ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 44 คน
 สถิติเมื่อวาน 26 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
743 คน
6114 คน
379430 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ






 

ภาค3 อุทธรณ์และฎีกา 
ลักษณะ1 อุทธรณ์ 
มาตรา 223 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 138 มาตรา 168 มาตรา 188 และ มาตรา 222 และในลักษณะนี้ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นให้ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด
มาตรา 223ทวิ ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทำเป็น คำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย อุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายใน กำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดย ตรงต่อศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคำร้องในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้องให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223 คำสั่งของศาล ชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคำร้องในกรณีนี้ให้เป็น ที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าเป็นการ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ไปยังศาลฎีกาภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง
ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลฎีกาส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ชี้ขาดต่อไป
หมายเหตุอ่านมาตรา 223ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 224 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้ง หรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือ จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณี
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่น คำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น รับรองว่ามี เหตุอันควรอุทธรณ์ได้ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อม กับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าว เพื่อพิจารณารับรอง
หมายเหตุอ่านมาตรา 224 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใด ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความ ที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 225 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 226 ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัด สินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ มาตรา 228
(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลง ไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายใน กำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งให้รับคำฟ้อง ไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มี การยื่นคำฟ้องต่อศาล นอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ มาตรา 228 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
หมายเหตุอ่านมาตรา 226 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 227 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความ ตาม มาตรา 18 หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาและให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
มาตรา 228 ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคำสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจำขังผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้
(2) มีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความใน ระหว่างการพิจารณา หรือมีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดี ตามคำพิพากษาต่อไป หรือ
(3) ไม่รับหรือคืนคำคู่ความตาม มาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หาก เสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ
คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไป
แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลดำเนินคดีต่อไป และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแต่ถ้าในระหว่าง พิจารณาคู่ความอุทธรณ์คำสั่งชนิดที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (3) ถ้าศาล อุทธรณ์เห็นว่าการกลับหรือแก้ไขคำสั่งที่คู่ความอุทธรณ์นั้นจะเป็น การวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อใดที่ศาลล่างมิได้ วินิจฉัยไว้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลล่างงดการพิจารณา ไว้ในระหว่างอุทธรณ์ หรืองดการวินิจฉัยคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะ ได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น
ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความใน มาตรา 223
หมายเหตุมาตรา 228 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 229 การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวาง ศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่ง เป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 235 และ มาตรา 236
มาตรา 230 คดีตาม มาตรา 224 ถ้าคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ให้ศาลชั้นต้นตรวจเสียก่อนว่าฟ้องอุทธรณ์นั้นจะรับไว้พิจารณาได้ หรือไม่
ถ้าผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีนั้นมีความเห็นแย้ง หรือได้รับรองไว้ แล้วหรือรับรองในเวลาที่ตรวจอุทธรณ์นั้น ว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาใน ปัญหาข้อเท็จจริงดั่งกล่าวแล้ว
ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่กล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถ้าอธิบดีผู้ พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น ผู้ อุทธรณ์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้ พิพากษาภาคภายในเจ็ดวัน เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาล ส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดี ผู้พิพากษาภาค เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลนั้น คำสั่ง ของอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคเช่นว่านี้ ให้เป็นที่สุด
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ห้ามศาลในอันที่จะมีคำสั่งตาม มาตรา 232 ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ในเหตุอื่น หรือในอันที่ศาลจะมีคำสั่งให้ส่ง อุทธรณ์นั้นไปเท่าที่เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
หมายเหตุมาตรา 230 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 231 การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์ อาจยื่นคำขอต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา โดยทำ เป็นคำร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการ บังคับไว้
คำขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้จนถึงเวลาที่ศาล มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าภายหลังศาลได้มีคำสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก็ให้ศาลรีบส่ง คำขอนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อ ศาลชั้นต้นได้รับคำขอไว้ก็ให้มีอำนาจทำคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้รอ คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคำขอเช่นว่านั้น
ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้น เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตาม คำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจ ของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 (1)
เมื่อได้รับคำขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้โดยมิต้องฟ้องคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าคำสั่งนี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะ ได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการ บังคับไว้ตามที่ขอ คำสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้ายจำหน่ายทรัพย์สิน ของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมาให้ศาลให้พอกับเงินที่ ต้องใช้ตามคำพิพากษา หรือจะให้วางเงินจำนวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้ อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ศาลจะสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคำสั่งให้เอาออกขายทอดตลาดก็ได้ถ้า ปรากฏว่าการขายนั้นเป็นการจำเป็น และสมควรเพราะทรัพย์สินนั้น มีสภาพเป็นของเสียได้ง่ายหรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ น่าจะนำไปสู่ความยุ่งยาก หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
มาตรา 232 เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าศาลปฏิเสธไม่ส่งให้ศาลแสดง เหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคำสั่งทุกเรื่องไป ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่น อุทธรณ์ ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้นในคำสั่งฉบับเดียวกัน ก็ได้
มาตรา 233 ถ้าศาลยอมรับอุทธรณ์และมีความเห็นว่าการอุทธรณ์ นั้นคู่ความที่ศาลพิพากษาให้ชนะจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ให้ศาลมีอำนาจกำหนดไว้ในคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำเงินมาวางศาลอีก ให้พอกับจำนวนค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องเสียดั่งกล่าวแล้ว ตาม อัตราที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ หรือ ภายในระยะเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรอนุญาตหรือตามแต่ผู้ อุทธรณ์ไม่นำเงินจำนวนที่กล่าวข้างต้น มาวางศาลภายในกำหนด เวลาที่อนุญาตไว้ก็ให้ศาลยกอุทธรณ์นั้นเสีย
มาตรา 234 ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์ คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษา หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง
หมายเหตุอ่านมาตรา 234 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 235 เมื่อศาลชั้นต้นได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ นั้นให้แก่จำเลยอุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือถ้าจำเลยอุทธรณ์ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายใน กำหนดเจ็ดวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน มาตรา 237 สำหรับ การยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ ถ้าหากมีพร้อมทั้งสำนวนและหลักฐานต่าง ๆ ไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ได้รับฟ้องอุทธรณ์และสำนวนความไว้แล้ว ให้นำคดีลง สารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน
มาตรา 236 เมื่อคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ ยอมรับอุทธรณ์ ให้ศาลส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดย ไม่ชักช้าพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและ ฟ้องอุทธรณ์ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ให้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้อง แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาล ชั้นต้น หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุด แล้วส่งไปให้ ศาลชั้นต้นอ่าน
เมื่อได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นส่ง สำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ และภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่ วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือนับแต่ระยะเวลาที่กำหนด ไว้ใน มาตรา 237 สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาล ส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้ อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความ เช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน
มาตรา 237 จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัด เพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์
มาตรา 238 ภายใต้บังคับ มาตรา 243 (3) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่ เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาล อุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยาน หลักฐานในสำนวน
หมายเหตุมาตรา 238 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 239 อุทธรณ์คำสั่งนั้นจะต้องพิจารณาก่อนอุทธรณ์ คำพิพากษาเท่าที่สามารถจะทำได้ แม้ถึงว่าอุทธรณ์คำพิพากษา นั้นจะได้ลงไว้ในสารบบความของศาลอุทธรณ์ก่อนอุทธรณ์คำสั่ง นั้นก็ดี
หมายเหตุมาตรา 239 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 240 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่ พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่
(1) ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 241 แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาศาล ในวันกำหนดนัดศาลอุทธรณ์อาจดำเนินคดีไปได้ และคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นไม่ให้ถือเป็นคำพิพากษาโดยขาดนัด
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่เป็นที่พอใจในการพิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์และพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 238 และเฉพาะในปัญหาที่อุทธรณ์ ให้ศาลมีอำนาจ ที่จะกำหนดประเด็นทำการสืบพยานที่สืบมาแล้ว หรือพยานที่ เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีโดยทั่ว ๆ ไปดั่งที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายนี้สำหรับการพิจารณาในศาลชั้นต้น และให้นำ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(3) ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าศาลอุทธรณ์ เห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณา หรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอัน เป็นสารสำคัญในประเด็น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษา ไปตามรูปความ
มาตรา 241 ถ้าคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะมาแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นศาลอุทธรณ์ ให้ขอมาในตอนท้ายคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำแก้ อุทธรณ์แล้วแต่กรณีและให้ศาลอุทธรณ์กำหนดนัดฟังคำแถลงการณ์ ด้วยวาจานั้น เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่คดี จะสั่งงดฟังคำแถลงการณ์เสียก็ได้ ในกรณี ที่ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบ ที่จะไปแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ด้วย ถึงแม้ว่าตน จะมิได้แสดงความประสงค์ไว้
การแถลงการณ์ด้วยวาจา ผู้ขอแถลงเป็นผู้แถลงก่อน แล้วอีก ฝ่ายหนึ่งแถลงแก้ แล้วผู้ขอแถลง แถลงได้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าขอแถลง ทั้งสองฝ่ายให้ผู้อุทธรณ์แถลงก่อน ถ้าทั้งสองฝ่ายอุทธรณ์และต่าง ขอแถลง ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง
หมายเหตุมาตรา 241 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 242 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความ ทั้งปวงหรือสืบพยานต่อไปดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการหนึ่งในสี่ ประการนี้
(1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ให้ยกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกต้อง ไม่ว่าโดยเหตุเดียวกันหรือเหตุอื่น ก็ให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นนั้น
(3) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้อง ให้กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย และพิพากษาในปัญหาเหล่า นั้นใหม่
(4) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกแต่ บางส่วนและผิดบางส่วน ก็ให้แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไปตามนั้น โดยพิพากษายืนบางส่วนกลับบางส่วน และมีคำพิพากษาใหม่แทน ส่วนที่กลับนั้น
หมายเหตุมาตรา 242 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518
มาตรา 243 ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ด้วยคือ
(1) เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามี เหตุอันสมควรก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิพากษา หรือมีคำสั่งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นอาจประกอบด้วยผู้พิพากษา อื่นนอกจากที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งมาแล้ว และคำพิพากษาหรือ คำสั่งใหม่นี้อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นอย่างอื่น นอกจากคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถูกยกได้
(2) เมื่อคดีปรากฏที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา หรือมีเหตุที่ศาลได้ปฏิเสธไม่สืบ พยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอและศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น แล้ว กำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาคณะเดิม หรือผู้ พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร พิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่
(3) ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ถ้าปรากฏว่า
(ก) การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์อาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น หรือ
(ข) ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัย ข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์อาจทำคำสั่งให้ยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้ พิพากษาคณะเดิม หรือผู้พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใด ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรพิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยดำเนินตามคำชี้ขาดของศาลอุทธรณ์แล้วมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปความ ทั้งนี้ไม่ว่าจะปรากฏ จากการอุทธรณ์หรือไม่
ในคดีทั้งปวงที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งใหม่ตาม มาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่เช่นว่านี้ ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้
หมายเหตุมาตรา 243 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 244 ศาลอุทธรณ์จะอ่านคำพิพากษานั้นเองหรือจะส่งไป ให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้ ในกรณีเหล่านี้ให้ศาลที่อ่านคำพิพากษามีคำสั่ง กำหนดนัดวันอ่านส่งให้แก่คู่ความอุทธรณ์ทุกฝ่าย
มาตรา 245 คำพิพากษาหรือคำสั่งชั้นอุทธรณ์ให้มีผลเฉพาะ ระหว่างคู่ความชั้นอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์นั้นเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ อันไม่อาจแบ่งแยกได้ และคู่ความแต่บางฝ่ายเป็นผู้อุทธรณ์ซึ่งทำให้ คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีผลเป็นที่สุดระหว่างคู่ความอื่น ๆ ถ้า ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรกลับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์ ให้ศาล อุทธรณ์มีอำนาจชี้ขาดว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้มีผล ระหว่างคู่ความทุกฝ่ายในคดีศาลชั้นต้นด้วย
(2) ถ้าได้มีการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีแทนคู่ความฝ่ายใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมมีผลบังคับแก่คู่ความฝ่ายนั้นด้วย
มาตรา 246 เว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ดังกล่าวมาข้างต้น บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีใน ศาลชั้นต้นนั้น ให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม

ลักษณะ2 ฎีกา 
มาตรา 247 ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น และภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
หมายเหตุมาตรา 247 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 248 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดี ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควร ที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับ อนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออก จากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคำฟ้อง ไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้าม ฎีกาข้อเท็จจริงตามวรรคสอง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ไม่ว่า ศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ หรือไม่ ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะได้มีความเห็นแย้งหรือ คำรับรอง หรือหนังสืออนุญาตให้ฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น หรือศาล อุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรมี่จะฎีกาได้ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึง ผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับ คำร้องเช่นว่านั้น ให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้ พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง
หมายเหตุอ่านมาตรา 248 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 249 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 250 (ยกเลิก)
หมายเหตุมาตรา 250 ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 251 ถ้าคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับให้ตนชนะในข้อสารสำคัญอย่างใด อย่างหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ถอนการยึด หรืออายัดทรัพย์สินหรือคืนเงินจำนวนที่วางไว้ต่อศาลในข้อนั้น ๆ ก็ได้
มาตรา 252 ถ้าคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ยอมรับฎีกา ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมกับฎีกา และ คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลฎีกาเห็นจำเป็นจะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลล่าง ส่งสำนวนนั้นไปยังศาลฎีกา

ภาค4 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษา 
ลักษณะ1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา 
หมวด1 หลักทั่วไป 
มาตรา 253 ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน อยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักรหรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะ หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจ ยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่ เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือ หาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด โดย จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ ดำเนินการพิจารณาต่อไปหรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง
หมายเหตุอ่านมาตรา 253 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็น การสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งว่าด้วยการชั่วคราวก่อนพิพากษาเสียใหม่ โดยกำหนดให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกาได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลยในกรณีที่ ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ว่าโจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและปรับปรุงวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาให้คุมถึงการขอให้ระงับแก้ไข หรือเพิกถอน การดำเนินการทางทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง กับแก้ไข ผลบังคับของคำสั่งศาลตามคำขอในวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ให้มีผล ใช้บังคับได้ทันทีรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้ สอดคล้องกันด้วย เพื่อให้มาตรการในการคุ้มครองโจทก์ในระหว่าง การพิจารณาของศาลและการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้จำเลยมี สิทธิจะขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจาก การถูกบังคับโดยวิธีการชั่วคราว และการพิจารณาคำขอดังกล่าว เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของจำเลยชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้
มาตรา 253ทวิ ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม มาตรา 253 วรรคหนึ่ง จำเลย อาจยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีไม่ว่าเวลา ใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือ หาประกันมาให้เพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา คำร้องตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความ ไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
ให้นำความใน มาตรา 253 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับ แก่การพิจารณา ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม"
หมายเหตุอ่านมาตรา 253ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 254 ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่น ต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาซึ่งคำขอ ฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าว ต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย ทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สิน ของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย
(2) ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำ ต่อไปซึ่ง การละเมิดหรือการผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจ ได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย หรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราว มิให้จำเลยโอนขายยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไป เปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึง ที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(3) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหรือการเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับ การกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ ไปจนถึงเวลา ที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 254 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 255 ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตาม มาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่ จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (1) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) จำเลยตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตน ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือจะโอน ขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับคาม คำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยหรือเพื่อจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ หรือ
(ข) มีเหตุจำเป็นอื่นใด ตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการ ยุติธรรมและสมควร
(2) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (2) ต้อง ให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) จำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง
(ข) โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจากการ กระทำของจำเลย
(ค) ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้นมีพฤติการณ์ ว่าจะมีการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่น หรือ
(ง) มีเหตุตาม (1) (ก) หรือ (ข)
(3) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (3) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) เป็นที่เกรงว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีการจดทะเบียน แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนทางทะเบียนการ จดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย หรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือ
(ข) มีเหตุตาม (1) (ข)
(4) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (4) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเพื่อที่จะประวิงหรือขัดขวางต่อการพิจารณา คดีหรือการบังคับตามคำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือเพื่อจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ
(ก) จำเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่งของศาล
(ข) จำเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอำนาจศาลหรือซุกซ่อนเอกสาร ใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่า จะใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในคดี ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาหรือทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของ จำเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเป็นที่เกรงว่าจำเลยจะจำหน่าย หรือทำลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ
(ค) ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จำเลยประกอบการงานหรือ การค้าของตนว่าจำเลยจะหลีกหนี หรือพอเห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้ พ้นอำนาจศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 255 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 256 ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (2)หรือ (3) ถ้าศาลเห็นว่าหากให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อนจะ ไม่เสียหายแก่โจทก์ ก็ให้ศาลแจ้งกำหนดวันนั่งพิจารณาพร้อมทั้ง ส่งสำเนาคำขอให้แก่จำเลยโดยทางเจ้าพนักงานศาล จำเลย จะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่งพิจารณาคำขอนั้นก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 256 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 257 ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 ได้ภายในขอบเขตหรือโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แล้ว แต่จะเห็นสมควร
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ศาล จะกำหนดวิธีการโฆษณาตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการฉ้อฉลก็ได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยที่กฎหมาย กำหนดไว้ให้จดทะเบียน หรือมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้า หน้าที่หรือบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว หรือที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกฟ้อง ร้องให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทราบ และให้บุคคลดังกล่าว บันทึกคำสั่งของศาลไว้ในทะเบียน
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก่อนที่จะศาลจะออกหมายยึด หมายอายัด หมายห้ามชั่วคราว หมายจับหรือคำสั่งใดๆ ศาลจะสั่งให้ผู้ขอนำ เงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชำระ ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจำเลยอาจได้รับตาม มาตรา 263 ก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 257 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 258 คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (1) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีแล้วแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ โดยไม่ชักช้าแต่จะใช้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอน โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบมิได้
คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีถึงแม้ว่าจำเลยจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้น ก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควร ให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว
คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้น มีผลใช้บังคับ ได้ทันที ถึงแม้ว่านายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มี อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควร ให้คำสั่ง มีผลบังคับเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว
คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) ที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องให้มีผลใช้บังคับแก่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว
หมายจับจำเลยที่ศาลออกตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (4) ให้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร การกักขังตามหมายจับเช่นว่านี้ ห้ามมิให้กระทำเกินหกเดือนนับแต่วันจับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 258 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 258ทวิ การที่จำเลยได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่ง ของศาลที่ห้ามโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่าย ซึ่งออกตามคำขอที่ ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) มีผลใช้บังคับแล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่ โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้น เกินกว่าจำนวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการ บังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้น ก็ตาม
การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ ได้ยื่น ตาม มาตรา 254 (3) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นหาใช้ยันแก่โจทก์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับ โอนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก่อนที่นายทะเบียน พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะได้รับแจ้ง คำสั่ง
การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ภายหลังที่บุคคลดังกล่าว ได้รับแจ้งคำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอ ที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) แล้วนั้นยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ในระหว่างใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
หมายเหตุอ่านมาตรา 258ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 259 ให้นำบทบัญญัติลักษณะ 2 แห่งภาคนี้ว่าด้วยการ บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษาด้วย โดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 259 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 260 ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้ กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการ พิจารณา
(1) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีเต็มตามข้อหา หรือบางส่วนคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวในส่วนที่จำเลย ชนะคดีนั้น ให้ถือว่าเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่โจทก์จะได้ยื่นคำขอฝ่ายเดียว ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแสดงว่าตนประสงค์จะยื่น อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และมีเหตุอันสมควร ที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอของโจทก์ คำสั่ง ของศาลให้เป็นที่สุด ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ศาลให้วิธีการชั่วคราว ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุด ไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(2) ถ้าศาลนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งของศาล เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
หมายเหตุอ่านมาตรา 260แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 261 จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึดหมาย อายัดหรือ คำสั่งตาม มาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมาย ยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอ ต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึดหรือหมายอายัดซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้ แต่ถ้า บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้าน คำสั่งอายัดให้นำ มาตรา 288 หรือ มาตรา 312 แล้วแต่กรณีมา ใช้บังคับโดยอนุโลม
จำเลยซึ่งถูกศาลออกคำสั่งจับกุมตาม มาตรา 254 (4) อาจมี คำขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่งถอนหมายหรือปล่อยตัวไปโดยไม่มี เงื่อนไขหรือให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวโดยมีหลักประกันตามจำนวน ที่ศาลเห็นสมควรหรือไม่ก็ได้
ถ้าปรากฏว่าวิธีการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุผล เพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตาม คำขอหรือมีคำสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ได้ ทั้งนี้ศาลจะกำหนดให้ผู้ขอวางเงินต่อศาล หรือหา ประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรหรือจะ กำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ในกรณีที่เป็นการ ฟ้องเรียกเงิน ห้ามไม่ให้ศาลเรียกประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ฟ้อง รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม
หมายเหตุอ่านมาตรา 261 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 262 ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลัก ในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อจำเลยหรือบุคคล ภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 261 มีคำขอศาลที่คดีนั้นอยู่ใน ระหว่างพิจารณา จะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสีย ก็ได้
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่นว่านั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 262 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 263 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการ ชั่วคราวตามลักษณะนี้ จำเลยซึ่งต้องถูกบังคับโดยวิธีการนั้น อาจยื่น คำขอต่อศาลชั้นต้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาของศาล ที่มีคำสั่งตามวิธีการชั่วคราวนั้นขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ตนได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) คดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้ และปรากฏว่าศาลมี คำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ขอมีมูล โดยความ ผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
(2) ไม่ว่าคดีนั้นศาลจะชี้ขาดตัดสินให้โจทก์ชนะหรือแพ้คดี ถ้า ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าวิธีการเช่นว่านี้มี เหตุผลเพียงพอโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณา เป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้ว เห็นว่าคำขอนั้นรับฟังได้ก็ให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่จำเลยได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาลที่มีคำสั่งตาม วิธีการชั่วคราวเป็นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นทำการ ไต่สวนแล้วให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เป็น ผู้สั่งคำขอนั้น ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมีอำนาจบังคับ โจทก์เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ในกรณีที่ศาลมี คำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม (1) ให้งดการบังคับ คดีไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์แพ้คดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้อุทธรณ์ หรือฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา
หมายเหตุอ่านมาตรา 263 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 264 นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 และ มาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อให้มีคำสั่งกำหนด วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือ เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาท มาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอกหรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก
คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตาม มาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และ มาตรา 262
หมายเหตุอ่านมาตรา 264 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 265 ในกรณีที่ศาลยอมรับเอาบุคคลเป็นประกันตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้และบุคคลนั้นแสดงกิริยาซึ่งพอจะเห็น ได้ว่าจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ หรือจะหลีกเลี่ยง ขัดขวางหรือกระทำ ให้เนิ่นช้าซึ่งการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ให้นำบทบัญญัติแห่งหมวด นี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 265 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538

หมวด2 คำขอในเหตุฉุกเฉิน 
มาตรา 266 ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเมื่อโจทก์ยื่นคำขอตาม มาตรา 254 โจทก์จะยื่นคำร้องรวมไปด้วยเพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามที่ขอโดยไม่ชักช้าก็ได้
เมื่อได้ยื่นคำร้องเช่นว่ามานี้ วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอนั้นให้อยู่
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 267 มาตรา 268 และ มาตรา 269
หมายเหตุอ่านมาตรา 266 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 267 ให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน ถ้าเป็นที่พอใจ จากคำแถลงของโจทก์หรือพยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบหรือ ที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่า คดีนั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉิน และคำขอนั้น มีเหตุผลสมควรอันแท้จริงให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่ขอ ภายในขอบเขต และเงื่อนไขไปตามที่เห็นจำเป็นทันที ถ้าศาลมี คำสั่งให้ยกคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
จำเลยอาจยื่นคำขอโดยพลัน ให้ศาลยกเลิกคำสั่งหรือหมาย นั้นเสีย และให้นำบทบัญญัติแห่งวรรคก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำขอเช่นว่านี้อาจทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉิน หรือยกเลิกคำสั่งที่ได้ออกตาม คำขอในเหตุฉุกเฉินนั้นย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำเสนอคำขอ ตาม มาตรา 254 นั้นใหม่
หมายเหตุอ่านมาตรา 267 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 268 ในกรณีที่มีคำขอในเหตุฉุกเฉิน ให้ศาลมีอำนาจที่ จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าคดีนั้นมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ ส่วนวิธีการที่ ศาลจะกำหนดนั้น หากจำเป็นต้องเสื่อมเสียแก่สิทธิของคู่ความใน ประเด็นแห่งคดี ก็ให้เสื่อมเสียเท่าที่จำเป็นแก่กรณี
หมายเหตุอ่านมาตรา 268 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 269 คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ให้มีผลบังคับตามที่บทบัญญัติไว้ใน มาตรา 258 และ มาตรา 258ทวิ อนึ่ง ศาลจะสั่งให้โจทก์รอการบังคับไว้ จนกว่าศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาด คำขอให้ยกเลิกคำสั่งหรือจนกว่าโจทก์จะได้วางประกันก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 269 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
มาตรา 270 บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับแก่คำขออื่น ๆนอกจากคำขอตาม มาตรา 254 ได้ต่อเมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง
หมายเหตุอ่านมาตรา 270 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538

ลักษณะ2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง 
หมวด1 หลักทั่วไป  
มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
มาตรา 272 ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างใดซึ่งจะต้องมี การบังคับคดี ก็ให้ศาลมีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับ ในวันที่อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับ นั้นไปยังลูกนี้ตามคำพิพากษา เว้นแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้อยู่ ในศาลในเวลาที่ศาลมีคำบังคับนั้น และศาลได้สั่งให้ลงลายมือชื่อไว้ เป็นสำคัญ
หมายเหตุอ่านมาตรา 272 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 273 ถ้าในคำบังคับได้กำหนดให้ใช้เงิน หรือให้ส่งทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใด ๆ ให้ศาลระบุไว้ใน คำบังคับนั้นโดยชัดแจ้ง ซึ่งระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ อันจะต้อง ใช้เงิน ส่งทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ นั้น แต่ถ้า เป็นคดีมโนสาเร่ ศาลไม่จำต้องให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าสิบห้าวันในอันที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งโดยขาดนัด ให้ศาลให้เวลาไม่ต่ำ กว่าเจ็ดวันแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดในอันที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้น
ระยะเวลาที่ระบุไว้นั้น ให้เริ่มนับแต่วันที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้ลงลายมือชื่อไว้ในคำบังคับ หรือวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ ตามคำพิพากษา แล้วแต่กรณี เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดไว้โดยชัด แจ้งว่าให้นับตั้งแต่วันใดวันหนึ่งในภายหลังต่อมาตามที่ศาลจะเห็น สมควรกำหนดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
นอกจากนี้ให้ศาลระบุไว้โดยชัดแจ้งในคำบังคับว่าในกรณีที่มิได้มี การปฏิบัติตามคำบังคับเช่นว่านี้ภายในระยะเวลาหรือภายในเงื่อนไข ที่ได้กำหนดไว้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องถูกยึดทรัพย์หรือถูกจับ และจำขังดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 273 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 274 ถ้าบุคคลใด ๆ ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลโดยทำหนังสือประกันหรือโดยวิธีอื่น ๆ เพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษา หรือคำสั่งหรือแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับแก่การประกันนั้นได้ โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันขึ้นใหม่
มาตรา 275 ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาล เพื่อให้ออกหมายบังคับคดี
คำขอนั้นให้ระบุโดยชัดแจ้ง
(1) คำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดีตามนั้น
(2) จำนวนที่ยังมิได้รับชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
(3) วิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้น
มาตรา 276 ถ้าศาลเห็นว่าคำบังคับที่ขอให้บังคับนั้นได้ส่งให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงลายมือชื่อ ไว้เป็นสำคัญแล้วและระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตาม คำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้วและคำขอนั้นมีข้อความระบุไว้ครบถ้วน ให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้ทันทีหมายเช่นว่านี้ให้ศาลแจ้งให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นจะได้ นำหมายไปให้แก่เจ้าพนักงานเอง ส่วนลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ให้ส่งสำเนาหมายให้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้จัดการส่ง แต่ถ้ามิได้มีการส่งหมายดั่งกล่าวแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีหน้าที่ต้องแสดงหมายนั้น
ในกรณีออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งโดย เฉพาะ ถ้าศาลสงสัยว่าไม่สมควรยึดทรัพย์สินนั้น ศาลจะมีคำสั่งให้ ผู้ขอยึดวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสม ควรในเวลาที่ออกหมายก็ได้ เพื่อป้องกันการบุบสลายหรือสูญหายอัน จะพึงเกิดขึ้นเนื่องจากการยึดทรัพย์ผิด
ในกรณีที่ออกหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาส่งมอบ ทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับ คดีลงในหมายนั้นตาม มาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ศาลกำหนดการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่ง การบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงาน บังคับคดี
หมายเหตุอ่านมาตรา 276 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 276 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2543
มาตรา 277 ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตาม คำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาล ขอให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกลูกหนี้ ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอัน เป็นประโยชน์มาในการไต่สวนเช่นว่านั้น
เมื่อมีคำขอเช่นว่านี้ ให้ศาลทำการไต่สวนตามกำหนดและเงื่อนไข ใด ๆ ที่เห็นสมควร
ในคดีมโนสาเร่ หากศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลจะออกหมาย เรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นมาไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนออกหมายบังคับคดี แล้วจดแจ้งผล การไต่สวนไว้ในหมายบังคับคดีด้วยก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 277 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 278 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งภาคนี้ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี นับแต่วันที่ได้ส่งหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือถ้าหมายนั้นมิได้ส่งนับแต่วันออกหมายนั้นเป็นต้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด ทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้น และดำเนินวิธีการบังคับทั่ว ๆ ไปตามที่ศาลได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดี รวมทั้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีได้โดยให้ถือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รับผิดในการรักษาไว้โดยปลอดภัย ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือเอกสารทั้งปวงที่ยึดมาหรือที่ได้ชำระ หรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานตามหมายบังคับคดี
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบันทึกแล้วรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งวิธีการบังคับทั้งหลายที่ได้จัดทำไป และรายงานต่อศาลเป็นระยะ ๆ ไป
ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้หักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ เพื่อให้กรมบังคับคดีพิจารณาจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคสี่ โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
หมายเหตุอ่านมาตรา 278 วรรคหนึ่ง แก้ไขเโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 25) พ.ศ.2551
อ่านมาตรา 278 วรรคสี่ และวรรคห้า เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
มาตรา 278/1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งตามลักษณะ 2 แห่งภาคนี้ และให้รายงานการส่งเอกสารนั้นรวมไว้ในสำนวนการบังคับคดีด้วย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 76 มาตรา 77 มาตรา 78 และ มาตรา 80 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
นอกจากการส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้ผู้มีหน้าที่นำส่งเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมไปรษณียากร กรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าเอกสารที่ส่ง โดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ส่งและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 74 มาตรา 76 และ มาตรา 77 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าการส่งเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งให้ส่งเอกสารโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือ ปิดเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในเอกสาร หรือมอบหมายเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศแสดงการที่ได้มอบหมายดังกล่าวแล้ว หรือลงโฆษณา หรือทำวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้น ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่เอกสาร หรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นใด ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 278/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 25) พ.ศ.2551
มาตรา 279 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดี แต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล
ในกรณีที่จะดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจ เท่าที่มีความจำเป็นเพื่อที่จะค้นสถานที่ใด ๆ อันเป็นของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาหรือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ปกครองอยู่เช่น บ้านที่อยู่ คลังสินค้า โรงงาน และร้านค้าขาย ทั้งมีอำนาจที่จะยึดและตรวจสมุด บัญชี หรือแผ่นกระดาษ และกระทำการใด ๆ ตามสมควร เพื่อเปิด สถานที่หรือบ้านที่อยู่หรือโรงเรือนดั่งกล่าวแล้ว รวมทั้งตู้นิรภัย ตู้หรือ ที่เก็บของอื่น ๆ
ถ้ามีผู้ขัดขวาง เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะร้องขอความ ช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการบังคับคดีจนได้
มาตรา 280 เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาคนี้ บุคคลต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(1) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และในกรณี ที่มีการอายัดสิทธิเรียกร้องลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น
(2) บุคคลอื่นใดซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบ หรือที่ได้ยื่นคำร้องขอตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 288 มาตรา 289 และ มาตรา 290
อันเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องเช่นว่ามานั้น เว้นแต่คำร้องขอ เช่นว่านี้จะได้ถูกยกเสียในชั้นที่สุด
มาตรา 281 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอาจมาอยู่ ด้วยในเวลาบังคับคดีนั้น แต่ต้องไม่ทำการป้องกันหรือขัดขวางแก่การ บังคับคดี บุคคลที่กล่าวนั้นอาจร้องขอสำเนาบันทึกที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีทำขึ้นทั้งสิ้นหรือแต่บางฉบับอันเกี่ยวด้วยวิธีการบังคับคดี นั้นโดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้
มาตรา 282 ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงิน จำนวนหนึ่งภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้า มาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชำระตามคำพิพากษา หรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่าง และอสังหาริมทรัพย์
(2) โดยวิธีอายัดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสิทธิทั้งปวงอันมีอยู่ในทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งบุคคลภายนอกจะ ต้องส่งมอบหรือโอนมายังลูกหนี้ตามคำพิพากษาในภายหลัง และเมื่อ ได้ส่งมอบหรือโอนมาแล้วเอาทรัพย์สินหรือสิทธิเหล่านั้นออกขาย หรือจำหน่าย ในกรณีเช่นว่านี้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจะยึด บรรดาเอกสารทั้งปวงที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ในอันที่จะได้รับส่งมอบหรือ รับโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่ามานั้น
(3) โดยวิธีอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ ตามคำพิพากษาในภายหลัง แล้วเรียกเก็บตามนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะยึดบรรดาเอกสารทั้งปวงที่ให้ สิทธิแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระเงินเช่นว่านั้น
(4) โดยวิธียึดเอกสารอื่น ๆ ทั้งปวง เช่นสัญญากระทำการงาน ต่าง ๆ ซึ่งได้ชำระเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแล้ว ซึ่งการบังคับตาม สัญญาเช่นว่านี้อาจทวีจำนวนหรือราคาทรัพย์ของลูกหนี้ตาม คำพิพากษา และเพื่อที่จะนำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 310 (4) มาใช้บังคับ
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ทรัพย์สินที่เป็นของภรรยาหรือที่เป็น ของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งตามกฎหมายอาจ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สิน ที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดี อาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้ตามที่บัญญัติไว้ข้างบนนี้
มาตรา 283 ถ้าจะต้องยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามความในมาตราก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบ ที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา อ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 284 และ มาตรา 288
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลา อันควรต้องทำ โดยปราศจากความระมัดระวังหรือโดยสมรู้เป็นใจ กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลใดซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จะ ต้องยึด หรือเพิกเฉยไม่กระทำการโดยเร็วตามสมควร เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาผู้ต้องเสียหายเพราะการนั้น อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์ ถ้าศาลไต่สวนเป็นที่พอใจว่าข้ออ้างนั้นเป็น ความจริง ก็ให้ศาลมีคำสั่งว่าเจ้าพนักงานผู้นั้นตกอยู่ในความรับผิดจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาไม่ เกินกว่าจำนวนตามคำพิพากษา ถ้าเจ้าพนักงานไม่ชำระค่าสินไหม ทดแทนตามคำสั่งของศาล ศาลอาจออกหมายบังคับเอาแก่ทรัพย์สิน ของเจ้าพนักงานผู้นั้นได้ แต่ถ้าเจ้าพนักงานมีความสงสัยในการยึด หรืออายัดทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำชี้ดั่งกล่าวแล้ว ซึ่งบุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลซึ่งเป็นเจ้า ของทรัพย์ที่ยึดนั้นมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน เจ้าพนักงานนั้นชอบ ที่จะงดเว้นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และร้องต่อศาลให้กำหนดการ อย่างใด ๆ เพื่อมิให้ตนต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนดั่งกล่าวมาแล้ว
มาตรา 284 เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือศาลจะได้มี คำสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี อนึ่งถ้าได้เงินมาพอ จำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดออก ขายทอดตลาดหรือจำนำด้วยวิธีอื่น
ความรับผิดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือต่อบุคคลภายนอกเพื่อ ความเสียหาย ถ้าหากมี อันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดย มิชอบ หรือยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีนั้นย่อม ไม่ตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ตกอยู่แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เว้นแต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนต่อบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 285 ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
(1) เครื่องนุ่งห่มหลับนอนหรือเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัวโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินห้าหมื่นบาท ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะกำหนดทรัพย์สินดังกล่าวที่มีราคาเกินห้าหมื่นบาท ให้เป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(2) เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินหนึ่งแสนบาท แต่ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตยึดหน่วง และใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจำเป็นเพื่อดำเนินการเลี้ยงชีพหรือการประกอบวิชาชีพ อันมีราคาเกินกว่าจำนวนราคาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไข ตามที่ศาลเห็นสมควร
(3) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทน หรือช่วยอวัยวะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(4) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตาม กฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัว โดยแท้เช่นหนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมายหรือ สมุดบัญชีต่าง ๆ นั้น อาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการบังคับ คดีได้ ถ้าจำเป็นแต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด
ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ให้ขยายไปถึง ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง อันเป็นของภริยาหรือของบุตรผู้เยาว์ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจถือได้ ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สินที่อาจ บังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุมาตรา 285 แก้ไขโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518
อ่านมาตรา 285(1),(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
อ่านมาตรา 285 วรรคสี่ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
(1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำ หนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
(3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(4) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตาย ของบุคคลอื่นเป็นจำนวน ตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่ศาลเห็นสมควร ในกรณีที่ศาลเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ไม่ น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น และไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย
ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดตาม มาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินตาม (1) (3) และ (4) และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้
ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ใหม่ก็ได้
คำสั่งของศาลที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาล
อุทธรณ์ได้และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 286 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
อ่านมาตรา 286 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 287 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ มาตรา 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับ เหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย
มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน คดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่
(1) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้า มาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงิน ต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี อันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ ความ
(2) ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยาน หลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟัง หรือถ้า ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า
คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุมาตรา 288 แก้ไขโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
อ่านมาตรา 288 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 289 ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัย อำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่ง บุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดั่งกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้
ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอก กล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319
ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่ จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่น ๆ ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต ตามคำร้องขอเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและ ชำระหนี้ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว
มาตรา 290 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยใน ทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเช่นว่ามานี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรในอันที่จะสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานดังกล่าว ได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนแล้วเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามความในวรรคหนึ่ง แต่ถ้าเจ้าพนักงานมิได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้ขอเฉลี่ยได้ภายในบังคับบทบัญญัติวรรค สอง
ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น คำขอเช่นว่านี้ให้ ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายได้ในครั้งนั้น ๆ
ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้
ในกรณียึดเงิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันยึด
เมื่อได้ส่งสำเนาคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินตามคำบังคับไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด เมื่อศาลได้มีคำสั่งประการใดและส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามคำสั่งเช่นว่านั้น
ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดผู้ขอเฉลี่ยหรือผู้ยื่นคำร้องตาม มาตรา 287 หรือตาม มาตรา 289 มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป
คำสั่งอนุญาตของศาลตามวรรคแปดให้เป็นที่สุด
หมายเหตุมาตรา 290 แก้ไขโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
อ่านมาตรา 290 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
อ่านมาตรา 290 วรรคเก้า เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 291 เมื่อศาลได้ยกคำร้องขอเฉลี่ยเสียโดยเหตุที่ยื่นไม ทันกำหนด ผู้ขอเฉลี่ยคำร้องต่อศาลได้อีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะมีการส่ง คำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดั่งต่อไปนี้
(1) ให้ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับชำระจากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ ชำระให้แก่เจ้าหนี้ผู้ยึดแล้ว
(2) ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ถอนการยึด หรือเจ้าหนี้ผู้ยึดสละสิทธิ ในการบังคับคดี ให้ถือว่าผู้ขอเป็นเจ้าหนี้ผู้ยึดต่อไปตั้งแต่วันที่ได้ยื่น คำร้องและให้ดำเนินการบังคับคดีไปตามนั้น
คำสั่งอนุญาตของศาลตาม มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 291 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 292 เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณี ต่อไปนี้
(1) ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดได้กระทำไปโดยขาดนัด และได้ มีการขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หากลูกหนี้ตาม คำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อศาลได้ส่งคำสั่งให้งดการ บังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 209 แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในอันที่จะขอต่อศาลให้มี คำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
(2) ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ เมื่อศาลได้ส่งคำสั่งนั้น ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับ คดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขตามที่ศาลจะได้ กำหนดไว้
(3) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี ว่าตนตกลงงดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
(4) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามข้อความแห่ง มาตรา 154
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวงดการบังคับคดีนั้น ให้แก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย เว้นแต่จะ ได้งดการบังคับคดีตามคำขอของบุคคลเหล่านั้นเอง
หมายเหตุอ่านมาตรา 292(3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
มาตรา 293 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอทำเป็นคำร้องต่อ ศาลให้งดการบังคับคดีไว้ โดยเหตุที่ตนได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้น ซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัย ชี้ขาด และถ้าหากตนเป็นฝ่ายชนะจะไม่ต้องมีการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนโดยวิธีอื่น เพราะสามารถจะหักกลบลบ หนี้กันได้
ถ้าศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และ ถ้างดบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ศาลอาจมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไข ตามที่เห็นสมควร
คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 293 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
อ่านมาตรา 293 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 294 ถ้าได้งดการบังคับคดีไว้ตามที่บัญญัติในประมวล กฎหมายนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไป เมื่อศาลได้สั่งคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว โดยศาลเป็นผู้ออกคำสั่งเอง หรือโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่น คำขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป เนื่องจากระยะเวลาที่ให้งด การบังคับคดีนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว หรือเนื่องจากมิได้ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่ศาลหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้กำหนดไว้ แล้วแต่กรณี หรือเนื่องจากศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาที่อยู่ใน ระหว่างบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีนั้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษายืนแต่บางส่วน เจ้าพนักงาน บังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปยังหาได้ไม่ ถ้าปรากฏว่าเงิน ที่รวบรวมได้ก่อนงดการบังคับคดีนั้นพอที่จะชำระเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาได้แล้ว
ถ้าได้งดการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 154 ให้เจ้า พนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยพลัน เมื่อเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามข้อความที่กล่าวไว้ใน มาตรานั้นแล้ว
มาตรา 295 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณี ต่อไปนี้
(1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดย คำสั่งศาล แล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาล หรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินเช่นว่านี้
(2) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้น
(3) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือ หมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่ง คำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับ คดีนั้น ได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดำเนินต่อไป จนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
มาตรา 295ทวิ ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการ บังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย
หมายเหตุอ่านมาตรา 295ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 295ตรี ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช้ตัวเงิน หรือ ในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือ จำหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือ ถอนโดยคำสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชำระค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอหมายบังคับคดี แก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชำระค่าธรรมเนียม ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่ เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีนั้น นั้นเสีย
หมายเหตุอ่านมาตรา 295ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 296 ในกรณีที่คำบังคับ หมายบังคับคดี หรือคำสั่งศาลใน ชั้นบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีรายงานต่อศาล หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตาม คำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้อง เสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่ง เพิกถอนหรือแก้ไขคำบังคับ หมายบังคับคดี หรือคำสั่งดังกล่าวทั้งหมด หรือบางส่วนหรือมีคำสั่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร
ภายใต้บังคับ มาตรา 309ทวิ วรรคสอง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็น สมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วน ได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้อง ต่อศาลให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการ บังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคำสั่ง กำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร
การยื่นคำร้องตาม มาตรานี้ อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการ บังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อ ความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้ผู้ยื่นคำร้อง ต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องฝ่าฝืนต่อ บทบัญญัติแห่งลักษณะนี้แล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบรรณแก่การ กระทำนั้น และในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ยื่นคำร้องจะขอต่อศาลในขณะ เดียวกันนั้นให้มีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อ ได้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่คำบังคับหรือหมายบังคับคดีกำหนดให้ส่งมอบ ทรัพย์สินการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใด เมื่อได้มีการ ปฏิบัติตามคำบังคับหรือหมายบังคับคดีที่ให้ส่งมอบทรัพย์สินกระทำ การหรืองดเว้นกระทำการอย่างนั้นแล้ว แต่ถ้าการปฏิบัติการตาม คำบังคับหรือหมายบังคับคดีดังกล่าวอาจแยกได้เป็นส่วน ๆ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามคำบังคับหรือหมายบังคับคดีในส่วนใดแล้ว ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะในส่วนนั้น
(2) ในกรณีที่คำบังคับหรือหมายบังคับคดีกำหนดให้ใช้เงิน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตาม มาตรา 318 มาตรา 319 มาตรา 320 มาตรา 321 หรือ มาตรา 322 แล้วแต่กรณี แล้วแต่ ถ้าทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีมีหลายรายการเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการใดแล้ว ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะทรัพย์สินรายการนั้น
ในการยื่นคำร้องต่อศาลตาม มาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้น แสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาล เห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหาย เนื่องจากการคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะ สั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายใน ระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่า สินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่น คำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความ เสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวเห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและ ยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าบุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาล ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจาก คดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคำร้องนั้นรับฟังได้ให้ศาลมี คำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวตามจำนวนที่ ศาลเห็นสมควร ถ้าผู้ยื่นคำร้องนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมี อำนาจบังคับผู้ยื่นคำร้องนั้นได้เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
หมายเหตุอ่านมาตรา 296 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 296ทวิ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจาก อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตาม คำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบ ที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้า ครอบครองทรัพย์ดังกล่าว
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในห้ามาตราต่อไปนี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 296ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 296ตรี ถ้าทรัพย์ที่ต้องจัดการตามคำสั่งศาลนั้นไม่มี บุคคลใดอยู่อาศัย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจมอบทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือบางส่วนให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง ได้ทันที และถ้ามีความจำเป็น ให้มีอำนาจทำลายสิ่งกีดขวางอัน เป็นอุปสรรคในการที่จะจัดการให้เข้าครอบครองได้ตามสามควร
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมีสิ่งของของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือของบุคคลใดอยู่ในทรัพย์ดังกล่าวนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมี อำนาจจัดการมอบให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารักษาไว้ หรือจัดการ ขนย้ายไปเก็บรักษา ณ สถานที่ใดโดยให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชี สิ่งของไว้และแจ้งหรือประกาศให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษารับคืนไป ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ถ้าลูกหนี้ตาม คำพิพากษาไม่รับสิ่งของนั้นคืนภายในเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงาน บังคับคดี โดยได้รับอนุญาตจากศาล มีอำนาจขายทอดตลาดสิ่งของ นั้นแล้วเก็บรักษาเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้แทนสิ่งของนั้น
ในกรณีที่สิ่งของของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือของบุคคลใดที่ อยู่ในทรัพย์ตามวรรคสองมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะขายได้ทันที โดยวิธีขายทอดตลาด หรือวิธีอื่นที่สมควร
ในกรณีสิ่งของนั้นถูกยึดหรืออายัดในการบังคับคดี เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอำนาจย้ายสถานที่เก็บรักษาตามที่เห็นสมควร ค่าใช้จ่าย ในการนี้ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกบังคับคดีเป็นผู้เสีย
หมายเหตุอ่านมาตรา 296ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 296จัตวา ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารยังไม่ออกไปตามคำ บังคับของศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตาม คำพิพากษาหรือบริวารดังกล่าวนั้น และศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและ กักขังได้ทันที ในกรณีนี้ให้นำ มาตรา 300 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) เมื่อศาลมีคำสั่งให้จับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบริวารตาม (1) แล้ว หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวาร หลบหนี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ มาตรา 296ตรี โดยอนุโลม
(3) ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด เวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา ดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
บุคคลที่เข้ามาอยู่อาศัยในทรัพย์นั้นในระหว่างที่เจ้าพนักงานบังคับ คดี จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง ให้ถือว่าเป็น บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
หมายเหตุอ่านมาตรา 296จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 296เบญจ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างออกไปจากทรัพย์นั้นด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจ จัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และให้มีอำนาจขนย้ายสิ่งของออก จากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนนั้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและ ขนย้ายสิ่งของให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสีย
ในการรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการ รื้อถอนไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับ คดีใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนนั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรานี้ เว้นแต่จะได้กระทำโดยมีเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง
วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอนรวมทั้งสิ่งของที่ขนย้ายออกจากสิ่ง ปลูกสร้าง ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้รับคืนไป เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอำนาจเก็บรักษาไว้ หรือขายแล้วเก็บเงินสุทธิไว้แทน ตัวทรัพย์นั้น ถ้าเจ้าของมิได้เรียกเอาทรัพย์หรือเงินนั้นภายใน กำหนดห้าปี นับแต่มีประกาศกำหนดการรื้อถอนให้ทรัพย์หรือเงิน ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นถูกยึดในการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขายทอดตลาดสิ่งปลูกสร้างนั้น แล้วเก็บเงินสุทธิ ที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมไว้แทน
หมายเหตุอ่านมาตรา 296เบญจ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 296ฉ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ช่วยเจ้าพนักงาน บังคับคดีในการดำเนินการบังคับคดีดังกล่าวและทดรองค่าใช้จ่าย ในการนั้น
หมายเหตุอ่านมาตรา 296ฉ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 296สัตต ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ตาม มาตรา 296ตรี มาตรา 296จัตวา (3) และ มาตรา 296เบญจ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่าย ปกครอง หรือตำรวจเพื่อให้สามารถดำเนินการตาม มาตรา 296ตรี มาตรา 296จัตวา (3) และ มาตรา 296เบญจ ได้ และในการนี้ ให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ ขัดขวางไว้เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
หมายเหตุอ่านมาตรา 296สัตต เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 297 ภายใต้บังคับ มาตรา 296ทวิ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลา ใด ๆ นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งขอให้มีการบังคับได้ล่วงพ้นไปจนถึงเวลาที่การบังคับคดี ได้เสร็จสิ้นลง ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตาม คำพิพากษาซึ่งจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดี
ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตตามคำขอนั้น เว้นแต่จะเป็นที่พอใจจาก พยานหลักฐานซึ่งผู้ร้องนำมาสืบที่ศาลเรียกมาสืบว่า
(1) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้ ถ้าได้กระทำการโดยสุจริต และ
(2) ไม่มีวิธีบังคับอื่นใดที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้บังคับได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 297 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 298 เมื่อมีคำขอให้จับตัวลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเหตุ จงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ให้ศาลออกหมายเรียกลูกหนี้ตาม คำพิพากษามาศาล
ถ้าได้ออกหมายเรียกตามวรรคหนึ่งแล้ว ลูกหนี้นั้นไม่มาศาล และมิได้แจ้งเหตุอันสมควรในการที่ไม่มาให้ศาลทราบ หากศาล เห็นว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับหมายเรียกแล้ว ศาลจะออกหมาย จับลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้หรือถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามาศาล แต่แสดงเหตุอันสมควรในการปฏิบัติตามคำบังคับมิได้ ศาลมีอำนาจ สั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นทันที หรือตั้งแต่วันใดวันหนึ่งที่ ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษายังคงขัดขืนอยู่ จนถึงวันนั้น
ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้รับหมายเรียก หรือได้แจ้งเหตุ อันสมควรต่อศาลในการที่ไม่มานั้น ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา คำขอนั้นไปแต่ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลีกเลี่ยงไม่ รับหมาย ศาลจะออกหมายจับตามที่ขอทันทีก็ได้
ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามาศาลและแสดงเหตุอันสมควรได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำขอหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
ในกรณีเหล่านี้ ศาลมีอำนาจที่จะทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควร และลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมนำพยานมาสืบแก้ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 298 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 299 การจับและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม มาตรา 296จัตวา และ มาตรา 298 และการจับกุมและควบคุมตัวผู้ขัดขวาง ตาม มาตรา 296สัตต ไม่ตัดสิทธิที่จะดำเนินคดีในความผิดอาญา
หมายเหตุอ่านมาตรา 299 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 300 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับกุมโดยเหตุจงใจ ขัดขืนคำบังคับจะต้องถูกกักขังไว้จนกว่าจะมีประกัน หรือประกัน และหลักประกันตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรกำหนดว่าตนยินยอม ที่จะปฏิบัติตามคำบังคับทุกประการ แต่ทั้งนี้ ห้ามไม่ให้กักขังลูกหนี้ ตามคำพิพากษาแต่ละครั้ง เกินกว่าหกเดือนนับแต่วันจับหรือกักขัง แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกัน หรือตามจำนวนเงินที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องผู้ทำสัญญาประกัน
หมายเหตุอ่านมาตรา 300 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 301 ในกรณีที่ศาลยอมรับบุคคลเป็นประกัน และบุคคล นั้นจงใจขัดขวางการบังคับคดีหรือร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 297 มาตรา 298 มาตรา 299 และ มาตรา 300 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมายเหตุอ่านมาตรา 301 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
มาตรา 302 ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่อง ใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่ง ได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณา และชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น
ถ้าศาลอุทธรณ์ได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มี คำพิพากษา หรือคำสั่งที่อุทธรณ์นั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษา ใหม่ตาม มาตรา 243 (2) และ(3) ให้ศาลที่มีคำพิพากษาหรือ คำสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเว้นแต่ศาลอุทธรณ์ จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่ศาลได้ออกหมายบังคับคดีส่งไปให้อีกศาลหนึ่งบังคับ คดีแทนให้ส่งทรัพย์ที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์นั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่ออกหมาย เพื่อดำเนินการไปตาม กฎหมาย
หมายเหตุอ่านมาตรา 302 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527

หมวด2 วิธียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์และการจ่ายเงิน
มาตรา 303 การยึดเอกสารและสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างของลูกหนี้ ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดย
(1) นำเอาเอกสารหรือทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณ สถานที่ใดหรือ แก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตาม คำพิพากษาทราบ หรือ
(2) มอบไว้ในความอารักขาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยความ ยินยอมของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือมอบไว้ในอารักขาของบุคคล อื่นใดซึ่งครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ และแจ้งการยึดให้ลูกหนี้หรือ บุคคลเช่นว่านั้นทราบ กับต้องกระทำให้การยึดนั้นเห็นประจักษ์แจ้ง โดยการประทับตราหรือกระทำโดยวิธีอื่นใดที่สมควร
การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างนั้น ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์ นั้นด้วย
มาตรา 304 การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำเอาหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สิน นั้นมา และฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสำคัญยังไม่ได้ออก หรือนำมาแสดงไม่ได้หรือหาไม่พบ ให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน ที่ดินนั้น เป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว
การยึดอสังหาริมทรัพย์นั้น ครอบไปถึงเครื่องอุปกรณ์และดอก ผลนิตินัยของอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอื่น ดอกผลธรรมดาที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องเป็น ผู้เก็บเกี่ยวหรือบุคคลอื่นเก็บเกี่ยวในนามของลูกหนี้นั้นเมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีได้แจ้งเป็นหนังสือให้ทราบในขณะทำการยึดว่า จะทำการ เก็บเกี่ยวเองแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจจัดให้เก็บเกี่ยวดอกผลนั้น ได้เมื่อถึงกำหนด และทำการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติในลักษณะนี้
มาตรา 305 การยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดั่ง บัญญัติไว้ในสอง มาตรา ก่อนนี้ มีผลดั่งต่อไปนี้
(1) การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิด โอนหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วนั้น หาอาจ ใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี และลูกหนี้ตาม คำพิพากษาได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม
(2) ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับมอบให้เป็นผู้อารักขา สังหาริมทรัพย์มีรูปร่างที่ถูกยึด หรือเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ ถูกยึดลูกหนี้ชอบที่จะใช้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตามสมควร แต่ถ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะทำให้ทรัพย์ที่ได้รับมอบไว้ในอารักขา หรือทรัพย์ที่อยู่ในครอบครองเสียหาย หรือ เกลือกจะเสียหาย โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเองหรือเมื่อเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน นั้นร้องขอ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะระวังรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเอง หรือตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นก็ได้
มาตรา 306 เมื่อได้ยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างเหมือน อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำขอต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตให้ขาย ทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ถ้าไม่มีผู้คัดค้านในการขายทรัพย์ ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 307 ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งขอศาลและวัน ขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน ที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียน หรือโดยประการอื่น
คำสั่งอนุญาตของศาลตาม มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่าน มาตรา 306 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 307 ถ้ารายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี เมื่อศาลเห็น สมควรหรือเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอ ศาลอาจมีคำสั่งตั้ง ผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการเหล่านั้นได้และ บังคับให้มอบเงินรายได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการ สั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้และ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่าน มาตรา 307 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 308 เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ขายแล้วเจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่าง น้อยห้าวันนับแต่วันที่ยึด การขายนั้นให้ดำเนินตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น และตามข้อกำหนดของศาลซึ่งระบุไว้ในคำสั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์สิน นั้น ถ้าหากมี
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ให้ใช้บังคับแก่ทรัพย์อันมีสภาพเป็น ของสดของเสียได้ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะขาย ได้ทันที โดยวิธีขายทอดตลาด หรือวิธีอื่นที่สมควร
มาตรา 309 ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษานั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ในการขายทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่ง ต่อเนื่องกันไป แต่
(ก) เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคา เล็กน้อยรวมขายเป็นกอง ๆ ได้เสมอ และ
(ข) เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดสังหาริมทรัพย์หรือ
อสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไป รวมขายไปด้วยกันได้ในเมื่อเป็น ที่คาดหมายได้ว่า เงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
(2) ในการขายอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ และทรัพย์สินนั้นอาจ แบ่งแยกออกได้เป็นตอน ๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขาย ทรัพย์สินนั้นเป็นตอน ๆ ได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ ในการขายทรัพย์สินบางตอนจะเพียงพอแก่พอแก่การบังคับคดี หรือว่าเงินรายได้ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
(3) ในการขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจกำหนดลำดับที่จะขายทรัพย์สินนั้น
บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินซึ่งจะต้องขาย อาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สิน หรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือจะร้องคัดค้าน คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งตามสามอนุ มาตรา ก่อนนั้นก็ได้ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือ คำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้อง ภายในสองวันนับตั้งแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น ก็ได้ คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อน การขายไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่ง หรือจนกว่าจะได้พ้นระยะเวลา ซึ่งให้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลได้
มาตรา 309ทวิ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา นั้นก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีสวนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินไป เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่คัดค้านหรือไม่ก็ตาม หาผู้ซื้อที่จะเสนอซื้อในราคาที่บุคคลดังกล่าวต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป โดยให้ผู้เสนอราคาสูงสุดต้องผูกพันกับการเสนอราคาดังกล่าว เป็นระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่เสนอราคานั้น และในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่สูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุด ได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน หรือไม่มีผู้ใดเสนอราคาเลย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน แต่หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้ง ต่อไปในจำนวนสูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น
ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน มีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉล ในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้า พนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ได้ และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคำร้องรับฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องหรือแก้ไขหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใด ตามที่ศาลเห็นสมควรให้เสร็จภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องนั้น
ให้นำบทบัญญัติในวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหกของ มาตรา 296 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามวรรคสองโดยอนุโลม
คำสั่งศาลวรรคสองให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่าน มาตรา 309ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
มาตรา 309ตรี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้น ตั้งอยู่ในเขตศาลให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบริวาร ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ให้บังคับตาม มาตรา 296ทวิ มาตรา 296ตรี มาตรา 296จัตวา มาตรา 296ฉ มาตรา 296สัตต มาตรา 299 มาตรา 300 มาตรา 301 และ มาตรา 302 โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งคำบังคับโดยผู้ซื้อมีหน้าที่จัดการนำส่ง และให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว
หมายเหตุอ่าน มาตรา 309ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
มาตรา 310 เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นพันธบัตรและหลักทรัพย์ที่เป็นประกันซึ่งเป็นของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา (ออกให้แก่ผู้ถือหรือออกในนามของลูกหนี้ตาม คำพิพากษา) เจ้าพนักงานบังคับคดีจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาต ให้จำหน่ายสิ่งเหล่านั้นตามรายการขานราคาในวันที่ขายก็ได้ หากสิ่งเหล่านั้นได้มีรายการขานราคากำหนดไว้ ณ สถานแลกเปลี่ยน หรือจะขายโดยวิธีขายทอดตลาดดังบัญญัติไว้ในลักษณะนี้ก็ได้ ถ้ามิ ได้ทำคำขอเช่นว่านั้น หรือคำขอถูกยกเสีย ให้ขายสิ่งเหล่านั้นโดย วิธีขายทอดตลาด
(2) ถ้าเป็นตราสารเปลี่ยนมือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายตามราคาที่ปรากฏในตราสารหรือราคา ต่ำกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดถ้าศาลสั่งยกคำขอให้นำ ตราสารนั้นออกขายทอดตลาด
(3) ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา 310ทวิ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกบุคคลซึ่ง ต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น ๆ ให้มาศาล ถ้าบุคคล นั้นมาศาลและยินยอมชำระหนี้ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ศาล จดรายงานไว้ ถ้าบุคคลนั้นไม่มาศาลหรือไม่ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าว แล้วเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ เจ้าหนี้ฟ้องตามเอกสารที่ได้ยึดนั้น และถ้าศาลพิพากษาในที่สุดให้ เจ้าหนี้เป็นผู้ชนะคดี เจ้าหนี้ต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดทราบ จำนวนเงินที่รับชำระหนี้จากการนั้นด้วย คำสั่งอนุญาตของศาลใน มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่าน มาตรา 310 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 310ทวิ ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเรียกร้องต่อ บุคคลภายนอกให้ชำระเงินจำนวนเงินหรือเรียกให้ส่งมอบสิ่งของ นอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา 310 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัด และจำหน่ายไปตามที่บัญญัติไว้ในห้า มาตรา ต่อไปนี้
หมายเหตุอ่าน มาตรา 310ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 311 สิทธิเรียกร้องซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 310ทวิ นั้นให้ อายัดได้โดยคำสั่งอายัดซึ่งศาลได้ออกให้ตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว และเจ้าหนี้ได้นำส่งให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลซึ่งต้องรับผิดเพื่อการชำระเงิน หรือส่งมอบสิ่งของนั้น
เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจบังคับสิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 310ทวิ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับ คดีเป็นคำสั่งอายัดของศาล
คำสั่งอายัดนั้นอาจออกให้ได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมี ข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขหรือว่าได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอน หรือไม่
คำสั่งนั้นต้องมีข้อห้ามลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้งดเว้นการจำหน่าย สิทธิเรียกร้องตั้งแต่ขณะที่ได้ส่งคำสั่งนั้นให้ และมีข้อห้ามบุคคลภายนอก ไม่ให้ชำระเงินหรือส่งมอบสิ่งของให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ ชำระหรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ณ เวลา หรือภายในเวลา ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง
หมายเหตุอ่าน มาตรา 311 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
มาตรา 312 ถ้าบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดทรัพย์ปฏิเสธ หรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตน ศาลอาจทำการไต่สวนและ (1) ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริง ก็ให้มีคำสั่งให้บุคคล ภายนอกปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หรือ (2) ถ้าศาลเห็นว่ารูปเรื่องจะ ทำให้เสร็จเด็ดขาดไม่ได้สะดวกโดยวิธีไต่สวน ก็ให้มีคำสั่งอย่างอื่นใด ในอันที่จะให้เรื่องเสร็จเด็ดขาดไปได้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไม่มีการคัดค้าน หรือศาลได้มีคำสั่งรับรอง ดัง กล่าวแล้ว และบุคคลภายนอกมิได้ปฏิบัติตามนั้น เจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้น และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะ ความผิดของบุคคลภายนอก เนื่องจากการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้นั้น
มาตรา 313 การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ นั้น รวมตลอดถึงจำนวนเงินซึ่งถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย
ถ้าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีต่อบุคคลภายนอก ในอันที่จะเรียกให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น มีการจำนองเป็นประกัน การอายัดสิทธิเรียกร้องให้รวมตลอดถึงการจำนองด้วย แต่ทั้งนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไปยังเจ้าพนักงาน ที่ดิน และให้เจ้าพนักงานที่ดินจดแจ้งไว้ในทะเบียนที่ดิน
มาตรา 314 การอายัดสิทธิเรียกร้องดั่งบัญญัติไว้ในสอง มาตรา ก่อนนี้ให้มีผลดั่งต่อไปนี้
(1) การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิด โอนหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ได้ถูกอายัดภายหลังที่ได้ทำการอายัดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้ตาม คำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี และลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำหน่ายสิทธิเรียกร้องนั้นเพียงส่วน ที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม
(2) ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะ ความผิดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ๆ ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ ลูกหนี้นั้น
(3) การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในคำสั่งอายัดทรัพย์นั้น ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมาย
มาตรา 315 ถ้าสิ่งของที่จะต้องส่งมอบตามสิทธิเรียกร้องที่ถูก อายัดนั้นได้ส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีนำออกขายโดยการขายทอดตลาดดั่งที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้
ถ้าการจำหน่ายสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดนั้นกระทำได้โดยยาก เนื่องจากการชำระหนี้นั้นต้องอาศัยการชำระหนี้ตอบแทน หรือด้วย เหตุอื่นใดและการบังคับคดีอาจล่าช้าเป็นการเสียหายแก่คู่ความทุก ฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อคู่ความ หรือบุคคลเช่นว่านั้นหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอ ศาลจะมีคำสั่ง กำหนดให้การจำหน่ายโดยวิธีอื่นก็ได้
มาตรา 316 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีรายละเอียดแสดง จำนวนเงินทั้งหมดที่ได้ยึดหรือได้มาจากการจำหน่ายทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือที่ได้วางไว้กับตน นอกจากนี้ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทำบัญชีพิเศษสำหรับทรัพย์สินแต่ละรายซึ่งอยู่ในบังคับการ จำนองหรือบุริมสิทธิพิเศษ ซึ่งได้มีการแจ้งให้ทราบโดยชอบแล้ว ตามที่กล่าวไว้ใน มาตรา 289
ภายใต้บังคับ มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะล้มละลาย และ มาตรา 292 ถึง มาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการรอ หรือการงดการบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ย เงินนั้นดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา ไปนี้
มาตรา 317 ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งได้พิพากษาหรือสั่งโดยจำเลยขาดนัดนั้นห้ามมิให้เฉลี่ยเงินที่ได้มา จนกว่าระยะหกเดือนจะได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันยึดทรัพย์ หรือ อายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แสดงให้ศาลเป็นที่พอใจว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบถึงคดีซึ่ง ขอให้มีการบังคับแล้วมิให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มาใช้บังคับ
มาตรา 318 ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่คนเดียวขอ ร้องให้บังคับคดี และมิได้มีการแจ้งให้ทราบซึ่งการจำนองหรือบุริมสิทธิ เหนือทรัพย์สินที่จำหน่ายได้มาดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 เมื่อ ได้จัดการจำหน่ายทรัพย์สินเสร็จ และได้หักค่าฤชาธรรมเนียมใน การบังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินตามจำนวนหนี้ ในคำพิพากษา และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องให้แก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา เพียงเท่าที่เงินรายได้จำนวนสุทธิจะพอแก่การที่ จะจ่ายให้ได้
มาตรา 319 ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคนร้องขอ ให้บังคับคดี หรือได้มีการแจ้งให้ทราบซึ่งการจำนองหรือบุริมสิทธิ เหนือทรัพย์สินที่จำหน่ายได้มาดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 เมื่อได้จัดการจำหน่ายทรัพย์สินเสร็จและได้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการ บังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ย แสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเจ้าหนี้ บุริมสิทธิแต่ละคน จากเงินรายได้จำนวนสุทธิที่พอแก่การที่จะจ่าย ให้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เหล่านั้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการจ่ายเงินเช่นว่านี้ และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่ง คำบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้เหล่านั้นขอให้ตรวจสอบบัญชีเช่น ว่านั้น และให้แถลงข้อคัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ส่งคำบอก กล่าว
ถ้าไม่ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ย นั้นเป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ เหล่านั้นตามบัญชี
มาตรา 320 ในกรณีดั่งบัญญัติไว้ในมาตราก่อนนี้ ถ้ามีเจ้าหนี้ คนเดียวหรือหลายคนดั่งกล่าวแล้ว ยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ทุกคนมาในเวลา และ ณ สถานที่ ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน
เจ้าหนี้จะไปตามหมายเรียกเช่นว่านั้นด้วยตนเอง หรือจะให้ผู้แทน ที่ได้รับมอบอำนาจโดยชอบไป และกระทำการแทนในกิจการทั้งหลาย อันเกี่ยวแก่เรื่องนั้นก็ได้
เมื่อได้ตรวจพิจารณาคำแถลงและฟังคำชี้แจงของเจ้าหนี้ผู้ที่มา ตามหมายเรียกแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำคำสั่งยืนตาม หรือ แก้ไขบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น แล้วให้อ่านให้เจ้าหนี้ที่มานั้นฟัง และให้ เจ้าหนี้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน และให้ส่งคำสั่งนั้นไปยัง เจ้าหนี้ผู้ซึ่งมิได้มาตามหมายเรียกด้วยถ้าหากมี
ถ้าเจ้าหนี้คนใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้ นั้นชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งนั้นต่อศาลชั้นต้น ได้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้อ่าน หรือที่ได้ส่งคำสั่งแล้วแต่กรณี แต่ถ้าเจ้าหนี้ที่ยื่นคำยื่นคำขอนั้นมิได้ไปตามหมายเรียกของ เจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่สามารถแสดงเหตุผลดีในการที่ไม่ไป ต่อหน้าเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ให้ศาลนั้นยกคำขอนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งได้มาตามหมายเรียกทุกคนได้ยินยอมตามคำสั่งของ เจ้าพนักงานบังคับคดีและลงลายมือชื่อไว้เป็นพยานหลักฐานในการ ยินยอมนั้นแล้วและถ้าเจ้าหนี้ผู้ไม่มา ซึ่งมีสิทธิคัดค้านคำสั่งได้ มิได้ยื่นคำคัดค้านภายในเวลากำหนด ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น เป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามนั้น
ถ้าเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิคัดค้านคำสั่งได้ยื่นคำคัดค้าน ดั่งที่บัญญัติไว้ ข้างต้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการจ่ายส่วนเฉลี่ยไป จนกว่าศาลได้มีคำสั่งแล้ว หรือทำการจ่ายส่วนเฉลี่ยชั่วคราว ดั่งที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ต่อไป
บทบัญญัติ มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 321 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า ถ้าจะเลื่อนการจ่าย ส่วนเฉลี่ยไปจนกว่าได้จำหน่ายทรัพย์สินที่ประสงค์จะบังคับทั้งหมด หรือจนกว่าการร้องทั้งหมดที่มาสู่ศาลได้เสร็จเด็ดขาดแล้ว จะทำให้ บุคคลผู้มีส่วนเฉลี่ยในเงินรายได้แห่งทรัพย์สินที่บังคับนั้นทุกคนหรือ คนใดคนหนึ่งได้รับความเสียหาย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิที่จะ แบ่งเงินรายได้เท่าที่พอแก่การที่จะจ่ายให้ดั่งที่บัญญัติไว้ในสอง มาตราก่อนได้ ในเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กันเงินไว้ สำหรับชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดในการบังคับคดีที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นต่อไป และสำหรับชำระการเรียกร้องใด ๆ ที่ยังมี ข้อโต้แย้งไว้แล้ว
มาตรา 322 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนได้รับส่วนแบ่ง เป็นที่พอใจแล้ว ถ้ายังมีเงินที่จำหน่ายทรัพย์สินได้เหลืออยู่และเงิน ที่ยังเหลือเช่นว่านั้นได้ถูกอายัดตาม มาตรา 291 หรือโดยประการอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายส่วนที่เหลือนั้นตาม มาตรา 291 หรือตามคำสั่งอายัดทรัพย์แล้วแต่กรณี
ถ้าเงินรายได้จำนวนสุทธิที่จำหน่ายทรัพย์สินได้มานั้น ไม่ต้องการ ใช้สำหรับการบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินเหลืออยู่ภายหลังที่ได้หัก ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธิหรือส่วนที่ เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ ตามคำพิพากษา และถ้าทรัพย์สินของบุคคล ภายนอกต้องถูกจำหน่ายไป เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้จ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธินั้นแก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้อง ของบุคคลภายนอกที่มีอยู่ต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ถ้าได้จำหน่ายสังหาริมทรัพย์รายใดไปแล้วตาม มาตรา 288 และ ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นคุณแก่ผู้เรียกร้อง ให้ศาลหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่จำหน่ายได้แก่ผู้เรียกร้องไป
มาตรา 323 บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตก เป็นของแผ่นดิน
หมายเหตุมาตรา 323 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
ตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล)
ลักษณะของคดี ทุนทรัพย์ อัตรา หมายเหตุ
(1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้คิดค่าขึ้นศาลตาม ทุนทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) คำฟ้องนอกจากที่ระบุไว้ใน (ข) และ (ค)

(ข) คำร้องขอให้ศาลบังคับ ตามคำชี้ขาดของอนุญา -โตตุลาการ ในประเทศ หรือคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการในประเทศ
คำร้องขอให้ศาลบังคับ ตามคำชี้ขาดของอนุญา -โตตุลาการต่างประเทศ หรือคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
(ค) คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด
ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ไม่เกินห้าสิบล้านบาท
ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ไม่เกินห้าสิบล้านบาท
ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ร้อยละ 2 แต่ไม่เกินสองแสนบาท
ร้อยละ 0.1 ร้อยละ 0.5 ของจำนวนที่ ร้องขอให้ศาลบังคับ แต่ไม่เกิน
ห้าหมื่นบาท  ร้อยละ 0.1 ร้อยละ 1 ของจำนวนที่ร้องขอให้ศาลบังคับ
แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ร้อยละ 0.1 ร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง
แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ร้อยละ 0.1  ค่าธรรมเนียมตาม (ก) (ข) และ (ค) ถ้ารวมแล้ว มีเศษ ไม่ถึงหนึ่งบาท ให้ปัดทิ้ง
(2) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
(ก) คดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาท
(ข) อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่ง ตาม มาตรา 227 หรือ มาตรา 228 (2) และ (3)  เรื่องละ 200 บาท  เรื่องละ 200 บาท 
การอุทธรณ์ หรือ ฎีกาคำสั่ง ตาม มาตรา 228 (1) ไม่เรียกเก็บค่าขึ้นศาล (3) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราใน
(1)แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราใน (2) (ก) หรือ (ข)แล้วแต่กรณี (4) คดีที่ขอให้ชำระค่าเสียหาย ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือ ค่าเลี้ยงชีพ ก็ดี เงินปี เงินเดือน เงินเบี้ยบำนาญ ค่าบำรุงรักษา หรือเงินอื่น ๆ ก็ดี บรรดาที่ให้
จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตนอกจากดอกเบี้ยค่าเช่า หรือค่าเสียหายที่ศาลมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งตาม มาตรา 142 อยู่แล้ว ถ้าคดีนั้นมีคำขอให้ชำระหนี้ในเวลาปัจจุบัน หรือมีคำขอในข้อก่อน ๆ รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำขอในข้อนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง 100 บาทตาราง 2 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ) ลักษณะแห่งกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น ชำระเมื่อใด (1) ค่าคำร้องขอตามมาตรา 101 ในกรณีที่ยังไม่มีคดีอยู่ในศาล- 
100 บาท เมื่อยื่นคำร้องขอ (2) ค่ารับรองสำเนาเอกสารต่าง ๆ
โดยหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รับรอง ฉบับละ 50 บาท  50 บาท เมื่อยื่นคำร้อง (3) ใบสำคัญเพื่อแสดงว่า คำพิพากษา หรือคำสั่ง ได้ถึงที่สุดแล้ว ฉบับละ 50 บาท 
50 บาท เมื่อยื่นคำร้อง ตาราง 3 ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล
ในกรณีที่มีการสืบพยานหลักฐานนอกศาล ให้คิดค่าป่วยการให้ผู้พิพากษาในอัตราต่อคนวันละ สามร้อยบาท และให้คิดค่าป่วยการให้เจ้าพนักงานศาลในอัตราต่อคนวันละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท โดยให้ชำระเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาต ในคดีที่มีการรวมการพิจารณา ให้คิดค่าป่วยการโดยถือว่าเป็นคดีเดียว ในกรณีที่มีคู่ความหลายฝ่ายหรือหลายคนเป็นผู้ขอ ให้เฉลี่ยกันชำระค่าป่วยการในอัตรา ตามวรรคหนึ่งคนละส่วนเท่า ๆ กัน ในกรณีจำเป็น ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายที่ขอหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายเป็นผู้จัดการหาพาหนะ ถ้าไม่จัดพาหนะมาให้ จะต้องชดใช้ค่าพาหนะที่เสียไปตามสมควร
ตาราง 4 ค่าป่วยการ ค่าพาหนะ และค่าเช่าที่พักของพยาน กับค่ารังวัดทำแผนที่
(1) ให้ศาลกำหนดค่าป่วยการพยานตามรายได้และฐานะของพยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียก แต่ไม่ให้เกินวันละสี่ร้อยบาท กับค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของพยานที่เสียไปด้วยตามสมควร
(2) ในกรณีที่ศาลสั่งให้รังวัดทำแผนที่
(ก) โดยเจ้าพนักงานศาล ให้ศาลกำหนดค่าป่วยการให้แก่เจ้าพนักงานศาลในอัตราต่อคน วันละสองร้อยบาท กับค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของเจ้าพนักงานศาลที่เสียไปตามสมควร
(ข) โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ให้ศาลกำหนดค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น ถ้าส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นไม่มีระเบียบดังกล่าวให้คิดตามอัตรา (ก)
ตาราง 5 ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
ค่าธรรมเนียม จำนวน หมายเหตุ
 1. ขายทอดตลาดหรือจำหน่าย โดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ยึด
หรืออายัด  ร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่ ขายหรือจำหน่ายได้  ทั้งนี้ ต้องเสียค่าประกาศและ
ค่าใช้สอยต่างหาก
 2. จ่ายเงินที่ยึดหรืออายัดแก่
เจ้าหนี้  ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด 
 3. เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่
ตัวเงินแล้วไม่มีการขาย หรือจำหน่าย  ร้อยละ 2 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด  ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สิน
ที่ยึดหรืออายัด เพื่อเสียค่าธรรมเนียมตามหมายเลข 3 และ 4 ให้เจ้าพนักงานบังคับ
 4. เมื่อยึดหรืออายัดเงินหรือ
อายัดทรัพย์สินแล้ว ไม่มีการขายหรือจำหน่าย  ร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด หรือราคาทรัพย์สินที่อายัด  คดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้อง เสนอเรื่องต่อศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 296
 5. ขายโดยวิธีประมูลระหว่าง คู่ความ ร้อยละ 2 ของราคาประมูลสูงสุด  ตาราง 6 ค่าทนายความ
(1) ให้ศาลกำหนดค่าทนายความตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรไม่เกินอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ ในตารางนี้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าคดีละสามพันบาท
(2) การกำหนดค่าทนายความที่คู่ความจะต้องรับผิดนั้น ให้ศาลพิจารณาตามความยากง่าย แห่งคดีเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น อัตรา คดีมีทุนทรัพย์ คดีไม่มีทุนทรัพย์
 อัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้น อัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ร้อยละ 5 ร้อยละ 3   30,000 บาท  20,000 บาท
ตาราง 7 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
ศาลอาจกำหนดให้คู่ความซึ่งต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตาม มาตรา 161 ชดใช้ค่าใช้จ่าย ในการดำเนินคดีแก่คู่ความอีกฝ่ายตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยในคดีมีทุนทรัพย์ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนทุนทรัพย์ หรือในคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องไม่เกินห้าพันบาท
การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่คู่ความได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของคู่ความ
หมายเหตุอ่านตาราง 1,2,3,4,6 ท้ายปวิพ. แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
อ่านตาราง 7 ท้ายปวิพ. เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2487
มาตรา 2 พรบ. นี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499
มาตรา 2 พรบ. นี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เพื่อให้คดีลุล่วงไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น และแก้ข้อขัดข้องของศาลและคู่ความในการดำเนินกระบวนพิจารณาบางประการที่สำคัญทั้ง สมควรปรับปรุงแก้ไขอัตราที่กำหนดไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้เหมาะสมด้วย
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518
มาตรา 2 พรบ. นี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 10 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 10 การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ยังไม่เสร็จสิ้นลงในวันที่ พรบ.ใช้บังคับ หากมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 มาตรา 286 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดียื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องให้ศาลสั่งเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งนี้ เว้นแต่การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่กำหนดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม มาตรา 286 (2) หรือ (3) ที่มีจำนวนน้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น มีจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดี ในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาลุล่วงไปโดยเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2521
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากค่าขึ้นศาลค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ค่าสืบพยานนอกศาล ค่าป่วยการและค่าพาหนะพยานกับค่ารังวัดทำแผนที่และอัตราค่าทนายความที่กำหนดไว้ ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ใช้อยู่ได้กำหนดไว้นานมาแล้ว ไม่เหมาะสมแก่ภาวะการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้สอดคล้องกันด้วย จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2522
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มิได้ให้อำนาจศาลที่จะสั่งให้ส่งคำคู่ความ หรือเอกสารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในโอกาสแรก ทำให้คู่ความต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น สมควรให้มีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในโอกาสแรกได้ จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2527
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน กำหนดให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมโดยวิธีปิดแสตมป์ตามจำนวนที่ต้องปิดลงไว้ในคำคู่ความคำร้อง ใบรับหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าและไม่สะดวกในการเรียกเก็บและการชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลและการตรวจสอบคำคู่ความของศาล ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและเป็นภาระในการจัดพิมพ์และการเก็บรักษาแสตมป์ฤชาอากรอีกด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลเป็นเงินสดโดยเจ้าพนักงานศาลออกใบรับให้ และสมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจคำคู่ความของศาลให้สอดคล้องกับการชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าวด้วย จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2527
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
(1) มีหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลื่อนการพิจารณาคดีของศาลที่ยังไม่รัดกุมพอ และมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งให้คู่ความฝ่ายซึ่งขอเลื่อนคดีเสียค่าป่วยการพยาน ซึ่งมาศาลตามหมายเรียกและเสียค่าใช้จ่ายในการที่คู่ความฝ่ายอื่นมาศาล
(2) มีหลักเกณฑ์ในการที่ศาลจะสั่งตั้งเจ้าพนักงานหรือแพทย์ไปตรวจตัวความ ผู้แทน ทนายความ พยาน หรือบุคคลอื่นใดที่ถูกเรียกให้มาศาลแต่มาศาลไม่ได้เพราะอ้างว่าป่วยเจ็บอันเป็นเหตุ ให้มีการขอเลื่อนการนั่งพิจารณาที่ยังไม่รัดกุมพอ
(3) มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของทนายความในคดี ซึ่งมีความประสงค์จะถอนตัวจากการเป็นทนาย ที่จะต้องแจ้งให้ตัวความทราบก่อน อันเป็นเหตุให้มีการใช้สิทธิในการถอนตัวจากการเป็นทนายเพื่อประวิงการพิจารณาคดีได้ ทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า
(4) มิได้กำหนดให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่งคำฟ้อง โดยชัดแจ้งและมิได้มีการกำหนดวิธีการส่งคำฟ้อง ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ส่งคำฟ้องแก่จำเลย แต่ในทางปฏิบัติโจทก์มิได้นำส่งเอง และในปัจจุบันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้โจทก์มีหน้าที่ส่งคำฟ้องแก่จำเลยในทุกคดี เพราะการคมนาคมสะดวกขึ้น ในหลายท้องที่แล้ว
(5) กำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายและคำสั่งฟ้องไปให้แก่จำ เลยเพื่อแก้คดี ซึ่งกำหนดไว้สิบห้าวันนับแต่วันยื่นคำฟ้องนั้น เป็นกำหนดเวลาที่นานเกินไป
(6) กำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องแจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยไม่ร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย โดยที่การไม่แจ้งตามกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ซึ่งกำหนดไว้สิบห้าวันนับแต่วันยื่นคำฟ้องนั้นเป็นกำหนดเวลาที่นานเกินไป
(7) มิได้กำหนดให้คู่ความมาศาลในวันชี้สองสถาน อันเป็นเหตุให้คู่ความมักจะขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานครั้งแรก และศาลไม่อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงประนีประนอมหรือยอมรับ ในประเด็นข้อพิพาทที่อาจตกลงกันได้
(8) มีหลักเกณฑ์การบังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการขอเฉลี่ยทรัพย์สินที่ยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ตามกฎหมาย ว่าด้วยภาษีอากรได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ก่อนแล้ว และในกรณีที่เจ้าหนี้ผู้ยึดทรัพย์สินสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด
(9) มิได้กำหนดให้อำนาจศาลสั่งถอนการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด
(10) มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอหมายบังคับคดี เพื่อชำระเป็นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน หรือในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดยคำสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชำระ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
(11) มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับบังคับคดีในการฟ้องขับไล่ที่รัดกุมพอทำให้การบังคับคดี ในคดีฟ้องขับไล่ประสบปัญหาและขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกพิพากษาให้ขับไล่หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครองไม่ยอมปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโดยใช้วิธีหลีกเลี่ยงต่าง ๆ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและการบังคับคดีในคดีฟ้องขับไล่มี
ประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความยุติธรรมมากขึ้น จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2530
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอข้อพิพาท การพิจารณา การทำคำชี้ขาด และการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนอกศาลไว้ โดยเฉพาะแล้ว สมควรยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยอนุญาโตตุลาการนอกศาลในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 8 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 18 และ มาตรา 19 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติว่าด้วยเขต อำนาจศาลใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดปัญหาและความไม่เป็นธรรม เนื่องจากโจทก์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไม่สามารถฟ้องคดีจำเลยซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ได้ตราบใดที่ยังไม่สามารถส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในราชอาณาจักรได้ แต่ในทางกลับกันโจทก์หรือจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศสามารถฟ้องจำเลย หรือฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ และบทบัญญัติเรื่องเขตอำนาจศาล โดยทั่วไปยังไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการดำเนินคดีในศาลประกอบกับในปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งคำคู่ความและเอกสารให้แก่จำเลย หรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไว้โดยตรงคงอาศัยวิธีปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรมและ กระทรวงการต่างประเทศเป็นสำคัญซึ่งต้องใช้เวลานานมากและในบางครั้งก็ไม่อาจส่งให้แก่บุคคลดังกล่าวได้ ทำให้การดำเนินคดีเป็นไปได้ด้วยความล่าช้าและยุ่งยาก นอกจากนี้ การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นบางคดีได้ประสบความล่าช้าเนื่องจากการประวิงคดีของคู่ความบางฝ่าย ทั้ง หลักเกณฑ์การฟ้องคดีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยากที่ใช้บังคับอยู่มีข้อบกพร่องไม่สามารถนำมา บังคับใช้กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมขณะนี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและคดีที่ขึ้นสู่ การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากทำให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ไม่สามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้เสร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็วทำให้คดีค้างพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยเขตอำนาจศาล โดยกำหนดให้โจทก์สามารถฟ้องคดีจำเลย ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และกำหนดให้การฟ้องคดีหรือการร้องขอต่อศาลโดยทั่วไปเป็นไปโดยสะดวกและเป็นธรรมยิ่งขึ้น และสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการส่งคำคู่ความ และเอกสารให้แก่จำเลยซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร โดยกำหนดให้การส่งคำคู่ความและเอกสารดังกล่าวเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว ยิ่งขึ้นกับแก้ไขปรับปรุงให้ศาลมีดุลพินิจในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราที่โจทก์มีสิทธิ ได้รับตามกฎหมายในกรณีที่จำเลยต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเลย มีพฤติการณ์ประวิงคดีให้ล่าช้าโดยไม่สุจริตปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการฟ้องคดีมโนสาเร่ และคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ทำได้กว้างขวางและสะดวกรวดเร็วขึ้น และปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ฎีกาให้ทำได้เฉพาะคดีที่มีเหตุผล สมควรที่จะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีการวมทั้ง แก้ไขบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 18 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้นบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เว้นแต่ มาตรา 9 ให้ใช้บังคับแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับด้วย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดให้มีกระบวนพิจารณา ชั้นชี้สองสถานเพื่อประโยชน์ในการทำให้การพิจารณาคดีสะดวกและรวดเร็วขึ้น แต่บทบัญญัติ ดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติให้สมประโยชน์ได้ เพราะกำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะทำการชี้สองสถานหรือไม่ก็ได้ และไม่มีสภาพบังคับให้คู่ความต้องมาศาลในวันชี้สองสถาน หากไม่มาคู่ความก็ไม่เสียสิทธิในการดำเนินกระบวนการพิจารณาแต่อย่างใด นอกจากนี้ บทบัญญัติเกี่ยวกับ การอ้างพยานหลักฐานและการส่งพยานหลักฐานไม่รัดกุม และเอื้ออำนวยแก่การชี้สองสถานกล่าวคือ เปิดโอกาสให้มีการอ้างพยานหลักฐานกันอย่างฟุ่มเฟือย หรืออ้างพยานหลักฐานที่อยู่ใน ความครอบครองของบุคคลภายนอก หรือระบุอ้างพยานที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบยังศาลอื่นไว้มากเกินความจำเป็น หรือระบุอ้างในลักษณะเป็นการประวิงคดีทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า และไม่ให้โอกาสศาลได้ทราบถึงพยานหลักฐานของคู่ความก่อนวันชี้สองสถาน เพื่อให้ศาลสามารถสอบถามให้คู่ความรับกันได้ในบางประเด็นหรือทุกประเด็น อันจะทำให้สามารถตัดประเด็นที่ไม่ จำเป็นออกและกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทำให้คดีเสร็จไปโดยรวดเร็ว อีกทั้งบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมใหญ่ของศาลฎีกายังไม่คลุมถึงกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มีการวินิจฉัยปัญหา โดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา สมควรกำหนดให้ศาลทำการชี้สองสถานทุกคดี เว้นแต่คดีที่ไม่มีความจำเป็น และกำหนดให้คู่ความทุกฝ่ายยื่นคำแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาท ยื่นบัญชีระบุพยาน และส่งสำเนาพยานเอกสารที่ได้อ้างอิงไว้ต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน เพื่อให้ศาลทราบถึงพยานหลักฐานของคู่ความและสามารถกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำ สืบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งกำหนดให้มีการยื่นต้นฉบับพยานเอกสารและพยานวัตถุที่สำคัญต่อศาลในวันชี้สองสถาน เพื่อให้คู่ความสามารถแสดงพยานหลักฐานหักล้างกันในประเด็นข้อพิพาท สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมใหญ่ของศาลฎีกาให้คลุมถึงกรณีที่มี กฎหมายกำหนดให้มีการวินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา และสมควรแก้ไขบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2538
มาตรา 15 พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้กระทำไปแล้ว ก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ ส่วนกระบวนการพิจารณาใดที่ยังมิได้กระทำจนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนพรบ.นี้ แต่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจกระทำได้ตามพรบ.นี้ ให้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชี้สองสถานและระยะเวลาในการยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมไม่ช่วยทำให้การพิจารณาคดีสะดวกและรวดเร็วขึ้นตามที่มุ่งหมายไว้ สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเสียใหม่ โดยกำหนดให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรม แก่จำเลยในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาว่าโจทก์จะ หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและปรับปรุงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาให้คลุมถึงการขอให้ระงับ แก้ไข หรือเพิกถอน การดำเนินการทางทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง กับแก้ไขผลบังคับของคำสั่งศาลตามคำขอใน วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อให้มาตรการในการคุ้มครองโจทก์ในระหว่างการพิจารณาของศาลและการบังคับชำระหนี้ ตามคำพิพากษาของศาลเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้จำเลยมีสิทธิจะขอให้ ศาลสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการถูกบังคับโดยวิธีการชั่วคราว และการพิจารณาคำขอดังกล่าว เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของจำเลยชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2539
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 87 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยกำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจควบคุมตัวผู้ถูกจับในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไว้ได้ไม่เกินสามวัน และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499

โดยกำหนดให้พนักงาน น.3

ต้องเปิดทำการในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ นอกเวลาทำการปกติสมควรกำหนดให้ผู้พิพากษาและเจ้าพนักงานศาลได้รับเงินค่าตอบแทนการ ปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ หรือในเวลาใด ๆ นอกเวลาทำงานได้ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 17 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดี ดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ที่ใช้อยู่ยังไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า และคู่ความต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควรเมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีที่พิพาทกัน สมควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ให้เหมาะสมขึ้น โดยให้ศาลดำเนินการไกล่เกลี่ยและเข้าช่วยเหลือคู่ความซึ่งไม่มีความรู้ทางกฎหมายได้ เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายของคู่ความ ทั้งสมควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บางมาตราที่เกี่ยวกับอำนาจ และหน้าที่ของศาลและการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เหมาะสมและสอดคล้องกันด้วย จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งบางเรื่องไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปโดยล่าช้า สมควรแก้เพิ่มเติมบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใน ส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 4 บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่อ้างถึงบทบัญญัติในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวนั้นอ้างถึงบทบัญญัติในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้นบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความล้าสมัย และไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งมีบทบัญญัติที่ขาดความชัดเจนในหลายประการ เป็นเหตุให้การดำเนินคดีในกรณีที่คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาเป็นไปโดยล่าช้า และมีข้อโต้แย้งที่คู่ความอาจใช้เป็นช่องทางในการประวิงคดีได้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการ พิจารณาโดยขาดนัดให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ศาลสามารถพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไปได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ และเพื่อให้กระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณาเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งรวดเร็ว ประหยัด และชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น อันจะเป็นหลักประกันการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และการคุ้มครองสิทธิของจำเลย ตลอดจนทำให้คดีที่ค้างการพิจารณาในศาลลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2543
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่ มาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานธุรการอิสระของศาลยุติธรรม แต่มิได้กำหนดให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรม กรมบังคับคดีจึงยังอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน บางส่วนยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรม โดยคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและให้การขายทอดตลาด ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็น ธรรมแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยการขายทอดตลาด สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมและมีความชัดเจนยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
มาตรา 10 บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งพรบ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่การบังคับคดีของบรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้ตาราง 5 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่การบังคับคดีดังกล่าว
มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่มีความไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เป็นเหตุให้การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นไปด้วยความล่าช้า และคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่เพียงพอ ประกอบกับตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีสูงเกินไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและอัตรา ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติในภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐานแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมยังมีความไม่เหมาะสมหลายประการ และไม่ได้แยกค่าฤชาธรรมเนียมในการพิจารณาคดีออกจากค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี รวมทั้งอัตราค่าฤชาธรรมเนียมในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ เรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรกำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการไกล่เกลี่ยของศาล การแต่งตั้ง ผู้ประนีประนอม รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม เป็นไปตามที่กำหนดในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การขอเลื่อนการนั่งพิจารณา และการพิจารณาคำขอเลื่อนการนั่งพิจารณาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่ และคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ชัดเจนขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 25) พ.ศ.2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาล และมิได้มีบทบัญญัติกำหนดวิธีการส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีให้ชัดเจน เป็นเหตุให้การบังคับคดีเป็นไปโดยล่าช้าและมีข้อโต้แย้ง สมควรกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสถานะเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและการรายงานการส่งเอกสารโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ชัดเจน เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปด้วยความเป็นธรรมสะดวก รวดเร็ว และประหยัดยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้

    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld