ป.วิ อาญา น.2 ภาค6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม หมวด1 การบังคับตามคำพิพากษา มาตรา 245 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 246 มาตรา 247 และ มาตรา 248 เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหาร ชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ไปยังศาลอุทธรณ์ในเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ คำพิพากษานั้น และคำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืน หมายเหตุอ่านมาตรา 246 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 มาตรา 246 เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือ เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อจำเลยวิกลจริต (2) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก (3) ถ้าจำเลยมีครรภ์ (4) ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี และจำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรนั้น ในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้นศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความควบคุม ในสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมาย จำคุกก็ได้ และให้ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายนั้น เป็นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่ง ลักษณะของสถานที่อันควรตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุมและบำบัดรักษาที่เหมาะสมกับสภาพ ของจำเลย และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย เมื่อศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือมาตรการ ตามวรรคสามหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หรือให้ดำเนินการตามหมายจำคุกได้ ให้หักจำนวนวันที่จำเลยอยู่ในความควบคุมตามมาตรานี้ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา หมายเหตุอ่านมาตรา 246 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 มาตรา 247 คดีที่จำเลยต้องประหารชีวิต ห้ามมิให้บังคับตาม คำพิพากษาจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอภัยโทษแล้ว หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตรแล้ว ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต เว้นแต่เมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ในระหว่างสามปีนับแต่คลอดบุตร ให้หญิง นั้นเลี้ยงดูบุตรตามความเหมาะสมในสถานที่ที่สมควรแก่การเลี้ยงดูบุตรภายในเรือนจำ หมายเหตุอ่านมาตรา 247 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 บทบัญญัติมาตรา 247 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การขอรับพระ ราชทานอภัยโทษ และการขอรับพระราชทานเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษ ที่ได้มีการถวายเรื่องราวหรือคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 248 ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตเกิด วิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่า ผู้นั้นจะหาย ขณะทุเลา การประหารชีวิตอยู่นั้น ศาลมีอำนาจยก มาตรา 46 วรรค (2) แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาบังคับถ้าผู้วิกลจริตหายภายหลังปีหนึ่งนับแต่วันคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต มาตรา 249 คำพิพากษาหรือคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าธรรมเนียมนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง ปวิพ. หมายเหตุอ่าน มาตรา 249 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 250 ถ้าคำพิพากษามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น บุคคลทั้งปวงซึ่งต้องคำพิพากษาให้ลงโทษโดยได้กระทำความผิดฐานเดียวกัน ต้องรับผิดแทนกัน และต่างกันในการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินหรือใช้ค่าสินไหมทดแทน หมายเหตุอ่านมาตรา 250 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 251 ถ้าต้องยึดทรัพย์สินคราวเดียวกันสำหรับใช้ค่าธรรมเนียมศาลค่าปรับราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทน แต่ทรัพย์สินของจำเลยไม่พอ ใช้ครบทุกอย่างให้นำจำนวนเงินสุทธิของทรัพย์สินนั้น ใช้ตามลำดับดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียม (2) ราคาทรัพย์สินหรือค่าสินไหมทดแทน (3) ค่าปรับ หมายเหตุอ่านมาตรา 251 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 หมวด2 ค่าธรรมเนียม มาตรา 252 ในคดีอาญาทั้งหลาย ห้ามมิให้ศาลยุติธรรมเรียกค่า ธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา 253 ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ซึ่งมีคำเรียกร้อง ให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอาญา มิให้เรียกค่าธรรมเนียม ในกรณีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน ดั่งกล่าวในวรรคก่อน ถ้าศาลยังต้องจัดการอะไรอีกเพื่อการบังคับ ผู้ที่จะได้รับคืน ทรัพย์สินหรือราคาจักต้องเสียค่าธรรมเนียมดั่งคดีแพ่ง สำหรับการต่อไปนั้น มาตรา 254 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง ในคดีที่ผู้เสียหายเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน หรือใช้ค่าสินไหม ทดแทนซึ่งติดมากับ ฟ้องคดีอาญา หรือที่ฟ้องเป็นคดีแพ่งโดยลำพัง ให้เรียกค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่ง คดีในส่วนแพ่งตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ประสงค์จะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น ชั้นอุทรณ์ หรือชั้นฎีกา ให้ยื่นคำขอต่อ ศาลชั้นต้นที่ได้ยื่นฟ้องไว้พร้อมกับ คำฟ้องคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา แล้วแต่กรณี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีอาญาที่ฟ้องมีมูลและการเรียกเอา ค่า สินไหมทดแทนนั้น ไม่เกินสมควรและเป็นไปด้วยความสุจริต ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำ ขอแต่ถ้าศาลมีคำสั่งยก เว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งยกคำขอ ก็ให้ศาลกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว คำสั่งของศาล ชั้นต้นที่ให้ยกเว้นค่าธรรม เนียมศาล หรือยกคำขอให้มีผลสำหรับการดำเนินคดีตั้งแต่ชั้นศาลซึ่งคดี นั้นอยู่ในระหว่าวพิจารณาไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งคดี เปลี่ยนแปลงไป ศาลที่พิจารณาคดี จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นได้ตามที่เห็นสมควร ห้ามมิให้อุทรณ์หรือฎีกาคำสั่งของศาลตามวรรคสอง หมายเหตุอ่านมาตรา 254 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 255 ในคดีดั่งบัญญัติใน มาตรา 253 วรรค 2 และ มาตรา 254 ถ้ามีคำขอศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียมแทน อีกฝ่ายหนึ่งได้ มาตรา 256 ให้ศาลจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าเช่าที่พักที่จำเป็นและสมควรแก่พยาน ซึ่งมาศาลตามหมายเรียก ตามระเบียบที่คณะกรรมการ บริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง พยานที่ได้รับค่าพาหนะ ค่าป่วยการ หรือค่าเช่าที่พักในลักษณะเดียวกันตามกฎหมายอื่นแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับตามมาตรานี้อีก หมายเหตุอ่านมาตรา 256 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 257 (ยกเลิก) หมายเหตุอ่านมาตรา 257 ยกเลิกโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 258 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ปวิพ. ว่าด้วยค่าฤชาธรรมเนียมมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายเหตุอ่านมาตรา 258 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 ภาค7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ มาตรา 259 ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใด ๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้า ฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 259 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2548 มาตรา 260 ผู้มีเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำ จะยื่นเรื่องราวต่อพัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อได้รับเรื่องราวนั้นแล้ว ให้พัศดีหรือผู้ บัญชาการเรือนจำออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว แล้วให้รีบส่งเรื่องราวนั้นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หมายเหตุอ่านมาตรา 260 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2548 มาตรา 261 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมี หน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อ พระมหากษัตริย์ขอให้พระราช ทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้ หมายเหตุอ่านมาตรา 261 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2548 มาตรา 261ทวิ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็น การสมควรจะถวาย คำแนะนำต่อพระมาหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้อง โทษก็ได้ การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หมายเหตุมาตรา 261ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2517 มาตรา 262 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 247 และ มาตรา 248 เมื่อคดีถึงที่สุด ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ให้เจ้าหน้าที่นำตัวผู้นั้นไปประหารชีวิต เมื่อ พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันฟังคำพิพากษา เว้นแต่ในกรณีที่มีการถวายเรื่องราวหรือคำแนะนำขอให้พระราชทานอภัยโทษตาม มาตรา 261 ก็ ให้ทุเลาการ ประหารชีวิตไว้จนกว่าจะพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ถวายเรื่องราวหรือคำแนะนำขึ้นไปนั้น แต่ถ้า ทรงยกเรื่องราวนั้นเสีย ก็ให้จัดการประหารชีวิตก่อนกำหนดนี้ได้ เรื่องราวหรือคำแนะนำขอ พระราชทางอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ให้ถวายได้แต่ครั้งเดียวเท่านั้น หมายเหตุอ่านมาตรา 262 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2548 มาตรา 263 เหตุที่มีเรื่องราวขอพระราชทาน อภัยโทษในโทษ อย่างอื่นนอกจากโทษประหารชีวิต ไม่เป็นผลให้ทุเลาการลงโทษนั้น มาตรา 264 เรื่องราวขอพระราชทานอภัย โทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่ โทษประหารชีวิต ถ้าถูกยกหนหนึ่งแล้ว จะยื่นใหม่อีกไม่ได้จนกว่า จะพ้นสองปีนับแต่ วันถูกยกครั้งก่อน มาตรา 265 ในกรณีที่มีการอภัยโทษเด็ด ขาดโดยไม่มีเงื่อนไข ห้ามมิให้บังคับโทษนั้น ถ้าบังคับโทษไปบ้างแล้วให้หยุดทันที ถ้าเป็น โทษปรับที่ชำระ แล้วให้คืนค่าปรับให้ไปทั้งหมด ถ้าการอภัยโทษเป็นแต่เพียง เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษ โทษที่เหลืออยู่ก็ให้บังคับไปได้ แต่การได้รับพระราชทานอภัยโทษ ไม่เป็นเหตุให้ผู้รับพ้นความ รับผิดในการต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินหรือค่าทดแทนตามคำพิพากษา มาตรา 266 เมื่อผู้ได้รับพระราชทาน อภัยโทษเนื่องจากการกระทำความผิดอย่างหนึ่ง ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดอีกอย่างหนึ่ง อภัยโทษ นั้นย่อมไม่ตัด อำนาจศาลที่จะเพิ่มโทษ หรือไม่รอการลงอาญาตาม กฎหมายลักษณะอาญาว่าด้วยกระทำผิดหลายครั้งไม่เข็ดหลาบ หรือว่าด้วยรอการลงอาญา มาตรา 267 บทบัญญัติในหมวดนี้ ให้นำมาบังคับโดยอนุโลมแก่ เรื่องราวขอพระราชทานเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษ บัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ----------------- ความผิดในกฎหมายลักษณะอาญา ที่มาตรา 79 อ้างถึง ซึ่งราษฎรมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย ----------------- ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล ขบถภายในพระราชอาณาจักร ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ ทำอันตรายแก่ธง หรือเครื่องหมายของต่างประเทศ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน หลบหนีจากที่คุมขัง ความผิดต่อศาสนา ก่อการจลาจล กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน กระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวก ในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย ปลอมแปลงเงินตรา ข่มขืนกระทำชำเรา ประทุษร้ายแก่ชีวิต ประทุษร้ายแก่ร่างกาย ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ ลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด กรรโชก มาตรา 97 และ 99 มาตรา 101 ถึง 104 มาตรา 105 ถึง 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 119 ถึง 122 และ 127 มาตรา 163 ถึง 166 มาตรา 172 และ 173 มาตรา 183 และ 184 มาตรา 185 ถึง 194, 196, 197 และ 199 มาตรา 202 ถึง 205 และ 210 มาตรา 243 ถึง 246 มาตรา 249 ถึง 251 มาตรา 254 ถึง 257 มาตรา 268, 270 และ 276 มาตรา 288 ถึง 296 มาตรา 237 ถึง 302 มาตรา 303 หมายเหตุอ่านบัญชีแนบท้ายปวิอ. แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2483 มีหลักการ 1. แก้ไขเพิ่มเติมตำแหน่งเจ้าพนักงานที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่บางตำแหน่ง และเทียบยศตำรวจบางอย่างเพื่อให้ตรงกับ ตำแหน่งราชการของตำรวจที่เป็นอยู่ และเพื่อให้เป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น 2. ให้อธิบดีกรมตำรวจประกาศแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่มียศไม่ต่ำกว่าชั้นนายสิบตำรวจ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นพนักงานสอบสวนได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อ ให้การสอบสวนได้ดำเนิน ไปด้วยดีและรวดเร็ว อ่านพรก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2487 อ่านพรบ. ไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2487 พุทธศักราช 2487 มาตรา 3 ไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2487 อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2487 อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2493 อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2496 อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2499 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เพื่อให้คดีลุล่วงไปโดยเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น กับเพื่อแก้ข้อขัดข้องของศาล เจ้าพนักงาน และคู่ความในการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่สำคัญบางประการ และแก้บัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2501 หมายเหตุ: - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจาก พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2499 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ โดยให้มีแต่จังหวัดและอำเภอ ส่วนภาคยุบเลิกไป ตำแหน่งผู้ว่าราชการภาค รองผู้ว่าราชการภาค ผู้ช่วย ผู้ว่าราชการภาค และมหาดไทยภาค ซึ่งเป็นตำแหน่งประจำภาคจึงยุบเลิกตามไปด้วย ประกอบกับสมควรจะให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองบางตำแหน่ง ซึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญาในส่วนภูมิภาค เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาเฉพาะที่เกี่ยวกับคำว่า "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่" เสียใหม่ อ่านประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 333 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า ในปัจจุบันนี้ภาระของอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีปริมาณ เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก ตลอดทั้งวิธีการชันสูตรพลิกศพก็ไม่สะดวกและเหมาะสม สมควรแก้ไขกรณีดังกล่าว หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เพื่อให้ประชาชนในเขตอำนาจศาลแขวงและศาลจังหวัดมีสิทธิในการอุทธรณ์โดยเท่าเทียมกัน และเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาลุล่วงไป โดยเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พรบ.นี้ขึ้น อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยการพระราชทานอภัยโทษซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็น เบา และลดโทษ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังมิได้กำหนดวิธีการขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องโทษทั่วไป สมควรกำหนดให้ คณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษทั่วไปดังกล่าวได้ และโดยที่การพระราช ทานอภัยโทษแก่ผู้ ต้องโทษทั่วไปได้เคยกระทำในรูปพระราชกฤษฎีกาเสมอมา แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 192 ได้บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น" สมควรกำหนดให้การพระราชทานอภัยโทษได้กระทำในรูปพระราชกฤษฎีกาดังที่ได้เคยปฏิบัติมา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมิได้ให้ อำนาจศาลชั้นต้นอย่างชัดแจ้ง ในการที่จะสั่งคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว ในกรณีที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาแล้ว ทั้งในการที่ศาล จะสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในกรณีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปี ศาลจะต้องถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์ว่าจะ คัดค้านประการใด หรือไม่ทุกกรณีไป ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งได้โดยรวดเร็ว สมควรให้อำนาจศาลชั้นต้นสั่งคำ ร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลย ชั่วคราวในกรณีที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาแล้ว และให้อำนาจศาลที่จะงดการถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์ในกรณีที่ไม่อาจ ถามได้ โดยมีเหตุอันควร เพื่อให้ศาลสามารถมีคำสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวได้ โดยรวดเร็วและเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกขังได้รับการคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนการที่ศาลจะมีคำพิพากษานั้น สมควรกำหนดไว้ว่าถ้าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริง ดัง ที่กล่าวในฟ้องเพียงรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลา หรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐาน โดยเจตนาและประมาทมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยก ฟ้องคดีนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2523 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพันกำหนดสามสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522 ได้แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของศาลแขวง โดยเพิ่มจำนวนค่าปรับให้สูงขึ้นจากหกพัน บาทเป็นหกหมื่นบาท เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้สอดคล้องกับ พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522 เพื่อให้คดีอาญาของศาลจังหวัดและศาลแขวงที่ห้ามอุทธรณ์คำพิพากษา ในปัญหาข้อเท็จจริงมีอัตราโทษเท่าเทียมกัน อันจะเป็นผลทำให้ประชาชนที่อยู่ในเขต อำนาจศาลแขวงและในเขตอำนาจศาลจังหวัดมีสิทธิในการอุทธรณ์โดยเท่าเทียมกัน และได้รับผลปฏิบัติทางคดี เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2523 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 333 ข้อ 2 ได้ยกเลิกความใน มาตรา 150 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2499 โดยให้เหตุผลว่าวิธีการชันสูตรพลิกศพไม่สะดวกและเหมาะสม แต่เมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศใช้แล้ว ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่มีอำนาจ ตามกฎหมายบางแห่งได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบ เช่น เมื่อยิงราษฎรตายหรือทำร้ายราษฎรถึงแก่ความตายแล้วมักจะทำเป็นวิสามัญฆาตกรรม และสรุปสำนวนส่งให้อธิบดีกรมอัยการวินิจฉัย โดยไม่ต้องให้ศาลทำการไต่สวนก่อน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นแก่ผู้ตาย ซึ่งญาติผู้ตายไม่ สามารถนำพยานเข้าสืบเป็นการให้อำนาจพนักงานสอบสวนมากเกินไป จึงสมควรยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 333 ข้อ 2 และให้บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ที่ถูกยกเลิกมีผลใช้บังคับต่อไป อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (1) อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันได้เฉพาะคดีที่มีอัตรา โทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงหนึ่งปี และ (2) มิได้กำหนดอย่างชัดแจ้งว่า ในกรณีที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้ว หากมีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาลชั้นต้น ก่อนส่งสำนวนไปยัง ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาและ ศาลชั้นต้นเห็นไม่สมควรอนุญาต ศาลชั้นต้นจะต้อง "รีบ" ส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี เหมือนกับที่ได้กำหนดอย่างชัดแจ้งในกรณีที่มีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาลชั้นต้น เมื่อส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาล ฎีกาแล้ว ทำให้สิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและจำเลยในการได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร และบทบัญญัติของกฎหมาย ในเรื่องอย่างเดียวกันไม่สอดคล้องเป็นอย่างเดียวกัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในคดีที่ไม่ร้ายแรง โดยไม่ต้องมีประกัน ได้มากขึ้น และให้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมีความสอดคล้องเป็นอย่างเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2525 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เพื่อให้การสอบสวนและคดีลุล่วงไปโดยรวดเร็วและเหมาะสมยิ่งขึ้น กับเพื่อให้สอดคล้องกับ หลักการสืบสวนและสอบสวนจนได้ความแน่ชัดก่อนจับกุมผู้ต้องหา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (1) มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาที่จะพบและปรึกษาทนายสองต่อสอง สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมและสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว ทำให้ ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา มิได้รับความคุ้มครองตามสมควร (2) มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว (3) มิได้ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี หรือปรับเกินห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ทำให้ศาลไม่สามารถเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวให้แล้วเสร็จไปโดยรวดเร็วได้ (4) มิได้ให้ศาลตั้งทนายความให้แก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีแต่ไม่ถึงสิบปี ทำให้จำเลยที่ยากจนในคดีดังกล่าวไม่มีทนายในการ ต่อสู้คดี (5) มิได้ให้อำนาจศาลสืบพยานบุคคลซึ่งจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร อันยากแก่การนำพยานมาสืบในภายหน้าไว้ทันทีก่อนฟ้องคดีต่อศาล ทำ ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้ผู้เสียหายผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา และจำเลยได้รับความคุ้มครอง และให้การพิจารณา พิพากษาคดีอาญาดำเนินไป ด้วยความรวดเร็วสามารถอำนวยความสะดวกความยุติธรรม ตลอดจนให้จำเลยที่ยากจนได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในการดำเนินคดีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2529 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเปรียบเทียบคดีอาญา เพื่อให้พนักงานสอบ สวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้มากขึ้น โดยเปรียบเทียบในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทได้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่า ด้วยคดีอาญาเลิกกันในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้ผู้ต้องหาที่ ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินคดีเพื่อให้ศาลตั้งทนาย ให้จำเลยในทุกๆ คดีที่มี อัตราโทษประหารชีวิตถ้าจำเลยยังไม่มีทนาย และให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปี ถ้าจำเลยไม่ มีทนายและต่อสู้คดีโดยแถลงต่อศาลก่อนเริ่มพิจารณาว่าจำเลยยากจนและต้องการทนาย เพื่อกำจัดปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพิพากษาเกินคำขอ และเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาลุล่วงไปโดยเหมาะสมรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่มีการกำหนดชื่อตำแหน่ง ในกรมตำรวจขึ้นใหม่ตาม พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2532 ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบริหารงานของกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย สมควร แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 2 (17) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะที่เกี่ยวกับนิยามคำว่า "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่" เสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539 มาตรา 8 บรรดาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ไม่ใช้บังคับแก่การดำเนินการของพนักงานสอบ สวน พนักงานอัยการ หรือศาล ในคดีที่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้ดำเนินการไปก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ มาตรา 9 ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้ หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีบทบัญญัติบาง ประการที่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนดำเนินคดี อันเป็นผลให้การสอบสวนดำเนินคดีเป็นไปโดยล่าช้า และทำให้ผู้เสียหายผู้ต้องหา หรือจำเลยได้รับ การปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันและไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยกำหนดให้พนักงาน สอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจัดหาล่ามให้แก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยและไม่มีล่าม ลดระยะ เวลาที่ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจควบคุมตัวผู้ถูกจับ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นลงเหลือไม่เกินสามวัน และกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจ ร้องขอต่อศาลให้สั่งขังผู้ต้องหาไว้ ณ สถานที่ที่พนักงานสอบสวนกำหนดตามระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร รวมทั้งกำหนดให้ศาลต้องถามจำเลยก่อนเริ่ม การพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ หากไม่มีและจำเลยต้องการก็ให้ศาลตั้งทนายความให้สำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบ แปดปีในวันที่ถูกฟ้อง ทั้งนี้ เพื่อให้การสอบสวนดำเนินคดีลุล่วงไปโดยรวดเร็ว และเพื่อให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยได้รับความช่วยเหลือทาง กฎหมายโดยเท่าเทียมกัน และจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2542 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันการถามปากคำเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ในชั้นสอบสวน และการสืบพยานบุคคลซึ่งเป็นเด็กในชั้นศาลนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีปฏิบัติไว้ เช่นเดียวกับกรณีของ ผู้ใหญ่ โดยในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนยังมีความชำนาญในด้านจิตวิทยาเด็กไม่เพียงพอ รวมทั้งมิได้คำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กที่ อ่อนแอเท่าที่ควร และการใช้ภาษากับเด็กยังไม่เหมาะสม อันเป็นเหตุให้การถามปากคำเด็กส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็ก และส่งผลให้การสอบ สวนคลาดเคลื่อน ส่วนการสืบพยานในชั้นศาลนั้น นอกจากเด็กจะต้องเผชิญหน้ากับจำเลยในห้องพิจารณ าและตอบคำถามซ้ำกับในชั้นสอบสวนเสมือน หนึ่งต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้ว คำถามที่ใช้ถามเด็กยังอาจเป็นคำถามที่ตอกย้ำจิตใจของเด็กซึ่งบอบช้ำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น และยังส่งผลให้ข้อเท็จ จริงที่ได้จากการสืบพยานคลาดเคลื่อนอีกเช่นกัน นอกจากนั้นในการจดบันทึกคำร้องทุกข์ การชันสูตรพลิกศพ การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาคดี ที่เกี่ยวกับเด็กก็อาจจะเกิดผลในลักษณะทำนองเดียวกันได้ ฉะนั้น สมควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องดังกล่าว ให้มีกระบวน การถามปากคำและสืบพยานสำหรับเด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับมาตรฐานตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และบทบัญญัติในมาตรา 4 และมาตรา 53 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเหตุและวิธีการ เกี่ยวกับการ สืบพยานไว้ก่อนการฟ้องคดีต่อศาล และสมควรให้นำวิธีสืบพยานสำหรับเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในชั้นศาลไปใช้กับการสืบพยานไว้ก่อน การฟ้องคดีต่อศาลด้วย จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 6 บรรดาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่การชันสูตรพลิกศพและการไต่สวน สำหรับการตายที่ได้มีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานไว้แล้วก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานไปบังคับ แก่การชันสูตรพลิกศพ และการไต่สวนจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุด มาตรา 7 ภายในห้าปีนับแต่วันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตาม มาตรา 148 (3) และ(4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา ถ้าแพทย์ตาม มาตรา 150 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพรบ.นี้มีเหตุจำเป็นไม่สามารถไป ตรวจชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุได้ แพทย์ดังกล่าวอาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ ไปร่วมตรวจชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุในเบื้องต้นแล้วรีบรายงานให้แพทย์ทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตาม มาตรา 150 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ต่อไป ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ประจำโรงพยาบาลของเอกชน หรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็น แพทย์อาสาสมัคร ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งได้รับค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรม กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รักษาการตามพรบ.นี้ หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากในทางปฏิบัติ การชันสูตรพลิกศพมักกระทำโดยพนักงานสอบสวนร่วมกับเจ้าหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุขประจำท้องที่ หรือแพทย์ประจำตำบลแทนแพทย์ ซึ่งอาจทำให้ระบบการตรวจสอบพยานหลักฐานทางนิติเวชไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ และอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยถึงสาเหตุและพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดการตายนั้น อีกทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตาย เกิดขึ้น โดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่ ยังขาดการตรวจสอบและถ่วงดุลกันของผู้ร่วมทำการชันสูตรพลิกศพอย่างแท้จริง นอกจากนี้ วิธีการในการชันสูตรพลิกศพและการ ไต่สวนการตายของบุคคลยังเป็นไปอย่างล่าช้า และมิได้คุ้มครองสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติของผู้ตายอย่างเพียงพอ ฉะนั้น สมควรแก้ไขประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดตัวบุคคลผู้ร่วมทำการชันสูตรพลิกศพเสียใหม่ กล่าวคือ ให้พนักงานสอบสวนทำการ ชันสูตรพลิกศพร่วมกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ แพทย์ประจำโรงพยาบาล และแพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตามลำดับ และให้พนักงาน อัยการและพนักงานฝ่ายปกครองเข้าร่วมทำการชันสูตรพลิกศพด้วย ในกรณีที่ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ ตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ รวมทั้งปรับปรุงวิธีการในการชันสูตรพลิกศพและ การไต่สวนการตายโดยศาล เพื่อให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ มีประสิทธิภาพและคุ้มครองสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติของผู้ตายมากยิ่งขึ้น และ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะความผิดขึ้นใหม่ที่ทำให้การชันสูตรพลิกศพ หรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งสมควรแก้ไขอัตราโทษตาม บทบัญญัติที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้มีอัตราโทษสอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติ มาตรา 134/1 วรรคสอง แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 46 ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ที่กำหนดเกี่ยวกับการให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาล ตั้งตาม มาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ให้นำระเบียบซึ่งกำหนดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ใช้บังคับอยู่ นวันที่พรบ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภาย ในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พรบ.นี้มีผลใช้บังคับ มาตรา 47 ให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพรบ.นี้ หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญาไว้หลายประการ อาทิเช่น การจับกุมหรือคุมขังบุคคลและการค้นในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุจำเป็นอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และผู้ต้องหาและจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และ เป็นธรรมรวมทั้งมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ สมควรที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2548 มาตรา 5 บรรดาเรื่องราวการขอรับพระราชทานอภัยโทษใดๆ ที่ได้ส่งไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังมิได้ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ให้โอนมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม การถวายเรื่องราว การถวายความเห็น หรือการถวายคำแนะนำขอให้พระราชทานอภัยโทษ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กระทำไปก่อนวัน ที่พรบ.นี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการถวายเรื่องราว การถวายความเห็น หรือการถวายคำแนะนำขอให้พระราชทานอภัยโทษ โดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้โอนกรมราชทัณฑ์ ซึ่งมี ภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ แก่ผู้ต้องขังในคดีอาญาไปสังกัดกระทรวง ยุติธรรม ดังนั้นบทบัญญัติว่า ด้วยการขอพระราชทานอภัยโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีหน้าที่ในเรื่อง ดังกล่าว จึงไม่สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ในการขอพระราชทานอภัยโทษ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 มาตรา 9 บทบัญญัติ มาตรา 253 และ มาตรา 254 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ไม่มีผลกระทบต่อการ ชำระค่าธรรมเนียม ที่ได้ชำระไปแล้วก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากการดำเนินคดีแพ่งที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติให้พนักงานอัยการมีเพียงอำนาจในการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในความผิด เกี่ยวกับทรัพย์บาง ประเภทเท่านั้นผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ต้องไปดำเนินคดีส่วนแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนอื่นด้วยตนเอง และต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเป็นภาระยิ่งขึ้นให้แก่ผู้เสียหาย ดังนั้นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในคดีอาญาทุกประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องไปได้ เพื่อให้ การพิจารณาคดีส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็ว รวมทั้งยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินคดีดังกล่าวเพื่อลดภาระให้แก่ผู้เสียหาย จึงจำเป็นต้องตรา พรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550 มาตรา 7 บทบัญญัติ มาตรา 247 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ไม่ใช้บังคับแก่การขอรับพระ ราชทานอภัยโทษ และการขอรับพระราชทานเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษ ที่ได้มีการถวายเรื่องราวหรือ คำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์แล้ว ก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ มาตรา 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันเรือนจำมีสภาพ ที่แออัดไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนของผู้ซึ่งต้องขังหรือต้องจำคุก และไม่เหมาะสมกับสภาพของผู้ซึ่ง ต้องขังหรือต้องจำคุกบางลักษณะโดยเฉพาะสภาพชีวิตหญิงมีครรภ์ซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็ พิเศษ ประกอบกับ เทคโนโลยีในการควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวมีความก้าวหน้าเป็นอันมาก ดังนั้นเพื่อให้ผู้ซึ่งต้องขังหรือต้องจำคุกได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม สมควรปรับ ปรุงวิธีการขังและจำคุก โดยกำหนดวิธีการหรือสถานที่ในการขังหรือจำคุกนอกเรือนจำให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ซึ่งต้อง ขังหรือต้องจำคุกในแต่ละ ลักษณะตลอดจนปรับปรุงการทุเลาการบังคับโทษจำคุกหญิงมีครรภ์ และเปลี่ยนโทษประหารชีวิตหญิงมีครรภ์เป็นจำคุกตลอดชีวิต เพื่อให้บุตรได้รับการ เลี้ยงดูจากมารดาและสืบสายสัมพันธ์ทางครอบครัว อันจะเป็นแนวทางให้บุตรเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2550 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการถามปากคำ การสืบ พยาน และการชี้ตัวผู้ต้องหาของผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี รวมถึงการสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องมี นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการอยู่ร่วมด้วย โดยมุ่งหมายมิให้เด็กได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและสภาวะ ทางจิตใจจากกระบวนการยุติธรรม แต่เนื่องจากการที่มิได้จำกัดประเภทคดีซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษอย่างแท้จริงไว้ จึงทำให้การดำเนินคดี บางประเภทเป็นไปด้วยความล่าช้าโดยไม่จำเป็น ประกอบกับการถามปากคำมีความซ้ำซ้อนในแต่ละขั้นตอน ทำให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กได้รับ ผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมเกินสมควร ดังนั้น เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2550 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจเจ้าพนักงานยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้จนกว่าคดีถึงที่สุด บางกรณีอาจต้องยึดสิ่งของดังกล่าวไว้เป็นเวลานาน ทำให้สิ่งของนั้นชำรุดบกพร่อง เสื่อมประโยชน์ หรือเสื่อมราคาก่อความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น สมควรกำหนดให้เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้ ดุลพินิจผ่อนผันให้บุคคลดังกล่าวรับสิ่งของดังกล่าว ไปดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ระหว่างการดำเนินคดีอาญา เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายและ เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ผู้สุจริตตลอดจนลดภาระหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการดูแลรักษาสิ่งของนั้น ประกอบกับการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้น โดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และการสอบสวนในคดีดังกล่าวรวมทั้งคดีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตาม หน้าที่ เป็นคดีที่มีผลกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างสำคัญ สมควรให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทำสำนวน ชันสูตรพลิกศพ และการสอบสวนคดีดังกล่าวด้วย เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2551 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับพยานหลักฐาน แห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้อง ตราพรบ.นี้ อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2551 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การสอบสวนความผิดซึ่งมีโทษ ตามกฎหมายไทย ที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรตาม มาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจมอบหมาย หน้าที่การเป็นพนักงานสอบสวน ให้แก่พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวน หรือจะมอบหมายให้พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงาน สอบสวนก็ได้ และเพื่อให้การสอบสวนความผิดดังกล่าวเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
|