ป.วิ อาญา น.1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตราไว้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2478 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยที่สภาผู้แทนราษฎร ลงมติว่าเป็นการสมควรที่จะประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงมีพระบรมราชโองการ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477" มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัติ นี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ใช้ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ตามที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2478 เป็นต้นไป ให้ศาลและเจ้าพนักงานทั้งหลาย ผู้ดำเนินคดีอาญาตลอดราชอาณาจักรปฏิบัติการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่ศาลซึ่งมีวิธีพิจารณาอยู่ ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายนี้จนกว่าคดีนั้นๆ จะถึงที่สุด คดีทั้งหลายซึ่งค้างอยู่ในศาลก่อน วันใช้ประมวลกฎหมายนี้ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายนี้จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด มาตรา 4 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 3 ตั้งแต่วันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี้สืบไป ให้ยกเลิก มาตรา 14, 16 และ มาตรา 87 ถึง 96 ในกฎหมายลักษณะอาญาพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. 115 และบรรดากฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นๆ ใน ส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 5 ให้ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อบังคับ และนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออก กฎกระทรวง เพื่อวางระเบียบการงานตามหน้าที่ให้การดำเนินคดีอาญาเป็นไปโดยเรียบร้อย ทั้งนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน ข้อบังคับหรือกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมายเหตุ อ่านมาตรา 5 แก้ไขโดยพรบ. ให้ใช้ปวิอ.(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี อ่านพรบ. ให้ใช้ปวิอ.(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 มาตรา 4 บรรดากฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ที่ใช้บังคับอยู่ในวัน ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกข้อบังคับหรือกฎกระทรวงขึ้นใหม่ใช้บังคับแทน มาตรา 5 ให้ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ หมายเหตุ : ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา 275 กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงต่อ ประธานศาลฎีกา และโดยที่ พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็น ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายก รัฐมนตรี ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ ประธานศาลฎีกาและนายกรัฐมนตรีรักษาการ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระ ราชบัญญัตินี้ สารบาญ ภาค1 ข้อความเบื้องต้น ลักษณะ1 หลักทั่วไป
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้วให้ถือตาม ความหมายดั่งได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้ (1) "ศาล" หมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจ ทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา (2) "ผู้ต้องหา" หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล (3) "จำเลย" หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดย ข้อหาว่าได้กระทำความผิด (4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6 (5) "พนักงานอัยการ" หมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้เป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงาน อื่นผู้มีอำนาจเช่น นั้นก็ได้ (6) "พนักงานสอบสวน" หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย ให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน (7) "คำร้องทุกข์" หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อ เจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความ ผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำ ความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนา จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ (8) "คำกล่าวโทษ" หมายความถึงการที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิด อย่างหนึ่งขึ้น (9) "หมายอาญา" หมายความถึงหนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการ จับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลยหรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายเช่นนี้อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าว ทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับแล้ว ตลอดจน สำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 77 (10) "การสืบสวน" หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่ จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด (11) "การสอบสวน" หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบ สวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่ จะทราบข้อเท็จจริงหรือการพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำ ผิดมาฟ้องลงโทษ (12) "การไต่สวนมูลฟ้อง" หมายความถึงกระบวนไต่สวนของศาล เพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา (13) "ที่รโหฐาน" หมายความถึงที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถาน ดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา (14) "โจทก์" หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นโจทก์ร่วมกัน (15) "คู่ความ" หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีก ฝ่ายหนึ่ง (16) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ให้รวม ทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงาน อื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุม ปราบปรามผู้กระทำผิด กฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม (17) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่" หมายความ ถึงเจ้าพนักงาน ดังต่อไปนี้ (ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (ง) อธิบดีกรมการปกครอง (จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง (ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง (ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด (ฎ) ปลัดจังหวัด (ฏ) นายอำเภอ (ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ (ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ (ด) ผู้บัญชาการตำรวจ (ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ (ถ) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจ (ท) ผู้บังคับการตำรวจ (ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ (น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (ป) ผู้กำกับการตำรวจ (ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ (พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ (ภ) สารวัตรตำรวจ (ม) ผู้บังคับกองตำรวจ (ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือ เทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป (ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือ เทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้ หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าว แล้วแต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ (ร) ต้องมียศ ตั้งแต่ชั้นนายร้อย ตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย (18) "สิ่งของ" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ใด ซึ่งอาจใช้เป็น พยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ให้รวมทั้งจดหมายโทรเลขและเอกสาร อย่างอื่น ๆ (19) "ถ้อยคำสำนวน" หมายความถึงหนังสือใดที่ศาลจดเป็น หลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น (20) "บันทึก" หมายความถึงหนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คำร้องทุกข์และคำ กล่าวโทษด้วย (21) "ควบคุม" หมายถึงการควบคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน (22) "ขัง" หมายความถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล หมายเหตุอ่านมาตรา 2(9) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 อ่านมาตรา 2(17) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2535 มาตรา 3 บุคคลดั่งระบุไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6 มีอำนาจจัดการต่อ ไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ (1) ร้องทุกข์ (2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้ารวมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ (3) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (4) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (5) ยอมความในคดีความผิดส่วนตัว มาตรา 4 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิ ฟ้องคดีได้เอง โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 5 (2) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทน ภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้ (1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล (2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้ (3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น มาตรา 6 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตาม หน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติ ของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์ เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตาม ที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ ศาลตั้งพนักงานฝ่าย ปกครองเป็นผู้แทน ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี มาตรา 7 ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่ นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือ ผู้แทนอื่น ๆ ของ นิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อย ชั่วคราว ขังหรือจำ คุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่ นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการ ถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน (3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง หมายเหตุอ่านมาตรา 7/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 8 นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้ (1) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม (2) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา (3) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ (5) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำ สั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น (6) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้ผู้เสียหายมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง (6) เช่นเดียวกับจำเลยด้วย หมายเหตุอ่านมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 9 บันทึกต้องระบุสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ นาม และตำแหน่ง ของเจ้าพนักงานผู้ทำ เมื่อเจ้าพนักงานทำบันทึกโดยรับคำสั่งจากศาลหรือโดยคำสั่งหรือ คำขอของเจ้าพนักงานอื่น ให้เจ้าพนักงานนั้นกล่าวไว้ด้วยว่าได้รับ คำสั่งหรือคำขอ เช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด ห้ามเจ้าพนักงานผู้ทำบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น มาตรา 10 ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปี ที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้นและ แสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวน ต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อย คำสำนวนนั้น มาตรา 11 บันทึกหรือถ้อยคำสำนวนนั้น ให้เจ้าพนักงานหรือศาล อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้ แก้ให้ถูกต้องหรือ มิฉะนั้นก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อ รับรองว่าถูกต้องแล้ว ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกหรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถ หรือไม่ยอมลง ให้บันทึกหรือรายงานเหตุนั้นไว้ มาตรา 12 เอกสารซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ คำให้การจำเลยหรือคำร้องซึ่งยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือ ศาลจักต้องเขียน ด้วยน้ำหมึกหรือพิมพ์ดีดหรือพิมพ์ ถ้ามีผิดที่ใดห้าม มิให้ลบออก ให้เพียงแต่ขีดฆ่าคำผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้แก้ไข เช่นนั้นต้องลงนามย่อรับรองไว้ที่ข้าง กระดาษ ถ้อยคำตกเติมในเอกสารดั่งบรรยายใน มาตรานี้ ต้องลงนามย่อ ของผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้ซึ่งตกเติมนั้นกำกับไว้ มาตรา 12ทวิ ในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาถ้าบทบัญญัติใดกำหนดให้มีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์เข้า ร่วมด้วยแล้ว นักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รับค่า ตอบแทนตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความ เห็นชอบจากกระทรวง การคลัง หมายเหตุอ่านมาตรา 12ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 มาตรา 13 การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ให้ใช้ภาษาไทย แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่าง ประเทศเป็นภาษาไทย หรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่น หรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวนพนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือ ให้พนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้หรือจัดให้ถาม ตอบ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร เมื่อมีล่ามแปลคำให้การ คำพยานหรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติมหรือตัด ทอนสิ่งที่แปล ให้ล่ามลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลสั่งจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่ล่ามที่จัดหาให้ตามมาตรานี้ ตามระเบียบที่สำนัก งานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด หรือสำนักงานศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความ เห็นชอบจากกระทรวงการคลัง หมายเหตุอ่านมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 13ทวิ (ยกเลิก) หมายเหตุอ่านมาตรา 13 ยกเลิกโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 14 ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถ ต่อสู้คดีได้ให้ พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี สั่งให้ พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมา ให้ถ้อยคำ หรือให้การว่าตรวจได้ ผลประการใด ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้องหรือ พิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะ ต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือมอบให้แก่ผู้อนุบาลข้าหลวง ประจำจังหวัดหรือผู้อื่นที่เต็มใจรับ ไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดั่งบัญญัติไว้ใน วรรคก่อนศาลสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้ มาตรา 15 วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ เท่าที่พอจะใช้บังคับได้ ลักษณะ2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมวด1 ลักษณะทั่วไป 16 มาตรา 16 อำนาจศาล อำนาจผู้พิพากษา อำนาจพนักงานอัยการ และอำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการที่จะปฏิบัติ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยการจัดตั้งศาลยุติธรรม และระบุ อำนาจและหน้าที่ของผู้พิพากษา หรือซึ่ง ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานอัยการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ หมวด2 อำนาจสืบสวน และสอบสวน มาตรา 17 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการ สืบสวนคดีอาญาได้ มาตรา 18 ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมี ยศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายใน เขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้ สำหรับในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจ สอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจ ของตนได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็น หน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้ รักษาการแทน หมายเหตุอ่านมาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2496 มาตรา 19 ในกรณีดั่งต่อไปนี้ (1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน ระหว่างหลายท้องที่ (2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่มีอีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง (3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป (4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน (5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง (6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจ สอบสวนได้ ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวน (ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับ ได้อยู่ในเขตอำนาจ (ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการ กระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ มาตรา 20 ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับ ผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใด เป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใด เป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน จะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใด ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ ให้พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนมีอำนาจ และหน้าที่ใน การสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนบรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่น ที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวน ปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่ เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่ง จากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน (1) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ (2) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหาย ได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตาม มาตรา 140 มาตรา 141 หรือ มาตรา 142 ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน หมายเหตุอ่านมาตรา 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2551 มาตรา 21 ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัด เดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดนั้นมีอำนาจ ชี้ขาด แต่ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้ผู้บังคับ บัญชาของพนักงานสอบสวนซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองอธิบดีกรมตำรวจ ขึ้นไปเป็นผู้ชี้ขาด ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัด ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้อธิบดีกรมอัยการหรือ ผู้ทำการแทนเป็น ผู้ชี้ขาด การรอคำชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน หมวด3 อำนาจศาล มาตรา 22 เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า (1) เมื่อจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งหรือเมื่อเจ้าพนักงาน ทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตของศาลดั่งกล่าวแล้ว จะชำระ ที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตอำนาจก็ได้ (2) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย ให้ชำระคดีนั้น ที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขต ของศาลใด ให้ชำระ ที่ศาลนั้นได้ด้วย มาตรา 23 เมื่อศาลแต่สองศาลขึ้นไปต่างมีอำนาจชำระคดี ถ้าได้ ยื่นฟ้องคดีนั้นต่อศาลหนึ่งซึ่งตามฟ้องความผิดมิได้เกิดในเขต โจทก์ หรือจำเลยจะร้อง ขอให้โอนคดีไปชำระที่ศาลอื่นซึ่งความผิดได้เกิด ในเขตก็ได้ ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต แต่ต่อมาความ ปรากฏแก่โจทก์ว่าการพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้นถ้าให้อีกศาลหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจชำระคดีได้ พิจารณาคดีนั้น โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่ง คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาขอโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้ แม้ว่าจำเลยจะคัดค้านก็ตามเมื่อศาลเห็น สมควรจะโอนคดีหรือ ยกคำร้องเสียก็ได้ มาตรา 24 เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใด เป็นต้น (1) ปรากฏว่าความผิดหลายฐาน ได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิด คนเดียวกัน หรือผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความ ผิดฐานหนึ่งหรือ หลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้หรือรับของโจรก็ตาม (2) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียว กัน หรือโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาแต่ก่อนแล้ว (3) ปรากฏว่าความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีเจตนาช่วยผู้ กระทำผิดอื่นให้พ้นจากรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้ ดั่งนี้จะฟ้องคดีทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทำความผิดทั้งหมดต่อศาล ซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้ ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ศาลซึ่ง มีอำนาจชำระ ก็คือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิด เกี่ยวพันกันนั้นไว้ก่อน มาตรา 25 ศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้จะพิจารณาพิพากษา รวมกันไปก็ได้ ถ้าศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้ เห็นว่าเป็นการสมควรที่ความ ผิดฐานหนึ่ง ควรได้ชำระในศาลซึ่งตามปกติมีอำนาจจะชำระ ถ้า หากว่าคดีนั้นไม่ เกี่ยวกับคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลเดิมได้ตกลงกับอีก ศาลหนึ่งแล้ว จะสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอื่นนั้นก็ได้ มาตรา 26 หากว่าตามลักษณะของความผิด ฐานะของจำเลย จำนวนจำเลย ความรู้สึกของประชาชนส่วนมากแห่งท้องถิ่นนั้น หรือ เหตุผลอย่างอื่น อาจมี การขัดขวางต่อการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น เมื่อ โจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่ออธิบดี ศาลฎีกา ขอให้โอนคดีไปศาลอื่น ถ้าอธิบดีศาลฎีกาอนุญาตตามคำขอนั้นก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่ อธิบดีศาลฎีการะบุไว้ คำสั่งของอธิบดีศาลฎีกาอย่างใด ย่อมเด็ดขาดเพียงนั้น มาตรา 27 ผู้พิพากษาในศาลใดซึ่งชำระคดีอาญา จะถูกตั้งรังเกียจ ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติ ไว้ในเรื่องนั้นก็ ได้ ลักษณะ3 การฟ้องคดีอาญาและแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด1 การฟ้องคดีอาญา มาตรา 28 บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย มาตรา 29 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบ สันดานสามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้อง แทนไว้แล้ว ผู้ ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้ มาตรา 30 คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่าง พิจารณาก่อน ศาลชั้นต้น พิพากษาคดีนั้นก็ได้ มาตรา 31 คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหาย ยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ใน ระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ด ขาดก็ได้ มาตรา 32 เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือ ละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงาน อัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำ การนั้น ๆ ได้ มาตรา 33 คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและ ผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้น ๆ มีอำนาจสั่งให้ รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาล เห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมี คำพิพากษา แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอม ของศาลอื่นนั้นก่อน มาตรา 34 คำสั่งไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่ มาตรา 35 คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมี คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาต ให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาล จะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่น ในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้าน หรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของ จำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้าน การถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอน ฟ้องนั้นเสีย มาตรา 36 คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้อง อีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้ (1) ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อ ส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหาย ที่จะยื่นฟ้องคดีนั้น ใหม่ (2) ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไปโดย มิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัด สิทธิผู้เสียหายที่จะ ยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ (3) ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้ว ได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่ คดีซึ่งเป็นความ ผิดต่อส่วนตัว มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (1) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิด ยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา (2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มี อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดี อื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่ง มีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบ เทียบแล้ว (3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มี อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือ คดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่ง เกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหา ชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ผู้ทำการ ในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว (4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบ เทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว" หมายเหตุอ่านมาตรา 37 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2529 มาตรา 38 ความผิดตามอนุ มาตรา (2) ,(3) และ (4) แห่งก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวใน นั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับ โทษถึงจำคุก ให้มีอำนาจ เปรียบเทียบดั่งนี้ (1) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและ ผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวน ที่เจ้าหน้าที่กำหนด ให้ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป (2) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้ เปรียบเทียบให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ (1) โดยความตายของผู้กระทำผิด (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย (3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37 (4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง (5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น (6) เมื่อคดีขาดอายุความ (7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ หมวด2 การฟ้องคดีแพ่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับอาญา มาตรา 40 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อ ศาลซึ่งพิจารณาคดี อาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้อง เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 ถ้าการพิจารณาคดีแพ่งจักทำให้การพิจารณาคดีอาญา เนิ่นช้าหรือติดขัด ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา และพิจารณาต่าง หากโดยศาลที่มีอำนาจชำระ มาตรา 42 ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถ้าพยานหลักฐานที่นำสืบแล้ว ในคดีอาญายังไม่เพียงพอ ศาลจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติม อีกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ศาลจะพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่ง จะพิพากษาในภายหลังก็ได้ มาตรา 43 คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ เรียกร้องทรัพย์สิน หรือ ราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคา แทนผู้เสียหายด้วย มาตรา 44 การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตาม มาตรา ก่อนพนักงาน อัยการจะขอรวมไปกับคดี อาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่าง ที่คดีอาญา กำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้ คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ให้รวมเป็นส่วนหนึ่ง แห่งคำพิพากษาในคดีอาญา มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทด แทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือ ได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะ ยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่น คำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือ ว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหานอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้อง ดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหาย และจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาด สาระสำคัญ บางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้อง แก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่ง จะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังตับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอัน เนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญา มิได้ และต้องไม่ขัดขืนหรือแย้ง กับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงงานอัยการได้ดำเนินการตามความใน มาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจำยื่นคำรืองตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์อีกไม่ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 44/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 44/2 เมื่อได้รับคำร้องตาม มาตรา 44/1 ให้ศาลแจ้งให้จำเลยทราบหากจำเลยให้การ ประการใดหรือไม่ประสงค์จะให้การให้ศาลบันทึกไว้ ถ้า หากจำเลยประสงค์จะทำคำให้การเป็นหนังสือให้ศาลกำหนดระยะเวลายื่น คำให้การตามที่เห็นสมควร และเมื่อพนักงงานอัยการสืบพยานเสร็จศาลจะ อนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยาน เข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนได้เท่าที่จำเป็น หรือศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาไป ก่อนแล้วพิจารณาพิพากษาคดีส่วน แพ่งในภายหลัง ถ้าความปรากฎต่อ ศาลว่าผู้ยื่นคำร้องตาม มาตรา 44/1 เป็นคนยากจนไม่สามารถจัดหาทนายความได้เอง ให้ศาลมีอำนาจ ตั้งทนายความให้แก่ผู้นั้น โดยทนายความที่ได้รับแต่งตั้งมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบ ที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด หมายเหตุอ่านมาตรา 44/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 45 คดีเรื่องใดถึงแม้ว่าได้ฟ้องในทางอาญาแล้วก็ไม่ตัดสิทธิ ผู้เสียหายที่จะฟ้องในทางแพ่งอีก มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา มาตรา 47 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความ รับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้อง คำนึงถึงว่าจำเลย ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ ราคาทรัพย์สินที่สั่งให้จำเลย ใช้แก่ผู้เสียหาย ให้ศาลกำหนดตามราคาอันแท้จริง ส่วนจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับนั้น ให้ศาล กำหนดให้ตามความเสียหายแต่ต้องไม่เกินคำขอ หมายเหตุอ่านมาตรา 47 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 48 เมื่อศาลพิพากษาให้คืนทรัพย์สิน แต่ยังไม่ปรากฏตัว เจ้าของเมื่อใดปรากฏตัวเจ้าของแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาของคืน ของนั้นให้แก่เจ้า ของไป ในกรณีที่ปรากฏตัวเจ้าของ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้เจ้าหน้าที่ซึ่ง รักษาของคืนของนั้นให้แก่เจ้าของไป เมื่อมีการโต้แย้งกัน ให้บุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของอันแท้จริงใน ทรัพย์สินนั้นฟ้องเรียกร้องยังศาลที่มีอำนาจชำระ มาตรา 49 แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดี ส่วนอาญาศาลจะสั่งให้คืน ทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของก็ได้ มาตรา 50 ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามมาตรา มาตรา 43 และ มาตรา 44 หรือ มาตรา 44/1 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หมายเหตุอ่านมาตรา 50 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 51 ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้อง ทางแพ่งเนื่องจาก ความผิดนั้นย่อมระงับ ไปตามกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวล กฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา แม้ถึงว่าผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตใน มาตรา 193/20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเป็นผู้ฟ้องหรือ ได้ฟ้องต่างหากจากคดีอาญาก็ตาม ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้อง ต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสีย หายมีสิทธิจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุด หยุดลงตาม มาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญา และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ฟ้องคดีแพ่งสิทธิของผู้เสีย หายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมี ตามกำหนด อายุความใน มาตรา 193/32 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าโจทก์ฟ้องคดีอาญาและศาล พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายเหตุอ่านมาตรา 51 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 ลักษณะ4 หมายเรียกและหมายอาญา หมวด1 หมายเรียก มาตรา 52 การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวนหรือมาที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือมาศาลเนื่องในการ สอบสวน การไต่ สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้จักต้องมีหมายเรียกของพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือของศาล แล้วแต่กรณี แต่ในกรณีที่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง ย่อมมีอำนาจที่ จะเรียกผู้ต้องหาหรือ พยานมาได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก มาตรา 53 หมายเรียกต้องทำเป็นหนังสือ และมีข้อความดั่งต่อไปนี้ (1) สถานที่ออกหมาย (2) วันเดือนปีที่ออกหมาย (3) ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา (4) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา (5) สถานที่ วันเดือนปีและเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง (6) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่ง เจ้าพนักงานผู้ออกหมาย มาตรา 54 ในการกำหนดวันและเวลาที่จะให้มาตามหมายเรียกนั้น ให้พึงระลึกถึงระยะทางใกล้ไกล เพื่อให้ผู้ถูกเรียกมีโอกาสมาถึงตาม วันเวลากำหนด ในหมาย มาตรา 55 การส่งหมายเรียกแก่ผู้ต้องหา จะส่งให้แก่บุคคลผู้อื่น ซึ่งมิใช่สามีภริยา ญาติหรือผู้ปกครองของผู้รับหมายรับแทนนั้นไม่ได้ มาตรา 55/1 ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าศาลมีคำสั่งให้ออกหมายเรียกพยานโจทก์โดยมิได้กำหนดวิธีการส่งไว้ ให้พนักงานอัยการมีหน้าที่ ดำเนินการให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ เป็นผู้จัดส่งหมายเรียกแก่พยาน และติดตามพยานโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วแจ้งผลการส่ง หมายเรียกไปยังศาล และพนักงานอัยการโดยเร็ว หากปรากฏว่าพยานโจทก์มีเหตุขัดข้องไม่อาจมาศาลได้หรือเกรงว่าจะเป็นการยากที่จะนำพยานนั้น มาสืบตามที่ศาลนัดไว้ ก็ให้พนักงานอัยการขอให้ศาลสืบพยานนั้นไว้ล่วงหน้าตาม มาตรา 173/2 วรรคสอง เจ้าพนักงานผู้ส่งหมายเรียกมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากระทรวงการคลัง หมายเหตุอ่าน มาตรา 55/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 56 เมื่อบุคคลที่รับหมายเรียกอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ซึ่ง ออกหมายเป็นหมายศาลก็ให้ส่งไปศาล เป็นหมายพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจที่มี อำนาจออกหมายเรียกซึ่งผู้ถูกเรียกอยู่ในท้องที่ เมื่อศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับหมาย เช่นนั้นแล้วก็ให้สลักหลังหมายแล้วจัดการส่ง แก่ผู้รับต่อไป หมวด2 หมายอาญา ส่วนที่1 หลักทั่วไป มาตรา 57 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และ มาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุกหรือค้น ในที่รโหฐาน หาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีคำสั่งหรือหมายศาลสำหรับการนั้น บุคคลที่ต้องขังหรือจำคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล หมายเหตุอ่านมาตรา 57 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 58 ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือหมายอาญาได้ภายในเขตอำนาจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา หมายเหตุอ่านมาตรา 58 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 59 ศาลจะออกคำสั่งหรือหมายจับ หมายค้น หรือหมายขัง ตามที่ศาลเห็นสมควรหรือโดยมีผู้ร้องขอก็ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องขอเป็นพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจ ต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสาม หรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีหรือ เทียบเท่าขึ้นไป ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนซึ่งมีเหตุอันควรโดย ผู้ร้องขอไม่อาจไปพบศาลได้ ผู้ร้องขออาจร้องขอต่อศาลทางโทรศัพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นที่เหมาะสมเพื่อขอให้ศาลออกหมายจับหรือหมายค้นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลสอบถามจนปรากฏว่ามีเหตุที่จะ ออกหมายจับหรือหมายค้นได้ตาม มาตรา 59/1 และมีคำสั่งให้ออกหมายนั้นแล้ว ให้จัดส่งสำเนาหมายเช่นว่านี้ไปยังผู้ร้องขอโดยทางโทรสาร สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ ของประธานศาลฎีกา เมื่อได้มีการออกหมายตามวรรคสามแล้ว ให้ศาลดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอหมายมาพบศาลเพื่อสาบานตัวโดยไม่ชักช้า โดยจดบันทึกถ้อยคำ ของบุคคลดังกล่าวและลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมายไว้ หรือจะใช้เครื่องบันทึกเสียงก็ได้โดยจัดให้มีการถอดเสียง เป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของ ศาลผู้ออกหมาย บันทึกที่มีการลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าวแล้ว ให้เก็บไว้ในสารบบของศาล หากความปรากฏต่อศาลในภายหลังว่าได้มีการออกหมายไป โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเช่นว่านั้นได้ ทั้งนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอจัดการแก้ไข เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เกี่ยว ข้องตามที่เห็นสมควรก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 59 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 59/1 ก่อนออกหมาย จะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสม ควรที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่ามีเหตุที่จะออกหมายตาม มาตรา 66 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 คำสั่งศาลให้ออกหมายหรือยกคำร้อง จะต้องระบุเหตุผลของคำสั่งนั้นด้วย หลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอการพิจารณา รวมทั้งการออกคำสั่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา หมายเหตุอ่านมาตรา 59/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 60 หมายจับ หมายค้น หมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ที่ออกหมาย (2) วันเดือนปีที่ออกหมาย (3) เหตุที่ต้องออกหมาย (4) (ก) ในกรณีออกหมายจับ ต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคลที่จะถูกจับ (ข) ในกรณีออกหมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกขัง จำคุก หรือปล่อย (ค) ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้น และชื่อหรือรูปพรรณบุคคล หรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้น กำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อ กับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้นนั้น (5) (ก) ในกรณีออกหมายจับ หมายขัง หรือหมายค้นให้ระบุความผิด หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย (ข) ในกรณีออกหมายจำคุก ให้ระบุความผิดและกำหนดโทษตามคำพิพากษา (ค) ในกรณีออกหมายขังหรือหมายจำคุก ให้ระบุสถานที่ที่จะให้ขังหรือจำคุก (ง) ในกรณีออกหมายปล่อย ให้ระบุเหตุที่ให้ปล่อย (6) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หมายเหตุอ่านมาตรา 60 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 61 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 97 พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจมีอำนาจหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา ซึ่งได้มอบหรือส่งมาให้ จัดการภายในอำนาจของเขา หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออก จะมอบหรือส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตอำนาจของศาลดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจประจำจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือตำบล ซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้ ในกรณีหลังเจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้อง รับผิดชอบในการจัดการตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการให้ก็ได้ หรือจะ มอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรอง ว่าถูกต้องให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมายซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้น ได้มอบหรือส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกันก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 61 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 62 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวล กฎหมายนี้ซึ่งว่าด้วยการจับและค้น เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมาย นั้นต้องแจ้งข้อความใน หมายให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบและถ้ามีคำขอร้อง ให้ส่งหมายนั้นให้เขาตรวจดู การแจ้งข้อความในหมาย การส่งหมายให้ตรวจดูและวันเดือนปี ที่จัดการเช่นนั้น ให้บันทึกไว้ในหมายนั้น มาตรา 63 เมื่อเจ้าพนักงานได้จัดการตามหมายอาญาแล้ว ให้บันทึกรายละเอียดในการจัดการนั้นถ้าจัดการตามหมายไม่ได้ ให้บันทึกพฤติการณ์ไว้ แล้ว ให้ส่งบันทึกนั้นไปยังศาลซึ่งออกหมายโดยเร็ว หมายเหตุอ่านมาตรา 63 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 64 ถ้าบุคคลที่มีชื่อในหมายอาญาถูกจับ หรือบุคคลหรือ สิ่งของที่มีหมายให้ค้นได้ค้นพบแล้ว ถ้าสามารถจะทำได้ก็ให้ส่งบุคคลหรือสิ่งของนั้นโดย ด่วนไปยังศาลซึ่งออกหมาย หรือเจ้าพนักงานตามที่กำหนดไว้ในหมาย แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น หมายเหตุอ่านมาตรา 64 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 65 ถ้าบุคคลที่ถูกจับตามหมายหลบหนีหรือมีผู้ช่วยให้ หนีไปได้เจ้าพนักงานผู้จับมีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นโดยไม่ต้องมี หมายอีก ส่วนที่2 หมายจับ มาตรา 66 เหตุที่จะออกหมายจับได้มี ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อ เหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี หมายเหตุอ่านมาตรา 66 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 67 จะออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อก็ได้แต่ต้องบอก รูปพรรณของผู้นั้นให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้ มาตรา 68 หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน หมายเหตุอ่านมาตรา 68 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ส่วนที่3 หมายค้น มาตรา 69 เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดั่งต่อไปนี้ (1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการ สอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา (2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิด กฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำ ความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว มาตรา 70 หมายค้นซึ่งออกเพื่อพบและจับบุคคลนั้นห้ามมิให้ออก เว้นแต่จะมีหมายจับบุคคลนั้นด้วย และเจ้าพนักงานซึ่งจะจัดการตาม หมายค้นนั้นต้อง มีทั้งหมายค้นและหมายจับ ส่วนที่4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย มาตรา 71 เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตาม มาตรา 87 หรือ มาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายขังคงใช้ได้อยู่จนกว่าศาลจะได้เพิกถอน โดยออกหมายปล่อยหรือออกหมายจำคุกแทน ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นมีอายุไม่ถึงสิบแปดปี หรือเป็นหญิงมีครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตรมาไม่ถึงสามเดือน หรือเจ็บป่วยซึ่งถ้า ต้องขังจะถึงอันตรายแก่ชีวิต ศาลจะไม่ออกหมายขังหรือจะออกหมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งถูกขังอยู่นั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ห้ามศาลที่จะมีคำสั่งให้ผู้นั้น อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานหรือบุคคลที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือกำหนดวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้น ถ้าศาลมีคำสั่งเช่นว่านี้ในระหว่างสอบสวน ให้ใช้ได้ไม่เกินหกเดือนนับแต่วันมีคำสั่ง แต่ถ้ามีคำสั่งในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือระหว่าง พิจารณา ให้ใช้ได้จนกว่าจะเสร็จการพิจารณา หากภายหลังที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นไม่ปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยน แปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือพิจารณาออกหมายขังได้ตามที่เห็นสมควร หมายเหตุอ่านมาตรา 71 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 72 หมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ตาม หมายศาลให้ออกในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อศาลสั่งปล่อยชั่วคราว (2) เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนขอให้ศาลปล่อย โดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน (3) เมื่อพนักงานอัยการร้องต่อศาลว่าได้ยุติการสอบสวนแล้ว โดยคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา (4) เมื่อพนักงานอัยการไม่ฟ้องผู้ต้องหาในเวลาที่ศาลกำหนด (5) เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและสั่งให้ยกฟ้อง เว้นแต่เมื่อโจทก์ร้องขอและศาลเห็นสมควรให้ขังจำเลยไว้ระหว่าง อุทธรณ์ฎีกา (6) เมื่อโจทก์ถอนฟ้องหรือมีการยอมความในคดีความผิดต่อ ส่วนตัว หรือเมื่อศาลพิจารณาแล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นสมควร ให้ขังจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา (7) เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษจำเลยอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่โทษ ประหารชีวิตจำคุก หรือให้อยู่ภายในเขตที่อันมีกำหนดถ้าโทษ อย่างอื่นนั้นเป็นโทษปรับ เมื่อจำเลยได้เสียค่าปรับแล้ว หรือศาล ให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีกำหนดวันเพื่อให้จำเลยหาเงินค่าปรับมา ชำระต่อศาล มาตรา 73 คดีใดอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยต้องควบคุม หรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่ากำหนดจำคุก หรือกำหนดจำคุก แทนตามคำพิพากษา ให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็น สมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ มาตรา 74 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 73 และ มาตรา 185 วรรค 2 เมื่อ ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิตหรือจะต้องจำคุกแทน ค่าปรับ ให้ ศาลออกหมายจำคุกผู้นั้นไว้ มาตรา 75 เมื่อผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกถูกจำครบกำหนดแล้ว หรือได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อย หรือมีคำวินิจฉัยให้ปล่อย ตัวไปโดยมี เงื่อนไขหรือมีกฎหมายยกเว้นโทษหรือโทษจำคุกนั้น หมดไปโดยเหตุอื่น ให้ศาลออกหมายปล่อยผู้นั้นไป มาตรา 76 หมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องจัดการ ตามนั้นโดยพลัน ลักษณะ5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว หมวด1 จับ ขัง จำคุก
มาตรา 77 หมายจับให้ใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร การจัดการตามหมายจับนั้นจะจัดการตามเอกสารหรือหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ก็ได้ (1) สำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องแล้ว (2) โทรเลขแจ้งว่าได้ออกหมายแล้ว (3) สำเนาหมายที่ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของ ประธานศาลฎีกา การจัดการตาม (2) และ (3) ให้ส่งหมายหรือสำเนาอันรับรองแล้วไปยังเจ้าพนักงาน ผู้จัดการตามหมายโดยพลัน หมายเหตุอ่านมาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือ วัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตาม มาตรา 117 หมายเหตุอ่านมาตรา 78 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 79 ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชี ท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย มาตรา 80 ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น กำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขา ได้กระทำผิดมา แล้วสด ๆ อย่างไรก็ดี ความผิด อาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความ ผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้ (1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่ง ผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ (2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะ ทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการ กระทำผิดหรือมีเครื่อง มือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่า ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเป็นประจักษ์ที่เสื้อผ้า หรือเนื้อตัวของผู้นั้น มาตรา 81 ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน หมายเหตุอ่านมาตรา 81 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 81/1 ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จ เจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพำนัก เว้นแต่ (1) นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย อนุญาตให้จับ และได้แจ้งเลขาธิการพระราชวัง หรือสมุหราชองครักษ์รับทราบแล้ว (2) เจ้าพนักงานผู้ถวาย หรือให้ความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ เป็นผู้จับตามกฎหมายว่าด้วยราชองครักษ์ หรือตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบเกี่ยว กับการให้ความปลอดภัย หมายเหตุอ่านมาตรา 81/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 82 เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความ ช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้แต่จะ บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิด อันตรายแก่เขานั้นไม่ได้ มาตรา 83 ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงาน สอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การ หรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะ เป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือ ผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้ โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวาง การจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่ กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่า ที่เหมาะ สมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 83 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 84 เจ้าพนักงานหรือ ราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา 83 โดยทันทีและเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้ง ให้ผู้ถูกจับทราบและอ่านให้ฟัง และมอบสำเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้น (2) ในกรณีที่ราษฎรเป็นผู้จับ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวบันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งข้อความและพฤติการณ์แห่ง การจับนั้นไว้ และให้ผู้จับลงลายมือชื่อ กำกับไว้เป็นสำคัญเพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ และแจ้งให้ผู้ถูกจับ ทราบด้วยว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ เมื่อได้ดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งแล้วให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่งแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบถึงสิทธิตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 7/1 รวมทั้งจัดให้ผู้ถูกจับสามารถติดต่อกับญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจเพื่อแจ้ง ให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมได้ในโอกาสแรก เมื่อผู้ ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง หรือถ้ากรณีผู้ถูกจับร้องขอให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้แจ้ง ก็ให้จัดการตามคำ ร้องขอนั้นโดยเร็ว และให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบันทึกไว้ ในการนี้มิให้เรียกค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกจับ ในกรณีที่จำเป็น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับจะจัดการพยาบาลผู้ถูกจับเสียก่อนนำตัวไปส่งตามมาตรานี้ก็ได้ ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับ สารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความ ผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อ ได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี หมายเหตุอ่านมาตรา 84 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 84/1 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่งนั้น จะปล่อยผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมผู้ถูกจับไว้ก็ได้ แต่ถ้าเป็นการ จับโดยมี หมายของศาลให้รีบดำเนินการตาม มาตรา 64 และในกรณีที่ต้องส่งผู้ถูกจับไปยังศาล แต่ไม่อาจส่งไปได้ในขณะนั้นเนื่องจาก เป็นเวลาที่ศาลปิดหรือ ใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่รับตัวผู้ถูกจับไว้มีอำนาจปล่อยผู้ถูกจับชั่ว คราวหรือควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้จนกว่าจะถึงเวลาศาล เปิดทำการ หมายเหตุอ่านมาตรา 84/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 85 เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัว ผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็น ผู้ค้น สิ่งของใดที่ยึดไว้ เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้อง ขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น มาตรา 85/1 ในระหว่างสอบสวน สิ่งของที่เจ้าพนักงานได้ยึดไว้ ซึ่งมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ถ้ายังไม่ได้นำสืบ หรือแสดงเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี เจ้าของหรือผู้ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้ อาจยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อขอรับสิ่งของนั้นไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์โดยไม่มีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้ การสั่งคืนสิ่งของตามวรรคหนึ่งจะต้องไม่กระทบถึงการใช้สิ่งของนั้นเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในภายหลัง ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการมีคำสั่งโดยมิชักช้า โดยอาจเรียกประกันจากผู้ยื่นคำร้องหรือกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้บุคคลนั้นปฏิบัติ และหากไม่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขหรือบุคคลดังกล่าวไม่ยอมคืนสิ่งของนั้นเมื่อมีคำสั่งให้คืน ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี มีอำนาจยึดสิ่งของนั้น กลับคืนและบังคับตามสัญญาประกันเช่นว่านั้นได้ วิธีการยื่นคำร้อง เงื่อนไขและการอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลชั้นต้น ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาดังกล่าวได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่อนุญาต และให้ศาลพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต ศาลอาจเรียกประกันหรือกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด หมายเหตุอ่านมาตรา 85/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2551 มาตรา 86 ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อ ป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น มาตรา 87 ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูก จับไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี ในกรณีความผิดลหุโทษ จะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น ในกรณีที่ผู้ถูกจับ ไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว และมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน หรือการฟ้องคดีให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภาย ในสี่สิบแปดชั่วโมงนับ แต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา 83 เว้นแต่มีเหตุสุด วิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ โดยให้พนัก งานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้ ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ และศาลอาจเรียก พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงเหตุจำเป็น หรืออาจเรียก พยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ ในกรณีความผิดอาญาที่ ได้กระทำลงมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้ง เดียว มีกำหนดไม่เกินเจ็ดวัน ในกรณีความผิด อาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขัง หลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน ในกรณีความผิด อาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่ง ต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน ในกรณีตามวรรคหกเมื่อศาลสั่งขังครบสี่สิบแปดวันแล้ว หากพนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขังต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำ เป็น ศาลจะสั่งขังต่อไปได้ก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนได้แสดงถึงเหตุจำเป็น และนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็นที่พอใจ แก่ศาล ในการไต่สวนตามวรรคสามและวรรคเจ็ด ผู้ต้องหามีสิทธิแต่งทนายความเพื่อแถลงข้อคัดค้านและซักถามพยาน ถ้าผู้ต้องหาไม่มีทนายความเนื่องจากยัง ไม่ได้มีการปฏิบัติตาม มาตรา 134/1 และผู้ต้องหาร้องขอ ให้ศาลตั้งทนายความให้ โดยทนายความนั้นมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด ไว้ใน มาตรา 134/1 วรรคสาม โดยอนุโลม ถ้าพนักงานสอบสวน ต้องไปทำการสอบสวนในท้องที่อื่นนอกเขตของศาลซึ่งได้สั่งขังผู้ต้องหาไว้ พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขอให้โอนการขังไปยัง ศาล ในท้องที่ที่จะต้องไปทำการสอบสวนนั้นก็ได้ เมื่อศาลที่สั่งขังไว้เห็นเป็นการสมควรก็ให้สั่งโอนไป หมายเหตุอ่านมาตรา 87 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 87/1 เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนร้องขอและผู้ต้องหามิได้คัดค้าน หากศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้นำผู้ต้องหาหรือพยาน หลักฐานไปยังสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ศาลเห็นสมควรซึ่งสามารถสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวน โดยจัดให้มีการถ่าย ทอดภาพและเสียง ในลักษณะการประชุมทางจอภาพได้ การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบจากที่ ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ทั้งนี้ ให้ระบุวิธีการสอบถามและไต่สวน รวมทั้งสักขีพยานในการนั้นด้วย การไต่สวนตามวรรคหนึ่งให้ถือเสมือนว่าเป็นการไต่สวนในห้องพิจารณาของศาล หมายเหตุอ่านมาตรา 87/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 88 คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ เมื่อศาลประทับฟ้องและได้ตัวจำเลยมาศาลแล้ว หรือคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ศาลจะ สั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 88 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 89 หมายขังหรือหมายจำคุกต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้นในเขตของศาลซึ่งออกหมาย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เมื่อพนักงานสอบสอนร้องขอและศาลได้ไต่สวนแล้ว ศาลอาจสั่งขังผู้ต้องหาไว้ ณ สถานที่ที่พนักงานสอบสวนร้องขอ โดยให้อยู่ ในความควบคุมของพนักงงาน สอบสวนตามกำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควร หมายเหตุอ่านมาตรา 89 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 มาตรา 89/1 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา เมื่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มี หน้าที่จัดการตามหมายขังร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในสถานที่อื่นตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอ หรือตาม ที่ศาลเห็นสมควรนอกจากเรือนจำก็ได้ โดยให้อยู่ในความควบคุมของผู้ร้องขอ หรือเจ้าพนักงานตามที่ศาลกำหนด ในการนี้ ศาลจะกำหนดระยะเวลา ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ในการพิจารณาเพื่อมีคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ศาลจะดำเนินการไต่สวนหรือให้ผู้เสียหาย หรือเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องตามหมายขังคัดค้านก่อนมีคำสั่งก็ได้ สถานที่อื่นตามวรรคหนึ่งต้องมิใช่สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนโดยมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้อง กำหนดวิธีการควบคุม และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย เมื่อศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการ หรือมาตรการตามวรรคสามหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หรือให้ดำเนินการตามหมายขังได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 89/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 มาตรา 89/2 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เมื่อพนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาล เห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้จำคุกผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามที่ระบุไว้ ในหมายศาลที่ออกตามคำพิพากษานั้น หรือไม่น้อยกว่าสิบปี ในกรณีต้องโทษจำคุกเกินสามสิบปีขึ้นไปหรือจำคุกตลอดชีวิต โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ก็ได้ (1) ให้จำคุกไว้ในสถานที่อื่นตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอหรือตามที่ศาลเห็นสมควร นอกจากเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุก ทั้งนี้ ลักษณะของสถานที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุม และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสีย หายที่อาจเกิดขึ้นด้วย (2) ให้จำคุกไว้ในเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุกหรือสถานที่อื่นตาม (1) เฉพาะวันที่กำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวง (3) ให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้น ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการพิจารณาของศาลตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงฐานความผิด ความประพฤติ สวัสดิภาพของผู้ซึ่งต้องจำคุก ตลอดจนสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของผู้เสียหายและสังคมด้วย ทั้งนี้ ให้ศาลดำเนินการไต่สวนหรือสอบถามผู้เสียหาย เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องตามหมายจำคุก พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจในท้องที่นั้น หรือผู้ซึ่งศาลเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายนั้น เป็นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่ง และ ให้นำความใน มาตรา 89/1 วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายเหตุอ่านมาตรา 89/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 มาตรา 90 เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้อง ถูกคุมขังในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มี อำนาจพิจารณาคดีอาญาขอให้ปล่อย คือ (1) ผู้ถูกคุมขังเอง (2) พนักงานอัยการ (3) พนักงานสอบสวน (4) ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี (5) สามี ภริยา หรือญาติของผู้นั้น หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง เมื่อได้รับคำร้องดั่งนั้น ให้ศาลดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน ถ้าศาลเห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลศาลมี อำนาจสั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดย พลัน และถ้าผู้คุมขังแสดง ให้เป็นที่พอใจแก่ศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที หมายเหตุอ่านมาตรา 90 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 หมวด2 ค้น มาตรา 91 ใให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 81/1 มาบังคับในเรื่องค้นโดยอนุโลม หมายเหตุอ่านมาตรา 91 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสั ยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมาย ค้นมา ได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน (5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78 การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้น และบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำ บันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้ แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบ หนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป หมายเหตุอ่านมาตรา 92 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 93 ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมี สิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด มาตรา 94 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นในที่ รโหฐานสั่งเจ้าของหรือคนอยู่ในนั้นหรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ ยอมให้เข้าไปโดย มิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควรทุก ประการในอันที่จะจัดการตามหมาย ทั้งนี้ให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมาย หรือถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ ให้แสดงนามและตำแหน่ง ถ้าบุคคลดั่งกล่าวในวรรคต้นมิยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจ ใช้กำลังเพื่อเข้าไปในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตู เรือนหน้าต่าง รั้วหรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันก็ได้ มาตรา 95 ในกรณีค้นหาสิ่งของที่หาย ถ้าพอทำได้ จะให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสิ่งของนั้นหรือผู้แทนของเขาไปกับเจ้าพนักงานใน การค้นนั้นด้วยก็ ได้ มาตรา 96 การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ จะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในข้อ บังคับของประธานศาลฎีกา หมายเหตุอ่านมาตรา 96 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 97 ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมาย ค้นหรือผู้รักษาการแทน ซึ่งต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสาม หรือตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เท่านั้นมีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 97 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 98 การค้นในที่รโหฐานนั้น จะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคน หรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดั่งนี้ (1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมี อำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์ หรือยันผู้ต้องหา หรือจำเลย (2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจ ับบุคคลหรือสิ่งของอื่นใน ที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า มาตรา 99 ในการค้นนั้น เจ้าพนักงานต้องพยายามมิให้มีการ เสียหายและกระจัดกระจายเท่าที่จะทำได้ มาตรา 100 ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือ จะถูกค้นจะขัดขวางถึงกับทำให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมี อำนาจเอาตัวผู้นั้นควบ คุมไว้ หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงาน ในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้การขัดขวางถึงกับทำให้ การค้นนั้นไร้ผล ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นได้ เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อน ในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ดั่งบัญญัติไว้ตาม มาตรา 85 มาตรา 101 สิ่งของซึ่งยึดได้ในการค้น ให้ห่อหรือบรรจุหีบห่อตีตรา ไว้หรือให้ทำเครื่องหมายไว้เป็นสำคัญ มาตรา 102 การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงาน ผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อ หน้าผู้ครอบ ครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหา บุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้อง มาเป็นพยาน การค้นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้ต้องหา หรือจำเลยซึ่งถูกควบคุม หรือขังอยู่ให้ทำต่อหน้าผู้นั้น ถ้าผู้นั้นไม่สามารถหรือไม่ติดใจมากำกับ จะตั้งผู้แทนหรือ ให้พยานมากำกับก็ได้ ถ้าผู้แทนหรือพยานไม่มี ให้ ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวหรือต่อหน้าพยานดั่งกล่าวในวรรคก่อน สิ่งของใดที่ยึดได้ต้องให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทนหรือพยานดูเพื่อให้รับรองว่าถูกต้อง ถ้าบุคคล เช่นกล่าวนั้น รับรองหรือไม่ยอมรับรองก็ให้บันทึกไว้ มาตรา 103 ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นบันทึกรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องมีบัญชีรายละเอียดไว้ บันทึกการค้นและบัญชีสิ่งของนั้นให้อ่าน ให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทนหรือพยานฟังแล้วแต่กรณี แล้วให้ผู้นั้นลง ลายมือชื่อรับรองไว้ มาตรา 104 เจ้าพนักงานที่ค้นโดยมีหมาย ต้องรีบส่งบันทึกและ บัญชีดั่งกล่าวใน มาตรา ก่อนพร้อมด้วยสิ่งของที่ยึดมาถ้าพอจะส่งได้ ไปยังผู้ออกหมาย หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กำหนด ไว้ในหมาย ในกรณีที่ค้นโดยไม่มีหมายโดยเจ้าพนักงานอื่น ซึ่งไม่ใช่พนักงาน สอบสวนให้ส่งบันทึก บัญชีและสิ่งของไปยังพนักงานสอบสวนหรือ เจ้าหน้าที่ใดซึ่ง ต้องการสิ่งเหล่านั้น มาตรา 105 จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสาร อื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลยและ ยังมิได้ส่ง ถ้า เจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้า หน้าที่ ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่าเอกสาร นั้นต้องการใช้เพื่อการดั่งกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาลมีอำนาจ ขอให้เจ้าหน้าที่ ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น หมวด3 ปล่อยชั่วคราว มาตรา 106 คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันหรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ไม่ว่าผู้นั้นต้องควบคุมหรือ ขังตามหมายศาล ย่อมยื่นได้โดยผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องดังนี้ (1) เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการ แล้วแต่กรณี (2) เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาลนั้น (3) เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น (4) เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่ง สำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลขึ้นต้นที่ชำระคดีนั้น ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตมิฉะนั้นให้รีบส่ง คำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี (5) แต่ศาลส่งสำเนาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น หรือจะ ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้ ในกรณีที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้อง ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี หมายเหตุอ่านมาตรา 106 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2522 อ่านมาตรา 106(4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525 มาตรา 107 เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็ว และผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่ว คราว โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 108 มาตรา 108/1 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 และ มาตรา 113/1 คำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยทันที หมายเหตุอ่านมาตรา 107 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา (2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด (5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่ (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหาย ที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่ (7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึง รับประกอบการวินิจฉัยได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริง รายงานหรือความเห็นของ เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการ นั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้ ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราว หรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หรือ กำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่ว คราวก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 108 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี (2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็น อุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาล คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบ เป็นหนังสือโดยเร็ว หมายเหตุอ่านมาตรา 108/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 108/2 ในกรณีที่พยานสำคัญในคดีอาจได้รับภัยอันตราย อันเนื่องมาแต่การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พยานนั้นอาจคัดค้านการปล่อย ชั่วคราวนั้นได้ โดยยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี ถ้ามีคำคัดค้านการปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี พิจารณาคำคัดค้านดังกล่าวทันที โดยให้ มีอำนาจเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายมาสอบถาม เพื่อประกอบการพิจารณาและมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร หมายเหตุอ่านมาตรา 108/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 109 ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องหาหรือถูกฟ้องใน ความผิดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปี ถ้ามีคำร้องขอให้ปล่อย ชั่วคราวในระหว่าง สอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลจะต้องถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์ว่า จะคัดค้านประการใดหรือไม่ ถ้าไม่ อาจถามได้โดยมีเหตุอันควร ศาล จะงดการถามเสียก็ได้แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ หมายเหตุอ่านมาตรา 109 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2522 มาตรา 110 ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้อง มีประกันและจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ การเรียกประกันหรือหลัก ประกันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะเรียกจนเกินควรแก่กรณีมิได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือข้อบังคับของประธานศาลฎีกา แล้วแต่กรณี หมายเหตุอ่านมาตรา 110 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 111 เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย ก่อนที่จะ ปล่อยไป ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตาม นัดหรือหมายเรียก มาตรา 112 เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือมีประกันและ หลักประกัน ก่อนปล่อยไปให้ผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันลงลาย มือชื่อในสัญญา ประกันนั้น ในสัญญาประกันนอกจากข้อความอย่างอื่นอันพึงมี ต้องมีข้อความดั่งนี้ด้วย (1) ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรือผู้ประกัน แล้วแต่กรณี จะปฏิบัติ ตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล ซึ่งให้ปล่อยชั่วคราว (2) เมื่อผิดสัญญาจะใช้เงินจำนวนที่ระบุไว้ ในสัญญาประกัน จะกำหนดภาระหน้าที่หรือเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว หรือผู้ประกันต้องปฏิบัติเกินความจำเป็นแก่กรณีมิได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 112 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 113 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสั่งปล่อย ชั่วคราว ไม่ว่าจะมีประกันหรีอมีประกันและหลักประกันหรือไม่ การ ปล่อยชั่วคราว นั้นให้ใช้ได้ระหว่างการสอบสวนหรือจนกว่าผู้ต้องหา ถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนหรือจนถึงศาลประทับฟ้อง แต่มิให้เกิน สามเดือนนับแต่วันแรกที่มี การปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าเป็นการปล่อย ชั่วคราวโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ในกรณีที่มีเหตุ จำเป็นทำให้ไม่อาจทำการสอบสวนได้ เสร็จภายในกำหนดสามเดือน จะยืดเวลาการปล่อยชั่วคราวให้เกินสามเดือนก็ได้ แต่มิให้เกินหกเดือน เมื่อการปล่อย ชั่วคราวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ายังมีความ จำเป็นที่จะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้ต่อไป ให้ส่งผู้ต้องหามาศาล และให้ นำบทบัญญัติ มาตรา 7 วรรคสี่ ถึงวรรคเก้ามาใช้บังคับ หมายเหตุอ่านมาตรา 113 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 113/1 ในกรณีที่มีการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนโดย มีการวางเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันไม่ว่าต่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการและยังไม่ได้รับคืน หากผู้ต้องหาหรือจำเลยประสงค์จะขอปล่อยชั่วคราวต่อไป ผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจ ยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการหรือศาล แล้วแต่กรณี โดยขอให้ถือเอาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นหลักประกันต่อไปก็ได้ เมื่อพนักงานอัยการหรือศาลเห็น สมควรแล้วอาจมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยถือว่าเงินสดหรือหลักทรัพย์ดังกล่าวนั้นเป็นหลักประกันในชั้นพนักงานอัยการหรือศาล แล้วแต่ กรณีก็ได้ ให้พนักงานอัยการหรือศาลนั้นแจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ส่งหลักประกันเช่นว่านั้นต่อพนักงานอัยการหรือ ศาลภาย ในระยะเวลาที่พนักงานอัยการหรือศาลเห็นสมควร ในกรณีปล่อยชั่วคราว โดยมีบุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หากบุคคลเช่นว่านั้นร้องขอ พนักงานอัยการ หรือศาลอาจถือเอาบุคคลนั้น เป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวต่อไปก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ พนักงานอัยการหรือศาลจะแจ้งให้พนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ส่งเอกสารเกี่ยวกับการประกันภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร หมายเหตุอ่านมาตรา 113/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 114 เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกัน ด้วยก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้องขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ หลักประกันมี 3 ชนิด คือ (1) มีเงินสดมาวาง (2) มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง (3) มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน โดยแสดงหลักทรัพย์ มาตรา 115 โดยความปรากฏต่อมา หรือเนื่องจากกลฉ้อฉลหรือผิดหลง ปรากฏว่าสัญญาประกันต่ำไปหรือหลักประกันไม่เพียงพอ หรือเงื่อนไขที่ กำหนดไว้ไม่เหมาะสม ให้เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจ สั่งเปลี่ยนสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงขึ้น หรือเรียกหลักประกันเพิ่ม หรือให้ดีกว่าเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงเงื่อน ไขที่กำหนดไว้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ภายหลังที่มีคำสั่งปล่อยชั่วคราวแล้ว หากพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าพนักงาน หรือศาลมีอำนาจสั่งลดหลักประกันได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่ศาลปล่อยชั่วคราวและคดีขึ้นไปสู่ศาลสูง ศาลสูงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินตามสัญญาประกันหรือเงื่อนไขที่ศาลล่างกำหนดไว้ได้ ตามที่เห็นสมควร หมายเหตุอ่านมาตรา 115 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 116 การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงาน หรือศาล มาตรา 117 เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหนีหรือจะหลบหนี ให้พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจที่พบการกระทำดังกล่าวมีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ได้ แต่ในกรณีที่บุคคลซึ่งทำสัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันเป็นผู้พบเห็นการกระทำดังกล่าว อาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด จับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ถ้าไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด และให้เจ้าพนัก งานนั้นรีบจัดส่งผู้ต้องหาหรือจำเลยไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล โดยคิดค่าพาหนะจากบุคคลซึ่งทำ สัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 117 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 118 เมื่อคดีถึงที่สุด หรือความรับผิดตามสัญญาประกัน หมดไปตาม มาตรา 116 หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ ควรรับไป มาตรา 119 ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่ง บังคับตาม สัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใด แล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือ พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้ เป็นที่สุด เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี ให้ศาลชั้นต้นที่พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีนั้น มีอำนาจออกหมายบังคับคดีเอา แก่ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องรับผิดตาม สัญญาประกันได้เสมือนว่าเป็นลูกหนี้ ตามคำพิพากษาและให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้า หนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับ หนี้ตามสัญญาประกันดังกล่าว" หมายเหตุอ่านมาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 อ่านมาตรา 119 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 119ทวิ ในกรณีที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ร้อง ขอมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ดังต่อไปนี้ (1) คำสั่งของศาลชั้นต้น ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ (2) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งรีบส่งคำร้องดังกล่าว พร้อมด้วย สำนวนความหรือสำเนาสำนวนความเท่าที่จำเป็น ไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาล ฎีกาแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งโดยเร็ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยืนตามศาล ชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่ หมายเหตุอ่านมาตรา 119ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2527 ภาค2 สอบสวน ลักษณะ1 หลักทั่วไป มาตรา 120 ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดย มิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตาม ระเบียบ มาตรา 122 พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณี ต่อไปนี้ก็ได้ (1) เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตาม ระเบียบ (2) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน (3) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าว โทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ มาตรา 123 ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อ และที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ลักษณะ แห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความ เสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้ คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็น หนังสือต้องมีวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้อง ด้วยปากให้พนักงานสอบ สวนบันทึกไว้ ลงวัน เดือน ปี และลงลาย มือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น มาตรา 124 ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวนและเป็นผู้ ซึ่งมีหน้าที่รักษา ความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้ เมื่อมีหนังสือร้องทุกข์ยื่นต่อเจ้าพนักงานเช่นกล่าวแล้ว ให้รีบ จัดการส่งไปยังพนักงานสอบสวน และจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้าง เพื่อประโยชน์ของ พนักงานสอบสวนก็ได้ เมื่อมีคำร้องทุกข์ด้วยปาก ให้รีบจัดการให้ผู้เสียหายไปพบกับ พนักงานสอบสวนเพื่อจดบันทึกคำร้องทุกข์นั้นดั่งบัญญัติในมาตราก่อน ในกรณีเร่งร้อน เจ้าพนักงานนั้นจะจดบันทึกเสียเองก็ได้ แต่แล้วให้รีบส่งไปยังพนักงานสอบสวน และจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้างเพื่อ ประโยชน์ของพนักงานสอบสวน ก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 124 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 อ่านมาตรา 124 วรรคสี่ ยกเลิกโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 124/1 ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การจดบันทึกคำร้องทุกข์ในคดีที่ผู้เสีย หายเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ไม่อาจหาหรือรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการได้ และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ให้ผู้รับคำร้องทุกข์ ตาม มาตรา 123 หรือ มาตรา 124 แล้วแต่กรณี บันทึกเหตุดังกล่าวไว้ ในบันทึกคำร้องทุกข์ด้วย หมายเหตุอ่านมาตรา 124/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 125 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจได้กระทำการสืบสวนหรือสอบสวนไปทั้งหมด หรือแต่ส่วนหนึ่ง ส่วนใดตาม คำขอร้องให้ช่วยเหลือ ให้ตกเป็นหน้าที่ของพนักงานนั้น จัดการให้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 123 และ มาตรา 124 มาตรา 126 ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอน คำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อม ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่ จะฟ้องคดีนั้น มาตรา 127 ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 123 ถึง มาตรา 126 มาบังคับ โดยอนุโลมในเรื่องคำกล่าวโทษ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำกล่าวโทษจะไม่บันทึกคำกล่าวโทษ ในกรณีต่อไปนี้ก็ได้ (1) เมื่อผู้กล่าวโทษไม่ยอมแจ้งว่าเขาคือใคร (2) เมื่อคำกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ คำกล่าวโทษซึ่งบันทึกแล้ว แต่ผู้กล่าวโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อ เจ้าพนักงานผู้รับคำกล่าวโทษจะไม่จัดการแก่คำกล่าวโทษนั้นก็ได้ มาตรา 128 พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้เจ้าพนักงานอื่นทำการ แทนดั่งต่อไปนี้ (1) การใดในการสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจของตนมีอำนาจส่ง ประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนซึ่งมีอำนาจทำการนั้นจัดการได้ (2) การใดเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวน ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจข องตนไม่ว่าทำเองหรือจัดการตามประเด็น มีอำนาจสั่งให้ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชาทำแทนได้ แต่ทั้งนี้เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มิได้เจาะจงให้ทำด้วยตนเอง มาตรา 129 ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ดั่งที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายนี้อัน ว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการ ชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล ลักษณะ2 การสอบสวน หมวด1 การสอบสวนสามัญ มาตรา 130 ให้เริ่มการสอบสวนโดยมิชักช้า จะทำการในที่ใด เวลาใดแล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วย มาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับ ความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา หมายเหตุอ่านมาตรา 131 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 131/1 ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตาม มาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการ ตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หากการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจให้แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็น และสมควรโดยใช้วิธีการ ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ทั้ง จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น และผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือผู้ต้องหา หรือผู้เสียหายกระทำการป้องปัดขัดขวางมิให้ บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอม โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ ที่หากได้ตรวจพิสูจน์ แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้นแล้วแต่กรณี ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตามมาตรานี้ ให้สั่งจ่ายจากงบประมาณตามระเบียบที่สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม หรือสำนักงานอัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง หมายเหตุอ่านมาตรา 131/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 132 เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานให้พนักงาน สอบสวนมีอำนาจดั่งต่อไปนี้ (1) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมทั้งทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาด จำลองหรือพิมพ์ลาย นิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้ากับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่า จะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น ในการตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอนำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้ (2) ค้นเพื่อพบสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการ กระทำผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดหรือซึ่งอาจ ใช้เป็นพยานหลัก ฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยค้น (3) หมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของ ซึ่งอาจใช้เป็นพยาน หลักฐานได้แต่บุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่จำต้องมาเองเมื่อจัดส่งสิ่งของมาตามหมายแล้ว ให้ถือเสมือนได้ปฏิบัติตามหมาย (4) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา (2) และ (3) หมายเหตุอ่านมาตรา 132(1) วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 133 พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหาย หรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดี ให้มาตาม เวลาและสถานที่ในหมาย แล้วให้ถามปากคำบุคคล นั้นไว้ การถามปากคำนั้น พนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบาน หรือปฏิญาณตัวเสียก่อนก็ได้ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยพยานบุคคล ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบาย อื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมี เหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ ทั้งนี้ ผู้เสียหายจะขอให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำนั้นด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานยืนยันตัวผู้กระทำความผิดในชั้นจับกุม หรือชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีการยืนยันตัวผู้กระทำความผิดหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถจะป้องกันมิให้ผู้กระทำ ความผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายหรือพยานเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณี เว้นแต่ ผู้เสียหายหรือพยานนั้นยินยอม และให้บันทึกความยินยอมนั้นไว้ หมายเหตุอ่านมาตรา 133 วรรคสี่,วรรคห้า เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 133ทวิ ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความ ผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นที่มีอัตรา โทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอ การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้ พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็นส่วนสัด ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และ พนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น และในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะ ตามประเด็นคำ ถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กทราบถึงสิทธิตามวรรคหนึ่งด้วย นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมใน การถามปากคำอาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้ หาก มีกรณี ดังกล่าวให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 139 การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าว ซึ่ง สามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วม ในการ ถามปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็กโดย มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามวรรคหนึ่งอยู่ร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ ไม่อาจรอ บุคคลอื่นไว้ในสำนวนการสอบสวน และมิให้ถือว่าการถามปาก คำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าว ที่ได้กระทำไปแล้วไม่ชอบด้วย กฎหมาย หมายเหตุอ่านมาตรา 133ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 อ่านมาตรา 133ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 133ตรี ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยาน ที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีชี้ตัวบุคคลใด ให้พนักงานสอบ สวนจัดให้มีการชี้ตัวบุคคลในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และสามารถป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็ก โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนัก สังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการชี้ตัวบุคคลนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวนบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ในกรณีการชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัว ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถป้องกันมิ ให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กนั้น เห็นตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว หมายเหตุอ่านมาตรา 133ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 134 เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริง อันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตาม มาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที แต่ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้ พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นว่านี้ให้นำ มาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขัง โดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็น เร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้ หมายเหตุอ่านมาตรา 134 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 134/1 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การ ให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้ รัฐจัดหาทนายความให้ การจัดหาทนายความตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ ทนายความที่รัฐจัดหาให้ได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง เมื่อได้จัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามแล้ว ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน หากทนายความไม่อาจมาพบผู้ต้องหาได้ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานสอบสวนทราบหรือแจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาภายในเวลาอันสมควร ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนผู้ต้องหาไป ได้โดยไม่ต้องรอทนายความ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย หมายเหตุอ่านมาตรา 134/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 134/2 ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี หมายเหตุอ่านมาตรา 134/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 134/3 ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 134/3 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 134/4 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า (1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ (2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้ ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตาม มาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และ มาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 134/4 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 135 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้ กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 135 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 136 (ยกเลิก) หมายเหตุอ่านมาตรา 136 ยกเลิกโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 137 พนักงานสอบสวนขณะทำการอยู่ในบ้านเรือนหรือ ในสถานที่อื่น ๆ มีอำนาจสั่งมิให้ผู้ใดออกไปจากที่นั้น ๆ ชั่วเวลา เท่าที่จำเป็น มาตรา 138 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนเองหรือส่ง ประเด็นไปสอบสวนเพื่อทราบความเป็นมาแห่งชีวิตและความ ประพฤติอันเป็นอาจิณของ ผู้ต้องหา แต่ต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบ ข้อความทุกข้อที่ได้มา มาตรา 139 ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลัก ทั่วไปในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึก เอกสารอื่นซึ่งได้ มาอีกทั้งบันทึกเอกสารทั้งหลาย ซึ่งเจ้าพนักงานอื่น ผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ เอกสารที่ยื่นเป็นพยานให้รวมเข้าสำนวน ถ้าเป็นสิ่งของอย่างอื่น ให้ทำบัญชีรายละเอียดรวมเข้าสำนวนไว้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามพยานให้ไปตามกำหนดนัดของศาล ให้พนักงานสอบสวนบันทึกรายชื่อของพยานบุคคลทั้งหมดพร้อมที่อยู่หรือสถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์หรือช่องทางอื่นที่ใช้ในการติดต่อพยานเหล่านั้นเก็บไว้ ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวน หมายเหตุอ่านมาตรา 139 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 140 เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน เห็นว่าการสอบเสร็จแล้ว ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้ (1) ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด และความผิดนั้น มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ให้พนักงานสอบสวนงดการ สอบสวนและบันทึก เหตุที่งดนั้นไว้ แล้วให้ส่งบันทึกพร้อมกับสำนวน ไปยังพนักงานอัยการ ถ้าอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าสามปี ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวน ไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไปให้พนักงาน สอบสวนปฏิบัติตามนั้น (2) ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ให้ใช้บทบัญญัติในสี่ มาตรา ต่อไปนี้ มาตรา 141 ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่เรียกหรือจับตัวยังไม่ได้ เมื่อได้ความตามทางสอบสวนอย่างใด ให้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้องส่ง ไปพร้อมกับสำนวนยังพนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ยุติการ สอบสวนโดยสั่งไม่ฟ้อง และให้แจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสอบสวนต่อไป ก็ให้สั่งพนักงาน สอบสวนปฏิบัติเช่นนั้น ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ก็ให้จัดการอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศให้ พนักงานอัยการจัดการเพื่อขอให้ส่งตัว ข้ามแดนมา มาตรา 142 ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิดและผู้นั้นถูกควบคุมหรือ ขังอยู่ หรือปล่อยชั่วคราว หรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก ให้พนักงานสอบ สวนทำความเห็นตามท้องสำนวนการสอบสวน ว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ส่งแต่สำนวนพร้อม ด้วยความเห็นไปยังพนักงานอัยการ ส่วนตัวผู้ต้องหาให้พนักงาน สอบสวนมีอำนาจ ปล่อยหรือปล่อยชั่วคราว ถ้าผู้ต้องหาถูกขังอยู่ให้ ขอเองหรือขอให้พนักงานอัยการขอต่อศาลให้ปล่อย ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวน พร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขัง อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นความผิดซึ่งพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบได้และผู้ กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเปรียบเทียบนั้นแล้ว ให้บันทึกการ เปรียบเทียบนั้นไว้ แล้ว ส่งไปให้พนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน มาตรา 143 เมื่อได้รับความเห็นและสำนวนจากพนักงานสอบสวน ดั่งกล่าวใน มาตราก่อน ให้พนักงานอัยการปฏิบัติดั่งต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง แต่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้สั่งฟ้องและแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งผู้ต้องหา มาเพื่อฟ้อง ต่อไป (2) ในกรณีมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ออกคำสั่งฟ้องและฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ถ้าไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้สั่งไม่ฟ้อง ในกรณีหนึ่งกรณีใดข้างต้น พนักงานอัยการมีอำนาจ (ก) สั่งตามที่เห็นควร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวน เพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป (ข) วินิจฉัยว่าควรปล่อยผู้ต้องหา ปล่อยชั่วคราว ควบคุมไว้ หรือขอให้ศาลขัง แล้วแต่กรณี และจัดการหรือสั่งการให้เป็นไปตามนั้น ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่า ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หมายเหตุอ่านมาตรา 143 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 144 ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง ถ้าความผิดนั้น เป็นความผิดซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ ถ้าเห็นสมควรพนักงานอัยการ มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ (1) สั่งให้พนักงานสอบสวนพยานเปรียบเทียบคดีนั้นแทนการที่ จะส่งผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ (2) เมื่อผู้ต้องหาถูกส่งมายังพนักงานอัยการแล้ว สั่งให้ส่งผู้ต้องหา พร้อมด้วยสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบ คดีนั้น หรือถ้า เห็นสมควรจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจ จัดการเปรียบเทียบให้ก็ได้ มาตรา 145 ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอธิบดีกรมอัยการ ถ้าในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับ คำสั่งไปเสนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับคำสั่งไป เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจ พนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 143 ในกรณีที่อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดี กรมตำรวจในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดใน จังหวัดอื่นแย้งคำ สั่งของพนักงานอัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมกับความ เห็นที่แย้งกันไปยังอธิบดีกรมอัยการเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาด อายุความหรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำ เป็นจะต้องรีบฟ้องก็ให้ฟ้องคดีนั้น ตามความเห็นของอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ ผู้ช่วย อธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปก่อน บทบัญญัติใน มาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการ จะอุทธรณ์ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม หมายเหตุมาตรา 145 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 33 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 มาตรา 146 ให้แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้อง ทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้จัดการปล่อยตัวไป หรือขอให้ศาลปล่อย แล้วแต่กรณี เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอต่อพนักงานอัยการ เพื่อขอทราบสรุปพยานหลัก ฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการในการสั่งคดี ทั้งนี้ ภายในกำหนดอายุความฟ้องร้อง หมายเหตุอ่านมาตรา 146 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 147 เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว ห้ามมิให้มีการ สอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้พยาน หลักฐานใหม่อัน สำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ หมวด2 การชันสูตรพลิกศพ มาตรา 148 เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการ ชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ (1) ฆ่าตัวตาย (2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย (4) ตายโดยอุบัติเหตุ (5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ หมายเหตุอ่านมาตรา 148 วรรคแรก แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 อ่านพรบ.ว่าด้วยการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรศพตามมาตรา 148 (3) (4) และ(5) แห่งปวิอ. พ.ศ.2550 มาตรา 149 ความตายผิดธรรมชาติเกิดมีขึ้น ณ ที่ใด ให้เป็นหน้าที่ ของสามีภริยา ญาติมิตรสหายหรือผู้ปกครองของผู้ตายที่รู้เรื่องการ ตายเช่นนั้น จัดการดั่งต่อไปนี้ (1) เก็บศพไว้ ณ ที่ซึ่งพบนั้นเองเพียงเท่าที่จะทำได้ (2) ไปแจ้งความแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด หน้าที่ดั่งกล่าวในวรรคต้นนั้นมีตลอดถึงผู้อื่น ซึ่งได้พบศพในที่ซึ่ง ไม่มีสามีภริยา ญาติ มิตรสหายหรือผู้ปกครองของผู้ตายอยู่ในที่นั้นด้วย ผู้ใดละเลยไม่กระทำหน้าที่ดังบัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หมายเหตุอ่านมาตรา 149 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2542 มาตรา 150 ในกรณีที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงาน สอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตร หรือได้รับ หนังสืออนุมัติจากแพทยสภา ทำการชันสูตรพลิกศพ โดยเร็ว ถ้าแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำโรง พยาบาลของรัฐปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ ประจำโรงพยาบาลของรัฐไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปฏิบัติ หน้าที่ ถ้าแพทย์ประจำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรม ที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบของกระทรวง สาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่ และในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้แพทย์ ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้นั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ ให้พนักงาน สอบสวน และแพทย์ดังกล่าวทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพทันที และให้แพทย์ดังกล่าวทำรายงานแนบท้ายบันทึกราย ละเอียดแห่งการชันสูตร พลิกศพด้วยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับ แจ้งเรื่อง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสอง ครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้อง บันทึกเหตุผลและความจำเป็น ในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ รายงาน ดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนชันสูตรพลิก ศพ และในกรณีที่ ความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ให้พนักงานสอบสวน ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปยังพนักงานอัยการเมื่อเสร็จสิ้นการ ชันสูตรพลิกศพโดยเร็วและให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไปตาม มาตรา 156 ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ไปทำการ ชันสูตรพลิกศพทราบ และก่อนการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบ สวนแจ้งให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความ ควบคุมของเจ้า พนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้ พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัด อำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้อง ที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิก ศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่ง และให้นำ บทบัญญัติในวรรคสองมาใช้บังคับ เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพตามวรรคสามแล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการ เข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทำสำนวนชันสูตรพลิกศพให้ เสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวันแต่ต้องบันทึก เหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้ง ไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ เมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานอัยการทำ คำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่ สวนและทำคำสั่งแสดง ว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึง เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็น ผู้กระทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ ภายในสาม สิบวันนับแต่วันที่ได้รับ สำนวน ถ้ามีความจำเป็น ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสอง ครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและ ความจำเป็น ในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่ และ วรรคห้า ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ในการไต่สวนตามวรรคห้า ให้ศาลปิดประกาศแจ้งกำหนดวันที่ จะทำการไต่สวนไว้ที่ศาล และให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลส่งสำเนา คำร้องและแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรมผู้อนุบาล หรือญาติของ ผู้ตายตามลำดับอย่างน้อยหนึ่งคน เท่าที่จะทำได้ทราบก่อนวันนัด ไต่สวนไม่น้อยกว่าสิบห้าวันและให้พนักงานอัยการนำพยานหลักฐาน ทั้งปวงที่แสดงถึงการตายมาสืบ เมื่อศาลได้ปิดประกาศแจ้งกำหนดวันที่จะทำการไต่สวนแล้ว และก่อนการไต่สวนเสร็จสิ้น สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือ ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายมีสิทธิยื่น คำร้องต่อศาลขอเข้ามาซักถามพยานที่พนักงานอัยการนำสืบ และ นำสืบพยานหลักฐานอื่นได้ด้วย เพื่อการนี้ สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายมีสิทธิ แต่งตั้งทนายความดำเนินการแทนได้ หากไม่มีทนายความที่ได้รับ การแต่งตั้งจากบุคคลดังกล่าวเข้ามาในคดี ให้ศาลตั้งทนายความขึ้น เพื่อทำหน้าที่ทนายความฝ่ายญาติผู้ตาย เมื่อศาลเห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจะ เรียกพยานที่นำสืบมาแล้วมาสืบเพิ่มเติม หรือเรียกพยานหลักฐานอื่น มาสืบก็ได้และศาล อาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความ เห็นเพื่อประกอบการไต่สวนและทำคำสั่ง แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้ นำสืบพยานหลักฐานตามวรรค แปดที่จะขอให้เรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ผู้เชี่ยวชาญอื่นมาให้ความเห็นโต้แย้งหรือเพิ่มเติมความเห็นของผู้ ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้ถึงที่สุด แต่ไม่กระทบกระเทือนถึง สิทธิฟ้องร้องและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล หากพนักงาน อัยการหรือบุคคล อื่นได้ฟ้อง หรือจะฟ้องคดีเกี่ยวกับการตายนั้น เมื่อศาลได้มีคำสั่งแล้ว ให้ส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยัง พนักงานอัยการเพื่อส่งแก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป แพทย์ตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ และผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาให้ความเห็นตาม มาตรานี้ มีสิทธิได้รับค่า ตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยความ เห็นชอบของกระทรวงการคลัง ส่วน ทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรนี้ มีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับทนายความที่ศาลตั้ง ตาม มาตรา 173 หมายเหตุอ่านมาตรา 150 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2542 อ่านมาตรา 150 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2551 มาตรา 150ทวิ ผู้ใดกระทำการใดๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อม ในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่า จะทำให้การ ชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ จำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกันอันตรายแก่อนามัยของประชาชนหรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะ อย่างอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยทุจริต หรือเพื่ออำพรางคดีผู้กระทำ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ ที่กำหนดไว้สำหรับ ความผิดนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 150ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2542 มาตรา 151 ในเมื่อมีการจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้า พนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพแล้วแยกธาตุ ส่วนใด หรือจะให้ส่ง ทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงาน แยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ มาตรา 152 ให้แพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลปฏิบัติดั่งนี้ (1) ทำรายงานถึงสภาพของศพ หรือส่วนของศพ ตามที่พบเห็น หรือตามที่ปรากฏจากการตรวจพร้อมทั้งความเห็นในเรื่องนั้น (2) แสดงเหตุที่ตายเท่าที่จะทำได้ (3) ลงวันเดือนปีและลายมือชื่อในรายงาน แล้วจัดการส่งไปยัง เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ มาตรา 153 ถ้าศพฝังไว้แล้ว ให้ผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพ ขึ้นเพื่อตรวจดู เว้นแต่จะเห็นว่าไม่จำเป็นหรือจะเป็นอันตรายแก่อนามัยของประชาชน มาตรา 154 ให้ผู้ชันสูตรพลิกศพทำความเห็นเป็นหนังสือแสดง เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด ถ้าตาย โดยคนทำร้าย ให้ กล่าวว่าใครหรือสงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำผิด เท่าที่จะทราบได้ มาตรา 155 ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการ สอบสวนมาใช้แก่การชันสูตรพลิกศพโดยอนุโลม ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 172ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การ ไต่สวนของศาลตาม มาตรา 150 ในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี หมายเหตุมาตรา 155 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 มาตรา 155/1 การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ใน ความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตาม หน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทำสำนวนสอบสวน การทำสำนวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับผิดชอบโดยพนักงาน อัยการอาจให้คำแนะนำ ตรวจสอบพยานหลักฐาน ถามปากคำ หรือสั่งให้ถามปากคำบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่เริ่มการทำสำนวนสอบสวน นับแต่โอกาสแรกเท่าที่จะพึงกระทำได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนและมีเหตุอันควรไม่อาจรอพนักงานอัยการเข้าร่วม ในการทำสำนวนสอบสวนให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนต่อไปได้ แต่ต้อง บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอพนักงานอัยการไว้ในสำนวน และถือว่าเป็นการทำสำนวนสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายเหตุอ่านมาตรา 155/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2551 มาตรา 156 ให้ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตาย มิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาไปยังข้าหลวงประจำจังหวัด ภาค3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ1 ฟ้องคดีอาญา และไต่สวนมูลฟ้อง มาตรา 157 การฟ้องคดีอาญาให้ยื่นฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่ มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มาตรา 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี (1) ชื่อศาลและวันเดือนปี (2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด (3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ (4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย (5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่ง ของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลย เข้าใจข้อหาได้ดี ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่น อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง (6) อ้าง มาตรา กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็น ความผิด (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง มาตรา 159 ถ้าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษเพราะได้ กระทำความผิดมาแล้ว เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ด หลาบ ให้กล่าวมา ในฟ้อง ถ้ามิได้ขอเพิ่มโทษมาในฟ้อง ก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ จะยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควรจะอนุญาตก็ได้ มาตรา 160 ความผิดหลายกระทงจะรวมในฟ้องเดียวกันก็ได้ แต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไป ความผิดแต่ละกระทงจะถือว่าเป็นข้อหาแยกจากข้อหาอื่นก็ได้ ถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งให้แยกสำนวนพิจารณาความผิดกระทงใด หรือหลายกระทงต่าง หาก และจะสั่งเช่นนี้ก่อนพิจารณาหรือในระหว่าง พิจารณาก็ได้ มาตรา 161 ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งเช่นนั้นของศาล มาตรา 162 ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่ง ต่อไปนี้ (1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตาม อนุมาตรา (2) (2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดั่งกล่าวแล้ว ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพ ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา มาตรา 163 เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล ขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็น สมควรจะอนุญาตหรือ จะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่อ อนุญาตแล้วให้ส่งสำเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จำเลยเพื่อแก้และ ศาลจะสั่งแยกสำนวนพิจารณาฟ้องเพิ่ม เติมนั้นก็ได้ เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การ ของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ส่งสำเนา แก่โจทก์ มาตรา 164 คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทำให้จำเลย เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิด หรือราย ละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี การเพิ่มเติมฐานความผิดหรือ รายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดี ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใดระหว่าง พิจารณาในศาลชั้น ต้นมิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลย ได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น มาตรา 165 ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ วันไต่สวนมูลฟ้องให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลย รายตัวไป เมื่อศาลเชื่อ ว่าเป็นจำเลยจริงแล้ว ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลย ไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจด รายงานไว้ และดำเนินการต่อไป จำเลยไม่มีอำนาจนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในการที่จำเลยจะมีทนายมาช่วยเหลือ ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลย ทราบจำเลยจะ มาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยาน โจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจำเลยจะไม่มาแต่ตั้งทนายมาซักค้านพยาน โจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาล ถามคำให้การจำเลย และก่อนที่ศาลประทับ ฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 165 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 166 ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสียแต่ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึ่งมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดั่งกล่าวแล้ว ถ้าโจทก็มาร้องภายในสิบห้าวัน นับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดยแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึ่ง มาไม่ได้ก็ให้ศาล ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ในคดีที่ศาลยกฟ้องดั่งกล่าวแล้ว จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้น อีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจ พนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิด ต่อส่วนตัว มาตรา 167 ถ้าปรากฏว่าคดีมีมูล ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา ต่อไปเฉพาะกระทงที่มีมูล ถ้าคดีไม่มีมูล ให้พิพากษายกฟ้อง มาตรา 168 เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ให้ส่งสำเนาฟ้องให้แก่ จำเลยรายตัวไป เว้นแต่จำเลยจะได้รับสำเนาฟ้องไว้ก่อนแล้ว มาตรา 169 เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมา ให้ศาลออกหมายเรียกหรือหมายจับมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อพิจารณา ต่อไป มาตรา 170 คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คำสั่งที่ ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วย ลักษณะอุทธรณ์ฎีกา ถ้าโจทก์ร้องขอ ศาลจะขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่าง อุทธรณ์ฎีกาก็ได้ มาตรา 171 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนและการพิจารณา เว้นแต่ มาตรา 175 มาบังคับแก่การไต่สวนมูลฟ้องโดยอนุโลม ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133ทวิ และ มาตรา 172ตรี มาใช้ บังคับโดยอนุโลมแก่การไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุ ไม่เกินสิบแปดปี ทั้งใน คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์และในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ หมายเหตุอ่านมาตรา 171 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 ลักษณะ2 การพิจารณา มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผย ต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และ ศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และ ถามว่าได้กระทำผิด จริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การ ของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการพิจารณาต่อไป ในการสืบพยาน เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย ภาวะแห่งจิตของพยาน หรือความเกรงกลัวที่พยานมีต่อจำเลยแล้ว จะดำเนินการ โดยไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลยก็ได้ ซึ่งอาจกระทำโดยการใช้โทรทัศน์วงจรปิด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของ ประธานศาลฎีกา และจะให้สอบถามผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลอื่นที่พยานไว้วางใจด้วยก็ได้ ในการสืบพยาน ให้มีการบันทึกคำเบิกความพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงซึ่งสามารถตรวจสอบถึง ความถูกต้องของการบันทึกได้ และให้ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาใช้การบันทึกดังกล่าวประกอบการพิจารณาคดีด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามวรรคสามและวรรคสี่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 172 วรรคสาม,วรรคสี่,วรรคห้า เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 172ทวิ ภายหลังที่ศาลได้ดำเนินการตาม มาตรา 172 วรรค 2 แล้ว เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การดำเนินการ พิจารณาเป็นไปโดยไม่ ชักช้า ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับ หลังจำเลยได้ในกรณีดั่งต่อไปนี้ (1) ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสิบปี จะมีโทษปรับ ด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยมีทนาย และจำเลยได้รับ อนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณาและการ สืบพยาน (2) ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคำแถลงของ โจทก์ว่าการพิจารณาและการสืบพยานตามที่โจทก์ขอให้กระทำไม่ เกี่ยวแก่จำเลยคนใดศาล จะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยคน นั้นก็ได้ (3) ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลเห็นสมควรจะพิจารณา และสืบพยานจำเลยคนหนึ่ง ๆ ลับหลังจำเลยคนอื่นก็ได้ ในคดีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานตาม (2) หรือ (3) ลับหลัง จำเลยคนใด ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ห้ามมิให้ศาลรับฟังการ พิจารณาและการสืบ พยานที่กระทำลับหลังนั้นเป็นผลเสียหายแก่ จำเลยคนนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 172ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 อ่านมาตรา 172ทวิ (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2527 มาตรา 172ตรี เว้นแต่ในกรณีที่จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน ในการสืบพยานที่เป็นเด็กอายุ ไม่เกินสิบแปดปี ให้ศาลจัดให้พยานอยู่ในสถานที่ที่เหมาะ สมสำหรับเด็ก และศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง โดยแจ้งให้พยานนั้นทราบประเด็นและข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบ แล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้น ๆ หรือศาลจะถามผ่าน นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ได้ (2) ให้คู่ความถาม ถามค้าน หรือถามติงผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ ในการเบิกความของพยานดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง ไปยังห้องพิจารณาด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องแจ้งให้นัก จิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ทราบ ก่อนการสืบพยานตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลเห็นสมควรหรือถ้าพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีหรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ โดยมีเหตุผลอัน สมควร ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นผลร้ายแก่เด็กถ้าไม่อนุญาตตามที่ร้องขอ ให้ศาลจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวนตาม มาตรา 133ทวิ หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องตาม มาตรา 171 วรรคสอง ต่อหน้า คู่ความและในกรณีเช่นนี้ให้ถือสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่ง ของคำเบิกความของพยานนั้น ในชั้นพิจารณาของศาล โดย ให้คู่ความถามพยานเพิ่มเติม ถามค้านหรือถามติงพยานได้ ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นและภายในขอบเขตที่ศาลเห็นสมควร ในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตามวรรคหนึ่งเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งให้ศาลรับฟังสื่อ ภาพและเสียงคำให้การของพยานนั้นในชั้นสอบสวนตาม มาตรา 133ทวิ หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องตาม มาตรา 171 วรรคสอง เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล และให้ศาลรับฟัง ประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 172ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 172จัตวา ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 172ตรี มาใช้ บังคับโดยอนุโลมแก่การสืบพยานนอกศาลในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี หมายเหตุอ่านมาตรา 172จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 มาตรา 173 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามี ทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรานี้ โดยคำนึงถึงสภาพแห่งคดีและสภาวะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะ กรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง หมายเหตุอ่านมาตรา 173 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 173/1 เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรมในคดีที่จำเลยไม่ให้การหรือให้การปฏิเสธ เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งร้องขอหรือศาลเห็นสมควรศาลอาจกำหนดให้มีวัน ตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยานก็ได้ โดยแจ้งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อย กว่าสิบสี่วัน ก่อนวันตรวจพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลพร้อมสำเนาในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่าย อื่นรับไปจากเจ้าพนักงานศาลและถ้าคู่ความฝ่ายใด มีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นต่อศาลก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามวรรคสองจะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อผู้ร้องขอแสดงเหตุอันสมควรว่าไม่ สามารถทราบถึงพยานหลักฐานนั้น หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือเพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ถ้าพยานเอกสารหรือพยานวัตถุใดอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก ให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานเอกสาร หรือ พยานวัตถุดังกล่าวมาจากผู้ครอบครองโดยยื่นคำขอต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน เพื่อให้ได้พยานเอกสารหรือพยานวัตถุนั้นมาก่อนวันตรวจ พยานหลักฐานหรือวันที่ศาลกำหนด หมายเหตุอ่านมาตรา 173/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 173/2 ในวันตรวจพยานหลักฐาน ให้คู่ความส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุที่ยังอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาล เพื่อให้คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งตรวจสอบ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งพยานหลักฐานนั้นเอง หรือพยานหลักฐานนั้นเป็นบันทึกคำ ให้การของพยาน หลังจากนั้นให้คู่ความแต่ละฝ่ายแถลงแนวทางการเสนอพยานหลักฐานต่อศาล และให้ศาลสอบถามคู่ความถึงความเกี่ยวข้องกับประเด็น และความจำเป็นที่ต้องสืบพยานหลักฐานที่อ้างอิงตลอดจนการยอมรับพยานหลักฐานของอีกฝ่ายหนึ่ง เสร็จแล้วให้ศาลกำหนดวันสืบพยาน และแจ้งให้คู่ ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันตรวจพยานหลักฐานให้นำบทบัญญัติ มาตรา 166 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งให้สืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญในคดีไว้ล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดวันนัดสืบพยานก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 173/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 174 ก่อนนำพยานเข้าสืบ โจทก์มีอำนาจเปิดคดีเพื่อ ให้ศาลทราบคดีโจทก์ คือแถลงถึงลักษณะของฟ้อง อีกทั้งพยาน หลักฐานที่จะนำสืบเพื่อ พิสูจน์ความผิดของจำเลย เสร็จแล้วให้โจทก์ นำพยานเข้าสืบ เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยมีอำนาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดี จำเลย โดยแถลงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งตั้งใจอ้างอิง ทั้งแสดง พยานหลักฐานที่ จะนำสืบ เสร็จแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ เมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยมีอำนาจแถลงปิด คดีของตนด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้งสองอย่าง ในระหว่างพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือ ทำการอะไรอีก จะสั่งงดพยานหรือการนั้นเสียก็ได้ มาตรา 175 เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ถ้าเห็นสมควรศาลมี อำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบ การวินิจฉัยได้ มาตรา 176 ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มี ข้อหาในความผิด ซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตรา โทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะ พอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ในคดีที่มีจำเลยหลายคน และจำเลยบางคนรับสารภาพ เมื่อศาล เห็นสมควรจะสั่งจำหน่ายคดี สำหรับจำเลยที่ปฏิเสธเพื่อให้โจทก์ ฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธนั้น เป็นคดีใหม่ภายในเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 176 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 177 ศาลมีอำนาจสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ เมื่อ เห็นสมควรโดยพลการหรือโดยคำร้องขอของคู่ความฝ่ายใด แต่ต้องเพื่อประโยชน์แห่งความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของประเทศมิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน มาตรา 178 เมื่อมีการพิจารณาเป็นการลับ บุคคลเหล่านี้เท่านั้น มีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาได้ คือ (1) โจทก์และทนาย (2) จำเลยและทนาย (3) ผู้ควบคุมตัวจำเลย (4) พยานและผู้ชำนาญการพิเศษ (5) ล่าม (6) บุคคลผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องและได้รับอนุญาตจากศาล (7) พนักงานศาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่ศาล แล้วแต่จะเห็นสมควร มาตรา 179 ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่น ศาลจะดำเนินการพิจารณาตลอดไปจนเสร็จโดยไม่เลื่อนก็ได้ ถ้าพยานไม่มา หรือมีเหตุอื่นอันควรต้องเลื่อนการพิจารณา ก็ให้ศาลเลื่อนคดีไปตามที่เห็นสมควร มาตรา 180 ให้นำบทบัญญัติเรื่องรักษาความเรียบร้อยในศาล ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับแก่การพิจารณา คดีอาญา โดยอนุโลม แต่ห้ามมิให้สั่งให้จำเลยออกจากห้องพิจารณา เว้นแต่จำเลยขัดขวางการพิจารณา มาตรา 181 ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 139 และ มาตรา 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลม ลักษณะ3 คำพิพากษาและคำสั่ง มาตรา 182 คดีที่อยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามี คำร้องระหว่างพิจารณาขึ้นมา ให้ศาลสั่งตามที่เห็นควร เมื่อการ พิจารณาเสร็จแล้วให้ พิพากษาหรือสั่งตามรูปความ ให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลโดยเปิดเผยในวันเสร็จการ พิจารณาหรือภายในเวลาสามวันนับแต่เสร็จคดี ถ้ามีเหตุอันสมควร จะเลื่อนไปอ่านวัน อื่นก็ได้ แต่ต้องจดรายงานเหตุนั้นไว้ เมื่อศาลอ่านให้คู่ความฟังแล้ว ให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเป็น ความผิดของโจทก์ที่ไม่มา จะอ่านโดยโจทก์ไม่อยู่ก็ได้ ในกรณีที่จำเลย ไม่อยู่ โดยไม่มี เหตุสงสัยว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ก็ให้ ศาลรอการอ่านไว้จนกว่าจำเลยจะมาศาล แต่ถ้ามีเหตุสงสัยว่าจำเลย หลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังให้ ศาลออกหมายจับจำเลย เมื่อได้ออกหมาย จับแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันออกหมายจับ ก็ให้ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งลับหลัง จำเลยได้ และให้ถือว่า โจทก์หรือจำเลยแล้วแต่กรณีได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องเลื่อนอ่านไปโดยขาดจำเลย บางคนถ้าจำเลยที่อยู่จะถูกปล่อย ให้ศาลมีอำนาจปล่อยชั่วคราว ระหว่างรออ่านคำ พิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 182 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 183 คำพิพากษา หรือคำสั่งหรือความเห็นแย้งต้องทำ เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณา ผู้พิพากษาใด ที่นั่งพิจารณา ถ้าไม่เห็น พ้องด้วย มีอำนาจทำความเห็นแย้ง คำแย้ง นี้ให้รวมเข้าสำนวนไว้ มาตรา 184 ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวน เป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็น สุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตาม เสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความ เห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้าง มากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผล ร้ายแก่จำเลยมากยอม เห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า มาตรา 185 ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี การกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุ ตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควร ต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่าง คดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้ เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิด และไม่มีการยกเว้นโทษตาม กฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด แต่เมื่อเห็นสมควร ศาลจะปล่อยจำเลยชั่ว คราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้ มาตรา 186 คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมีข้อสำคัญเหล่านี้เป็น อย่างน้อย (1) ชื่อศาลและวันเดือนปี (2) คดีระหว่างใครโจทก์ใครจำเลย (3) เรื่อง (4) ข้อหาและคำให้การ (5) ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความ (6) เหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย (7) บท มาตราที่ ยกขึ้นปรับ (8) คำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ (9) คำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง คำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวกับความผิดลหุโทษ ไม่จำต้องมีอนุมาตรา (4) (5) และ (6) มาตรา 187 คำสั่งระหว่างพิจารณาอย่างน้อยต้องมี (1) วัน เดือน ปี (2) เหตุผลตามกฎหมายในการสั่ง (3) คำสั่ง มาตรา 188 คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาล โดยเปิดเผยเป็นต้นไป มาตรา 189 เมื่อจำเลยซึ่งต้องคำพิพากษาให้ลงโทษเป็นคน ยากจนขอสำเนาคำพิพากษาซึ่งรับรองว่าถูกต้อง ให้ศาลคัดสำเนา ให้หนึ่งฉบับโดยไม่คิดค่า ธรรมเนียม มาตรา 190 ห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด มาตรา 191 เมื่อเกิดสงสัยในการบังคับตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งถ้าบุคคลใดที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องต่อศาลซึ่งพิพากษา หรือสั่ง ให้ศาลนั้นอธิบาย ให้แจ่มแจ้ง มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อ แตกต่างนั้นมิใช่ในข้อ สาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะ ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับ ของโจร และทำให้เสียทรัพย์หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด โดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันใน ข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่ โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลย เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลย ในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐาน ความผิดหรือบท มาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิด อย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 192 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. พ.ศ.2522 อ่านมาตรา 192 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 ภาค4 อุทธรณ์และฎีกา ลักษณะ1 อุทธรณ์ หมวด1 หลักทั่วไป มาตรา 193 คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นใน ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์ โดย ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ มาตรา 193ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ (1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขัง แทนโทษจำคุก (2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลง โทษไว้ (3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ ไว้ หรือ (4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท หมายเหตุอ่านมาตรา 193ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 193ตรี ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม มาตรา 193ทวิ ถ้าผู้พิพากษาใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดี กรม อัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์ จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป หมายเหตุอ่านมาตรา 193ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 193จัตวา ถ้าผู้พิพากษาใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็น ปัญหา สำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรม อัยการ หรือ พนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลาย มือชื่อ รับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป มาตรา 194 ถ้ามีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายนั้น ๆ ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา แล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้ แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่า กันมาแล้วแต่ใน ศาลชั้นต้น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือ ศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาล ชั้นต้นก็ตาม มาตรา 196 คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนห้าม มิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้น จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็น สำคัญและมี อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย มาตรา 197 เหตุที่มีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับหนึ่งแล้ว หาเป็นผลตัดสิทธิผู้อื่นซึ่งมีสิทธิอุทธรณ์ จะอุทธรณ์ด้วยไม่ มาตรา 198 การยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด หนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง ให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยัง ศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จด เหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน หมายเหตุอ่านมาตรา 198 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 อ่านมาตรา 198 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 198ทวิ เมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาล อุทธรณ์ได้ คำร้องเช่นนี้ให้ ยื่นที่ศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันฟังคำสั่ง แล้วให้ศาลนั้นรีบส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยัง ศาลอุทธรณ์พร้อมด้วยอุทธรณ์และคำพิพากษา หรือคำสั่งของ ศาลชั้นต้น" เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตรวจสำนวนเพื่อสั่งคำร้องเรื่องนั้น ก็ให้สั่งศาลชั้นต้นส่งมาให้ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องนั้นแล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน หมายเหตุอ่านมาตรา 198ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 อ่านมาตรา 198ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 199 ผู้อุทธรณ์ต้องขังหรือต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำอาจยื่น อุทธรณ์ต่อพัศดีภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ เมื่อได้รับอุทธรณ์นั้นแล้ว ให้พัศดีออกใบ รับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ แล้วให้รีบส่งอุทธรณ์นั้นไปยัง ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ฉบับใดที่ยื่นต่อพัศดีส่งไปถึงศาลเมื่อพ้นกำหนดอายุ อุทธรณ์แล้ว ถ้าปรากฏว่าการส่งชักช้านั้นมิใช่เป็นความผิดของ ผู้ยื่นอุทธรณ์ ให้ถือว่าเป็น อุทธรณ์ที่ได้ยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ มาตรา 200 ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน กำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ หมายเหตุอ่านมาตรา 200 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 201 เมื่อศาลส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เพราะ หาตัวไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ หรือได้รับ แก้อุทธรณ์แล้ว หรือพ้นกำหนดแก้อุทธรณ์แล้ว ให้ศาลรีบส่งสำนวน ไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อทำการพิจารณาพิพากษาต่อไป หมายเหตุอ่านมาตรา 201 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบแก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 202 ผู้อุทธรณ์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ต่อศาล ชั้นต้นก่อนส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นสั่ง อนุญาตได้ เมื่อส่งสำนวนไปแล้วให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือต่อศาล ชั้นต้นเพื่อส่งไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อสั่ง ทั้งนี้ ต้องก่อน อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เมื่อถอนไปแล้ว ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้อุทธรณ์ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดเฉพาะผู้ถอน ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ จะเด็ดขาดต่อ เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการแก้คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลชั้นต้น หมวด2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นศาลอุทธรณ์ มาตรา 216 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 217 ถึง มาตรา 221 คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่าย ที่ฎีกาฟัง ฎีกานั้น ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 200 และ มาตรา 201 มาบังคับโดยอนุโลม หมายเหตุอ่านมาตรา 216 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 217 ในคดีซึ่งมีข้อจำกัดว่า ให้คู่ความฎีกาได้แต่เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ข้อจำกัดนี้ให้บังคับแก่คู่ความและบรรดาผู้ที่ เกี่ยวข้องในคดีด้วย มาตรา 218 ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่น ด้วยหรือไม่ ห้ามมิ ให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หมายเหตุอ่านมาตรา 218 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 219 ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาล อุทธรณ์ยังคงลงโทษ จำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จำเลยในกรณีที่ศาล อุทธรณ์พิพากษาแก้ใขมากและเพิ่ม เติมโทษจำเลย หมายเหตุอ่านมาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 219ทวิ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งในข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องวิธีการ เพื่อความปลอดภัยแต่อย่างเดียวแม้คดีนั้นจะไม่ ต้องห้ามฎีกาก็ตาม ในการนับกำหนดโทษจำคุกตามความใน มาตรา 218 และ มาตรา 219 นั้นห้ามมิให้คำนวณกำหนดเวลาที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยว กับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยรวมเข้าด้วย หมายเหตุอ่านมาตรา 219ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 219ตรี ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก หรือคดีที่เกี่ยวกับการกักขัง แทนค่าปรับหรือกักขัง เกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน ถ้าศาลอุทธรณ์มิได้ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง หมายเหตุอ่านมาตรา 219ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ หมายเหตุอ่านมาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 221 ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดย มาตรา 218 มาตรา 219 และ มาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือ ลงชื่อใน คำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาล อุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอัน ควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาต ให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลาย มือชื่อรับรองในฎีกาว่า มีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้ รับฎีกาไว้พิจารณาต่อไป มาตรา 222 ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาล อุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวน มาตรา 223 ให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจฎีกาว่าควรจะรับส่ง ขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่ตามบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้ จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกา ผู้ฎีกาอาจฎีกาเป็น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลฎีกาได้ คำร้องเช่นนี้ให้ยื่นที่ ศาลชั้นต้นภายใน กำหนดสิบห้านับแต่วันฟังคำสั่ง แล้วให้ศาลนั้นรีบ ส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมด้วยฎีกาและคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาล อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรตรวจ สำนวนเพื่อสั่งคำร้องเรื่องนั้น ก็ให้ สั่งศาลชั้นต้นส่งมาให้ หมายเหตุอ่านมาตรา 224 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 ลักษณะ2 ฎีกา หมวด1 หลักทั่วไป มาตรา 216 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 217 ถึง มาตรา 221 คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่าย ที่ฎีกาฟัง ฎีกานั้น ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 200 และ มาตรา 201 มาบังคับโดยอนุโลม หมายเหตุอ่านมาตรา 216 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 217 ในคดีซึ่งมีข้อจำกัดว่า ให้คู่ความฎีกาได้แต่เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ข้อจำกัดนี้ให้บังคับแก่คู่ความและบรรดาผู้ที่ เกี่ยวข้องในคดีด้วย มาตรา 218 ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่น ด้วยหรือไม่ ห้ามมิ ให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หมายเหตุอ่านมาตรา 218 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 219 ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาล อุทธรณ์ยังคงลงโทษ จำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จำเลยในกรณีที่ศาล อุทธรณ์พิพากษาแก้ใขมากและเพิ่ม เติมโทษจำเลย หมายเหตุอ่านมาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 219ทวิ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งในข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องวิธีการ เพื่อความปลอดภัยแต่อย่างเดียวแม้คดีนั้นจะไม่ ต้องห้ามฎีกาก็ตาม ในการนับกำหนดโทษจำคุกตามความใน มาตรา 218 และ มาตรา 219 นั้นห้ามมิให้คำนวณกำหนดเวลาที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยว กับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยรวมเข้าด้วย หมายเหตุอ่านมาตรา 219ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 219ตรี ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก หรือคดีที่เกี่ยวกับการกักขัง แทนค่าปรับหรือกักขัง เกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน ถ้าศาลอุทธรณ์มิได้ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง หมายเหตุอ่านมาตรา 219ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ หมายเหตุอ่านมาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 221 ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดย มาตรา 218 มาตรา 219 และ มาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือ ลงชื่อใน คำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาล อุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอัน ควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาต ให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลาย มือชื่อรับรองในฎีกาว่า มีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้ รับฎีกาไว้พิจารณาต่อไป มาตรา 222 ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาล อุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวน มาตรา 223 ให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจฎีกาว่าควรจะรับส่ง ขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่ตามบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้ จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกา ผู้ฎีกาอาจฎีกาเป็น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลฎีกาได้ คำร้องเช่นนี้ให้ยื่นที่ ศาลชั้นต้นภายใน กำหนดสิบห้านับแต่วันฟังคำสั่ง แล้วให้ศาลนั้นรีบ ส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมด้วยฎีกาและคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาล อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรตรวจ สำนวนเพื่อสั่งคำร้องเรื่องนั้น ก็ให้ สั่งศาลชั้นต้นส่งมาให้ หมายเหตุอ่านมาตรา 224 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 หมวด2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา มาตรา 225 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณา และว่าด้วย คำพิพากษาและคำสั่งชั้นอุทธรณ์มาบังคับในชั้นฎีกาโดยอนุโลม เว้นแต่ห้ามมิให้ทำความ เห็นแย้ง ภาค5 พยานหลักฐาน หมวด1 หลักทั่วไป มาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่า จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยาน ชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่นและให้สืบตามบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นอันว่าด้วยการ สืบพยาน มาตรา 226/1 ในกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ หรือ เป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะ เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสีย อันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา หรือสิทธิเสรีภาพพื้น ฐานของประชาชน ในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น (2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี (3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ (4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด หมายเหตุอ่านมาตรา 226/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 226/2 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่น ๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย เพื่อพิสูจน์ว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องเว้นแต่พยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง (2) พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย (3) พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำ หรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย ความในวรรคหนึ่งไม่ห้ามการนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้ศาลใช้ประกอบดุลพินิจ ในการกำหนดโทษหรือเพิ่มโทษ หมายเหตุอ่านมาตรา 226/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 226/3 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาล หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐาน ต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมา เป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้าน ก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนาม หรือชนิดและลักษณะของพยานบอกเล่า เหตุผลที่ไม่ยอมรับ และข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้น ยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน หมายเหตุอ่านมาตรา 226/3 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 226/4 ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ห้ามมิให้จำเลยนำสืบด้วยพยานหลักฐาน หรือถามค้านด้วยคำถามอันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้เสีย หายกับบุคคลอื่นนอกจากจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลตามคำขอ ศาลจะอนุญาตตามคำขอในวรรคหนึ่ง เฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่าจะก่อให้เกิดความยุติธรรม ในการพิจารณาพิพากษาคดี หมายเหตุอ่านมาตรา 226/4 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 226/5 ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ศาลอาจรับฟังบันทึก คำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือบันทึกคำเบิกความของ พยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 226/5 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 227 ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ทั้งปวงอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง และจำเลยเป็นผู้ กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยก ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย มาตรา 227/1 ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด พยานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน หรือพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่องประการอื่น อันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษ จำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน พยานหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลัก ฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่น ที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย หมายเหตุอ่านมาตรา 227/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 228 ระหว่างพิจารณาโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใด ร้องขอศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติม จะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ มาตรา 229 ศาลเป็นผู้สืบพยาน จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้ แล้วแต่เห็นควรตามลักษณะของพยาน มาตรา 229/1 ภายใต้บังคับ มาตรา 173/1 ในการไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณาโจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐาน โดยแสดงถึงประเภทและ ลักษณะของวัตถุ สถานที่พอสังเขปหรือเอกสารเท่าที่จะระบุได้ รวมทั้งรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะนำสืบหรือขอให้ศาล ไปตรวจ หรือแต่งตั้งต่อศาลไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยาน พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานหลักฐานดังกล่าวในจำนวนที่ เพียงพอเพื่อให้จำเลยรับไป ส่วนจำเลยให้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานพร้อมสำเนาก่อนวันสืบพยานจำเลย ในการไต่สวนกรณีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบหรือกรณีร้องขอให้ศาลริบทรัพย์ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานต่อศาลไม่น้อยกว่า เจ็ดวันก่อนวันไต่สวน พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานหลักฐานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ถ้ามี รับไป เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณีได้สิ้นสุดลง ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ยื่น บัญชีระบุพยานหลักฐานไว้แล้วมีเหตุอันสมควร แสดงได้ว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบ หรือไม่ทราบว่าพยานหลัก ฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมีเหตุสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องฝ่ายใด ซึ่งมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานเช่นว่านั้นแสดงให้เป็นที่ พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้น อาจร้องขอ อนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาล พร้อมกับบัญชีระบุพยานหลักฐานและสำ เนาบัญชีระบุพยานหลักฐานนั้นไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนเสร็จสิ้นการ สืบพยานของฝ่ายนั้นสำหรับกรณีที่คู่ความ หรือบุคคลเช่นว่านั้นได้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานไว้แล้ว หรือก่อนเสร็จสิ้นการพิจารณาสำหรับกรณีที่คู่ ความ หรือบุคคลเช่นว่านั้นไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐาน และถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อ สำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ให้ศาลมีอำนาจอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานใดซึ่งคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอ้างพยานหลักฐานนั้นมิได้แสดงความจำนงจะอ้างอิงพยาน หลักฐานนั้นตามวรรคหนึ่ง วรรคสองหรือวรรคสาม หรือตาม มาตรา 173/1 วรรคสอง หรือวรรคสาม แต่ถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองพยาน หรือจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม หรือเพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการต่อสู้คดี อย่างเต็มที่ ให้ศาลมีอำนาจอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 229/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 230 เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลอาจเดินเผชิญสืบพยานหลักฐาน หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นไม่สามารถนำ พยานหลักฐานมาสืบที่ศาลนั้น และการสืบพยานหลักฐานโดยวิธีอื่นไม่สามารถกระทำได้ ศาลมีอำนาจส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐาน แทนให้ ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิม รวมทั้งมีอำนาจส่งประเด็นต่อไปยังศาลอื่นได้ ภายใต้บังคับ มาตรา 172 และ มาตรา 172ทวิ ให้ส่งสำนวนหรือสำเนาฟ้อง สำเนาคำให้การและเอกสารหรือของกลางเท่าที่จำเป็นให้แก่ศาลที่รับ ประเด็นเพื่อสืบพยานหลักฐาน หากจำเลยต้องขังอยู่ในระหว่างพิจารณาให้ผู้คุมขังส่งตัวจำเลยไปยังศาลที่รับประเด็น แต่ถ้าจำเลยในกรณีตาม มาตรา 172ทวิ ไม่ติดใจไปฟังการพิจารณาจะยื่นคำถามพยานหรือคำแถลงขอให้ตรวจพยานหลักฐานก็ได้ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานไปตามนั้น เมื่อสืบพยานหลักฐานตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งถ้อยคำสำนวนพร้อมทั้งเอกสารหรือของกลางคืนศาลเดิม หมายเหตุอ่านมาตรา 230 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 230/1 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจนำพยานมาเบิกความในศาลได้ เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้พยานดัง กล่าวเบิกความที่ศาลอื่นหรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาลนั้น โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการ ประชุมทางจอภาพได้ ทั้งนี้ ภายใต้การควบคุมของศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่นั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา โดยได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ การเบิกความตามวรรคหนึ่งให้ถือเสมือนว่าพยานเบิกความในห้องพิจารณาของศาล หมายเหตุอ่านมาตรา 230/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 230/2 ในกรณีที่ไม่อาจสืบพยานตาม มาตรา 230/1 ได้ เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อ เท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ให้ ถ้อยคำที่จะมาศาลเพื่อให้การเพิ่มเติม บันทึกถ้อยคำตามวรรคหนึ่ง ให้มีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อศาลและเลขคดี (2) วัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำบันทึกถ้อยคำ (3) ชื่อและสกุลของคู่ความ (4) ชื่อ สกุล อายุ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ให้ถ้อยคำ และความเกี่ยวพันกับคู่ความ (5) รายละเอียดแห่งข้อเท็จจริง หรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำ (6) ลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำ และคู่ความฝ่ายผู้เสนอบันทึกถ้อยคำ สำหรับลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำให้นำ มาตรา 47 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกถ้อยคำที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อศาล เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย หมายเหตุอ่านมาตรา 230/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 231 เมื่อคู่ความหรือผู้ใดจะต้อง ให้การหรือส่งพยานหลักฐาน อย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้ (1) เอกสารหรือข้อความที่ยังเป็นความลับในราชการอยู่ (2) เอกสารหรือข้อความลับ ซึ่งได้มาหรือทราบเนื่องในอาชีพหรือหน้าที่ของเขา (3) วิธีการ แบบแผนหรืองานอย่างอื่นซึ่งกฎหมายคุ้มครองไม่ ยอมให้เปิดเผย คู่ความหรือบุคคลนั้นมีอำนาจไม่ยอมให้การหรือ ส่งพยานหลักฐาน เว้น แต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องกับความลับนั้น ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดไม่ยอมให้การ หรือไม่ส่งพยานหลักฐาน ดั่งกล่าวศาลมีอำนาจหมายเรียกเจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับ ความลับนั้นมาแถลง ต่อศาล เพื่อวินิจฉัยว่าการไม่ยอมนั้นมีเหตุผล ค้ำจุนหรือไม่ถ้าเห็นว่าไร้เหตุผลให้ศาลบังคับให้ให้การหรือส่งพยานหลักฐานนั้น หมวด2 พยานบุคคล มาตรา 232 ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน มาตรา 233 จำเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้ ในกรณีที่จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน ศาลจะให้เข้าสืบก่อนพยานอื่นฝ่ายจำเลยก็ได้ ถ้าคำเบิกความของ จำเลยนั้นปรักปรำหรือเสียหาย แก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นนั้นซักค้านได้ ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของ โจทก์ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 233 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 234 พยานไม่ต้องตอบคำถามซึ่งโดยตรงหรืออ้อมอาจทำ ให้เขาถูกฟ้องคดีอาญา เมื่อมีคำถามเช่นนั้น ให้ศาลเตือนพยาน มาตรา 235 ในระหว่างพิจารณา เมื่อเห็นสมควร ศาลมีอำนาจ ถามโจทก์จำเลยหรือพยานคนใดได้ ห้ามมิให้ถามจำเลยเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะจะเพิ่มเติมคดีโจทก์ ซึ่งบกพร่อง เว้นแต่จำเลยจะอ้างตนเองเป็นพยาน มาตรา 236 ในระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่จะเป็น พยานซึ่งมิใช่จำเลย ออกไปอยู่นอกห้องพิจารณาจนกว่าจะเข้ามา เบิกความ อนึ่ง เมื่อ พยานเบิกความแล้วจะให้รออยู่ในห้องพิจารณา ก่อนก็ได้ มาตรา 237 บันทึกคำเบิกความพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณานั้น ให้ศาลอ่านให้พยานฟังต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ในกรณีดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 165 วรรคสาม ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน ศาลอาจอนุญาตให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เป็นคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา โดยพยานไม่ ต้องเบิกความใหม่หรือให้พยานเบิกความ ตอบคำถามค้านของจำเลยไปทันทีได้ เว้นแต่ในข้อหาความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำจำคุก ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 237 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 237ทวิ ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ ว่าพยานบุคคลจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่มีที่อยู่เป็น หลักแหล่ง หรือเป็น บุคคลมีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาลที่พิจารณาคดีหรือ มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการยุ่งเหยิงกับพยานนั้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม หรือมีเหตุจำเป็น อื่นอันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบ ในภายหน้า พนักงานอัยการโดยตรงเองหรือโดยได้รับคำร้องขอจากผู้ เสียหายหรือจากพนักงานสอบสวน จะยื่นคำร้องโดยระบุการกระทำ ทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้สืบ พยานนั้นไว้ทันทีก็ได้ ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิด และผู้นั้นถูกควบคุมอยู่ ในอำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการ นำตัวผู้นั้นมาศาลหากถูกควบคุมอยู่ในอำนาจของศาล ให้ ศาลเบิก ความตัวผู้นั้นมาพิจารณาต่อไป เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลสืบพยานนั้นทันที ในการนี้ ผู้ต้องหาจะซักค้านหรือตั้งทนายซักค้านพยานนั้นด้วยก็ได้ ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ต้องหานั้นถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดอาญา ซึ่งหากมีการฟ้องคดีจะเป็นคดีซึ่งศาลจะต้อง ตั้งทนายความให้ หรือจำเลยมีสิทธิขอให้ศาลตั้งทนายความให้ตาม มาตรา 173 ก่อนเริ่มสืบพยานดังกล่าว ให้ศาลถามผู้ต้องหาว่ามี ทนายความหรือไม่ ในกรณีที่ศาลตั้งตั้ง ทนายความให้ ถ้าศาลเห็นว่า ตั้งทนายความให้ทันก็ให้ตั้งทนายความให้และดำเนินการสืบพยาน นั้นทันที แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่สามารถตั้งทนายความได้ ทันหรือผู้ต้องหา ไม่อาจตั้งทนายความได้ทัน ก็ให้ศาลซักถามพยานนั้นให้แทน คำเบิกความของพยานดังกล่าวให้ศาลอ่านให้พยานฟัง หากมีตัว ผู้ต้องหาอยู่ในศาลด้วยแล้วก็ให้ศาลอ่านคำเบิกความดังกล่าวต่อหน้า ผู้ต้องหา ถ้าต่อมาผู้ต้องหานั้นถูกฟ้องเป็นจำเลยในการกระทำผิดอาญานั้น ก็ให้รับฟังคำพยานดังกล่าวในการพิจารณาคดีนั้นได้ ในกรณีที่ผู้ต้องหาเห็นว่า หากตนถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้ว บุคคล ซึ่งจำเป็นจะต้องนำมาสืบเป็นพยานของตนจะเดินทางออกไปนอก ราชอาณาจักร ไม่มีที่ อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือเป็นบุคคลมีถิ่นที่อยู่ห่าง ไกลจากศาลที่พิจารณาคดี หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการยุ่งเหยิง กับพยานนั้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอัน เป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้า ผู้ต้องหานั้นจะยื่น คำร้องต่อศาลโดยแสดงเหตุผลความจำเป็น เพื่อ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต ให้สืบพยานบุคคลนั้นไว้ทันทีก็ได้ เมื่อศาลเห็นสมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานนั้นและแจ้ง ให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องทราบ ในการสืบ พยานดังกล่าว พนักงานอัยการมีสิทธิที่จะซักค้านพยานนั้นได้และให้ นำความในวรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 172ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การ สืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี หมายเหตุอ่านมาตรา 237ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 มาตรา 237ตรี ให้นำความใน มาตรา 237ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณี การสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ และพยานหลักฐานอื่น และแก่กรณีที่ได้มีการ ฟ้องคดีไว้แล้วแต่มีเหตุจำเป็นที่ต้องสืบพยานหลักฐานไว้ก่อน ถึงกำหนดเวลาสืบพยานตามปกติตาม มาตรา 173/2 วรรคสอง ด้วย ในกรณีที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงอันสำคัญในคดีได้ หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากมีการเนิ่นช้ากว่าจะนำ พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อันสำคัญมาสืบ ในภายหน้าพยานหลักฐานนั้น จะสูญเสียไปหรือเป็นการยากแก่การตรวจพิสูจน์ ผู้ต้องหาหรือพนักงาน อัยการโดยตนเองหรือเมื่อได้รับคำร้องจากพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหาย จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามความใน มาตรา 244/1 ไว้ก่อนฟ้องก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 237ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายเหตุอ่านมาตรา 237ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 หมวด3 พยานเอกสาร มาตรา 238 ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ ถ้าหา ต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องหรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความ ก็อ้างเป็นพยานได้ ถ้าอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน แม้ต้นฉบับยังมีอยู่จะส่งสำเนา ที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้ เป็นอย่างอื่น มาตรา 239 เอกสารใดซึ่งคู่ความอ้าง แต่มิได้อยู่ในความยึดถือ ของเขา ถ้าคู่ความนั้นแจ้งถึงลักษณะและที่อยู่ของเอกสารต่อศาล ให้ศาลหมายเรียก บุคคลผู้ยึดถือ นำเอกสารนั้นมาส่งศาล มาตรา 240 ในกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตาม มาตรา 173/1 เมื่อคู่ความประสงค์จะอ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของ ตนเป็นพยานหลักฐาน ให้ยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาส ตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ก่อน ที่จะนำสืบพยานเอกสารนั้น เว้นแต่เอกสารที่คู่ความประสงค์จะอ้างอิงนั้นเป็นบันทึกคำให้การของพยาน หรือเป็นเอกสารที่ปรากฏชื่อหรือที่อยู่ของพยาน หรือศาลเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารนั้น ในกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับต้องส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีเอกสารใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ให้อ่านหรือส่งให้คู่ความตรวจดู ถ้าคู่ความฝ่ายใด ต้องการสำเนา ศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่อ้างเอกสารนั้นส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งตามที่เห็นสมควร ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งหรือสำเนาเอกสารตามวรรคสอง หรือไม่ส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุตาม มาตรา 173/2 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้นเว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็นกรณี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือการไม่ปฏิบัติดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยจงใจ และไม่เสียโอกาสในการดำเนินคดีของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หมายเหตุอ่านมาตรา 240 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 หมวด4 พยานวัตถุ มาตรา 241 สิ่งใดใช้เป็นพยานวัตถุต้องนำมาศาล ในกรณีที่นำมาไม่ได้ ให้ศาลไปตรวจจดรายงานยังที่ที่พยาน วัตถุนั้นอยู่ตามเวลาและวิธีซึ่งศาลเห็นสมควรตามลักษณะแห่งพยาน วัตถุ มาตรา 242 ในระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาสิ่ง ของซึ่งเป็นพยานวัตถุต้องให้คู่ความหรือพยานตรวจดู ถ้ามีการแก้ห่อหรือทำลายตรา การห่อหรือตีตราใหม่ให้ทำต่อ หน้าคู่ความหรือพยานที่เกี่ยวข้องนั้น หมวด5 ผู้เชี่ยวชาญ มาตรา 243 ผู้ใดโดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตาม มีความเชี่ยวชาญในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่าง ประเทศ และซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา อาจเป็นพยานในเรื่องต่าง ๆ เป็น ต้นว่า ตรวจร่างกายหรือจิตของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลย ตรวจลายมือทำการทดลองหรือกิจการอย่างอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญอาจทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้แต่ต้องส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้ศาล และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบ และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือ นั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น หรือคู่ความไม่ติดใจซักถามผู้เชี่ยวชาญนั้น ศาลจะให้รับฟังความเห็นเป็นหนังสือดังกล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องมาเบิกความ ประกอบก็ได้ ในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญต้องมาเบิกความประกอบ ให้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวต่อศาลในจำนวนที่เพียงพอล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันเบิกความ เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมารับไป ในการเบิกความประกอบ ผู้เชี่ยวชาญจะอ่านข้อความที่เขียนมาก็ได้ หมายเหตุอ่านรายชื่อหมวด5 และ มาตรา 243 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 244 ถ้าศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เห็นจำเป็นเนื่องในการ ไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณา หรือสอบสวน ที่จะต้องตรวจศพ แม้ว่าจะได้บรรจุหรือฝังแล้วก็ตาม ให้มีอำนาจสั่งให้เอาศพนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจได้ แต่การกระทำตามคำสั่งดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงหลักทางศาสนา และไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงอย่างอื่น หมายเหตุอ่านมาตรา 244 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 244/1 ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก หากมีความจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่เป็น ประเด็นสำคัญแห่งคดี ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สาร พันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายจากคู่ความหรือบุคคลใด ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้แต่ต้องกระทำ เพียงเท่าที่จำเป็น และสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของ บุคคลนั้น และคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากคู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอมหรือกระทำการป้องปัดขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง ในกรณีที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่อาจทำให้ศาล วินิจฉัยชี้ขาดคดีได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานอื่นอีก หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากมีการเนิ่นช้ากว่าจะนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ อันสำคัญมา สืบในภายหน้าพยานหลักฐานนั้น จะสูญเสียไปหรือยากแก่การตรวจพิสูจน์ เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งให้ทำ การตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ทันที โดยไม่จำต้องรอให้ถึงกำหนดวันสืบพยานตามปกติ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติ ใน มาตรา 237ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตามมาตรานี้ให้สั่งจ่ายจากงบประมาณ ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบ จากกระทรวงการคลัง หมายเหตุอ่านมาตรา 244/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 ภาค 6 การบังคับ ต่อ น.2 |