ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 30 คน
 สถิติเมื่อวาน 29 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
60 คน
5431 คน
378747 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ






 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ตราไว้ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2478 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรที่จะยกเลิกบรรดากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ ณ บัดนี้ และให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแทน
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477"
มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามที่ได้ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2478 เป็นต้นไป
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ให้ใช้ในศาลทั่วไปตลอดราชอาณาจักร ยกเว้นแต่ในศาลพิเศษที่มีข้อบังคับสำหรับศาลนั้น และถ้ามีกฎหมายให้ใช้ธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายทางศาสนาในศาลใด ให้ศาลนั้นยกธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายนั้น ๆ มาใช้แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้บังคับแก่คดีความทั้งปวงซึ่งค้างชำระอยู่ ในศาลเมื่อวันใช้ประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ได้ยื่นต่อศาลภายหลังวันนั้น ไม่ว่ามูลคดีจะได้เกิดขึ้น ก่อนหรือหลังวันใช้นั้น
มาตรา 4 ตั้งแต่วันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
(1) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องเจ้าพนักงานบังคับคดี รวมทั้งการกำหนดค่าธรรมเนียมนอกจากที่ระบุไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ ตลอดจนการชดใช้ค่าใช้จ่ายให้บุคคลเหล่านั้น
(2) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการยึดและอายัด และการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นตัวเงินโดยวิธีขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่น และในเรื่องวิธีการบังคับคดีทางอื่นๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะพึงปฏิบัติ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 5 แก้ไขโดยพรบ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.25434
มาตรา 6 ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจออกข้อบังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้ง การระบุตัว และการสาบานของล่าม ผู้แปล และผู้เชี่ยวชาญการกำหนดจำนวนค่าป่วยการ และการชดใช้ค่าใช้จ่ายให้บุคคลเหล่านั้น
(2) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องเจ้าพนักงานศาล รวมทั้งการกำหนดค่าธรรมเนียมนอกจากที่ระบุไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ ตลอดจนการชดใช้ค่าใช้จ่าย ให้บุคคลเหล่านั้น
(3) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการเก็บรักษาและการทำลายสารบบความ สารบบคำพิพากษา สมุดคำพิพากษา และสารบบอื่นๆ ของศาล ตลอดจนสำนวนความทั้งหลาย
(4) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการยื่นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล เพื่อยื่นต่อศาลหรือเพื่อส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง และในเรื่องการขอร้องด้วยวาจาเพื่อให้ศาลพิจารณาและชี้ขาด

ตัดสินคดีมโนสาเร่
(5) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องที่คู่ความฝ่ายหนึ่งจะส่งต้นฉบับเอกสารไป ยังอีกฝ่ายหนึ่งข้อบังคับนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 6 เพิ่มเติมโดยพรบ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธี

พิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.25434

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี

อ่าน พรบ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.25434
มาตรา 5 บรรดากฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นใหม่ใช้บังคับแทน
มาตรา 6 ให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ มาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นหน่วยงานธุรการอิสระของศาลยุติธรรม แต่มิได้กำหนดให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรม กรมบังคับคดีจึงยังอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของประธาน ศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ภาค1 บททั่วไป 
ลักษณะ1 บทวิเคราะห์ศัพท์
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็น อย่างอื่น
(1) ศาล หมายความว่า ศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาที่มี อำนาจพิจารณาคดีแพ่ง
(2) คดี หมายความว่า กระบวนพิจารณานับตั้งแต่เสนอคำฟ้อง ต่อศาลเพื่อขอให้รับรองคุ้มครองบังคับตาม หรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิ์ หรือหน้าที่
(3) คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้ เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ว่าจะได้เสนอใน ขณะที่เริ่มคดี โดยคำฟ้องคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้อง เพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วย การสมัครใจหรือถูกบังคับหรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
(4) คำให้การ หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่ง คู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคำแถลงการณ์
(5) คำคู่ความ หมายความว่า บรรดาคำฟ้อง คำให้การ หรือคำ ร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ
(6) คำแถลงการณ์ หมายความว่า คำแถลงด้วยวาจาหรือเป็น หนังสือซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำหรือยื่นต่อศาล ด้วยมุ่งหมายที่จะ เสนอความเห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคำคู่ความ หรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้ คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าวทบทวน หรือยืนยัน หรืออธิบาย ข้อความแห่งคำพยานหลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ทั้งปวง คำแถลงการณ์อาจรวมอยู่ในคำคู่ความ
(7) กระบวนพิจารณา หมายความว่า การกระทำใด ๆ ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันเกี่ยวด้วยคดี ซึ่งได้กระทำไป โดยคู่ความในคดีนั้นหรือโดยศาล หรือคำสั่งของศาล ไม่ว่าการนั้นจะ เป็นโดยคู่ความฝ่ายใดทำต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ศาลทำต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย และรวมถึงการส่ง คำคู่ความและเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้
(8) การพิจารณา หมายความว่า กระบวนพิจารณาทั้งหมดใน ศาลใดศาลหนึ่ง ก่อนศาลนั้นชี้ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำ พิพากษาหรือคำสั่ง
(9) การนั่งพิจารณา หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับ การพิจารณาคดี เช่น ชี้สองสถาน สืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำ ขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา
(10) วันสืบพยาน หมายความว่า วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบ พยาน
(11) คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้อง ต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึง บุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะ ทนายความ
(12) บุคคลผู้ไร้ความสามารถ หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่ง ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจำกัด โดย บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ
(13) ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายความว่า บุคคลซึ่งตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลที่จะต้อง ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะ กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
(14) เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายความว่า เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและให้หมายความรวมถึงบุคคล ที่ได้รับมอบ

หมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน
หมายเหตุอ่านมาตรา 1(14) แก้ไขโเพิ่มเติมดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติม

ปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
  
ลักษณะ2 ศาล 
หมวด1 เขตอำนาจศาล 
มาตรา 2 ห้ามมิให้เสนอคำฟ้องต่อศาลใด เว้นแต่
(1) เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลแล้ว ปรากฏว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และ
(2) เมื่อได้พิจารณาถึงคำฟ้องแล้ว ปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขต ศาลนั้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยศาลที่ จะรับคำฟ้อง และตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขต ศาลด้วย
มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
(1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
(2) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(ก) ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ในราชอาณาจักรภาย ในกำหนดสองปีก่อนวันที่มีการเสนอคำฟ้องให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนา ของจำเลย
(ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนในราชอาณาจักรไม่ว่าโดยตนเองหรือตัวแทน หรือโดย มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้นใน ราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือ ติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของ ผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลยหมายเหตุอ่านมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 4 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
(1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรหรือไม่
(2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือ ต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล"
หมายเหตุอ่านมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534มาตรา 4ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 4ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 4ตรี คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาล คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์ที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอ คำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 4ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 4จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 4จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534มาตรา 4เบญจ คำร้องขอเบิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุม ใหญ่ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระ บัญชีของนิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอ ต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 4เบญจ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534มาตรา 4ฉ คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการ หรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้น ในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในเขตศาล"
หมายเหตุอ่านมาตรา 4ฉ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 5 คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาล หรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของ ทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลาย ข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้อง หรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 6 ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่ โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ คำร้อง นั้นจำเลยต้องแสดงเหตุที่ยกขึ้นอ้างอิงว่าการพิจารณาคดีต่อไปในศาล นั้นจะไม่สะดวก หรือจำเลยอาจไม่ได้รับความยุติธรรม เมื่อศาลเห็น สมควร ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้ห้ามมิให้ศาลออกคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ศาลที่จะรับ โอนคดีไปนั้นได้ยินยอมเสียก่อนถ้าศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดคำสั่ง ของอธิบดดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับ 12 ) พศ.534
มาตรา 7 บทบัญญัติใน มาตรา 4 มาตรา 4ทวิ มาตรา 4ตรี มาตรา 4จัตวา มาตรา 4เบญจ มาตรา 4ฉ มาตรา 5 และ มาตรา 6 ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังต่อไปนี้
(1) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(2) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมี คำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี ตาม มาตรา 302
(3) คำร้องตาม มาตรา 101 ถ้าได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอ ต่อศาลใดแล้วให้เสนอต่อศาลนั้น ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคำฟ้องหรือ คำร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคล หรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาล นั้น
(4) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอน บุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดีคำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่ เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดี คำร้องขอหรือคำร้องอื่นใดที่เสนอเกี่ยวเนื่อง กับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดี ที่ได้มีคำสั่งการอนุญาตการแต่งตั้ง หรือคำพิพากษานั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 8 ถ้าคดีสองเรื่องซึ่งมีประเด็นอย่างเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่อง ใกล้ชิดกัน อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจสอง ศาลต่างกันและศาลทั้งสองนั้นได้ยกคำร้องทั้งหลายที่ได้ยื่นต่อศาล ขอให้คดีทั้งสองได้พิจารณาพิพากษารวมในศาลเดียวกันนั้นเสีย ตราบใดที่ศาลใดศาลหนึ่งยังมิได้พิพากษาคดีนั้น ๆ คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาล อุทธรณ์ เพื่อขอให้มีคำสั่งให้ศาลใดศาลหนึ่งจำหน่ายคดี ซึ่งอยู่ในระหว่าง พิจารณานั้นออกเสียจากสารบบความหรือให้โอน คดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้แล้วแต่กรณีคำสั่งใด ๆ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา 9 ในกรณีดั่งที่กล่าวในมาตราก่อนนั้น ถ้าศาลใดศาล หนึ่งได้พิพากษาคดีแล้ว และได้มีการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา นั้น คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล อุทธรณ์ ขอให้มีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์นั้นไว้ก่อน จนกว่าอีกศาลหนึ่ง จะได้พิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งเสร็จแล้วก็ได้ และถ้าได้มีการอุทธรณ์คดีเรื่องหลังนี้ ก็ให้ศาลอุทธรณ์รวม วินิจฉัยคดีทั้งสองนั้นโดยคำพิพากษาเดียวกัน ถ้าคดีเรื่องหลังนั้น ไม่มีอุทธรณ์ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 146
มาตรา 10 ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มี เขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรือ อาจเสียหายเพราะการนั้น จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
  
หมวด2 การคัดค้านผู้พิพากษา 
มาตรา 11 เมื่อคดีถึงศาล ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลนั้น อาจถูกคัดค้านได้ ในเหตุใดเหตุหนึ่งดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้พิพากษานั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น
(2) ถ้าเป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือว่าเป็น บุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงาน นับได้เพียงสองชั้น
(3) ถ้าเป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยาน โดยที่ได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ หรือโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับคดีนั้น
(4) ถ้าได้เป็นหรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทน หรือได้ เป็นทนายความของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว
(5) ถ้าได้เป็นผู้พิพากษา นั่งพิจารณาคดีเดียวกันนั้นในศาล อื่นมาแล้ว หรือเป็นอนุญาโตตุลาการมาแล้ว
(6) ถ้ามีคดีอีกเรื่องหนึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณา ซึ่งผู้พิพากษา นั้นเองหรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมา ของผู้พิพากษานั้นฝ่ายหนึ่ง พิพาทกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ภริยาหรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของคู่ความ ฝ่ายนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง
(7) ถ้าผู้พิพากษานั้นเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้าง ของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาตรา 12 เมื่อศาลใดมีผู้พิพากษาแต่เพียงคนเดียว ผู้พิพากษา นั้นอาจถูกคัดค้านด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดไว้ใน มาตราก่อนนั้นได้หรือด้วยเหตุประการอื่นอันมีสภาพร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้การ พิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป
มาตรา 13 ถ้ามีเหตุที่จะคัดค้านได้อย่างใดอย่างหนึ่งดั่งที่กล่าว ไว้ในสอง มาตราก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้พิพากษาคนใดที่นั่งในศาล
(1) ผู้พิพากษานั้นเองจะยื่นคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงเหตุที่ตน อาจถูกคัดค้าน แล้วขอถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดีนั้นก็ได้
(2) คู่ความที่เกี่ยวข้องอาจยกข้อคัดค้านขึ้นอ้างโดยทำเป็นคำร้อง ยื่นต่อศาล แต่ถ้าตนได้ทราบเหตุที่พึงคัดค้านได้ก่อนวันสืบพยาน ก็ให้ยื่นคำร้องคัดค้าน เสียก่อนวันสืบพยานนั้น หรือถ้าทราบเหตุ ที่พึงคัดค้านได้ในระหว่างพิจารณา ก็ให้ยื่นคำร้องคัดค้านไม่ช้ากว่า วันนัดสืบพยานครั้งต่อไปแต่ต้องก่อนเริ่มสืบพยานเช่นว่านั้นเมื่อได้ยื่นคำร้องดั่งกล่าวแล้ว ให้ศาลงดกระบวนพิจารณาทั้งปวง ไว้ก่อนจนกว่าจะได้มีคำชี้ขาดในเรื่องที่คัดค้านนั้นแล้ว แต่ความข้อนี้ มิให้ใช้แก่กระบวนพิจารณาซึ่งจะต้องดำเนินโดยมิชักช้า อนึ่ง กระบวน พิจารณาทั้งหลายที่ได้ดำเนินไปก่อนได้ยื่นคำร้องคัดค้านก็ดี และ กระบวนพิจารณาทั้งหลายในคดีที่จะต้องดำเนินโดยมิชักช้า แม้ถึงว่า จะได้ดำเนินไปภายหลังที่ได้ยื่นคำร้องคัดค้านก็ดี เหล่านี้ย่อม สมบูรณ์ไม่เสียไปเพราะเหตุที่ศาลมีคำสั่งยอมฟังคำคัดค้าน เว้นแต่ ศาลจะได้กำหนดไว้ในคำสั่งเป็นอย่างอื่นถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาคนเดียวและผู้พิพากษาคนนั้นถูกคัดค้าน หรือถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษานั้นทั้งหมด ถูกคัดค้าน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าศาลนั้นตามลำดับเป็นผู้ชี้ขาด คำคัดค้านถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาที่มิได้ถูก คัดค้านรวมทั้งข้าหลวงยุติธรรม ถ้าได้นั่งพิจารณาด้วยมีจำนวน ครบที่จะเป็นองค์คณะและมีเสียงข้างมากตามที่กฎหมายต้องการ ให้ศาลเช่นว่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน แต่ในกรณีที่อยู่ในอำนาจ ของผู้พิพากษาคนเดียว จะชี้ขาดคำคัดค้านห้ามมิให้ผู้พิพากษา คนนั้นมีคำสั่งให้ยกคำคัดค้าน โดยผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งหรือ ข้าหลวงยุติธรรมมิได้เห็นพ้องด้วยถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคนและผู้พิพากษาที่มิได้ถูกคัดค้าน แม้จะนับรวมข้าหลวงยุติธรรมเข้าด้วย ยังมีจำนวนไม่ครบที่จะเป็น องค์คณะ และเสียงข้างมากตามที่กฎหมายต้องการ หรือถ้า ผู้พิพากษาคนเดียวไม่สามารถมีคำสั่งให้ยกคำคัดค้านเสียด้วย ความเห็นพ้องของผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งหรือข้าหลวงยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าศาลนั้นตาม ลำดับเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน
มาตรา 14 เมื่อได้มีการร้องคัดค้านขึ้น และผู้พิพากษาที่ถูก คัดค้านไม่ยอมถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดี ให้ศาลฟังคำแถลง ของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องและของผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านกับทำการ สืบพยานหลักฐานที่บุคคลเหล่านั้นได้นำมา และพยานหลักฐานอื่น ตามที่เห็นสมควรแล้วออกคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด เมื่อศาลที่ผู้พิพากษาแห่งศาลนั้นเองถูกคัดค้าน จะต้องวินิจฉัย ชี้ขาดคำคัดค้าน ห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านนั้นนั่งหรือออกเสียง กับผู้พิพากษาอื่น ๆ ในการพิจารณาและชี้ขาดคำคัดค้านนั้นถ้าผู้พิพากษาคนใดได้ขอถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดีก็ดี หรือศาลได้ยอมรับคำคัดค้านผู้พิพากษาคนใดก็ดีให้ผู้พิพากษาคนอื่น ทำการแทนตามบทบัญญัติในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมวด3 อำนาจและหน้าที่ของศาล
มาตรา 15 ห้ามมิให้ศาลใช้อำนาจนอกเขตศาล เว้นแต่
(1) ถ้าบุคคลผู้ที่จะถูกซักถามหรือถูกตรวจ หรือบุคคลผู้เป็น เจ้าของทรัพย์หรือสถานที่ซึ่งจะถูกตรวจมิได้ยกเรื่องเขตศาลขึ้น คัดค้าน ศาลจะทำการซักถามหรือตรวจดั่งว่านั้นนอกเขตศาลก็ได้
(2) ศาลจะออกหมายเรียกคู่ความหรือบุคคลนอกเขตศาลก็ได้ ส่วนการที่จะนำบทบัญญัติ มาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 108 มาตรา 109 และ มาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายนี้และ มาตรา 147 แห่งกฎหมายลักษณะอาญา มาใช้บังคับได้นั้นต้องให้ศาลซึ่งมีอำนาจในเขตศาลนั้นสลักหลังหมาย เสียก่อน
(3) หมายบังคับคดีและหมายของศาลที่ออกให้จับและกักขัง บุคคลใดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ อาจบังคับได้ไม่ว่า ในที่ใด ๆ ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงาน ให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลที่จะมีการ บังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีโดย ไม่ชักช้า และให้ศาลนั้นดำเนินการไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดี แทนตาม มาตรา 302

วรรคสาม
หมายเหตุอ่านมาตรา 15(3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 15 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 16 ถ้าจะต้องทำการซักถาม หรือตรวจ หรือดำเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ
(1) โดยศาลชั้นต้นศาลใด นอกเขตศาลนั้น หรือ
(2) โดยศาลแพ่งหรือศาลอาญา นอกเขตจังหวัดพระนครและธนบุรี หรือโดยศาลอุทธรณ์หรือฎีกาให้ศาลที่กล่าวแล้วมีอำนาจที่จะแต่งตั้งศาลอื่นที่เป็นศาลชั้นต้น ให้ทำการซักถามหรือตรวจภายในบังคับบทบัญญัติ มาตรา 102 หรือดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้
มาตรา 17 คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ต่อศาลนั้น ให้ศาลดำเนินการไป ตามลำดับเลขหมายสำนวนในสารบบความ เว้นแต่ศาลจะกำหนด เป็นอย่างอื่นเมื่อมีเหตุผลพิเศษ
มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออก หรืออ่านไม่เข้าใจหรือการเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน ระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้นถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดั่งกล่าวข้างต้นมิได้เป็นไป ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคล ซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เรื่องเขตอำนาจ

ศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ถ้าไม่มีข้อขัดดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความ นั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 มาตรา 228 และ มาตรา 247 หมายเหตุอ่านมาตรา 18 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2527
มาตรา 19 ศาลมีอำนาจสั่งได้ตามที่เห็นสมควรให้คู่ความทุกฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาลด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าคู่ความนั้น ๆ จะได้มี ทนายความว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วก็ดี อนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่าการที่ คู่ความมาศาลด้วยตนเองอาจยังให้เกิดความตกลง หรือการประนี ประนอมยอมความดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ต่อไปนี้ ก็ให้ศาลสั่งให้ คู่ความมาศาลด้วยตนเอง
มาตรา 20 ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอำนาจที่จะไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนี ประนอมยอมความกันในข้อพิพาทนั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 20 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ย เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลจะสั่งให้ดำเนินการเป็น การลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยจะ ให้มีทนายความอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาล อาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือ ศาล

ในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกันหลักเกณฑ์และวิธีการในการไกล่เกลี่ยของศาล การแต่งตั้งผู้ประนีประนอม รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบของที่

ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคสาม เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 20ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 20 ทวิ วรรคสาม,วรรคสี่ แก้ไขและเพิ่มเติมโดยพรบ.

แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 21 เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล
(1) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติว่า คำขอหรือคำแถลง จะต้องทำเป็นคำร้องหรือเป็นหนังสือ ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะยอมรับ คำขอหรือคำแถลงที่คู่ความได้ทำในศาลด้วยวาจาได้ แต่ศาลต้อง จดข้อความนั้นลงไว้ในรายงานหรือจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่น คำขอโดยทำเป็นคำร้อง หรือยื่นคำแถลงเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ ศาลจะเห็นสมควร
(2) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดจะทำ ได้แต่ฝ่ายเดียว ห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ มีโอกาสคัดค้านก่อน แต่ทั้งนี้ต้อง อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัด
(3) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คำของอันใดอาจทำ ได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้เว้นแต่ในกรณี ที่คำขอนั้นเป็นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึดหรือ อายัดทรัพย์สินก่อนคำ

พิพากษา หรือเพื่อให้ออกหมายบังคับ หรือเพื่อจับหรือกักขังจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(4) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลต้องออกคำสั่ง อนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตาม คำขอนั้นในกรณีเรื่องใดที่ศาลอาจออกคำสั่งได้เองหรือต่อเมื่อคู่ความมี คำขอให้ใช้บทบัญญัติอนุ มาตรา (2),(3) และ (4) แห่ง มาตรานี้ บังคับในกรณีเรื่องใดที่คู่ความไม่มีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่ง แต่หาก ศาลอาจมีคำสั่งในกรณีเรื่องนั้นได้เอง ให้ศาลมีอำนาจภายในบังคับ บทบัญญัติแห่ง มาตรา 103 และ มาตรา 181 (2) ที่จะงดฟังคู่ความหรือ งดทำการไต่สวนก่อนออกคำสั่งได้
มาตรา 22 กำหนดระยะเวลาทั้งปวงไม่ว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือที่ศาลเป็นผู้กำหนดก็ดี เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวน พิจารณาใดๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ให้ศาลคำนวณตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยระยะเวลา
มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยาย หรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือตามที่ ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความ มีคำขอขึ้นมา

ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
มาตรา 24 เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่ง ถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดี ต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือ ถึงแม้จะดำเนินการพิจารณาประเด็นข้อสำคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทำให้ ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมีคำขอให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการ พิจารณาต่อไป ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ว วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน

ปัญหานั้นถ้าศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดเช่นว่านี้ จะทำให้คดีเสร็จไปได้ ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาที่กล่าวแล้วและพิพากษาคดีเรื่องนั้น หรือเฉพาะแต่ประเด็น ที่เกี่ยวข้องไปโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับเดียวกันก็ได้คำสั่งใด ๆ ของศาลที่ได้ออกตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกา ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 มาตรา 228 และ มาตรา 247
มาตรา 25 ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลสั่ง กำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 เพื่อคุ้มครองสิทธิของ คู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นเสียโดยไม่ชักช้าถ้าในเวลาที่ยื่นขอนั้นศาลจะชี้ขาดคดีได้อยู่แล้ว ศาลจะวินิจฉัย คำขอนั้นในคำพิพากษา หรือในคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้
มาตรา 26 ถ้าศาลได้ตั้งข้อถาม หรือออกคำสั่งหรือชี้ขาดเกี่ยว ด้วยการดำเนินคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใน คดีเรื่องนั้นคัดค้านข้อถาม หรือคำสั่ง หรือคำชี้ขาดนั้น ว่าไม่ชอบด้วย กฎหมายก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดข้อถามหรือคำสั่ง หรือคำชี้ขาดที่ถูกคัดค้านและสภาพแห่งการคัดค้านลงไว้ในรายงาน แต่ส่วนเหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างอิงนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ ในรายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่คัดค้านยื่นคำแถลงเป็น หนังสือเพื่อรวมไว้ในสำนวน
มาตรา 27 ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณา คดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอน การพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าว ได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็น มูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใด ขึ้นใหม่ หลัง

จากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้ สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใดๆ อันมิใช่ เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลา ซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความ ฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายบังคับ
มาตรา 28 ถ้ามีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาอยู่ในศาลเดียวกัน หรือในศาลชั้นต้นสองศาลต่างกัน และคู่ความทั้งหมดหรือแต่บางฝ่าย เป็นคู่ความรายเดียวกัน กับทั้งการพิจารณาคดีเหล่านั้นถ้าได้รวม กันแล้วจะเป็นการสะดวกหากศาลนั้นหรือศาลหนึ่งศาลใดเหล่านั้น เห็นสมควรให้พิจารณาคดีรวมกัน หรือหากคู่ความทั้งหมดหรือแต่ บางฝ่ายมีคำขอให้พิจารณาคดีรวมกันโดยแถลงไว้ในคำให้การหรือ ทำเป็นคำร้องไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลได้ฟัง คู่ความทุกฝ่ายในคดีนั้น ๆ แล้ว ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าคดีเหล่านั้น เกี่ยวเนื่องกัน ก็ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านั้น รวมกันถ้าจะโอนคดีมาจากอีกศาลหนึ่ง หรือโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่ง ที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ศาลจะมีคำสั่งก่อนที่ได้รับความยินยอม ของอีกศาลหนึ่งนั้นไม่ได้ แต่ศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
มาตรา 29 ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาล เห็นว่า ข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่นๆ เมื่อ ศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำขอ โดยทำเป็น คำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้แยกคดีเสียโดยเร็ว ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ พิจารณาข้อหาเช่นว่านั้นต่อไป ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีไป เสมือนหนึ่งว่าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก โดยมีเงื่อนไขที่ศาลจะ กำหนดไว้ตามที่เห็นสมควร ถ้าคดีฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อ และศาลเห็นว่าหากแยก พิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้ว จะทำให้ การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมี คำพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสีย ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง และเมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง ออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่องๆไป
มาตรา 30 ให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ แก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณา ดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึงการ สั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญ หรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร
มาตรา 31 ผู้ใดกระทำการอย่างใด ๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่า กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
(1) ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตาม มาตรา ก่อนอันว่า ด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยใน บริเวณศาล
(2) เมื่อได้มีคำร้องและได้รับอนุญาตจากศาลให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตาม มาตรา 156/1 แล้วปรากฏว่าได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเสนอ
พยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ในการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
(3) เมื่อรู้ว่าจะมีการส่งคำคู่ความหรือส่งเอกสารอื่น ๆ ถึงตน แล้วจงใจไปเสียให้พ้น หรือหาทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความ หรือเอกสารนั้นโดยสถานอื่น
(4) ตรวจเอกสารทั้งหมดหรือฉบับใดฉบับหนึ่งซึ่งอยู่ในสำนวน ความหรือคัดเอาสำเนาเอกสารเหล่านั้นไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 54
(5) ขัดขืนไม่มาศาลเมื่อศาลได้มีคำสั่งตาม มาตรา 19 หรือมี หมายเรียกตาม มาตรา 277
หมายเหตุมาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
อ่านมาตรา 31 (2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 32 ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการหรือผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคล เหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจ ศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสองอย่าง ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ไม่ว่าเวลาใดๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้นได้ กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็น การเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดี หรือกระบวน พิจารณาใด ๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครอง สาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคำสั่งห้ามการออกโฆษณาสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือโดยวิธีห้าม การออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
(2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดย วิธีใดๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อ
ความหรือความเห็น โดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความ รู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาล หรือเหนือคู่ความ หรือเหนือ พยานแห่งคดี ซึ่งพอเห็นได้ว่า จะทำให้การพิจารณาคดีเสียความ ยุติธรรมไป เช่น
ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ
ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนพิจารณา แห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวม
ทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความ หรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จเพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงใน มาตรา 4 แห่งพรบ. การพิมพ์ พ.ศ.2476 มาใช้บังคับ
มาตรา 33 ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทำความผิดฐาน ละเมิดอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้ง
สองวิธี ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ
(ข) ให้ลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับการไล่ออกจากบริเวณศาลนั้น ให้กระทำได้ชั่วระยะที่ศาลนั่ง พิจารณาหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อจำเป็นจะเรียกให้ตำรวจช่วยจัดการได้ ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้น ให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 34 ถ้าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งเรื่องหรือ แต่บางส่วนโดยทางอาศัยหรือโดยร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ในเมือง ต่างประเทศ เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศใดอย่างหนึ่ง หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้สำหรับเรื่องนั้นแล้ว ให้ศาลปฏิบัติ ตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
 
หมวด4 การนั่งพิจารณา
มาตรา 35 ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใด จะต้องกระทำในศาลนั้น ในวันที่ ศาล
เปิดทำการ และตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้ แต่ในกรณี มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลจะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ
สถานที่อื่น หรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้ให้ผู้พิพากษาและเจ้าพนักงานศาลซึ่งปฏิบัติงานในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆ นอกเวลาทำการปกติได้รับค่าตอบแทนเป็นพิเศษ ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง
หมายเหตุอ่านมาตรา 35 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติม ปวิพ.(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2539
มาตรา 36 การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทำในศาลต่อหน้าคู่ความ ที่มาศาลและโดยเปิดเผย เว้นแต่
(1) ในคดีเรื่องใดที่มีความจะเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในศาล เมื่อศาลได้ขับไล่คู่ความฝ่ายใดออกไปเสียจากบริเวณศาลโดยที่ ประพฤติไม่สมควรศาลจะดำเนินการนั่งพิจารณาคดีต่อไปลับหลัง คู่ความฝ่ายนั้นก็ได้
(2) ในคดีเรื่องใด เพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อคุ้มครองสาธารณ ประโยชน์ ถ้าศาลเห็นสมควรจะห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง
หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนแห่งคดีซึ่งปรากฏ จากคำคู่ความหรือคำแถลงการณ์ของคู่ความ หรือจากคำพยาน หลักฐานที่
ได้สืบมาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งดั่งต่อไปนี้ก็ได้
(ก) ห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณาทั้งหมด หรือแต่ บางส่วนแล้วดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย หรือ
(ข) ห้ามมิให้ออกโฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่างๆ เช่นว่านั้น ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่า หรือฟ้องชายชู้
หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็น ธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (2) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำ
พิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผยและมิให้ ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้น หรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้น เป็นผิด กฎหมาย
มาตรา 37 ให้ศาลดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปเท่าที่ สามารถจะทำได้โดยไม่ต้องเลื่อนจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและ พิพากษาคดี
มาตรา 38 ถ้าในวันที่กำหนดนัดนั่งพิจารณาศาลไม่มีเวลาพอที่ จะดำเนินการนั่งพิจารณา เนื่องจากกิจธุระของศาล ศาลจะมีคำสั่ง ให้เลื่อน
การนั่งพิจารณาไปในวันอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา 39 ถ้าการที่จะชี้ขาดตัดสินคดีเรื่องใดที่ค้างพิจารณาอยู่ ในศาลจำต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อ ที่ศาลนั้นเอง หรือศาลอื่นจะต้องกระทำเสียก่อน หรือจำต้องรอให้ เจ้าพนักงานฝ่ายธุรการวินิจฉัยชี้ขาดในข้อเช่นนั้นเสียก่อน หรือ ถ้าปรากฏว่าได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ซึ่งอาจมีการฟ้องร้อง อันอาจกระทำให้การชี้ขาดตัดสินคดีที่พิจารณาอยู่นั้น เปลี่ยนแปลงไป หรือในกรณีอื่นใดซึ่งศาลเห็นว่าถ้าได้เลื่อนการพิจารณาไปจักทำให้ ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความที่ เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนการนั่งพิจารณาต่อไปจนกว่า จะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ แล้ว หรือภายในระยะ เวลาใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาดั่งกล่าวแล้วโดยไม่มีกำหนด เมื่อศาลเห็นสมควร หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งให้ เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา 40 เมื่อศาลได้กำหนดวันนั่งพิจารณาและแจ้งให้คู่ความทราบแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะขอเลื่อนการนั่งพิจารณา คู่ความฝ่าย
นั้นต้องเสนอคำขอเข้ามาก่อนหรือในวันนัดและ แสดงเหตุผลแห่งการขอเลื่อนนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ
เว้นแต่ การขอเลื่อนการนั่งพิจารณานั้นมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม
เมื่อศาลจะสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณา ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายนั้นเสียค่าป่วยการพยาน ซึ่งมาศาลตามหมายเรียกและเสียค่าใช้จ่ายในการที่คู่ความฝ่ายอื่นมาศาล เช่น ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของตัวความ ทนายความ หรือพยาน เป็นต้น ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีไม่ชำระค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายตามที่ศาลกำหนด ให้ศาลยกคำขอเลื่อนคดีนั้นเสียค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามวรรคสองให้ตกเป็นพับ คำขอเลื่อนคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าไม่ได้เสนอต่อหน้าศาลด้วยวาจา ก็ให้ทำเป็นคำร้องและจะทำฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาลก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 40 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 41 ถ้ามีการขอเลื่อนการนั่งพิจารณาโดยอ้างว่าตัวความ ผู้แทน ทนายความ พยานหรือบุคคลอื่นที่ถูกเรียกให้มาศาลไม่สามารถ มาศาลได้เพราะป่วยเจ็บ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว ศาลจะมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการ ตรวจก็ได้ และถ้าสามารถหาแพทย์ได้ก็ให้ตั้งแพทย์ไปตรวจด้วย ถ้าผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจได้รายงานโดยสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณ แล้ว และศาลเชื่อว่าอาการของผู้อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมา ศาลไม่ได้ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของบุคคล ที่อ้างว่าป่วยนั้น แล้วแต่กรณี ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายที่ขอให้ไปตรวจตามวรรคหนึ่งหรือคู่ ความใดไปกับผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจ คู่ความนั้นจะมอบให้ผู้ใดไปแทน ตนก็ได้ ค่าพาหนะและค่าป่วยการของเจ้าพนักงานและแพทย์ ให้ถือว่า เป็นค่าฤชาธรรมเนียม และให้นำ มาตรา 166 มาใช้บังคับ
หมายเหตุมาตรา 41 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ใน ศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทน ที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเองหรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้ จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดั่งกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เรื่องนั้นเสียจากสารบบความ
มาตรา 43 ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดก ประสงค์จะขอเข้ามา เป็นคู่
ความแทน ก็ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น ในกรณีเช่นนี้เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคำขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนนั้น แสดงพยาน หลักฐานสนับสนุนคำขอเช่นว่านั้นได้ เมื่อได้แสดงพยานหลักฐาน ดั่งกล่าวนั้น
แล้วให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการที่จะเข้า มาเป็นคู่ความแทน
มาตรา 44 คำสั่งให้หมายเรียกบุคคลใดเข้ามาแทนผู้มรณะนั้นจะ ต้องกำหนด ระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้บุคคลนั้นมีโอกาสคัดค้านใน ศาล
ว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะ หรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์ มรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลผู้ถูกเรียกไม่จำต้อง ปฏิบัติตามหมายเช่นว่านั้นก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อ การยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว
ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้นยินยอมรับเข้ามาเป็นคู่ความแทน ผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้และดำเนินคดีต่อไป ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล ให้ศาลทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควร ถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ ออกคำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้มรณะแล้วดำเนินคดี ต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าข้อคัดค้านของบุคคลผู้ถูกเรียกมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถเรียกทายาทอันแท้จริง หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลที่ปกครองทรัพย์มรดกของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทน ผู้มรณะได้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี ก็ให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็น สมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา 45 ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งตกเป็นผู้ไร้ความสามารถก็ดี หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ไร้ความ
สามารถได้มรณะหรือหมดอำนาจเป็นผู้แทนก็ดี ให้ศาลเลื่อนการนั่ง พิจารณาไปภายในระยะเวลาอันสมควร เพื่อผู้แทนโดยชอบธรรมหรือ ผู้แทนโดยชอบธรรมคนใหม่ จะได้แจ้งให้ทราบ ถึงการได้รับแต่งตั้ง ของตนโดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น ถ้ามิได้ยื่นคำขอ ดังกล่าวมาแล้วให้นำ มาตรา 56 มาใช้บังคับ ถ้าผู้แทนหรือทนายความของคู่ความได้มรณะหรือหมดอำนาจเป็น ผู้แทนให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าตัวความจะได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลแจ้งให้ทราบถึงการที่ได้แต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความขึ้นใหม่ หรือคู่ความฝ่ายนั้นมีความประสงค์จะมาว่าคดีด้วยตนเอง แต่ถ้าศาล เห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมี อำนาจสั่งกำหนดระยะเวลาไว้พอสมควร เพื่อให้ตัวความมีโอกาสแจ้ง ให้ทราบถึงการแต่งตั้งหรือความประสงค์ของตนนั้นก็ได้ ในกรณี เช่นว่านี้ ถ้าตัวความมิได้แจ้งให้ราบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็น สมควรก็ได้
บทบัญญัติแห่งวรรคก่อนนั้น ให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้แทน โดยชอบธรรมของผู้ไร้ความสามารถหมดอำนาจลง เพราะเหตุที่ บุคคลนั้น
ได้มีความสามารถขึ้นแล้วด้วยโดยอนุโลม

หมวด5 รายงานและสำนวนความ
มาตรา 46 บรรดากระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยการพิจารณาและ การชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งทั้งหลายซึ่งศาลเป็นผู้ทำนั้น ให้ทำเป็นภาษาไทย
บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใดๆ ที่ คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้นซึ่งประกอบเป็นสำนวน
ของคดีนั้น ให้เขียนเป็นหนังสือไทยและเขียนด้วยหมึกหรือดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออก แต่ให้ขีดฆ่าเสียแล้ว
เขียนลงใหม่และผู้เขียนต้องลงชื่อไว้ที่ริมกระดาษ ถ้ามีข้อความ ตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อหรือลงชื่อย่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาล ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำ คำแปลทั้งฉบับ หรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญ โดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อ แนบไว้กับต้นฉบับ ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดที่มาศาล ไม่เข้าใจภาษาไทย หรือ เป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ ให้คู่ความฝ่ายที่ เกี่ยวข้องจัดหาล่าม
มาตรา 47 ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลให้ศาล มีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลนั้น ให้ถ้อยคำสาบานตัวว่าเป็น ใบ
มอบอำนาจอันแท้จริง ถ้าศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจที่ยื่นนั้นจะไม่ใช่ใบมอบ อำนาจอันแท้จริงก็ดี หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุ อันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะมิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงก็ดี ให้ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น ยื่นใบมอบ อำนาจตามที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
ถ้าใบมอบอำนาจนั้นได้ทำในราชอาณาจักรสยามต้องให้นายอำเภอ เป็นพยาน ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้น
เป็นพยานถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้บุคคล เหล่านี้เป็นพยานคือเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด หรือ
บุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้อง ถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้ และต้องมีใบ สำคัญของรัฐบาลต่างประเทศ ที่เกี่ยว
ข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็น พยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆ ทำนองเช่นว่ามานี้ ซึ่งคู่ความจะต้องยื่นต่อศาล
มาตรา 48 ในคดีทุกเรื่องให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงาน การนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้ง
รายงานนั้นต้องมีรายการต่อไปนี้
(1) เลขคดี
(2) ชื่อคู่ความ
(3) สถานที่ วัน และเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือดำเนินกระบวน พิจารณา
(4) ข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญ อื่น ๆ
(5) ลายมือชื่อผู้พิพากษาเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเมื่อศาลเห็นเป็นการจำเป็นก็ให้ศาล จดบันทึก (โดยจดรวมไว้ในรายงานพิสดารหรืออีกส่วนหนึ่งต่างหาก) ซึ่งคำแถลงหรือคำคัดค้านในข้อสำคัญ ข้อตกลง คำชี้ขาด คำสั่ง หรือการอื่น ๆ หรือกระบวนพิจารณาที่ทำด้วยวาจา ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 49 ในส่วนที่เกี่ยวด้วยคำแถลงหรือคัดค้านของคู่ความหรือ คำให้การของพยานหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือข้อตกลงในการสละสิทธิของ คู่
ความนั้น ให้ถือว่ารายงานของศาลเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นได้ ต่อเมื่อศาลได้อ่านให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องฟัง และได้จดลงไว้ ซึ่ง
ข้อแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ขอร้องหรือที่ชี้แจงใหม่ ทั้งคู่ความหรือ บุคคลนั้น ๆ ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
มาตรา 50 ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดจะต้องลงลายมือชื่อ ในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือจะต้องลงลายมือชื่อใน เอกสารใด
เพื่อรับรองการอ่านหรือการส่งเอกสารเช่นว่านั้น
(1) การลงลายมือพิมพ์นิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอย่างอื่น ที่ได้ทำต่อหน้าศาลนั้น ไม่จำต้องมีลายมือชื่อของพยานสองคนรับรอง
(2) ถ้าคู่ความ หรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดั่งกล่าว แล้วลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงาน จดแจ้ง
เหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้ แทนการลงลายมือชื่อ
มาตรา 51 ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปฏิบัติดั่งนี้
(1) ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาลตามลำดับที่รับไว้ กล่าวคือตามวันและเวลาที่ยื่นหรือเสนอคำฟ้องเพื่อเริ่มคดีต่อศาล ตามที่บัญญัติ
ไว้ในประมวลกฎหมายนี้
(2) ลงทะเบียนคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีทั้งหมดของศาล ในสารบบคำพิพากษา
(3) รวบรวมรายงานและเอกสารที่ส่งต่อศาลหรือศาลทำขึ้น กับคำสั่งและคำพิพากษาของศาลไว้ในสำนวนความเรื่องนั้น แล้วเก็บรักษาไว้
ในที่ปลอดภัย
(4) คัดสำเนาคำพิพากษา คำสั่งชี้ขาดคดี แล้วเก็บรักษาไว้เรียง ตามลำดับและในที่ปลอดภัย
(5) เก็บรักษาสารบบและสมุดของศาล เช่นสารบบความและ สารบบคำพิพากษาไว้ในที่ปลอดภัย
มาตรา 52 เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งอันเป็นเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว เรื่องใดได้มีการปฏิบัติตามหรือบังคับไปแล้ว หรือระยะเวลาที่ กำหนดไว้
เพื่อการบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้ศาลที่เก็บสำนวน นั้นไว้ จัดส่งสำนวนนั้นไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อรักษาไว้หรือ จัดการตาม
กฎหมายกระทรวงว่าด้วยการนั้น
มาตรา 53 ถ้ารายงาน คำพิพากษา คำสั่งหรือเอกสารอื่นใด ที่รวมไว้ในสำนวนความซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือรอการบังคับ ของศาล
สูญหายไป หรือบุบสลายทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการ ขัดข้องต่อการชี้ขาดตัดสินหรือบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือ เมื่อคู่ความฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลสั่ง คู่ความหรือบุคคลผู้ถือเอกสารนั้นนำสำเนาที่รับรองถูกต้องมาส่งต่อ ศาล ถ้าหากสำเนาเช่นว่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนหาไม่ได้ ให้ ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ หรือมีคำสั่งอย่างอื่นตามที่ เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา 54 คู่ความก็ดี หรือพยานในส่วนที่เกี่ยวกับคำให้การของ ตนในคดีนั้นก็ดี หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบหรือมี เหตุผลอันสมควรก็ดีอาจร้องของอนุญาตต่อศาลไม่ว่าเวลาใดระหว่าง หรือภายหลังการพิจารณาเพื่อตรวจเอกสารทั้งหมดหรือแต่แบบฉบับ ในสำนวนเรื่องนั้น หรือขอคัดสำเนาหรือขอให้จ่าศาลคัดสำเนาและ รับรอง แต่ทั้งนี้
(1) ห้ามมิให้อนุญาตเช่นว่านั้นแก่บุคคลอื่นนอกจากคู่ความ หรือ พยานในคดีที่พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือในคดีที่ศาลได้มีคำสั่งห้าม การ
ตรวจหรือคัดสำเนาเอกสารในสำนวนทั้งหมดหรือบางฉบับเพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยหรือผลประโยชน์ทั่วไปของประชาชน ถึงแม้ ผู้ขอจะเป็นคู่ความหรือพยายามก็ห้ามมิให้อนุญาตดุจกัน แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในการที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งในคดีนั้น หรือการที่จะขอสำเนาอันรับรองถูกต้อง
(2) ห้ามมิให้อนุญาตให้คู่ความคัดถ้อยคำพยานฝ่ายตน จนกว่า จะได้สืบพยานฝ่ายตนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่จะมีพฤติการณ์พิเศษที่ จะให้อนุญาตเมื่อได้ให้อนุญาตแล้ว การตรวจ หรือการคัดสำเนานั้น ให้ผู้ขอ หรือบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ขอโดยชอบเป็นผู้คัดตามเวลา และเงื่อนไขซึ่งจ่าศาลจะได้กำหนดให้เพื่อความสะดวกของศาลหรือ เพื่อความปลอดภัยของเอกสารนั้นห้ามมิให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่ง ก่อนที่ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และก่อนที่ได้ลงทะเบียนในสารบบคำพิพากษาในกรณีที่ศาลได้ทำคำอธิบายเพิ่มเติมกลัดไว้กับรายงานแห่งคำสั่ง หรือคำพิพากษา ซึ่งกระทำด้วยวาจาตามบทบัญญัติ มาตรา 141 คำอธิบายเพิ่มเติมเช่นว่านั้น คู่ความจะขอตรวจหรือขอคัดสำเนาหรือขอสำเนาเสมือนเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำสั่งหรือคำพิพากษาก็ได้สำเนาที่รับรองนั้น ให้จ่าศาลเป็นผู้รับรองโดยเรียกค่าธรรมเนียม ตามที่กำหนดไว้ในอัตราท้ายประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีที่ผู้ขอตรวจ เอกสารหรือขอคัดสำเนาด้วยตนเอง ไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียมลักษณะ3 คู่ความ
มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 56 ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทำการแทนจะเสนอข้อหา ต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆได้ ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความ สามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การให้อนุญาต หรือยินยอมตามบท
บัญญัติเช่นว่านั้น ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาล เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อ คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีอำนาจ ทำการสอบสวนในเรื่องความสามารถของผู้ขอหรือของคู่ความอีก ฝ่ายหนึ่ง และถ้าเป็นที่พอใจว่ามีความบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายใน กำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลจะสั่งถ้าศาลเห็นว่าเพื่อความยุติธรรมไม่ควรให้กระบวนพิจารณาดำเนิน เนิ่นช้าไป ศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายที่บกพร่องในเรื่องความสามารถ นั้นดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราวก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาใน ประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้วถ้าผู้ไร้ความสามารถไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดย ชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้อนุญาตหรือ ให้ความยินยอมตามที่ต้องการ หรือตั้งผู้แทนเฉพาะคดีนั้นให้แก่ผู้ ไร้ความสามารถ ถ้าไม่มีบุคคลอื่นใดให้ศาลมีอำนาจตั้งพนักงานอัยการ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอื่นให้เป็นผู้แทนได้
มาตรา 57 บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความ ได้ด้วยการร้องสอด
(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็น เพื่อยัง ให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคำ
ร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตน มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น
(2) ด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนมี คำพิพากษา
ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้า แทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของ คู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย
(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคำขอของคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความ เช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคำสั่ง ของศาล เมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคำขอในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีศาล เห็นจำเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี เพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกบุคคลภาย นอกเข้ามาในคดีดั่งกล่าวแล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคำร้อง เพื่อให้หมาย เรียกพร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ หรือในเวลาใด ๆ ต่อมาก่อน มีคำพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคำร้อง นั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุ มาตรานี้ ต้องมีสำเนา คำขอ หรือคำสั่งของศาลแล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบ ไปด้วยบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้ในอัน ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดี ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 58 ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามอนุมาตรา (1) และ(3) แห่งมาตราก่อนนี้ มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้อง เป็นคดี
เรื่องใหม่ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนำพยานหลักฐานใหม่มา แสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้วและ คัด
ค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุมาตรา (2) แห่งมาตราก่อนใช้สิทธิอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตน เข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือ จำเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่การที่ ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจำเลยเดิม ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทนเมื่อได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ถ้ามีข้อเกี่ยวข้องกับคดีเป็น ปัญหาจะต้องวินิจฉัยในระหว่างผู้ร้องสอดกับคู่ความฝ่ายที่ตนเข้า มาร่วมหรือที่ตนถูกหมายเรียกเข้ามาร่วม ผู้ร้องสอดย่อมต้องผูกพัน ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของคู่ความนั้นทำให้ผู้ ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีช้าเกินสมควรที่จะแสดงข้อเถียง อันเป็นสารสำคัญได้ หรือ
(2) เมื่อคู่ความนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มิได้ ยกขึ้นใช้ซึ่งข้อเถียงในปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงอันเป็น สารสำคัญซึ่งผู้ร้องสอดมิได้รู้ว่ามีอยู่เช่นนั้น
มาตรา 59 บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดี เดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่า บุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้าม มิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่ง คดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดั่งนั้น โดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้น แทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้
(1) บรรดากระบวนพิจารณา ซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความ ร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่
กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็น ที่เสื่อมเสีย แก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ
(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดี ซึ่งเกี่ยวกับคู่ความ ร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย
มาตรา 60 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใน กรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็น
นิติบุคคลจะว่าด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตาม ที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความ คนเดียว
หรือหลายคนให้ว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณา แทนตนก็ได้ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดั่งที่ ได้กล่าวมาแล้วทำ
หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อม ตั้งทนายความ
เพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้
หมายเหตุมาตรา 60 แก้ไขโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 61 การตั้งทนายความนั้นต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน ใบแต่ง
ทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อ ทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าใน คดีใด
ๆ ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไปแล้วคัดสำเนา ยื่นต่อศาลแทนใบแต่งทนาย เพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไปตาม ความใน มาตรานี้
มาตรา 62 ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อ
รักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใด เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความ อีกฝ่าย
หนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการ สละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้ พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดี เรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียว หรือหลายใบก็ได้และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 61 บังคับ กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิบัติหรือ แก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตน ในศาลในขณะนั้นก็ได้แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวน สิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี
มาตรา 63 บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนนี้ไม่ตัดสิทธิตัวความในอัน ที่จะตั้งแต่งผู้แทนหรือทนายความ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อ ให้รับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งได้ชำระไว้ในศาล หรือวางไว้ยังศาลเป็นเงิน ค่าธรรมเนียมหรืออย่างอื่นและศาลได้สั่งให้จ่ายคืนหรือส่งมอบให้แก่ ตัวความฝ่ายนั้นแต่ถ้าศาลนั้นมีความสงสัยในความสามารถหรือ ตัวบุคคล ผู้แทน หรือทนายความซึ่งได้รับตั้งแต่งดั่งกล่าวข้างต้น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ตัวความหรือทนายความหรือทั้งสองคน ให้มาศาลโดยตนเองได้
มาตรา 64 เว้นแต่ศาลจะได้สั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อคดีมีเหตุผลพิเศษ อันเกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะ คู่ความหรือทนายความอาจตั้งแต่งให้บุคคลใดทำการแทน ได้โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุกครั้งเพื่อกระทำกิจการอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้คือ กำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยานหรือ วันฟังคำสั่งคำบังคับหรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาลมาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การคำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ ใน มาตรา 71 และ มาตรา 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น
มาตรา 65 ทนายความที่ตัวความได้ตั้งแต่งให้เป็นทนายในคดี จะมีคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการตั้งแต่งนั้นก็ได้ แต่ต้องแสดง ให้เป็นที่
พอใจแก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอนั้นแล้ว ให้ศาลส่งคำสั่งนั้นให้ ตัวความทราบโดยเร็ว โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน แล้วแต่จะเห็นสมควร
หมายเหตุมาตรา 65 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 66 ผู้ใดอ้างว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของตัวความ หรือ เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่ เกี่ยว
ข้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ ศาลจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ และถ้าเป็นที่พอใจว่า ผู้นั้น
ไม่มีอำนาจหรืออำนาจของผู้นั้นบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้อง คดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ลักษณะ4 การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร  อัฎฐ
มาตรา 67 เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติว่า เอกสารใดจะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่ เกี่ยวข้อง (เช่น
คำคู่ความที่ทำโดยคำฟ้อง คำให้การหรือ คำร้อง หรือคำขอโดยทำเป็นคำร้อง หมายเรียกหรือหมายอื่น ๆ สำเนา คำแถลงการณ์ หรือสำเนา
พยานเอกสาร ฯลฯ) เอกสารนั้นต้อง ทำขึ้นให้ปรากฏข้อความแน่ชัดถึงตัวบุคคลและมีรายการต่อไปนี้
(1) ชื่อศาลที่จะรับคำฟ้อง หรือถ้าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ชื่อของศาลนั้นและเลขหมายคดี
(2) ชื่อคู่ความในคดี
(3) ชื่อคู่ความหรือบุคคลซึ่งจะเป็นผู้รับคำคู่ความหรือเอกสารนั้น
(4) ใจความและเหตุผลถ้าจำเป็นแห่งคำคู่ความหรือเอกสาร
(5) วัน เดือน ปี ของคำคู่ความ หรือเอกสารและลายมือชื่อของ เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลซึ่งเป็นผู้ยื่นหรือเป็นผู้ส่งในการยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบ พิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้ กระดาษแบบพิมพ์นั้น ส่วนราคากระดาษแบบพิมพ์นั้น ให้เรียกตาม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะได้กำหนดไว้
มาตรา 68 เพื่อประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายนี้ให้เรียก นิติบุคคลตามชื่อหรือตามชื่อที่จดทะเบียน และภูมิลำเนาหรือสำนักทำ การงาน
ของนิติบุคคลนั้นให้ถือเอาสำนักงานหรือสำนักงานแห่งใหญ่ ซึ่งอยู่ภายในเขตศาลที่จะยื่นฟ้องคดีหรือที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา
มาตรา 69 การยื่นคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อศาลนั้นให้ กระทำได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยื่นต่อศาล ในระหว่างนั่ง
พิจารณา
มาตรา 70 บรรดาคำฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่น ๆ คำสั่ง คำบังคับของศาลนั้นให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้แก่คู่ความหรือ บุคคลภาย
นอกที่เกี่ยวข้อง แต่ว่า
(1) หมายเรียกพยาน ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นเป็นผู้ส่ง โดยตรงเว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น หรือพยานปฏิเสธไม่ยอม รับหมาย ใน
กรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง
(2) คำสั่ง คำบังคับของศาล รวมทั้งคำสั่งกำหนดวันนั่งพิจารณา หรือสืบพยาน แล้วแต่กรณีหรือคำสั่งให้เลื่อนคดี ถ้าคู่ความหรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ในศาลในเวลาที่มีคำสั่งและได้ลงลายมือชื่อ รับรู้ไว้ ให้ถือว่าได้ส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วคำฟ้องนั้น ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ส่วนการนำส่งนั้น โจทก์จะนำส่งหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการ นำส่งส่วนหมายเรียก หมายอื่น ๆ คำสั่ง คำบังคับของศาลที่ได้ออก ตามคำขอของคู่ความฝ่ายใด ถ้าศาลมิได้สั่งให้จัดการนำส่งด้วย ก็ให้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะจัดการส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุอ่านมาตรา 70 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 71 คำให้การนั้น ให้ฝ่ายที่ให้การนำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาล พร้อมด้วยสำเนาสำหรับให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ รับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาลคำร้องเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นๆ โดยฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้มี หน้าที่จัดการนำส่ง
มาตรา 72 คำร้องและคำแถลงการณ์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลภายใน เวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ หรือโดยข้อตกลงของคู่ความ ตามที่ศาลจด
ลงไว้ในรายงานนั้น ให้ผู้ยื่นคำร้องหรือคำแถลงการณ์ นำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมด้วยสำเนาเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมารับไปโดยทางเจ้าพนักงาน ศาลบรรดาคำร้องอื่น ๆ ให้ยื่นต่อศาลพร้อมด้วยสำเนาเพื่อส่งให้แก่ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง และถ้า ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งสำเนาเช่นว่านั้น ก็ให้ เจ้าพนักงานศาล
เป็นผู้ส่งโดยให้คู่ความฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่ายบรรดาเอกสารอื่น ๆ เช่น สำเนาคำแถลงการณ์หรือสำเนาพยาน เอกสารนั้น ให้ส่งแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องโดยวิธีใดวิธีหนึ่งในสองวิธีดั่งต่อไปนี้
(1) โดยคู่ความฝ่ายที่ต้องส่งนั้นส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเองแล้วส่งใบรับต่อศาลพร้อม กับ
ต้นฉบับนั้น ๆ ใบรับนั้นจะทำโดยวิธีลงไว้ในต้นฉบับว่าได้รับสำเนา แล้ว และลงลายมือชื่อผู้รับกับ วัน เดือน ปี ที่ได้รับก็ได้ หรือ
(2) โดยคู่ความฝ่ายที่ต้องส่งนั้น นำสำเนายื่นไว้ต่อศาลพร้อมกับ ต้นฉบับแล้วขอให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้นำส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
หรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ขอต้องไป กับเจ้าพนักงานศาลและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้นด้วย
มาตรา 73 ถ้าคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดจะต้องให้เจ้าพนักงาน ศาลเป็นผู้ส่งเมื่อคู่ความผู้มีหน้าที่ต้องส่งได้ร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ดำเนินการส่งโดยเร็วเท่าที่จะทำได้ เพื่อการนี้พนักงานผู้ส่งหมายจะ ให้ผู้ขอ หรือบุคคลที่ผู้ขอเห็นสมควรไปด้วยเพื่อชี้ตัวคู่ความหรือ บุคคลผู้รับ หรือเพื่อค้นหาภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับก็ได้ในกรณีที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดไปตามคำสั่งของศาล ซึ่งบุคคลอื่นหรือคู่ความไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการส่งนั้น ให้เป็น หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลจะดำเนินการส่ง
มาตรา 73 ทวิ คำคู่ความหรือเอกสารที่เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง ไม่ ว่าการส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของศาลจัดการส่งเอง หรือคู่ความมี หน้าที่
จัดการนำส่งก็ตาม ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลง ทะเบียนตอบรับ โดยให้คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำส่งเป็นผู้เสียค่า ธรรมเนียม
ไปรษณียากรกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าคำคู่ความหรือเอกสาร ที่ส่งโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง และให้นำบท
บัญญัติ มาตรา 74 มาตรา 76 และ มาตรา 77 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 73ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2522
มาตรา 74 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาล นั้นให้ปฏิบัติดั่งนี้
(1) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ ตกและ
(2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น แต่ให้อยู่ ใน
บังคับแห่งบทบัญญัติหก มาตราต่อไปนี้
มาตรา 75 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่ทนายความ ที่คู่ความตั้งแต่งให้ว่าคดี หรือให้แก่บุคคลที่ทนายความเช่นว่านั้น ได้ตั้งแต่งเพื่อกระทำกิจการอย่างใด ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 64 นั้น ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 76 เมื่อเจ้าพนักงานศาลไม่พบคู่ความหรือบุคคลที่จะส่ง คำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคล นั้น ๆ
ถ้าได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคลใด ๆ ที่มีอายุเกิน ยี่สิบปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานที่ ปรากฏว่าเป็นของคู่ความ หรือบุคคลนั้น หรือได้ส่งคำคู่ความหรือ เอกสารนั้นตามข้อความในคำสั่งของศาล ให้ถือว่า เป็นการเพียงพอ ที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารถูกต้องตามกฎหมายแล้วในกรณีเช่นว่ามานี้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่คู่ความฝ่ายใด ห้ามมิให้ส่งแก่คู่ความฝ่ายปรปักษ์เป็นผู้รับไว้แทน
มาตรา 77 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาล ไปยังที่อื่นนอกจากภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือ ของบุคคล ซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น ให้ถือว่าเป็นการ ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ
(1) คู่ความหรือบุคคลนั้นยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไว้ หรือ
(2) การส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นได้กระทำในศาล
มาตรา 78 ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ปฏิเสธไม่ยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจากเจ้าพนักงานศาลโดย
ปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานนั้นชอบที่จะขอให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจหรือเจ้าพนักงานตำรวจ ไป
ด้วยเพื่อเป็นพยานและถ้าคู่ความหรือบุคคลนั้นยังคงปฏิเสธไม่ ยอมรับอยู่อีก ก็ให้วางคำคู่ความหรือเอกสารไว้ณ ที่นั้น เมื่อได้ ทำดังนี้แล้วใหถือว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นเป็นการถูกต้อง ตามกฎหมาย
มาตรา 79 ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะทำได้ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตราก่อนศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือ
ปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ควา หรือ
เอกสารหรือมอบหมายคำคู่ความหรือเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองในท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศ แสดงการที่ได้มอบหมายดั่งกล่าวแล้วนั้นไว้ดั่งกล่าวมาข้างต้น หรือลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวัน หรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือ ประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธี อื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 79 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2522
มาตรา 80 การส่งคำคู่ความ หรือเอกสารโดยเจ้าพนักงานศาลหรือ ทางเจ้าพนักงานศาลนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลส่งใบรับลงลายมือชื่อ คู่ความ หรือผู้รับคำคู่ความหรือเอกสาร หรือส่งรายงานส่งคำคู่ความ หรือเอกสารลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานศาลต่อศาล แล้วแต่กรณี เพื่อ รวมไว้ในสำนวนความใบรับหรือรายงานนั้นต้องลงข้อความให้ปรากฏแน่ชัดถึงตัวบุคคล และรายการต่อไปนี้
(1) ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมาย และชื่อผู้รับหมาย ถ้าหากมี
(2) วิธีส่ง วัน เดือน ปี และเวลาที่ส่งรายงานนั้นต้องลง วัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงาน ผู้ทำรายงานใบรับนั้นจะทำโดยวิธีจดลงไว้ที่ต้นฉบับซึ่งยื่นต่อศาลก็ได้
มาตรา 81 การส่งหมายเรียกพยานโดยคู่ความที่เกี่ยวข้องนั้น ให้ปฏิบัตดั่งนี้
(1) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก และ
(2) ให้ส่งแก่บุคคลซึ่งระบุไว้ในหมายเรียก ณ ภูมิลำเนา หรือสำนัก ทำการงานของบุคคลเช่นว่านั้น แต่ว่าให้อยู่ภายในบังคับบทบัญญัติ แห่ง มาตรา 76 และ มาตรา 77
มาตรา 82 ถ้าจะต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใด ไปยังคู่ความ หรือบุคคลหลายคน ให้ส่งสำเนาคำคู่ความ หรือเอกสารที่จะต้องส่ง ไปให้ทุก ๆ คน ในกรณีที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสาร โดยเจ้า พนักงานศาลหรือทางเจ้าพนักงานศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ จัดการนำส่งมอบสำเนาคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พอกับจำนวนคู่ความ หรือบุคคลที่จะต้องส่งให้นั้น
มาตรา 83 ถ้าคู่ความฝ่ายใดจะต้องยื่นต่อศาล หรือจะต้องส่งให้ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกซึ่งคำคู่ความ หรือ เอกสารอื่น
ใดภายในเวลาหรือก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กำหนดไว้ และการส่งเช่นว่านี้จะต้องกระทำโดยทางเจ้าพนักงานศาล ให้ถือว่า คู่ความฝ่ายนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมายของกฎหมายหรือของศาล แล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารเช่นว่านั้นแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล เพื่อให้ยื่นหรือให้ส่งในเวลาหรือก่อน เวลาที่กำหนดนั้นแล้ว แม้ถึงว่าการรับคำคู่ความหรือเอกสารให้ แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกนั้น จะได้เป็นไปภายหลัง เวลาที่กำหนดนั้นก็ดีถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่าการส่งคำคู่ความ หรือเอกสาร อื่นใดจะต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกทราบล่วงหน้า ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนวันเริ่มต้นนั่งพิจารณา หรือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายที่ต้องรับผิดในการส่งนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่ง หมายของกฎหมาย หรือของศาลตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อนนั้นได้ ต่อเมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ยื่นคำคู่ความหรือเอกสารที่จะต้องส่ง ให้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลไม่ต่ำกว่าสามวันก่อนวันเริ่มต้นแห่งระยะ เวลาที่กำหนดล่วงหน้าไว้นั้น ในกรณีที่คู่ความอาจส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีส่งสำเนาตรง ไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกได้นั้น บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิได้ห้ามคู่ความที่มีหน้าที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสาร ดั่งกล่าวแล้วในอันที่จะใช้วิธีเช่นว่านี้ แต่คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องส่งใบ รับของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกต่อศาลในเวลาหรือ ก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กำหนดไว้
มาตรา 83 ทวิ ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนัก ทำกางานของจำเลยนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีที่จำเลยประกอบ กิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน หรือในกรณีที่มีการ ตกลงเป็นหนังสือว่าคำคู่ความและเอกสารที่จะต้องส่งให้แก่จำเลยนั้น ให้ส่งแก่ตัวแทนซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่จำเลยได้แต่งตั้งไว้ เพื่อ การนี้ให้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยหรือตัวแทนในการ ประกอบกิจการหรือตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ณ สถานที่ ที่จำเลยหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของ ตัวแทนในการประกอบกิจการหรือของตัวแทนในการรับคำคู่ความและ เอกสาร ซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักรแล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีการเรียกบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตาม มาตรา 57 (3) ให้นำความใน วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 83ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 83ตรี การส่งคำคู่ความ คำร้อง คำแถลง หรือเอกสารอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 83ทวิ ถ้าผู้รับไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราช
อาณาจักรแต่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน หรือมีตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสารหรือทนายความในการดำเนินคดีอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งแก่ผู้รับหรือตัวแทนเช่นว่านั้นหรือทนายความ ณ สถานที่ที่ผู้รับหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการ หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทน หรือภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของทนายความซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้รับมิได้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือไม่มีตัวแทนดังกล่าว หรือทนายความอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งโดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 83ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 83จัตวา ในกรณีที่จะต้องส่งหมายเรียกและคำฟ้อง ตั้งต้นคดีตาม มาตรา 83ทวิ แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำ การงานของจำเลยนอกราชอาณาจักรให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลภาย ในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง เพื่อให้ศาลจัดส่งหมายเรียก และคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลย ในกรณีเช่นว่านี้ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่าง ประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้โจทก์ทำ คำแปลหมายเรียก คำฟ้องตั้งต้นคดีและเอกสารอื่นใดที่จะส่งไปยัง ประเทศที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ เป็นภาษาราชการ ของประเทศนั้นหรือเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำรับรองคำแปลว่า ถูกต้องยื่นต่อศาลพร้อมกับคำร้องดังกล่าวและวางเงินใช้จ่ายต่อศา ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์จัดทำเอกสารอื่น เพิ่มเติมยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 ในกรณีที่มีการเรียกบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตาม มาตรา 57 (3) ให้นำความ ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 83จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 83เบญจ การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตาม มาตรา 83ทวิ แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงาน
ของบุคคลดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ให้มีผลใช้ได้ ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งและในกรณี ส่งโดยวิธีอื่นแทน
การส่งให้แก่จำเลย หรือบุคคลภายนอก ให้มีผลใช้ ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยวิธีอื่น
หมายเหตุอ่านมาตรา 83เบญจ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 83ฉ การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตาม มาตรา 83ทวิ แก่จำเลยหรือตัวแทนซึ่งประกอบกิจการในราชอาณาจักรหรือ ตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้น กำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นตาม มาตรา 83ตรี แต่ผู้รับหรือ ตัวแทนหรือทนายความ ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบห้าวัน นับ
แต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย การปิดประกาศตาม มาตรา 83ตรี ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนด เวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ และมิให้นำบทบัญญัติ มาตรา 79 มาใช้บังคับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 83ฉ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 83สัตต เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตาม มาตรา 83จัตวา แล้ว ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น ให้ศาลดำเนินการส่งให้แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก โดยผ่านกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงต่างประเทศ
หมายเหตุอ่านมาตรา 83สัตต เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 83อัฏฐ ในกรณีที่จะต้องส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้น คดีตาม มาตรา 83ทวิ แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ถ้าโจทก์ยื่น คำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องและสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจ แก่ศาลได้ว่าการส่งตาม มาตรา 83สัตต ไม่อาจกระทำได้ เพราะเหตุ ที่ภูมิลำเนาและสำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏหรือ เพราะเหตุอื่นใดหรือเมื่อศาลได้ดำเนินการตาม มาตรา 83สัตต เป็นเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันแล้ว แต่ยังมิได้รับแจ้งผลการส่ง ถ้าศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาลอนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ ศาลแทน ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลจะสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศโฆษณา ในหนังสือพิมพ์หรือโดยวิธีอื่นใดด้วยก็ได้ การส่งโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนด เวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศไว้ที่ศาลและมิให้นำบทบัญญัติ มาตรา 79 มาใช้บังคับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 83อัฏฐ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534

ลักษณะ5 พยานหลักฐาน
หมวด1 หลักทั่วไป
มาตรา 84 การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐาน ในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่
 (1) ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
 (2) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
 (3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 84 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 84/1 คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์ จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 84/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 85 คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง ย่อมมีที่ สิทธิจะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวล กฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและ การยื่นพยานหลักฐาน
มาตรา 86 เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐาน ที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืน ต่อบท
บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยาน หลักฐานนั้นไว้ เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือประวิง ให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็น ที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้
ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียก พยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ
มาตรา 87 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
(1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในคดีจะต้องนำสืบ และ
(2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนง ที่จะ อ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 88 และ มาตรา 90 แต่ถ้า
ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยาน หลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืน ต่อบท
บัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐาน เช่นว่านั้นได้
มาตรา 88 เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความ ของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจ
บุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งหรือความเห็นของผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นระบุอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือขอให้ศาลไปตรวจ หรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาถ้าคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติมและสำเนาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวได้ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันสืบพยานเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามวรรคหนึ่งหรือ วรรคสองแล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายใดซึ่งได้ยื่น บัญชระบุพยานไว้แล้ว มีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าตนไม่สามารถ ทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมี เหตุอันสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความฝ่ายใด ซึ่งมิได้ยื่นบัญชี ระบุพยานแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่ สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความ ฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยาน และสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่า เวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัย ชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้อง สืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง
หมายเหตุอ่านมาตรา 88 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
อ่านมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 89 คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่น ในกรณีต่อไปนี้
(1) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้น เป็นผู้รู้เห็นหรือ
(2) พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้น ให้
คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความ เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตามในกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อความนั้น คู่ความฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไว้ชอบที่จะคัดค้านได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้น นำพยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่ามานั้นในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ต่อพยานตามวรรคหนึ่ง แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาพยานเบิกความนั้นตนไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความดังกล่าวมาแล้ว หรือถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านี้ ศาลจะยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ก็ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะขอให้เรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ หรือเมื่อศาลเห็นสมควรจะเรียกมาสืบเองก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 89 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 90 ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อ สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตาม มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ยื่นต่อ ศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่ น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิง พยานหลักฐานตาม มาตรา 88 วรรคสอง หรือวรรคสาม ให้ยื่นต่อศาล และส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้น พร้อมกับการยื่นคำแถลง หรือคำร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลัง เมื่อมีเหตุอันสมควร
คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบ ดีอยู่แล้ว หรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และ
ความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น เช่น จดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความใน คดีหรือสมุดบัญชีการค้า และสมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารใน
สำนวนคดีเรื่องอื่น
(2) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่ อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือบุคคลภายนอก
(3) ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่ เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจ คัดสำเนาเอกสารให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นสำเนาเอกสารนั้นกรณีตาม (1) หรือ (3) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารยื่นคำขอ ฝ่าย
เดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดการยื่นสำเนา เอกสารนั้นและขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน เพื่อให้ศาลหรือคู่ความ ฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนดกรณีตาม (2) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตาม มาตรา 123 โดยต้องยื่นคำร้อง ต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตาม เพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมา ภายในเวลาที่ศาลกำหนด"
หมายเหตุอ่านมาตรา 90 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 91 คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐาน ร่วมกันได้
มาตรา 92 ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดจะต้องเบิกความหรือนำพยาน หลักฐานชนิดใด ๆ มาแสดง และคำเบิกความหรือพยานหลักฐานนั้น อาจ
เปิดเผย
(1) หนังสือราชการหรือข้อความอันเกี่ยวกับงานของแผ่นดินซึ่ง โดยสภาพจะต้องรักษาเป็นความลับไว้ชั่วคราวหรือตลอดไปและคู่ความ
หรือบุคคลนั้นเป็นผู้รักษาไว้ หรือได้ทราบมาโดยตำแหน่งราชการ หรือ ในหน้าที่ราชการหรือกึ่งราชการอื่นใด
(2) เอกสารหรือข้อความที่เป็นความลับใด ๆ ซึ่งตนได้รับ มอบหมายหรือบอกเล่าจากลูกความในฐานะที่ตนเป็นทนายความ
(3) การประดิษฐ์ แบบ หรือการงานอื่น ๆ ซึ่งได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือ นำพยานหลักฐานนั้น ๆ มาแสดงได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปิดเผยได้
เมื่อคู่ความหรือบุคคลใดปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือนำพยาน หลักฐานมาแสดงดั่งกล่าวมาแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะหมายเรียก พนักงาน
เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาศาล และให้ชี้แจงข้อ ความตามที่ศาลต้องการเพื่อวินิจฉัยว่าการปฏิเสธนั้นชอบด้วยเหตุผล หรือไม่ ถ้า
ศาลเห็นว่าการปฏิเสธไม่มีเหตุผลฟังได้ ศาลมีอำนาจออก คำสั่งมิให้คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นยกประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ขึ้น ใช้ และบังคับให้เบิกความหรือนำพยานหลักฐานนั้นมาแสดงได้
มาตรา 93 การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(1) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วให้ศาลยอมรับฟัง สำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐาน
(2) ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือไม่ สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจาก
พฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ หรือเมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสาร หรือ
พยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(3) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้นจะนำมา แสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองว่าถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
(4) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐาน ยันตนมิได้คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบตาม มาตรา 125 ให้ศาลรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจศาลตาม มาตรา 125 วรรคสาม
หมายเหตุอ่านมาตรา 93 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 94 เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสาร มาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ ได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกแต่ว่าบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ ใน อนุมาตรา (2) แห่ง มาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความ ในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
มาตรา 95 ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น
(1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ
(2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การ เป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อ
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใด เพราะเห็นว่า บุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดั่งกล่าวข้างต้นไม่ได้ และคู่ความฝ่าย ที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงาน ระบุนาม พยาน เหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่าย ที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้นให้ศาล ใช้ดุลพินิจจดลง ไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่น คำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน
มาตรา 95/1 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือ ที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้าง
เป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(2) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้นำความใน มาตรา 95 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 95/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 96 พยานที่เป็นคนหูหนวก หรือเป็นใบ้หรือทั้งหูหนวกและ เป็นใบ้นั้น อาจถูกถามหรือให้คำตอบโดยวิธีเขียนหนังสือ หรือโดย วิธี
อื่นใดที่สมควรได้ และคำเบิกความของบุคคลนั้น ๆ ให้ถือว่าเป็น คำพยานบุคคลตามกฎหมายนี้
มาตรา 97 คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็น พยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้
มาตรา 98 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตน ก็ได้เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในศิลป วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้าหรือการงานที่ทำ หรือในกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อความในประเด็นทั้งนี้ ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่
มาตรา 99 ถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 129 และ มาตรา 130 เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่ในชั้นใดหรือ เมื่อมีคำขอของคู่ความฝ่ายใดภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 87 และ มาตรา 88 ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดการตรวจหรือการแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในอันที่จะเรียกบุคคลผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานฝ่ายตนได้
มาตรา 100 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งประสงค์จะอ้างอิงข้อเท็จจริง ใด และขอให้คู่ความฝ่ายอื่นตอบว่าจะรับรองข้อเท็จจริงนั้นว่าถูกต้อง หรือไม่อาจส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งรายการข้อเท็จจริงนั้นไปให้ คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันถ้าคู่ความฝ่ายอื่นได้รับคำบอกกล่าวโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายที่ ส่งคำบอกกล่าวร้องขอต่อศาลในวันสืบพยาน ให้ศาลสอบถามคู่ความ ฝ่ายอื่นว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ได้รับคำบอกกล่าวนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำตอบไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถ้าคู่ความ ฝ่ายนั้น
ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใด โดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริง นั้นแล้ว
เว้นแต่ศาลจะเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งในขณะนั้น ศาลจะมีคำสั่ง ให้คู่ความฝ่ายนั้นทำคำแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นมายื่นต่อศาล ภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่เรื่องเอกสารทั้งหมดหรือ ฉบับใดฉบับหนึ่งที่คู่ความแสดงความจำนงจะอ้างอิงด้วยโดยอนุโลม แต่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นไปพร้อมกับคำบอกกล่าว และต้องมี ต้นฉบับเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูได้เมื่อต้องการเว้นแต่ ต้นฉบับเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือ ของบุคคลภายนอก
หมายเหตุอ่านมาตรา 100 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 101 ถ้าบุคคลใดเกรงว่า พยานหลักฐานซึ่งตนอาจต้อง อ้างอิงในภายหน้าจะสูญหายหรือยากแก่การนำมา หรือถ้าคู่ความ ฝ่ายใดในคดีเกรงว่าพยานหลักฐานซึ่งตนจำนงจะอ้างอิงจะสูญหาย เสียก่อนที่จะนำมาสืบหรือเป็นการยากที่จะนำมาสืบในภายหลัง บุคคลนั้นหรือคู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอ หรือคำร้องให้ศาลมีคำสั่งสืบพยานหลักฐานนั้นไว้ทันทีเมื่อศาลได้รับคำขอเช่นว่านั้น ให้ศาลหมายเรียกผู้ขอและคู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องมายังศาล และเมื่อได้ฟัง บุคคลเหล่านั้นแล้วให้ศาลสั่งคำขอตามที่เห็นสมควร ถ้าศาลสั่งอนุญาต ตามคำขอแล้วให้สืบพยานไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ส่วนรายงานและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนั้นให้ศาลเก็บรักษาไว้ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องไม่มี ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและยังมิได้เข้ามาในคดีนั้น เมื่อศาล ได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลสั่งคำขอนั้นอย่างคำขออันอาจทำได้ แต่ฝ่ายเดียว ถ้าศาลสั่งอนุญาตตามคำขอแล้ว ให้สืบพยานไปฝ่ายเดียว
หมายเหตุอ่านมาตรา 101 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 101/1 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดเป็นการเร่งด่วน และไม่สามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ เมื่อมีการยื่นคำขอตาม มาตรา 101 พร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การหรือภายหลังจากนั้น คู่ความฝ่ายที่ขอจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องรวมไปด้วยเพื่อให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าก็ได้ และถ้าจำเป็นจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสาร หรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานที่ขอสืบไว้ก่อนด้วยก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่งต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่แสดงว่ามีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบ
พยานหลักฐานใดโดยเร่งด่วนและไม่สามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ รวมทั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการที่มิได้มีการสืบ
พยานหลักฐานดังกล่าว ส่วนในกรณีที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน คำร้องนั้นต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องยึด หรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุนั้นว่ามีอยู่อย่างไร ในการนี้ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องนั้น เว้นแต่จะเป็นที่พอใจของศาลจากการไต่สวนว่ามีเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นตามคำร้องนั้นจริง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิคู่ความฝ่ายอื่นที่จะขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานดังกล่าว มาศาลเพื่อถามค้านและดำเนินการตาม มาตรา 117 ในภายหลัง หากไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้ ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
หมายเหตุอ่านมาตรา 101/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 101/2 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้ยึดหรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน ศาลอาจกำหนดเงื่อนไข
อย่างใดตามที่เห็นสมควร และจะสั่งด้วยว่าให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาล เพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เนื่องจากศาลได้มีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่ามีเหตุจำเป็นโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอก็ได้ให้นำความใน มาตรา 261 มาตรา 262 มาตรา 263 มาตรา 267 มาตรา 268 และ มาตรา 269 มาใช้บังคับแก่กรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม และในกรณีที่ทรัพย์ซึ่งศาลสั่งยึดนั้นเป็นของบุคคลที่สาม ให้บุคคลที่สามมีสิทธิเสมือนเป็นจำเลยในคดี และเมื่อหมดความจำเป็นที่จะใช้เอกสาร หรือวัตถุนั้นเป็นพยานหลักฐานต่อไปแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อผู้มีสิทธิจะได้รับคืนร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคืนเอกสารหรือวัตถุนั้นแก่ผู้ขอ
หมายเหตุอ่านมาตรา 101/2 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 102 ให้ศาลที่พิจารณาคดีเป็นผู้สืบพยานหลักฐานโดย จะสืบในศาลหรือนอกศาล ณ ที่ใด ๆ ก็ได้แล้วแต่ศาลจะสั่งตามที่ เห็นสมควร
ตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐานนั้นแต่ถ้าศาลที่พิจารณาคดีเห็นเป็นการจำเป็น ให้มีอำนาจมอบให้ ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐาน แทนได้ให้ผู้พิพากษาที่รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งนั้นมีอำนาจ และหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดีรวมทั้งอำนาจที่จะมอบให้ ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือตั้งศาลอื่นให้ทำการสืบพยาน หลักฐานแทนต่อไปด้วยถ้าศาลที่พิจารณาคดีได้แต่งตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานแทน คู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลงต่อศาลที่พิจารณาคดีว่า ตนมีความจำนงจะ ไปฟังการพิจารณาก็ได้ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้งแจ้งวัน กำหนดสืบพยานหลักฐานให้ผู้ขอทราบล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า เจ็ดวัน คู่ความที่ไปฟังการพิจารณานั้นชอบที่จะใช้สิทธิได้ เสมือนหนึ่งว่ากระบวนพิจารณานั้นได้ดำเนินในศาลที่พิจารณาคดีให้ส่งสำเนาคำฟ้องและคำให้การพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน อื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อสืบพยานหลักฐานไปยังศาลที่ได้รับแต่งตั้ง ดั่งกล่าวแล้ว
ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานนั้นมิได้แถลง ความจำนงที่จะไปฟังการพิจารณา ก็ให้แจ้งไปให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้ง ทราบข้อประเด็นที่จะสืบ เมื่อได้สืบพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่รับแต่งตั้งจะต้องส่งรายงานที่จำเป็น และ เอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดอันเกี่ยวข้องในการสืบพยานหลักฐานไป ยังศาลที่พิจารณาคดี
มาตรา 103 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการขาดนัด การร้องสอด และการขับไล่ออกนอกศาล ห้ามมิให้ ศาลที่
พิจารณาคดีหรือผู้พิพากษาที่รับมอบหมาย หรือศาลที่ได้รับ แต่งตั้งดั่งกล่าวข้างต้นทำการสืบพยานหลักฐานใด โดยมิได้ให้โอกาส เต็มที่แก่คู่ความทุกฝ่ายในอันที่จะมาฟังการพิจารณาและใช้สิทธิเกี่ยว ด้วยกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ไม่
ว่าพยานหลักฐานนั้นคู่ความฝ่ายใดจะเป็นผู้อ้างอิง หรือศาลเป็น ผู้สั่งให้สืบ
มาตรา 103/1 ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน และศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควร ศาลอาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่น ซึ่งคู่
ความเห็นชอบให้ทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่จะต้องกระทำนอกศาลแทนได้ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา และให้นำความใน มาตรา 103 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 103/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 103/2 คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอต่อศาลให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐาน ไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกัน ถ้าศาลเห็นสมควร
เพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และเที่ยงธรรม ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอนั้นก็ได้ เว้นแต่การสืบพยานหลักฐานนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมายเหตุอ่านมาตรา 103/2 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 103/3 เพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการนำสืบพยานหลักฐานได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติใน
กฎหมายข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคหนึ่ง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 103/3 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 104 ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยาน หลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวประเด็นและเป็นอันเพียงพอ ให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาไปตามนั้น ในการวินิจฉัยว่าพยานบอกเล่าตาม มาตรา 95/1 หรือบันทึกถ้อยคำที่ผู้
ให้ถ้อยคำมิได้มาศาล ตาม มาตรา 120/1 วรรคสามและวรรคสี่ หรือบันทึกถ้อยคำตาม มาตรา 120/2 จะมีน้ำหนัก ให้เชื่อได้หรือไม่เพียงใดนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงสภาพ ลักษณะ และแหล่งที่มาของพยานบอกเล่าหรือบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย
หมายเหตุอ่านมาตรา 104 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 105 คู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานหลักฐาน กระทำให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้อง เสีย
ค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่ควรเสีย ค่าฤชา ธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้น ให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอันไม่จำเป็น
ตามความหมายแห่ง มาตรา 166 และให้คู่ความฝ่ายที่ก่อให้เกิด ขึ้นนั้นเป็นผู้ออกใช้ให้

หมวด2 ว่าด้วยการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน
 มาตรา 106 ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถนำพยานของตนมาศาลได้เอง คู่ความฝ่ายนั้น อาจขอต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้ออกหมาย
เรียกพยานนั้นมาศาลได้ โดยศาลอาจให้คู่ความฝ่ายนั้น แถลงถึงความเกี่ยวพันของพยานกับข้อเท็จจริงในคดี อันจำเป็นที่จะต้องออกหมาย
เรียกพยานดังกล่าวด้วย และต้องส่งหมายเรียกพร้อมสำเนาคำแถลงของผู้ขอให้พยานรู้ล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันหมายเรียกพยานต้องมีข้อความดังนี้
(1) ชื่อและตำบลที่อยู่ของพยาน ชื่อคู่ความ ศาล และทนายความฝ่ายผู้ขอ
(2) สถานที่และวันเวลาซึ่งพยานจะต้องไป
(3) กำหนดโทษที่จะต้องรับในกรณีที่ไม่ไปตามหมายเรียกหรือเบิกความเท็จถ้าศาลเห็นว่าพยานจะไม่สามารถเบิกความได้โดยมิได้ตระเตรียม ศาลจะจดแจ้งข้อเท็จจริง ซึ่งพยานอาจถูกซักถามลงไว้ในหมายเรียกด้วยก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 106 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 106/1 ห้ามมิให้ออกหมายเรียกพยานดังต่อไปนี้
(1) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
(2) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
(3) ผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมายในกรณีตาม (2) และ (3) ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งออกคำบอก กล่าวว่าจะสืบพยานนั้น ณ สถานที่และวันเวลาใดแทนการออกหมายเรียก โดยในกรณีตาม (2) ให้ส่งไปยังพยาน ส่วนตาม (3) ให้ส่งคำบอกกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยการนั้น หรือตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
หมายเหตุอ่านมาตรา 106/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 107 ถ้าศาลเห็นว่าในการสืบสวนหาความจริงจำเป็นต้องไปสืบพยาน ณ สถานที่ซึ่งข้อเท็จจริงอันประสงค์จะให้พยานเบิกความ นั้นได้เกิดขึ้นให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบหรือศาลที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อการนั้นส่งหมายเรียกไปยังพยาน ระบุสถานที่และวันเวลาที่ จะไปสืบพยานแล้วสืบพยานไปตามนั้น
มาตรา 108 พยานที่ได้รับหมายเรียกโดยชอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 106 และ มาตรา 107 นั้นจำต้องไป ณ สถานที่และตามวันเวลาที่
กำหนดไว้ เว้นแต่มีเหตุเจ็บป่วยหรือมีข้อแก้ตัวอันจำเป็นอย่างอื่นโดยได้แจ้งเหตุนั้นให้ศาลทราบแล้ว และศาลเห็นว่าข้ออ้างหรือข้อแก้ตัว
นั้นฟังได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 108 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 109 เมื่อพยานคนใดได้เบิกความแล้ว ไม่ว่าพยานนั้น จะได้รับหมายเรียกหรือคู่ความนำมาเองก็ดี พยานนั้นย่อมหมดหน้าที่ ที่จะอยู่ที่ศาลอีกต่อไป เว้นแต่ศาลจะได้สั่งให้พยานนั้นรอคอยอยู่ตาม ระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้
มาตรา 110 ถ้าพยานคนใดที่คู่ความได้บอกกล่าวความจำนงจะ อ้างอิงคำเบิกความของพยานโดยชอบแล้ว ไม่ไปศาลในวันกำหนด นัดสืบพยานนั้นศาลชอบที่จะดำเนินการพิจารณาต่อไป และชี้ขาด ตัดสินคดีโดยไม่ต้องสืบพยานเช่นว่านั้นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับ บทบัญญัติแห่ง มาตรา ต่อไปนี้
มาตรา 111 เมื่อศาลเห็นว่าคำเบิกความของพยานที่ไม่มาศาลเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี
(1) แต่ศาลเห็นว่าข้ออ้างว่าพยานไม่สามารถมาศาลนั้นเป็นเพราะเหตุเจ็บป่วยของพยาน หรือ พยานมีข้อแก้ตัวอันจำเป็นอย่างอื่นที่ฟังได้
ศาลจะเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีไปเพื่อให้พยานมาศาลหรือ เพื่อสืบพยานนั้น ณ สถานที่และเวลาอันควรแก่พฤติการณ์ก็ได้ หรือ
(2) ศาลเห็นว่าพยานได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว จงใจไม่ไปยังศาลหรือไม่ไป ณ สถานที่และตามวันเวลาที่กำหนดไว้ หรือได้รับคำสั่งศาลให้รอคอยอยู่แล้วจงใจหลบเสีย ศาลจะเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีไป และออกหมายจับและเอาตัวพยานกักขังไว้จนกว่าพยานจะได้เบิกความตามวันที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ทั้งนี้ ไม่เป็นการลบล้างโทษตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา
หมายเหตุอ่านมาตรา 111 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 112 ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี แห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่
(1) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(2) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
(3) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
(4) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบานหรือกล่าวคำปฏิญาณ
หมายเหตุอ่านมาตรา 112 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 113 พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามไม่ให้ พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือ เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ
มาตรา 114 ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะ เบิกความภายหลัง และศาลมีอำนาจที่จะสั่งพยานอื่นที่อยู่ในห้อง พิจารณาให้ออกไปเสียได้แต่ถ้าพยานคนใดเบิกความโดยได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความ ต่อหน้าตนมาแล้ว และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าศาลไม่ควรฟัง คำเบิกความเช่นว่านี้เพราะเป็นการผิดระเบียบ ถ้าศาลเห็นว่า คำเบิกความเช่นว่านี้เป็นที่เชื่อฟังได้หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดย ได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่สามารถทำให้ คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ ศาลจะไม่ฟังว่า คำเบิกความเช่นว่านี้เป็นผิดระเบียบก็ได้
มาตรา 115 พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือพระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา แม้มา
เป็นพยานจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้สำหรับบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมายจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายนั้น ๆ ก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 115 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 116 ในเบื้องต้นให้พยานตอบคำถามเรื่อง นาม อายุ ตำแหน่ง หรืออาชีพ ภูมิลำเนาและความเกี่ยวพันกับคู่ความแล้วศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(1) ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง กล่าวคือ แจ้งให้พยานทราบประเด็นและ ข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้น ๆ โดยวิธีเล่าเรื่อง ตามลำพังหรือโดยวิธีตอบคำถามของศาล หรือ
(2) ให้คู่ความซักถามและถามค้านพยานไปทีเดียว ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ต่อไปนี้
มาตรา 117 คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะตั้งข้อซักถามพยาน ได้ในทันใดที่พยานได้สาบานตนและแสดงตนตาม มาตรา 112 และ มาตรา
116 แล้ว หรือถ้าศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน ก็ให้คู่ความซักถาม ได้ต่อเมื่อศาลได้ซักถามเสร็จแล้วเมื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว คู่ความอีก ฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานนั้นได้เมื่อได้ถามค้านพยานเสร็จแล้ว คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะ ถามติง
ได้เมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดซักถามพยาน อีกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดได้รับอนุญาตให้ ถามพยานได้ดั่งกล่าวนี้ คู่ความฝ่ายหนึ่งย่อมถามค้านพยานได้อีก ในข้อที่เกี่ยวกับคำถามนั้นคู่ความที่ระบุพยานคนใดไว้ จะไม่ติดใจสืบพยานคนนั้นก็ได้ ในเมื่อ พยานคนนั้นยังมิได้เบิกความตามข้อถามของศาลหรือของคู่ความ ฝ่ายที่อ้าง แต่ถ้าพยานได้เริ่มเบิกความแล้ว พยานอาจถูกถามค้าน หรือถามติงได้ถ้าพยานเบิกความเป็นปรปักษ์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างตนมา คู่ความ ฝ่ายนั้นอาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถามพยานนั้นเสมือนหนึ่งพยาน นั้นเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมาการซักถามพยานก็ดี การซักค้านพยานก็ดี การถามติงพยานก็ดี ถ้าคู่ความคนใดได้ตั้งทนายความไว้หลายคน ให้ทนายความคนเดียว เป็นผู้ถามเว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น
หมายเหตุมาตรา 117 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 118 ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะซักถามพยานก็ดี หรือถามติงพยานก็ดี ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามนำ เว้นแต่ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากศาลในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความ ฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความ ตอบคำถามค้านไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานด้วย
(1) คำถามอันไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี
(2) คำถามที่อาจทำให้พยาน หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคล ภายนอกต้องรับโทษทางอาญา หรือคำถามที่เป็นหมิ่นประมาทพยาน เว้น
แต่คำถามเช่นว่านั้นเป็นข้อสารสำคัญในอันที่จะชี้ขาดข้อพิพาทถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้
เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งร้องคัดค้าน ศาลมีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าควรให้ใช้คำถามนั้นหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ ถ้าคู่
ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ก่อนที่ศาลจะ ดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดไว้ในรายงานซึ่งคำถามและข้อคัดค้าน ส่วนเหตุที่คู่ความคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ใน รายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงเป็นหนังสือ เพื่อรวมไว้ในสำนวน
มาตรา 119 ไม่ว่าเวลาใด ๆในระหว่างที่พยานเบิกความหรือ ภายหลังที่พยานได้เบิกความแล้ว แต่ก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลมี อำนาจที่จะ
ถามพยานด้วยคำถามใด ๆ ตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้ คำเบิกความของพยานบริบูรณ์หรือชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อสอบสวน พยานถึงพฤติการณ์ที่ทำให้พยานเบิกความเช่นนั้นถ้าพยานสองคนหรือกว่านั้นเบิกความขัดกันในข้อสำคัญแห่ง ประเด็นเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานเหล่านั้นมาสอบถามปากคำพร้อมกันได้
มาตรา 120 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คูความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง หรือที่ศาลเรียกมาไม่ควรเชื่อฟังโดย เหตุผลซึ่ง
ศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยาน หลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร
มาตรา 120/1 เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำร้องและคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้าน และศาลเห็นสมควรศาลอาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายที่มีคำร้อง
เสนอบันทึกถ้อยคำทั้งหมด หรือแต่บางส่วนของผู้ที่ตนประสงค์ จะอ้างเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำต่อศาลแทนการซักถามผู้ให้ถ้อยคำเป็นพยานต่อหน้าศาลได้คู่ความที่ประสงค์จะเสนอบันทึกถ้อยคำแทนการซักถามพยานดังกล่าตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงพร้อมเหตุผลต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน และให้ศาลพิจารณากำหนดระยะเวลาที่คู่ความจะต้องยื่นบันทึกถ้อยคำดังกล่าว ต่อศาลและส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำนั้น ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันสืบพยานคนนั้น เมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคำต่อศาลแล้วคู่ความที่ยื่นไม่อาจขอถอนบันทึกถ้อยคำนั้น บันทึกถ้อยคำนั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความตอบคำซักถามให้ผู้ให้ถ้อยคำมาศาลเพื่อเบิกความตอบคำซักถามเพิ่มเติม ตอบคำถามค้าน และคำถามติงของคู่ความหากผู้ให้ถ้อยคำไม่มาศาล ให้ศาลปฏิเสธที่จะรับฟังบันทึกถ้อยคำของผู้นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดี แต่ถ้าศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็น หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถมาศาลได้ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จะรับฟังบันทึกถ้อยคำที่ผู้ให้ถ้อยคำมิได้มาศาลนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นก็ได้ในกรณีที่คู่ความตกลงกันให้ผู้ให้ถ้อยคำไม่ต้องมาศาล หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือไม่ ติดใจถามค้าน ให้ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 120/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 120/2 เมื่อคู่ความมีคำร้องร่วมกันและศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้เสนอ บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ ต่อศาลแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ให้ถ้อยคำที่จะมาศาลเพื่อให้การเพิ่มเติม
หมายเหตุอ่านมาตรา 120/2 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
สำหรับลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำให้นำ มาตรา 47 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 120/3 บันทึกถ้อยคำตาม มาตรา 120/1 และ มาตรา 120/2 ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อศาลและเลขคดี
(2) วัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำบันทึกถ้อยคำ
(3) ชื่อและสกุลของคู่ความ
(4) ชื่อ สกุล อายุ ที่อยู่ และอาชีพ ของผู้ให้ถ้อยคำ และความเกี่ยวพันกับคู่ความ
(5) รายละเอียดแห่งข้อเท็จจริง หรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำ
(6) ลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำและคู่ความฝ่ายผู้เสนอบันทึกถ้อยคำห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกถ้อยคำที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อศาล เว้นแต่เป็น
การแก้ไขข้อผิดพลาด หรือผิดหลงเล็กน้อย
หมายเหตุอ่านมาตรา 120/3 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 120/4 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลทำการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาล โดยระบบการประชุมทางจอภาพได้ โดยคู่ความฝ่าย
ที่อ้างพยานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่าย หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจะอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้ โดยให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อกำหนด แนวทางการสืบพยานของประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ที่ออกตาม มาตรา 103/3 รวมทั้งระบุวิธีการสืบพยาน สถานที่ และสักขีพยานในการสืบพยาน ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาดังกล่าว และไม่ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีการเบิกความตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าพยานเบิกความในห้องพิจารณาของศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 120/4 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 121 ในการนั่งพิจารณาทุกครั้ง เมื่อพยานคนใดเบิกความ แล้วให้ศาลอ่านคำเบิกความนั้นให้พยานฟัง และให้พยานลงลายมือชื่อ ไว้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 49 และ มาตรา 50

หมวด3 การนำพยานเอกสารมาสืบ ทวิ
มาตรา 122 เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับใดเป็นพยานหลักฐานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านเอกสารนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน มาตร125 ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความ ฝ่ายที่อ้างเอกสาร ให้คู่ความฝ่ายนั้นนำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ต่อศาลในวันสืบพยานไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ถ้าศาลได้กำหนดให้คู่ความ ฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งต้นฉบับต่อศาล โดยที่ศาลเห็นสมควรหรือโดย ที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำขอ ให้คู่ความฝ่ายนั้นส่งต้นฉบับเอกสาร ต่อศาล เพื่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะตรวจดูได้ตามเงื่อนไขซึ่ง จะได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น หรือตามที่ศาลจะ ได้กำหนด แต่
(1) ถ้าไม่สามารถจะนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารดั่งกล่าวข้างต้น คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในวันหรือก่อน วัน
ที่กำหนดให้นำมาหรือให้ยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น แถลงให้ทราบ ถึงความไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามได้พร้อมทั้งเหตุผล ถ้าศาลเห็นว่า ผู้ยื่น
คำขอไม่สามารถที่จะนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารได้ ศาลจะมี คำสั่งอนุญาตให้นำต้นฉบับเอกสารมาในวันต่อไปหรือจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ได้ ในกรณีที่ ผู้ยื่นคำขอมีความประสงค์ เพียงให้ศาลขยายระยะเวลาที่ตนจะ ต้องนำมา
หรือยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น คำขอนั้นจะทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว ก็ได้
(2) ถ้าการที่จะนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลนั้น จะเป็น เหตุให้เกิดการสูญหาย หรือบุบสลายหรือมีข้อขัดข้องโดยอุปสรรค สำคัญหรือความลำบากยากยิ่งใด ๆ คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารอาจ ยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบ พยาน แถลงให้ทราบถึงเหตุเสียหายอุปสรรค หรือความลำบาก เช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่าต้นฉบับเอกสารนั้นไม่ อาจนำมายื่นต่อศาล ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น ณ สถานที่ใดต่อเจ้า พนักงานคนใด และภายในเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ หรือ จะมีคำสั่งให้คัดสำเนาทีรับรองว่าถูกต้องทั้งฉบับหรือเฉพาะส่วนที่ เกี่ยวแก่เรื่องที่มายื่นแทนต้นฉบับก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 122 วรรคหนี่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 123 ถ้าต้นฉบับเอกสารซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเป็นพยาน หลักฐานนั้นอยู่ในความครอบครอบของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่าย
ที่อ้างจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่งต้นฉบับเอกสารแทนการที่ตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นก็ได้ ถ้า
ศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญ และคำร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายใน
เวลาอันสมควรแล้วแต่ศาลจะกำหนด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีต้นฉบับ เอกสารอยู่ในครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เช่นว่านั้น ให้ถือว่าข้อ เท็จจริงแห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งได้ยอมรับแล้วถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกหรือ ในครอบครองของทางราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ซึ่งคู่ความที่อ้าง ไม่อาจร้องขอโดยตรงให้ส่งเอกสารนั้นมาได้ ให้นำบทบัญญัติใน วรรคก่อนว่าด้วยการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารยื่นคำขอและการ ที่ศาลมีคำสั่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ทั้งนี้ฝ่ายที่อ้างต้องส่งคำสั่ง ศาลแก่ผู้ครอบครองเอกสารนั้นล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวัน ถ้าไม่ได้ เอกสารนั้นมาสืบตามกำหนดเมื่อศาลเห็นสมควรก็ให้ศาลสืบพยาน ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 93 (2)
หมายเหตุมาตรา 123 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 124 ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่ยอมนำมาหรือยื่น ต้นฉบับเอกสาร หรือถ้าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทำให้เสียหาย ทำลาย ปิดบัง หรือทำด้วยประการอื่นใดให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์โดย มุ่งหมายที่จะกีดกัน ไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารนั้นเป็น พยานหลักฐาน ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นคู่ความฝ่ายที่ไม่นำมาหรือยื่นเอกสาร ดั่งกล่าวข้างต้นนั้นได้ยอมรับแล้ว
มาตรา 125 คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็น พยานหลักฐานยันตน อาจคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุ ที่ว่าไม่มี
ต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือ สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ โดยคัดค้านต่อศาลก่อนการสืบพยาน เอกสารนั้น
เสร็จถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านมีเหตุผลอันสมควรที่ไม่อาจทราบ ได้ก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จว่าต้นฉบับเอกสารนั้นไม่มี หรือ เอกสารนั้นปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง คู่ความนั้นอาจยื่นคำร้องขอ อนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารมาสืบดังกล่าวข้างต้นต่อศาล ไม่ว่า เวลาใดก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความนั้นไม่อาจยกข้อ คัดค้านได้ก่อนนั้น และคำขอนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาล มีคำสั่ง อนุญาตตามคำขอถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างเอกสารเสียก่อน การสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จหรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลัง นั้น ห้ามมิให้คู่ความนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของ เอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดอำนาจของศาลในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริงหรือความถูกต้องเช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ใน เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
หมายเหตุอ่านมาตรา 125 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 126 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตราต่อไปนี้ ถ้าคู่ความ ที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันแก่ตน ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนา เอกสารนั้น และคู่ความฝ่ายที่อ้าง ยังคงยืนยันความแท้จริง หรือ ความถูกต้องแห่งสำเนาของเอกสาร ถ้าศาลเห็นสมควร ให้ศาล ชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีในเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้ชี้ขาดในเมื่อได้สืบพยานตามวิธีต่อไปนี้ ทั้งหมดหรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ
(1) ตรวจสอบบรรดาเอกสารที่มิได้ถูกคัดค้านแล้วจดลงไว้ซึ่งการ มีอยู่หรือข้อความแห่งเอกสารที่ถูกคัดค้าน
(2) ซักถามพยานที่ทราบการมีอยู่หรือข้อความแห่งเอกสารที่ ถูกคัดค้านหรือพยานผู้ที่สามารถเบิกความในข้อความแท้จริงแห่ง เอกสาร
หรือความถูกต้องแห่งสำเนา
(3) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้นในระหว่างที่ยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดี ให้ศาลยึดเอกสารที่สงสัยว่า ปลอมหรือไม่ถูกต้องไว้ แต่ความข้อนี้ไม่บังคับถึงเอกสารราชการ ซึ่งทางราชการเรียกคืนไป
มาตรา 127 เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือ รับรองหรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และเอกสารเอกชน
ที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ ถูก
อ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้อง แห่งเอกสาร
มาตรา 127ทวิ ต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอันสำคัญที่คู่ความได้ยื่นต่อศาล หรือที่บุคคลภายนอกได้ยื่นต่อศาล หากผู้ที่ยื่นต้องใช้เป็นประจำหรือตามความจำเป็นหรือมีความสำคัญในการเก็บรักษา ศาลจะอนุญาตให้ผู้ที่ยื่นรับคืนไป โดยให้คู่ความตรวจดู และให้ผู้ที่ยื่นส่งสำเนาหรือภาพถ่ายไว้แทน หรือจะมีคำสั่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 127ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538

หมวด4 การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล
มาตรา 128 ถ้าพยานหลักฐานที่ศาลจะทำการตรวจนั้นเป็นบุคคล หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจนำมาศาลได้ ให้คู่ความฝ่ายที่ได้รับ อนุญาตให้นำสืบ พยานหลักฐานเช่นว่านั้นนำบุคคลหรือทรัพย์นั้นมา ในวันสืบพยาน หรือวันอื่นใดที่ศาลจะได้กำหนดให้นำมาถ้าการตรวจไม่สามารถกระทำได้ในศาล ให้ศาลทำการตรวจ ณ สถานที่ เวลา และภายในเงื่อนไข ตามที่ศาลจะเห็นสมควรแล้วแต่ สภาพแห่งการตรวจนั้น ๆ
หมายเหตุอ่านมาตรา 128 วรรคหนี่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 128/1 ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใด ที่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี เมื่อศาลเห็น
สมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ในกรณีที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ทำให้ศาล วินิจฉัยชี้ขาดคดีได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานอื่นอีก เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันสืบพยานตามปกติก็ได้ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจำเป็นต้องเก็บตัวอย่าง เลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลายหรือสารคัดหลั่งอื่น สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบอื่นของร่างกาย หรือสิ่งที่อยู่ในร่างกายจากคู่ความหรือบุคคลใด ศาลอาจให้คู่ความหรือบุคคลใดรับการตรวจพิสูจน์จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควรทั้งนี้ ถือเป็นสิทธิของคู่ความหรือบุคคลนั้นที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอมหรือไม่ให้ความร่วมมือต่อการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือไม่ให้ความยินยอมหรือกระทำการขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ความยินยอมต่อการตรวจเก็บตัวอย่าง ส่วนประกอบของร่างกายตามวรรคสาม ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้างค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตามมาตรานี้ ให้คู่ความฝ่ายที่ร้องขอให้ตรวจพิสูจน์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม แต่ถ้าผู้ร้องขอไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายได้หรือเป็นกรณีที่ศาลเป็นผู้สั่งให้ตรวจพิสูจน์ ให้ศาลสั่งจ่ายตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด ส่วนความรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นไปตาม มาตรา 158 หรือ มาตรา 161
หมายเหตุอ่านมาตรา 128/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
มาตรา 129 ในการที่ศาลจะมีคำสั่งให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดั่งกล่าว ใน มาตรา 99 โดยที่ศาลเห็นสมควรหรือโดยคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ร้อง
ขอนั้น
(1) การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแต่ ศาลจะเรียกคู่ความมาให้ตกลงกันกำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญที่จะแต่งตั้งนั้น ก็ได้ แต่ศาลจะบังคับบุคคลใดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ นอกจากบุคคล นั้นได้ยินยอมลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาล แล้ว
(2) ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจถูกคัดค้านได้ และต้องสาบาน หรือปฏิญาณตน ทั้งมีสิทธิที่จะได้รับค่าธรรมเนียมและรับชดใช้ค่าใช้ จ่ายที่
ได้ออกไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น
มาตรา 130 ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจแสดงความเห็นด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ ถ้าศาลยังไม่เป็นที่พอใจ ใน
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทำเป็นหนังสือนั้น หรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดเรียกร้องโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญทำความ เห็น
เพิ่มเติมเป็นหนังสือ หรือเรียกให้มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา หรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญคนอื่นอีกถ้าผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งจะต้องแสดงความเห็นด้วยวาจา หรือต้อง มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะนี้ว่าด้วย พยานบุคคลมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ลักษณะ6 คำพิพากษาและคำสั่ง
หมวด1 หลักทั่วไปว่าด้วยการชี้ขาดตัดสินคดี
มาตรา 131 คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ให้ศาลปฏิบัติดั่งนี้
(1) ในเรื่องคำขอซึ่งคู่ความยื่นในระหว่างการพิจารณาคดีนั้น โดยทำเป็นคำร้องหรือขอด้วยวาจาก็ดี ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือ ยกเสียซึ่งคำขอเช่นว่านั้น โดยทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าศาลมีคำสั่งด้วยวาจาให้ศาลจดคำสั่งนั้นไว้ในรายงานพิสดาร
(2) ในเรื่องประเด็นแห่งคดีให้ศาลวินิจฉัยขี้ขาดโดยทำเป็น คำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้
มาตรา 132 ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไข ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
(1) เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง หรือไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 174 มาตรา 175 และ มาตรา 193ทวิ
(2) เมื่อโจทก์ไม่หาประกันมาให้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 และ
มาตรา 288 หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายขาดนัด ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 198 มาตรา 200 และ มาตรา 201
(3) ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มี ประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 42
(4) เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกัน ซึ่ง เป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 28 และ
มาตรา 29
หมายเหตุอ่านมาตรา 132(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 133 เมื่อศาลมิได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความดั่งที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อน ให้ศาลชี้ขาดคดีนั้นโดยทำเป็นคำพิพากษา หรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา แต่เพื่อการที่จะพิเคราะห์คดีต่อไป ศาลจะเลื่อนการพิพากษาหรือการทำคำสั่งต่อไปในวันหลังก็ได้ตามที่ เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา 134 ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ปฏิเสธ ไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้ บังคับนั้นเคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์
มาตรา 135 ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงิน หรือมีการ เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษา
จำเลยจะนำเงินมาวางศาลเต็มจำนวนที่เรียกร้อง หรือแต่บางส่วนหรือตามจำนวนเท่าที่ตนคิดว่าพอแก่จำนวนที่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ได้ ทั้งนี้ โดยยอมรับผิดหรือไม่ยอมรับผิดก็ได้
หมายเหตุมาตรา 135 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 136 ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้า โจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำเลยวางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษาคดี ไปตามนั้นคำพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงิน ที่จำเลยวางและยังติดใจที่จะดำเนินคดีเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดใน จำนวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีกจำเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงินหรือจำเลยจะยอมให้โจทก์รับ เงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำเลย ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่วาง แม้ว่าจำเลยมีความรับผิด ตามกฎหมายจะต้องเสีย ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำเลยยอมให้โจทก์รับ เงินไปในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จำเลยจะรับเงิน นั้นคืนไปก่อนที่มีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงิน เช่นว่านี้ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ย หากจำเลยมีความรับผิด ตามกฎหมายจะต้องเสีย
หมายเหตุมาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 137 ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้อย่างอื่นนอกจากใช้ ชำระเงินจำเลยชอบที่จะทำการชำระหนี้นั้นได้ โดยแจ้งให้ศาลทราบ ในคำให้
การหรือแถลงโดยหนังสือเป็นส่วนหนึ่งต่างหากก็ได้ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้อง แล้วให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น และคำพิพากษานั้นให้เป็นที่สุดถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชำระหนี้เช่นว่านั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนิน คดีนั้นต่อไปได้
มาตรา 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอม ความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนี ประนอมยอมความเหล่านี้ไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้นห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ มาใช้บังคับ
มาตรา 139 เมื่อคดีสองเรื่องหรือกว่านั้นขึ้นไปได้พิจารณารวมกัน เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา ศาลจะพิพากษาคดีเหล่านั้นเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งซึ่งเสร็จการพิจารณาแล้ว จึ่งพิพากษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไปภายหลัง ก็ได้

หมวด2 ข้อความและผลแห่งคำพิพากษาและคำสั่ง
มาตรา 140 การทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้ดำเนิน ตามข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ศาลจะต้องประกอบครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วย เขตอำนาจศาลและอำนาจผู้พิพากษา
(2) ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 13 ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะต้องทำโดยผู้พิพากษาหลายคน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะต้อง บังคับตามความเห็นของฝ่ายข้างมาก จำนวนผู้พิพากษาฝ่ายข้าง มากนั้น ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ต้องไม่น้อยกว่าสองคน และในศาลฎีกาไม่น้อยกว่าสามคน ในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ถ้าผู้พิพากษาคนใดมีความเห็นแย้งก็ให้ผู้พิพากษาคนนั้นเขียนใจ ความแห่งความเห็นแย้งของตนกลัดไว้ในสำนวน และจะแสดงเหตุผล แห่งข้อแย้งไว้ด้วยก็ได้ในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เห็นสมควรจะให้มีการวินิจฉัยปัญหา ใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ก็ได้ หรือถ้ามีกฎหมายกำหนด ให้วินิจฉัยปัญหาใดหรือคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ ก็ให้วินิจฉัยโดย ที่ประชุมใหญ่ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 13 ที่ประชุมใหญ่นั้น สำหรับศาล อุทธรณ์ให้ประกอบด้วยอย่างน้อยผู้พิพากษาหัวหน้าคณะไม่น้อยกว่า 10 คน สำหรับศาลฎีกาให้ประกอบด้วยผู้พิพากษาทุกคนซึ่งอยู่ ปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนผู้พิพากษาแห่งศาลนั้น และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณี หรือผู้ทำการแทน เป็นประธานคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก และถ้า มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานแห่งที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีก เสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดในคดีซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยปัญหาแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่ง ต้อง
เป็นไปตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่และต้องระบุไว้ด้วยว่า ปัญหาข้อใดได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ผู้พิพากษาที่เข้าประชุม แม้มิใช่เป็นผู้นั่งพิจารณา ก็ให้มีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งในคดี นั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ให้ทำความเห็นแย้งได้ด้วย
(3) การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อ่านข้อความทั้งหมดใน ศาลโดยเปิดเผยตามเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ต่อหน้า คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดลง ไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือในรายงานซึ่งการอ่านนั้นและให้คู่ความ ที่มา
ศาลลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญถ้าคู่ความไม่มาศาล ศาลจะงดการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงานและให้ถือว่าคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้วเมื่อศาลที่พิพากษาคดี หรือที่ได้รับคำสั่งจากศาลสูงให้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่ง ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติ ใน มาตรานี้ วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น
หมายเหตุมาตรา 140 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
อ่านมาตรา 140 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535
มาตรา 141 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือแสดง
(1) ชื่อศาลที่พิพากษาคดีนั้น
(2) ชื่อคู่ความทุกฝ่ายและผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนถ้าหากมี
(3) รายการแห่งคดี
(4) เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง
(5) คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีตลอดทั้งค่าฤชา ธรรมเนียมคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่พิพากษา หรือ
ทำคำสั่งหรือถ้าผู้พิพากษาคนใดลงลายมือชื่อไม่ได้ ก็ให้ผู้พิพากษา อื่นที่พิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาแล้วแต่กรณี จด
แจ้งเหตุที่ผู้พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อและมีความเห็นพ้อง ด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น แล้วกลัดไว้ในสำนวนความในกรณีที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งหรือพิพากษาคดีได้ด้วยวาจา การที่ศาลจะต้องทำรายงานเกี่ยวด้วยคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น ไม่จำต้องจดแจ้ง
รายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย แต่เมื่อ คู่ความฝ่ายใดแจ้งความจำนงที่จะอุทธรณ์หรือได้ยื่นอุทธรณ์ขึ้นมา ให้ศาลมีอำนาจทำคำชี้แจงแสดงรายการข้อสำคัญ หรือเหตุผลแห่ง คำวินิจฉัยกลัดไว้กับบันทึกนั้นภายในเวลาอันสมควร
มาตรา 142 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสิน ตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภท เดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเมื่อ ศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้ บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บน อสังหาริม
ทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่ พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะ
พิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึง วันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ย จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่อง คำนวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่า เช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้ จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษา ก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้นเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้น ขึ้น
วินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(6) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ซึ่งมิได้มี ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึง ถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาล จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิ ได้
รับตามกฎหมาย แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้อง หรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 142 (6) เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 143 ถ้าในคำพิพากษาหรือคำสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำ
พิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นเห็น สมควรหรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไข ข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง เช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น อำนาจที่จะแก้ไขข้อ ผิด
พลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา และแต่กรณี คำขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อ ศาลดัง
กล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทำ เป็นคำร้องส่วนหนึ่งต่างหาก การทำคำสั่งเพิ่มเติม มาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้ คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมเมื่อได้ทำคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือ คำสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัดสำเนาคำสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย
มาตรา 144 เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใน
ศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น เว้นแต่กรณี จะอยู่ภายใต้บังคับบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม มาตรา 143
(2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไป ฝ่ายเดียวตาม มาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตาม
มาตรา 53
(3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตาม มาตรา 229 และ มาตรา 247 และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่าง การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตาม มาตรา 254 วรรคสุดท้าย
(4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่าง ที่ได้ พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณา
และพิพากษาใหม่ตาม มาตรา 243
(5) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม มาตรา 302 ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 16
และ มาตรา 240 ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง มาตรา 145 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมี คำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี*
ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่ บุคคลภายนอก ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาล ด้วยก็ดี คำ
พิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 142 (1) มาตรา 245 และ มาตรา 274 และในข้อต่อไปนี้
(1) คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือคำพิพากษาสั่งให้เลิกนิติบุคคล หรือคำสั่งเรื่องล้มละลายเหล่านี้ บุคคลภาย
นอกจะยกขึ้นอ้างอิง หรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกก็ได้
(2) คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า
มาตรา 146 เมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของสองศาล ซึ่งต่างชั้นกันต่างกล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้
และคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นขัดกัน ให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ของศาลที่สูงกว่าถ้าศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน หรือศาลชั้นต้นสองศาลในลำดับชั้น เดียวกันหรือศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งดั่งกล่าวมาแล้ว คู่ความในกระบวนพิจารณาแห่งคดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปให้มีคำสั่งกำหนด ว่าจะให้ถือตามคำพิพากษา หรือคำสั่งใด คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา 147 คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ วันที่ได้อ่านเป็นต้นไปคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ ฎีกาหรือมีคำขอให้ พิจารณาใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้อุทธรณ์ ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายในเวลาที่กำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้น ได้สิ้นสุดลงถ้าได้มีอุทธรณ์ ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติใน มาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดี นั้นให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ ถึงที่สุดแล้ว
มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้ คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษา หรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิ โจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

หมวด3 ค่าฤชาธรรมเนียม
ส่วนที่1 การกำหนดและการชำระค่าฤชาธรรมเนียม และการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
มาตรา 149 ค่าฤชาธรรมเนียม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ว่าด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลค่าธรรมเนียมศาลที่เป็นค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ยื่นคำฟ้องเป็นผู้ชำระเมื่อยื่นคำฟ้องค่าธรรมเนียมศาลนั้น ให้ชำระหรือนำมาวางศาลเป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งธนาคารรับรอง โดยเจ้าพนักงานศาลออกใบรับให้ หรือตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา
คำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด คำให้การ หรือคำร้องคำขออื่นซึ่งได้ยื่นต่อศาลพร้อมคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตาม
มาตรา 156 ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าว ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลมาชำระ เว้นแต่ศาลจะได้ยกคำร้องนั้นเสีย
หมายเหตุอ่านชื่อส่วนที่ 1 และ มาตรา 149 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 150 ในคดีที่คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์นั้นอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่
เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ถ้าจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สิน ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น แต่ถ้าผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาได้รับความพอใจแต่บางส่วนตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล่างแล้ว และจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่ำกว่าในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาต่ำนั้น
เมื่อได้ชำระค่าขึ้นศาลแล้ว ถ้าทุนทรัพย์แห่งคำฟ้องหรือคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกาทวีขึ้น โดยการยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือโดยประการอื่น ให้เรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายนี้ เมื่อยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร แล้วแต่กรณีถ้าเนื่องจากศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกคดีกัน คำฟ้องใดหรือข้อหา อันมีอยู่ในคำฟ้องใดจะต้องโอนไปยังศาลอื่น หรือจะต้องกลับยื่นต่อศาลนั้นใหม่ หรือต่อศาลอื่นเป็นคดีเรื่องหนึ่งต่างหาก ให้โจทก์ได้รับผ่อนผันไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในการยื่น หรือกลับยื่นคำฟ้องหรือข้อหาเช่นว่านั้น เว้นแต่จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์แห่งคำฟ้อง หรือข้อหานั้นจะได้ทวีขึ้น
ในกรณีเช่นนี้ ค่าขึ้นศาลเฉพาะที่ทวีขึ้นให้คำนวณและชำระตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ในกรณีที่บุคคลซึ่งเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มูล
ความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ต่างยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแยกกัน โดยต่างได้เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาตาม
ความในวรรคสองหากค่าขึ้นศาลดังกล่าว เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าขึ้นศาลที่คู่ความเหล่านั้น ต้องชำระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์หรือฎีการ่วมกัน ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่คู่ความเหล่านั้น ตามส่วนของค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละคนได้ชำระไปในเวลาที่ศาลนั้น มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
หมายเหตุอ่านมาตรา 150 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 151 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องหรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ ถ้าศาลไม่รับอุทธรณ์
หรือฎีกาหรือคำขอให้พิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกา โดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดเมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือเมื่อคดีนั้น ได้เสร็จเด็ดขาดลง โดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควรในกรณีที่มีการทิ้งฟ้องหรือศาลสั่งจำหน่ายคดีในกรณีอื่น ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาล บางส่วนได้ตามที่เห็นสมควรถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนความคืนไปยังศาลล่างเพื่อตัดสินใหม่ หรือเพื่อพิจารณาใหม่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 243 ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกเว้น มิให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หรือในการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาใหม่ของศาลล่างได้ตามที่เห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 151 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 152 ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณา เป็นผู้ชำระเมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือที่ศาลมีคำสั่งถ้าศาลเป็นผู้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ให้ศาลกำหนดผู้ซึ่งจะต้องชำระ
ค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น รวมทั้งระยะเวลาที่ต้องชำระไว้ด้วยถ้าผู้ซึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ชำระ ศาลจะสั่งให้งดหรือเพิกถอน กระบวนพิจารณานั้น หรือจะสั่งให้คู่ความฝ่ายอื่นเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้หากคู่ความฝ่ายนั้นยินยอม
หมายเหตุอ่านมาตรา 152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 153 ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของเจ้า
พนักงานบังคับคดีตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการบังคับคดีบรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้นเป็นผู้ชำระการชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบรับให้ในกรณีที่มีการเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตาม มาตรา 290 วรรคแปด หรือ มาตรา 291 (2) ให้เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สิน ในส่วนที่ดำเนินการบังคับคดีต่อไป
หมายเหตุอ่านมาตรา 153 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 153/1 ค่าฤชาธรรมเนียมตาม มาตรา 149 และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม มาตรา 153 ให้ชำระตามวิธีการและ
อัตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือตามวิธีการและอัตราที่มีกฎหมายอื่นบังคับไว้
หมายเหตุอ่านมาตรา 153/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 154 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะสั่งให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินค่าใช้จ่าย เพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือวางเงินค่าใช้จ่าย เพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามจำนวนที่เห็นจำเป็น ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ให้แจ้งให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินเพิ่มขึ้นอีกได้ถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีเห็นว่าการวางเงินตามวรรคหนึ่งไม่จำเป็นหรือมากเกินไป ก็อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งได้ คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้จนกว่าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้น จะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาล แล้วแต่กรณีบทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตาม มาตรา 290 วรรคแปด และ มาตรา 291 (2) โดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 154 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551

มาตรา 155 คู่ความซึ่งไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกเว้น ค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นหรือ

ชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 156 และ มาตรา 156/1
หมายเหตุอ่านมาตรา 155 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 156 ผู้ใดมีความจำนงจะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้องหรือได้ฟ้องคดีไว้นั้นพร้อมกับ

คำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด หรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาล ในภายหลัง จะ

ยื่นคำร้องในเวลาใด ๆ ก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องอาจเสนอพยานหลักฐานไปพร้อมคำร้อง และหากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการไต่

สวนโดยเร็วเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้งดการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว จนกว่าการพิจารณา

สั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะถึงที่สุดก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 156 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 156/1 เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จแล้วให้ศาลมีคำสั่งโดยเร็ว โดยศาลจะมีคำสั่งอนุญาตทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบาง

ส่วน หรือยกคำร้องนั้นเสียก็ได้
ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องเช่นว่านั้น เว้นแต่จะเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่า

ธรรมเนียม ศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร เมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีผู้ร้องเป็นโจทก์หรือผู้อุทธรณ์หรือฎีกา การฟ้องร้อง

หรืออุทธรณ์หรือฎีกานั้น มีเหตุผลอันสมควรด้วย
เมื่อคู่ความคนใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น แล้วยื่นคำร้องเช่นว่านั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณีอีก

ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังคงไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้ว จะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร

อยู่ เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายใน

กำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 156/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 157 เมื่อศาลอนุญาตให้บุคคลใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลใด บุคคลนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวน

พิจารณาในศาลนั้น ค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ให้รวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตในระหว่างการพิจารณา

การยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลนั้นให้ใช้บังคับแต่เฉพาะค่าธรรมเนียมศาล และเงินวางศาลที่จะต้องเสีย หรือวางภายหลังคำสั่งอนุญาตเท่านั้น

ส่วนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินวางศาลที่เสียหรือวางไว้ก่อนคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอันไม่ต้องคืน
หมายเหตุอ่านมาตรา 157 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษา

ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้

รับยกเว้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 158 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 159 ถ้าปรากฏต่อศาลว่าผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นสามารถเสียค่าธรรมเนียมศาล ได้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำร้องตาม มาตรา 156 หรือ

ในภายหลังก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับยกเว้นต่อศาลภายในระยะเวลา ที่ศาลเห็นสมควร

กำหนดก็ได้หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนไว้รอคำวินิจฉัยชี้

ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่า
(1) ค่าฤชาธรรมเนียมจะเป็นพับแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลมีคำสั่งให้เอาชำระค่าธรรมเนียม ศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้น จากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดัง

ที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(2) คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แทนผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่าย

หนึ่งนั้นชำระค่าธรรมเนียมศาลต่อศาล ในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ศาลเอาชำระ

ค่าธรรมเนียมศาลนั้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่ง ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หรือ
(3) ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งให้เอาชำระค่าฤชา

ธรรมเนียมนั้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่ง ส่วนค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้น ให้เอาชำระจากทรัพย์สินที่เหลือถ้า

หากมี ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 159 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 160 ถ้าผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลประพฤติตนไม่เรียบร้อย เช่น ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญถึงขนาด หรือกระทำ

ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือจงใจประวิงความเรื่องนั้น ศาลจะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ และบุคคลเช่นว่านั้น จำต้องรับผิดเสียค่า

ฤชาธรรมเนียมสำหรับกระบวนพิจารณาภายหลังที่ศาลได้ถอนการอนุญาตนั้นแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 160 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551

กลับไปที่หน้าสารบาญส่วนที่ 2 ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 161 ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิด ในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความ

ฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้น รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความ

แต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดย

คำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี
คดีที่ไม่มีข้อพิพาทให้ฝ่ายเริ่มคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม
หมายเหตุอ่านชื่อส่วนที่ 2 และ มาตรา 161 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 162 บุคคลที่เป็นโจทก์ร่วมกันหรือจำเลยร่วมกันนั้นหา ต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียมไม่ หากต้องรับผิดเป็น ส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะ

ได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมหรือลูกหนี้ร่วม หรือ ศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
มาตรา 163 ถ้าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยการตกลงหรือการ ประนีประนอมยอมความหรืออนุญาโตตุลาการ คู่ความแต่ละฝ่าย ย่อมรับผิดในค่าฤชา

ธรรมเนียมในส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณา ของตน เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 164 ในกรณีที่วางเงินต่อศาลตาม มาตรา 135 มาตรา 136 นั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแห่งจำนวนเงินที่วางนั้นอัน เกิดขึ้น

ภายหลัง
ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้อง แล้วจำเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลนั้นเป็นการพอใจเพียงส่วนหนึ่ง แห่งจำนวนเงินที่เรียกร้อง และดำเนินคดีต่อไป จำเลยต้องรับผิดใน ค่าฤชาธรรมเนียม

เว้นแต่ศาลจะได้พิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ในกรณี เช่นนี้โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การ ที่ตนไม่ยอมรับเงินที่วางต่อ

ศาลเป็นการพอใจตามที่เรียกร้อง
มาตรา 165 ในกรณีที่มีการชำระหนี้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 137 ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องแล้ว จำเลยต้องเป็น

ผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะเห็นสมควร มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชำระหนี้เช่นว่านั้น และดำเนินคดีต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ถ้าศาลเห็นว่าการ ชำระหนี้นั้นเป็น

การพอใจเต็มตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ค่า ฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับ ชำระหนี้นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิด
มาตรา 166 คู่ความฝ่ายใดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น หรือมีลักษณะประวิงคดี หรือที่ต้อง

ดำเนินไปเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คู่ความฝ่ายนั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยมิพักคำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจัก

ได้ชนะคดีหรือไม่
หมายเหตุอ่านมาตรา 166 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 167 คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ไม่ว่าคู่ความ ทั้งปวงหรือแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จักมีคำขอหรือไม่ก็ดี ให้ศาลสั่งลง ไว้ในคำพิพากษาหรือคำ

สั่งชี้ขาดคดีหรือในคำสั่งจำหน่ายคดีออก จากสารบบความแล้วแต่กรณีแต่ถ้าเพื่อชี้ขาดตัดสินคดีใดศาลได้มี คำสั่งอย่างใดในระหว่างการพิจารณาศาลจะ

มีคำสั่งเรื่องค่า ฤชาธรรมเนียมสำหรับกระบวนพิจารณาที่เสร็จไปในคำสั่งฉบับนั้น หรือในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้ แล้วแต่จะเลือก
ในกรณีที่มีข้อพิพาทในเรื่องที่ไม่เป็นประเด็นในคดี ให้ศาลมีคำสั่ง ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับข้อพิพาทเช่นว่านี้ในคำสั่งชี้ขาด ข้อพิพาทนั้น
ในกรณีที่มีการพิจารณาใหม่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเรื่องค่าฤชา ธรรมเนียมสำหรับการพิจารณาครั้งแรก และการพิจารณาใหม่ใน คำพิพากษาหรือคำ

สั่งได้
มาตรา 168 ในกรณีที่คู่ความอาจอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลได้นั้น ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหา เรื่องค่าฤชา

ธรรมเนียมแต่อย่างเดียว เว้นแต่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นจะ ได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย
มาตรา 169 เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแล้ว ให้หัวหน้าสำนักงาน ประจำศาลยุติธรรมชั้นต้นทำบัญชีแสดงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่

ความทุกฝ่ายได้เสียไปโดยลำดับ และจำนวนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยว

ข้องอาจขอสำเนาบัญชีเช่นว่านั้นได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 169 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 169/1 ถ้าบุคคลซึ่งต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมค้างชำระค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลก็ดี หรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี หรือต่อบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้า

หนี้ตามคำพิพากษาก็ดี ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลเช่นว่านั้นอาจบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลนั้น เสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา

เพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลที่มีสิทธิได้

รับค่าฤชาธรรมเนียมนั้น แล้วแต่กรณีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีทั้งปวง แต่หากยังมีเงินที่ได้จากการบังคับคดีคงเหลือภายหลังชำระให้แก่

ผู้มีสิทธิได้รับ ให้หักค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไว้จากเงินนั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 169/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 169/2 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 169/3 ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โดยให้หักออกจาก

เงินที่ได้จากการยึด อายัด ขาย หรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือจากเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางไว้
ในกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ผู้ค้ำประกันในศาล ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีในส่วนนั้น ให้หักออกจากเงินที่ได้จากการบังคับคดีตามสัญญาประกัน
ในกรณีที่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือมรดกให้เจ้าของรวม หรือทายาทผู้ได้รับส่วนแบ่งทุกคนเป็นผู้รับผิดในค่าฤชา

ธรรมเนียมในการบังคับคดี โดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการขาย หรือจำหน่ายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือทรัพย์มรดกนั้น
ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตาม มาตรา 295 (1) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชา

ธรรมเนียมในการบังคับคดี
หมายเหตุอ่านมาตรา 169/2 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 193/3 บุคคลใดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีส่วนใด โดยไม่จำเป็น หรือมีลักษณะประวิงการบังคับคดี หรือที่ต้องดำเนินไป

เพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง หรือเพราะบังคับคดีไปโดยไม่สุจริตก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือ

ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคล

เช่นว่านั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของ ศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 169/3 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551

กลับไปที่หน้าสารบาญภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ 1 วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น
มาตรา 170 ห้ามมิให้ฟ้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็น ครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่นนอกจากศาลชั้นต้นเว้นแต่จะมี กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้ง

เป็นอย่างอื่น
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในภาคนี้ว่าด้วยคดีไม่มีข้อพิพาท คดีมโนสาเร่คดีขาดนัด และคดีที่มอบให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด การฟ้องการพิจารณาและชี้

ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น นอกจาก จะต้องบังคับตามบทบัญญัติทั่วไปแห่งภาค 1 แล้ว ให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ด้วย
มาตรา 171 คดีที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติว่าจะฟ้องยังศาลชั้นต้น หรือจะเสนอปัญหาต่อศาลชั้นต้นเพื่อชี้ขาดตัดสิน โดยทำเป็นคำร้องขอก็ได้นั้น ให้

นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลย และ วิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำฟ้องมาใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขอ และคู่

ความอีกฝ่ายหนึ่งถ้าหากมี และบังคับแก่วิธีพิจารณาที่ ต่อจากการยื่นคำร้องขอด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 172 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 57 ให้โจทก์เสนอ ข้อหาของตนโดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือ ให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
มาตรา 173 เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่ง สำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับ แต่วันยื่นคำฟ้อง ให้

โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และ ผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น และ
(2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่นการเปลี่ยนแปลง ภูมิลำเนาของจำเลย

การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่ รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่
หมายเหตุอ่านมาตรา 173 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 174 ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ
(1) ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลยและ ไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ

แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนด เจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคำฟ้อง
(2) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 174(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 175 ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้ โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล
ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็น คำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะ อนุญาตหรือไม่อนุญาต

หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร ก็ได้ แต่
(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน
(2) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้อง เนื่องจากมีข้อตกลงหรือ ประนีประนอมยอมความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น
มาตรา 176 การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่ง การยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลัง ยื่นคำฟ้อง และ

กระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่ง มิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจ ยื่นใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งบท

บัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 177 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535
มาตรา 178 ถ้าจำเลยฟ้องแย้งรวมมาในคำให้การ ให้โจทก์ทำ คำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งคำ ให้การถึงโจทก์
บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนให้ใช้บังคับแก่คำให้การแก้ฟ้องแย้งนี้ โดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 178 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535
มาตรา 179 โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้างหรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรก ก็ได้
การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในฟ้องเดิม หรือ
(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้ บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครอง สิทธิของตนใน

ระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิมหรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างหรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหาหรือ เพื่อหักล้างข้อหาของ

คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธี ฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิม

และคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะ รวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อ ศาลไว้แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อน วันสืบพยานไม่น้อย

กว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่ มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบ

เรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
หมายเหตุอ่านมาตรา 180 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 181 เว้นแต่ในกรณีที่คำร้องนั้นอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว
(1) ห้ามไม่ให้มีคำสั่งยอมรับการแก้ไข เว้นแต่จะได้ส่งสำเนา คำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน ก่อนกำหนดนัด

พิจารณาคำร้องนั้น
(2) ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความ ได้แก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้มี โอกาสบริบูรณ์ในอัน

ที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้อหาหรือข้อต่อสู้ใหม่ หรือข้ออ้างหรือข้อเถียงใหม่ที่กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขนั้น
มาตรา 182 เมื่อได้ยื่นคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมีแล้ว ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถาน ให้คู่ความ

ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) จำเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ
(2) คำให้การของจำเลย เป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งตามคำฟ้อง โจทก์ทั้งสิ้น
(3) คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ทั้งสิ้นโดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ซึ่งศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการ ชี้สองสถาน
(4) ศาลเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้อง สืบพยาน
(5) คดีมโนสาเร่ตาม มาตรา 189 หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากตาม มาตรา 196
(6) คดีที่ศาลเห็นว่ามีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากหรือไม่จำเป็น ที่จะต้องชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่ต้องมีการชี้สองสถาน ให้ศาลมีคำสั่งงดการชี้สองสถาน และกำหนดวันสืบพยาน ถ้าหากมี แล้วให้ส่งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทราบตาม มาตรา

184 เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดจะได้ทราบหรือถือว่า ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว
คู่ความอาจตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทโดยยื่นคำแถลงร่วมกัน ต่อศาลในกรณีเช่นว่านี้ ให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามนั้น แต่ถ้า ศาลเห็นว่าคำ

แถลงนั้นไม่ถูกต้องก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยก คำแถลงนั้น แล้วดำเนินการชี้สองสถานไปตาม มาตรา 183
หมายเหตุอ่านมาตรา 182 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 182ทวิ (ยกเลิก)
หมายเหตุอ่านมาตรา 182ทวิ ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำ

แถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อ

เถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่น

ไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนด ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน

มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้
ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความ

ฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อ

เท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการ

ปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น
คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาล

ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้

อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226
หมายเหตุอ่านมาตรา 183 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 183ทวิ ในกรณีที่คู่ความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้

ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว
คู่ความที่ไม่มาศาลนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้น ไม่ถูกต้อง เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ใน

วันชี้สองสถาน เพราะเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ หรือเป็นการคัดค้านในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ให้นำ

มาตรา 183 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 183ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 183ตรี (ยกเลิก)
หมายเหตุอ่านมาตรา 183ตรี ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 183จัตวา (ยกเลิก)
หมายเหตุอ่านมาตรา 183จัตวา ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 184 ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลกำหนดวันสืบ พยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันสืบ พยานส่งให้แก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน
หมายเหตุอ่านมาตรา 184 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535
มาตรา 185 ในวันนัดสืบพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ศาลจะอ่านให้คู่ความฟังซึ่งคำฟ้อง คำให้การและคำให้การ

แก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมี หรือรายงานพิสดาร แห่งการชี้สองสถานแล้วแต่กรณี และคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม (ที่ได้ยื่น ต่อศาลและส่งไปให้แก่คู่ความแล้ว

โดยชอบ) ก็ได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติสามมาตราต่อไปนี้ ให้ศาลสืบพยาน ตามประเด็นในข้อพิพาทตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยพยานหลักฐาน

และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของคู่ความทั้งปวง
มาตรา 186 เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ แถลงการณ์ด้วยวาจาก่อน แล้วจึ่งให้จำเลยแถลงการณ์ด้วยวาจา ทบทวนข้อเถียงแสดงผล

แห่งพยานหลักฐานในประเด็นที่พิพาท ต่อจากนี้ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แถลงตอบจำเลยได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ห้ามไม่ให้คู่ความแถลงการณ์ด้วย

วาจาอย่างใดอีกเว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากศาล
ก่อนพิพากษาคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะได้แถลงการณ์ด้วยวาจา แล้วหรือไม่ คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำแถลงการณ์เป็นหนังสือต่อศาล ก็ได้ แต่ต้องส่ง

สำเนานั้น ๆ ไปยังคู่ความอื่น ๆ
มาตรา 187 เมื่อได้สืบพยานตามที่จำเป็นและคู่ความได้ แถลงการณ์ ถ้าหากมี เสร็จแล้ว ให้ถือว่าการพิจารณาเป็น อันสิ้นสุด แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำ

พิพากษา ศาลอาจทำการ พิจารณาต่อไปอีกได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม
มาตรา 188 ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
(2) ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็นและวินิจฉัยชี้ ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(3) ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดย วิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะใน สองกรณีต่อไปนี้
(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอ ของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสีย ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย นี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง
(4) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มี ข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่า บุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่

ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาทแต่ในคดีที่ยื่น คำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือ

คำสั่งให้คำอนุญาต ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสีย หรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ไร้ความสามารถนั้นให้

ถือว่า เป็นคดีไม่ข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความ สามารถนั้นจะได้มาศาล และแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาต หรือถอน

คืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น

กลับไปที่หน้าสารบาญลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่
มาตรา 189 คดีมโนสาเร่ คือ
(1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงิน ได้ไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(2) คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่า หรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือ ไม่เกินจำนวนที่

กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
หมายเหตุอ่านมาตรา 189 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 190 จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้นให้ คำนวณดั่งนี้
(1) จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้นให้คำนวณตามคำเรียกร้อง ของโจทก์ส่วนดอกผลอันมิถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำฟ้องหรือหมายเหตุ มศาลซึ่ง

อาจเป็นอุปกรณ์รวมอยู่ในคำเรียกร้อง ห้าม มิให้คำนวณรวมไปด้วย
(2) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีข้อโต้แย้ง จำนวนทุนทรัพย์หรือ ราคานั้นให้ศาลกะประมาณตามที่เป็นอยู่ในเวลายื่นฟ้องคดี
(3) คดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่มีข้อหาหลายข้อ อันมีจำนวน ทุนทรัพย์หรือราคาไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา

ให้รวมจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเหล่านั้น เข้าด้วยกัน แต่ถ้าข้อหาเหล่านั้นจะต้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยหลายคน ถึงแม้ว่าถ้ารวมความรับผิดของ

จำเลยหลายคนนั้นเข้าด้วยกันแล้ว จะไม่เป็นคดีมโนสาเร่ก็ตาม ให้ถือเอาจำนวนที่เรียกร้องเอาจาก จำเลยคนหนึ่ง ๆ นั้น เป็นประมาณแก่การที่จะถือ

ว่าคดีนั้นเป็นคดี มโนสาเร่หรือไม่
หมายเหตุอ่านมาตรา 190(3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
  มาตรา 190ทวิ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณา ไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 190ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 190ตรี ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่ง ขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือ ตามที่ศาลได้กำหนดไว้

หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลา

นั้นได้ เมื่อมี ความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
หมายเหตุอ่านมาตรา 190ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 190จัตวา ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ แต่ค่าขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งพันบาท
ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสีย ตามจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา แล้วแต่

กรณี
หมายเหตุอ่านมาตรา 190จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 190จัตวา วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 191 วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่นั้น โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็น หนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาลก็ได้
ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากศาลเห็นว่าคำฟ้อง ดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่ง ให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องใน

ส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
ถ้าโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลบันทึก รายการแห่งข้อหาเหล่านั้นไว้อ่านให้โจทก์ฟัง แล้วให้โจทก์ลง ลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
หมายเหตุอ่านมาตรา 191 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 192 เมื่อศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่และศาล นั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ถ้าคดีนั้นได้ ฟ้องโดยคำแถลงด้วย

วาจา ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็น หนังสืออย่างคดีสามัญ แต่ถ้าคดีนั้นได้ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออยู่แล้ว ห้ามมิให้ศาลออกหมายเรียกอย่างอื่น

นอกจากที่บัญญัติไว้สำหรับคดี สามัญ
ถ้าคดีนั้นไม่เป็นคดีมโนสาเร่ต่อไปเนื่องจากได้มีคำฟ้องเพิ่มเติม ยื่นเข้ามาภายหลัง และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้น อย่างคดีสามัญได้ ก็ให้

ศาลดำเนินการพิจารณาไปอย่างคดีสามัญ
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดั่งกล่าวมาแล้ว ถ้าศาลไม่มีเขตอำนาจ พิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญ ให้ศาลมีคำสั่งคืนคำฟ้องนั้นไปเพื่อ ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ในกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดีมโนสาเร่และฟ้องแย้งนั้น มิใช่คดีมโนสาเร่ หรือในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีสามัญรวม กับคดีมโนสาเร่

ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีมโนสาเร่ไปอย่างคดี สามัญ แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ลักษณะคดี สถานะ ของคู่ความ หรือเหตุสมควร

ประการอื่นแล้วเห็นว่า การนำบท บัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่คดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดี สามัญเช่นว่านั้นจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วย

ความรวดเร็ว และเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ก็ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีใน ส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญนั้นอย่างคดีมโนสาเร่ได้
คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลตามวรรคสี่ ไม่กระทบถึงค่าขึ้น ศาลที่คู่ความแต่ละฝ่ายต้องชำระอยู่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเช่นว่านั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 192 วรรคสี่ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 192 วรรคห้า เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 193 ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณา โดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้ง ประเด็นแห่งคดีและจำนวน

ทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง และ ข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบ พยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลใน

วันนัด พิจารณานั้นด้วย
ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาล ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันใน ข้อที่พิพาทนั้นก่อน
ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความ
กันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การให้ศาลสอบถามคำให้การของ จำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วย วาจาก็ได้ ในกรณี

ยื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำ มาตรา 191 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาล บันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

ไว้ อ่านให้จำเลยฟัง แล้ว ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลย ยื่นคำให้การ โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และ

ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดโดยนำ มาตรา 198ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน ก็ให้ศาลดำเนินการ ต่อไปตาม

มาตรา 193ตรี มาตรา 193จัตวา และ มาตรา 193เบญจ
หมายเหตุอ่านมาตรา 193 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 193 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 193ทวิ ในคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตาม มาตรา 193 แล้ว ไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อน

คดีให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดี ต่อไป ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม มาตรา 193 แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การ

ไว้ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำ มาตรา 198ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้

ก่อนหรือในวันนัดดังกล่าว ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้บังคับตาม มาตรา 204 มาตรา 205 มาตรา 206 และ มาตรา 207 และไม่ว่าจะเป็น

กรณีใด ถ้าศาลมีคำสั่ง ให้สืบพยานก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตาม มาตรา 193ตรี มาตรา 193จัตวา และ มาตรา 193เบญจ
หมายเหตุอ่านมาตรา 193ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 193ตรี เมื่อศาลได้รับคำให้การของจำเลยตาม มาตรา 193 วรรคสาม หรือศาลมีคำสั่งให้สืบพยานตาม มาตรา 193 วรรคสี่ หรือ มาตรา 193ทวิ

วรรคสอง ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยเร็ว และให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าประสงค์ จะอ้างอิงพยานหลักฐานใด

แล้วบันทึกไว้ หรือสั่งให้คู่ความจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควร โดยในกรณีที่มิใช่การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลจะ

กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 193ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 193จัตวา ในคดีมโนสาเร่ เพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ เห็นสมควร
ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาล เรียกมาเอง ให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้วจึงให้ตัวความ หรือทนายความ

ซักถามเพิ่มเติมได้
ให้ศาลมีอำนาจซักถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม
ในการบันทึกคำเบิกความของพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร จะบันทึก ข้อความแต่โดยย่อก็ได้แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้
หมายเหตุอ่านมาตรา 193จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 193เบญจ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลนั่งพิจารณาคดี ติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเลื่อนเว้นแต่มีเหตุจำเป็น ศาลจะมีคำสั่ง เลื่อนได้ครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน
หมายเหตุอ่านมาตรา 193เบญจ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 194 คดีมโนสาเร่นั้น ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือ คำพิพากษาด้วยวาจาดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 141
มาตรา 195 นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ แก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วย

โดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 195 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
มาตรา 196 ในคดีสามัญซึ่งโจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงิน ซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธ หรือ

ตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏ ในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อ

ศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าคดีตามวรรคหนึ่งนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบท

บัญญัติในหมวดนี้ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่ มาตรา 190จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้
ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้ ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมแล้วดำเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อ

บังคับแห่งคดีสามัญได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 196 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551

กลับไปที่หน้าสารบาญหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด ส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 197 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลย มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือ ตามคำสั่งศาลให้

ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
หมายเหตุอ่านมาตรา 197 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 198 ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การให้โจทก์มีคำขอต่อ ศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้ การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้

ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้คนเป็น ฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากระบบความ
ถ้าโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไปตาม มาตรา 198ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุ

สงสัยว่าจำเลยจะไม่ทราบหมายเรียกให้ ยื่นคำให้การ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้มีการส่งหมายเรียกใหม่โดยวิธี ส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน และจะ

กำหนดเงื่อนไข อย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้จำเลยได้ทราบหมายเรียกนั้นก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 198 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 198ทวิ ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูล

และไม่ขัดต่อกฎหมายในการนี้ ศาล ยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างอิงของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่น ไปฝ่ายเดียวตาม

ที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่ง สภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยาน

หลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวและ ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาล ปฏิบัติดังนี้
(1) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน จำนวนแน่นอนให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาล เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบ

พยาน
(2) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอัน ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ ไปฝ่ายเดียว และ

ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตาม ที่เห็นว่าจำเป็น
ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานตาม มาตรานี้ มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความใน มาตรานี้ ภายใน ระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาล ยกฟ้องของโจทก์
หมายเหตุอ่านมาตรา 198ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 198ตรี ในคดีที่จำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ ให้ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ขาด

นัดยื่นคำให้การนั้นไปก่อนและดำเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ยื่นคำให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่ง

แยกจากกันมิได้ ให้ศาล รอการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดำเนินการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ยื่นคำให้การ

เสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสำหรับจำเลย ทุกคน
ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยาน ของคู่ความอื่นมิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
หมายเหตุอ่านมาตรา 198ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 199 ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาก่อนศาลวินิจฉัย ชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้ให้ศาลเห็นว่าการขาดนัด

ยื่นคำให้การนั้น มิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือเหตุอันสมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายใน กำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและ

ดำเนินกระบวนการพิจารณา ใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมิได้แจ้ง ต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดย จงใจหรือไม่มีเหตุอัน

สมควรก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบ ได้แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของ

ตนไม่ได้
ในกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามวรรคสอง หรือศาลเคย มีคำสั่งให้

พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การตาม มาตรา 199ตรี มาก่อน จำเลยนั้นจะขอยื่นคำให้การตาม มาตรานี้ อีกหรือจะร้องขอให้

พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 199 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 199ทวิ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้ การแพ้คดีศาลอาจกำหนดการอย่างใด ตามที่เห็นสมควรเพื่อส่ง คำบังคับตามคำพิพากษา

หรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนหรือศาลจะให้เลื่อนการ บังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเช่น

ว่านั้นไปภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำ ให้การนั้นให้บังคับตาม มาตรา 273 มาตรา 292 และ มาตรา 317
หมายเหตุอ่านมาตรา 199ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 199ตรี จำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้น จำเลยนั้น

อาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่
(1) ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว
(2) คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย
หมายเหตุอ่านมาตรา 199ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 199จัตวา คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาล ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้แก่จำเลยที่ขาดนัด

ยื่นคำให้การแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อ

กำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จำเลยที่ขาด นัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลย

นั้นอาจยื่นคำขอให้ พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้น ได้สิ้นสุดลงแต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอ

เช่นว่านี้ เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
คำขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเห็นที่จำเลยได้ขาดนัด ยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า หากศาลได้

พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย
หมายเหตุอ่านมาตรา 198จัตวา แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 199เบญจ เมื่อศาลได้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได ในกรณี เช่นนี้ให้ศาลแจ้ง

คำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าการ ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และ ศาลเห็นว่า

เหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ทั้ง ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้น ผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำ

ขอในกรณีเช่นนี้ถ้ามีการอุทธรณ์หรือฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์

หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี ทราบด้วย
เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม วรรคสอง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำ ให้การและคำพิพากษา

หรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว และให้ศาล

แจ้งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะ เดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะ

บังคับ เช่นนั้น เพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอก ให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลพิจารณาคดีนั้น ใหม่ตั้งแต่เวลา

ที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยให้จำเลยยื่นคำให้ การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณี ที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้

เป็นที่สุด
ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ หรือไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมมากกว่า ที่ควรจะต้องเสียค่า

ฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้นให้ถือว่าเป็นค่าฤชา ธรรมเนียมอันไม่จำเป็นตามความหมายแห่ง มาตรา 166
หมายเหตุอ่านมาตรา 199เบญจ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 199ฉ ในการที่โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลย ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 1 นี้ มาใช้ บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยว

กับฟ้องแย้งเช่นว่านั้นโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 199ฉ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543

กลับไปที่หน้าสารบาญส่วนที่ 2 การขาดนัดพิจารณา
มาตรา 200 ภายใต้บังคับ มาตรา 198ทวิ และ มาตรา 198ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาต จากศาลให้เลื่อน

คดีให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่า คู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบ

กระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 200 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 201 ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
หมายเหตุอ่านมาตรา 201 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 202 ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งคดีนั้นเสีย จากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ ดำเนินการ

พิจารณาคดีต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ไปฝ่ายเดียว
หมายเหตุอ่านมาตรา 202 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 203 ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีตาม มาตรา 201 และ มาตรา 202 แต่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ คำสั่ง

เช่นว่านี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้อง ของตนใหม่
หมายเหตุมาตรา 203 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 204 ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
หมายเหตุอ่านมาตรา 204 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 205 ในกรณีดังกล่าวมาใน มาตรา 202 และ มาตรา 204 ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจของศาลว่าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานไป ให้คู่ความฝ่ายที่

ขาดนัดทราบโดยชอบแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนวันสืบ พยานไปและกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้มีการ ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบ

พยานใหม่แก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณา โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ถ้าได้กระทำดังเช่นว่า มาแล้วคู่ความฝ่ายนั้นยังไม่มาศาลก่อน

เริ่มสืบพยานในวันที่กำหนด ไว้ในหมายนั้น ก็ให้ศาลดำเนินคดีนั้นไปดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 202 มาตรา 204 แล้วแต่กรณี
หมายเหตุอ่านมาตรา 205 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 206 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาด คดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ขาดนัดพิจารณา

นั้นหาได้ไม่ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้คู่ความที่มา ศาลเป็นฝ่ายชนะต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูล และไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้

ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อ กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 188 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี ของคู่ความที่มาศาล

โดยอนุโลม
ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัด พิจารณามาศาลภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้วและแจ้งต่อศาล ในโอกาสแรกว่าตน

ประสงค์จะดำเนินคดีเมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัด พิจารณานั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และศาลไม่เคย มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตาม

คำขอของคู่ความฝ่ายนั้นก่อนตาม มาตรา 199ตรี ซึ่งให้นำมาใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณาตาม มาตรา 207 ด้วย ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่

ในกรณี เช่นนี้หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม มาตรานี้ ไม่ได้
ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามิได้แจ้ง ต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นเป็นไปโดยจงใจ หรือไม่มีเหตุอัน

สมควรก็ดี หรือคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้อง ห้ามตามกฎหมายก็ดีให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่
(1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณานำพยาน เข้าสืบถ้าคู่ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว
(2) ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบไปแล้ว ห้ามไม่ให้ศาลยอมให้คู่ความที่ ขาดนัดพิจารณาคัด

ค้านพยานหลักฐานเช่นว่านั้น โดยวิธีถามค้าน พยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้สืบไปแล้ว หรือโดยวิธีคัดค้าน การระบุเอกสาร หรือคัดค้านคำขอที่ให้

ศาลไปทำการตรวจหรือให้ ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐาน เข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัด

พิจารณา หักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาล
(3) ในกรณีเช่นนี้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิที่จะร้องขอ ให้พิจารณาคดีใหม่
หมายเหตุอ่านมาตรา 206 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 207 เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณา แพ้คดีให้นำบทบัญญัติ มาตรา 199ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และ คู่ความฝ่ายนั้นอาจมี

คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 199ตรี มาตรา 199จัตวา และ มาตรา 199เบญจ มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 208 (ยกเลิก)
หมายเหตุอ่านมาตรา 208 ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 209 (ยกเลิก)
หมายเหตุอ่านมาตรา 209 ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543

กลับไปที่หน้าสารบาญหมวด 3 อนุญาโตตุลาการ
มาตรา 210 บรรดาคดีทั้งปวงซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความจะตกลงกันเสนอข้อพิพาทอันเกี่ยวกับประเด็น ทั้งปวงหรือแต่ข้อใดข้อ

หนึ่งให้อนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือ หลายคนเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ โดยยื่นคำขอร่วมกันกล่าวถึงข้อ ความแห่งข้อตกลงเช่นว่านั้นต่อศาล
ถ้าศาลเห็นว่าข้อตกลงนั้นไม่ผิดกฎหมาย ให้ศาลอนุญาต ตามคำขอนั้น
มาตรา 211 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดข้อความไว้เป็นอย่างอื่น การตั้งอนุญาโตตุลาการให้ใช้ข้อบังคับดั่งต่อไปนี้
(1) คู่ความชอบที่จะตั้งอนุญาโตตุลาการได้ฝ่ายละคน แต่ถ้า คดีมีโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมหลายคน ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการ เพียงคนหนึ่งแทนโจทก์ร่วม

ทั้งหมด และ คนหนึ่งแทนจำเลยร่วม ทั้งหมด
(2) ถ้าคู่ความจะตั้งอนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือหลายคน ด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน การตั้งเช่นว่านี้ให้ทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี และให้คู่ความ

ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(3) ถ้าตกลงกันให้คู่ความฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกเป็น ผู้ตั้งอนุญาโตตุลาการ การตั้งเช่นว่านี้ ให้ทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อ

ของคู่ความหรือบุคคลภายนอกนั้น แล้วส่งไปให้คู่ความอื่น ๆ
(4) ถ้าศาลไม่เห็นชอบด้วยบุคคลที่คู่ความตั้งหรือที่เสนอตั้ง เป็นอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลสั่งให้คู่ความตั้งบุคคลอื่นหรือเสนอ บุคคลอื่นตั้งเป็นอนุญาโต

ตุลาการถ้าคู่ความมิได้ตั้งหรือเสนอให้ตั้ง บุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจตั้งบุคคลใดเป็น อนุญาโตตุลาการได้ตามที่เห็นสมควร แล้วให้

ศาลส่งคำสั่งเช่นว่านี้ ไปยังอนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นและคู่ความที่เกี่ยวข้องโดยโดยทาง เจ้าพนักงานศาล
มาตรา 212 ข้อความในหมวดนี้มิได้ให้อำนาจศาลที่จะตั้ง บุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการโดยมิได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น
มาตรา 213 เมื่อบุคคลหรือคู่ความที่มีสิทธิ ได้ตั้งอนุญาโต ตุลาการขึ้นแล้ว ห้ามมิให้บุคคลหรือคู่ความนั้นถอนการตั้งเสีย เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะ

ได้ยินยอมด้วย อนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นโดยชอบนั้น ถ้าเป็นกรณีที่ศาลหรือ บุคคลภายนอกเป็นผู้ตั้ง คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะคัดค้านก็ได้ หรือถ้าเป็น

กรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตั้ง คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จะคัดค้านก็ได้ โดยอาศัยเหตุดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 11 หรือ เหตุที่อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นผู้ไร้

ความสามารถหรือไม่สามารถ ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการได้ ในกรณีที่มีการคัดค้านอนุญาโต ตุลาการดั่งว่านี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้

พิพากษา มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าการคัดค้านอนุญาโตตุลาการนั้นฟังขึ้น ให้ตั้งอนุญาโต ตุลาการขึ้นใหม่
มาตรา 214 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดค่าธรรมเนียมอนุญาโต ตุลาการไว้ อนุญาโตตุลาการชอบที่จะเสนอความข้อนี้ต่อศาลโดย ทำเป็นคำร้อง และให้

ศาลมีอำนาจมีคำสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียม ตามที่เห็นสมควร
มาตรา 215 เมื่อได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว ถ้าในข้อตกลง หรือในคำสั่งศาล แล้วแต่กรณี มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ ให้อนุญาโตตุลาการ

กำหนดประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นแล้วจดลง ในรายงานพิสดารกลัดไว้ในสำเนาคดีอนุญาโตตุลาการ
มาตรา 216 ก่อนที่จะทำคำชี้ขาด ให้อนุญาโตตุลาการฟังคู่ความ ทั้งปวงและอาจทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรในข้อพิพาทอันเสนอ มาให้พิจารณานั้น
อนุญาโตตุลาการอาจตรวจเอกสารทั้งปวงที่ยื่นขึ้นมาและฟังพยาน หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งเต็มใจมาให้การ ถ้าอนุญาโตตุลาการขอให้ศาล ส่งคำคู่ความหรือ

บรรดาเอกสารอื่น ๆ ในสำนวนเช่นว่านี้มาให้ตรวจดู ให้ศาลจัดการให้ตามคำร้องขอนั้น
ถ้าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใด ที่ต้องดำเนินทางศาล (เช่นหมายเรียกพยาน หรือให้พยานสาบานตน หรือให้ส่ง

เอกสาร) อนุญาโตตุลาการอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาล ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่า กระบวนพิจารณานั้นอยู่

ในอำนาจศาลและพึงรับทำให้ได้แล้ว ให้ ศาลจัดการให้ตามคำขอเช่นว่านี้โดยเรียกค่าธรรมเนียมศาล ตาม อัตราที่กำหนดไว้สำหรับกระบวนพิจารณาที่

ขอให้จัดการนั้นจาก อนุญาโตตุลาการ
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 215 และ มาตรานี้ อนุญาโต ตุลาการมีอำนาจที่จะดำเนินตามวิธีพิจารณาใด ๆ ตามที่เห็นสมควร ก็ได้ เว้นแต่ในข้อตกลง

จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 217 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการนั้นให้อยู่ภายในบังคับต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการหลายคน ให้ชี้ขาดตาม คะแนนเสียงฝ่ายข้างมาก
(2) ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้อนุญาโตตุลาการตั้งบุคคล ภายนอกเป็นประธานขึ้นคนหนึ่ง เพื่อออกคะแนนเสียงชี้ขาด ถ้าอนุญาโตตุลาการไม่ตกลงกัน

ในการตั้งประธาน ให้ยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน
มาตรา 218 ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 140 มาตรา 141 และ มาตรา 142 ว่าด้วย คำพิพากษา และคำสั่งของศาลมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโต

ตุลาการโดยอนุโลม
ให้อนุญาโตตุลาการยื่นคำชี้ขาดของตนต่อศาลและให้ศาลพิพากษา ตามคำชี้ขาดนั้น
แต่ถ้าศาลเห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมาย ประการใดประการหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอม พิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น

แต่ถ้าคำชี้ขาดนั้นอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลอาจให้อนุญาโตตุลาการหรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อน ภายในเวลาอันสมควรที่ศาลจะกำหนดไว้
มาตรา 219 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดข้อความไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินตามข้อตกลงเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาด เพราะ

บุคคลภายนอก ซึ่งรับมอบหมายให้เป็นผู้ตั้งอนุญาโต ตุลาการมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้น หรืออนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้น คนเดียวหรือหลายคนนั้น

ปฏิเสธไม่ยอมรับหน้าที่หรือตายเสียก่อน หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือด้วยเหตุประการอื่นไม่อาจที่จะ ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ก่อนให้คำชี้ขาด

หรือปฏิเสธหรือเพิกเฉย ไม่กระทำตามหน้าที่ของตนภายในเวลาอันสมควรถ้าคู่ความไม่ สามารถทำความตกลงกันเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าข้อตกลงนั้น

เป็นอันสิ้นสุด
มาตรา 220 ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินตาม ข้อตกลงเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หรือมีข้อพิพาท กันว่าข้อตกลงนั้นได้สิ้น

สุดลงตาม มาตราก่อนแล้วหรือหาไม่ ข้อ พิพาทนั้นให้เสนอต่อศาลที่เห็นชอบด้วยข้อตกลงดั่งกล่าวแล้ว
 มาตรา 221 การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
หมายเหตุอ่านมาตรา 221 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2530
มาตรา 222 ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลซึ่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษา ตามคำสั่งชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หรือคำพิพากษาของศาล ตามคำชี้ขาด

ของอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้ออ้างแสดงอนุญาโตตุลาการหรือประธานมิได้กระทำ การโดยสุจริต หรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉล
(2) เมื่อคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยว ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อคำพิพากษานั้นไม่ตรงกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

 


ป.วิ แพ่ง น.2

    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld