ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 46 คน
 สถิติเมื่อวาน 26 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
745 คน
6116 คน
379432 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ






 

ประมวลกฏหมายอาญา น.2

 หมวด2 ความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการ

มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริต

ยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์สินนั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 147 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 148 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์

อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต
หมายเหตุมาตรา 148 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือ

ประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งไม่ว่าการนั้น จะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต
หมายเหตุมาตรา 149 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 150 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งตน ได้เรียก รับ หรือ

ยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุก ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สอง

พันบาทถึงสี่หมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 150 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 151 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือ รักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล

สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 151 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 152 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น ต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ. 2502
มาตรา 153 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่

หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 153 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 154 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่หรือแสดงว่าตนมีหน้าที่ เรียกเก็บหรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใด โดย ทุจริตเรียก

เก็บหรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมหรือเงินนั้นหรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากร หรือค่า

ธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่

หมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 154 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 155 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าใดๆ เพื่อเรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย โดยทุจริต

กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้านั้น เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำ

คุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 155 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 156 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมาย โดยทุจริต แนะนำ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด เพื่อให้มีการ

ละเว้นการลงรายการในบัญชี ลงรายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชีหรือซ่อนเร้น หรือทำหลักฐาน ในการลงบัญชีอันจะเป็นผลให้การเสียภาษีอากร หรือ

ค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสียต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่

หมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 156 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการ

ปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 157 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 158 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสียหาย ทำลายซ่อน เร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ หรือเอกสารใดเป็น

หน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือรักษาไว้ หรือ ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 159 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ดูแล รักษาทรัพย์ หรือเอกสารใด กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยถอน ทำให้ เสียหายทำลายหรือทำให้

ไร้ประโยชน์ หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำ เช่นนั้น ซึ่งตราหรือเครื่องหมาย อันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมาย ไว้ที่ทรัพย์หรือเอกสารนั้นในการ

ปฏิบัติตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐาน ในการยึดหรือรักษาสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 160 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษาหรือใช้ดวงตรา หรือรอยตราของราชการหรือของผู้อื่น กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยใช้ดวงตรา

หรือรอยตรานั้น หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกิน

หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 161 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อ ความลงในเอกสารหรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสาร โดยอาศัยโอกาสที่

ตนมีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 162 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการ ตามหน้าที่
(1) รับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้นหรือว่า การอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ
(2) รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มี การแจ้ง
(3) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจด เปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น หรือ
(4) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ ความจริงอันเป็นความเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 163 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ในการไปรษณีย์โทรเลข หรือโทรศัพท์ กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เปิด หรือยอมให้ผู้อื่นเปิด จดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทาง ไปรษณีย์โทรเลขหรือโทรศัพท์ กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ดังต่อไปนี้
(2) ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้สูญหาย หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้เสีย หาย ทำลายหรือทำให้สูญหาย ซึ่งจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ หรือโทรเลข
(3) กัก ส่งให้ผิดทาง หรือส่งให้แก่บุคคลซึ่งรู้ว่ามิใช่เป็นผู้ควรรับ ซึ่งจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์หรือโทรเลข หรือ
(4) เปิดเผยข้อความที่ส่งทางไปรษณีย์ ทางโทรเลขหรือทาง โทรศัพท์
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 164 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน รู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ กระทำโดยประการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับนั้น ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 165 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามกฎหมายหรือคำสั่งซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัด

ขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 166 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานละทิ้งงานหรือกระทำการอย่าง ใด ๆ เพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกระทำการเช่นนั้น ด้วยกันตั้งแต่ห้า

คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดนั้น ได้กระทำลงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย แผ่นดิน เพื่อบังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

  ลักษณะ3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
  หมวด1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ในการยุติธรรม

มาตรา 167 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใด แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบ

สวน เพื่อจูงใจให้กระทำการไม่กระทำการหรือ ประวิงการกระทำใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่

พันบาท
มาตรา 168 ผู้ใดขัดขืนคำบังคับตามกฎหมายของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน ซึ่งให้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน

สามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 169 ผู้ใดขัดขืนคำบังคับตามกฎหมายของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวนซึ่งให้ส่งหรือจัดการส่งทรัพย์หรือเอกสาร ใดให้สาบาน

ให้ปฏิญาณ หรือให้ถ้อยคำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 170 ผู้ใดขัดขืนหมายหรือคำสั่งของศาลให้มาให้ถ้อยคำ ให้มาเบิกความหรือให้ส่งทรัพย์หรือเอกสารใดในการพิจารณาคดี ต้องระวางโทษจำคุก

ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 171 ผู้ใดขัดขืนคำสั่งของศาลให้สาบาน ปฏิญาณให้ถ้อยคำ หรือเบิกความ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจสืบสวนคดี

อาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อ ความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดี อาญาว่าได้มีการกระทำ

ความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตาม มาตรา 172 หรือ มาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อ ความปลอดภัย ผู้

กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับ ไม่เกินหกพันบาท
ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรกเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใด ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี และปรับ

ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำ ความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 176 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 175 แล้วลุแก่โทษ ต่อศาลและขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษ น้อยกว่าที่

กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน

หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณา คดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 178 ผู้ใดซึ่งเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงาน อัยการผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน ให้แปลข้อความหรือความ หมายใดแปลข้อความ

หรือความหมายนั้นให้ผิดไปในข้อสำคัญ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 179 ผู้ใดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้พนักงาน สอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเชื่อว่า ได้มีความ ผิดอาญาอย่างใด

เกิดขึ้น หรือเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรง กว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่ เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 180 ผู้ใดนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จใน การพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้นต้องระวาง โทษจำคุกไม่

เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดี อาญาผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 181 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 174 มาตรา 175 มาตรา 177 มาตรา 178 หรือ
มาตรา 180
(1) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มี ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี

และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
(2) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มี ระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่

หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง สามหมื่นบาท
มาตรา 182 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 177 หรือ มาตรา 178 แล้วลุแก่โทษ และกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือเจ้าพนักงาน ก่อนจบคำเบิกความ

หรือการแปล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 183 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 177 มาตรา 178 หรือ มาตรา 180 แล้วลุแก่โทษและกลับแจ้งความจริงต่อศาลหรือ เจ้าพนักงานก่อนมีคำ

พิพากษาและก่อนตนถูกฟ้องในความผิดที่ได้ กระทำศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได
มาตรา 184 ผู้ใดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษ น้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้ สูญหายหรือไร้ประโยชน์

ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 185 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือ ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใดที่ได้ส่งไว้ต่อ ศาล หรือที่ศาล

ให้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 186 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือ ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มีคำพิพากษาให้ริบ ต้องระวางโทษจำ

คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 187 ผู้ใดเพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ของศาล ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้

ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด หรือที่ตนรู้ว่าน่าจะถูกยึด หรืออายัด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ
มาตรา 188 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือ ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่า

จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 189 ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้อง หาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้

นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 190 ผู้ใดหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจสืบสวน

คดีอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรกได้กระทำโดยแหกที่คุมขัง โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยร่วมกระทำความ

ผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืน หรือวัตถุระเบิดผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่ง

หนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 191 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 191 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดให้ผู้ที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ

สืบสวนคดีอาญา หลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้นเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาจากศาลหนึ่งศาลใด ให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป

หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือ วัตถุระเบิดผู้กระทำ

ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 191 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 192 ผู้ใดให้พำนัก ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดให้ ผู้ที่หลบหนีจากการคุมขังตามอำนาจของศาลของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้า

พนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 193 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวมาใน มาตรา 184 มาตรา 189 หรือ มาตรา 192 เป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามี หรือภริยา

ของผู้กระทำ ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 194 ผู้ใดต้องคำพิพากษาห้ามเข้าเขตกำหนดตาม มาตรา 45 เข้าไปในเขตกำหนดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสอง

พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 195 ผู้ใดหลบหนีจากสถานพยาบาลซึ่งศาลสั่งให้คุมตัวไว้ ตามความใน มาตรา 49 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือ ปรับไม่เกินหนึ่ง

พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 196 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของศาลซึ่งได้สั่งไว้ในคำพิพากษา ตาม มาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 197 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้ประโยชน์ หรือรับว่าจะให้ประโยชน์ เพื่อกีดกันหรือขัดขวางการขาย ทอดตลาด

ของเจ้าพนักงานเนื่องจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
มาตรา 198 ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวาง

โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 198 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 199 ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน

หนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  หมวด2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการยุติธรรม

มาตรา 200 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้

เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการ อย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษ

น้อยลงต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นการเพื่อ จะแกล้งให้บุคคลหนึ่ง บุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการ เพื่อความ

ปลอดภัยผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 201 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการพนักงาน อัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์ สินหรือ

ประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำ การหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือ มิชอบด้วยหน้าที่

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุก ตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต
หมายเหตุมาตรา 201 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 202 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการพนักงาน อัยการผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน กระทำการหรือไม่กระทำการ อย่างใด ๆ ใน

ตำแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่ง ตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่ง นั้น ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต
หมายเหตุมาตรา 202 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2502
มาตรา 203 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็น ไปตามคำ

พิพากษาหรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 204 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีตำแหน่งหน้าที่ควบคุม ดูแลดูแลผู้ที่ต้องคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มี

อำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำด้วยประการ ใด ๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีและ

ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้นเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษา ของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก ตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป

หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึง สองหมื่นบาท
มาตรา 205 ถ้าการกระทำดังกล่าวใน มาตรา 204 เป็นการกระทำ โดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปด้วยการกระทำโดยประมาทนั้นเป็น บุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต

หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่ สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับ ไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมา ภายในสามเดือน ให้งดการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดนั้น

  ลักษณะ4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

มาตรา 206 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวาง

โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 206 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 207 ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชน เวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดย ชอบด้วยกฎหมาย

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายแสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่น เชื่อว่าตนเป็น

บุคคลเช่นว่านั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  ลักษณะ5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข ของประชาชน

มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความ ผิดฐานเป็นอั้งยี่

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ ในคณะบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่ เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 210 ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิด อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมี กำหนดโทษจำ

คุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน เป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าเป็นการสมคบเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุก

ตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 211 ผู้ใดประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงไว้ว่าได้ประชุม โดยไม่รู้ว่า

เป็นการประชุมของอั้งยี่หรือซ่องโจร
มาตรา 212 ผู้ใด
(1) จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร
(2) ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
(3) อุปการะอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยให้ทรัพย์ หรือโดยประการอื่น หรือ
(4) ช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรได้มาโดยการกระทำ ความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือ ซ่องโจรแล้วแต่กรณี
มาตรา 213 ถ้าสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนหนึ่งคนใดได้ กระทำความผิดตามความมุ่งหมายของอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น สมาชิก อั้งยี่หรือพรรค

พวกซ่องโจรที่อยู่ด้วยในขณะกระทำความผิด หรือ อยู่ด้วยในที่ประชุมแต่ไม่ได้คัดค้านในการตกลงให้กระทำความผิดนั้น และบรรดาหัวหน้า ผู้จัดการ

หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือซ่องโจร นั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นทุกคน
มาตรา 214 ผู้ใดประพฤติตนเป็นปกติธุระเป็นผู้จัดหาที่พำนักที่ ซ่อนเร้นหรือที่ประชุมให้บุคคลซึ่งตนรู้ว่าเป็นผู้กระทำความผิดที่บัญญัติ ไว้ในภาค 2 นี้

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดนั้น เป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามีหรือภริยาของผู้กระทำ ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิด การวุ่นวายขึ้น

ในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำความ ผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการ กระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิด ตาม มาตรา 215 ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่

เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  ลักษณะ6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิด ภยันตรายต่อประชาชน

มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 218 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) โรงเรือน เรือ หรือแพที่คนอยู่อาศัย
(2) โรงเรือน เรือ หรือแพอันเป็นที่เก็บหรือที่ทำสินค้า
(3) โรงมหรสพหรือสถานที่ประชุม
(4) โรงเรือนอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นสาธารณสถาน หรือเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมตามศาสนา
(5) สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานหรือที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ
(6) เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ อันมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป อากาศยาน หรือรถไฟที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ
ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี
หมายเหตุมาตรา 218 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 219 ผู้ใดตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 217 หรือ มาตรา 218 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพยายามกระทำ ความผิดนั้น ๆ
มาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของ ตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้อง ระวางโทษจำคุก

ไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดเพลิง ไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 218 ผู้กระทำต้องระวางโทษ ดังที่บัญญัติไว้ใน

มาตรา 218
มาตรา 221 ผู้ใดกระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล อื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่ เกินหนึ่ง

หมื่นสี่พันบาท
มาตรา 222 ผู้ใดกระทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย แก่ทรัพย์ดังกล่าวใน มาตรา 217 หรือ มาตรา 218 ต้องระวางโทษ ดังที่บัญญัติไว้ใน

มาตรา นั้น ๆ
มาตรา 223 ความผิดดังกล่าวใน มาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 220 มาตรา 221 หรือ มาตรา 222 นั้น ถ้าทรัพย์ที่เป็น อันตรายหรือที่น่าจะเป็น

อันตรายเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย และการ กระทำนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหก

พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 224 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 หรือ มาตรา 222 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำ

ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
หมายเหตุมาตรา 224 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 225 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และเป็นเหตุ ให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือการกระทำโดยประมาทนั้นน่าจะเป็น อันตรายแก่

ชีวิตของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 226 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่โรงเรือน อู่เรือ ที่ จอดรถหรือเรือสาธารณ ทุ่นทอดจอดเรือ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร เครื่องกลสายไฟฟ้า

หรือสิ่งที่ทำไว้เพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์จนน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่

เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 227 ผู้ใดเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุมหรือ ทำการก่อสร้าง ซ่อมแซมหรือรื้อถอน อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ไม่ปฏิบัติตามหลัก

เกณฑ์ หรือวิธีการอันพึงกระทำการนั้น โดย ประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน

หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 228 ผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ เพื่อให้เกิดอุทกภัย หรือเพื่อให้เกิดขัดข้องแต่การใช้น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคถ้าการ กระทำนั้นน่าจะเป็น

อันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่นต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดอันตราย แก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี

และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 229 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ทางสาธารณ ประตูน้ำทำนบ เขื่อน อันเป็นส่วนของทางสาธารณ หรือที่ขึ้นลงของ อากาศยาน อยู่ใน

ลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การ จราจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 230 ผู้ใดเอาสิ่งใด ๆ กีดขวางทางรถไฟหรือทางรถรางทำ ให้รางรถไฟหรือรางรถรางหลุด หลวมหรือเคลื่อนจากที่หรือกระทำ แก่เครื่อง

สัญญาณจนน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การเดินรถไฟ หรือรถรางต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาทถึงหนึ่ง

หมื่นสี่พันบาท
มาตรา 231 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประภาคาร ทุ่น สัญญาณหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งจัดไว้เป็นสัญญาณเพื่อความปลอดภัยใน การจราจรทางบก การ

เดินเรือหรือการเดินอากาศอยู่ในลักษณะอันน่า จะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรทางบก การเดินเรือหรือการ เดินอากาศ ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปีและปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 232 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ยานพาหนะดังต่อไปนี้ อยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคล
(1) เรือเดินทะเล อากาศยาน รถไฟ หรือรถราง
(2) รถยนต์ที่ใช้สำหรับการขนส่งสาธารณ หรือ
(3) เรือกลไฟ หรือเรือยนต์อันมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไปที่ใช้สำหรับ การขนส่งสาธารณ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาท ถึง หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 233 ผู้ใดใช้ยานพาหนะรับจ้างขนส่งคนโดยสารเมื่อ ยานพาหนะนั้น มีลักษณะหรือมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตราย แก่บุคคลในยานพาหนะ

นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 234 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่สิ่งที่ใช้ในการผลิต ในการส่งพลังงานไฟฟ้าหรือในการส่งน้ำ จนเป็นเหตุให้ประชาชนขาด ความสะดวก

หรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 235 ผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ ให้การสื่อสารสาธารณ ทางไปรษณีย์ ทางโทรเลข ทางโทรศัพท์หรือทางวิทยุขัดข้องต้อง ระวางโทษจำคุก

ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
มาตรา 236 ผู้ใดปลอมปนอาหาร ยาหรือเครื่องอุปโภคบริโภค อื่นใดเพื่อบุคคลอื่นเสพย์หรือใช้ และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายแก่

สุขภาพ หรือจำหน่าย หรือเสนอขายสิ่งเช่นว่านั้น เพื่อบุคคลเสพย์หรือใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับ ไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้ง

ปรับ
มาตรา 237 ผู้ใดเอาของที่มีพิษหรือสิ่งอื่นที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ สุขภาพเจือลงในอาหาร หรือในน้ำซึ่งอยู่ในบ่อ สระหรือที่ขังน้ำใด ๆ และอาหาร

หรือน้ำนั้นได้มีอยู่หรือจัดไว้เพื่อประชาชนบริโภค ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 238 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 226 ถึง มาตรา 237 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิตหรือ

จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 239 ถ้าการกระทำดังกล่าวใน มาตรา 226 ถึง มาตรา 237 เป็นการกระทำโดยประมาท และใกล้จะเป็นอันตรายแต่ชีวิต ของบุคคลอื่น ผู้กระทำ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะ7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
                      หมวด1 ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา

มาตรา 240 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้ เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้ อำนาจให้ออกใช้

หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญ สำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอม เงินตรา ต้องระวางโทษจำคุก

ตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 241 ผู้ใดแปลงเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือแปลง พันธบัตร

รัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ให้ผิดไป จากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน แปลงเงินตรา

ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 242 ผู้ใดกระทำโดยทุจริตให้เหรียญกระษาปณ์ซึ่งรัฐบาลออก ใช้มีน้ำหนักลดลง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่

พันบาท
ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักร นำออกใช้หรือมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่ง เหรียญกระษาปณ์ที่มีผู้กระทำโดยทุจริตให้น้ำหนักลดลงตามความ ในวรรคแรก ต้อง

ระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา 243 ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใดๆ อันเป็นของปลอมตาม มาตรา 240 หรือของแปลงตาม มาตรา 241 ต้องระวาง โทษดังที่บัญญัติไว้ใน

มาตรา นั้นๆ
มาตรา 244 ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใดๆ อันตนได้มาโดย รู้ว่าเป็นของปลอมตาม มาตรา 240 หรือของแปลงตาม มาตรา 241 ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท
มาตรา 245 ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตาม มาตรา 240 หรือของแปลงตาม มาตรา 241 ถ้าต่อมารู้ว่าเป็น ของปลอมหรือของแปลง

เช่นว่านั้น ยังขืนนำออกใช้ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 246 ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงิน ตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งใดๆ ซึ่งรัฐบาล ออกใช้หรือให้

อำนาจให้ออกใช้ หรือสำหรับปลอมหรือแปลงพันธบัตร รัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ หรือมีเครื่อง มือหรือวัตถุเช่นว่านั้นเพื่อ

ใช้ในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
มาตรา 247 ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้เป็นการกระทำเกี่ยว กับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่ง รัฐบาลต่าง

ประเทศออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือเกี่ยวกับ พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ผู้กระทำต้องระวาง

โทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
มาตรา 248 ถ้าผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 240 มาตรา 241 หรือ มาตรา 247 ได้กระทำความผิดตาม มาตรา อื่นที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้อันเกี่ยวกับ

สิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นด้วย ให้ลงโทษผู้นั้นตาม มาตรา 240 มาตรา 241 หรือ มาตรา 247 แต่กระทงเดียว
มาตรา 249 ผู้ใดทำบัตรหรือโลหธาตุอย่างใดๆ ให้มีลักษณะและ ขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ธนบัตรหรือ สิ่งใดๆ ซึ่ง

รัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ หรือจำหน่ายบัตรหรือ โลหธาตุเช่นว่านั้น

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการจำหน่ายบัตรหรือโลหธาตุดังกล่าวในวรรคแรก เป็นการ จำหน่าย โดยการนำออกใช้ดังเช่นสิ่งใดๆ ที่กล่าวในวรรคแรก ผู้ กระทำต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  หมวด2 ความผิดเกี่ยวกับดวงตราแสตมป์ และตั๋ว

มาตรา 250 ผู้ใดทำปลอมขึ้นดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดิน หรือพระปรมาภิไธย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น

บาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 251 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งดวงตราหรือรอยตราของทบวง การเมือง ขององค์การสาธารณ หรือของเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปี

ถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 252 ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตราหรือพระปรมาภิไธยดังกล่าว มาใน มาตรา 250 หรือ มาตรา 251 อันเป็นดวงตรา รอยตราหรือ พระปรมาภิไธย

ที่ทำปลอมขึ้น ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
มาตรา 253 ผู้ใดได้มาซึ่งดวงตราหรือรอยตราดังกล่าวใน มาตรา 250 หรือ มาตรา 251 ซึ่งเป็นดวงตราหรือรอยตราอันแท้จริง และใช้ดวงตราหรือ

รอยตรานั้นโดยมิชอบในประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นหรือ ประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 250 หรือ

มาตรา 251 นั้น
มาตรา 254 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งแสตมป์รัฐบาล ซึ่งใช้สำหรับการ ไปรษณีย์การภาษีอากรหรือการเก็บค่าธรรมเนียม หรือแปลงแสตมป์ รัฐบาล ซึ่งใช้

ในการเช่นว่านั้นให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเช่นว่ามี มูลค่าสูงกว่าจริง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับ ตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่ง

หมื่นสี่พันบาท
มาตรา 255 ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดิน พระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทบวง การเมืองขององค์การ

สาธารณ หรือของเจ้าพนักงาน หรือแสตมป์ ซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 250 มาตรา 251 หรือ มาตรา 254 อันเป็นของ ปลอม หรือของแปลงต้องระวางโทษ

จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 256 ผู้ใดลบ ถอนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่แสตมป์ รัฐบาลซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 254 และมีเครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใด แสดงว่า

ใช้ไม่ได้แล้ว เพื่อให้ใช้ได้อีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 257 ผู้ใดใช้ ขาย เสนอขาย แลกเปลี่ยนหรือเสนอแลกเปลี่ยน ซึ่งแสตมป์อันเกิดจากการกระทำดังกล่าวใน มาตรา 254 หรือ มาตรา 256 ไม่ว่า

การกระทำตาม มาตรา นั้น ๆ จะได้กระทำภายในหรือนอก ราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ
มาตรา 258 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งตั๋วโดยสารซึ่งใช้ในการขนส่ง สาธารณหรือแปลงตั๋วโดยสารซึ่งใช้ในการขนส่งสาธารณให้ผิดไปจาก เดิม เพื่อให้ผู้อื่น

เชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง หรือลบ ถอนหรือกระทำด้วย ประการใด ๆ แต่ตั๋วเช่นว่านั้น ซึ่งมีเครื่องหมายหรือการกระทำ อย่างใด แสดงว่าใช้ไม่ได้แล้ว

เพื่อใช้ได้อีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 259 ถ้าการกระทำตาม มาตรา 258 เป็นการกระทำเกี่ยว กับตั๋วที่จำหน่ายแก่ประชาชน เพื่อผ่านเข้าสถานที่ใด ๆ ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุก

ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
มาตรา 260 ผู้ใดใช้ ขาย เสนอขาย แลกเปลี่ยนหรือเสนอแลกเปลี่ยน ซึ่งตั๋วอันเกิดจากการกระทำดังกล่าวใน มาตรา 258 หรือ มาตรา 259 ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
มาตรา 261 ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง สิ่งใด ๆ ซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 254 มาตรา 258 หรือ มาตรา 259 หรือมีเครื่องมือหรือ

วัตถุเช่นว่านั้นเพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 262 ถ้าการกระทำดังกล่าวใน มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 257 หรือ มาตรา 261 เป็นการกระทำเกี่ยวกับแสตมป์รัฐบาล ต่างประเทศ ผู้

กระทำต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
มาตรา 263 ถ้าผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 250 มาตรา 251 มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 258 มาตรา 259 หรือ มาตรา 262 ได้กระทำความผิด

ตาม มาตรา อื่นที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ อันเกี่ยวกับสิ่ง ที่เกิดจากการกระทำความผิดนั้นด้วย ให้ลงโทษผู้นั้นตาม มาตรา 250 มาตรา 251 มาตรา 254

มาตรา 256 มาตรา 258 มาตรา 259 หรือ มาตรา 262 แต่กระทงเดียว

  หมวด3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือ

ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อ

ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำ

เพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 266 ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้
(1) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
(2) พินัยกรรม
(3) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
(4) ตั๋วเงิน หรือ
(5) บัตรเงินฝาก
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับ

ใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 268 ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือ มาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิด

ความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว
มาตรา 269 ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด

ความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

  หมวด4 ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตร

อิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง
โดยประการที่น่า จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง หรือเพื่อใช้

ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง

หนึ่งแสนบาท
มาตรา 269/2 ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับ ให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 269/1

หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่น

บาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 269/3 ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา 269/1 หรือ มาตรา 269/2 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี

และปรับตั้งแต่ หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา 269/4 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา 269/1 อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปี

ถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นตาม มาตรา 269/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สอง

หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกหรือ วรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 269/1 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว
มาตรา 269/5 ผู้ใดใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่า จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 269/6 ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิสก์ของผู้อื่นโดยมิชอบตาม มาตรา 269/5 ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

หรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 269/7 ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับบัตร อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการ

ชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสด ผู้กระทำ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่ง

หนึ่ง"
หมายเหตุอ่านหมวด 4 ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 269/1 มาตรา 269/2 มาตรา 269/3 มาตรา 269/4 มาตรา 269/5 มาตรา 269/6

มาตรา 269/7 เพิ่มเติมพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2547

  หมวด5 ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

มาตรา 269/8 ผู้ใดทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในหนังสือเดิน

ทางที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทาง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนถ้าได้กระทำ

เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และ

ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
 มาตรา 269/9 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตาม มาตรา 269/8 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่น

บาทถึงสองแสนบาท
ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตาม มาตรา 269/8 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึง

สี่แสนบาท
การมีหนังสือเดินทางปลอมตาม มาตรา 269/8 จำนวนตั้งแต่สองฉบับขึ้นไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งหนังสือเดินทางตาม มาตรา 269/8 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว
 มาตรา 269/10 ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตาม มาตรา 269/8 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี

และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำไปเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
 มาตรา 269/11 ผู้ใดใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ผู้ใดจัดหาหนังสือเดินทางให้ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
 มาตรา 269/12 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันใช้ในการ ตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ต้องระวาง

โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
 มาตรา 269/13 ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราที่ทำปลอมขึ้นตาม มาตรา 269/12 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับ

ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ปลอมซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราตาม มาตรา 269/12 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว
 มาตรา 269/14 ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 269/12 อันเป็น

ของปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
 มาตรา 269/15 ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันแท้จริงที่ใช้ในการ ตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศโดยมิชอบใน

ประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/13
หมายเหตุอ่านหมวด 5 ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง มาตรา 269/ 8 มาตรา 269/9 มาตรา 269/10 มาตรา 269/11 มาตรา 269/12 มาตรา 269/13

มาตรา 269/14 มาตรา 269/15 เพิ่มเติมพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2550

  ลักษณะ8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า

มาตรา 270 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่ง เครื่องตวง หรือเครื่องวัด ที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า หรือมีเครื่องเช่น ว่านั้นไว้เพื่อขายต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้น อันเป็นเท็จ ถ้าการ

กระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 271 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2522
มาตรา 272 ผู้ใด
(1) เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบ การค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ หุ้มห่อ แจ้งความ

รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือ สิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือ การค้าของผู้อื่นนั้น
(2) เลียนป้าย หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันจนประชาชนน่าจะ หลงเชื่อว่าสถานที่การค้าของตนเป็นสถานที่การค้าของผู้อื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
(3) ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือใน สถานที่การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของผู้หนึ่งผู้ใด โดยมุ่งประโยชน์แก่

การค้าของตน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตาม มาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้
มาตรา 273 ผู้ใดปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 274 ผู้ใดเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จด ทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลง

เชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 275 ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักร จำหน่ายหรือเสนอ จำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความ ใดๆ ดังบัญญัติไว้ใน

มาตรา 272 (1) หรือสินค้าอันเป็นสินค้าที่มี เครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตาม ความใน มาตรา 273 หรือ มาตรา 274

ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติ ไว้ในมาตรานั้น ๆ

  ลักษณะ9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ

มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำ

ให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดย การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ

ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง

หรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกันต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรสและคู่สมรสนั้น ยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษ

น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก

และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้ง

พนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้
หมายเหตุอ่านมาตรา 276 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550
มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปี

ถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ

ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่

พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็ก

ชายในลักษณะเดียวกันและเด็กนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำ ต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดย

เด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษ

ในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป
หมายเหตุอ่านมาตรา 277 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550
มาตรา 277ทวิ ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 277 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
หมายเหตุอ่านมาตรา 277ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2550
มาตรา 277ตรี ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคสาม หรือ มาตรา 277 วรรคสี่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หมายเหตุอ่านมาตรา 277ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2550
มาตรา 278 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดย ขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ ในภาวะที่ไม่สามารถขัด

ขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่า ตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 278 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530
มาตรา 279 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสอง

หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ผู้กระทำได้กระทำโดย ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ใน ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืน

ได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตน เป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 279 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530
มาตรา 280 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 278 หรือ มาตรา 279 เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 281 การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตราย

สาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้
หมายเหตุมาตรา 281 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 282 ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวาง

โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม วรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคล อายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม วรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคล อายุไม่เกินสิบห้าปีผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่ง

หมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสองหรือวรรคสาม หรือสนับสนุนใน การกระทำความ

ผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ใน วรรคแรกวรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
หมายเหตุอ่าน มาตรา 282 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540
มาตรา 283 ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง

ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น

บาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม วรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี

และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตาม วรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สอง

หมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสองหรือวรรคสาม หรือสนับสนุนใน การกระทำความ

ผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ใน วรรคแรกวรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
หมายเหตุอ่าน มาตรา 283 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540
มาตรา 283ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือ

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตาม วรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่ เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่ง

หมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพา ไปตามวรรคแรกหรือวรรคสอง ต้องระวาง โทษตามที่บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี
ความผิดตามวรรคแรกและ วรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุ เกินสิบห้าปี เป็นความผิดอันยอมความได้
หมายเหตุอ่าน มาตรา 283ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540
มาตรา 284 ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธี ข่มขืนใจด้วย

ประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่ง ถูกพาไปตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่น เดียวกับผู้พาไปนั้น
"ความผิดตาม มาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้"
หมายเหตุอ่าน มาตรา 284 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540
มาตรา 285 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277ทวิ มาตรา 277ตรี
มาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 280 มาตรา 282 หรือ มาตรา 283 เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ ในความดูแลผู้อยู่ในความควบคุม ตาม

หน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนัก กว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ หนึ่งในสาม
มาตรา 286 ผู้ใดอายุกว่าสิบหกปีดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่

หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ
และมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นดำรงชีพอยู่จากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่ามิได้เป็นเช่นนั้น
(1) อยู่ร่วมกับผู้ซึ่งค้าประเวณี หรือสมาคมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณ
(2) กินอยู่หลับนอน หรือรับเงิน หรือประโยชน์อย่างอื่น โดยผู้ซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้
(3) เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยผู้ซึ่งค้าประเวณีในการทะเลาะวิวาทกับผู้ที่คบค้ากับผู้ซึ่งค้าประเวณีนั้น
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้ซึ่งค้าประเวณีซึ่งพึงให้ค่าเลี้ยงดูนั้น ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยา
หมายเหตุอ่านมาตรา 286 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550
มาตรา 287 ผู้ใด
(1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้า ในราช

อาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือ ยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์

ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก
(2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับการค้าเกี่ยวกับ วัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่น

วัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น
(3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามก ดังกล่าวแล้ว โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการ อันเป็น

ความผิดตาม มาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของ ลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 287 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
ลักษณะ10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
  หมวด1 ความผิดต่อชีวิต

มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 289 ผู้ใด
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุ ที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำ ตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงาน ดังกล่าวแล้ว
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการ ที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อ หลีกเลี่ยงให้พ้น

อาญาในความผิดที่ตนได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
มาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัย คล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลฆ่า

ตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการ พยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี หรือผู้ซึ่งไม่ สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือสารสำคัญอย่างไร หรือไม่

สามารถบังคับการกระทำของตนได้ ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้ เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 294 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคน ขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่

ความตายโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการ ชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

  หมวด2 ความผิดต่อร่างกาย

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่

เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิด นั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำ

คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี
อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ยี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 297 ถ้าความผิด นั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่สองปีถึงสิบปี
มาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ รับ

อันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการ ชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพัน

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  หมวด3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก

มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้ง

ปรับ
มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้ง

จำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสอง

หมื่นบาท
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 301 หรือ มาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 301 และ มาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์และ
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือ มาตรา 284
ผู้กระทำไม่มีความผิด

  หมวด 4 ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา

มาตรา 306 ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ ที่ใดเพื่อให้เด็ก นั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่ง พึ่งตนตนเองมิได้ เพราะอายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่ง

ตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 308 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 306 หรือ มาตรา 307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 290 มาตรา 297 หรือ มาตรา 298 นั้น

ลักษณะ11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
  หมวด1 ความผิดต่อเสรีภาพ

มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง

หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้ กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อ

สิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำ ความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือได้กระทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจทำ ถอน ทำ

ให้เสียหาย หรือทำลายเอกสารสิทธิอย่างใดผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะ มีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีและปรับ ตั้งแต่

สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการ ใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ

ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกัก ขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตายหรือรับอันตราย

สาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 290 มาตรา 297 หรือ มาตรา 298 นั้น
มาตรา 310ทวิ ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วย ประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำ การใดให้แก่ผู้

กระทำหรือบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หมายเหตุอ่านมาตรา 310ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2537
มาตรา 311 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือ รับอันตราย

สาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 291 หรือ มาตรา 300
มาตรา 312 ผู้ใดเพื่อจะเอาคนลงเป็นทาส หรือให้มีฐานะคล้ายทาส นำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พามาจากที่ใด ซื้อ ขาย จำหน่าย รับ

หรือหน่วงเหนี่ยวซึ่งบุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 312ทวิ ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 310ทวิ หรือ มาตรา 312 เป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุก

ตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก หรือ มาตรา 310ทวิ หรือ มาตรา 312 เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
(2) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบเจ็ดปีถึงยี่สิบปี
(3) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
หมายเหตุอ่านมาตรา 312ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2537
มาตรา 312ตรี ผู้ใดโดยทุจริตรับไว้ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี แม้ผู้นั้นจะยินยอม ก็ตาม

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน สิบห้าปี ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น

สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 312ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540
มาตรา 313 ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่
(1) เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(2) เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไป โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจ ด้วยประการ

อื่นใด หรือ
(3) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใด
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่น บาท ถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูก หน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังนั้นรับอันตรายสาหัสหรือเป็นการกระทำโดย ทรมาน

หรือโดยทารุณโหดร้าย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำนั้นรับอันตราย แก่กาย หรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุก
ตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังนั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หมายเหตุอ่านมาตรา 313 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530
มาตรา 314 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 313 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
มาตรา 315 ผู้ใดกระทำการเป็นคนกลาง โดยเรียก รับหรือยอมจะรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใดที่มิควรได้ จากผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 313

หรือจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปี ถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
หมายเหตุอ่านมาตรา 315 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
มาตรา 316 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 313 มาตรา 314 หรือ มาตรา 315 จัดให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังได้รับ เสรีภาพ

ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ไว้ แต่

ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา 317 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกิน สิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่

สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
ถ้าความผิดตาม มาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้นั้นกระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่น

บาทถึงสี่หมื่นบาท
หมายเหตุอ่าน มาตรา 317 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530
มาตรา 318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไป ด้วยต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาท ถึงสองหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
ถ้าความผิดตาม มาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หกพัน บาท ถึง

สามหมื่นบาท
หมายเหตุอ่าน มาตรา 318 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530
มาตรา 319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไป เสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร

โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
หมายเหตุอ่าน มาตรา 319 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530
มาตรา 320 ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พาหรือส่งคนออก

ไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปี ถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ได้กระทำเพื่อให้ผู้ถูกพาหรือ ส่งไปนั้นตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อละทิ้ง ให้เป็นคน

อนาถา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
หมายเหตุอ่าน มาตรา 320 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
มาตรา 321 ความผิดตาม มาตรา 309 วรรคแรก มาตรา 310 วรรคแรก และ มาตรา 311 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้
หมวด2 ความผิดฐานเปิดเผยความลับ

มาตรา 322 ผู้ใดเปิดผนึกหรือเอาจดหมาย โทรเลขหรือเอกสารใด ๆ ซึ่งปิดผนึกของผู้อื่นไป เพื่อล่วงรู้ข้อความก็ดี เพื่อนำข้อความในจดหมาย โทรเลข

หรือเอกสารเช่นว่านั้นออกเปิดเผยก็ดี ถ้าการกระทำนั้นน่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกิน

หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น โดยเหตุ ที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา

นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบ อาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้น

ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก เปิดเผยความลับ ของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการ ที่น่าจะเกิด

ความเสียหายแต่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา 324 ผู้ใดโดยเหตุที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่ วิชาชีพ หรือ อาชีพอันเป็นที่ไว้วางใจ ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นเกี่ยว กับอุตสาหกรรม การ

ค้นพบ หรือการนิมิตในวิทยาศาสตร์ เปิดเผยหรือ ใช้ความลับนั้น เพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินหกเดือน หรือปรับไม่

เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 325 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
หมวด3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำ
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 326 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535
มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ

ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 326 นั้น
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏ

ด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าว

ประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
หมายเหตุอ่านมาตรา 328 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535
มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุมผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
มาตรา 331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิด เห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดี ของตน ไม่มี

ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 332 ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความ ผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือ พิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
มาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ลักษณะ12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
  หมวด1 ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน

สามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ในเวลากลางคืน
(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือ ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะ อื่นที่ประชาชน

โดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัย โอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัว ภยันตรายใด ๆ
(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ
(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทาง คนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วย ประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สอง คนขึ้นไป
(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้ บริการสาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ ในสถานที่นั้น ๆ
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถ หรือเรือสาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ
(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มา จากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะ ดังที่บัญญัติไว้ในอนุ มาตรา ดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุ มาตรา ขึ้นไป ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับ ประกอบกสิกรรมผู้

กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรานี้ เป็นการกระทำ โดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานและทรัพย์นั้นมีราคา เล็กน้อยศาลจะลงโทษผู้

กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 335 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
อ่านมาตรา 335 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2530
มาตรา 335ทวิ ผู้ใดลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูปหรือวัตถุใน ทางศาสนา ถ้าทรัพย์นั้นเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน หรือเก็บ รักษาไว้เป็นสมบัติของ

ชาติ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป หรือวัตถุดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับ ตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ได้กระทำในวัด สำนักสงฆ์ สถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา โบราณสถานอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดิน

สถานที่ราชการหรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงสามหมื่นบาท
หมายเหตุอ่านมาตรา 335ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
มาตรา 336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สี่พันบาทถึงหนึ่งหมื่น

สี่พันบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาท ถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงสามหมื่นบาท
มาตรา 336 ทวิ ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 334 มาตรา 335 มาตรา 335ทวิ หรือ มาตรา 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือ ตำรวจหรือแต่งกาย

ให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือ ใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การ กระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้น

ไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมต้อง ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ กึ่งหนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 336ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2514

หมวด2 ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

มาตรา 337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ โดยขู่เข็ญว่า

จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือ ทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความ

ผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของ ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น

หรือ
(2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 338 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผย ความลับซึ่งการ

เปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ ในอนุ มาตรา หนึ่งอนุมาตรา แห่ง มาตรา 335 หรือเป็นการกระทำต่อ ทรัพย์ที่เป็น

โค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักร ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรม มีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับ

ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาท ถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง ระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
หมายเหตุมาตรา 339 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
อ่านมาตรา 339 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
มาตรา 339ทวิ ถ้าการชิงทรัพย์ได้กระทำต่อทรัพย์ตาม มาตรา 335ทวิ วรรคแรก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สอง

หมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์นั้นเป็นการกระทำในสถานที่ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 335ทวิ วรรคสอง ด้วย
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึง ยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปี ถึงยี่สิบปี และ

ปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับ อันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก ตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรก หรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หมายเหตุอ่าน มาตรา 339ทวิ วรรคแรก แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525
มาตรา 340 ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สิบปี

ถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใด มีอาวุธติดตัวไป ด้วยผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปีและปรับ ตั้งแต่สองหมื่นสี่

พันบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณ จนเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิดหรือกระทำ ทรมานผู้กระทำ

ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หมายเหตุมาตรา 340 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 340ทวิ ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำต่อทรัพย์ตาม มาตรา 335ทวิ วรรคแรก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่

สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์นั้นเป็นการกระทำในสถานที่ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 335ทวิ วรรคสอง ด้วย
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสอง ผู้กระทำแม้แต่ คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการปล้นทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับ อันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการปล้นทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองได้กระทำโดยแสดง ความทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิด

หรือกระทำทรมาน ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการปล้นทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง แก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หมายเหตุมาตรา 340ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 340 ตรี ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 339 มาตรา 339ทวิ มาตรา 340 หรือ มาตรา 340ทวิ โดยแต่งเครื่องแบบทหาร หรือตำรวจหรือแต่ง

กายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมี หรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อ

ให้พ้นจากการจับกุม ต้องระวางโทษ หนักกว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ กึ่งหนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 340ตรี เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2514

หมวด3 ความผิดฐานฉ้อโกง

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้น

ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิด

ฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
(1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัย ความอ่อนแอทางจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 341 ได้กระทำ ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิด ความจริง ซึ่งควร

บอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะ ดังกล่าวใน มาตรา 342 อนุมาตรา หนึ่งอนุมาตราด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่

หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพัน บาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 344 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ให้ประกอบการงานอย่างใด ๆ ให้แก่ตนหรือให้บุคคลที่สามโดยจะ ไม่ใช้ค่าแรงงานหรือ

ค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้น หรือโดยจะใช้ค่าแรงงาน หรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้นต่ำกว่าที่ตกลงกัน ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน

หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 345 ผู้ใดสั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มหรือเข้าอยู่ ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือ ค่าอยู่ใน

โรงแรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับ ไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 346 ผู้ใดเพื่อเอาทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตนหรือของ บุคคลที่สาม ชักจูงผู้หนึ่งผู้ใดให้จำหน่ายโดยเสียเปรียบซึ่งทรัพย์สิน โดยอาศัยเหตุที่ผู้

ถูกชักจูงมีจิตอ่อนแอหรือเป็นเด็กเบาปัญญา และ ไม่สามารถเข้าใจตามควรซึ่งสารสำคัญแห่งการกระทำของตน จนผู้ ถูกชักจูงจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินนั้น

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 347 ผู้ใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการ ประกันวินาศภัย แกล้งทำให้เกิดเสียหายแต่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุที่ เอาประกันภัย

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตาม มาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
หมวด4 ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

มาตรา 349 ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำ เพื่อให้เกิดความ

เสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระ หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ให้ชำระหนี้ ย้าย

ไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ

ปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 351 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

หมวด5 ความผิดฐานยักยอก

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้

กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง
มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย ประการใด ๆ

โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพัน

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 352 หรือ มาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ ผู้อื่น ตามคำสั่ง

ของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 355 ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝัง ไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอา ทรัพย์นั้นเป็น

ของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 356 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

หมวด6 ความผิดฐานรับของโจร

มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้า

ความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำ

ความผิดฐานรับของโจรต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์หรือ

ปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
 ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335ทวิ การชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339ทวิ หรือการ

ปล้นทรัพย์ตาม มาตรา 340ทวิ ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงสามหมื่นบาท
หมายเหตุมาตรา 357 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512

หมวด7 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิด

ฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 359 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 358 ได้กระทำต่อ
(1) เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบกสิกรรม หรือ อุตสาหกรรม
(2) ปศุสัตว์
(3) ยวดยานหรือสัตว์พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณ หรือในการ ประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือ
(4) พืชหรือพืชผลของกสิกร
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 360 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน

ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 360ทวิ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลายทำให้เสื่อมค่าหรือทำ ให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ตาม มาตรา 335ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ประดิษฐาน ตาม มาตรา

335ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 360ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512
มาตรา 361 ความผิดตาม มาตรา 358 และ มาตรา 359 เป็นความผิดอันยอมความได้
หมวด8 ความผิดฐานบุกรุก

มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป กระทำการใด ๆ อัน

เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 363 ผู้ใดเพื่อถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตน หรือของบุคคลที่สาม ยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้ง

หมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครอง ของผู้อื่น หรือ

ไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะ ห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 362 มาตรา 363 หรือ มาตรา 364 ได้กระทำ
(1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(2) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป หรือ
(3) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 366 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตาม มาตรา 365 เป็นความผิดอันยอมความได้

 ภาค3 ลหุโทษ 

มาตรา 367 ผู้ใดเมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่เพื่อปฏิบัติการ ตามกฎหมายไม่ยอมบอกหรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับ

ไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
มาตรา 368 ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจ ที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการสั่งเช่นว่านั้นเป็นคำสั่ง ให้ช่วยทำกิจการในหน้าที่ของเจ้า พนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้สั่งให้ช่วยได้ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน

หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 369 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประกาศ ภาพ โฆษณา หรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือ แสดงไว้ หรือสั่งให้ปิด

หรือแสดงไว้ หลุด ฉีกหรือไร้ประโยชน์ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อนต้อง ระวางโทษ ปรับไม่

เกินหนึ่งร้อยบาท
มาตรา 371 ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณโดย เปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มี ขึ้นเพื่อนมัสการ

การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
มาตรา 372 ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณ หรือ สาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อย ในทางสาธารณ

หรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 373 ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้ บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยวไปโดยลำพัง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท
มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจ ช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความ จำเป็น ต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 375 ผู้ใดทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำหรือท่อระบายของ โสโครกอันเป็นสิ่งสาธารณเกิดขัดข้องหรือไม่สะดวก ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้า

ร้อยบาท
มาตรา 376 ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้ สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์ ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 378 ผู้ใดเสพย์สุราหรือของเมาอย่างอื่น จนเป็นเหตุให้ตน เมา ประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณ หรือ สาธารณสถาน

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 379 ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 380 ผู้ใดทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระหรือที่ขังน้ำ อันมีไว้สำหรับประชาชนใช้สอย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่ไม่

เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้ รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน

หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 382 ผู้ใดใช้ให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงาน อันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นป่วยเจ็บ ชราหรืออ่อนอายุ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่

เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 383 ผู้ใดเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือสาธารณภัยอื่นและเจ้า พนักงานเรียกให้ช่วยระงับ ถ้าผู้นั้นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยต้อง ระวางโทษจำคุกไม่

เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 384 ผู้ใดแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุ ให้ประชาชนตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 385 ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีด ขวางทางสาธารณ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความ สะดวกในการจราจร

โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วย ประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้น เป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 386 ผู้ใดขุดหลุมหรือราง หรือปลูกปักหรือวางสิ่งของ เกะกะไว้ในทางสาธารณ โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย หรือทำได้โดยชอบ

ด้วยกฎหมาย แต่ละเลยไม่แสดงสัญญาณตาม สมควร เพื่อป้องกันอุปัทวเหตุ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 387 ผู้ใดแขวน ติดตั้งหรือวางสิ่งใดไว้โดยประการที่น่า จะตกหรือพังลง ซึ่งจะเป็นเหตุอันตราย เปรอะเปื้อนหรือเดือดร้อน แก่ผู้สัญจรในทาง

สาธารณ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 388 ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่

เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 389 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของแข็งตกลง ณ ที่ใด ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นอันตรายหรือเดือดร้อนรำคาญแก่ บุคคล หรือเป็น

อันตรายแก่ทรัพย์ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของโสโครก เปรอะเปื้อนหรือน่าจะเปรอะเปื้อนตัวบุคคล หรือ ทรัพย์หรือแกล้งทำให้ของโสโครก

เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับ

ไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 392 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการ ขู่เข็ญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน บาท หรือทั้งจำ

ทั้งปรับ
มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 393 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 394 ผู้ใดไล่ ต้อนหรือทำให้สัตว์ใด ๆ เข้าในสวนไร่หรือ นาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 395 ผู้ใดควบคุมสัตว์ใด ๆ ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้น เข้าในสวน ไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมี พืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 396 ผู้ใดทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็น ในหรือริมทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 397 ผู้ใดในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลกระทำ ด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นหรือกระทำให้ผู้อื่น ได้รับความ

อับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 398 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทารุณ ต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ซึ่งต้องพึ่ง ผู้นั้นในการดำรงชีพหรือ

การอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 398 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530

อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.พ.ศ. 2502
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ การกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการ

ยุติธรรม ย่อมส่งผลเสียหายร้ายแรงแก่รัฐและประชาชน โทษสำหรับการกระทำความผิดเหล่านี้ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายปัจจุบันยังมีอัตราต่ำกว่าควร

สมควร แก้ไขเพิ่มเติมให้สูงขึ้น และกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าวนี้ให้ ได้ผลดียิ่งขึ้นต่อไป
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปราก ฏว่าขณะนี้มี ผู้ร้ายลอบลักเอาพระพุทธรูปอันล้ำค่าซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของพุทธ

ศาสนิกชน และมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ตามวัดวาอารามและพิพิธภัณฑสถานไปเป็นจำนวนมาก บางแห่งเป็น พระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของแต่ละ

จังหวัดซึ่งทำให้ประชาชนในถิ่นนั้นเศร้าสลดใจในต่อการขาดวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งที่เคารพ บูชาในทางพุทธศาสนาไปอย่างมาก ยิ่งกว่านั้นบางแห่งการลอบ

ลักพระพุทธรูปนั้นได้กระทำการแสดงถึง ความโหดร้ายทารุณ ไร้ศีลธรรมอย่างหนัก เช่น ตัดเอาเศียรพระพุทธรูปไปคงเหลือแต่องค์พระ นับว่าเป็นการ

เสื่อมเสียแก่ชาติบ้าน เมืองและเป็นผลเสียหายแก่พุทธศาสนา โดยไม่นึกถึงศาสนสมบัติของชาติ บุคคลประเภทนี้สมควรจะได้รับ โทษหนักกว่าการ

กระทำต่อ ทรัพย์สินธรรมดาของส่วนบุคคลรวมทั้งผู้รับของโจร และผู้ส่งออก ต่างประเทศด้วย จะอาศัยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเดิมโทษก็

เบามาก ไม่เป็นการป้องกันได้เพียงพอ โดยเหตุนี้จึงเป็นการสมควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับ เรื่องนี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและ

รักษาไว้ซึ่งทรัพย์อันล้ำค่าของชาตินี้มิให้มีการลอบ ลักเอาไปต่างประ เทศเสียหมดก่อนที่จะสายเกินไป
อ่านประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514
โดยที่คณะปฏิวัติมีความปรารถนา จะให้ประชาชนได้รับความสงบสุขและปลอดภัยจากอาชญากรรม ในการนี้คณะปฏิวัติเห็นว่า อัตราโทษที่กำหนดไว้

สำหรับความผิดบาง ประเภท ตามประมวลกฎหมายอาญา ยังไม่เพียงพอแก่การป้องกันและปราบปราม สมควรแก้ไขให้สูงขึ้นเพื่อ ให้เหมาะสมกับ

สถานการณ์ปัจจุบัน

อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการ สมควรปรับปรุง จำนวนเงินที่ถือเป็นอัตราในการกักขังแทนค่าปรับให้เหมาะสม

กับ สภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519
โดยที่ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พิจารณาเห็นว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดเกี่ยวกับการ หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์

พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศเจ้าพนักงาน ซึ่งปฏิบัติการ

ตามหน้าที่ ศาลหรือผู้พิพากษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนการกระทำอื่น เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี หรือการ

กระทำอันเป็นการเหยียด หยามศาสนา และความผิดเกี่ยวกับต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการ ตามหน้าที่ หรือขัดขวางการพิจารณา

หรือพิพากษาของศาล ไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขอัตราโทษเหล่านั้นให้สูงขึ้น
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2522
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบัน ได้มีการขายของโดย หลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ

หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จเพิ่มมากขึ้น และความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นความผิดอันยอม

ความได้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่อาจ ดำเนินการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดโดยไม่มีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายได้ แม้จะปรากฏต่อพนักงานเจ้า

หน้าที่ว่ามีการเสนอ ขายของดังกล่าว แก่บุคคลทั่วไปในร้าน ค้าหรือที่สาธารณะ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้าที่จะจับกุมผู้เสนอขายโดยไม่มีผู้หนึ่ง ผู้

ใดร้องทุกข์เสียก่อน การปราบปรามการกระทำผิดฐานนี้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 271 เสียใหม่โดยให้ความผิดตามมาตราดัง

กล่าวไม่เป็นความผิดอันยอมความ ได้เพื่อให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย

และสมควรเพิ่มโทษ สำหรับความผิดฐานนี้ให้ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้กระทำความผิดเกรงกลัว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอาชญากรรมบาง ประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เป็นความผิดเกี่ยวกับ

เพศและความผิดต่อเสรีภาพได้ทวีความรุนแรง และความผิดฐานลักทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูป และโคหรือกระบือของผู้มีอาชีพ

กสิกรรมมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความผิดเหล่านี้ในบางกรณีได้ มีการเพิ่มอัตรา โทษมาครั้งหนึ่งแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21

พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ในการนี้สมควรเพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้กระทำความผิดให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าว จึงจำ

เป็นต้องตราพรบ.นี้

อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 และ มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของ

คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 มิได้กำหนดโทษจำคุกขั้นสูงในกรณีที่มีการเพิ่มโทษและ เรียงกระทงลงโทษไว้ ทั้งในกรณี

ความผิดที่มีโทษจำคุกตลอดชีวิตยังกำหนดให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็น โทษจำคุกห้าสิบปีเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มโทษหรือเรียงกระทงลงโทษ

แล้วแต่กรณีอีกด้วย ในบางคดีโทษจำคุกที่มีการเพิ่มโทษหรือโทษจำคุกรวมของการเรียง กระทงลงโทษจึงสูงเกิน สมควรหรือไม่ได้สัดส่วนกับความผิด

ที่มีลักษณะและผลร้ายแรงต่างกัน ทำให้การลงโทษเป็นไปโดยไม่เป็นธรรมและไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบท บัญญัติทั้งสองมาตราดัง

กล่าวโดยกำหนดขั้นสูงของโทษจำคุกในกรณีที่มีการเพิ่มโทษ และโทษจำคุกรวมในกรณีเรียงกระทงลงโทษ เพื่อให้การลงโทษเป็นไปด้วยความเป็น

ธรรมและได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าในปัจจุบัน อาชญากรรมบางประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เป็น

ความผิด ฐานลักทรัพย์เกี่ยวกับโค กระบือ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ หรือเครื่องจักรกลของเกษตรกรได้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรโดย

เฉพาะชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน เดือดร้อนที่สุด เพราะเมื่อ ถึงฤดูกาลทำนาหรือ เพาะปลูกเกษตรกรไม่สามารถหาโค กระบือ หรือจักรกลต่างๆ มาทำการ

เพาะ ปลูกได้ทันตามฤดูกาล แม้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะได้คอยสอดส่องดูแล อยู่ตลอดเวลาและจับกุม ผู้กระทำความ ผิดมาลงโทษเป็นจำนวนมากราย

แล้วก็ตาม แต่ไม่ทำให้ผู้กระทำความผิดหลาบจำหรือเกรงกลัวอาญาแผ่นดิน ทั้งนี้เพราะ กฎหมายกำหนด โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ต่ำ สมควร

เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดให้สูงขึ้น เพื่อให้เป็นที่หลาบจำ และเกรงกลัวต่ออาญาแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 มาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 282 มาตรา 283

มาตรา 313 มาตรา 317 มาตรา 318 มาตรา 319 และ มาตรา 398 กำหนดอายุเด็กที่จะได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษตามกฎหมายจากการ กระทำ

ความผิดเกี่ยวกับเพศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและการกระทำทารุณต่อเด็กไว้เพียง อายุไม่เกินสิบสามปีเท่านั้น ผู้กระทำผิดตามบทมาตรา

ดังกล่าวจึงสามารถอ้างความยินยอมของเด็ก อายุกว่าสิบสามปีขึ้น เป็นเหตุยกเว้นความผิดหรือบรรเทาโทษตามกฎหมายได้ นับเป็นการเปิดโอกาสให้มี

การแสวงประโยชน์ในทางมิชอบจากเด็กอายุ ระหว่างสิบสามปีถึงสิบห้าปี ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีความเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านต่างๆ เช่น ร่างกาย

จิตใจ สติปัญญา การศึกษาอบรมและประสบการณ์ไม่เพียงพอได้ นอกจากนี้บทบัญญัติเกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งหญิง เพื่อ

สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นใน กฎหมายปัจจุบันนั้น มาตรา 282 จะเป็นความผิดต่อเมื่อได้กระทำต่อหญิงอายุไม่เกินสิบแปดปีทำให้หญิงได้รับความเสียหาย

แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดไม่ว่าหญิง จะมีอายุเท่าใดก็ตาม จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2530
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราการกักขังแทนค่าปรับต่อวัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ใช้บังคับ อยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิด

ปัญหาผู้ต้องขังแออัดห้องขังอันเป็นภาระแก่เจ้าหน้าที่ในการควบคุม ตลอดจนเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐเป็นจำนวนมากในการเลี้ยงดูผู้ต้องขัง

สมควรปรับปรุงอัตราการกักขังแทนค่าปรับต่อวันเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2532

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่การกำหนดเงื่อนไขเพื่อ คุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดที่ศาลพิพากษาให้รอการ

กำหนดโทษไว้หรือรอการ ลงโทษไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา ในปัจจุบันนั้น ยังไม่เหมาะสมแก่การแก้ไขให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวได้อย่างได้

ผลดี สมควรปรับปรุงเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดใน กรณีดังกล่าวให้มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น เพื่อที่ศาลจะสามารถใช้ดุลพินิจได้

โดยเหมาะสมแก่กรณี นอกจากนี้เพื่อให้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดให้นำโทษของผู้กระทำความ ผิดที่ถูกคุมความประพฤติในคดีที่

รอการกำหนดโทษไว้ หรือรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษ ในคดีหลังของผู้กระทำความผิดผู้นั้นด้วย บังเกิดผลในการใช้บังคับตามความ

ประสงค์อย่างแท้จริง สมควรกำหนดให้ศาลนำโทษที่รอไว้ ดังกล่าวมาบวกกับโทษในคดีหลัง โดยให้ศาลกระทำได้ไม่ว่าเมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง

หรือความปรากฏตามคำแถลงของพนัก งานอัยการหรือพนักงานควบคุมความประพฤติ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบันมีผู้กระทำความ ผิดฐานหมิ่นประมาทมากขึ้น ขณะเดียวกันบทบัญญัติ

เกี่ยวกับอัตราโทษที่ใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดไม่เหมาะสมกับสภาว การณ์จึงทำให้ผู้กระทำความผิดดังกล่าวไม่เกรงกลัว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตรา

โทษให้สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2535
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการรับฝากเงินโดยวิธี ออกบัตรเงินฝากโดยธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่า

ด้วยการธนาคารพาณิชย์ รวมตลอดถึงบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ

บัตรเงินฝากดังกล่าวเป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ สมควรกำหนดมาตรการป้องกันการปลอมตราสารดังกล่าวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมซึ่งอาจ

เกิดความเสียหายจากการใช้บัตรเงินฝากปลอม จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ได้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2537

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าได้มีการล่อลวง เด็กไปทำงานในโรงงานและเจ้าของโรงงานได้หน่วงเหนี่ยวหรือ

กักขังเด็กเหล่านั้นโดยให้ทำงาน อย่างไร้มนุษยธรรม และฝ่าฝืนมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งเป็น

การกระทำที่กระทบกระเทือนความสงบสุขในสังคม สมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าว เป็นความผิดฐานใหม่ขึ้นเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2540
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้ปรากฏว่ามีการกระทำความผิด ต่อหญิงและเด็กโดยการซื้อ ขาย จำหน่าย พา หรือ

จัดหาหญิงหรือเด็กนั้นไปด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อสำเร็จความใคร่ทั้งแก่ตนและผู้อื่น เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นอันมิชอบ ไม่ว่าโดยการ

ขายเด็กให้เด็กเป็นขอทาน หรือทำงานในสภาพที่ใช้แรงงานโดยทารุณโหดร้าย สมควรกำหนดบทกำหนดความผิดใหม่ให้ครอบ คลุมการกระทำดังกล่าว

นอกจากนั้นในปัจจุบันการกระทำ ดังกล่าวไม่จำกัดเฉพาะการกระทำต่อหญิงหรือเด็กหญิงเท่านั้น แต่ได้ขยายไปยังเด็กชาย และมีแนวโน้มเป็นการ

กระทำต่อบุคคลโดยไม่จำกัดเพศ สมควรแก้ไขฐานความผิดในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางขึ้น และสมควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 282 และ มาตรา

283 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติให้ศาลไทยมีอำนาจลงโทษการกระทำความผิดดังกล่าวแม้ จะกระทำในต่างประเทศ โดยแยกไว้เป็นเอกเทศ

ให้เห็นเด่นชัดใน มาตรา 7 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของศาลไทยในการลงโทษ การกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นความ ผิดอาญาระหว่าง

ประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2545

มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับตั้ง แต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 3 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามปีนับแต่วัน

ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากในการลงโทษผู้กระทำความผิดทาง อาญามีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือ เพื่อแก้ไข

ให้ผู้นั้นสามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดี ดังนั้น โทษที่ผู้กระทำความผิดควรจะได้รับจึงต้อง มีความเหมาะสมกับสภาพความผิดอย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าใน

ปัจจุบันมีผู้ได้รับโทษปรับต้องถูกกักขังแทนค่าปรับเป็นจำนวนมากขึ้นซึ่งผู้รับโทษนั้นๆ ต้องสูญเสียอิสรภาพโดยไม่สมควรทำให้บุคคลในครอบครัว

ต้องเดือดร้อนและรัฐต้องรับ ภาระในการดูแลเพิ่มมากขึ้น สมควรปรับเปลี่ยนมาตรการลงโทษเสียใหม่ โดยกำหนดมาตรการให้ผู้ต้องโทษปรับทำ

งานบริการ สังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้อีกทางหนึ่ง และในกรณีที่อาจต้องถูกกักขังอยู่นั้นบุคคลดังกล่าวสมควรได้รับความคุ้ม

ครองมิให้ต้องถูกเปลี่ยนโ ทษจากกักขังเป็นจำคุกอันเป็นโทษที่หนักยิ่งกว่า รวมทั้งมิให้ต้องถูกคุมขังรวมกับผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูง

ประกอบกับสมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราเงินใน การกักขังแทนค่าปรับให้สอดคล้องกับ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน นอกจากนี้

สมควร เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจในการ รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546
มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 4 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

นับแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันบทบัญญัติ เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตและจำคุกตลอดชีวิตแก่ผู้ซึ่งกระทำ

ความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบ แปดปีตามประมวลกฎหมายอาญายังไม่สอดคล้องกับ ข้อ 6 วรรคห้า แห่งกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมือง

และสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ที่กำหนดว่า บุคคลอายุต่ำกว่าสิบแปดปีที่กระทำความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมิได้ และ ข้อ 37 ก)

แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ที่กำหนดว่า จะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้า

จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตที่ไม่มีโอกาสจะได้รับ การปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีซึ่ง

ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี นอกจากนั้น บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับวิธีการประหารชีวิตโดยการเอาไปยิงเสีย ให้ตายยังไม่เหมาะสม

และสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทารุณ โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมที่รัฐไม่พึงปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด สมควรแก้ไข

เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดมิให้นำโทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอด ชีวิตมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า

สิบแปดปี และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้ เปลี่ยนเป็น

ระวางโทษจำคุกห้าสิบปีและเพื่อเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต จากการเอาไปยิงเสียให้ตายเป็นดำเนินการฉีดสารพิษให้ตายแทน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมปอ.พ.ศ. 2546
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่ามีภัยคุกคามจากการก่อการร้ายโดยมุ่ง

ประสงค์ต่อชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือ ทำลายทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน

และทำให้เกิดความวุ่นวายในประเทศ หรือเพื่อบังคับขู่เข็ญให้รัฐบาลไทย รัฐบาลของรัฐใด หรือองค์การระหว่างประเทศ จำยอมต้องกระทำหรือละเว้น

การกระทำตามที่มีการ เรียกร้องของผู้ก่อการร้าย ซึ่งการกระทำเช่นนั้นได้เกิดขึ้นในประเทศใกล้เคียงและมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นภายในประเทศอันจะมี

ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง นอกจากนี้ การกระทำ ดังกล่าวยังเป็นการกระทำในลักษณะการร่วมมือกระทำความผิดระหว่าง

ประเทศ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติ ที่ 1373 เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2001 ขอให้ทุกประเทศร่วมมือดำเนินการป้องกัน

และปราบปรามการ กระทำใดที่เป็นการก่อการร้าย รวมถึงการสนับสนุนทางทรัพย์สินหรือกรณีอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์ จะนำไปใช้ดำเนินการก่อการ

ร้ายหรือ เป็นสมาชิกขององค์กรก่อการร้าย โดยเหตุที่การก่อการร้ายเป็นการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต้อง แก้ไขปัญหาให้ยุติลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็น

กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอัน ที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตรา

พระราชกำหนดนี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2547
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันการใช้เอกสารวัตถุอื่นใดหรือข้อมูล ที่จัดทำขึ้นในลักษณะบัตรอิเล็กทรอนิกส์

เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสมาร์ทการ์ด หรือบัตรอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือ

หนี้อื่น หรือเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด กำลังเพิ่มปริมาณและประเภทการใช้งานอย่างแพร่หลาย และปรากฏว่าได้มีการ

กระทำความผิดเกี่ยว กับบัตรและลักลอบนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นมาใช้อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผู้บริโภคในวงกว้าง สมควรกำหนด

ความผิดอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรและ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดัง กล่าวเพื่อเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการกระทำความผิดอาญาในรูปแบบ

ต่างๆ และให้มีอัตราโทษเหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติได้ทวีความรุนแรงและมีรูปแบบที่ซับ

ซ้อนมากยิ่งขึ้น และได้มีการใช้ หนังสือเดินทางเป็นเครื่องมือในการกระทำดังกล่าวซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ และต่อความสัมพันธ์

ระหว่างประเทศ สมควรขยายขอบเขตของการกระทำความผิดเกี่ยวกับ หนังสือเดินทางให้กว้างขึ้น และสมควรกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับความผิด

จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้

ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับความคุ้มครอง ตามประเพณีการปกครอง

ประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่บทบัญญัติ มาตรา 276 มาตรา 277 และ มาตรา 286 แห่งประมวล

กฎหมายอาญา เป็นบทบัญญัติที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้สอด

คล้องกับหลักการมีสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง และหลักการห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างใน

เรื่อง เพศที่เคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจำเป็นต้อง

ตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 276 และ มาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ทำให้การ

อ้างถึงบทบัญญัติดังกล่าวใน มาตรา 277ทวิ และ
มาตรา 277ตรี เปลี่ยนแปลงไป กรณีจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุง การอ้างถึงบทบัญญัติดังกล่าวใน
มาตรา 277ทวิ และ มาตรา 277ตรี ให้สอดคล้องกัน จึงมีความจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดเกณฑ์อายุของเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดทางอาญายังไม่

เหมาะสม และยังไม่สอดคล้องกับเกณฑ์อายุของเด็กที่กำหนดในกฎหมายหลายฉบับของไทย และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และกติกา

ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ของสหประชาชาติ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการศึกษาทางการแพทย์

แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีอายุระหว่างเจ็ดปีถึงสิบสองปี มีพัฒนาการด้านความคิดสติปัญญาและจริยธรรมยังไม่สมบูรณ์ ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และไม่

สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้ ประกอบกับได้มีการศึกษาสถิติในการกระทำความผิดของเด็กช่วงวัยต่าง ๆ ปรากฏว่า เด็กที่มี

อายุระหว่างเจ็ดปีถึงสิบสองปี มีสถิติการกระทำความผิดน้อยหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ กฎหมายของไทยหลายฉบับกำหนดเกณฑ์อายุเด็กไว้ที่อายุสิบห้าปี

เช่น มาตรา 5 แห่งพรบ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อมีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์

มาตรา 44 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง และ มาตรา 17 แห่งพรบ.การศึกษา

แห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปี

ที่สิบหก แสดงให้เห็นว่าเด็กอายุสิบห้าปีกฎหมายยอมรับว่าเริ่มก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ มีความสามารถรับผิดชอบได้ ประกอบกับเด็กช่วงอายุดังกล่าวยัง

อยู่ในวัยเรียน สมควรได้รับโอกาสเพื่อบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าจะมารับโทษทางอาญา ในขณะเดียวกันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.

1989 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ของสหประชาชาติ และ พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบ

ครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ก็ได้กำหนดเกณฑ์อายุเด็กไว้ที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปีสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย

อาญา เพื่อกำหนดเกณฑ์อายุของเด็ก ในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายของไทย และอนุสัญญาระหว่างประเทศ

ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้

ต่อ ป.วิิ อาาญา น.1

 

    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld