ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 29 คน
 สถิติเมื่อวาน 29 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
59 คน
5430 คน
378746 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ






 

ประมวลกฎหมายอาญา

 
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมาย อาญาเสียใหม่เพราะตั้งแต่ได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาใน พุทธศักราช 2451 เป็นต้นมา พฤติการณ์

ของบ้านเมืองได้ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ประมวลกฎหมาย อาญาท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป
มาตรา 4 เมื่อประมวลกฎหมาย อาญาได้ใช้บังคับแล้วให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา 5 เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ในกรณีที่กฎหมายใดได้ กำหนดโทษโดยอ้างถึงโทษฐานลหุโทษในกฎหมายลักษณะอาญาไว้ ให้

ถือว่ากฎหมายนั้นได้อ้างถึงโทษ ดังต่อไปนี้
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 1 หมายความว่า ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 2 หมายความว่า ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 3 หมายความว่า จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 4 หมายความว่า จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 6 เมื่อประมวลกฎหมายได้ใช้บังคับแล้ว ในการจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายใด ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้ประการใด ให้นำประมวล

กฎหมายอาญามาใช้บังคับแต่สำหรับความผิด ที่ได้กระทำก่อนวันที่ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ มิให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปี สำหรับโทษปรับกระทงเดียว

และสองปีสำหรับโทษปรับหลายกระทง
มาตรา 7 ในกรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาใช้บังคับเสมือน เป็นความผิดอาญา แต่ห้ามมิให้คุมขังชั้นสอบสวนเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่ เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่าย

ปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาลรวมเข้า ในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย
มาตรา 8 เมื่อประมวลกฎหมาย อาญาได้ใช้บังคับแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงกฎหมายลักษณะอาญา หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย

ลักษณะอาญา ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงประมวลกฎหมายอาญา หรือบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายอาญาในบทมาตราที่มีนัยเช่น

เดียวกัน แล้วแต่กรณี

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ได้ประกาศใช้มานานแล้วและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม

อยู่หลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงเป็นการสมควรที่จะได้ชำระสะสาง และนำเข้ารูปเป็นประมวลกฎหมายอาญาเสียในฉบับเดียวกันอนึ่ง ปรากฏว่า

หลักการบางอย่างและวิธีการลงโทษบางอย่างควรจะได้ปรับปรุงให้สมกับกาล สมัยและแนวนิยมของนานาประเทศ ในสมัยปัจจุบันหลักเดิมบางประการ

จึงล้าสมัย สมควรจะได้ปรับปรุงเสียให้สอดคล้องกับ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ภาค1 บทบัญญัติทั่วไป 
  ลักษณะ1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป 
  หมวด1 บทนิยาม
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้
(1) "โดยทุจริต" หมายความว่าเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยที่ชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(2) "ทางสาธารณ" หมายความว่าทางบกหรือทางน้ำสำหรับ ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทาง รถรางที่มีรถเดิน

สำหรับประชาชนโดยสารด้วย
(3) "สาธารณสถาน" หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
(4) "เคหสถาน" หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ ซึ่งใช้เป็นที่

อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ได้
(5) "อาวุธ" หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ซึ่งได้ ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ
(6) "ใช้กำลังประทุษร้าย" หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กาย หรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้ หมาย

ความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ใน ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา การสกดจิตหรือ วิธีอื่น

ใดอันคล้ายคลึงกัน
(7) "เอกสาร" หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดย วิธีพิมพ์

ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
(8) "เอกสารราชการ" หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำ ขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้า

พนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย
(9) "เอกสารสิทธิ" หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ
(10) "ลายมือชื่อ" หมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมาย ซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตน
(11) "กลางคืน" หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตก และ อาทิตย์ขึ้น
(12) "คุมขัง" หมายความว่า คุมตัว ควบคุม ขัง กักขังหรือจำคุก
(13) "ค่าไถ่" หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง
(14) "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า
(ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการ

ประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทาง

แม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใดทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
(ข) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสาร

หรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) หรือ
(ค) สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์
(15) "หนังสือเดินทาง" หมายความว่า เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่รัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ

ออกให้แก่บุคคลใด เพื่อใช้แสดงตน ในการเดินทางระหว่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและ แบบหนังสือเดิน

ทางที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทางด้วย" ระะหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
หมายเหตุอ่านมาตรา 1(14) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2547
อ่านมาตรา 1(15) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2550

  หมวด2 การใช้ กฎหมายอาญา 

มาตรา 2 บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนด โทษไว้และโทษที่

จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด

และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับ โทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง
มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำ

ความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุด แล้วแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และ โทษที่ กำหนด ตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมาย ที่บัญญัติในภาย

หลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำ ความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาล

กำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่ บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้

คำนึงถึงโทษตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะ กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลัง กำหนดไว้

ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
(2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งด

การประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
มาตรา 4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษ ตามกฎหมาย
การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
มาตรา 5 ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้ กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์

ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะ แห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็ง เห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราช

อาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้ กระทำในราชอาณาจักร
ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการ

กระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือ พยายามกระทำความผิดนั้นได้

กระทำในราชอาณาจักร
มาตรา 6 ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวล กฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็น ตัวการด้วยกัน

ของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะ ได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้ กระทำได้กระทำในราช

อาณาจักร
มาตรา 7 ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 107 ถึง มาตรา 129
(1/1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1 มาตรา 135/2 มาตรา 135/3 และ มาตรา 135/4
(2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 240 ถึง มาตรา 249 มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 257 และ มาตรา 266
(3) และ (4)
(2ทวิ) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 282 และ มาตรา 283
(3) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 339 และ ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 340 ซึ่งได้กระทำ ในทะเลหลวง
หมายเหตุอ่านมาตรา 7(1/1) เพิ่มเติมโดยพรก.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2546
อ่านมาตรา 7(2ทวิ) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540
มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทย เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึง มาตรา 223 ทั้งนี้เว้นแต่กรณี

เกี่ยวกับ มาตรา 220 วรรคแรก และ มาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึง มาตรา 232 มาตรา 237 และ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236 ทั้งนี้เฉพาะ

เมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตาม มาตรา 238
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 (1) และ (2) มาตรา 268 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ มาตรา 267

และ มาตรา 269
(2/1) ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/1 ถึง มาตรา 269/7
(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 280 และ มาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับ มาตรา 276
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 288 ถึง มาตรา 290
(5) ความผิดต่อร่างกายตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 ถึง มาตรา 298
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 306 ถึง มาตรา 308
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 312 ถึง มาตรา 315 และ มาตรา 317 ถึง มาตรา 320
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 336
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 337 ถึง มาตรา 340
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 341 ถึง มาตรา 344 มาตรา 346 และ มาตรา 347
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 352 ถึง มาตรา 354
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 357
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 358 ถึง มาตรา 360
(2/2) ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/8 ถึง มาตรา 269/15
หมายเหตุอ่านมาตรา 8 (2/1) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2547
อ่านมาตรา 8 (2/2) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2550
มาตรา 9 เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 147 ถึง มาตรา 166 และ มาตรา 200 ถึง มาตรา 205 นอกราช

อาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร
มาตรา 10 ผู้ใดกระทำการนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ใน
มาตรา 7 (2) และ (3) มาตรา 8 และ มาตรา 9 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้น ในราชอาณาจักร เพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัว ผู้นั้นหรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว  ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้น ตามคำพิพากษา ของศาลใน

ต่างประเทศมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษ เลยก็ได้ ทั้งนี้โดย

คำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
มาตรา 11 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำ ความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้า ผู้นั้นได้รับโทษสำหรับ

การกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่าง ประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

เพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลง โทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิด ที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อ ศาลในต่าง

ประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นใน ราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อย ตัวผู้นั้นหรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว
มาตรา 12 วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะใช้บังคับแก่บุคคลใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ใช้บังคับได้เท่านั้น และกฎหมาย ที่จะใช้บังคับนั้นให้

ใช้กฎหมายในขณะที่ศาลพิพากษา
มาตรา 13 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ได้มีการยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใด และถ้าผู้ใดถูกใช้บังคับ วิธีการเพื่อความ

ปลอดภัยนั้นอยู่ ก็ให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อ ผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรม

ของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการร้องขอ
มาตรา 14 ในกรณีที่มีผู้ถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดอยู่ และได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลังเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขที่จะสั่งให้

มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นไปซึ่ง เป็นผลอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนำมาใช้บังคับ ได้แต่การใช้บังคับวิธีการ

เพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของ กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้นผู้แทนโดย

ชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาล ของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธี การเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตาม

บัญญัติแห่งกฎหมาย นั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร
มาตรา 15 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษใดได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และได้มี คำพิพากษาลงโทษ

นั้นแก่บุคคลใดไว้ ก็ให้ถือว่าโทษที่ลงนั้นเป็นวิธี การเพื่อความปลอดภัยด้วย
ในกรณีดังกล่าวในวรรคแรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษผู้นั้นหรือผู้นั้นยัง รับโทษอยู่ ก็ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไป และ ถ้าหากว่าตาม

บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมีเงื่อนไข ที่สั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันไม่อาจนำมาใช้ บังคับแก่กรณีของผู้นั้น หรือนำ

มาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความ

ปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้ นั้นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการ เพื่อ

ความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น แล้วแต่ กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร
มาตรา 16 เมื่อศาลได้พิพากษาให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอด ภัยแก่ผู้ใดแล้ว ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอของผู้นั้น เอง ผู้แทนโดย

ชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม ศาลจะสั่งเพิกถอนหรือ

งดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอด ภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราว ตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา 17 บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่าง

อื่น

  หมวด3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

มาตรา 18 โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดัง

กล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี
หมายเหตุอ่านมาตรา 18 วรรคสอง,วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546
"มาตรา 19 ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
หลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิต ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมายเหตุอ่านมาตรา 19 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546
"มาตรา 20 บรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุก และปรับด้วยนั้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกก็ได้
"มาตรา 21 ในการคำนวณระยะเวลาจำคุก ให้นับวันเริ่มจำคุก รวมคำนวณเข้าด้วย และให้นับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่ต้องคำนึงถึง จำนวนชั่วโมง
ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวัน เป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ เมื่อผู้ต้องคำพิพากษา

ถูกจำคุกครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวใน วันถัดจากวันที่ครบกำหนด
"มาตรา 22 โทษจำคุก ให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้อง คำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขัง ออกจากระยะเวลาจำ

คุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้น จะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่คำพิพากษากล่าวไว้เป็นอย่างอื่น โทษจำคุกตาม คำพิพากษาเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดี เรื่องนั้นเข้าด้วยแล้ว ต้อง

ไม่เกินอัตราโทษขั้นสูงของกฎหมายที่ กำหนดไว้ สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบ กระเทือนบทบัญญัติใน มาตรา 91
"มาตรา 23 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษ จำคุกมาก่อนหรือ

ปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ศาล จะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกิน

สามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้
"มาตรา 24 ผู้ใดต้องโทษกักขัง ให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังผู้กระทำ ความผิดไว้ในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือสถานที่อื่น

ที่อาจกักขังได้ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทหรือสภาพ ของผู้ถูกกักขังก็ได้
ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่า การกักขังผู้ต้องโทษกักขังไว้ในสถานที่กักขังตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้นั้น หรือทำให้ผู้ซึ่งต้อง

พึ่งพาผู้ต้องโทษกักขังในการดำรง ชีพได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร หรือมีพฤติการณ์พิเศษประการอื่นที่แสดงให้เห็นว่า ไม่สมควรกักขังผู้ต้อง

โทษกักขังในสถานที่ดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่งให้กักขังผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่อื่นซึ่งมิใช่ที่อยู่อาศัยของผู้นั้นเองโดยได้รับความ ยินยอมจากเจ้าของหรือ

ผู้ครอบครองสถานที่ก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อน ไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ต้องโทษกักขังปฏิบัติ และหากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

สถานที่ดังกล่าวยินยอม ศาลอาจมีคำสั่งแต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้ควบคุม ดูแลและให้ถือว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายนี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 24 วรรคแรก แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
อ่านมาตรา 24 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
"มาตรา 25 ผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ซึ่งกำหนดจะได้รับการเลี้ยงดู จากสถานที่นั้น แต่ภายใต้ข้อบังคับของสถานที่ ผู้ต้องโทษกักขังมีสิทธิ ที่จะรับอาหาร

จากภายนอก โดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ใช้เสื้อผ้าของ ตนเอง ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง และรับและส่ง จดหมายได้
ผู้ต้องโทษกักขังจะต้องทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับและวินัย ถ้าผู้ต้องโทษกักขังประสงค์จะทำงานอย่างอื่น ก็ให้อนุญาตให้เลือก ทำได้ตามประเภทงานที่

ตนสมัคร แต่ต้องไม่ขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ วินัย หรือความปลอดภัยของสถานที่นั้น
"มาตรา 26 ถ้าผู้ต้องโทษกักขังถูกกักขังในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ ผู้ต้องโทษกักขังนั้นมีสิทธิที่จะ ดำเนินการในการ

วิชาชีพหรืออาชีพของตนในสถานที่ดังกล่าวได้ ใน การนี้ศาลจะ กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องโทษกักขังปฏิบัติอย่างหนึ่ง อย่างใดหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ศาลจะ

เห็นสมควร
"มาตรา 27 ถ้าในระหว่างที่ผู้ต้องโทษกักขังตาม มาตรา 23 ได้รับโทษกักขังอยู่ความปรากฎแก่ศาลเอง หรือปรากฎแก่ศาลตามคำแถลงของ พนักงาน

อัยการหรือผู้ควบคุมดูแลสถานที่กักขังว่า
(1) ผู้ต้องโทษกักขังฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือวินัยของสถานที่กักขัง
(2) ผู้ต้องโทษกักขังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หรือ
(3) ผู้ต้องโทษกักขังต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก
ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาของโทษกักขังที่ผู้ต้อง โทษกักขังจะต้องได้รับ

ต่อไป
หมายเหตุอ่านมาตรา 27 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
"มาตรา 28 ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
"มาตรา 29 ผู้ใดต้องโทษปรับ และไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือ มิฉะนั้นจะต้อง

ถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัย ว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่ง ให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไป

พลางก่อนก็ได้
ความในวรรคสองของ มาตรา 24 มิให้นำมาใช้บังคับแก่การกักขัง แทนค่าปรับ
"มาตรา 30 ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวันและไม่ว่า ในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทงห้าม กักขังเกิน

กำหนดหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกิน

สองปีก็ได้
ในการคำนวณระยะเวลานั้น ให้นับวันเริ่มกักขังแทนค่าปรับรวมเข้าด้วยและให้นับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่คำนึงถึงจำนวนชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังนั้นออกจากจำนวนเงินค่าปรับ โดยถืออัตราสองร้อยบาท ต่อหนึ่งวัน

เว้นแต่ผู้นั้นต้องคำพิพากษาให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ในกรณีเช่นว่านี้ถ้าจะต้องหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากเวลาจำคุกตาม มาตรา 22 ก็ให้หัก

ออกเสียก่อนเหลือเท่าใดจึงให้หักออก จากเงินค่าปรับ
เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระครบ แล้ว ให้ปล่อยตัวไป

ทันที
หมายเหตุอ่านมาตรา 30 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
"มาตรา 30/1 ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงิน ชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่

พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคม หรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
การพิจารณาคำร้องตามวรรคแรก เมื่อศาลได้พิจารณาถึงฐานะการเงิน ประวัติและสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะ

มีคำสั่งให้ผู้นั้นทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค้าปรับก็ได้ ทั้งนี้ ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริการสังคม การกุศลสาธารณะหรือสาธารณประโยชน์ที่ยินยอมรับดูแล
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ต้องโทษปรับทำงาน บริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับให้ศาลกำหนดลักษณะหรือประเภทของงาน ผู้ดูแล

การทำงาน วันเริ่มทำงาน ระยะเวลาทำงาน และจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงเพศ อายุ ประวัติ การนับถือศาสนา ความ

ประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมหรือสภาพ ความผิดของผู้ต้องโทษปรับประกอบด้วย และศาลจะ

กำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ต้องโทษปรับปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้นั้นกระทำความผิดขึ้นอีกก็ได้
ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลว่าพฤติ การณ์เกี่ยวกับการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ ของผู้ต้องโทษปรับได้เปลี่ยนแปลงไป ศาล

อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่กำหนดไว้นั้นก็ได้ตามที่เห็นสมควร
ในการกำหนดระยะเวลาทำงานแทนค่าปรับตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 30 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และในกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้ผู้ต้อง

โทษปรับทำงานติดต่อกันไป การทำงานดัง กล่าวต้องอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับแต่วันเริ่มทำงานตามที่ศาลกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจำนวนชั่วโมงทำงานตามวรรคสาม ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กำหนด

จำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน สำหรับงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แต่ละประเภทได้ตามที่เห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 30/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
"มาตรา 30/2 ถ้าภายหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตตาม มาตรา 30/1 แล้ว ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงาน

ว่าผู้ต้องโทษปรับมีเงินพอชำระค่าปรับได้ในเวลาที่ยื่นคำร้องตาม มาตรา 30/1 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ศาลจะเพิก

ถอนคำสั่งอนุญาตดังกล่าวและปรับ หรือกักขังแทนค่าปรับ โดยให้หักจำนวนวันที่ทำงานมาแล้วออกจากจำนวนเงินค่าปรับก็ได้
ในระหว่างการทำงานบริการสังคมหรือทำงาน สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับหากผู้ต้องโทษปรับไม่ประสงค์จะทำงานดังกล่าวต่อไป อาจขอเปลี่ยนเป็น

รับโทษปรับ หรือกักขังแทนค่าปรับก็ได้ ในกรณีนี้ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้อง โดยให้หักจำนวนวันที่ทำงานมาแล้วออกจากจำนวนเงินค่าปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 30/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
"มาตรา 30/3 คำสั่งศาลตาม มาตรา 30/1 และ มาตรา 30/2 ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 30/3 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
"มาตรา 31 ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิด หลายคน ในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับ เรียงตามรายตัว

บุคคล
"มาตรา 32 ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และ มีผู้ถูกลงโทษตามคำ

พิพากษาหรือไม่
"มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตาม กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้อีก

ด้วยคือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจ ด้วยในการกระทำความผิด
"มาตรา 34 บรรดาทรัพย์สิน
(1) ซึ่งได้ให้ตามความใน มาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 มาตรา 150 มาตรา 167
มาตรา 201 หรือ มาตรา 202 หรือ
(2) ซึ่งได้ให้เพื่อจูง ใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัล ในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็น ใจด้วยในการกระทำความผิด
"มาตรา 35 ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ศาลจะ พิพากษาให้ทำให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้หรือทำลายทรัพย์สิน นั้นเสียก็ได้
"มาตรา 36 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตาม มาตรา 33 หรือ มาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของ แท้จริงว่า ผู้เป็น

เจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำ ความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ใน ความครอบครองของเจ้าพนักงาน

แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้น จะต้องกระทำต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
"มาตรา 37 ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ ศาลกำหนด ให้ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
(2) ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ
(3) ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่ง หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชำระ ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้ นั้นไว้จนกว่าจะ

ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินหนึ่งปีแต่ถ้าภายหลัง ปรากฏแก่ศาลเองหรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่า ผู้นั้นไม่สามารถส่ง ทรัพย์สินหรือชำระราคาได้ศาลจะ

สั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบ กำหนดก็ได้
"มาตรา 38 โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด
ส่วนที่1 โทษ

"มาตรา 39 วิธีการเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้
(1) กักกัน
(2) ห้ามเข้าเขตกำหนด
(3) เรียกประกันทัณฑ์บน
(4) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
(5) ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
"มาตรา 40 กักกัน คือการควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัยและ เพื่อฝึกหัดอาชีพ
"มาตรา 41 ผู้ใดเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้ว หรือเคยถูก ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า สองครั้งในความ

ผิดดังต่อไปนี้ คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 209 ถึง มาตรา 216
(2) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 217 ถึง มาตรา 224
(3) ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 240 ถึง มาตรา 246
(4) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 ถึง มาตรา 286
(5) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 288 ถึง มาตรา 290 มาตรา 292 ถึง มาตรา 294
(6) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 ถึง มาตรา 299
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 309 ถึง มาตรา 320
(8) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 340 มาตรา 354 และ มาตรา 357
และภายในเวลาสิบปีนับแต่วันที่ผู้นั้นได้พ้นจากการกักกันหรือพ้น โทษแล้วแต่กรณี ผู้นั้นได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดในบรรดา ที่ระบุไว้นั้น

อีกจนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน สำหรับ การกระทำความผิดนั้นศาลอาจถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดติด นิสัยและจะพิพากษาให้

กักกันมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และ ไม่เกินสิบปีก็ได้
ความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น มิให้ถือเป็นความผิดที่จะนำมาพิจารณากักกันตามมาตรานี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 41 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
"มาตรา 42 ในการคำนวณระยะเวลากักกัน ให้นับวันที่ศาลพิพากษา เป็นวันเริ่มกักกัน แต่ถ้ายังมีโทษจำคุกหรือกักขังที่ผู้ต้องกักกันนั้นจะ ต้องรับอยู่ก็

ให้จำคุก หรือกักขังเสียก่อนและให้นับวันถัดจากวันที่พ้น โทษจำคุกหรือพ้นจากกักขังเป็นวันเริ่มกักกัน
ระยะเวลากักกัน และการปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
"มาตรา 43 การฟ้องขอให้กักกันเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ โดยเฉพาะ และจะขอรวมกันไปในฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้อง ขอให้กักกัน

หรือจะฟ้องภายหลังก็ได้
"มาตรา 44 ห้ามเข้าเขตกำหนด คือการห้ามมิให้เข้าไปในท้องที่ หรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
"มาตรา 45 เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด และศาลเห็นสมควร เพื่อความปลอดภัยของประชาชนไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่ ศาลอาจสั่ง ในคำพิพากษาว่า

เมื่อผู้นั้นพ้นโทษตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามมิให้ผู้นั้น เข้าเขตกำหนดเป็นเวลาไม่เกินห้าปี
"มาตรา 46 ถ้าความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงานอัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้าย ให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หรือจะ

กระทำการใดให้เกิดความเสียหาย แก่สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในการพิจารณา

คดีความผิดใด ไม่ว่าศาลจะลงโทษผู้ถูกฟ้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

ของผู้อื่น หรือจะกระทำความผิดให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ ตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้นให้ทำทัณฑ์บนโดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าหมื่นบาท ว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุร้ายหรือจะไม่กระทำความผิดดังกล่าว

แล้วตลอดเวลาที่ศาลกำหนดแต่ไม่เกินสองปี และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ถ้าผู้นั้นไม่ยอมทำทัณฑ์บนหรือหาประกันไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งกักขังผู้นั้นจนกว่า จะทำทัณฑ์บนหรือหาประกันได้ แต่ไม่ให้กักขังเกินกว่าหกเดือน

หรือจะสั่งห้ามผู้นั้นเข้าใน เขตกำหนดตาม มาตรา 45 ก็ได้
การกระทำของผู้ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีมิให้อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตามมาตรานี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
"มาตรา 47 ถ้าผู้ทำทัณฑ์บนตามความใน มาตรา 46 กระทำผิด ทัณฑ์บนให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนด ไว้ในทัณฑ์บน

ถ้าผู้นั้นไม่ชำระให้บทบัญญัติใน มาตรา 29 และ มาตรา 30 มาใช้บังคับ
"มาตรา 48 ถ้าศาลเห็นว่า การปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนซึ่งไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษตาม มาตรา 65 จะเป็นการไม่

ปลอดภัยแก่ประชาชน ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ ในสถานพยาบาลก็ได้ และคำสั่งนี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
"มาตรา 49 ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก หรือพิพากษาว่า มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษบุคคลใด ถ้าศาล เห็นว่าบุคคลนั้น

ได้กระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเสพสุราเป็น อาจิณ หรือการเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ศาลจะกำหนดในคำพิพากษา ว่าบุคคลนั้นจะต้องไม่เสพสุรา

ยาเสพติดให้โทษ อย่างหนึ่งอย่างใด หรือทั้งสองอย่างภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันพ้นโทษหรือ วันปล่อยตัวเพราะรอการกำหนดโทษ หรือ

รอการลงโทษก็ได้
ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวในวรรคแรก ไม่ปฏิบัติตามที่ศาลกำหนด ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาลเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้
"มาตรา 50 เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด ถ้าศาลเห็นว่าผู้นั้น กระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการ

ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และเห็นว่าหากผู้นั้น ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจจะกระทำความผิดเช่นนั้น ขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษา

ห้ามการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ นั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้
ส่วนที่2 วิธีการ เพื่อความปลอดภัย

มาตรา 51 ในการเพิ่มโทษ มิให้เพิ่มขึ้นถึงประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี
หมายเหตุอ่านมาตรา 51 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526
มาตรา 52 ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลด มาตรา ส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ลดดังต่อไปนี้
(1) ถ้าจะลดหนึ่งในสามให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถ้าจะลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษ จำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี
หมายเหตุมาตรา 52 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
มาตรา 53 ในการลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลด มาตรา ส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นโทษจำคุกห้าสิบปี
หมายเหตุมาตรา 53 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงให้ศาล ตั้งกำหนดที่จะลงแก่จำเลยเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มหรือลดถ้ามีทั้งการเพิ่ม และการลดโทษ

ที่จะลง ให้เพิ่มก่อนแล้วจึงลดจากผลที่เพิ่มแล้วนั้น ถ้าส่วนของการเพิ่มเท่ากับหรือมากกว่าส่วนของการลดและศาล เห็นสมควรจะไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้
มาตรา 55 ถ้าโทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนด เวลาเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่า ศาลจะกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลง อีกก็ได้ หรือถ้า

โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลา เพียงสามเดือน หรือน้อยกว่าและมีโทษปรับด้วย ศาลจะกำหนดโทษ จำคุกให้น้อยลง หรือจะยก

โทษจำคุกเสีย คงให้ปรับแต่อย่างเดียวก็ได้
มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมา ก่อนหรือปรากฏ

ว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึง ถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ

สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการ

สมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัว

ภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดย จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือหรือตักเตือนตาม ที่เห็นสมควรใน

เรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพหรือจัดให้ กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ตามที่ เจ้า พนักงานและผู้กระทำความผิด

เห็นสมควร
(2) ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
(3) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไป สู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก
(4) ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความ บกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่

ศาลกำหนด
(5) เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก
เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามความในวรรคก่อนนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอของผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดย ชอบธรรมของผู้นั้น

ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้า พนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้ กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ

ศาลเห็นสมควร ศาลอาจ แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนด เงื่อนไขข้อใด ตามที่กล่าวในวรรคก่อนที่ศาลยังมิได้กำหนด

ไว้ เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 56 วรรคแรก แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
อ่านมาตรา 56 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532
มาตรา 57 เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คำแถลงของพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า ผู้กระทำความผิด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข

ดังที่ศาลกำหนดตาม มาตรา 56 ศาลอาจ ตักเตือนผู้กระทำความผิดหรือจะกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้ กำหนดหรือลงโทษซึ่งรอไว้นั้นก็ได้
มาตรา 58 เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตาม คำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตาม มาตรา 56 ผู้ที่ถูก

ศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้

ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนด โทษ ที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษใน

คดีหลัง แล้วแต่กรณี
แต่ถ้าภายในเวลาที่ศาลได้กำหนดตาม มาตรา 56 ผู้นั้นมิได้กระ ทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรก ให้ผู้นั้นพ้นจากการที่จะถูก กำหนดโทษหรือถูกลง

โทษในคดีนั้น แล้วแต่กรณี
หมายเหตุอ่านมาตรา 58 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532

ส่วนที่3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ

มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ต้องรับผิด

เมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณี ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มี เจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะ ถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ นั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัก ต้องมีตามวิสัยและ

พฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
มาตรา 60 ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการ กระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดย เจตนาแก่บุคคลซึ่งได้

รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคล

ที่ได้รับผลร้าย มิให้นำ กฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
มาตรา 61 ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัว ว่ามิได้กระทำโดย

เจตนาหาได้ไม่
มาตรา 62 ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็น ความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะ

ไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดหรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษ น้อยลง แล้วแต่กรณี
ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่ง มาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วย ความประมาทของผู้

กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำ โดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำ นั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำ

โดยประมาท
บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้น จะต้องได้รู้ข้อเท็จนั้น
มาตรา 63 ถ้าผลของการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลของการกระทำความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดา ย่อมเกิดขึ้นได้
มาตรา 64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความ รับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิด

อาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็น ความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาล เชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมาย

บัญญัติไว้เช่นนั้นศาลจะลงโทษน้อย กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 65 ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือ จิตฟั่นเฟือนผู้นั้นไม่ต้องรับ

โทษสำหรับความผิดนั้น
แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยัง สามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่

กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 66 ความมึนเมาเพราะเสพย์สุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะ ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตาม มาตรา 65 ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้น จะได้เกิดโดยผู้เสพย์

ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดย ถูกขืนใจให้เสพย์และได้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้

กระทำความผิดจึงจะได้รับยก เว้นโทษสำหรับความผิดนั้นแต่ถ้าผู้นั้นยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลจะลงโทษน้อย

กว่าที่ กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 67 ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตน มิได้ก่อให้เกิดขึ้น

เพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแต่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ
มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมายและเป็น

ภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควร แก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้น ไม่มีความผิด
มาตรา 69 ในกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 67 และ มาตรา 68 นั้น ถ้าผู้กระทำได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่ง ความจำเป็นหรือ

เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้แต่ถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้น

จากความตื่นเต้น ความ ตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้
มาตรา 70 ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้น

ไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่ง ซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 71 ความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 336 วรรคแรก และ มาตรา 341 ถึง มาตรา 364 นั้นถ้าเป็นการ กระทำที่สามีกระทำต่อ

ภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้อง รับโทษ
ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้ สืบสันดานผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน

กระทำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความ ผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และนอกจาก นั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่

กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้
มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ อันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะ ลงโทษผู้นั้นน้อย

กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้
มาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม

กฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 73 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
มาตรา 74 เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการ

ดังต่อไปนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(2) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อ

กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดซึ่งต้องไม่เกินสามปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็น

สมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละหนึ่งหมื่นบาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาวางข้อกำหนดดัง

กล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาสอบถามว่า จะยอมรับข้อกำหนดทำนองที่บัญญัติไว้สำหรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมา

ข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ยอมรับข้อกำหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้แก่บุคคลนั้น ไปโดยวางข้อกำหนดดังกล่าว
(3) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ตาม (2) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น

เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 56 ด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น
(4) ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กนั้นได้ หรือถ้าเด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา

หรือผู้ปกครอง และบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวใน (2) ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อดูแล

อบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม ในกรณีเช่นว่านี้ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่นผู้

ปกครองเฉพาะเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการกำหนดที่อยู่และการจัดให้เด็กมีงานทำตามสมควร หรือให้ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพ

เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ได้ หรือ
(5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกิน

กว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี"
คำสั่งของศาลดังกล่าวใน (2) (3) (4) และ (5) นั้น ถ้าใน ขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ความปรากฏแก่ศาลโดย ศาลรู้เอง หรือตามคำเสนอ

ของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือ บุคคลหรือองค์การที่ศาลมอบตัวเด็กเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอนหรือ เจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่ง

นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปก็ให้ ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้น หรือมีคำสั่งใหม่ตามอำนาจ ใน มาตรานี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 74 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
มาตรา 75 ผู้ใดอายุกว่าสิบห้าปีแต่ต่ำกว่าสิบแปดปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยว

กับผู้นั้น ในอันที่จะควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ให้จัดการตาม มาตรา 74 หรือถ้าศาล

เห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง
หมายเหตุอ่านมาตรา 75 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
มาตรา 76 ผู้ใดอายุตั้งแต่สิบแปดปีแต่ยังไม่เกินยี่สิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้

สำหรับความผิดนั้น ลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 76 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
มาตรา 77 ในกรณีที่ศาลวางข้อกำหนดให้บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ ระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตามความใน มาตรา 74 (2)

ถ้าเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้นภายในเวลาในข้อกำหนด ศาลมีอำนาจบังคับบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ ให้ชำระเงินไม่เกินจำนวนใน

ข้อกำหนดนั้นภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควร ถ้าบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ไม่ชำระเงิน ศาลจะสั่งให้ยึดทรัพย์สินของบิดามารดา

ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็ก นั้นอาศัยอยู่ เพื่อใช้เงินที่จะต้องชำระก็ได้
ในกรณีที่ศาลได้บังคับให้บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็ก นั้นอาศัยอยู่ชำระเงินตามข้อกำหนดแล้วนั้น ถ้าศาลมิได้เปลี่ยนแปลง แก้ไขคำสั่งที่ได้

วางข้อกำหนดนั้นเป็นอย่างอื่นตามความใน มาตรา 74 วรรคท้าย ก็ให้ข้อกำหนดนั้นคงใช้บังคับได้ต่อไปจนสิ้นเวลาที่ กำหนดไว้ในข้อกำหนดนั้น
มาตรา 78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่นแล้วหรือไม่

ถ้าศาลเห็นสมควร จะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษ ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบา ปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึก ความผิดและ

พยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อ เจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นผลประโยชนแก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็น

ว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน
มาตรา 79 ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ถ้าผู้ที่ต้องหาว่ากระทำความผิด นำค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นมาชำระก่อน ที่ศาลเริ่มต้นสืบ

พยาน ให้คดีนั้นเป็นอันระงับไป
หมวด4 ความรับผิด ในทางอาญา

มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายาม กระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองใน สามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 81 ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็น ความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะ เหตุปัจจัยซึ่งใช้

ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ ให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่ง ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้

สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 82 ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอดหรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับ โทษ

สำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไป แล้วต้องบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับ ความผิดนั้น ๆ

หมวด5 การพยายาม กระทำความผิด

มาตรา 83 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษ

ตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้บังคับ ขู่เข็ญจ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้ กระทำความผิด
ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ

หรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสาม ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 85 ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือน ผู้นั้นต้อง ระวางโทษกึ่งหนึ่ง

ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทำความผิดเพราะเหตุที่ได้มีการโฆษณาหรือ ประกาศตามความในวรรคแรก ผู้โฆษณาหรือประกาศต้องรับโทษ เสมือนเป็นตัวการ
มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำ ความผิด แม้ผู้

กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้อง ระวางโทษสองในสามส่วนของ

โทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ สนับสนุนนั้น
มาตรา 87 ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเพราะมีผู้ใช้ให้กระทำตาม มาตรา 84 เพราะมีผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้ กระทำความผิดตาม

มาตรา 85 หรือโดยมีผู้สนับสนุนตาม มาตรา 86 ถ้าความผิดที่เกิดขึ้นนั้นผู้กระทำได้กระทำไปเกินขอบเขตที่ใช้หรือที่ โฆษณาหรือประกาศ หรือเกิน

ไปจากเจตนาของผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้ กระทำความผิดผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความ ผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้ว

แต่กรณีต้องรับผิดทาง อาญาเพียงสำหรับความผิดเท่าที่อยู่ในขอบเขตที่ใช้หรือที่โฆษณาหรือ ประกาศ หรืออยู่ในขอบเขตแห่งเจตนาของผู้สนับสนุน

การกระทำ ความผิดเท่านั้น แต่ถ้าโดยพฤติการณ์อาจเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดการ กระทำความผิดเช่นที่เกิดขึ้นนั้นได้จากการใช้การโฆษณาหรือประกาศ

หรือการสนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่ บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดหรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี

ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่เกิดขึ้นนั้น
ในกรณีที่ผู้ถูกใช้ ผู้กระทำตามคำโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคล ทั่วไปให้กระทำความผิด หรือตัวการในความผิด จะต้องรับผิด ทางอาญามีกำหนดโทษ

สูงขึ้นเพราะอาศัยผลที่เกิดจากการกระทำ ความผิดผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป ให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการ

กระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย แต่ถ้า โดยลักษณะของความผิด ผู้กระทำจะต้องรับผิดทาง

อาญามีกำหนด โทษสูงขึ้นเฉพาะเมื่อผู้กระทำต้องรู้ หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผล เช่นนั้นขึ้น ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคล

ทั่วไปให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด จะ ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นก็เฉพาะเมื่อ ตนได้รู้ หรืออาจเล็ง

เห็นได้ว่าจะเกิดผลเช่นที่เกิดขึ้นนั้น
มาตรา 88 ถ้าความผิดที่ได้ใช้ ที่ได้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำ หรือที่ได้สนับสนุนให้กระทำ ได้กระทำถึงขั้นลงมือ กระทำความผิดแต่

เนื่องจากการเข้าขัดขวางของผู้ใช้ ผู้โฆษณาหรือ ประกาศหรือผู้สนับสนุนผู้กระทำได้กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไป ตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่

บรรลุผล ผู้ใช้หรือผู้โฆษณาหรือประกาศ คงรับผิดเพียงที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 84 วรรคสอง หรือ มาตรา 85 วรรคแรก แล้วแต่กรณี ส่วนผู้สนับส
มาตรา 89 ถ้ามีเหตุส่วนตัวอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่ม โทษแก่ผู้กระทำความผิดคนใด จะนำเหตุนั้นไปใช้แก่ผู้กระทำความผิด คนอื่นในการ

กระทำความผิดนั้นด้วยไม่ได้ แต่ถ้าเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิด นั้นด้วยกันทุกคน

หมวด6 ตัวการ และผู้สนับสนุน

มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อ กฏหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้ กระทำความผิด
มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่
ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลด มาตรา ส่วนโทษด้วยหรือไม่ ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
หมายเหตุอ่านมาตรา 91 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526นุนนั้นไม่ต้องรับโทษ

หมวด7 การกระทำความผิด หลายบทหรือหลายกระทง

มาตรา 92 ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกถ้าและได้ กระทำความผิดใดๆ อีก ในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายใน เวลาห้าปีนับแต่วัน

พ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลัง ถึงจำคุกก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นหนึ่งในสามของโทษ ที่ศาลกำหนด สำหรับความผิดครั้งหลัง
มาตรา 93 ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและ ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดที่จำแนกไว้ในอนุ มาตรา ต่อไปนี้ ซ้ำในอนุ มาตรา

เดียวกันอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายใน เวลาสามปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี ถ้าความผิดครั้งแรกเป็นความผิด ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุก

ไม่น้อยกว่าหกเดือน หากศาลจะ พิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุกก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นกึ่งหนึ่ง ของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 107 ถึง
มาตรา 135
(2) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 136 ถึง มาตรา 146
(3) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 147 ถึง มาตรา 166
(4) ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 167 ถึง มาตรา 192 และ มาตรา 194
(5) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 200 ถึง มาตรา 204
(6) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 209 ถึง
มาตรา 216
(7) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตาม ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 217 ถึง มาตรา 224 มาตรา 226 ถึง มาตรา 234 และ มาตรา 236

ถึง มาตรา 238
(8) ความผิดเกี่ยวกับเงินตราตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 240 ถึง มาตรา 249 ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา แสตมป์และตั๋ว ตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 250

ถึง มาตรา 261 และความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 264 ถึง มาตรา 269
(9) ความผิดเกี่ยวกับค้าตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 270 ถึง มาตรา 275
(10) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 ถึง มาตรา 285
(11) ความผิดต่อชีวิตตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 288 ถึง มาตรา 290 และ มาตรา 294 ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 ถึง มาตรา

299 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 301 ถึง มาตรา 303 และความผิดฐานทอดทิ้งเด็กคนป่วยเจ็บ หรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ใน

มาตรา 306 ถึง มาตรา 308
(12) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 309 มาตรา 310 และ มาตรา 312 ถึง
มาตรา 320
(13) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 365
มาตรา 94 ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น ไม่ว่าจะได้กระทำ

ในครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตามความในหมวดนี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 94 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
หมวด8 การกระทำความผิดอีก

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้ว

นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้

กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้อง

ฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วัน

ที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
มาตรา 98 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยัง มิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับ

โทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่ วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีแล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษจะ

ลงโทษผู้นั้นมิได้
(1) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก ยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น
มาตรา 99 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ ถ้ามิได้ทำภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จะยึดทรัพย์สินหรือ

กักขังไม่ได้
ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับในกรณี การกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งทำต่อเนื่องกับการลงโทษจำคุก
มาตรา 100 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กักกันผู้ใด ถ้าผู้นั้น ยังมิได้รับการกักกันก็ดี ได้รับการกักกันแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบ หนีก็ดีถ้าพ้นกำหนด

สามปีนับแต่วันที่พ้นโทษโดยได้รับโทษตาม คำพิพากษาแล้วหรือโดยล่วงเลยการลงโทษ หรือนับแต่วันที่ผู้นั้น หลบหนีระหว่างเวลาที่ต้องกักกัน เป็น

อันล่วงเลยการกักกัน จะ กักกันผู้นั้นไม่ได้
มาตรา 101 การบังคับตามคำสั่งของศาลตามความใน มาตรา 46 หรือการร้องขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินเมื่อผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติผิดทัณฑ์ บนตามความใน

มาตรา 47 นั้น ถ้ามิได้บังคับหรือร้องขอภายในกำหนด สองปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง หรือนับแต่วันที่ผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติ ผิดทัณฑ์บนจะบังคับหรือ

ร้องขอมิได้

หมวด9 อายุความ

กลับไปที่หน้าสารบาญหมวด 9 อายุความ
Topมาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้ว

นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
Topมาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้

ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน

ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
Topมาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับ

แต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
Topมาตรา 98 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยัง มิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ ตัวผู้นั้นมา

เพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่ วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีแล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลง

โทษจะลงโทษผู้นั้นมิได้
(1) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก ยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น
Topมาตรา 99 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ ถ้ามิได้ทำภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จะยึดทรัพย์สิน

หรือกักขังไม่ได้
ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับในกรณี การกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งทำต่อเนื่องกับการลงโทษจำคุก
Topมาตรา 100 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กักกันผู้ใด ถ้าผู้นั้น ยังมิได้รับการกักกันก็ดี ได้รับการกักกันแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบ หนีก็ดีถ้าพ้น

กำหนดสามปีนับแต่วันที่พ้นโทษโดยได้รับโทษตาม คำพิพากษาแล้วหรือโดยล่วงเลยการลงโทษ หรือนับแต่วันที่ผู้นั้น หลบหนีระหว่างเวลาที่ต้องกักกัน

เป็นอันล่วงเลยการกักกัน จะ กักกันผู้นั้นไม่ได้
Topมาตรา 101 การบังคับตามคำสั่งของศาลตามความใน มาตรา 46 หรือการร้องขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินเมื่อผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติผิดทัณฑ์ บนตาม

ความใน มาตรา 47 นั้น ถ้ามิได้บังคับหรือร้องขอมิได้
ลักษณะ2 บทบัญญัติ ที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

มาตรา 102 ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน
มาตรา 103 บทบัญญัติในลักษณะ 1 ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในสามมาตราต่อไปนี้
มาตรา 104 การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความ

บัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มาตรา 105 ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 106 ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ

                       ภาค2 ความผิด 

ลักษณะ1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร 
  หมวด1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา 107 ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระ มหากษัตริย์หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำ การใดอันเป็นการช่วย

ปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 108 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้ กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้าย ต่อ

พระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็น การช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 109 ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระ

ชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึง

ยี่สิบปี
มาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้ สำเร็จราชการแทน

พระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ จำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือ ชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือ เสรีภาพของผู้

สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้าย ต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือ ประทุษร้ายต่อร่างกายหรือเสรีภาพ

ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบสองปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 111 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 107 ถึง มาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
หมายเหตุมาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519

หมวด2 ความผิดต่อความมั่งคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร

มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
 ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของ แผนการ เพื่อ

เป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็น กบฎแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
มาตรา 115 ผู้ใดยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ ให้ละเลย ไม่กระทำการตามหน้าที่ หรือให้ก่อการกำเริบ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำลงโดยมุ่งหมายจะบ่อนให้วินัยและ สมรรถภาพของกรมกองทหารหรือตำรวจเสื่อมทรามลง ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินสิบปี
มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่

เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
มาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วม กันปิดงานงดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจ กับบุคคลใด ๆ

เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อ บังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น

สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าวและเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการ ร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้า ขายหรือติดต่อ

ทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้หวาดกลัวด้วยประการใด ๆ เพื่อ ให้บุคคลเข้ามีส่วน

หรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิด งานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับ บุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำ

คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 118 ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใดอัน มีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี

หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 118 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
หมวด3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายนอกราชอาณาจักร

มาตรา 119 ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่ง บังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใด

แล้ว ฝ่ายที่ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือ พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้ เป็นที่สุด"
มาตรา 120 ผู้ใดคบคิดกับบุคคล ซึ่งกระทำการเพื่อ ประโยชน์ ของรัฐต่างประเทศ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือทางอื่น

ที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 121 คนไทยคนใดกระทำการรบต่อประเทศ
มาตรา 122 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่ออุปการะแก่การดำเนิน การรบหรือการตระเตรียมการรบของข้าศึก ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
ถ้าการอุปการะนั้นเป็นการ
(1) ทำให้ป้อม ค่าย สนามบิน ยานรบ ยานพาหนะ ทางคมนาคม สิ่งที่ใช้ในการสื่อสาร ยุทธภัณฑ์ เสบียงอาหาร อู่เรืออาคาร หรือสิ่ง อื่นใดสำหรับใช้

เพื่อการสงครามใช้การไม่ได้หรือตกไปอยู่ในเงื้อมมือ ของข้าศึก
(2) ยุยงทหารให้ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ ก่อการกำเริบ หนีราชการหรือละเมิดวินัย
(3) กระทำจารกรรม นำหรือแนะทางให้ข้าศึก หรือ
(4) กระทำโดยประการอื่นใดให้ข้าศึกได้เปรียบในการรบผู้กระทำ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 123 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัย ของประเทศ ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสิบปี
มาตรา 124 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไป ซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับ ความปลอดภัยของ

ประเทศต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบหรือการ สงครามผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดดังกล่าวมาในสองวรรคก่อน ได้กระทำเพื่อให้รัฐต่าง ประเทศได้รับประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือ จำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 125 ผู้ใดปลอม ทำเทียมขึ้น กักไว้ ซ่อนเร้น ปิดบัง ยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งเอกสารหรือแบบใด ๆ

อันเกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐในการ ระหว่างประเทศต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
มาตรา 126 ผู้ใดได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้กระทำกิจการ ของรัฐกับรัฐบาลต่างประเทศ ถ้าและโดยทุจริตไม่ปฏิบัติการตาม ที่ได้รับมอบหมาย ต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
มาตรา 127 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศ จากภายนอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือ จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 128 ผู้ใดตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำความผิด ใด ๆ ในหมวดนี้ ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 129 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดใด ๆ ใน หมวดนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

หมวด4 ความผิดต่อสัมพันธไมตรี กับต่างประเทศ 

มาตรา 130 ผู้ใดทำร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของ ราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาทหรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ซึ่งมีสัมพันธไมตรี

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา 131 ผู้ใดทำร้ายร่างกาย หรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของ ผู้แทนรัฐต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนักต้องระวาง โทษจำคุกไม่

เกินสิบปี
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา 132 ผู้ใดฆ่าหรือพยายามฆ่าบุคคลหนึ่งบุคคลใด ดังระบุ ไว้ใน มาตรา 130 หรือ มาตรา 131 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือ จำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 133 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำ

คุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 133 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 134 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 134 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 135 ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี เพื่อเหยียดหยามรัฐนั้น ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 135 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519

ลักษณะ1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย 

มาตรา 135/1 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดอาญา ดังต่อไปนี้
(1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
(2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์

สาธารณะ
(3) การกระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิด

ความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่

กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิด

ฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลาดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ หรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้

เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย
มาตรา 135/2 ผู้ใด
(1) ขู่เข็ญว่าจะกระทำการก่อการร้าย โดยมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะกระทำการตามที่ขู่เข็ญจริง หรือ
(2) สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดการหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือ

กระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือยุยงประชาชนให้เข้ามีส่วนในการก่อการร้าย หรือรู้ว่ามีผู้ก่อการร้ายและกระทำการ

ใดอันเป็นการช่วยเหลือปกปิดไว้
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 135/3 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 135/1 หรือ มาตรา 135/2 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้นๆ
มาตรา 135/4 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งมีมติของ หรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นคณะบุคคลที่มี

การกระทำ อันเป็นการก่อการร้ายและรัฐบาลไทยได้ประกาศให้ความรับรองมติหรือประกาศดังกล่าวด้วยแล้ว ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
หมายเหตุอ่านลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1 มาตรา 135/2 มาตรา 135/3 มาตรา 135/4 เพิ่มเติมโดยพรก. แก้ไขเพิ่ม

เติมปอ. พ.ศ.2546
ลักษณะ2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
                       หมวด1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน

สองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่

เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี

หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับ

ไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 138 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วย หน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะ

ใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 140 ถ้าความผิดตาม มาตรา 138 วรรคสอง หรือ มาตรา 139 ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้น

ไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พัน

บาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่ง

หนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 140 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่ง ใด ๆ ในการ

ปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดอายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด

รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่ง เพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษา ทรัพย์ หรือเอกสารนั้นไว้เอง

หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษา ไว้ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือ ได้จูงใจ

พนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดย อิทธิพลของตนให้กระทำ

การ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ
มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิก

สภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง

หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็น เจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการ ตามตำแหน่งหน้าที่ ต่อไปแล้วยังฝ่าฝืนกระทำการใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวาง โทษตามที่กำหนด

ไว้ในวรรคแรกดุจกัน
มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่อง หมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิก

สภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่า

ตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษ

หมวด2 ความผิดต่อ น.2

    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld