ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 46 คน
 สถิติเมื่อวาน 26 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
745 คน
6116 คน
379432 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ






 

ลักษณะ 7 จ้างทำของ

มาตรา 587    อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น

มาตรา 588    เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำการงานให้สำเร็จนั้น ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา

มาตรา 589    ถ้าสัมภาระสำหรับทำการงานที่กล่าวนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา ท่านว่าต้องจัดหาชนิดที่ดี

มาตรา 590    ถ้าสัมภาระนั้นผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหามาส่ง ท่านให้ผู้รับจ้างใช้สัมภาระด้วยความระมัดระวัง และประหยัดอย่าให้เปลืองเสียเปล่าเมื่อทำการงานสำเร็จแล้วมีสัมภาระเหลืออยู่ก็ให้คืนแก่ผู้ว่าจ้าง

มาตรา 591    ถ้าความชำรุดบกพร่องหรือความชักช้าในการที่ทำนั้นเกิดขึ้นเพราะสภาพแห่งสัมภาระซึ่งผู้ว่าจ้างส่งให้ก็ดี เพราะคำสั่งของผู้ว่าจ้างก็ดี ท่านว่าผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิด เว้นแต่จะได้รู้อยู่แล้วว่าสัมภาระนั้นไม่เหมาะหรือว่าคำสั่งนั้นไม่ถูกต้องและมิได้บอกกล่าว

ตักเตือน

มาตรา 592    ผู้รับจ้างจำต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำอยู่นั้น

มาตรา 593    ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควรหรือทำการชักช้าฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้างจนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิก

สัญญาเสียได้มิพักต้องรอคอยให้ถึงกำหนดส่งมอบของนั้นเลย

มาตรา 594    ถ้าในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่นั้นเป็นวิสัยจะคาดหมายล่วงหน้าได้แน่นอนว่าการที่ทำนั้นจะสำเร็จอย่างบกพร่องหรือจะเป็นไปในทางอันฝ่าฝืนข้อสัญญาเพราะความผิดของผู้รับจ้างไซร้ ผู้ว่าจ้างจะบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี หรือทำการ

ให้เป็นไปตามสัญญา ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้ ถ้าและคลาดกำหนดนั้นไปท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะเอาการนั้นให้บุคคลภายนอกซ่อมแซม หรือทำต่อไปได้ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

มาตรา 595    ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระไซร้ ความรับผิดของผู้รับจ้างในการบกพร่องนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ลักษณะซื้อขาย

มาตรา 596    ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบการที่ทำไม่ทันเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาก็ดีหรือถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้ในสัญญา เมื่อล่วงพ้นเวลาอันควรแก่เหตุก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะได้ลดสินจ้างลงหรือถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่เวลาก็ชอบที่จะเลิกสัญญาได้

มาตรา 597    ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับมอบการที่ทำนั้นแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ส่งมอบเนิ่นช้า

มาตรา 598    ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับมอบการที่ทำนั้นแล้วทั้งชำรุดบกพร่องมิได้อิดเอื้อนโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ผู้รับจ้างก็ ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นเช่นจะไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบหรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความนั้นเสีย

มาตรา 599    ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร

มาตรา 600    ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาไซร้ ท่านว่าผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องเพียงแต่ที่ปรากฏขึ้นภายในปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบหรือที่ปรากฏขึ้นภายในห้าปี ถ้าการที่ทำนั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินนอกจากเรือนโรงทำด้วยเครื่องไม้

แต่ข้อจำกัดนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อปรากฏว่าผู้รับจ้างได้ปิดบังความชำรุดบกพร่องนั้น

มาตรา 601    ท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น

มาตรา 602    อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ  ถ้าการที่ทำนั้นมีกำหนดว่าจะส่งรับกันเป็นส่วน ๆ และได้ระบุจำนวนสินจ้างไว้เป็นส่วนๆไซร้ ท่านว่าพึงใช้สินจ้างเพื่อการแต่ละส่วนในเวลารับเอาส่วนนั้น

มาตรา 603    ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและการที่จ้างทำ นั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้องไซร้ ท่านว่าความวินาศอันนั้นตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง หากความวินาศนั้นมิได้ เป็นเพราะการกระทำของผู้ว่าจ้าง

ในกรณีเช่นว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้

มาตรา 604    ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้องไซร้ ท่านว่าความวินาศนั้นตกเป็นพับแก่ผู้ว่าจ้าง หากความวินาศนั้นมิได้เป็นเพราะ การกระทำของผู้รับจ้าง

ในกรณีเช่นว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้ เว้นแต่ความวินาศนั้นเป็นเพราะการกระทำของผู้ว่าจ้าง

มาตรา 605    ถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น

มาตรา 606    ถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้างและผู้รับจ้างตายก็ดี หรือตกเป็นผู้ไม่สามารถทำการ ที่รับจ้างนั้นต่อไปได้ด้วยมิใช่เพราะความผิดของตนก็ดี ท่านว่าสัญญานั้นย่อมเป็นอันสิ้นลง

ถ้าและการส่วนที่ได้ทำขึ้นแล้วนั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างไซร้ ท่านว่าผู้ว่าจ้างจำต้องรับเอาไว้และใช้สินจ้างตามสมควรแก่ส่วนนั้น ๆ

มาตรา 607    ผู้รับจ้างจะเอาการที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให้ผู้รับจ้างช่วงทำอีกทอดหนึ่งก็ได้ เว้นแต่สาระสำคัญแห่ง สัญญานั้นจะอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้าง แต่ผู้รับจ้างคง ต้องรับผิดเพื่อความประพฤติหรือความผิดอย่างใด ๆ ของผู้รับ

จ้างช่วง

ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609

ลักษณะ 8 รับขน

มาตรา 608    อันว่าผู้ขนส่งภายในความหมายแห่งกฎหมายลักษณะนี้ คือบุคคลผู้รับขนส่งของหรือคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน

มาตรา 609    การรับขนของหรือคนโดยสารในหน้าที่ของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามและการขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขนั้น ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ

รับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
 

หมวด 1 รับขนของ

มาตรา 610    อันบุคคลผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งเพื่อให้ขนของ ส่งไปนั้นเรียกว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง บุคคลผู้ซึ่งเขาส่งของไปถึงนั้นเรียกว่าผู้รับตราส่ง บำเหน็จอันจะต้องจ่ายให้เพื่อการขนส่งของนั้นเรียกว่าค่าระวางพาหนะ

มาตรา 611    อันว่าอุปกรณ์แห่งค่าระวางพาหนะนั้นได้แก่ค่าใช้จ่ายอย่างใด ๆ ตามจารีตประเพณีอันผู้ขนส่งได้เสียไปโดยควรในระหว่างขนส่ง

มาตรา 612    ถ้าผู้ขนส่งเรียกเอาใบกำกับของผู้ส่งต้องทำให้ ใบกำกับของนั้นต้องแสดงรายการต่อไปนี้ คือ
(1) สภาพและน้ำหนักหรือขนาดแห่งของที่ส่งกับสภาพจำนวนและเครื่องหมายแห่งหีบห่อ
(2) ตำบลที่กำหนดให้ส่ง
(3) ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของผู้รับตราส่ง
(4) ตำบลและวันที่ออกใบกำกับของนั้น      อนึ่ง ใบกำกับของนั้นต้องลงลายมือชื่อผู้ส่งเป็นสำคัญ

มาตรา 613    ถ้าผู้ส่งเรียกเอาใบตราส่งผู้ขนส่งก็ต้องทำให้  ใบตราส่งนั้นต้องแสดงรายการต่อไปนี้ คือ
(1) รายการดั่งกล่าวไว้ในมาตรา 612 อนุมาตรา 1,2 และ 3
(2) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง
(3) จำนวนค่าระวางพาหนะ
(4) ตำบลและวันที่ออกใบตราส่ง      อนึ่ง ใบตราส่งนั้นต้องลงลายมือชื่อผู้ขนส่งเป็นสำคัญ

มาตรา 614    แม้ว่าใบตราส่งจะได้ออกให้แก่บุคคลผู้ใดโดยนามก็ตาม ท่านว่าย่อมสลักหลังโอนให้กันได้ เว้นแต่จะมีข้อห้ามการสลักหลังไว้

มาตรา 615    ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร

มาตรา 616   ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายหรือบุบสลายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับ

ตราส่ง

มาตรา 617    ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคล อื่นซึ่งตนหากได้มอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง

มาตรา 618    ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ท่านว่าผู้ขนส่งทั้งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหายบุบสลายหรือส่งชักช้า

มาตรา 619    ถ้าของเป็นสภาพอันจะก่อให้เกิดอันตรายได้หรือเป็นสภาพเกลือกจะก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินไซร้ ผู้ส่งต้องแสดงสภาพแห่งของนั้นไว้ก่อนทำสัญญา ถ้ามิได้ทำเช่นนั้นผู้ส่งจะต้องรับผิดในการเสียหายไม่ว่าอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ของนั้น

มาตรา 620    ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดในเงินทองตราธนบัตร ธนาคาร บัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณีและของมีค่าอย่างอื่น ๆ หากมิได้รับบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่ตน

แต่ถ้าของนั้นได้บอกราคาท่านว่าความรับผิดของผู้ขนส่งก็ย่อมจำกัดเพียงไม่เกินราคาที่บอก

มาตรา 621    ค่าสินไหมทดแทนในการส่งมอบของชักช้านั้น ท่านห้ามมิให้คิดเกินกว่าจำนวนเช่นจะพึงกำหนดให้ในเหตุของสูญหาย สิ้นเชิง

มาตรา 622    ของถึงเมื่อใดผู้ขนส่งต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับตราส่ง

มาตรา 623    ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลงในเมื่อผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้ง อุปกรณ์เสร็จแล้ว

แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของนั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหายหรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่งภายในแปดวันนับแต่วันส่งมอบ

อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะปรับเอาเป็นความผิดของ ผู้ขนส่งได้

มาตรา 624    ในข้อความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ส่งมอบหรือปีหนึ่งนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการทุจริต

มาตรา 625   ใบรับ ใบตราส่ง หรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับ ผิดของผู้ขนส่งประการใด ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่า

นั้น

มาตรา 626    ตราบใดของยังอยู่ในมือผู้ส่ง ตราบนั้นผู้ส่งหรือถ้า ได้ทำใบตราส่ง ผู้ทรงใบตราส่งนั้นอาจจะให้ผู้ขนส่งงดการส่งของนั้นไปหรือให้ส่งกลับคืนหรือให้จัดการแก่ของนั้นเป็นอย่างอื่นประการใดก็ได้

ในเหตุเช่นนี้ ผู้ขนส่งชอบที่จะได้รับเงินค่าระวางพาหนะตามส่วน แห่งระยะทางที่ได้จัดการขนส่งไปแล้ว กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องเสียไปเพราะเหตุที่บอกงดหรือเพราะส่งของกลับคืนหรือเพราะจัดการเป็นประการอื่นนั้น

มาตรา 627    เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง

มาตรา 628    ถ้าว่าของสูญหายไปเพราะเหตุสุดวิสัยท่านว่าผู้ขนส่งไม่มีสิทธิจะได้เงินค่าระวางพาหนะ ถ้าและได้รับไปไว้ก่อนแล้วเท่าใดต้องส่งคืนจงสิ้น

มาตรา 629    ถ้าผู้ขนส่งคนใดส่งมอบของเสียแต่ก่อนได้รับค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ไซร้ ท่านว่าผู้ขนส่งคนนั้นยังคงต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งก่อน ๆตนเพื่อค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ซึ่งยังค้างชำระแก่เขา

มาตรา 630    ผู้ขนส่งชอบที่จะยึดหน่วงเอาของไว้ก่อนได้ตามที่จำเป็นเพื่อประกันการใช้เงินค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์

มาตรา 631    ถ้าหาตัวผู้รับตราส่งไม่พบก็ดีหรือถ้าผู้รับตราส่งบอกปัดไม่ยอมรับมอบของก็ดี ผู้ขนส่งต้องบอกกล่าวไปยังผู้ส่งทันทีและถามเอาคำสั่งของผู้ส่ง

ถ้าหากว่าพฤติการณ์ขัดขวางไม่สามารถจะทำได้ดั่งนี้ก็ดีหรือถ้าผู้ส่งละเลยเสียไม่ส่งคำสั่งมาในเวลาอันควรก็ดี หรือส่งมาเป็นคำสั่ง อันไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปได้ก็ดี ท่านว่าผู้ขนส่งมีอำนาจที่จะเอาของไปฝากไว้ ณ สำนักงานฝากทรัพย์ได้

ถ้าของนั้นเป็นลหุภัณฑ์ของสดเสียได้ และการหน่วงช้าไว้ย่อมเป็นการเสี่ยงความเสียหายก็ดี หรือถ้าราคาของนั้นดูไม่น่าจะคุ้มค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ก็ดี ผู้ขนส่งจะเอาของนั้นออกขายทอดตลาดเสียก็ได้

อนึ่ง การเอาของไปฝากหรือเอาออกขายทอดตลาดเช่นว่านั้น ผู้ขนส่งต้องบอกกล่าวแก่ผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งมิให้ชักช้า เว้นแต่ไม่ สามารถจะทำได้ถ้าและผู้ขนส่งละเลยเสียไม่บอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย

มาตรา 632    เมื่อเอาของออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ให้ผู้ขนส่งหักเอาไว้เป็นเงินค่าระวางพาหนะและค่าอุปกรณ์ ถ้าและยังมีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใดต้องส่งมอบให้แก่บุคคล ผู้ควรที่จะได้เงินนั้นโดยพลัน

มาตรา 633    ถ้าของนั้นได้ขนส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ท่านว่าผู้ขนส่งทอดหลังที่สุดอาจใช้สิทธิดั่งกล่าวไว้ในมาตรา 630 มาตรา 631, มาตรา 632 นั้นในการเรียกค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์อันค้างชำระแก่ผู้ขนส่งทั่วทุกคนได้

หมวด 2 รับขนคนโดยสาร

มาตรา 634    ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อคนโดยสารในความเสียหาย อันเกิดแก่ตัวเขาหรือในความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ อันเป็นผลโดยตรงแต่การที่ต้องชักช้าในการขนส่ง เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิด แต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสารนั้นเอง

มาตรา 635    เครื่องเดินทางหากได้มอบหมายแก่ผู้ขนส่งทันเวลา ท่านว่าต้องส่งมอบในขณะคนโดยสารถึง

มาตรา 636    ถ้าคนโดยสารไม่รับมอบเครื่องเดินทางของตนภายในเวลาเดือนหนึ่งนับแต่วันเครื่องเดินทางนั้นถึงไซร้ ผู้ขนส่งอาจเอาออกขายทอดตลาดเสียได้

ถ้าเครื่องเดินทางนั้นมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ ผู้ขนส่งอาจเอาออกขายทอดตลาดได้เมื่อของนั้นถึงแล้วรออยู่ล่วงเวลากว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง   บทบัญญัติในมาตรา 632 นั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่คดีดั่งว่านี้ด้วยอนุโลมตามควรนั้น

มาตรา 637    สิทธิและความรับผิดของผู้ขนส่งเพื่อเครื่องเดินทางอันได้มอบหมายแก่ผู้ขนส่งนั้น แม้ผู้ขนส่งจะมิได้คิดเอาค่าขนส่งต่างหากก็ตาม ท่านให้บังคับตามความในหมวด 1

มาตรา 638    ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดในเครื่องเดินทางซึ่งตนมิได้รับมอบหมาย เว้นแต่เมื่อเครื่องเดินทางนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง

มาตรา 639   ตั๋ว ใบรับ หรือเอกสารอื่นทำนองเช่นว่านี้ อันผู้ขนส่งได้ส่งมอบแก่คนโดยสารนั้น หากมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความ รับผิดของผู้ขนส่งอย่างใด ๆ ท่านว่าข้อความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่คน โดยสารจะได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบ

ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649

ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป

มาตรา 640    อันว่ายืมใช้คงรูปนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

มาตรา 641    การให้ยืมใช้คงรูปนั้นท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม

มาตรา 642    ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย

มาตรา 643    ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือ

บุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

มาตรา 644    ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

มาตรา 645 ในกรณีทั้งหลายดั่งกล่าวไว้ในมาตรา 643 นั้นก็ดี หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความใน มาตรา 644 ก็ดี ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

มาตรา 646    ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืม เมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว

ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไรก็ได้

มาตรา 647    ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้นผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย

มาตรา 648    อันการยืมใช้คงรูปย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม

มาตรา 649    ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา

หมวด 2   ยืมใช้สิ้นเปลือง

มาตรา 650    อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภทชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อ

เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา 651    ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย

มาตรา 652    ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้

มาตรา 653    การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็น

หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้ เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

มาตรา 654    ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี

มาตรา 655    ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ  ส่วน

ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่

มาตรา 656    ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้ ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและณ สถานที่ส่งมอบ  ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้ให้

กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้นท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของ หรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ  ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดั่ง

กล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ

ลักษณะ 10   ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 657    อันว่าฝากทรัพย์นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ฝากส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้ว จะคืนให้

มาตรา 658    ถ้าโดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าเขารับฝากทรัพย์ ก็เพื่อจะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้นไซร้ ท่านให้ถือว่าเป็นอันได้ตกลงกันแล้วโดยปริยายว่ามีบำเหน็จเช่นนั้น

มาตรา 659   ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง

ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้นทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย

ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ อย่างหนึ่งอย่างใด ก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

มาตรา 660    ถ้าผู้ฝากมิได้อนุญาต และผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นออกมาใช้สอยเองหรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือให้บุคคลภายนอกเก็บรักษาไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น

เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

มาตรา 661    ถ้าบุคคลภายนอกอ้างว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์สินซึ่งฝากและยื่นฟ้องผู้รับฝากก็ดี หรือยึดทรัพย์สินนั้นก็ดี ผู้รับฝากต้องรับบอกกล่าวแก่ผู้ฝากโดยพลัน

มาตรา 662    ถ้าได้กำหนดเวลากันไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไร ท่านว่าผู้รับฝากไม่มีสิทธิจะคืนทรัพย์สินก่อนถึงเวลากำหนด เว้นแต่ในเหตุจำเป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้

มาตรา 663    ถึงแม้ว่าคู่สัญญาจะกำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรก็ตาม ถ้าว่าผู้ฝากจะเรียกคืนในเวลา ใด ๆ ผู้รับฝากก็ต้องคืนให้

มาตรา 664    ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สิน ซึ่งฝากนั้นเมื่อไรไซร้ ผู้รับฝากอาจคืนทรัพย์สินนั้นได้ทุกเมื่อ

มาตรา 665    ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝากหรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใด คืนให้แก่ผู้นั้นหรือผู้รับฝากได้รับคำสั่งโดยชอบให้คืนทรัพย์สินนั้นไปแก่ผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น

แต่หากผู้ฝากทรัพย์ตาย ท่านให้คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ทายาท

มาตรา 666    เมื่อคืนทรัพย์ ถ้ามีดอกผลเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเท่าใดผู้รับฝากจำต้องส่งมอบพร้อมไปกับทรัพย์สินนั้นด้วย

มาตรา 667    ค่าคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นย่อมตกแก่ผู้ฝากเป็นผู้เสีย

มาตรา 668    ค่าใช้จ่ายใดอันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นผู้ฝากจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้รับฝาก เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ โดยสัญญาฝากทรัพย์ว่าผู้รับฝากจะต้องออกเงินค่าใช้จ่ายนั้นเอง

มาตรา 669    ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้ในสัญญาหรือไม่มีกำหนดโดยจารีตประเพณีว่าบำเหน็จค่าฝากทรัพย์นั้นจะพึงชำระเมื่อไรไซร้ ท่านให้ชำระเมื่อคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก ถ้าได้กำหนดเวลากันไว้เป็นระยะอย่างไรก็พึงชำระเมื่อสิ้นระยะเวลานั้นทุกคราวไป

มาตรา 670    ผู้รับฝากชอบที่จะยึดหน่วงเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นไว้ได้ จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาที่ค้างชำระแก่ตนเกี่ยวด้วยการฝากทรัพย์นั้น

มาตรา 671 ในข้อความรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ ก็ดีชดใช้เงินค่าใช้จ่ายก็ดี ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝาก ทรัพย์ก็ดี ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา

หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน

มาตรา 672    ถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝากแต่จะต้องคืน เงินให้ครบจำนวน

อนึ่ง ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตามผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดั่งว่านั้น

มาตรา 673    เมื่อใดผู้รับฝากจำต้องคืนเงินแต่เพียงเท่าจำนวนที่ฝากผู้ฝากจะเรียกถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้หรือฝ่ายผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงกำหนดเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน

หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม

มาตรา 674    เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ลหรือสถานที่อื่นทำนอง เช่นว่านั้นจะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา

มาตรา 675    เจ้าสำนักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างใดๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้าอัญมณี หรือของมีค่าอื่นๆ ให้จำกัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสำนักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลาย อันเกิด แต่เหตุสุดวิสัยหรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้นหรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเองหรือบริวารของเขาหรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ

มาตรา 676    ทรัพย์สินซึ่งมิได้นำฝากบอกราคาชัดแจ้งนั้น เมื่อพบเห็นว่าสูญหายหรือบุบสลายขึ้น คนเดินทางหรือแขกอาศัยต้องแจ้งความนั้นต่อเจ้าสำนักโรงแรม โฮเต็ลหรือสถานที่เช่นนั้นทันที มิฉะนั้น ท่านว่าเจ้าสำนักย่อมพ้นจากความรับผิดดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา

674 และมาตรา 675

มาตรา 677    ถ้ามีคำแจ้งความปิดไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่ อื่นทำนองเช่นว่านี้ เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของเจ้าสำนักไซร้ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดั่ง

ว่านั้น

มาตรา 678    ในข้อความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อทรัพย์สินของคนเดินทางหรือของแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัย ออกไปจากสถานที่นั้น

มาตรา 679    เจ้าสำนักชอบที่จะยึดหน่วงเครื่องเดินทางหรือทรัพย์สินอย่างอื่นของคนเดินทางหรือแขกอาศัยอันเอาไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นได้จนกว่าจะได้รับใช้เงินบรรดาที่ค้างชำระแก่ตน เพื่อการพักอาศัยและการอื่นๆ อันได้ทำให้แก่คนเดินทางหรือ

แขกอาศัยตามที่เขาพึงต้องการนั้นรวมทั้งการชดใช้เงินทั้งหลายที่ได้ออกแทนไปด้วย

เจ้าสำนักจะเอาทรัพย์สินที่ได้ยึดหน่วงไว้เช่นว่านั้นออกขายทอดตลาดแล้วหักเอาเงินใช้จำนวนที่ค้างชำระแก่ตนรวมทั้งค่าฤชา ธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดนั้นจากเงินที่ขาย ทรัพย์สินนั้นก็ได้

แต่ท่านมิให้เจ้าสำนักใช้สิทธิดั่งว่านี้ จนเมื่อ
(1) ทรัพย์สินนั้นตกอยู่แก่ตนเป็นเวลานานถึงหกสัปดาห์ ยังมิได้รับชำระหนี้สินและ
(2) อย่างน้อยเดือนหนึ่งก่อนวันขายทอดตลาด ตนได้ประกาศ โฆษณาในหนังสือพิมพ์ประจำท้องถิ่นฉบับหนึ่งแจ้งความจำนงที่จะขายทรัพย์สิน บอกลักษณะแห่งทรัพย์สินที่จะขายโดยย่อ กับถ้า รู้ชื่อเจ้าของก็บอกด้วย

เมื่อขายทอดตลาดหักใช้หนี้ดั่งกล่าวแล้วมีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใด ต้องคืนให้แก่เจ้าของหรือฝากไว้ ณ สำนักงานฝากทรัพย์ตามบท บัญญัติในมาตรา 331 และมาตรา 333

ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 680    อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น 

อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา 681    อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์  หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้ นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้  หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้ เพราะทำด้วยความสำคัญผิดหรือเพราะเป็นผู้ไร้ความ

สามารถนั้นก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่เข้าทำสัญญาผูกพันตน

มาตรา 682    ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือนคือเป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่งก็เป็นได้  ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่ามิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน

มาตรา 683    อันค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดนั้นย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระตลอดจนค่าภารติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นด้วย

มาตรา 684    ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้แต่ถ้าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นก่อนไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดเพื่อใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมเช่นนั้นไม่

มาตรา 685    ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและอุปกรณ์ด้วยไซร้หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น

หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้

มาตรา 686    ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น

มาตรา 687    ผู้ค้ำประกันไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดที่จะชำระแม้ถึงว่าลูกหนี้จะไม่อาจถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสุดสิ้นได้ต่อไปแล้ว

มาตรา 688    เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้วหรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต

มาตรา 689    ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดั่งกล่าวมาในมาตราก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทางที่จะชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจาก

ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน

มาตรา 690    ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน

มาตรา 691    ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา 688, มาตรา 689 และ มาตรา 690

มาตรา 692    อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้นย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย

หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้

มาตรา 693    ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้วย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น

อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย

มาตรา 694    นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย

มาตรา 695    ผู้ค้ำประกันซึ่งละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้เพียงเท่าที่ไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้ว่ามีข้อต่อสู้เช่นนั้นและที่ไม่รู้นั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของตนด้วย

มาตรา 696    ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ได้ ถ้าว่าตนได้ชำระหนี้แทนไปโดยมิได้บอกลูกหนี้และลูกหนี้ยังมิรู้ความมาชำระหนี้ซ้ำอีก

ในกรณีเช่นว่านี้ผู้ค้ำประกันก็ได้แต่เพียงจะฟ้องเจ้าหนี้เพื่อคืนลาภมิควรได้เท่านั้น

มาตรา 697    ถ้าเพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้เองเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสิทธิก็ดีจำนองก็ดี จำนำก็ดีและบุริมสิทธอันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ แต่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาค้ำประกันเพื่อชำระหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำ

ประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหายเพราะการนั้น
 
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน

มาตรา 698    อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ

มาตรา 699    การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้   ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในกิจการที่ลูกหนี้

กระทำลงภายหลังคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงเจ้าหนี้

มาตรา 700    ถ้าค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนด แน่นอนและเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด  แต่ถ้าผู้ค้ำประกันได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ท่านว่าผู้ค้ำประกัน หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

มาตรา 701 ผู้ค้ำประกันจะขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อถึง กำหนดชำระก็ได้  ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด

ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 702    อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่

มาตรา 703    อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ   สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายคือ

(1) เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป (แก้ไข*ฉบับที่ 14*พ.ศ. 2548)
(2) แพ
(3) สัตว์พาหนะ
(4) สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียน เฉพาะการ

มาตรา 704    สัญญาจำนองต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนอง

มาตรา 705    การจำนองทรัพย์สินนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่

มาตรา 706    บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นใดจะจำนองทรัพย์สินนั้นได้แต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นนั้น

มาตรา 707    บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร

มาตรา 708    สัญญาจำนองนั้นต้องมีจำนวนเงินระบุไว้เป็นเรือนเงินไทยเป็นจำนวนแน่ตรงตัวหรือจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์สินจำนองนั้นเป็นตราไว้เป็นประกัน

มาตรา 709    บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระก็ให้ทำได้

มาตรา 710    ทรัพย์สินหลายสิ่งมีเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนจะจำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวท่านก็ให้ทำได้

และในการนี้คู่สัญญาจะตกลงกันดั่งต่อไปนี้ก็ได้ คือว่า
(1) ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์สินซึ่งจำนองตามลำดับอันระบุไว้
(2) ให้ถือเอาทรัพย์สินแต่ละสิ่งเป็นประกันหนี้เฉพาะแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ระบุไว้

มาตรา 711    การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนดชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนองหรือว่าให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นอย่างใดนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการ

บังคับจำนองนั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์

มาตรา 712    แม้ถึงว่ามีข้อสัญญาเป็นอย่างอื่นก็ตามทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แก่บุคคลคนหนึ่งนั้น ท่านว่าจะเอาไปจำนองแก่บุคคลอีกคนหนึ่งในระหว่างเวลาที่สัญญาก่อนยังมีอายุอยู่ก็ได้

มาตรา 713    ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาจำนองท่านว่าผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวด ๆ ก็ได้

มาตรา 714    อันสัญญาจำนองนั้น ท่านว่าต้องเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด

มาตรา 715    ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วยคือ
(1) ดอกเบี้ย
(2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
(3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง

มาตรา 716    จำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งแม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วน

มาตรา 717    แม้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำนองจะแบ่งออกเป็นหลายส่วนก็ตาม ท่านว่าจำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง

ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าผู้รับจำนองยินยอมด้วย ท่านว่าจะโอนทรัพย์สินส่วนหนึ่งส่วนใดไปปลอดจากจำนองก็ให้ทำได้แต่ความยินยอมดั่งว่านี้หากมิได้จดทะเบียน ท่านว่าจะยกเอาขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่

มาตรา 718    จำนองย่อมครอบไปถึงทรัพย์ทั้งปวงอันติดพันอยู่กับทรัพย์สินซึ่งจำนองแต่ต้องอยู่ภายในบังคับซึ่งท่านจำกัดไว้ในสามมาตราต่อไปนี้

มาตรา 719    จำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จำนองปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้ โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง

แต่กระนั้นก็ดี ผู้รับจำนองจะให้ขายเรือนโรงนั้นรวมไปกับที่ดินด้วยก็ได้แต่ผู้รับจำนองอาจใช้บุริมสิทธิของตนได้เพียงแก่ราคาที่ดินเท่านั้น

มาตรา 720    จำนองเรือนโรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งได้ทำขึ้นไว้บนดินหรือใต้ดินในที่ดินอันเป็นของคนอื่นเขานั้นย่อมไม่ครอบไปถึงที่ดินนั้นด้วยฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น

มาตรา 721    จำนองไม่ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เว้นแต่ในเมื่อผู้รับจำนองได้บอกกล่าวแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนแล้วว่าตนจำนงจะบังคับจำนอง

หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง

มาตรา 722    ถ้าทรัพย์สินได้จำนองแล้วและภายหลังที่จดทะเบียนจำนองมีจดทะเบียนภารจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นโดยผู้รับจำนองมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภารจำยอม หรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้

รับจำนองในเวลาบังคับจำนองก็ให้ลบสิทธิที่กล่าวหลังนี้เสียจากทะเบียน

มาตรา 723    ถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองบุบสลายหรือถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองแต่สิ่งใดหนึ่งสูญหายหรือบุบสลาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอแก่การประกันไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเสียในทันทีก็ได้ เว้นแต่เมื่อนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนองและผู้จำนองก็เสนอ

จะจำนองทรัพย์สินอื่นแทนให้มีราคาเพียงพอหรือเสนอจะรับซ่อมแซมแก้ไขความบุบสลายนั้นภายในเวลาอันสมควรแก่เหตุ

มาตรา 724    ผู้จำนองใดได้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระแล้วและเข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองนั้นชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ตนได้ชำระไป

ถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนองนั้น

มาตรา 725    เมื่อบุคคลสองคนหรือกว่านั้นต่างได้จำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวอันบุคคลอื่นจะต้องชำระและมิได้ระบุลำดับไว้ไซร้ ท่านว่าผู้จำนองซึ่งได้เป็นผู้ชำระหนี้หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งต้องบังคับจำนองนั้นหามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอา

แก่ผู้จำนองอื่น ๆต่อไปได้ไม่

มาตรา 726    เมื่อบุคคลหลายคนต่างได้จำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวอันบุคคลอื่นจะต้องชำระและได้ระบุลำดับไว้ด้วยไซร้ ท่านว่าการที่ผู้รับจำนองยอมปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองคนหนึ่งนั้น ย่อมทำให้ผู้จำนองคนหลัง ๆ ได้หลุดพ้น ด้วยเพียง

ขนาดที่เขาต้องรับความเสียหายแต่การนั้น

มาตรา 727    ถ้าบุคคลคนเดียวจำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 697, มาตรา 700 และ มาตรา 701 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นบังคับอนุโลมตามควร

หมวด 4 การบังคับจำนอง

มาตรา 728    เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ ยึด

ทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547

มาตรา 729    นอกจากทางแก้ดั่งบัญญัติไว้ในมาตราก่อนนั้น ผู้รับจำนองยังชอบที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้ภายในบังคับแห่งเงื่อนไขดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
(2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระและ
(3) ไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง

มาตรา 730    เมื่อทรัพย์สินอันหนึ่งอันเดียวได้จำนองแก่ผู้รับจำนองหลายคนด้วยกัน ท่านให้ถือลำดับผู้รับจำนองเรียงตามวันและเวลาจดทะเบียนและผู้รับจำนองคนก่อนจักได้รับใช้หนี้ก่อนผู้รับจำนองคนหลัง

มาตรา 731    อันผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจทำไม่ได้

มาตรา 732    ทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินเป็นจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านให้จัดใช้แก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับและถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง

มาตรา 733    ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดีเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้อง

รับผิดในเงินนั้น

มาตรา 734    ถ้าจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวและมิได้ระบุลำดับไว้ไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินนั้นๆทั้งหมดหรือแต่เพียงบางสิ่งก็ได้แต่ท่านห้ามมิให้ทำเช่นนั้นแก่ทรัพย์สินมากสิ่งกว่าที่จำเป็นเพื่อใช้หนี้ตาม

สิทธิแห่งตน

ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกัน ท่านให้แบ่งภาระแห่งหนี้นั้นกระจายไปตามส่วนราคาแห่งทรัพย์สิน นั้นๆ เว้นแต่ในกรณีที่ได้ระบุจำนวนเงินจำนองไว้เฉพาะทรัพย์สินแต่ละสิ่ง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด ท่านให้แบ่งกระจายไปตามจำนวนเงิน

จำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้นๆ

แต่ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งแต่เพียงสิ่งเดียวไซร้ ผู้รับจำนองจะให้ชำระหนี้อันเป็นส่วนของตน ทั้งหมดจากทรัพย์สินอันนั้นก็ได้ในกรณีเช่นนั้น ท่านให้ถือว่าผู้รับจำนองคนถัดไปโดยลำดับย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับจำนองคนก่อนและ

จะเข้าบังคับจำนองแทนที่คนก่อนก็ได้แต่เพียงเท่าจำนวนซึ่งผู้รับจำนองคนก่อนจะพึงได้รับจากทรัพย์สินอื่น ๆตามบทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น

มาตรา 735    เมื่อผู้รับจำนองคนใดจำนงจะบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ท่านว่าต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อนแล้วจึ่งจะบังคับจำนองได้

หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง

มาตรา 736    ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะไถ่ถอนจำนองก็ได้ ถ้าหากมิได้เป็นตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน หรือเป็นทายาทของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน

มาตรา 737   ผู้รับโอนจะไถ่ถอนจำนองเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองได้บอกกล่าวว่ามีจำนงจะบังคับจำนองไซร้ ผู้รับโอนต้องไถ่ถอนจำนองภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันรับคำบอกกล่าว

มาตรา 738    ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำนองต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น และต้องส่งคำเสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียนไม่ว่าในทางจำนองหรือประการอื่นว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้นคำเสนอนั้น

ให้แจ้งข้อความทั้งหลายต่อไปนี้ คือ
(1) ตำแหน่งแหล่งที่และลักษณะแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง
(2) วันซึ่งโอนกรรมสิทธิ์
(3) ชื่อเจ้าของเดิม
(4) ชื่อและภูมิลำเนาของผู้รับโอน
(5) จำนวนเงินที่เสนอว่าจะใช้
(6) คำนวณยอดจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์และจำนวนเงินที่จะจัดเป็นส่วนใช้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามลำดับกัน

อนึ่ง ให้คัดสำเนารายงานจดทะเบียนของเจ้าพนักงานในเรื่องทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นอันเจ้าพนักงานรับรองว่าเป็นสำเนาถูกถ้วนสอดส่งไปด้วย

มาตรา 739    ถ้าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดไม่ยอมรับคำเสนอเจ้าหนี้คนนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในเดือนหนึ่ง นับแต่วันมีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้น แต่ว่าเจ้าหนี้นั้นจะต้องปฏิบัติการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ออกเงินทดรองค่าฤชาธรรมเนียมการขายทอดตลาด
(2) ต้องเข้าสู้ราคาเองหรือแต่งคนเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินสูงกว่าที่ผู้รับโอนเสนอจะใช้
(3) บอกกล่าวการที่ตนไม่ยอมนั้นให้ผู้รับโอนและเจ้าหนี้คนอื่นๆ บรรดาได้จดทะเบียนกับทั้งเจ้าของทรัพย์สินคนก่อนและลูกหนี้ชั้นต้นทราบด้วย

มาตรา 740    ถ้าขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิล้ำจำนวนเงิน ที่ผู้รับโอนเสนอว่าจะใช้ ท่านให้ผู้รับโอนเป็นผู้ออกใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในการขายทอดตลาด ถ้าได้ไม่ถึงล้ำจำนวน ท่านให้เจ้าหนี้ผู้ร้องขอให้ ขายทอดตลาดเป็นผู้ออก

มาตรา 741    เมื่อเจ้าหนี้ทั้งหลายได้สนองรับคำเสนอทั่วทุกคนแล้วโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ดี ท่านว่าจำนองหรือบุริมสิทธิก็เป็นอันไถ่ถอนได้ด้วยผู้รับโอนใช้เงินหรือวางเงินตามจำนวนที่เสนอจะใช้แทนการชำระหนี้

มาตรา 742    ถ้าการบังคับจำนองก็ดี ถอนจำนองก็ดีเป็นเหตุให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดมือไปจากบุคคลผู้ได้ทรัพย์สินนั้นไว้แต่ก่อนไซร้ ท่านว่าการที่ทรัพย์สินหลุดมือไปเช่นนั้นหามีผลย้อนหลังไม่และบุริมสิทธิทั้งหลายของเจ้าหนี้แห่งผู้ที่ทรัพย์หลุดมือไป อันมีอยู่เหนือ

ทรัพย์สินและได้จดทะเบียนไว้นั้นก็ย่อมเข้าอยู่ในลำดับหลังบุริมสิทธิอันเจ้าหนี้ของผู้จำนองหรือเจ้าของคนก่อนได้จดทะเบียนไว้

ในกรณีเช่นนี้ถ้าสิทธิใด ๆอันมีอยู่เหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แต่ก่อนได้ระงับไปแล้วด้วยเกลื่อนกลืนกันในขณะที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาไซร้ สิทธินั้นท่านให้กลับคืนมาเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้นได้อีกในเมื่อ

ทรัพย์สินซึ่งจำนองกลับหลุดมือไป

มาตรา 743    ถ้าผู้รับโอนได้ทำให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองเสื่อมราคาลงเพราะการกระทำหรือความประมาทเลินเล่อแห่งตนเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ทั้งหลายผู้มีสิทธิจำนองหรือบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นต้องเสียหายไซร้ ท่านว่าผู้รับโอนจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นอย่างไรก็ดี

อันผู้รับโอนจะเรียกเอาเงินจำนวนใด ๆ ซึ่งตนได้ออกไป หรือเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนได้ทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นนั้น ท่านว่าหาอาจจะเรียกได้ไม่เว้นแต่ที่เป็นการทำให้ทรัพย์สินนั้นงอกราคาขึ้นและจะเรียกได้เพียงเท่าจำนวนราคาที่งอกขึ้นเมื่อขายทอดตลาดเท่านั้น

หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง

มาตรา    744 อันจำนองย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ
(2) เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
(3) เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
(4) เมื่อถอนจำนอง
(5) เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาล อันเนื่องมาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง
(6) เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547

มาตรา 745    ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้

มาตรา 746    การชำระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ก็ดี การระงับหนี้อย่างใด ๆก็ดี การตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำ ความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในเมื่อมีคำขอร้องของ ผู้

มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก

ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 747    อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

มาตรา 748    การจำนำนั้นย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ดอกเบี้ย
(2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
(3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
(4) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ
(5) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์

มาตรา 749    คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้

มาตรา 750    ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสารและมิได้ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งการจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยไซร้ ท่านว่าการจำนำย่อมเป็นโมฆะ

มาตรา 751    ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้สลักหลังไว้ที่ตราสารให้ปรากฏการจำนำเช่นนั้น

อนึ่ง ในการนี้ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งตราสาร

มาตรา 752    ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลโดยนามและจะโอนกันด้วยสลักหลังไม่ได้ ท่านว่าต้องจดข้อความแสดงการจำนำไว้ให้ปรากฏในตราสารนั้นเอง และท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้แห่งตราสารหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้บอกกล่าวการ

จำนำนั้นให้ทราบถึงลูกหนี้แห่งตราสาร

มาตรา 753 ถ้าจำนำใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัทหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้จดลงทะเบียนการจำนำนั้นไว้ในสมุดของบริษัทตามบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 22 ว่าด้วยการโอนหุ้นหรือหุ้นกู้

มาตรา 754   ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้แห่งสิทธิต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิให้แก่ผู้รับจำนำและทรัพย์สินนั้นก็กลายเป็นของจำนำแทนสิทธิซึ่งจำนำ

ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินและถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและ ผู้จำนำร่วมกัน ถ้าและเขาทั้งสองนั้นไม่ปรองดองตกลงกันได้ ท่านว่าแต่ละคนชอบที่จะเรียกให้วางเงินจำนวนนั้นไว้ ณ สำนักงาน

ฝากทรัพย์ได้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน

มาตรา 755    ถ้าจำนำสิทธิ ท่านห้ามมิให้ทำสิทธินั้นให้สิ้นไปหรือแก้ไขสิทธินั้นให้เสียหายแก่ผู้รับจำนำโดยผู้รับจำนำมิได้ยินยอมด้วย

มาตรา 756    การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนดชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนำ หรือให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำนั้นไซร้

ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์

มาตรา 757    บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 13 นี้ท่านให้ใช้บังคับแก่สัญญาจำนำที่ทำกับผู้ตั้งโรงรับจำนำ โดยอนุญาตรัฐบาลแต่เพียงที่ไม่ขัดกับกฎหมายหรือข้อบังคับว่าด้วยโรงจำนำ

หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ

มาตรา 758    ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน

มาตรา 759    ผู้รับจำนำจำต้องรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ให้ปลอดภัยและต้องสงวนทรัพย์สินจำนำนั้นเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

มาตรา 760    ถ้าผู้รับจำนำเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกใช้เองหรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเก็บรักษาโดยผู้จำนำมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนำจะต้องรับผิดเพื่อทรัพย์สินจำนำนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ทั้งเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะ

พิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ก็คงจะต้องสูญหาย หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

มาตรา 761    ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผลนิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้นอย่างไร ท่านให้ผู้รับจำนำจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตนและถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัดสรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จำนำทรัพย์สินเป็นประกันนั้น

มาตรา 762    ค่าใช้จ่ายใด ๆ อันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำนั้น ผู้จำนำจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนำ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา

มาตรา 763    ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันส่งคืนหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนำ คือ
(1) ฟ้องเรียกสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันผู้รับจำนำก่อให้เกิดแก่ทรัพย์สินจำนำ
(2) ฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำ
(3) ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่ผู้ รับจำนำเพราะความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์

หมวด 3 การบังคับจำนำ

มาตรา 764    เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น 

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้แต่ต้องขายทอดตลาด

อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย

มาตรา 765    ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ ผู้รับจำนำจะเอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสียในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วงเวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำได้

มาตรา 766    ถ้าจำนำตั๋วเงิน ท่านให้ผู้รับจำนำเก็บเรียกเงินตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนดไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน

มาตรา 767    เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำหรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น

ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น

มาตรา 768    ถ้าจำนำทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ท่านว่าผู้รับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกขายก็ได้แต่จะขายจนเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อใช้เงินตาม สิทธิแห่งตนนั้นหาได้ไม่

ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ

มาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความหรือ
(2) เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ

ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 770    อันว่านายคลังสินค้านั้น คือบุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน

มาตรา 771    บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยฝากทรัพย์นั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะนี้

มาตรา 772    บทบัญญัติ มาตรา 616, มาตรา 619, มาตรา 623, มาตรา 625, มาตรา 630, มาตรา 631 และ มาตรา 632 อันว่าด้วยการรับขนนั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าอนุโลมตามควรแก่บท

มาตรา 773    นายคลังสินค้าจำต้องยอมให้ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าหรือผู้ทรงประทวนสินค้าตรวจสินค้า และเอาตัวอย่างไปได้ในเวลาอันควรระหว่างเวลาทำงานทุกเมื่อ

มาตรา 774    นายคลังสินค้าจะเรียกให้ผู้ฝากถอนสินค้าไปก่อนสิ้น ระยะเวลาที่ตกลงกันไว้นั้น ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ ถ้าไม่มีกำหนดเวลาส่งคืนสินค้านายคลังสินค้าจะส่งคืนได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้ผู้ฝาก ทราบล่วงหน้าเดือนหนึ่งแต่ท่านมิให้ผู้ฝากต้องถูกบังคับให้ถอน

สินค้าไปก่อนเวลาล่วงแล้วสองเดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบฝากไว้

หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า

มาตรา 775 ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้ นายคลังสินค้าต้องส่งมอบ เอกสารซึ่งเอาออกจากทะเบียนมีต้นขั้วเฉพาะการ อันมีใบรับของ คลังสินค้าฉบับหนึ่งและประทวนสินค้าฉบับหนึ่งให้แก่ผู้ฝาก

มาตรา 776 อันใบรับของคลังสินค้านั้นย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะ สลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของผู้อื่นได้

มาตรา 777 อันประทวนสินค้านั้นย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลัก หลังจำนำสินค้าซึ่งจดแจ้งไว้ในประทวนได้ โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้า นั้นแก่ผู้รับสลักหลัง

แต่ว่าเมื่อผู้ฝากประสงค์จะจำนำสินค้า ต้องแยกประทวนออกเสีย จากใบรับของคลังสินค้า และส่งมอบประทวนนั้นให้แก่ผู้รับสลักหลัง

มาตรา 778 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าต้องมีเลขลำดับ ตรงกันกับเลขในต้นขั้ว และลงลายมือชื่อของนายคลังสินค้า

อนึ่ง ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น ท่านให้มีรายละเอียด ดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ชื่อหรือยี่ห้อ และสำนักของผู้ฝาก
(2) ที่ตั้งคลังสินค้า
(3) ค่าบำเหน็จสำหรับเก็บรักษา
(4) สภาพของสินค้าที่เก็บรักษา และน้ำหนักหรือขนาดแห่งสินค้านั้น กับทั้งสภาพ จำนวน และเครื่องหมายหีบห่อ
(5) สถานที่และวันออกใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น
(6) ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้เก็บสินค้าไว้ชั่วเวลาเท่าใดให้แจ้ง กำหนดนั้นด้วย
(7) ถ้าของที่เก็บรักษามีประกันภัย ให้แสดงจำนวนเงินที่ประกันภัย กำหนดเวลาที่ประกันภัย และชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัยด้วย

อนึ่ง นายคลังสินค้าต้องจดรายละเอียดทั้งนี้ลงไว้ในต้นขั้วด้วย

มาตรา 779 อันใบรับของคลังสินค้าก็ดี ประทวนสินค้าก็ดีท่านว่า หาอาจออกให้หรือสลักหลังให้แก่ผู้ถือได้ไม่

มาตรา 780 เมื่อใดผู้ฝากสลักหลังประทวนสินค้าให้แก่ผู้รับจำนำ คู่สัญญาต้องจดแจ้งการที่สลักหลังนั้นลงไว้ในใบรับของคลังสินค้าด้วย

ถ้ามิได้จดแจ้งไว้ดั่งนั้น ท่านว่าการจำนำนั้นหาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ผู้ซื้อสินค้าสืบไปได้นั้นได้ไม่

มาตรา 781 เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังและส่งมอบแก่ผู้รับ จำนำแล้วให้ผู้ฝากกับผู้รับจำนำจดลงไว้ในประทวนสินค้าเป็นสำคัญ ว่าได้จดข้อความตามที่บัญญัติใน มาตรา ก่อนไว้ในใบรับของคลังสินค้าแล้ว

มาตรา 782 เมื่อใดผู้ฝากจำนำสินค้าและส่งมอบประทวนสินค้า แก่ผู้รับสลักหลังแล้ว ผู้รับสลักหลังเช่นนั้นต้องมีจดหมายบอกกล่าว แก่นายคลังสินค้าให้ทราบจำนวนหนี้ซึ่งจำนำสินค้านั้นเป็นประกัน ทั้งจำนวนดอกเบี้ยและวันอันหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระ เมื่อนายคลัง

สินค้าได้รับคำบอกกล่าวเช่นนั้นแล้วต้องจดรายการทั้งนั้นลงในต้นขั้ว  ถ้าและมิได้จดในต้นขั้วเช่นนั้น ท่านว่าการจำนำนั้นหาอาจจะ ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลายของผู้ฝากได้ไม่

มาตรา 783 ผู้ทรงเอกสารอันมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวน สินค้านั้น จะให้นายคลังสินค้าแยกสินค้าที่เก็บรักษาไว้ออกเป็นหลาย ส่วนและให้ส่งมอบเอกสารแก่ตนส่วนละใบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ทรง เอกสารต้องคืนเอกสารเดิมแก่นายคลังสินค้า

อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการแยกสินค้าและการส่งมอบเอกสารใหม่นั้น ผู้ทรงเอกสารต้องรับใช้

มาตรา 784 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่เก็บรักษาไว้นั้น ท่านว่าอาจโอน ได้แต่ด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าเท่านั้น

มาตรา 785 สินค้าซึ่งเก็บรักษาไว้นั้นอาจจำนำได้แต่ด้วยสลักหลัง ประทวนสินค้า เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังแล้ว สินค้านั้นจะจำนำ แก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่งด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าอย่างเดียวกับ สลักหลังประทวนสินค้านั้นก็ได้

มาตรา 786 ตราบใดสินค้าที่เก็บรักษาไว้ไม่ได้จำนำ ท่านว่าจะ โอนใบรับของคลังสินค้า และประทวนสินค้าไปต่างหากจากกันไม่ได้ อยู่ตราบนั้น

มาตรา 787 ในการสลักหลังลงในประทวนสินค้าครั้งแรกนั้นต้องจด แจ้งจำนวนหนี้ที่จำนำสินค้าเป็นประกัน ทั้งจำนวนดอกเบี้ยที่จะต้อง ชำระและวันที่หนี้จะถึงกำหนดชำระด้วย

มาตรา 788 อันสินค้าที่เก็บรักษาไว้ในคลังนั้น จะรับเอาไปได้แต่ เมื่อเวนคืนใบรับของคลังสินค้า

มาตรา 789 ถ้าได้แยกประทวนสินค้าออกสลักหลังจำนำแล้วจะ รับเอาสินค้าได้แต่เมื่อเวนคืนทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า

แต่ว่าผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าอาจให้คืนสินค้าแก่ตนได้ในเวลาใดๆ เมื่อวางเงินแก่นายคลังสินค้าเต็มจำนวนหนี้ซึ่งลงไว้ในประทวนสินค้า กับทั้งดอกเบี้ยจนถึงวันกำหนดชำระหนี้นั้นด้วย

อนึ่ง จำนวนเงินที่วางเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องชำระแก่ผู้ทรง ประทวนสินค้าเมื่อเขาเวนคืนประทวนนั้น

มาตรา 790 ถ้าหนี้ซึ่งสินค้าจำนำเป็นประกันมิได้ชำระเมื่อวันถึง กำหนดไซร้ ผู้ทรงประทวนสินค้าเมื่อได้ยื่นคำคัดค้านตามระเบียบ แล้วชอบที่จะให้นายคลังสินค้าขายทอดตลาดสินค้านั้นได้ แต่ท่าน ห้ามมิให้ขายทอดตลาดก่อนแปดวันนับแต่วันคัดค้าน

มาตรา 791 ผู้ทรงประทวนสินค้าต้องมีจดหมายบอกกล่าวให้ผู้ฝาก ทราบเวลาและสถานที่จะขายทอดตลาด

มาตรา 792 นายคลังสินค้าต้องหักเงินที่ค้างชำระแก่ตนเนื่อง ด้วยการเก็บรักษาสินค้านั้นจากจำนวนเงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้ และเมื่อผู้ทรงประทวนสินค้านำประทวนมาเวนคืน ต้องเอาเงินที่ เหลือนั้นให้ตามจำนวนที่ค้างชำระแก่เขา

ถ้ามีเงินเหลือเท่าใด ต้องใช้แก่ผู้รับจำนำคนหลังเมื่อเขาเวนคืน ใบรับของคลังสินค้า หรือถ้าไม่มีผู้รับจำนำคนหลัง หรือผู้รับจำนำคน หลังได้รับชำระหนี้แล้ว ก็ให้ชำระเงินที่เหลืออยู่นั้นแก่ผู้ทรงใบรับ ของคลังสินค้า

มาตรา 793 ถ้าจำนวนเงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้ไม่พอชำระ หนี้แก่ผู้ทรงประทวนสินค้าไซร้ นายคลังสินค้าต้องคืนประทวนสินค้า แก่เขา กับจดบอกจำนวนเงินที่ได้ชำระลงไว้ในประทวนสินค้านั้นแล้ว จดลงไว้ในสมุดบัญชีของตนด้วย

มาตรา 794 ผู้ทรงประทวนสินค้ามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจำนวนเงิน ที่ยังค้างชำระนั้นแก่ผู้สลักหลังคนก่อน ๆ ทั้งหมด หรือแต่คนใด คนหนึ่งได้แต่ต้องได้ขายทอดตลาดภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันคัดค้าน

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องไล่เบี้ยเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันขาย ทอดตลาด

มาตรา 795 บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วย ตั๋วเงินนั้นท่านให้ใช้ได้ถึงประทวนสินค้า และใบรับของคลังสินค้าซึ่ง ได้สลักหลังอย่างประทวนสินค้านั้นด้วย เพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติ ทั้งหลายในลักษณะนี้

มาตรา 796 ถ้าเอกสารมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า หรือแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสูญหายไป เมื่อผู้ทรงเอกสารนั้น ๆ ให้ ประกันตามสมควรแล้วจะให้นายคลังสินค้าออกให้ใหม่ก็ได้

ในกรณีเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องจดหมายลงไว้ในต้นขั้วเป็นสำคัญ

ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 797 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดั่งนั้น

อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัด หรือโดย ปริยายก็ย่อมได้

มาตรา 798 กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็น หนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย

กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การ ตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย

มาตรา 799 ตัวการคนใดใช้บุคคลผู้ไร้ความสามารถเป็นตัวแทน ท่านว่าตัวการคนนั้นย่อมต้องผูกพันในกิจการที่ตัวแทนกระทำ

มาตรา 800 ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ท่านว่า จะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้กิจอันเขาได้ มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป

มาตรา 801 ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ท่านว่าจะทำ กิจใดๆในทางจัดการแทนตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่าง

แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ คือ
(1) ขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์
(2) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป
(3) ให้
(4) ประนีประนอมยอมความ
(5) ยื่นฟ้องต่อศาล
(6) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

มาตรา 802 ในเหตุฉุกเฉิน เพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะทำการใด ๆ เช่นอย่างวิญญูชน จะพึงกระทำ ก็ย่อมมีอำนาจจะทำได้ทั้งสิ้น

มาตรา 803 ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ เว้นแต่จะได้มี ข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามีบำเหน็จ หรือทางการที่คู่สัญญาประพฤติ ต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ หรือเคยเป็นธรรมเนียมมีบำเหน็จ

มาตรา 804 ถ้าในสัญญาอันเดียวตัวการคนเดียวตั้งตัวแทน หลายคนเพื่อแก่การอันเดียวกันไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะต่างทำการนั้นๆ แยกกันไม่ได้

มาตรา 805 ตัวแทนนั้น เมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการจะ เข้าทำนิติกรรมอันใดในนามของตัวการทำกับตนเอง ในนามของตนเอง หรือในฐานเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ เว้นแต่นิติกรรมนั้น มีเฉพาะแต่การชำระหนี้

มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและ เข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำไว้แทนตนก็ได้ แต่ถ้าตัวการ ผู้ใดได้ยอมให้ตัวแทนของตนทำการออกหน้าเป็นตัวการไซร้ ท่านว่า ตัวการผู้นั้นหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอัน

เขามีต่อตัวแทนและเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้น ได้ไม่

หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ

มาตรา 807 ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งแสดงออกชัดหรือโดย ปริยายของตัวการ เมื่อไม่มีคำสั่งเช่นนั้น ก็ต้องดำเนินตามทางที่เคย  ทำกันมาในกิจการค้าขายอันเขาให้ตนทำอยู่นั้น

อนึ่ง บทบัญญัติ มาตรา 659 ว่าด้วยการฝากทรัพย์นั้น ท่านให้ นำมาใช้ด้วยโดยอนุโลมตามควร

มาตรา 808 ตัวแทนต้องทำการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำนาจ ใช้ตัวแทนช่วงทำการได้

มาตรา 809 เมื่อตัวการมีประสงค์จะทราบความเป็นไปของการ ที่ได้มอบหมายแก่ตัวแทนนั้นในเวลาใด ๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ ตัวแทน ก็ต้องแจ้งให้ตัวการทราบ อนึ่ง เมื่อการเป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ตัวแทนต้องแถลงบัญชีด้วย

มาตรา 810 เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น

อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเอง แต่โดยฐานที่ทำการแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น

มาตรา 811 ถ้าตัวแทนเอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ตัวการ หรือซึ่ง ควรจะใช้ในกิจของตัวการนั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย ท่านว่า ตัวแทนต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้

มาตรา 812 ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใดๆ เพราะความ ประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทำการเป็นตัวแทนก็ดีหรือ เพราะทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจก็ดี ท่านว่า ตัวแทนจะต้องรับผิด

มาตรา 813 ตัวแทนผู้ใดตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการระบุตัวให้ตั้ง ท่านว่าตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิด แต่เพียงในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทน ช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การหรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้ว และมิได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือมิได้เลิกถอนตัวแทน

ช่วง นั้นเสียเอง

มาตรา 814 ตัวแทนช่วงย่อมรับผิดโดยตรงต่อตัวการฉันใด กลับกันก็ฉันนั้น

หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน

มาตรา 815 ถ้าตัวแทนมีประสงค์ไซร้ ตัวการต้องจ่ายเงินทดรอง ให้แก่ตัวแทนตามจำนวนที่จำเป็น เพื่อทำการอันมอบหมายแก่ตัวแทนนั้น

มาตรา 816 ถ้าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรองหรือออกเงินค่าใช้จ่ายไป ซึ่งพิเคราะห์ตาม เหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียกเอาเงิน ชดใช้จากตัวการ รวมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้ออกเงินไปนั้นด้วยก็

ได้

ถ้าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้นตัวแทนต้องรับ ภาระเป็นหนี้ขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็น การจำเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียกให้ตัวการชำระหนี้แทนตน ก็ได้ หรือถ้ายังไม่ถึงเวลากำหนดชำระหนี้ จะให้ตัวการให้ประกัน

อัน สมควรก็ได้

ถ้าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น เป็นเหตุให้ ตัวแทนต้องเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด มิใช่เป็นเพราะความผิดของ ตนเองไซร้ท่านว่าตัวแทนจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากตัวการก็ได

มาตรา 817 ในกรณีที่มีบำเหน็จตัวแทนถ้าไม่มีข้อสัญญาตกลงกัน ไว้เป็นอย่างอื่น ท่านว่าบำเหน็จนั้นพึงจ่ายให้ต่อเมื่อการเป็นตัวแทน ได้สุดสิ้นลงแล้ว

มาตรา 818 การในหน้าที่ตัวแทนส่วนใดตัวแทนได้ทำมิชอบใน ส่วนนั้นท่านว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้บำเหน็จ

มาตรา 819 ตัวแทนชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใด ๆ ของ ตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตน เพราะเป็นตัวแทนนั้นเอา ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทน

หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก

มาตรา 820 ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการ ทั้งหลาย อันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่ง ฐานตัวแทน

มาตรา 821 บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทน ของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็น ตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน

มาตรา 822 ถ้าตัวแทนทำการอันใดเกินอำนาจตัวแทน แต่ทาง ปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอก มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนไซร้ ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา ก่อนนี้เป็นบทบังคับ แล้วแต่กรณ

มาตรา 823 ถ้าตัวแทนกระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจ ก็ดีหรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคล ภายนอกโดยลำพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้น ได้รู้อยู่ว่าตนทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ

มาตรา 824 ตัวแทนคนใดทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ท่านว่าตัวแทนคนนั้นจะต้องรับผิดตาม สัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อของตัวการจะได้เปิดเผยแล้ว เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน

มาตรา 825 ถ้าตัวแทนเข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็น แก่อามิสสินจ้างเป็นทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อย่างอื่น อัน บุคคลภายนอกได้ให้เป็นลาภส่วนตัวก็ดี หรือให้คำมั่นว่าจะให้ก็ดี ท่านว่าตัวการหาต้องผูกพันในสัญญา ซึ่งตัวแทนของตนได้ทำนั้น ไม่เว้น

แต่ตัวการจะได้ยินยอมด้วย

หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน

มาตรา 826 อันสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไปด้วยตัวการถอนตัวแทน หรือด้วยตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน

อนึ่ง สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายหรือ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญา หรือสภาพแห่งกิจการนั้น

มาตรา 827 ตัวการจะถอนตัวแทน และตัวแทนจะบอกเลิกเป็น ตัวแทนเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ

คู่สัญญาฝ่ายซึ่งถอนตัวแทน หรือบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ ไม่สะดวกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องรับผิดต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นในความ เสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น เว้นแต่ในกรณีที่เป็นความ จำเป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้

มาตรา 828 เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายก็ดี ตัวการตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือล้มละลายก็ดี ท่านว่าตัวแทนต้อง จัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์อันเขาได้ มอบหมายแก่ตนไป จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของตัวการจะอาจเข้า

ปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ ได้

มาตรา 829 เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวแทนตายก็ดี ตัวแทนตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือล้มละลายก็ดี ท่านว่าทายาท หรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของตัวแทน โดยชอบด้วย กฎหมายต้องบอกกล่าวแก่ตัวการและจัดการเพื่อปกปักรักษา ประโยชน์

ของตัวการไปตามสมควรแก่พฤติการณ์จนกว่าตัวการอาจ เข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ ได้

มาตรา 830 อันเหตุที่ทำให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปนั้นจะเกิดแต่ ตัวการหรือตัวแทนก็ตาม ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะได้บอกกล่าวเหตุนั้น ๆ ไปยังคู่สัญญาฝ่าย นั้นแล้ว หรือจนกว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะได้ทราบเหตุแล้ว

มาตรา 831 อันความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนนั้นท่านห้ามมิ ให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต เว้นแต่บุคคล ภายนอกหากไม่ทราบความนั้นเพราะความประมาทเลินเล่อของตนเอง

มาตรา 832 ในเมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป ตัวการชอบที่จะ เรียกให้เวนคืนหนังสือมอบอำนาจอย่างใด ๆ อันได้ให้ไว้แก่ตัวแทน นั้นได้

หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง

มาตรา 833 อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของ เขาย่อมทำการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทำกิจการค้าขาย อย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ

มาตรา 834 ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านว่าตัวแทนค้า ต่างชอบที่จะได้รับบำเหน็จโดยอัตราตามธรรมเนียมเพื่อกิจการค้า ขายอันตนได้จัดการให้ตกลงไปนั้นทุกรายไป

มาตรา 835 บทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่า ด้วยตัวแทนนั้น ท่านให้ใช้บังคับถึงตัวแทนค้าต่างด้วยเพียงที่ไม่ขัด กับบทบัญญัติในหมวดนี้

มาตรา 836 บุคคลผู้ไร้ความสามารถหาอาจจะทำการเป็นตัวแทน ค้าต่างได้ไม่ เว้นแต่ได้รับอำนาจโดยชอบให้ทำได้

มาตรา 837 ในการที่ตัวแทนค้าต่างทำการขายหรือซื้อหรือจัด ทำกิจการค้าขายอย่างอื่นต่างตัวการนั้น ท่านว่าตัวแทนค้าต่างย่อม ได้ซึ่งสิทธิอันมีต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในกิจการเช่นนั้น และตัวแทน ค้าต่างย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นด้วย

มาตรา 838 ถ้าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่า ตัวแทนค้าต่างหาต้องรับผิดต่อตัวการเพื่อชำระหนี้นั้นเองไม่ เว้นแต่ ่จะได้มีข้อกำหนดในสัญญา หรือมีปริยายแต่ทางการที่ตัวการกับตัว แทนประพฤติต่อกัน หรือมีธรรมเนียมในท้องถิ่นว่าจะต้องรับผิดถึง

เพียงนั้น     อนึ่ง ตัวแทนค้าต่างคนใดเข้ารับประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยนัยดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไซร้ ท่านว่าตัวแทนคนนั้นชื่อว่า เป็นตัวแทนฐานประกันชอบที่จะได้รับบำเหน็จพิเศษ

มาตรา 839 ถ้าตัวแทนค้าต่างได้ทำการขายเป็นราคาต่ำไปกว่า ที่ตัวการกำหนด หรือทำการซื้อเป็นราคาสูงไปกว่าที่ตัวการกำหนด ไซร้หากว่าตัวแทนรับใช้เศษที่ขาดเกินนั้นแล้ว ท่านว่าการขายหรือ การซื้ออันนั้นตัวการก็ต้องรับขายรับซื้อ

มาตรา 840 ถ้าตัวแทนค้าต่างได้ทำการขายได้ราคาสูงกว่าที่ ตัวการกำหนด หรือทำการซื้อได้ราคาต่ำกว่าที่ตัวการกำหนดไซร้ ท่านว่าตัวแทนหาอาจจะถือเอาเป็นประโยชน์ของตนได้ไม่ ต้องคิด ให้แก่ตัวการ

มาตรา 841 ตัวแทนค้าต่างทำการไปอย่างไรบ้างท่านให้แถลง รายงานแก่ตัวการ และเมื่อได้ทำการค้าเสร็จลงแล้ว ก็ให้แจ้งแก่ตัวการ ทราบมิให้ชักช้า

มาตรา 842 เมื่อใดเขามอบหมายทรัพย์สินไว้แก่ตัวแทนค้าต่าง ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ลักษณะฝาก ทรัพย์มาใช้บังคับ อนุโลมตามควร

อนึ่ง ในกรณีที่เป็นความจำเป็นอันมิก้าวล่วงเสียได้ ท่านว่า ตัวแทนค้าต่างจะจัดการแก่ทรัพย์สินนั้นตามวิธีการดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 631 ว่าด้วยรับขนนั้นก็ได้

มาตรา 843 ตัวแทนค้าต่างคนใดได้รับคำสั่งให้ขายหรือซื้อทรัพย์สิน อันมีรายการขานราคาของสถานแลกเปลี่ยน ท่านว่าตัวแทนคนนั้นจะ เป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายเองก็ได้ เว้นแต่จะมีข้อห้ามไว้ชัดแจ้งโดยสัญญา ในกรณีเช่นนั้น ราคาอันจะพึงใช้เงินแก่กันก็พึงกำหนดตาม

รายการ ขานราคาทรัพย์สินนั้น ณ สถานแลกเปลี่ยนในเวลาเมื่อตัวแทนค้า ต่างให้คำบอกกล่าวว่าตนเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย   เมื่อตัวการรับคำบอกกล่าวเช่นนั้น ถ้าไม่บอกปัดเสียในทันทีท่าน ให้ถือว่าตัวการเป็นอันได้สนองรับการนั้นแล้ว

อนึ่ง แม้ในกรณีเช่นนั้น ตัวแทนค้าต่างจะคิดเอาบำเหน็จก็ย่อมคิดได้

มาตรา 844 ในระหว่างตัวการกับตัวแทนค้าต่าง ท่านให้ถือว่า กิจการอันตัวแทนได้ทำให้ตกลงไปนั้น ย่อมมีผลเสมือนดั่งว่าได้ทำ ให้ตกลงไปในนามของตัวการโดยตรง

ลักษณะ 16 นายหน้า

มาตรา 845 บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้า เพื่อที่ ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่า บุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่

ได้ทำกันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้อง บำเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว   นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไป ก็ต่อเมื่อได้ ตกลงกันไว้เช่นนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิ ได้ทำ

กันสำเร็จ

มาตรา 846 ถ้ากิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านั้น โดย พฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่า ย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ ไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้า

ค่าบำเหน็จนั้นถ้ามิได้กำหนดจำนวนกันไว้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกัน เป็นจำนวนตามธรรมเนียม

มาตรา 847 ถ้านายหน้าทำการให้แก่บุคคลภายนอกด้วยก็ดีหรือ ได้รับคำมั่นแต่บุคคลภายนอกเช่นนั้นว่าจะให้ค่าบำเหน็จอันไม่ควรแก่ นายหน้าผู้กระทำการโดยสุจริตก็ดี เป็นการฝ่าฝืนต่อการที่ตนเข้ารับ ทำหน้าที่ไซร้ ท่านว่านายหน้าหามีสิทธิจะได้รับค่าบำเหน็จหรือ

รับ ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปไม่

มาตรา 848 ตัวนายหน้าไม่ต้องรับผิดไปถึงการชำระหนี้ตามสัญญา ซึ่งได้ทำต่อกันเพราะตนเป็นสื่อ เว้นแต่จะมิได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่ง ให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 849 การรับเงินหรือรับชำระหนี้อันจะพึงชำระตามสัญญา นั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านายหน้าย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับแทน ผู้เป็นคู่สัญญา

ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ

มาตรา 850 อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือ จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน

มาตรา 851 อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้ บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา 852 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำ ให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน

ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ

มาตรา 853 อันการพนันหรือขันต่อ ท่านว่าหาก่อให้เกิดหนี้ไม่ สิ่งที่ได้ให้กันไปในการพนันหรือขันต่อก็จะทวงคืนไม่ได้ เพราะเหตุ หามูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดมิได้

ข้อบัญญัติที่กล่าวนี้ ท่านให้ใช้ตลอดถึงข้อตกลงเป็นมูลหนี้ อย่างหนึ่งอย่างใดอันฝ่ายข้างเสียพนันขันต่อ หากทำให้แก่อีก ฝ่ายหนึ่งเพื่อจะใช้หนี้เงินพนันหรือขันต่อนั้นด้วย

มาตรา 854 อันการออกสลากกินแบ่งก็ดี ออกสลากกินรวบก็ดี ท่านว่าเป็นสัญญาอันจะผูกพัน ต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้ สัตยาบันแก่การนั้นเฉพาะราย นอกนั้นท่านให้บังคับตามบทบัญญัติ มาตรา 853

มาตรา 855 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 312 และ มาตรา 916 ตั๋วเงินหรือเอกสารอย่างอื่นทุกฉบับซึ่งออกให้เต็มจำนวน หรือแต่โดยส่วนเพื่อแทนเงินใด ๆ อันได้แต่ชนะพนันหรือขันต่อก็ดี ออกให้ เพื่อใช้เงินที่ยืมมาใช้ในการพนันหรือขันต่อเช่นว่านั้นก็ดี ท่าน

ว่าไม่ สมบูรณ์  เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัตินี้ เงินรายใดให้ยืมแก่บุคคลกำลังเล่น การพนันหรือขันต่อ ในเวลาหรือ ณ สถานที่เล่นเช่นนั้น ท่านให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเงินนั้นได้ให้ยืมไปเพื่อเล่นการพนันหรือขันต่อ

ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด

มาตรา 856 อันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล สองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการใน ระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็น

จำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2543

มาตรา 857 การนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัดนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ได้ลงด้วยเงื่อนไขว่าจะมีผู้ชำระเงินตาม ตั๋วนั้นถ้าและตั๋วนั้นมิได้ชำระเงินไซร้ จะเพิกถอนรายการอันนั้นเสียก็ได้

มาตรา 858 ถ้าคู่สัญญามิได้กำหนดกันไว้ว่าให้หักทอนบัญชีโดย ระยะเวลาอย่างไรไซร้ ท่านให้ถือเอาเป็นกำหนดหกเดือน

มาตรา 859 คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและ ให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็น ข้อขัดกับที่กล่าวมานี้

มาตรา 860 เงินส่วนที่ผิดกันอยู่นั้นถ้ายังมิได้ชำระ ท่านให้คิด ดอกเบี้ยนับแต่วันที่หักทอนบัญชีเสร็จเป็นต้นไป
 
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 861 อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกัน

ภัย

มาตรา 862 ตามข้อความในลักษณะนี้

คำว่า "ผู้รับประกันภัย" ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลง จะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้

คำว่า "ผู้เอาประกันภัย" ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลง จะส่งเบี้ยประกันภัย

คำว่า "ผู้รับประโยชน์" ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่า สินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้

อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่ง คนเดียวกันก็ได้

มาตรา 863 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วน ได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่ อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 864 เมื่อคู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้น เป็นข้อพิจารณาในการวางกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย และภัย เช่นนั้นสิ้นไปหามีไม่แล้ว ท่านว่าภายหน้าแต่นั้นไปผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยตามส่วน

มาตรา 865 ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือ

ให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็น ความเท็จไซร้ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับ ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายใน กำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป

มาตรา 866 ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดั่งกล่าวใน มาตรา 865 นั้นก็ดี หรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้ รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดั่งจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์

มาตรา 867 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทน ของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย อันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้น แก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง

กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือของผู้รับประกันภัยและมีรายการ ดั่งต่อไปนี้
(1) วัตถุที่เอาประกันภัย
(2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง
(3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้กำหนดกันไว้
(4) จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
(5) จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
(6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
(7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย
(8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
(9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี
(10) วันทำสัญญาประกันภัย
(11) สถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย

มาตรา 868 อันสัญญาประกันภัยทะเล ท่านให้บังคับตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายทะเล
 


 

ต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 869-1,755 คลิก

    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld