อ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำ ให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้น คนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่าย ซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัด บทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้น ขึ้นเป็นข้อต่อสู้

แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาใน มาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึง การให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อซึ่งลงไว้ โดยปราศจากอำนาจแต่หากไม่ถึง แก่เป็นลายมือปลอม

มาตรา 1009 ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถาม มาเบิกต่อธนาคารใด และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดย สุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้ ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะ ต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังราย ใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของ คำสลักหลังนั้นและถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอม หรือปราศจากอำนาจก็ตาม ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

มาตรา 1010 เมื่อผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหายหรือถูกลักทราบเหตุแล้วในทันใดนั้นต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ออกตั๋วเงิน ผู้จ่าย ผู้สมอ้างยามประสงค์ ผู้รับรองเพื่อแก้หน้าและผู้รับอาวัล ตามแต่มีเพื่อให้บอกปัดไม่ใช้เงินตามตั๋ว เงินนั้น

มาตรา 1011 ถ้าตั๋วเงินหายไปแต่ก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงิน ท่านว่าบุคคลซึ่งได้เป็นผู้ทรงตั๋วเงินนั้น จะร้องขอไปยังผู้สั่งจ่ายให้ให้ตั๋ว เงินเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งก็ได้ และในการนี้ถ้าเขา ประสงค์ก็วางประกันให้ไว้แก่ผู้สั่งจ่าย เพื่อไว้ทดแทนที่เขาหากจะต้องเสีย หายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในกรณีที่ตั๋วเงินซึ่งว่าหายนั้นจะกลับหาได้

อนึ่ง ผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงิน คู่ฉบับเช่นนั้น อาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้

ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(3) บริษัทจำกัด

มาตรา 1014 บรรดาสำนักงานสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและ บริษัททั้งหลายนั้น ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงซึ่งบัญชาการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับจัดตั้งขึ้น

มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติ แห่งลักษณะนี้แล้ว ท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น

มาตรา 1016 การจดทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ทำกิจการอยู่ ณ ตำบลใดในพระราชอาณาจักร ท่านให้จดทะเบียน ณ หอทะเบียนสำหรับตำบลนั้น

การแก้ไขข้อความที่ได้จดทะเบียนประการหนึ่งประการใดใน ภายหลังก็ดีกับทั้งแก้ไขการอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดอันบทบัญญัติ แผนกนี้บังคับหรืออนุญาตให้จดทะเบียนก็ดี ก็ต้องจด ณ หอ ทะเบียนแห่งเดียวกันนั้น

มาตรา 1017 ถ้าข้อความที่จะจดทะเบียน หรือประกาศโฆษณา เกิดขึ้นในต่างประเทศไซร้ ท่านให้นับกำหนดเวลาสำหรับการจด ทะเบียนหรือประกาศโฆษณาข้อความนั้น ตั้งแต่เวลาเมื่อคำบอก กล่าวการนั้นมาถึงตำบลที่จะจดทะเบียนหรือตำบลที่จะประกาศ โฆษณานั้นเป็นต้นไป

มาตรา 1018 ในการจดทะเบียน ท่านให้เสียค่าธรรมเนียมตาม กฎข้อบังคับซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงตั้งไว้

มาตรา 1019 ถ้าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารซึ่งต้องจดทะเบียน ไม่มีรายการบริบูรณ์ตามที่บังคับไว้ในลักษณะนี้ว่าให้จดแจ้งก็ดี หรือ ถ้ารายการอันใดซึ่งจะแจ้งในคำขอหรือในเอกสารนั้นขัดกับกฎหมาย ก็ดี หรือถ้าเอกสารใด ซึ่งกำหนดไว้ว่าให้ส่งด้วยกันกับคำขอจดทะ เบียนยังขาดอยู่มิได้ส่งให้ครบก็ดี หรือถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้ออื่น ซึ่งกฎหมายบังคับไว้ก็ดีนายทะเบียนจะไม่ยอมรับจดทะเบียนก็ได้ จนกว่าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารนั้นจะได้ทำให้บริบูรณ์หรือแก้ไข ให้ถูกต้อง หรือได้ส่งเอกสารซึ่งกำหนดไว้นั้นครบทุกสิ่งอันหรือได้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนั้นแล้ว

มาตรา 1020 บุคคลทุกคนเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้วชอบที่จะตรวจเอกสารซึ่งนายทะเบียนเก็บรักษาไว้ได้ หรือจะขอให้คัดสำเนาหรือเนื้อความในเอกสารฉบับใดๆ พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องมอบให้ก็ได้

ผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ชอบที่จะขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้ก็ได้

(แก้ไข*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1021 นายทะเบียนทุกคนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลง ทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ตามแบบซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงจะได้กำหนดให้

มาตรา 1022 เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดั่งนั้นแล้ว ท่านให้ถือว่าบรรดา เอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียน อันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้น เป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วน หรือด้วยบริษัทนั้นหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1023 ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ดี ห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือบริษัทก็ดี จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสาร หรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนตามลักษณะนี้ยังไม่ได้ จนกว่าจะได้จดทะเบียนแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลภายนอกจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

แต่ถึงกระนั้นก็ดี ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทซึ่งได้รับชำระหนี้ก่อนจดทะเบียนนั้นย่อมไม่จำต้องคืน

(แก้ไข*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1023/1 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะยกมาตรา 1023 ขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อไม่ให้ต้องรับผิดโดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการมิได้

(เพิ่มเติม*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1024 ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก็ดี หรือในระหว่าง ผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุด บัญชีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือของผู้ชำระ บัญชีห้างหุ้นส่วนใดๆนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อ ความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ
หมวด 2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ส่วนที่1 บทวิเคราะห์

มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภท ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด
ส่วนที่ 2 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง

มาตรา 1026 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน

สิ่งที่นำมาลงด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้

มาตรา 1027 ในเมื่อมีกรณีเป็นข้อสงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สิ่งซึ่งนำมาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน

มาตรา 1028 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้ลงแต่แรงงานของตนเข้า เป็นหุ้นและในสัญญาเข้าหุ้นส่วนมิได้ตีราคาค่าแรงไว้ ท่านให้คำนวณ ส่วนกำไรของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยลงแรงงานเช่นนั้นเสมอด้วยส่วน ถัวเฉลี่ยของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลงเงินหรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้นในการนั้น

มาตรา 1029 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งเอาทรัพย์สินมาให้ใช้เป็น การลงหุ้นด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับ ห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความรับผิดเพื่อชำรุดบก พร่องก็ดีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดี ข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยเช่าทรัพย์

มาตรา 1030 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน อันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความ รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดีความรับผิดเพื่อความรอนสิทธิก็ดี ข้อ ยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยซื้อขาย

มาตรา 1031 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้น ของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียน ไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมา ภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็น พร้อมกันหรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญา ให้เอาผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้

มาตรา 1032 ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้าง หุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการ นอกจากด้วยความยินยอมของ ผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็น อย่างอื่น

มาตรา 1033 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการ ห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใด ซึ่งผู้ เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้

ในกรณีเช่นนี้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทุกคน

มาตรา 1034 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นจัก ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ ท่านให้ผู้เป็นหุ้น ส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลง หุ้นด้วยมากหรือน้อย

มาตรา 1035 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคน จัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้น ส่วนนั้นก็ได้ แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด จะทำการอันใดซึ่ง หุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้

มาตรา 1036 อันหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น จะเอาออกจากตำแหน่งได้ ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกัน เว้นแต่จะได้ตกลง กันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1037 ถึงแม้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้ตกลงให้ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนก็ดี ผู้เป็น หุ้นส่วนทุกคนนอกจากผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของ ห้างหุ้นส่วนที่จัดอยู่นั้นได้ทุกเมื่อและมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนา สมุด บัญชี และเอกสารใด ๆ ของหุ้นส่วนได้ด้วย

มาตรา 1038 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่ง อย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของ ห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นโดย มิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรานี้ ไซร้ ผู้ เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความ เสียหายเพราะเหตุนั้น แต่ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่ง นับแต่วันทำการฝ่าฝืน

มาตรา 1039 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำต้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนด้วย ความระมัดระวังให้มากเสมือนกับจัดการงานของตนเองฉะนั้น

มาตรา 1040 ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใน ห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกัน ทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1041 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งโอนส่วนกำไรของตน ในห้างหุ้นส่วนทั้งหมดก็ดีหรือแต่บางส่วนก็ดี ให้แก่บุคคลภายนอกโดย มิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นไซร้ ท่านว่าบุคคล ภายนอกนั้นจะกลายเป็นเข้าหุ้นส่วนด้วยก็หามิได้

มาตรา 1042 ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน

มาตรา 1043 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้เป็นผู้จัดการเอื้อมเข้ามาจัด การงานของห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้จัดการกระทำ ล่วงขอบอำนาจของตนก็ดี ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยจัดการงานนอกสั่ง

มาตรา 1044 อันส่วนกำไรก็ดี ส่วนขาดทุนก็ดี ของผู้เป็นหุ้นส่วน ทุก ๆ คนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น

มาตรา 1045 ถ้าหุ้นส่วนของผู้ใดได้กำหนดแต่เพียงข้างฝ่ายกำไร ว่าจะแบ่งเอาเท่าไร หรือกำหนดแต่เพียงข้างขาดทุนว่าจะยอมขาด เท่าไรฉะนี้ไซร้ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหุ้นส่วนของผู้นั้นมีส่วนกำไร และส่วนขาดทุนเป็นอย่างเดียวกัน

มาตรา 1046 ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนหนึ่งคนใดหามีสิทธิจะได้รับ บำเหน็จเพื่อที่ได้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ เว้นแต่จะได้มี ความตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1047 ถ้าชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ยังคงใช้เรียกขานติดเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ชอบที่จะเรียกให้งดใช้ชื่อของตนเสียได้

มาตรา 1048 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะเรียกเอาส่วนของตนจาก หุ้นส่วนอื่น ๆ แม้ในกิจการค้าขายอันใดซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้
ส่วนที่ 3 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก

มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอก ในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่

มาตรา 1050 การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไป ในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้นท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น เพราะจัดการไป เช่นนั้น

มาตรา 1051 ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้อง รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป

มาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิด ในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ด้วย

มาตรา 1053 ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น ถึงแม้จะมีข้อ จำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคน อื่น ๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผู้ถึงบุคคลภายนอกไม่

มาตรา 1054 บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดีด้วย ลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็น ชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เข้าแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดา หนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคง ค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือ ใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังมรณะนั้นไม่
ส่วนที่ 4 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1055 ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันเมื่อ มีกรณีนั้น
(2) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(3) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
(4) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามกำหนดดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1056
(5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ ความสามารถ

มาตรา 1056 ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่ง อย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง บอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็น หุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

มาตรา 1057 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกัน เสียก็ได้คือ
(1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิด บทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว
และไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
(3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้

มาตรา 1058 เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน คนหนึ่งซึ่งตามความใน
มาตรา 1057 หรือ มาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้ เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้ กำจัด หุ้นส่วนผู้ต้นเหตุนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน ก็ได้

ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูก กำจัดนั้นท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ใน เวลานั้นแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด

มาตรา 1059 ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้ และผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลาย หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่าง กำหนดนั้นยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระ บัญชี หรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล

มาตรา 1060 ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ใน มาตรา 1055 อนุมาตรา (4) หรืออนุ(5) นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้น ของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน

มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย

ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้ เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อ เจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย

การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ หรือให้ บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ

การตั้งแต่งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมาก ของผู้เป็นหุ้นส่วน

มาตรา 1062 การชำระบัญชี ให้ทำโดยลำดับดั่งนี้ คือ
(1) ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
(2) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของ ตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
(3) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้น

ถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วน

มาตรา 1063 ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก และชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืน แก่ผู้เป็นหุ้นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด

ส่วนที่ 5 การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1064 อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะจดทะเบียนก็ได้

การจดทะเบียนนั้น ท่านบังคับให้มีรายการดั่งนี้ คือ
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
(2) วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
(3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง
(4) ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คน ถ้าผู้ เป็นหุ้นส่วนคนใดมีชื่อยี่ห้อ ก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อและยี่ห้อด้วย
(5) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการในเมื่อได้ตั้งแต่งให้เป็นผู้จัดการแต่เพียง บางคน
(6) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการประการใดให้ลงไว้ด้วย
(7) ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน

ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่น ๆ อีกอันคู่สัญญา เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้

การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

มาตรา 1064/1 หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น

ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่ จะลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและ พิจารณาตั้งผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลา ออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น

หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะแจ้งการลาออกของตน ให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้

มาตรา 1064/2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ให้ห้างหุ้นส่วนจด ทะเบียนนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1065 ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มา แม้ในกิจการซึ่งไม่ ปรากฏชื่อของตน

มาตรา 1066 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดในห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่าง เดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่ จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพ เป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น เว้นไว้แต่จะได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมด

แต่ข้อห้ามเช่นว่ามานี้ ท่านว่าจะไม่พึงใช้ได้ ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่า ผู้เป็น หุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่น อันมีวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกัน และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ ต่อกันนั้นก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

มาตรา 1067 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดกระทำฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ใน มาตรา ก่อนนี้ไซร้ ท่านว่าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนนั้นชอบที่จะเรียก เอาผลกำไรอันผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเพราะเหตุนั้น

แต่ทั้งนี้ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่ง นับแต่วันทำการ ฝ่าฝืน

อนึ่ง บทบัญญัติ มาตรานี้ ไม่ลบล้างสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย นอกนั้น ในอันจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วน

มาตรา 1068 ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วน นั้นย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน

มาตรา 1069 นอกจากในกรณีทั้งหลายที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1055 ท่านว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนย่อมเลิกกันเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้น ล้มละลาย

มาตรา 1070 เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้

มาตรา 1071 ในกรณีที่กล่าวไว้ใน มาตรา 1070 นั้น ถ้าผู้เป็น หุ้นส่วนนำพิสูจน์ได้ว่า
(1) สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือ บางส่วนและ
(2) การที่จะบังคับเอาแก่ห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เป็นการยากฉะนี้ไซร้

ศาลจะบังคับให้เอาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้นชำระหนี้ก่อนก็ได้ สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1072 ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใด เจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไร หรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้า ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

ส่วนที่ 6 การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากัน

มาตรา 1073 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียว กับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งก็ได้ โดยความยินยอมของผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1074 เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดปลงใจจะควบ เข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่ง ท้องที่นั้นสองครั้งเป็นอย่างน้อย และส่งคำบอกกล่าวความประสงค์ ที่จะควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ และขอ ให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างใดอย่างหนึ่งในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้าน ไปภายในสามเดือนนับแต่วันบอกกล่าวถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น ก็ให้พึงถือว่าไม่มี คัดค้าน

ถ้ามีคัดค้านไซร้ ท่านมิให้ห้างหุ้นส่วนจัดการควบเข้ากัน เว้นแต่ จะได้ใช้หนี้ที่เรียกร้องหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว

มาตรา 1075 เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้ว ต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องนำความนั้นไปจดลงทะเบียน ว่าได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่

มาตรา 1076 ห้างหุ้นส่วนใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิ ทั้งต้องอยู่ในความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น
หมวด 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
(2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง

มาตรา 1078 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียน

การลงทะเบียนนั้น ต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
(2) ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และวัตถุที่ประสงค์ของห้าง หุ้นส่วนนั้น
(3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
(4) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับ ผิด และจำนวนเงินซึ่งเขาเหล่านั้นได้ลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน
(5) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความ รับผิด
(6) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
(7) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วน ผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนั้น ประการใดให้ลงไว้ด้วย

ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่น ๆ อีกอันคู่สัญญาเห็นสมควร จะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้

การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้อง ประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

มาตรา 1078/1 หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น

ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่จะ ลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและ พิจารณาตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น

หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะแจ้งการลาออกของตน ให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้น ส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

มาตรา 1078/2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ให้ห้างหุ้นส่วน จำกัดนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1079 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด จำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน

มาตรา 1080 บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆ หากมิ ได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นวิธีบังคับในความ เกี่ยวพันระหว่างคนเหล่านั้นเอง และความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนเหล่านั้นกับห้างหุ้นส่วนมาตรา 1081 ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความ รับผิดมาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้าง

มาตรา 1082 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอม โดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดั่งว่า เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น

แต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้น ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน เช่นนี้ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้นส่วน

มาตรา 1083 การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความ รับผิดนั้นท่านว่าต้องให้ลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ๆ

มาตรา 1084 ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็น หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด นอกจากผลกำไรซึ่งห้างหุ้นส่วนทำ มาค้าได้

ถ้าทุนของห้างหุ้นส่วนลดน้อยลงไปเพราะถ้าขายขาดทุน ท่าน ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัด ความรับผิดจนกว่าทุนซึ่งขาดไปนั้นจะได้คืนมาเต็มจำนวนเดิม

แต่ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดได้รับเงินปันผล หรือดอกเบี้ยไปแล้วโดยสุจริต ท่านว่าหาอาจจะบังคับให้เขาคืนเงิน นั้นได้ไม

มาตรา 1085 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้แสดง ด้วยจดหมายหรือใบแจ้งความหรือด้วยวิธีอย่างอื่นให้บุคคลภายนอก ทราบว่าตนได้ลงหุ้นไว้มากกว่าจำนวนซึ่งได้จดทะเบียนเพียงใด ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดเท่าถึงจำนวนเพียงนั้น

มาตรา 1086 ข้อซึ่งตกลงกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย เพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินที่ลงหุ้น หรือเพื่อจะลดจำนวน ลงหุ้นแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนหนึ่งคนใดนั้น ท่านว่ายังไม่เป็นผลแก่บุคคลภายนอกจนกว่าจะได้จดทะเบียน

เมื่อได้จดทะเบียนแล้วไซร้ ข้อตกลงนั้น ๆ ก็ย่อมมีผลแต่เพียง เฉพาะแก่หนี้อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังเวลาที่ได้จด ทะเบียนแล้วเท่านั้น

มาตรา 1087 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านว่าต้องให้แต่เฉพาะ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1088 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดได้ เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิด รวมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน

แต่การออกความเห็นและแนะนำก็ดี ออกเสียงเป็นคะแนนนับใน การตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามกรณีที่มีบังคับไว้ในสัญญาหุ้นส่วน นั้นก็ดี ท่านหานับว่าเป็นสอดเข้าเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน นั้นไม่

มาตรา 1089 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น จะตั้ง ให้เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็ได้

มาตรา 1090 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะประกอบ การค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์บุคคล ภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับ การค้าขายของห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม

มาตรา 1091 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้น ของตนปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆ ก็โอนได้

มาตรา 1092 การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตาย ก็ดี ล้มละลายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถก็ดี หาเป็นเหตุให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันไม่ เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1093 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดตาย ท่านว่าทายาทของผู้นั้นย่อมเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย เว้นแต่จะ ได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1094 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด ล้มละลาย ท่านว่าต้องเอาหุ้นของผู้นั้นในห้างหุ้นส่วนออกขายเป็น สินทรัพย์ในกองล้มละลาย

มาตรา 1095 ตราบใดห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมิได้เลิกกันตราบนั้น เจ้าหนี้ของห้างย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัด ความรับผิดได้

แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นได้เลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ของห้างมีสิทธิฟ้องร้อง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เพียงจำนวนดั่งนี้ คือ
(1) จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่าที่ยังค้างส่งแก่ห้างหุ้นส่วน
(2) จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของ ห้างหุ้นส่วน
(3) จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้ว
โดยทุจริตและฝ่าฝืนต่อบท มาตรา 1084

หมวด 4 บริษัทจำกัด ส่วนที่ 1 สภาพและการตั้งบริษัทจำกัด

มาตรา 1096 อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้น ด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

มาตรา 1096ทวิ (ยกเลิกทั้ง มาตรา )

มาตรา 1097 บุคคลใดๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

(แก้ไข*ฉบับที่ 18*พ.ศ. 2551)

มาตรา 1098 หนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้คือ
(1) ชื่อบริษัทอันคิดจะตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีคำว่า"จำกัด"ไว้ปลายชื่อนั้น ด้วยด้วยเสมอไป
(2) ที่สำนักงานของบริษัทซึ่งบอกทะเบียนนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใดใน พระราชอาณาเขต
(3) วัตถุที่ประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
(4) ถ้อยคำสำแดงว่า ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด
(5) จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียนแบ่งออก เป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร
(6) ชื่อ สำนัก อาชีวะและลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวน หุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้คนละเท่าใด

มาตรา 1099 หนังสือบริคณห์สนธินั้น ท่านให้ทำเป็นต้นฉบับไว้ ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และให้ลงลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการและ ลายมือชื่อทั้งปวงนั้นให้มีพยานลงชื่อรับรองด้วยสองคน

หนังสือบริคณห์สนธิซึ่งได้ทำนั้น ท่านบังคับให้นำฉบับหนึ่งไป จดทะเบียนและมอบไว้ ณ หอทะเบียนในส่วนพระราชอาณาเขตซึ่ง บ่งไว้ว่าจะบอกทะเบียนตั้งสำนักงานของบริษัทนั้น

มาตรา 1100 ผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องลงชื่อซื้อหุ้น ๆ หนึ่งเป็นอย่างน้อย

มาตรา 1101 บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำกัดจะรับผิดโดยไม่ จำกัดก็ได้ ถ้ากรณีเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าต้องจดแถลงความรับผิดเช่นนั้นลงไว้ใน หนังสือบริคณห์สนธิด้วย

อันความรับผิดโดยไม่จำกัดของผู้เป็นกรรมการนั้นย่อมถึงที่สุด เมื่อล่วง เวลาสองปีนับแต่วันที่ตัวเขาออกจากตำแหน่งกรรมการ

มาตรา 1102 ห้ามมิให้ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น

มาตรา 1103 (ยกเลิกทั้ง มาตรา )

มาตรา 1104 จำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งบริษัทคิดจะจดทะเบียนนั้น ต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหรือออกให้กันเสร็จก่อนการจดทะเบียนของบริษัท

มาตรา 1105 อันหุ้นนั้น ท่านห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่า ของหุ้นที่ตั้งไว้

การออกหุ้นโดยราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้นั้นหากว่าหนังสือ บริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ก็ให้ออกได้ และในกรณีเช่นนั้นต้องส่งใช้ จำนวนที่ล้ำมูลค่าพร้อมกันไปกับการส่งใช้เงินคราวแรก

อนึ่ง เงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิให้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า แห่งมูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้

มาตรา 1106 การที่เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยเงื่อนไข ว่าถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทตามหนังสือ ชี้ชวนและข้อบังคับของบริษัท

มาตรา 1107 เมื่อหุ้นชนิดซึ่งจะต้องลงเงินนั้นได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหมดแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องนัดบรรดาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่ โดยไม่ชักช้า ประชุมอันนี้ให้เรียกว่าประชุมตั้งบริษัท

อนึ่ง ให้ผู้เริ่มก่อการส่งรายงานการตั้งบริษัทมีคำรับรองของตนว่าถูกต้อง และมีข้อความที่เกี่ยวแก่กิจการอันจะพึงกระทำในที่ประชุมตั้งบริษัททุก ๆ ข้อตามความใน มาตรา ต่อไปนี้ ไปยังผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนอย่างน้อยเจ็ดวัน ก่อนวันนัดประชุม

เมื่อได้ส่งรายงานตั้งบริษัทแก่ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้อง จัดส่งสำเนารายงานอันมีคำรับรองว่าถูกต้องตามที่บังคับไว้ใน มาตรานี้ ไปยัง นายทะเบียนบริษัทโดยพลัน

อนึ่ง ให้ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีบัญชีแถลงรายชื่อ ฐานะ และสำนักของผู้ เข้าชื่อซื้อหุ้นกับจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนได้ลงซื้อไว้เพื่อเสนอต่อที่ประชุมนั้น ด้วย

บทบัญญัติทั้งหลายแห่ง มาตรา 1176,มาตรา 1187,มาตรา 1188,มาตรา 1189,มาตรา 1191,มาตรา 1192, และ มาตรา 1195 นั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การประชุมตั้งบริษัทด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 1108 กิจการอันจะพึงทำในที่ประชุมตั้งบริษัทนั้น คือ
(1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัท
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่าย อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเขาต้องออกไปในการเริ่มก่อบริษัท
(3) วางกำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ ถ้าหากมีเจตนาว่า จะให้
(4) วางกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิแห่ง หุ้นนั้น ๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท
(5) วางกำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกให้เหมือน หนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว เพราะใช้ให้ด้วยอย่างอื่น นอกจากตัวเงิน และกำหนดว่าเพียงใดซึ่งจะถือว่าเอาเป็นว่าได้ใช้เงินแล้ว ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท

ให้แถลงในที่ประชุมโดยเฉพาะว่า ซึ่งจะเอาหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินแล้วเช่นนั้น เพื่อแทนคุณแรงงานหรือตอบแทน ทรัพย์สินอย่างใด ให้พรรณนาจงชัดเจนทุกประการ
(6) เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย

มาตรา 1109 ผู้เริ่มก่อการหรือผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะออกเสียงลงคะแนนไม่ ได้ ถ้าตนมีส่วนได้เสียโดยพิเศษในปัญหาที่ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น

อนึ่ง มติของที่ประชุมตั้งบริษัทย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ที่ประชุมจะได้ลงมติ โดยเสียงข้างมาก อันมีคะแนนของผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหมดซึ่งมีสิทธิลงคะแนนได้ และคิดตามจำนวนหุ้นรวมกันไม่ น้อยกว่ากึ่งจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นนั้น ๆ ทั้งหมดด้วยกัน

มาตรา 1110 เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทมอบ การทั้งปวงให้แก่กรรมการของบริษัท

เมื่อกรรมการได้รับการแล้ว ก็ให้ลงมือจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและ ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินในหุ้นซึ่งจะต้องใช้เป็นตัวเงิน เรียกหุ้น หนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนบอก กล่าวกล่าวป่าวร้องหรือหนังสือชวนให้ซื้อหุ้น

มาตรา 1111 เมื่อจำนวนเงินซึ่งว่าไว้ใน มาตรา 1110 ได้ใช้เสร็จ แล้ว กรรมการต้องไปขอจดทะเบียนบริษัทนั้น

คำขอและข้อความที่ลงในทะเบียนนั้น ให้ระบุรายการตามที่ได้ตกลงกัน ในที่ประชุมตั้งบริษัท ดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) จำนวนหุ้นทั้งสิ้นซึ่งได้มีผู้เข้าชื่อซื้อ หรือได้จัดออกให้แล้วแยกให้ ปรากฏว่าเป็นชนิดหุ้นสามัญเท่าใด หุ้นบุริมสิทธิเท่าใด
(2) จำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็ม ค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว นอกจากที่ใช้เป็นตัวเงินและหุ้นที่ได้ใช้แต่ บางส่วนนั้น ให้บอกว่าได้ใช้แล้วเพียงใด
(3) จำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วหุ้นละเท่าใด
(4) จำนวนเงินที่ได้รับไว้เป็นค่าหุ้นรวมทั้งสิ้นเท่าใด
(5) ชื่อ อาชีวะ และที่สำนักของกรรมการทุกคน
(6) ถ้าให้กรรมการต่างมีอำนาจจัดการของบริษัทได้โดยลำพังตัวให้ แสดงอำนาจของกรรมการนั้น ๆ ว่าคนใดมีเพียงใด และบอกจำนวนหรือชื่อ กรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้นั้นด้วย
(7) ถ้าตั้งบริษัทขึ้นชั่วกาลกำหนดอันหนึ่ง ให้บอกกาลกำหนดอันนั้นด้วย
(8) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง

การลงทะเบียนจะมีรายการอย่างอื่นซึ่งกรรมการเห็นสมควรจะให้ทราบ แก่ประชาชนก็ลงได้

ในการขอจดทะเบียนนั้น ถ้าได้ทำข้อบังคับของบริษัทไว้ประการใดบ้าง ต้องส่งสำเนาข้อบังคับนั้น ๆ ไปด้วยกับทั้งสำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท หนังสือทั้งสองนี้กรรมการต้องลงลายมือชื่อรับรองคนหนึ่งเป็นอย่างน้อย

ในเวลาเดียวกันนั้น กรรมการต้องนำฉบับตีพิมพ์แห่งหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับ ถ้าหากมี มอบไว้แก่หอทะเบียนอย่างละสิบฉบับ

(วรรคห้า*ยกเลิก*ฉบับที่ 18*พ.ศ.2551)

มาตรา 1111/1 ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวกันก็ได้

(๑) จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน

(๒) ประชุมจัดตั้งบริษัทเพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามมาตรา ๑๑๐๘ โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น

(๓) ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการ

(๔) กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นใช้เงินค่าหุ้นตามมาตรา ๑๑๑๐ วรรคสอง และเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้ใช้เสร็จแล้ว

(เพิ่มเติม*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1112 ถ้าการจดทะเบียนมิได้ทำภายในสามเดือนนับแต่ประชุม ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่าบริษัทนั้นเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น และบรรดาเงินที่ได้รับ ไว้จากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นต้องใช้คืนเต็มจำนวนมิให้ลดเลย

ถ้ามีจำนวนเงินเช่นว่านั้นค้างอยู่มิได้คืนในสามเดือนภายหลังการประชุม ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่ากรรมการของบริษัทต้องรับผิดร่วมกันที่จะใช้ทั้งต้นเงิน และดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาสิ้นกำหนดสามเดือนนั้น

แต่ถ้ากรรมการคนใดพิสูจน์ได้ว่า การที่เงินขาดหรือที่ใช้คืนช้าไปมิได้ เป็นเพราะความผิดของตนไซร้ กรรมการคนนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในการใช้ต้น เงินหรือดอกเบี้ย

มาตรา 1113 ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกันและโดยไม่จำกัด ในบรรดาหนี้และการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้อนุมัติ และแม้จะ ได้มีอนุมัติก็ยังคงต้องรับผิดอยู่เช่นนั้นไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท

มาตรา 1114 เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนแล้ว ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะร้องฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนการที่ตนได้เข้าชื่อซื้อ โดยยกเหตุว่าสำคัญผิดหรือต้อง ข่มขู่หรือถูกลวงล่อฉ้อฉลนั้น ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่

มาตรา 1115 ถ้าหากว่าชื่อบริษัทซึ่งตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิพ้อง กับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วก็ดี หรือพ้องกับชื่อซึ่งตั้งไว้ในหนังสือ บริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนแล้วก็ดี หรือคล้ายคลึงกับชื่อเช่น กล่าวนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใดจะฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ได้ และจะร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อนั้นเสียใหม่ก็ได้

เมื่อศาลมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว ก็ต้องบอกชื่อซึ่งเปลี่ยนใหม่นั้นจดลงทะเบียน แทนชื่อเก่า และต้องแก้ใบสำคัญการจดทะเบียนด้วยตามกันไป

มาตรา 1116 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งประสงค์จะได้สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับบรรดามีในบริษัทหนึ่งบริษัทใด ก็ชอบที่จะเรียกได้จากบริษัทนั้น ในการนี้บริษัทจะเรียกเอาเงินไม่เกินฉบับละสิบบาทก็ได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 14* พ.ศ. 2548)

ส่วนที่ 2 หุ้นและผู้ถือหุ้น

มาตรา 1117 อันมูลค่าของหุ้น ๆ หนึ่งนั้น มิให้ต่ำกว่าห้าบาท

มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่

มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่

ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้ง ให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น

อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัท ในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น

มาตรา 1119 หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้น ซึ่งออกตามบทบัญญัติ มาตรา 1108
อนุมาตรา (5) หรือ มาตรา 1221

ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่

มาตรา 1120 บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น กรรมการจะ เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัย เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1121 การเรียกเงินค่าหุ้นแต่ละคราวนั้น ท่านบังคับว่าให้ ส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต่ำกว่ายี่สิบเอ็ดวันด้วยจดหมายส่งลง ทะเบียนไปรษณีย์และผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องใช้เงินตามจำนวนที่เรียกนั้น สุดแต่กรรมการจะได้กำหนดไปว่าให้ส่งไปยังผู้ใด ณ ที่ใด และเวลาใด

มาตรา 1122 ถ้าและเงินอันจะพึงส่งใช้เป็นค่าหุ้นตามเรียกนั้น ผู้ถือหุ้น คนใดมิได้ส่งใช้ตามวันกำหนดไซร้ ผู้นั้นจำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนด ให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ

มาตรา 1123 ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวัน กำหนดกรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ ไปยังผู้นั้นให้ส่งใช้เงินที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้

ในคำบอกกล่าวอันนี้ ให้กำหนดเวลาไปพอสมควรเพื่อให้ใช้เงินที่เรียก กับทั้งดอกเบี้ย และต้องบอกไปด้วยว่าให้ส่งใช้ ณ สถานที่ใด อนึ่งในคำบอก กล่าวนั้นจะแจ้งไปด้วยก็ได้ว่า ถ้าไม่ใช้เงินตามเรียก หุ้นนั้นอาจจะถูกริบ

มาตรา 1124 ถ้าในคำบอกกล่าวมีข้อแถลงความถึงการริบหุ้นด้วยแล้ว หากเงินค่าหุ้นที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ยยังคงค้างชำระอยู่ ตราบใดกรรมการจะ บอกริบหุ้นนั้น ๆ เมื่อใดก็ได้

มาตรา 1125 หุ้นซึ่งริบแล้วนั้นให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าได้ จำนวนเงินเท่าใดให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ ถ้ายังมีเงิน เหลือเท่าใดต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น

มาตรา 1126 แม้ว่าวิธีการริบหุ้นขายหุ้นจะไม่ถูกต้องด้วยระเบียบก็ดี ท่านว่าหาเหตุให้สิทธิของผู้ซื้อหุ้นซึ่งริบนั้นเสื่อมเสียไปอย่างไรไม่

มาตรา 1127 ให้บริษัททำใบหุ้น คือใบสำคัญสำหรับหุ้นใบหนึ่งหรือหลาย ใบ มอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้นจงทุก ๆ คน

เมื่อมอบใบหุ้นนั้น จะเรียกค่าธรรมเนียมก็ได้ สุดแต่กรรมการจะกำหนด แต่มิให้เกินสิบบาท

(แก้ไข*ฉบับที่ 14* พ.ศ. 2548)

มาตรา 1128 ในใบหุ้นทุก ๆ ใบ ท่านให้กรรมการลงลายมือชื่อเองคน หนึ่งเป็นอย่างน้อย และประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญ

ในใบหุ้นนั้นต้องมีข้อความต่อไปนี้ คือ
(1) ชื่อบริษัท
(2) เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น
(3) มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินเท่าใด
(4) ถ้าและเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้น แล้วหุ้นละเท่าใด
(5) ชื่อผู้ถือหุ้น หรือคำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ

มาตรา 1129 อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอม ของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัท กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลาย มือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือ นั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของ หุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย

การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้ จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

มาตรา 1130 หุ้นใดเงินที่เรียกค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่ หุ้นนั้นบริษัทจะไม่ ยอมรับจดทะเบียนให้โอนก็ได้

มาตรา 1131 ในระหว่างสิบสี่วันก่อนการประชุมใหญ่สามัญ บริษัทจะปิด สมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเสียก็ได้

มาตรา 1132 ในเหตุบางอย่างเช่นผู้ถือหุ้นตายก็ดี หรือล้มละลายก็ดี อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีสิทธิจะได้หุ้นขึ้นนั้น หากว่าบุคคลนั้นนำใบ หุ้นมาเวนคืน เมื่อเป็นวิสัยจะทำได้ ทั้งได้นำหลักฐานอันสมควรมาแสดงด้วย แล้ว ก็ให้บริษัทรับบุคคลนั้นลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นสืบไป

มาตรา 1133 หุ้นซึ่งโอนกันนั้นถ้าเป็นหุ้นอันยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวน ค่าหุ้น ท่านว่าผู้โอนยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ไม่ครบถ้วน นั้น แต่ว่า
(1) ผู้โอนไม่ต้องรับผิดในหนี้อันหนึ่งอันใดของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังโอน
(2) ผู้โอนไม่ต้องรับผิดออกส่วนใช้หนี้ เว้นแต่ความปรากฏขึ้นแก่ศาลว่า บรรดาผู้ที่ยังถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้อง ออกใช้นั้นได้

ในข้อความรับผิดเช่นว่ามานั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้โอนเมื่อพ้นสองปีนับแต่ ได้จดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

มาตรา 1134 ใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น จะออกได้ก็แต่เมื่อมีข้อบังคับของ บริษัทอนุญาตไว้ และจะออกให้ได้แต่เฉพาะเพื่อหุ้นซึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ใน กรณีเช่นว่านี้ ผู้ทรงใบหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมมีสิทธิจะได้รับใบหุ้นชนิดออกให้แก่ ผู้ถือ เมื่อเวนคืนใบหุ้นชนิดระบุชื่อนั้นให้ขีดฆ่าเสีย

มาตรา 1135 หุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้เพียง ด้วยส่งมอบใบหุ้นแก่กัน

มาตรา 1136 ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือย่อมมีสิทธิจะมาขอ เปลี่ยนเอาใบหุ้นชนิดระบุชื่อได้เมื่อเวนคืนใบหุ้นฉบับออกให้แก่ผู้ถือนั้น ให้ขีดฆ่าเสีย

มาตรา 1137 ถ้าข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดไว้เป็นองค์คุณอันหนึ่ง สำหรับผู้จะเป็นกรรมการ ว่าจำจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่าหนึ่ง เท่าใดไซร้หุ้นเช่นนี้ท่านว่าต้องเป็นหุ้นระบุชื่อ

มาตรา 1138 บริษัทจำกัดต้องมีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น มีรายการดั่ง ต่อไปนี้คือ
(1) ชื่อและสำนัก กับอาชีวะ ถ้าว่ามี ของผู้ถือหุ้น ข้อแถลงเรื่องหุ้น ของผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ๆ แยกหุ้นออกตามเลขหมายและจำนวนเงินที่ ได้ใช้แล้ว หรือที่ได้ตกลงกันให้ถือว่าเป็นอันได้ใช้แล้วในหุ้นของผู้ถือ หุ้นคนหนึ่ง ๆ
(2) วันเดือนปีซึ่งได้ลงทะเบียนบุคคลผู้หนึ่ง ๆ เป็นผู้ถือหุ้น
(3) วันเดือนปีซึ่งบุคคลคนใดคนหนึ่งขาดจากเป็นผู้ถือหุ้น
(4) เลขหมายใบหุ้นและวันที่ลงในใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ และเลขหมายของหุ้นซึ่งได้ลงไว้ในใบหุ้นนั้น ๆ
(5) วันที่ได้ขีดฆ่าใบหุ้นชนิดระบุชื่อ หรือชนิดออกให้แก่ผู้ถือ

มาตรา 1139 สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเริ่มแต่วันจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้ รักษาไว้ ณ สำนักงานของบริษัทแห่งที่ได้จดทะเบียนไว้ สมุดทะเบียนนี้ให้ เปิดให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายดูได้ ในระหว่างเวลาทำการโดยไม่เรียกค่า ธรรมเนียมอย่างหนึ่งอย่างใด แต่กรรมการจะจำกัดเวลาลงไว้อย่างไร พอสมควรก็ได้ หากไม่น้อยกว่าวันละสองชั่วโมง

ให้เป็นหน้าที่ของกรรมการ ที่จะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ที่ยังคงเป็น ผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมดในเวลาที่ประชุม และรายชื่อผู้ที่ขาดจากเป็นผู้ถือหุ้น จำเดิมแต่วันประชุมสามัญครั้งที่แล้วมานั้น ไปยังนายทะเบียนอย่างน้อย ปีละครั้งและมิให้ช้ากว่าวันที่สิบสี่ นับแต่การประชุมสามัญบัญชีรายชื่อนี้ ให้มีรายการบรรดาที่ระบุไว้ใน มาตรา ก่อนนั้นทุกประการ

มาตรา 1140 ผู้ถือหุ้นชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบสำเนาทะเบียนเช่นว่านั้นหรือแต่ตอนหนึ่งตอนใดแก่ตนได้ เมื่อเสียค่าสำเนาแต่ไม่เกินหน้าละห้าบาท (แก้ไข*ฉบับที่ 14*พ.ศ. 2548)

มาตรา 1141 สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องในข้อกระทงความบรรดาที่กฎหมายบังคับ หรือให้อำนาจให้เอาลงในทะเบียนนั้น

มาตรา 1142 ถ้าบริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิไปแล้ว ได้กำหนดไว้ว่า บุริมสิทธิจะมีแก่หุ้นนั้น ๆ เป็นอย่างไร ท่านห้ามมิให้แก้ไขอีกเลย

มาตรา 1143 ห้ามมิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง

ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด *1. บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 1144 บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน ด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง

มาตรา 1145 จำเดิมแต่ได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ท่านห้ามมิให้ ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความใน หนังสือบริคณห์สนธิแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่จะได้มีการลงมติพิเศษ

มาตรา 1146 บรรดาข้อบังคับอันได้ตั้งขึ้นใหม่ หรือได้เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะจัดให้ไปจดทะเบียนภายใน กำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ

มาตรา 1147  (ยกเลิก*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1148 บรรดาบริษัทจำกัด ต้องมีสำนักงานบอกทะเบียนไว้ แห่งหนึ่งซึ่งธุรการติดต่อและคำบอกกล่าวทั้งปวงจะส่งถึงบริษัทได้ ณ ที่นั้น

คำบอกกล่าวสถานที่ตั้งแห่งสำนักงานที่ได้บอกทะเบียนไว้ก็ดี หรือ เปลี่ยนย้ายสถานที่ก็ดี ให้ส่งแก่นายทะเบียนบริษัท และให้นายทะเบียน จดข้อความนั้นลงในทะเบียน

มาตรา 1149 ตราบใดหุ้นทั้งหลายยังมิได้ชำระเงินเต็มจำนวน ท่านว่าตราบนั้นบริษัทจะลงพิมพ์หรือแสดงจำนวนต้นทุนของบริษัท ในหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดเช่นในคำบอกกล่าวป่าวร้องก็ดี ในตั๋ว เงินและบัญชีสิ่งของก็ดี ในจดหมายก็ดี ต้องแสดงไว้ให้ชัดเจนด้วย ในที่เดียวกัน จำนวนเงินต้นทุนได้ชำระแล้วเพียงกี่ส่วน

ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด *2. กรรมการ

มาตรา 1150 ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใดและจะพึง ได้บำเหน็จเท่าใด ให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่จะกำหนด

มาตรา 1151 อันผู้เป็นกรรมการนั้น เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจจะตั้งหรือถอนได้

มาตรา 1152 ในเมื่อมีการประชุมสามัญครั้งแรกภายหลังแต่ จดทะเบียนบริษัทก็ดี และในเมื่อมีการประชุมสามัญครั้งแรกในปี ทุก ๆ ปีต่อไปก็ดี ผู้เป็นกรรมการต้องออกจากตำแหน่งโดยจำนวน หนึ่งในสามเป็นอัตราถ้าและจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงเป็น ส่วนสามไม่ได้ ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม

มาตรา 1153 ตัวกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรก และปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ถ้ากรรมการมิได้ตกลงกัน ไว้เองเป็นวิธีอื่นไซร้ ก็ให้จับสลากกัน ส่วนปีหลัง ๆ ต่อไปให้กรรมการ คนที่ได้อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ต้องออก

กรรมการผู้ออกไปนั้นจะเลือกเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้

มาตรา 1153/1 กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัท

กรรมการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่ง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้

มาตรา 1154 ถ้ากรรมการคนใดล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ ความสามารถไซร้ ท่านว่ากรรมการคนนั้นเป็นอันขาดจากตำแหน่ง

มาตรา 1155 ถ้าตำแหน่งว่างลงในสภากรรมการเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามเวรไซร้ ท่านว่ากรรมการจะเลือกผู้อื่นตั้งขึ้น ใหม่ให้เต็มที่ว่างก็ได้ แต่บุคคลที่ได้เป็นกรรมการใหม่เช่นนั้น ให้มีเวลา อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการผู้ออกไปนั้นชอบที่ จะอยู่ได้

มาตรา 1156 ถ้าที่ประชุมใหญ่ถอนกรรมการผู้หนึ่งออกก่อนครบ กาลกำหนดของเขา และตั้งคนอื่นขึ้นไว้แทนที่ไซร้ ท่านว่าบุคคลที่เป็น กรรมการใหม่นั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการ ผู้ถูกถอนนั้นชอบที่จะอยู่ได้

มาตรา 1157 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ ให้บริษัทนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง  (แก้ไข*ฉบับที่ 15*พ.ศ. 2549)

มาตรา 1158 นอกจากจะมีข้อบังคับของบริษัทไว้เป็นอื่น ท่านว่า กรรมการมีอำนาจดั่งพรรณนาไว้ในหก มาตรา ต่อไปนี้

มาตรา 1159 ในจำนวนกรรมการนั้น แม้ตำแหน่งจะว่างไปบ้าง กรรมการที่มีตัวอยู่ก็ย่อมทำกิจการได้ แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนกรรมการ ลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ตลอดเวลา เช่นนั้น กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะ เพิ่มกรรมการขึ้น ให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัท เท่านั้น จะกระทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้

มาตรา 1160 กรรมการจะวางกำหนดไว้ก็ได้ว่า จำนวนกรรมการ เข้าประชุมกี่คนจึ่งจะเป็นองค์ประชุมทำกิจการได้ ถ้าและมิได้กำหนด ไว้ดั่งนั้นไซร้(เมื่อจำนวนกรรมการเกินกว่าสามคน) ท่านว่าต้องมี กรรมการเข้าประชุม สามคนจึ่งจะเป็นองค์ประชุมได้

มาตรา 1161 ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาในที่ประชุมกรรมการนั้น ให้ชี้ขาดตัดสินเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด

มาตรา 1162 กรรมการคนหนึ่งคนใดจะนัดเรียกให้ประชุมกรรมการ เมื่อใดก็ได้

มาตรา 1163 กรรมการจะเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธาน ที่ประชุม และจะกำหนดเวลาว่าให้อยู่ในตำแหน่งเพียงใดก็ได้ แต่ถ้ หากมิได้เลือกกันไว้เช่นนั้น หรือผู้เป็นประธานไม่มาประชุมตามเวลา ที่ได้นัดหมายไซร้กรรมการที่มาประชุมนั้นจะเลือกกันคนหนึ่งขึ้นเป็น ประธานในการประชุมเช่นนั้นก็ได้

มาตรา 1164 กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้ แก่ผู้จัดการ หรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นกรรมการด้วย กันก็ได้ ในการใช้อำนาจซึ่งได้มอบหมายเช่นนั้น ผู้จัดการทุกคนหรือ อนุกรรมการทุกคนต้องทำตามคำสั่ง หรือข้อบังคับซึ่งกรรมการทั้งหลาย ได้กำหนดให้ทุกอย่างทุกประการ

มาตรา 1165 ถ้าการมอบอำนาจมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นไซร้ ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาขึ้นในที่ประชุมอนุกรรมการทั้งหลายให้ ตัดสินเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็น ประธานชี้ขาด

มาตรา 1166 บรรดาการซึ่งกรรมการคนหนึ่งได้ทำไปแม้ในภายหลัง ความปรากฏว่าการตั้งแต่งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องอยู่บ้างก็ดี หรือเป็นผู้บกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการก็ดี ท่านว่า การที่ได้ทำนั้นย่อมสมบูรณ์เสมือนดั่งว่าบุคคลผู้นั้นได้รับการแต่งตั้งโดย ถูกต้อง และบริบูรณ์ด้วยองค์คุณของกรรมการ

มาตรา 1167 ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน

มาตรา 1168 ในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทนั้นกรรมการ ต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความ ระมัดระวัง

ว่าโดยเฉพาะ กรรมการต้องรับผิดชอบร่วมกันในประการต่าง ๆ ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) การใช้เงินค่าหุ้นนั้น ได้ใช้กันจริง
(2) จัดให้มีและรักษาไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งบรรดาสมุดบัญชีและเอกสาร ที่กฎหมายกำหนดไว้
(3) การแจกเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้เป็นไปโดยถูกต้องตามที่ กฎหมายกำหนดไว้
(4) บังคับการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามมติของที่ประชุมใหญ่

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ผู้เป็นกรรมการประกอบการค้าขายใด ๆ อัน มีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของ บริษัทนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไป เข้าหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างค้าขายอื่นซึ่งประกอบกิจการ มีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของบริษัท โดยมิได้ รับความยินยอมของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น

บทบัญญัติที่กล่าวมาข้างบนนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงบุคคลซึ่งเป็น ผู้แทนของกรรมการด้วย

มาตรา 1169 ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้อง ร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอม ฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้

อนึ่ง การเรียกร้องเช่นนี้ เจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับก็ได้ เท่าที่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่

มาตรา 1170 เมื่อการซึ่งกรรมการคนใดได้ทำไปได้รับอนุมัติของที่ ประชุมใหญ่แล้ว ท่านว่ากรรมการคนนั้นไม่ต้องรับผิดในการนั้นต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งได้ให้อนุมัติหรือต่อบริษัทอีกต่อไป

ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นซึ่งมิได้ให้อนุมัติด้วยนั้นฟ้องคดี เมื่อพ้นเวลา หกเดือนนับแต่วันที่ประชุมใหญ่ให้อนุมัติแก่การเช่นว่านั้น
ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด *3. ประชุมใหญ่

มาตรา 1171 ให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ภายใน หกเดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัท และต่อนั้นไปก็ให้มีการประชุม เช่นนี้ครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อยทุกระยะเวลาสิบสองเดือน

การประชุมเช่นนี้ เรียกว่าประชุมสามัญ

การประชุมใหญ่คราวอื่นบรรดามีนอกจากนี้ เรียกว่าประชุมวิสามัญ

มาตรา 1172 กรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็น สมควร

ถ้าบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมการต้องเรียกประชุมวิสามัญ ทันทีเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบการที่ขาดทุนนั้น

มาตรา 1173 การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้น มีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้า ชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้น ในหนังสือร้องขอนั้นต้อง ระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด

_______________________________________________________________

การประชุมวิสามัญซึ่งเรียกโดยกรรมการเพียงคนเดียว

การเรียกประชุมวิสามัญนั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะเรียกประชุม มิใช่กรรมการคนใดคนหนึ่งแต่เพียงคนเดียว แม้ว่าผู้ถือหุ้นรวมกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ก็จะต้องทำหนังสือถึงคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  452/2518

_______________________________________________________________

มาตรา 1174 เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ดั่งที่กล่าวมาใน มาตรา ก่อนนี้แล้ว ให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน

ถ้าและกรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่น คำร้องไซร้ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้อง หรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกัน ได้จำนวนดั่งบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้

มาตรา 1175 คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน

คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย

(แก้ไข*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1176 ผู้ถือหุ้นทั่วทุกคนมีสิทธิจะเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นประชุมชนิดใดคราวใด

มาตรา 1177 วิธีดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา ต่อ ๆ ไปนี้ ท่านให้ใช้บังคับ แต่การประชุมใหญ่ เว้นแต่จะมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นข้อ ความขัดกัน

มาตรา 1178 ในการประชุมใหญ่ ถ้าไม่มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมรวม กันแทนหุ้นได้ถึงจำนวนหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัทเป็นอย่างน้อยแล้ว ท่านว่าที่ประชุมอันนั้นจะปรึกษากิจการอันใดหาได้ไม่

มาตรา 1179 การประชุมใหญ่เรียกนัดเวลาใด เมื่อล่วงเวลานัดนั้นไป แล้วถึงชั่วโมงหนึ่ง จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าประชุมยังไม่ครบถ้วนเป็น องค์ประชุมดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1178 นั้นไซร้ หากว่าการประชุม ใหญ่นั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ท่านให้เลิกประชุม

ถ้าการประชุมใหญ่นั้นมิใช่ชนิดซึ่งเรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอไซร้ ท่านให้เรียกนัดใหม่อีกคราวหนึ่งภายในสิบสี่วัน และการประชุมใหญ่ ครั้งหลังนี้ท่านไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุม

มาตรา 1180 ในการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ทุก ๆ ครั้ง ให้ผู้เป็นประธานในสภากรรมการนั่งเป็นประธาน

ถ้าประธานกรรมการเช่นว่านี้ไม่มีตัวก็ดี หรือไม่มาเข้าประชุมจน ล่วงเวลานัดไปแล้วสิบห้านาทีก็ดี ให้ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งอยู่ในที่นั้น เลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในจำนวนซึ่งมาประชุมขึ้นนั่งเป็นประธาน

มาตรา 1181 ผู้นั่งเป็นประธานจะเลื่อนการประชุมใหญ่ใด ๆ ไป เวลาอื่นโดยความยินยอมของที่ประชุมก็ได้ แต่ในที่ประชุมซึ่งได้เลื่อน มานั้นท่านมิให้ปรึกษากิจการอันใดนอกไปจากที่ค้างมาแต่วันประชุมก่อน

มาตรา 1182 ในการลงคะแนนโดยวิธีชูมือนั้น ท่านให้นับว่าผู้ถือหุ้น ทุกคนที่มาประชุมเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทนมีเสียงหนึ่ง เป็นคะแนน แต่ในการลงคะแนนลับท่านให้นับว่าผู้ถือหุ้นทุกคนมีคะแนน เสียง เสียงหนึ่งต่อหุ้นหนึ่งที่ตนถือ

มาตรา 1183 ถ้ามีข้อบังคับของบริษัทวางเป็นกำหนดไว้ว่า ต่อเมื่อ ผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีหุ้นแต่จำนวนเท่าใดขึ้นไปจึ่งให้ออกเสียงเป็นคะแนนได้ ไซร้ ท่านว่าผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งไม่มีหุ้นถึงจำนวนเท่านั้น ย่อมมีสิทธิ ที่จะเข้ารวมกันให้ได้จำนวนหุ้นดั่งกล่าว แล้วตั้งคนหนึ่งในพวกของตน ให้เป็นผู้รับฉันทะออกเสียงแทนในการประชุมใหญ่ใด ๆ ได้

มาตรา 1184 ผู้ถือหุ้นคนใดยังมิได้ชำระเงินค่าหุ้นซึ่งบริษัทได้เรียก เอาแต่ตนให้เสร็จสิ้น ท่านว่าผู้ถือหุ้นคนนั้นไม่มีสิทธิออกเสียงเป็นคะแนน

มาตรา 1185 ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่ง ที่ประชุมจะลงมติ ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนนั้นออกเสียงลงคะแนนด้วย ในข้อนั้น

มาตรา 1186 ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือหาอาจออกเสียงเป็น คะแนนได้ไม่ เว้นแต่จะได้นำใบหุ้นของตนนั้นมาวางไว้แก่บริษัทแต่ก่อน เวลาประชุม

มาตรา 1187 ผู้ถือหุ้นทุกคนจะมอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตน ก็ได้ แต่การมอบฉันทะเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือ

มาตรา 1188 หนังสือตั้งผู้รับฉันทะนั้น ให้ลงวันและลงลายมือชื่อผู้ถือหุ้น และให้มีรายการดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) จำนวนหุ้นซึ่งผู้มอบฉันทะนั้นถืออยู่
(2) ชื่อผู้รับฉันทะ
(3) ตั้งผู้รับมอบฉันทะนั้นเพื่อการประชุมครั้งคราวใด หรือตั้งไว้ชั่วระยะ เวลาเพียงใด

มาตรา 1189 อันหนังสือตั้งผู้รับฉันทะนั้น ถ้าผู้มีชื่อรับฉันทะ ประสงค์จะออกเสียงในการประชุมครั้งใด ต้องนำไปวางต่อผู้เป็น ประธานแต่เมื่อเริ่ม หรือก่อนเริ่มประชุมครั้งนั้น

มาตรา 1190 ในการประชุมใหญ่ใด ๆ ข้อมติอันเสนอให้ลงคะแนน ท่านให้ตัดสินด้วยวิธีชูมือ เว้นแต่เมื่อก่อนหรือในเวลาที่แสดงผลแห่ง การชูมือนั้นจะได้มีผู้ถือหุ้นสองคนเป็นอย่างน้อยติดใจร้องขอให้ลง คะแนนลับ

มาตรา 1191 ในการประชุมใหญ่ใด ๆเมื่อผู้เป็นประธานแสดงว่ามติ อันใดนับคะแนนชูมือเป็นอันว่าได้หรือตกก็ดี และได้จดลงไว้ในสมุด รายงานประชุมของบริษัทดั่งนั้นแล้ว ท่านให้ถือเป็นหลักฐานเพียงพอ ที่จะฟังได้ตามนั้น

ถ้ามีผู้ติดใจร้องขอให้ลงคะแนนลับไซร้ ท่านให้ถือว่าผลแห่งคะแนน ลับนั้นเป็นมติของที่ประชุม

มาตรา 1192 ถ้ามีผู้ติดใจร้องขอโดยชอบให้ลงคะแนนลับ การลงคะแนนเช่นนั้นจะทำด้วยวิธีใดสุดแล้วแต่ผู้เป็นประธานจะสั่ง

มาตรา 1193 ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน จะเป็นในการชูมือก็ดี หรือใน การลงคะแนนลับก็ดี ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียง หนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 1194 การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

(แก้ไข*ฉบับที่ 18*พ.ศ. 2551)

มาตรา 1195 การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของ บริษัทก็ดีเมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้วให้ศาลเพิก ถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย แต่ต้องร้องขอภายใน กำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น
ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด * 4. บัญชีงบดุล

มาตรา 1196 อันบัญชีงบดุลนั้น ท่านว่าต้องทำอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุก รอบสิบสองเดือน คือเมื่อเวลาสุดรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นขวบปีใน ทางบัญชีเงินของบริษัทนั้น

อนึ่ง งบดุลต้องมีรายการย่อแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของ บริษัทกับทั้งบัญชีกำไรและขาดทุน

มาตรา 1197 งบดุลนั้นต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคน ตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ ลงในงบดุลนั้น

อนึ่ง ให้ส่งสำเนางบดุลไปยังบุคคลทุกคนบรรดามีชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้น ของบริษัทแต่ก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน

นอกจากนั้นให้มีสำเนางบดุลเปิดเผยไว้ในสำนักงานของบริษัทในระหว่าง เวลาเช่นว่านั้น เพื่อให้ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือนั้นตรวจดูได้ด้วย

มาตรา 1198 ในเมื่อเสนองบดุล กรรมการต้องเสนอรายงานต่อที่ ประชุมใหญ่ แสดงว่าภายในรอบปีซึ่งพิจารณากันอยู่นั้นการงานของ บริษัทได้จัดทำไปเป็นประการใด

มาตรา 1199 บุคคลใดประสงค์จะได้สำเนางบดุลฉบับหลังที่สุดจากบริษัทใดๆ ก็ชอบที่จะซื้อเอาได้โดยราคาไม่เกินฉบับละยี่สิบบาท  (แก้ไข*ฉบับที่ 14*พ.ศ. 2548)

ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด * 5. เงินปันผลและเงินสำรอง

มาตรา 1200 การแจกเงินปันผลนั้น ต้องคิดตามส่วนจำนวน ซึ่งผู้ถือหุ้น ได้ส่งเงินแล้วในหุ้นหนึ่ง ๆ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้น บุริมสิทธิ

มาตรา 1201 ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตเงินปันผล นอกจากโดยมติ ของที่ประชุมใหญ่

กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น ได้เป็นครั้งเป็น คราว ในเมื่อปรากฏแก่กรรมการว่าบริษัทมีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้น

ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหาก บริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุน เช่นนั้น

มาตรา 1202 ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุน สำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไร ซึ่งบริษัททำมาหาได้จาก กิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุน ของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท

ถ้าได้ออกหุ้นโดยคิดเอาราคาเกินกว่าที่ปรากฏในใบหุ้นเท่าใด จำนวน ที่คิดเกินนี้ท่านให้บวกทบเข้าในทุนสำรองจนกว่าทุนสำรองจะมีจำนวนเท่าถึงที่ กำหนดไว้ในวรรคก่อน

มาตรา 1203 ถ้าจ่ายเงินปันผลไปโดยฝ่าฝืนความใน มาตรา ทั้งสองซึ่ง กล่าวมาไซร้ เจ้าหนี้ทั้งหลายของบริษัทชอบที่จะเรียกเอาเงินจำนวนซึ่งได้ แจกไปคืนมายังบริษัทได้ แต่ว่าถ้าผู้ถือหุ้นคนใดได้รับเงินปันผลไปแล้วโดย สุจริต ท่านว่าจะกลับบังคับให้เขาจำคืนนั้นหาได้ไม่

มาตรา 1204 การบอกกล่าวว่าจะปันผลอย่างใดๆ อันได้อนุญาตให้จ่ายนั้น ให้บริษัทมีจดหมายบอกกล่าวไปยังตัวผู้ถือหุ้นที่ปรากฏชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกคน แต่ในกรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวด้วย

(แกไข*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

ส่วนที่ 7 ตั๋วแลกเงินเป็นสำรับ

มาตรา 975 อันตั๋วแลกเงินนั้น นอกจากชนิดที่สั่งจ่ายแก่ผู้ถือแล้ว จะออกไปเป็นคู่ฉีกความต้องกันสองฉบับ หรือกว่านั้นก็อาจจะออกได้

คู่ฉีกเหล่านี้ต้องมีหมายลำดับลงไว้ในตัวตราสารนั้นเอง มิฉะนั้นคู่ฉีก แต่ละฉบับย่อมใช้ได้เป็นตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่ง ๆ แยกเป็นตั๋วเงินต่าง ฉบับกัน

บุคคลทุกคนซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วเงินอันมิได้ระบุว่าได้ออกเป็นตั๋วเดี่ยว นั้น จะเรียกให้ส่งมอบคู่ฉีกสองฉบับหรือกว่านั้นแก่ตนก็ได้ โดยยอมให้ คิดค่าใช้จ่ายเอาแก่ตน ในการนี้ผู้ทรงต้องว่ากล่าวไปยังผู้สลักหลังคน ถัดตนขึ้นไป และผู้สลักหลังคนนั้นก็จำต้องช่วยผู้ทรงว่ากล่าวไปยังผู้ที่ สลักหลังให้แก่ตนต่อไปอีก สืบเนื่องกันไปเช่นนี้ตลอดสายจนกระทั่ง ถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งผู้สลักหลังทั้งหลายจำต้องเขียนคำสลักหลังของ ตนเป็นความเดียวกันลงในฉบับคู่ฉีกใหม่แห่งตั๋วสำรับนั้นอีกด้วย

มาตรา 976 ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินสำรับหนึ่งสลักหลังคู่ฉีกสองฉบับ หรือกว่านั้นให้แก่บุคคลต่างคนกัน ท่านว่าผู้ทรงย่อมต้องรับผิดตามคู่ฉีก เช่นว่านั้นทุก ๆ ฉบับ และผู้สลักหลังภายหลังผู้ทรงทุก ๆ คนก็ต้องรับ ผิดตามคู่ฉีกอันตนเองได้สลักลงไปนั้น เสมือนดั่งว่าคู่ฉีกที่ว่านั้นแยก เป็นตั๋วเงินต่างฉบับกัน

มาตรา 977 ถ้าคู่ฉีกสองฉบับหรือกว่านั้นในสำรับหนึ่งได้เปลี่ยนมือ ไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่างคนกันไซร้ ในระหว่างผู้ทรง เหล่านั้นด้วยกันคนใดได้เป็นสิทธิก่อน ท่านให้ถือว่าคนนั้นเป็นเจ้าของ อันแท้จริงแห่งตั๋วเงินนั้นแต่ความใด ๆ ในบท มาตรานี้ ไม่กระทบกระทั่ง ถึงสิทธิของบุคคลผู้ทำการโดยชอบด้วยกฎหมายรับรอง หรือใช้เงินไป ตามคู่ฉีกฉบับซึ่งเขายื่นแก่ตนก่อน

มาตรา 978 คำรับรองนั้นจะเขียนลงในคู่ฉีกฉบับใดก็ได้ และจะต้อง เขียนลงในคู่ฉีกแต่เพียงฉบับเดียวเท่านั้น

ถ้าผู้จ่ายรับรองลงไปกว่าฉบับหนึ่ง และคู่ฉีกซึ่งรับรองเช่นนั้นตกไปถึง มือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่างคนกันไซร้ ท่านว่าผู้จ่ายจะต้องรับผิด ตามคู่ฉีกนั้น ๆ ทุกฉบับ เสมือนดั่งว่าแยกเป็นตั๋วเงินต่างฉบับกัน

มาตรา 979 ถ้าผู้รับรองตั๋วเงินซึ่งออกเป็นสำรับใช้เงินไปโดยมิได้ เรียกให้ส่งมอบคู่ฉีกฉบับซึ่งมีคำรับรองของตนนั้นให้แก่ตน และในเวลา ตั๋วเงินถึงกำหนด คู่ฉีกฉบับนั้นไปตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมายคนใดคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้รับรองจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงคู่ฉีก ฉบับนั้น

มาตรา 980 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายซึ่งกล่าวมาก่อน นั้น ถ้าคู่ฉีกฉบับใดแห่งตั๋วเงินออกเป็นสำรับได้หลุดพ้นไปด้วยการ ใช้เงิน หรือประการอื่นฉบับหนึ่งแล้ว ท่านว่าตั๋วเงินทั้งสำรับก็ย่อม หลุดพ้นไปตามกัน

มาตรา 981 คู่สัญญาซึ่งส่งคู่ฉีกฉบับหนึ่งไปให้เขารับรองต้องเขียน แถลงลงในคู่ฉีกฉบับอื่นว่าคู่ฉีกฉบับโน้นอยู่ในมือบุคคลชื่อไร ส่วนบุคคล คนนั้นก็จำต้องสละตั๋วให้แก่ผู้ทรง โดยชอบด้วยกฎหมายแห่งคู่ฉีกฉบับ อื่นนั้น

ถ้าบุคคลคนนั้นบอกปัดไม่ยอมให้ ท่านว่าผู้ทรงยังจะใช้สิทธิไล่เบี้ย ไม่ได้จนกว่าจะได้ทำคัดค้านระบุความดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ว่าคู่ฉีกฉบับซึ่งได้ส่งไปเพื่อรับรองนั้น เขาไม่สละให้แก่ตนเมื่อ ทวงถาม
(2) ว่าไม่สามารถจะให้เขารับรองหรือใช้เงินด้วยคู่ฉีกฉบับอื่นได้

หมวด 3 ตั๋วสัญญาใช้เงิน

มาตรา 982 อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่ง บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวน หนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน

มาตรา 983 ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
(2) คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) วันถึงกำหนดใช้เงิน
(4) สถานที่ใช้เงิน
(5) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน
(6) วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
(7) ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

มาตรา 984 ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่าน ระบุบังคับไว้ใน มาตรา ก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน เว้นแต่ในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อ ได้เห็น

ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ท่านให้ถือเอา
ภูมิลำเนาของผู้ออกตราสารนั้นเป็นสถานที่ใช้เงิน ถ้าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ระบุสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วนั้นได้ ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว

ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่ง คนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

มาตรา 985 บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 ว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 911,มาตรา 913,มาตรา 916,มาตรา 917,มาตรา 919,มาตรา 920,มาตรา 922 ถึง มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 947,มาตรา 949,มาตรา 950,มาตรา 954 ถึง มาตรา 959,มาตรา 967 ถึง มาตรา 971

ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบท บัญญัติต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973,มาตรา 974

มาตรา 986 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียว กันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายหลังได้เห็น นั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ใน มาตรา 928 กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่น นี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้น ให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น
หมวด 4 เช็ค

มาตรา 987 อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน

มาตรา 988 อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) ชื่อ หรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร
(4) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
(5) สถานที่ใช้เงิน
(6) วันและสถานที่ออกเช็ค
(7) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา 989 บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับ สภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 910,มาตรา 914 ถึง มาตรา 923,มาตรา 925,มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 940, มาตรา 945,มาตรา 946,มาตรา 959มาตรา 967,มาตรา 971

ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา มาตรา 924,มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973 ถึง มาตรา 977,มาตรา 980

มาตรา 990 ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่า ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ต้องยื่นภายใน เดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่น ภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะ เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลย เสียไม่ยื่นเช็คนั้น

อนึ่ง ผู้ทรงเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดไปแล้วนั้น ท่านให้รับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายคนนั้นอันมีต่อธนาคาร

มาตรา 991 ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคาร ได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตาม เช็คนั้นหรือ
(2) เช็คนั้นยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ
(3) ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

มาตรา 992 หน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิก แก่ตนนั้น ท่านว่าเป็นอันสุดสิ้นไปเมื่อกรณีเป็นดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) มีคำบอกห้ามการใช้เงิน
(2) รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย
(3) รู้ว่าศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็น คนล้มละลาย หรือได้มีประกาศโฆษณาคำสั่งเช่นนั้น

มาตรา 993 ถ้าธนาคารเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า "ใช้ได้" หรือ "ใช้เงินได้" หรือคำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ท่านว่าธนาคารต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คเป็นผู้จัดการให้ธนาคารลงข้อความรับรองดั่งว่านั้น ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังทั้งปวงเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด ตามเช็คนั้น

ถ้าธนาคารลงข้อความรับรองดั่งนั้นโดยคำขอร้องของผู้สั่งจ่าย ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและปวงผู้สลักหลังก็หาหลุดพ้นไปไม่

มาตรา 994 ถ้าในเช็คมีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้า กับมี หรือไม่มีคำว่า "และบริษัท" หรือคำย่ออย่างใด ๆ แห่งของความนี้อยู่ ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้นไซร้ เช็คนั้นชื่อว่าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น

ถ้าในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อธนาคารอันหนึ่งอันใดลงไว้ โดยเฉพาะ เช็คเช่นนั้นชื่อว่าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ และจะใช้เงิน ตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารอันนั้น

มาตรา 995 (1) เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่ง จะเรียกขีดคร่อมเสียก็ได้ และจะทำเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อม เฉพาะก็ได้
(2) เช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะทำให้เป็นขีดคร่อมเฉพาะเสียก็ได้
(3) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคำลงว่า"ห้ามเปลี่ยนมือ" ก็ได้
(4) เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อม เฉพาะให้ไปแก่ธนาคารอื่นเพื่อเรียกเก็บเงินก็ได้
(5) เช็คไม่มีขีดคร่อมก็ดี เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ส่งไปยังธนาคารใด เพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะลงขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนเองก็ได้

มาตรา 996 การขีดคร่อมเช็คตามที่อนุญาตไว้ใน มาตรา ก่อนนั้น ท่านว่าเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของเช็ค ใครจะลบล้างย่อมไม่เป็นการ ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 997 เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป เมื่อนำเบิกเอาแก่ธนาคารใด ท่านให้ธนาคารนั้นบอกปัดเสียอย่าใช้เงินให้ เว้นแต่ที่ขีดคร่อมให้แก่ธนาคารในฐานเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงิน

ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คเบิกขืนใช้เงินไปตามเช็คที่ขีดคร่อมอย่างว่ามา นั้นก็ดี ใช้เงินตามเช็คอันเขาขีดคร่อมทั่วไปเป็นประการอื่นนอกจากใช้ให้ แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่งก็ดี ใช้เงินตามเช็คอันเขาขีดคร่อมเฉพาะเป็น ประการอื่นนอกจากใช้ให้แก่ธนาคาร ซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดย เฉพาะหรือแก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นก็ดี ท่านว่า ธนาคารซึ่งใช้เงินไปดั่งกล่าวนี้ จะต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริง แห่งเช็คนั้นในการที่เขาต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะการที่ตนใช้เงินไป ตามเช็คดั่งนั้น

แต่หากเช็คใดเขานำยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และเมื่อยื่นไม่ปรากฏว่าเป็นเช็ค ขีดคร่อมก็ดี หรือไม่ปรากฏว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่นนอกจากที่อนุญาตไว้โดยกฎหมาย ก็ดี เช็คเช่นนี้ถ้าธนาคารใดใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากประมาท เลินเล่อ ท่านว่าธนาคารนั้นไม่ต้องรับผิดหรือต้องมีหน้าที่รับใช้เงิน อย่างใด ๆ

มาตรา 998 ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คขีดคร่อมเบิกเงินใช้เงินไปตาม เช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ กล่าวคือว่าถ้าเป็นเช็ค ขีดคร่อมทั่วไปก็ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อม เฉพาะก็ใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดยเฉพาะหรือใช้ให้ แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นไซร้ ท่านว่าธนาคารซึ่ง ใช้เงินไปตามเช็คนั้นฝ่ายหนึ่ง กับถ้าเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินแล้ว ผู้สั่ง จ่ายอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน และเข้าอยู่ในฐานอัน เดียวกันเสมือนดั่งว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว

มาตรา 999 บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและ ไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้ เช็คของเขามา

มาตรา 1000 ธนาคารใดได้รับเงินไว้เพื่อผู้เคยค้าของตนโดยสุจริต และปราศจากประมาทเลินเล่อ อันเป็นเงินเขาใช้ให้ตามเช็คขีดคร่อม ทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ดี หากปรากฏว่าผู้เคยค้านั้น ไม่มีสิทธิหรือมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คนั้นไซร้ ท่านว่าเพียงแต่ เหตุที่ได้รับเงินไว้หาทำให้ธนาคารนั้นต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอัน แท้จริงแห่งเช็คนั้นแต่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่

หมวด 5 อายุความ

มาตรา 1001 ในคดีฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงินก็ดี ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ก็ดี ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน

มาตรา 1002 ในคดีที่ผู้ทรงตั๋วเงินฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ท่าน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้น ภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือนับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ใน กรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า "ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน

มาตรา 1003 ในคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่ เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายแห่งตั๋วเงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา หกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือนับแต่ วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง

มาตรา 1004 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงเพราะการอันหนึ่งอันใด ซึ่งกระทำแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ท่านว่าย่อมมีผลสะดุด หยุดลงเพียงแต่แก่คู่สัญญาฝ่ายนั้น

มาตรา 1005 ถ้าตั๋วเงินได้ทำขึ้นหรือได้โอนหรือสลักหลังไปแล้ว ในมูลหนี้อันหนึ่งอันใด และสิทธิตามตั๋วเงินนั้นมาสูญสิ้นไปเพราะ อายุความก็ดี หรือเพราะละเว้นไม่ดำเนินการให้ต้องตามวิธีใด ๆ อัน จะพึงต้องทำก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังคงมีอยู่ตามหลักกฎหมายอัน แพร่หลายทั่วไปเท่าที่ลูกหนี้มิได้ต้องเสียหายแต่การนั้น เว้นแต่จะ ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

หมวด 6 ตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วเงินหาย

มาตรา 1006 การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น

มาตรา 1007 ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตาม ตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังใน ภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยน แปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมายไซร้ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดั่งว่ามิได้มีการเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อ ความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือ ว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลง อย่างใดๆ แก่วันที่ลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไป ไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเติม ความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย

มาตรา 1008 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่ บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่า ลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะ อ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำ ให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้น คนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่าย ซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัด บทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้น ขึ้นเป็นข้อต่อสู้

แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาใน มาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึง การให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อซึ่งลงไว้ โดยปราศจากอำนาจแต่หากไม่ถึง แก่เป็นลายมือปลอม

มาตรา 1009 ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถาม มาเบิกต่อธนาคารใด และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดย สุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้ ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะ ต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังราย ใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของ คำสลักหลังนั้นและถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอม หรือปราศจากอำนาจก็ตาม ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

มาตรา 1010 เมื่อผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหายหรือถูกลักทราบเหตุแล้วในทันใดนั้นต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ออกตั๋วเงิน ผู้จ่าย ผู้สมอ้างยามประสงค์ ผู้รับรองเพื่อแก้หน้าและผู้รับอาวัล ตามแต่มีเพื่อให้บอกปัดไม่ใช้เงินตามตั๋ว เงินนั้น

มาตรา 1011 ถ้าตั๋วเงินหายไปแต่ก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงิน ท่านว่าบุคคลซึ่งได้เป็นผู้ทรงตั๋วเงินนั้น จะร้องขอไปยังผู้สั่งจ่ายให้ให้ตั๋ว เงินเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งก็ได้ และในการนี้ถ้าเขา ประสงค์ก็วางประกันให้ไว้แก่ผู้สั่งจ่าย เพื่อไว้ทดแทนที่เขาหากจะต้องเสีย หายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในกรณีที่ตั๋วเงินซึ่งว่าหายนั้นจะกลับหาได้

อนึ่ง ผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงิน คู่ฉบับเช่นนั้น อาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้

ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(3) บริษัทจำกัด

มาตรา 1014 บรรดาสำนักงานสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและ บริษัททั้งหลายนั้น ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงซึ่งบัญชาการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับจัดตั้งขึ้น

มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติ แห่งลักษณะนี้แล้ว ท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น

มาตรา 1016 การจดทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ทำกิจการอยู่ ณ ตำบลใดในพระราชอาณาจักร ท่านให้จดทะเบียน ณ หอทะเบียนสำหรับตำบลนั้น

การแก้ไขข้อความที่ได้จดทะเบียนประการหนึ่งประการใดใน ภายหลังก็ดีกับทั้งแก้ไขการอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดอันบทบัญญัติ แผนกนี้บังคับหรืออนุญาตให้จดทะเบียนก็ดี ก็ต้องจด ณ หอ ทะเบียนแห่งเดียวกันนั้น

มาตรา 1017 ถ้าข้อความที่จะจดทะเบียน หรือประกาศโฆษณา เกิดขึ้นในต่างประเทศไซร้ ท่านให้นับกำหนดเวลาสำหรับการจด ทะเบียนหรือประกาศโฆษณาข้อความนั้น ตั้งแต่เวลาเมื่อคำบอก กล่าวการนั้นมาถึงตำบลที่จะจดทะเบียนหรือตำบลที่จะประกาศ โฆษณานั้นเป็นต้นไป

มาตรา 1018 ในการจดทะเบียน ท่านให้เสียค่าธรรมเนียมตาม กฎข้อบังคับซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงตั้งไว้

มาตรา 1019 ถ้าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารซึ่งต้องจดทะเบียน ไม่มีรายการบริบูรณ์ตามที่บังคับไว้ในลักษณะนี้ว่าให้จดแจ้งก็ดี หรือ ถ้ารายการอันใดซึ่งจะแจ้งในคำขอหรือในเอกสารนั้นขัดกับกฎหมาย ก็ดี หรือถ้าเอกสารใด ซึ่งกำหนดไว้ว่าให้ส่งด้วยกันกับคำขอจดทะ เบียนยังขาดอยู่มิได้ส่งให้ครบก็ดี หรือถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้ออื่น ซึ่งกฎหมายบังคับไว้ก็ดีนายทะเบียนจะไม่ยอมรับจดทะเบียนก็ได้ จนกว่าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารนั้นจะได้ทำให้บริบูรณ์หรือแก้ไข ให้ถูกต้อง หรือได้ส่งเอกสารซึ่งกำหนดไว้นั้นครบทุกสิ่งอันหรือได้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนั้นแล้ว

มาตรา 1020 บุคคลทุกคนเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้วชอบที่จะตรวจเอกสารซึ่งนายทะเบียนเก็บรักษาไว้ได้ หรือจะขอให้คัดสำเนาหรือเนื้อความในเอกสารฉบับใดๆ พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องมอบให้ก็ได้

ผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ชอบที่จะขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้ก็ได้

(แก้ไข*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1021 นายทะเบียนทุกคนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลง ทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ตามแบบซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงจะได้กำหนดให้

มาตรา 1022 เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดั่งนั้นแล้ว ท่านให้ถือว่าบรรดา เอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียน อันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้น เป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วน หรือด้วยบริษัทนั้นหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1023 ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ดี ห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือบริษัทก็ดี จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสาร หรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนตามลักษณะนี้ยังไม่ได้ จนกว่าจะได้จดทะเบียนแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลภายนอกจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

แต่ถึงกระนั้นก็ดี ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทซึ่งได้รับชำระหนี้ก่อนจดทะเบียนนั้นย่อมไม่จำต้องคืน

(แก้ไข*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1023/1 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะยกมาตรา 1023 ขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อไม่ให้ต้องรับผิดโดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการมิได้

(เพิ่มเติม*ฉบับที่ 18* พ.ศ. 2551)

มาตรา 1024 ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก็ดี หรือในระหว่าง ผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุด บัญชีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือของผู้ชำระ บัญชีห้างหุ้นส่วนใดๆนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อ ความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ
หมวด 2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ส่วนที่1 บทวิเคราะห์

มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภท ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด
ส่วนที่ 2 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง

มาตรา 1026 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน

สิ่งที่นำมาลงด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้

มาตรา 1027 ในเมื่อมีกรณีเป็นข้อสงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สิ่งซึ่งนำมาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน

มาตรา 1028 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้ลงแต่แรงงานของตนเข้า เป็นหุ้นและในสัญญาเข้าหุ้นส่วนมิได้ตีราคาค่าแรงไว้ ท่านให้คำนวณ ส่วนกำไรของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยลงแรงงานเช่นนั้นเสมอด้วยส่วน ถัวเฉลี่ยของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลงเงินหรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้นในการนั้น

มาตรา 1029 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งเอาทรัพย์สินมาให้ใช้เป็น การลงหุ้นด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับ ห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความรับผิดเพื่อชำรุดบก พร่องก็ดีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดี ข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยเช่าทรัพย์

มาตรา 1030 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน อันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความ รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดีความรับผิดเพื่อความรอนสิทธิก็ดี ข้อ ยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยซื้อขาย

มาตรา 1031 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้น ของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียน ไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมา ภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็น พร้อมกันหรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญา ให้เอาผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้

มาตรา 1032 ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้าง หุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการ นอกจากด้วยความยินยอมของ ผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็น อย่างอื่น

มาตรา 1033 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการ ห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใด ซึ่งผู้ เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้

ในกรณีเช่นนี้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทุกคน

มาตรา 1034 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นจัก ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ ท่านให้ผู้เป็นหุ้น ส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลง หุ้นด้วยมากหรือน้อย

มาตรา 1035 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคน จัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้น ส่วนนั้นก็ได้ แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด จะทำการอันใดซึ่ง หุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้

มาตรา 1036 อันหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น จะเอาออกจากตำแหน่งได้ ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกัน เว้นแต่จะได้ตกลง กันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1037 ถึงแม้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้ตกลงให้ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนก็ดี ผู้เป็น หุ้นส่วนทุกคนนอกจากผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของ ห้างหุ้นส่วนที่จัดอยู่นั้นได้ทุกเมื่อและมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนา สมุด บัญชี และเอกสารใด ๆ ของหุ้นส่วนได้ด้วย

มาตรา 1038 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่ง อย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของ ห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นโดย มิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรานี้ ไซร้ ผู้ เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความ เสียหายเพราะเหตุนั้น แต่ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่ง นับแต่วันทำการฝ่าฝืน

มาตรา 1039 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำต้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนด้วย ความระมัดระวังให้มากเสมือนกับจัดการงานของตนเองฉะนั้น

มาตรา 1040 ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใน ห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกัน ทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1041 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งโอนส่วนกำไรของตน ในห้างหุ้นส่วนทั้งหมดก็ดีหรือแต่บางส่วนก็ดี ให้แก่บุคคลภายนอกโดย มิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นไซร้ ท่านว่าบุคคล ภายนอกนั้นจะกลายเป็นเข้าหุ้นส่วนด้วยก็หามิได้

มาตรา 1042 ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน

มาตรา 1043 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้เป็นผู้จัดการเอื้อมเข้ามาจัด การงานของห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้จัดการกระทำ ล่วงขอบอำนาจของตนก็ดี ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยจัดการงานนอกสั่ง

มาตรา 1044 อันส่วนกำไรก็ดี ส่วนขาดทุนก็ดี ของผู้เป็นหุ้นส่วน ทุก ๆ คนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น

มาตรา 1045 ถ้าหุ้นส่วนของผู้ใดได้กำหนดแต่เพียงข้างฝ่ายกำไร ว่าจะแบ่งเอาเท่าไร หรือกำหนดแต่เพียงข้างขาดทุนว่าจะยอมขาด เท่าไรฉะนี้ไซร้ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหุ้นส่วนของผู้นั้นมีส่วนกำไร และส่วนขาดทุนเป็นอย่างเดียวกัน

มาตรา 1046 ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนหนึ่งคนใดหามีสิทธิจะได้รับ บำเหน็จเพื่อที่ได้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ เว้นแต่จะได้มี ความตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1047 ถ้าชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ยังคงใช้เรียกขานติดเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ชอบที่จะเรียกให้งดใช้ชื่อของตนเสียได้

มาตรา 1048 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะเรียกเอาส่วนของตนจาก หุ้นส่วนอื่น ๆ แม้ในกิจการค้าขายอันใดซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้
ส่วนที่ 3 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก

มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอก ในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่

มาตรา 1050 การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไป ในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้นท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น เพราะจัดการไป เช่นนั้น

มาตรา 1051 ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้อง รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป

มาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิด ในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ด้วย

มาตรา 1053 ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น ถึงแม้จะมีข้อ จำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคน อื่น ๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผู้ถึงบุคคลภายนอกไม่

มาตรา 1054 บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดีด้วย ลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็น ชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เข้าแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดา หนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคง ค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือ ใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังมรณะนั้นไม่
ส่วนที่ 4 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1055 ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันเมื่อ มีกรณีนั้น
(2) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(3) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
(4) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามกำหนดดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1056
(5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ ความสามารถ

มาตรา 1056 ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่ง อย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง บอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็น หุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

มาตรา 1057 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกัน เสียก็ได้คือ
(1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิด บทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว
และไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
(3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้

มาตรา 1058 เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน คนหนึ่งซึ่งตามความใน
มาตรา 1057 หรือ มาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้ เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้ กำจัด หุ้นส่วนผู้ต้นเหตุนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน ก็ได้

ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูก กำจัดนั้นท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ใน เวลานั้นแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด

มาตรา 1059 ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้ และผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลาย หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่าง กำหนดนั้นยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระ บัญชี หรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล

มาตรา 1060 ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ใน มาตรา 1055 อนุมาตรา (4) หรืออนุ(5) นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้น ของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน

มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย

ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้ เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อ เจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย

การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ หรือให้ บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ

การตั้งแต่งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมาก ของผู้เป็นหุ้นส่วน

มาตรา 1062 การชำระบัญชี ให้ทำโดยลำดับดั่งนี้ คือ
(1) ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
(2) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของ ตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
(3) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้น

ถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วน

มาตรา 1063 ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก และชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืน แก่ผู้เป็นหุ้นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด

ส่วนที่ 5 การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1064 อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะจดทะเบียนก็ได้

การจดทะเบียนนั้น ท่านบังคับให้มีรายการดั่งนี้ คือ
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
(2) วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
(3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง
(4) ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คน ถ้าผู้ เป็นหุ้นส่วนคนใดมีชื่อยี่ห้อ ก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อและยี่ห้อด้วย
(5) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการในเมื่อได้ตั้งแต่งให้เป็นผู้จัดการแต่เพียง บางคน
(6) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการประการใดให้ลงไว้ด้วย
(7) ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน

ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่น ๆ อีกอันคู่สัญญา เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้

การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

มาตรา 1064/1 หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น

ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่ จะลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและ พิจารณาตั้งผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลา ออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น

หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะแจ้งการลาออกของตน ให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้

มาตรา 1064/2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ให้ห้างหุ้นส่วนจด ทะเบียนนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1065 ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มา แม้ในกิจการซึ่งไม่ ปรากฏชื่อของตน

มาตรา 1066 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดในห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่าง เดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่ จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพ เป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น เว้นไว้แต่จะได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมด

แต่ข้อห้ามเช่นว่ามานี้ ท่านว่าจะไม่พึงใช้ได้ ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่า ผู้เป็น หุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่น อันมีวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกัน และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ ต่อกันนั้นก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

มาตรา 1067 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดกระทำฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ใน มาตรา ก่อนนี้ไซร้ ท่านว่าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนนั้นชอบที่จะเรียก เอาผลกำไรอันผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเพราะเหตุนั้น

แต่ทั้งนี้ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่ง นับแต่วันทำการ ฝ่าฝืน

อนึ่ง บทบัญญัติ มาตรานี้ ไม่ลบล้างสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย นอกนั้น ในอันจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วน

มาตรา 1068 ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วน นั้นย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน

มาตรา 1069 นอกจากในกรณีทั้งหลายที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1055 ท่านว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนย่อมเลิกกันเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้น ล้มละลาย

มาตรา 1070 เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้

มาตรา 1071 ในกรณีที่กล่าวไว้ใน มาตรา 1070 นั้น ถ้าผู้เป็น หุ้นส่วนนำพิสูจน์ได้ว่า
(1) สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือ บางส่วนและ
(2) การที่จะบังคับเอาแก่ห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เป็นการยากฉะนี้ไซร้

ศาลจะบังคับให้เอาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้นชำระหนี้ก่อนก็ได้ สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1072 ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใด เจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไร หรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้า ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

ส่วนที่ 6 การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากัน

มาตรา 1073 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียว กับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งก็ได้ โดยความยินยอมของผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1074 เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดปลงใจจะควบ เข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่ง ท้องที่นั้นสองครั้งเป็นอย่างน้อย และส่งคำบอกกล่าวความประสงค์ ที่จะควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ และขอ ให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างใดอย่างหนึ่งในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้าน ไปภายในสามเดือนนับแต่วันบอกกล่าว

ถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น ก็ให้พึงถือว่าไม่มี คัดค้าน

ถ้ามีคัดค้านไซร้ ท่านมิให้ห้างหุ้นส่วนจัดการควบเข้ากัน เว้นแต่ จะได้ใช้หนี้ที่เรียกร้องหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว

มาตรา 1075 เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้ว ต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องนำความนั้นไปจดลงทะเบียน ว่าได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่

มาตรา 1076 ห้างหุ้นส่วนใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิ ทั้งต้องอยู่ในความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น
หมวด 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
(2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง

มาตรา 1078 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียน

การลงทะเบียนนั้น ต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
(2) ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และวัตถุที่ประสงค์ของห้าง หุ้นส่วนนั้น
(3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
(4) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับ ผิด และจำนวนเงินซึ่งเขาเหล่านั้นได้ลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน
(5) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความ รับผิด
(6) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
(7) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วน ผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนั้น ประการใดให้ลงไว้ด้วย

ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่น ๆ อีกอันคู่สัญญาเห็นสมควร จะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้

การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้อง ประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

มาตรา 1078/1 หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น

ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่จะ ลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและ พิจารณาตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น

หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะแจ้งการลาออกของตน ให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้น ส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

มาตรา 1078/2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ให้ห้างหุ้นส่วน จำกัดนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1079 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด จำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน

มาตรา 1080 บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆ หากมิ ได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นวิธีบังคับในความ เกี่ยวพันระหว่างคนเหล่านั้นเอง และความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนเหล่านั้นกับห้างหุ้นส่วน

มาตรา 1081 ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความ รับผิดมาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้าง

มาตรา 1082 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอม โดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดั่งว่า เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น

แต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้น ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน เช่นนี้ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้นส่วน

มาตรา 1083 การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความ รับผิดนั้นท่านว่าต้องให้ลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ๆ

มาตรา 1084 ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็น หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด นอกจากผลกำไรซึ่งห้างหุ้นส่วนทำ มาค้าได้

ถ้าทุนของห้างหุ้นส่วนลดน้อยลงไปเพราะถ้าขายขาดทุน ท่าน ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัด ความรับผิดจนกว่าทุนซึ่งขาดไปนั้นจะได้คืนมาเต็มจำนวนเดิม

แต่ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดได้รับเงินปันผล หรือดอกเบี้ยไปแล้วโดยสุจริต ท่านว่าหาอาจจะบังคับให้เขาคืนเงิน นั้นได้ไม

มาตรา 1085 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้แสดง ด้วยจดหมายหรือใบแจ้งความหรือด้วยวิธีอย่างอื่นให้บุคคลภายนอก ทราบว่าตนได้ลงหุ้นไว้มากกว่าจำนวนซึ่งได้จดทะเบียนเพียงใด ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดเท่าถึงจำนวนเพียงนั้น

มาตรา 1086 ข้อซึ่งตกลงกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย เพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินที่ลงหุ้น หรือเพื่อจะลดจำนวน ลงหุ้นแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนหนึ่งคนใดนั้น ท่านว่ายังไม่เป็นผลแก่บุคคลภายนอกจนกว่าจะได้จดทะเบียน

เมื่อได้จดทะเบียนแล้วไซร้ ข้อตกลงนั้น ๆ ก็ย่อมมีผลแต่เพียง เฉพาะแก่หนี้อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังเวลาที่ได้จด ทะเบียนแล้วเท่านั้น

มาตรา 1087 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านว่าต้องให้แต่เฉพาะ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1088 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดได้ เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิด รวมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน

แต่การออกความเห็นและแนะนำก็ดี ออกเสียงเป็นคะแนนนับใน การตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามกรณีที่มีบังคับไว้ในสัญญาหุ้นส่วน นั้นก็ดี ท่านหานับว่าเป็นสอดเข้าเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน นั้นไม่

มาตรา 1089 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น จะตั้ง ให้เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็ได้

มาตรา 1090 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะประกอบ การค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์บุคคล ภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับ การค้าขายของห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม

มาตรา 1091 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้น ของตนปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆ ก็โอนได้

มาตรา 1092 การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตาย ก็ดี ล้มละลายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถก็ดี หาเป็นเหตุให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันไม่ เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1093 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดตาย ท่านว่าทายาทของผู้นั้นย่อมเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย เว้นแต่จะ ได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1094 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด ล้มละลาย ท่านว่าต้องเอาหุ้นของผู้นั้นในห้างหุ้นส่วนออกขายเป็น สินทรัพย์ในกองล้มละลาย

มาตรา 1095 ตราบใดห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมิได้เลิกกันตราบนั้น เจ้าหนี้ของห้างย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัด ความรับผิดได้

แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นได้เลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ของห้างมีสิทธิฟ้องร้อง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เพียงจำนวนดั่งนี้ คือ
(1) จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่าที่ยังค้างส่งแก่ห้างหุ้นส่วน
(2) จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของ ห้างหุ้นส่วน
(3) จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้ว
โดยทุจริตและฝ่าฝืนต่อบท มาตรา 1084

หมวด 4 บริษัทจำกัด ส่วนที่ 1 สภาพและการตั้งบริษัทจำกัด

มาตรา 1096 อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้น ด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

มาตรา 1096ทวิ (ยกเลิกทั้ง มาตรา )

มาตรา 1097 บุคคลใดๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

(แก้ไข*ฉบับที่ 18*พ.ศ. 2551)

มาตรา 1098 หนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้คือ
(1) ชื่อบริษัทอันคิดจะตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีคำว่า"จำกัด"ไว้ปลายชื่อนั้น ด้วยด้วยเสมอไป
(2) ที่สำนักงานของบริษัทซึ่งบอกทะเบียนนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใดใน พระราชอาณาเขต
(3) วัตถุที่ประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
(4) ถ้อยคำสำแดงว่า ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด
(5) จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียนแบ่งออก เป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร
(6) ชื่อ สำนัก อาชีวะและลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวน หุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้คนละเท่าใด

มาตรา 1099 หนังสือบริคณห์สนธินั้น ท่านให้ทำเป็นต้นฉบับไว้ ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และให้ลงลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการและ ลายมือชื่อทั้งปวงนั้นให้มีพยานลงชื่อรับรองด้วยสองคน

หนังสือบริคณห์สนธิซึ่งได้ทำนั้น ท่านบังคับให้นำฉบับหนึ่งไป จดทะเบียนและมอบไว้ ณ หอทะเบียนในส่วนพระราชอาณาเขตซึ่ง บ่งไว้ว่าจะบอกทะเบียนตั้งสำนักงานของบริษัทนั้น

มาตรา 1100 ผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องลงชื่อซื้อหุ้น ๆ หนึ่งเป็นอย่างน้อย

มาตรา 1101 บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำกัดจะรับผิดโดยไม่ จำกัดก็ได้ ถ้ากรณีเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าต้องจดแถลงความรับผิดเช่นนั้นลงไว้ใน หนังสือบริคณห์สนธิด้วย

อันความรับผิดโดยไม่จำกัดของผู้เป็นกรรมการนั้นย่อมถึงที่สุด เมื่อล่วง เวลาสองปีนับแต่วันที่ตัวเขาออกจากตำแหน่งกรรมการ

มาตรา 1102 ห้ามมิให้ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น

มาตรา 1103 (ยกเลิกทั้ง มาตรา )

มาตรา 1104 จำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งบริษัทคิดจะจดทะเบียนนั้น ต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหรือออกให้กันเสร็จก่อนการจดทะเบียนของบริษัท

มาตรา 1105 อันหุ้นนั้น ท่านห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่า ของหุ้นที่ตั้งไว้

การออกหุ้นโดยราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้นั้นหากว่าหนังสือ บริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ก็ให้ออกได้ และในกรณีเช่นนั้นต้องส่งใช้ จำนวนที่ล้ำมูลค่าพร้อมกันไปกับการส่งใช้เงินคราวแรก

อนึ่ง เงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิให้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า แห่งมูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้

มาตรา 1106 การที่เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยเงื่อนไข ว่าถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทตามหนังสือ ชี้ชวนและข้อบังคับของบริษัท

มาตรา 1107 เมื่อหุ้นชนิดซึ่งจะต้องลงเงินนั้นได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหมดแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องนัดบรรดาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่ โดยไม่ชักช้า ประชุมอันนี้ให้เรียกว่าประชุมตั้งบริษัท

อนึ่ง ให้ผู้เริ่มก่อการส่งรายงานการตั้งบริษัทมีคำรับรองของตนว่าถูกต้อง และมีข้อความที่เกี่ยวแก่กิจการอันจะพึงกระทำในที่ประชุมตั้งบริษัททุก ๆ ข้อตามความใน มาตรา ต่อไปนี้ ไปยังผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนอย่างน้อยเจ็ดวัน ก่อนวันนัดประชุม

เมื่อได้ส่งรายงานตั้งบริษัทแก่ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้อง จัดส่งสำเนารายงานอันมีคำรับรองว่าถูกต้องตามที่บังคับไว้ใน มาตรานี้ ไปยัง นายทะเบียนบริษัทโดยพลัน

อนึ่ง ให้ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีบัญชีแถลงรายชื่อ ฐานะ และสำนักของผู้ เข้าชื่อซื้อหุ้นกับจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนได้ลงซื้อไว้เพื่อเสนอต่อที่ประชุมนั้น ด้วย

บทบัญญัติทั้งหลายแห่ง มาตรา 1176,มาตรา 1187,มาตรา 1188,มาตรา 1189,มาตรา 1191,มาตรา 1192, และ มาตรา 1195 นั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การประชุมตั้งบริษัทด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 1108 กิจการอันจะพึงทำในที่ประชุมตั้งบริษัทนั้น คือ
(1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัท
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่าย อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเขาต้องออกไปในการเริ่มก่อบริษัท
(3) วางกำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ ถ้าหากมีเจตนาว่า จะให้
(4) วางกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิแห่ง หุ้นนั้น ๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท
(5) วางกำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกให้เหมือน หนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว เพราะใช้ให้ด้วยอย่างอื่น นอกจากตัวเงิน และกำหนดว่าเพียงใดซึ่งจะถือว่าเอาเป็นว่าได้ใช้เงินแล้ว ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท

ให้แถลงในที่ประชุมโดยเฉพาะว่า ซึ่งจะเอาหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินแล้วเช่นนั้น เพื่อแทนคุณแรงงานหรือตอบแทน ทรัพย์สินอย่างใด ให้พรรณนาจงชัดเจนทุกประการ
(6) เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย

มาตรา 1109 ผู้เริ่มก่อการหรือผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะออกเสียงลงคะแนนไม่ ได้ ถ้าตนมีส่วนได้เสียโดยพิเศษในปัญหาที่ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น

อนึ่ง มติของที่ประชุมตั้งบริษัทย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ที่ประชุมจะได้ลงมติ โดยเสียงข้างมาก อันมีคะแนนของผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหมดซึ่งมีสิทธิลงคะแนนได้ และคิดตามจำนวนหุ้นรวมกันไม่ น้อยกว่ากึ่งจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นนั้น ๆ ทั้งหมดด้วยกัน

มาตรา 1110 เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทมอบ การทั้งปวงให้แก่กรรมการของบริษัท

เมื่อกรรมการได้รับการแล้ว ก็ให้ลงมือจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและ ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินในหุ้นซึ่งจะต้องใช้เป็นตัวเงิน เรียกหุ้น หนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนบอก กล่าวกล่าวป่าวร้องหรือหนังสือชวนให้ซื้อหุ้น

 

 มาตรา 1111 ต่อ คลิก

 


 

    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld