| |
| | รายได้จากการเพาะเลี้ยงไข่ผำสายพันธุ์"อาร์ไรซ่า" ในการรับประกันราคา 200 บาท ต่อกิโลกรัม สมาชิก ความเสี่ยง เป็น 0 !!! |
| เพาะเลี้ยงในบ่อบกที่ทางบริษัทจัดจำหน่ายในราคาพิเศษเฉพาะสมาชิก เพียง 3,500 บาท(ครบชุด)ขนาด 2X5 เมตร=10 ตารางเมตร ใส่แม่พันธุ์ไข่ผำ 1 ขีด (100 กรัม)ต่อตารางเมตร จะผลิตไข่ผำได้จำนวน 5-6.5 ขีด ต่อ 7 วัน (ประมาณครึ่งกิโลกรัม/7 วัน) แต่สมชิกเพาะเลี้ยง 10 ตารางเมตรก็เท่ากับ 6.5 กิโลกรัม ขายในราคาประกัน 200 บาท/กก.เท่ากับขีดละ 20 บาท ท่านจะมีรายได้ 1,300 บาทต่อการเก็บ1 ครั้ง 1 เดือนเก็บได้ 4 ครั้ง ท่านจะมีรายได้ 5,200 บาทต่อเดือน ดังนั้น เมื่อท่านลงทุนไป 3,500 บาท ก็จะถอนทุนคืนได้ในเดือนแรกแล้ว แถมยังมีกำไรเหลืออีก 1,700 บาท เดือนต่อไปก็จะเป็นกำไรตลอด (ผ้าใบปูบ่อจะมีความคงทนอยู่ได้ประมาณ 5 ปี จึงจำเป็นเปลี่ยน ส่วนโครงสร้าง พีวีซี นั้นอยู่ได้เป็น 10-20 ปี และทุกท่านที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ในราคารับประกัน ก็หมดห่วงเรื่อง ราคาไข่ผำในอนาคตจะตกต่ำลง เมื่อมีคนเพาะเลี้ยงกันมากขึ้นก็จะล้นตลาด แต่เพราะบริษัทเราเป็นบริษัทแปลรูปไข่ผำ เพื่อการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องกังวนว่าผลิตแล้วจะไม่มีที่ขาย หรือขายไม่ได้ราคา เพราะท่านมีประกันราคา จึงสบายหายห่วง | (ถ้าท่านเลี้ยง 10 บ่อ ก็ 52,000 บาท/เดือนแรก)
| ลงทุน 35,000 บาท เดือนเดียว! ก็คืนทุนหมด!!! |
ซื้อ - ขาย - เงิน - เหรียญ - ธนบัตรเก่า โบราณ ของทุกประเทศทั่วโลก | | | . | | 
 |
|
| | อยากเป็นเศรษฐี ต้องเป็นนายหน้า *หาเหรียญเก่า แบงค์เก่ามาขายเรา* รวยเร็ว รวยง่าย รวยเงียบๆ # ทักไลน์มา ถ้ามี !!! |
|
|
|
ธนบัตรที่ระลึกในวาระต่างๆรัชสมัย ล้นเกล้า รัชกาลที่ 9       ครั้งที่ 1 บัตรธนาคารใบนี้ผลิตขึ้นมาเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพพรรษา 60 บริบูรณ์ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 บนธนบัตร ด้านหน้า
จะเป็นภาพ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ประทับเหนือ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ส่วน ด้านหลัง ธนบัตรจะเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ประทับท่ามกลางพสกนิกรรายล้อม
เป็นธนบัตรที่ระลึกที่ควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้จริงๆ | ครั้งที่ 2 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา
ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ธนบัตรที่ระลึก 50 บาท และ 500 บาท
สองชนิดนี้มีขนาดและลักษณะเหมือนกันกับ 50 บาท และ 500
บาท แบบที่ 13 ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนครินทราบนมราชชนนี
คู่กับเลขไทย 90 ซึ่ง 2 ชนิดนี้มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ
แถมใต้ลายน้ำยังมีคำว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 90 พรรษา
และในเนื้อกระดาษฝังเส้นใยไหมสีม่วงอ่อน มีคำว่า ทรงพระเจริญ
อีกด้วย จ่ายแลก วันที่ 22 ตุลาคม 2533 | ครั้งที่ 3 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ธนบัตรที่ระลึกครั้งที่ 3 มีลักษณะเหมือนแบงค์ 1000
แบบ 14 แตกต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 12 สิงหาคม
พุทธศักราช 2535
ด้านหน้า บนธนบัตรด้านหน้าที่เด่นๆ
ข้างขวาจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทางเครื่องแบบจอมทัพ
พิมพ์ด้วยสีเทาเข้ม บนลายประดิษฐ์และลายพื้น สีฟ้า สีเขียว สีเทา สีแสด และม่วง บนธนบัตร ด้านหลัง ที่เด่นๆ
ตรงกลางมีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พิมพ์ด้วยสีเทาเข้มอมน้ำเงินทับอยู่บนลายพื้นสีส้มและสีเขียว จ่ายแลก วันที่ 10 สิงหาคม 2535 | ครั้งที่ 4 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในวาระครบ
๑๒๐ ปี กระทรวงการคลัง ธนบัตรครั้งที่
4 มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา
10 บาท แบบ 12 ต่างกันที่บริเวณตอนกลางของขอบล่างด้านหน้าธนบัตรมีคำว่า
120 ปี กระทรวงการคลัง วันที่ 14 เมษายน
พุทธศักราช 2538 ลักษณะพิเศษคือ
ตอนกลางของขอบล่างด้านหน้าธนบัตร มีคำว่า 120 ปี
กระทรวงการคลัง วันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2538 พิมพ์ด้วยสีน้ำตาล จ่ายแลก วันที่ 11 เมษายน 2538 | ครั้งที่ 5/1 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ธนบัตรครั้งที่
5 มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา
500 บาท แบบ 14 ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี แทนพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 จ่ายแลก วันที่ 6 มิถุนายน 2539 | ครั้งที่ 5/2 ธนบัตรที่ระลึก แบบพิเศษ
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 50
บาท แบบ 13 ต่างกันที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์และมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีแทนลายกระจัง พิมพ์ที่ประเทศ | ออสเตรเลีย จ่ายแลก วันที่ 3 ํันวาคม 2539 | ครั้งที่ 5/3 ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษชนิดราคา 500 บาท พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์และผนึกฟอยล์สีทองพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ไว้มุมขวาบนของธนบัตร ด้านหน้า ของธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ด้านหลัง ของธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ขณะทรงงาน | และภาพเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านต่าง
ๆจ่ายแลก วันที่ 9 กรกฎาคม 2539 | ครั้งที่ 6 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕
ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ แทน
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ | ครั้งที่ 7/1-7/2 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส
และวันบรมราชาภิเษกครบ 50 ปี ธนบัตรนี้มีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อนมีลายน้ำเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่
9 คู่กับพระราชินีนาถ ซึ่งมีความโปร่งแสงพิเศษ ภาพธนบัตรด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. คู่กับตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก.
และภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ภาพธนบัตรด้านหลัง เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์
และพระฉายาสาทิสลักษณ์ ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
จ่ายแลก วันที่ 8 พฤษภาคม 2543 | ครั้งที่ 8 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย ตัวธนบัตร ด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในฉลองพระองค์ชุดสากล ตัวธนบัตร ด้านหลัง มีลักษณะเช่นเดียวกับธนบัตรแบบ
1 ชนิดราคา 100 บาท
มีลักษณะพิเศษคือ เนื้อกระดาษสีขาว มีลายน้ำรูปไอราพต
มื่อส่องธนบัตรกับแสงแดดมองเห็นได้ทั้งสองด้านจ่ายแลก วันที่ 9 กันยายน 2545 | ครั้งที่
9 ธนบัตรที่ระลึก
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 ภาพด้านหน้า
ของธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถในฉลองพระองค์ชุดไทยศิวาลัย ภาพด้านหลัง
ของธนบัตรเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในฉลองพระองค์ชุดไทยจักรี ลักษณะพิเศษเป็นการพิมพ์แนวตั้ง เนื้อกระดาวสีขาว
มีลายน้ำพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อเอาไปส่องกับแสงสว่าง ตัวเลขไทย 100 ด้านมุมขวาล่างพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษสีทองเมื่อพลิกเอียงธนบัตรจะเห็นเป็นสีเขียว
จ่ายแลก วันที่ 4 สิงหาคม
2547 | ครั้งที่
10 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสการจัดงาน ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60
ปีพุทธศักราช 2549 ภาพด้านหน้า
ของธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และทอดเครื่องราชูปโภคบรมราชอิสริยยศ ภาพด้านหลัง
ของธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ และภาพเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก จ่ายแลก วันที่ 9 มิถุนายน
2549 | ครั้งที่
11 ธนบัตรที่ระลึก
เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ภาพธนบัตรด้านหน้า
เบื้องซ้ายมี พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นภาพประธาน
ตอนกลางของธนบัตรชนิดราคา 1 บาท มีภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี 2493 ชนิดราคา 5
บาท มีภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค
ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร ในปี
2506 และชนิดราคา ๑๐ บาท มีภาพการเสด็จออกมหาสมาคม
ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี 2549
เรียงตามลำดับ ภาพธนบัตร ด้านหลัง
เป็นภาพลำดับเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย 9 จ่ายแลก วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 | ครั้งที่
12 ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส
และวันบรมราชาภิเษกครบ 60 ปี พุทธศักราช 2553 ภาพธนบัตร ด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ภาพธนบัตร
ด้านหลัง เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงโบกพระหัตถ์
และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พุทธศักราช 2549 ตอนล่างของธนบัตรมีข้อความ ราชาภิเษกสมรสครบ 60 ปี 28 เมษายน 2553 และ บรมราชาภิเษกครบ 60 ปี 5 พฤษภาคม 2553 จ่ายแลก
วันที่ 4 พฤษภาคม 2553 | ครั้งที่
13 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ภาพธนบัตร
ด้านหน้า
เป็นพระบรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิมพ์บนลายพื้นสีเหลือบทอง
เป็นภาพประธาน มีอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ในฟอยล์สีเงินตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระครุฑพ่าห์ และลายไทย เป็นภาพประกอบ ภาพ ด้านหลัง
ธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำแม่เริมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพประธาน และมีภาพพระราชกรณียกิจ ได้แก่
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ทรงปลูกหญ้าแฝก แสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน
ภาพเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก และภาพกังหันน้ำชัยพัฒนา
แสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำ
ภาพที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพ ได้แก่ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ทรงเป่าแซกโซโฟน
แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ภาพเครื่องบินทำฝนหลวงด้วยเทคนิคโจมตีเมฆฝนแบบซูเปอร์แซนด์วิช
แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นภาพประกอบ จ่ายแลก วันที่ 2 ธันวาคม 2554 | ครั้งที่
14 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 ด้านหน้าของธนบัตรเป็นภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ด้านหลังของธนบัตรเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
จ่ายแลก วันที่ 27 กรกฎาคม 2555 | ครั้งที่
15 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12
สิงหาคม 2555ภาพด้านหน้า
ของธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันคู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถเป็นภาพประธาน มีลายน้ำอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. ภายใต้พระมหามงกุฎ โดยอักษร ก มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ
มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง ภาพด้านหลัง
ธนบัตรเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน
โดยมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ เป็นภาพประกอบ
ในเนื้อกระดาษฝังแถบสีฟ้าซ่อนไว้ตามด้านกว้างของธนบัตร
โดยมีบางส่วนปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังธนบัตร ภายในแถบสีฟ้ามีตัวเลขอารบิก 80 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรูปดอกกุหลาบเมื่อพลิกธนบัตรไปมา
จ่ายแลก วันที่ 9 สิงหาคม 2555 | ครั้งที่
16 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ด้านหลัง
ธนบัตรเป็นภาพพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นภาพประธาน และเชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งโดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปยังสถานีพัฒนาที่ดิน เขต 6
จังหวัดเชียงใหม่ ภาพตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ
ภาพดอกจำปีสิรินธรและดอกม่วงเทพรัตน์ เป็นภาพประกอบจ่ายแลก วันที่ 2
เมษายน 2558
| ครั้งที่
17 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 ภาพด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และพระสังวาลปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
ภาพด้านหลัง เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี จ่ายแลก วันที่ 9
มิถุนายน 2559
| ครั้งที่ 18 ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม
2559 ภาพด้านหน้า ธนบัตรเป็นภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ภาพด้านหลัง
เป็นภาพพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน
โดยมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะทอดพระเนตรผลงานศิลปาชีพ
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ภาพโขนพระราชทาน ชุด จองถนน
ภาพกระเป๋าย่านลิเภาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ และภาพพรรณไม้ในพระนามาภิไธย
คัทลียาควีนสิริกิติ์และกุหลาบควีนสิริกิติ์ จ่ายแลก วันที่ 12 สิงหาคม 2559
| |
|
|
|
| |
| |
|
|
| | | | | | | | | | | | | เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก |
|
| | | | | | | | | | | | | | | | | | | 
สอบถามไปรษณีย์ 1545 |
|
| | | | | | | | | | | |
|
|