ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย  ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

  ว่าง

กฎหมายพืช "กระท่อม"   

รายการส่งสินค้าวันนี้

 ชื่อ/สกุล ผู้ส่ง..........................

ชื่อ/สกุล ผู้รับ.......................

ว/ด/ป/เวลา/ที่ส่ง.....................

ทางไปรษณีย์/รหัสส่ง.............

ทางรถ.........ทะเบียน.................

ปลายทางที่่........................





สอบถามไปรษณีย์ 1545
 
    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Side Page

 สถิติวันนี้ 54 คน
 สถิติเมื่อวาน 26 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
753 คน
6124 คน
379440 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


สมุนไพรมหัสจรรย์"กระท่อม"ไทย ดังไกลทั่วโลก รักษาโรคได้หลายชนิด เช่นติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย พาคินสัน และอื่นๆ รับสมัครสมาชิกเข้าระบบเครือข่าย ได้รับโบนัส 4 ชั้นลึก รับตัวแทนจำหน่าย ทั่วไทย และทั่วโลก สมัครก่อน ได้เป็นแม่ทีมต้นสายก่อนใครๆ *****Miracle Herbs "Khut" Thai worldwide Cure many kinds of diseases Such as drug addiction, depression, diabetes, pain relief, Parkinson's, etc. Recruit members to join the network, receive 4 deep bonuses. Recruit dealers all over Thailand and around the world. Apply first. Be a first-class mother. anyone

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ผลิตภัณฑ์

สั่งซื้อ


เช็คสายงาน

โปรโมชั่น

ข่าวสาร

ติดต่อเรา

   #ด่วน!!ฟรี!   

   สมัครเป็นสมาชิก 

แล้วได้อะไร? คลิก

 รับสมัครสมาชิก ฟรี!! ปลูกต้นกระท่อมทั่วไทยและทุกประเทศทั่วโลก เข้าระบบเคลือข่าย สมาชิกจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้าของบริษัทฯ 10-40% และได้รับสิทธิ์การประกันรับซื้อ"ใบกระท่อม"คืน ในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท ยิ่งปลูกหลายต้น ก็ยิ่งมีรายได้มาก เริ่มปลูกเดี๋ยวนี้ เพื่อเป็นคนต้นๆ เพื่อมีรายได้ก่อนใครๆ เพราะกว่าต้นกระท่อมจะโตยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหรืออาจเป็นปี

สมัคร ฟรี!! (ปิดรับสมัครแล้ว รอรอบใหม่)


.


.


ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค/หนังสือ
ส.ค.บ./อ.ย./ฮาลาล/อาหารปลอดภัย และรูปผลิตภัณฑ์ 
แสดงไว้ในกรอบภาพเคลื่อนไหว

 

"ต้นกระท่อม"ต้นไม้มหัสจรรย์ รักษาได้หลายโรคโดยเฉพาะ

"โรคทรัพย์จาง" เก็บใบไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ ทันที !


#คืนเงิน #ไม่มีข้อแม้

4 เดือนถ้าผมไม่ขึ้น

ช่วยคนหัวล้านมาแล้ว
มากกว่า 100,000 คน
อายุมากเท่าไร ผมก็ขึ้น
แม้แต่โรคกรรมพันธุ์

ผมก็ขึ้นใหม่ได้เต็มหัว

รีวิวผู้ใช้

 เฮอร์

เมตโต้

O&P

     

 

.
.
 
 ดูรายละเอียดเว็บไซต์

ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ






ป.วิ แพ่ง น.4

หมวด ๒
ข้อความและผลแห่งคำพิพากษาและคำสั่ง

มาตรา ๑๔๐ การทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้ดำเนินตามข้อบังคับต่อไปนี้
(๑) ศาลจะต้องประกอบครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเขตอำนาจศาล และอำนาจผู้พิพากษา
(๒) ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๓ ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งจะต้องทำโดยผู้พิพากษาหลายคน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะต้องบังคับตามความเห็นของฝ่ายข้างมาก จำนวนผู้พิพากษาฝ่ายข้างมากนั้น ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ต้องไม่น้อยกว่าสองคน และในศาลฎีกาไม่น้อยกว่าสามคน ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ถ้าผู้พิพากษาคนใดมีความเห็นแย้ง ก็ให้ผู้พิพากษาคนนั้นเขียนใจความแห่งความเห็นแย้งของตนกลัดไว้ในสำนวน และจะแสดงเหตุผลแห่งข้อแย้งไว้ด้วยก็ได้
ในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือประธานศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เห็นสมควร จะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใด โดยที่ประชุมใหญ่ก็ได้หรือถ้ามีกฎหมายกำหนดให้วินิจฉัยปัญหาใดหรือคดีเรื่องใด โดยที่ประชุมใหญ่ ก็ให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๓ ที่ประชุมใหญ่นั้น สำหรับศาลอุทธรณ์ให้ประกอบด้วยอย่างน้อยผู้พิพากษาหัวหน้าคณะไม่น้อยกว่า ๑๐ คน สำหรับศาลฎีกาให้ประกอบด้วยผู้พิพากษาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนผู้พิพากษาแห่งศาลนั้น และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือประธานศาลฎีกา แล้วแต่กรณี หรือผู้ทำการแทน เป็นประธาน
คำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก และถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานแห่งที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในคดีซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยปัญหาแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ และต้องระบุไว้ด้วยว่าปัญหาข้อใดได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ผู้พิพากษาที่เข้าประชุมแม้มิใช่เป็นผู้นั่งพิจารณา ก็ให้มีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งในคดีนั้นได้และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ให้ทำความเห็นแย้งได้ด้วย
(๓) การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อ่านข้อความทั้งหมดในศาลโดยเปิดเผย ตามเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือในรายงานซึ่งการอ่านนั้น และให้คู่ความที่มาศาลลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าคู่ความไม่มาศาล ศาลจะงดการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงาน และให้ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้ว
เมื่อศาลที่พิพากษาคดี หรือที่ได้รับคำสั่งจากศาลสูงให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใด ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น

มาตรา ๑๔๑ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือแสดง
(๑) ชื่อศาลที่พิพากษาคดีนั้น
(๒) ชื่อคู่ความทุกฝ่ายและผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทน ถ้าหากมี
(๓) รายการแห่งคดี
(๔) เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง
(๕) คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียม
คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่พิพากษาหรือทำคำสั่ง หรือถ้าผู้พิพากษาคนใดลงลายมือชื่อไม่ได้ ก็ให้ผู้พิพากษาอื่นที่พิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาแล้วแต่กรณี จดแจ้งเหตุที่ผู้พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อและมีความเห็นพ้องด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น แล้วกลัดไว้ในสำนวนความ
ในกรณีที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งหรือพิพากษาคดีได้ด้วยวาจา การที่ศาลจะต้องทำรายงานเกี่ยวด้วยคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นไม่จำต้องจดแจ้งรายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย แต่เมื่อคู่ความฝ่ายใดแจ้งความจำนงที่จะอุทธรณ์หรือได้ยื่นอุทธรณ์ขึ้นมา ให้ศาลมีอำนาจทำคำชี้แจงแสดงรายการข้อสำคัญ หรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยกลัดไว้กับบันทึกนั้นภายในเวลาอันสมควร

**มาตรา ๑๔๒ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(๑) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(๒) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(๓) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(๔) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่องคำนวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่าเช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
**(๕) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(๖) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยซึ่งมิได้มีข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้า
ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องหรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้
อธิบาย
-พิพากษาเกินคำขอเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยฯ ศาลสูงยกขึ้นว่ากล่าวได้
-ฎ.๒๑๒๖/๔๒ เรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฯ
-ม.๑๔๒(๕) นำไปใช้ชั้นอุทธรณ์(อ้าง ม.๑๔๒(๕)ควบ๒๔๖ ฎีกา(อ้าง ม.๑๔๒(๕)ควบ ๒๔๗ ได้ และศาลไม่หยิบยกก็ได้ เป็นดุลยพินิจศาลโดยแท้
-ฎ.๖๒๓๒/๕๒ จำเลยที่ ๒ รู้จักกับโจทก์ตั้งแต่เด็กและทราบว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ สมรสกันแล้วมีทรัพย์สินเป็นที่ดินพิพาท โดยโจทก์และจำเลยที่ ๑ พักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ ๒ จึงทราบดีว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่มีชื่อจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ ๑ การที่จำเลยทั้งสองทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่มีชื่อจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ แม้จำเลยที่ ๒ เสียค่าตอบแทน แต่ก็เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๘๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเพิกถอนนิติกรรมที่ผูกพันสินสมรสทั้งหมด มิใช่เฉพาะส่วนของคู่สมรสที่ไม่ยินยอมเท่านั้น
แม้โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสทั้งหมดโดยโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองแล้ว ศาลชั้นต้นกลับพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเฉพาะในส่วนของโจทก์ อันเป็นการมิได้พิพากษาให้เป็นไปตามข้อหาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒(๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖และ ๒๔๗
-ฎ.๒๓๐๕/๕๑ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ แต่โจทก์อาจมีสิทธิครอบครองโดยการครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับตาม มาตรา ๔ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว และต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗
-ฎ.๕๙๐/๕๓ ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองในเนื้อที่ดินที่ฟ้องหรือไม่ แม้เป็นประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๔ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยและจำเลยร่วมจึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๙ วรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ ๒ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ ๑๓๐ ไร่ จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์โดยรับในอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทฟังเป็นยุติว่ามีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๐ ไร่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ จำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๐ ไร่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องแต่อย่างใด
-ฎ.๖๑๕๗/๕๒ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ให้สัญญาว่า เมื่อ อ. หรือพี่น้องในตระกูลนำเงิน ๑๒๗,๐๐๐ บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ ๑ แล้ว จำเลยที่ ๑ จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ทันที ซึ่งจำเลยที่ ๑ ให้การรับว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืน แต่ตกลงกันในราคาเท่าที่จำเลยที่ ๑ มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ ๒ และโจทก์วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยที่ ๑ ไว้ ๑๒๗,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ ๒ แต่โจทก์ไม่ไปดำเนินการกับจำเลยที่ ๒ เอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ ๑ รับว่าจะขายที่ดินคืนให้แก่โจทก์แต่ตกลงไว้ในราคาอื่นและจำเลยที่ ๑ รับมัดจำไว้แล้ว การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงย่อมเข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ ๑ โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นประเด็นหลัก ส่วนเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. จำเลยที่ ๑ เป็นประเด็นรอง และการที่จำเลยที่ ๑ ไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ เป็นบทบัญญัติในภาค ๑ บททั่วไปใช้สำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๒ และตามปัญหาของจำเลยที่ ๑ ว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทำกันไว้เป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ ๑ ในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป
-ฎ.๕๘๐๑/๕๒ จำเลยขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ อ. และ ล. บิดามารดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะจำเลยแจ้งว่าหากมีเงินจะมาขอซื้อคืนในภายหลัง แต่ทำสัญญาซื้อขายไว้พร้อมกับส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และที่ดินให้เข้าครอบครองอย่างเจ้าของ ข้อที่ว่าหากมีเงินจะมาขอซื้อคืนในภายหลังมีลักษณะเป็นการไถ่ทรัพย์คืนเช่นสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๙๑ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ วรรคหนึ่ง ปัญหาว่านิติกรรมขายฝากทำผิดแบบตกเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒(๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖ และ ๒๔๗
-คดีแพ่ง ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยฯ แต่ในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฯ-
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ ๑ แต่จำเลยที่ ๑ มิได้ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาโอนที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๙ ให้แก่จำเลยที่ ๒ ซึ่งรับโอนโดยไม่สุจริตอันเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ต่อมาจำเลยที่ ๒ ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารกรุงทอง จำกัด ซึ่งรับจำนองโดยไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๙ ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ และเพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยที่ ๒ กับธนาคารกรุงทอง จำกัด จำเลยที่ ๒ ให้การว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ขอให้ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ ๑ นั้น โจทก์ไม่นำค่าธรรมเนียมในการส่งหมายมาวางภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ ๑ ให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ ๑ จากสารบบความ และพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ ๒
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๒ สมัย ๕๖) คำฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ ที่ได้กระทำโดยการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๓๗ กับเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๒ กับธนาคารกรุงทอง จำกัด โจทก์จะต้องฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมที่ขอเพิกถอนเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ศาลจึงจะมีอำนาจให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ ๑ ไว้แล้ว แต่ต่อมาโจทก์มิได้นำค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ ๑ มาวางภายในเวลาที่ศาลกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ ๑ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๔ (๒) ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ ๑ จากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๒ (๑) ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๖ บัญญัติให้ถือว่าโจทก์มิได้มีการยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ เลย ส่วนธนาคารกรุงทอง จำกัด ผู้รับจำนองนั้น โจทก์ก็มิได้ฟ้องหรือขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นคู่ความด้วย หากมีการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิของธนาคารกรุงทอง จำกัด บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ โจทก์มิอาจฟ้องคดีนี้ได้ ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๔๗/๓๗, ๔๔๔/๔๖)
ดังนั้น คำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

มาตรา ๑๔๓ ถ้าในคำพิพากษาหรือคำสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นเมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อผิดหลงเช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คำขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นให้ยื่นต่อศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทำเป็นคำร้องส่วนหนึ่งต่างหาก
การทำคำสั่งเพิ่มเติมมาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม
เมื่อได้ทำคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมเว้นแต่จะได้คัดสำเนาคำสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย

**มาตรา ๑๔๔ เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(๑) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา ๑๔๓
(๒) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียวตามมาตรา ๒๐๙ และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา ๕๓
(๓) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา ๒๒๙และ ๒๔๗ และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา ๒๕๔วรรคสุดท้าย
(๔) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓
(๕) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา ๓๐๒
ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖ และ ๒๔๐ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
อธิบาย
-มาตรานี้เรียกว่าดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
-คำว่าวินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องคดีถึงที่สุด และคำว่าศาลนั้น รวมถึงศาลอื่นด้วย และคำว่าอันเกี่ยวกับคดีจะเป็นคนละคดีหรือคดีเดียวกันก็ได้
-มาตรานี้ นำมาใช้เรื่องแก้ไขฟ้อง , การพิจารณาคดีใหม่ และการขอขยายเวลายื่นคำให้การไม่ได้
-ฎ.๓๗๔๑/๓๘ การที่ศาลกำหนดเวลาใหม่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
-ฎ.๘๒๗๕/๒๕๕๑ เดิมโจทก์และ ว. ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหายที่โจทก์และ ว. ต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดความเชื่อถือในการประกอบอาชีพจากการที่ถูกจำเลยฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กรณียังไม่ถือว่าโจทก์และ ว. ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยในอันที่จะทำให้โจทก์และ ว. ใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์และว. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕ เป็นกรณีศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นแห่งคดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา ๑๔๘ และมาตรา ๑๔๔
-ฎ.๗๑๑๒/๒๕๕๑ คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้จดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามคนละส่วนเท่า ๆ กัน ต่อมาจำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหลังจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นไปโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องในคดีเดิมขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น ๒ แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิม แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดอีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามมาตรา ๑๔๔
-ตัวอย่างคำถาม (ออกสอบ ผู้ช่วยผู้พิพากษาเมื่อ ๒๔ ก.พ.๒๕๕๐)
นายเก่งโดยผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ฟ้องนายโดดเป็นจำเลยอ้างว่ากระทำละเมิดเป็นเหตุให้นางแก้วตามารดาถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะ ๖๐๐,๐๐๐ บาท และค่าปลงศพ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ที่ยังไม่ได้จัดการ นายโดดให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น นายกล้าบุตรของนางแก้วตาอีกคนหนึ่งโดยผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ฟ้องนายโดดเป็นจำเลยที่ ๑ ว่า เป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้นางแก้วตามารดาถึงแก่ความตาย และฟ้องนายจอมเป็นจำเลยที่ ๒ ให้ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างของนายโดด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะ ๔๐๐,๐๐๐ บาท และค่าปลงศพ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ที่ยังไม่ได้จัดการ ต่อมาคดีที่นายเก่งเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จแล้ว พิพากษาให้นายโดดชำระคาขาดไร้อุปการะ ๔๐๐,๐๐๐ บาท และค่าปลงศพ ๑๐๐,๐๐๐ บาท แก่นายเก่ง คดีหลังนายเก่งและนายจอมให้การตัดฟ้องว่า ฟ้องโจทก์คดีหลังเป็นเป็นฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน
ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายโดดและนายจอมรับฟังได้หรือไม่
ธงคำตอบ การที่นายกล้าเป็นโจทก์ฟ้องนายโดดเป็นจำเลยที่ ๑ และนายจอมเป็นจำเลยที่ ๒ คดีหลัง ในขณะที่คดีก่อนซึ่งนายเก่งเป็นโจทก์ฟ้องนายโดดเป็นจำเลยอยู่ระหว่างพิจารณา คดีก่อนที่นายเก่งเป็นโจทก์จึงยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดจะมีผลให้คดีหลังที่นายกล้าเป็นโจทก์ฟ้องเป็นฟ้องซ้ำได้ ทั้งนายจอมก็มิได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของนายกล้าคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘
การที่นายเก่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายโดดเป็นจำเลยกรณีกระทำละเมิดเป็นเหตุให้นางแก้วตามารดานายเก่งและนายกล้าถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพนั้น ในส่วนค่าปลงศพถือว่านายเก่งฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาทนางแก้วตาผู้ตายทุกคนรวมทั้งนายกล้าด้วย ฉะนั้น คดีหลังที่นายกล้าฟ้องนายโดดเป็นจำเลยที่ ๑ กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นางแก้วตามารดาถึงแก่ความตายและขอให้ชดใช้ค่าปลงศพด้วย จึงเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่นายเก่งฟ้องนายโดดเป็นจำเลยและอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องของนายกล้าในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง(๑) ทั้งต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้นายโดดใช้ค่าปลงศพแล้ว คดีของนายกล้าเกี่ยวกับนายโดดที่ขอให้ใช้ค่าปลงศพในคดีหลังยังเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามมาตรา ๑๔๔ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย ไม่ถือว่านายเก่งฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาทคนอื่น ๆ ฟ้องของนายกล้าเรียกว่าอุปการะเลี้ยงดูจากนายโดดในคดีหลังจึงไม่ใช่เรื่องเดียวกันหรือประเด็นเดียวกันกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่วนฟ้องของนายกล้าเกี่ยวกับนายจอมซึ่งเป็นจำเลยที่ ๒ ให้ร่วมรับผิดกับนายโดดในฐานะนายจ้างนั้น เมื่อนายจอมไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนที่นายเก่งฟ้องนายโดด ฟ้องของนายกล้าเกี่ยวกับนายจอมจึงยังไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๔๑/๒๕๔๘)
ดังนี้ ข้อต่อสู้ของนายโดดจึงรับฟังได้แต่เพียงในส่วนที่ว่าค่าปลงศพที่นายกล้าฟ้องนายโดดในคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ส่วนข้อต่อสู้ของนายจอมที่ว่าฟ้องของนายกล้าในคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำรับฟังไม่ได้
-ตัวอย่างคำถาม นายเอกฟ้องนายโทเป็นจำเลยต่อศาล ขอให้รื้อถอนกันสาดหน้าต่างตึกแถวของนายโทส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของนายเอก นายโทให้การว่า กันสาดหน้าต่างตึกแถวอยู่ในเขตที่ดินของตน ขอให้ยกฟ้อง ชั้นพิจารณานายเอกและนายโทไม่ติดใจสืบพยาน โดยตกลงท้ากันว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินตรงกันสาดหน้าต่างตึกแถวว่าอยู่ในเขตที่ดินของนายเอกหรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะ เจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดแล้ว ผลปรากฏว่ากันสาดไม่ได้อยู่ในที่ดินของนายเอก ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ นายเอกถึงแก่กรรมโดยยังไม่ทันได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนระยะเวลาอุทธรณ์สิ้นสุดลง นายตรีบุตรนายเอกได้ยื่นฟ้องนายโทขอให้รื้อถอนกันสาดหน้าต่างตึกแถวดังกล่าวออกไปจากที่ดินเป็นคดีใหม่ นายโทให้การว่า ฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ขอให้ยกฟ้องให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายโทฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯข้อ ๒ สมัย ๖๒) นายตรีเป็นบุตรของนายเอกจึงเป็นผู้สืบสิทธิของนายเอกโจทก์ในคดีก่อน การที่นายตรีมาฟ้องนายโทซึ่งเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อน ถือว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับคดีก่อน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๖๒/๔๗,๗๖๐๐/๔๔) เมื่อประเด็นที่ได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้ก็คือประเด็นเดียวกันว่ากันสาดหน้าต่างตึกแถวของนายโทรุกล้ำที่ดินของนายเอกหรือไม่ โดยในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามคำท้าของคู่ความว่ากันสาดไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินของนายเอก กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีว่า กันสาดหน้าต่างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของนายเอกหรือไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๕๗/๔๖,๓๑๔๗/๔๑) นายตรีฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘ แต่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา ๑๔๔(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๒๐/๔๒) ข้อต่อสู้ของนายโทว่าเป็นฟ้องซ้ำฟังไม่ขึ้น แต่ข้อต่อสู้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำฟังขึ้น
-ตัวอย่างคำถาม นายเงินเป็นโจทก์ฟ้องนายทองเป็นจำเลยต่อศาลว่า นายเงินเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๓๔ นายทองได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย นายทองให้การต่อสู้คดีว่า ได้ครอบครองที่ดินเกินกว่าสิบปีแล้ว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นายทองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ พิพากษาขับไล่และให้ใช้ค่าเสียหาย นายทองยื่นอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายทองได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๓๔ เป็นกรรมสิทธิ์ของนายทองโดยการครอบครองปรปักษ์ นายเงินคัดค้านว่า การที่นายทองมายื่นคำร้องขอในคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายเงินฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๒ สมัย ๖๐)กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘ นั้น คดีก่อนจะต้องถึงที่สุดแล้ว เมื่อคดีที่นายเงินเป็นโจทก์ฟ้องนายทองยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คดียังไม่ถึงที่สุด การที่นายทองมายื่นคำร้องขอในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๔๑/๑๕) ข้อต่อสู้ของนายเงินฟังไม่ขึ้น คดีเดิม นายเงินเป็นโจทก์ฟ้องนายทองว่าบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๓๔ ของนายเงินขอให้ขับไล่นายทองให้การว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งมีประเด็นว่า นายทองได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ การที่นายทองมายื่นคำร้องขอในคดีนี้ขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่า นายทองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๓๔ โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งจะต้องพิจารณาว่านายทองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิม เมื่อประเด็นแห่งคดีเหมือนกันและเป็น คู่ความเดียวกัน คำร้องขอของนายทองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๔ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๑๐/๓๕) ข้อต่อสู้ของนายเงินฟังขึ้น
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าจำเลยชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำให้การจำเลยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โจทก์และจำเลยไม่ฎีกา ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต หลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องให้วินิจฉัยว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๒ สมัย ๕๘) เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำให้การจำเลยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยเฉพาะประเด็นอื่นที่ยังมิได้ดำเนินการเท่านั้น จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความขึ้นอีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๔ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอายุความแล้วหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๒๐/๔๗)
-ตัวอย่างคำถาม นายเงินเป็นโจทก์ฟ้องนายทองเป็นจำเลยอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕ นายทองจำเลยบุกรุกเข้ามาครอบครองโดยมิชอบ ขอให้ขับไล่ นายทองจำเลยให้การต่อสู้ว่า นายทองได้ร่วมกับนายนากครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นายทองจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา นายนากยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างเหตุว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น นายนากเป็นโจทก์ฟ้องนายเงินเป็นจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ขับไล่และห้ามนายเงินเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท นายเงินจำเลยให้การต่อสู้ว่า นายนากมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ยกฟ้อง ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาปรากฏว่า คดีแรกศาลพิจารณาเสร็จก่อน พิพากษาว่านายทองจำเลยและนายนากจำเลยร่วมมิได้ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ให้ขับไล่นายทองจำเลยและนายนากจำเลยร่วมออกไปจากที่ดินพิพาท นายทองจำเลยและนายนากจำเลยร่วมอุทธรณ์ให้วินิจฉัยว่า ฟ้องของนายนากโจทก์คดีหลังเป็นฟ้องซ้ำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๒ สมัย ๕๗) การที่นายนากโจทก์ยื่นฟ้องคดีหลัง ในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณา ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุด ฟ้องนายนากโจทก์คดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจักต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๔๘ การที่นายนากโจทก์คดีหลังยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๕๗ (๒) โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อนของศาลชั้นต้นตามมาตรา ๑ (๑๑) ฉะนั้น โจทก์จึงต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนว่า นายนากมิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนายนากโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องนายเงินจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนโดยการครอบครองปรปักษ์อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๔ แม้นายนากโจทก์จะฟ้องคดีหลังก่อนที่ศาลคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดก็ตาม แต่เมื่อคดีก่อนศาลได้พิพากษาชี้ขาดแล้วกรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา ๑๔๔ นี้ เช่นกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๑๖/๔๒)

*มาตรา ๑๔๕ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี
ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่บุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลด้วยก็ดี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๒ (๑), ๒๔๕ และ ๒๗๔ และในข้อต่อไปนี้
(๑) คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือคำพิพากษาสั่งให้เลิกนิติบุคคล หรือคำสั่งเรื่องล้มละลายเหล่านี้ บุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิงหรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกก็ได้
(๒) คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า
-อธิบาย
-ฎ.๑๐๖๔/๒๗ คำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา ๑๔๕ ไม่จำเป็นว่าคดีต้องถึงที่สุด
-คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ผูกพันคู่ความ หมายถึงคู่ความขณะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง(มีฐานะเป็นคู่ความขณะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เท่านั้น ซึ่งรวมถึงผู้สืบสิทธิด้วย –ฎ.๙๔๘/๐๗)
-ฟ้องคดีให้เพิกถอนคำพิพากษาไม่ได้ และใช้ ม.๒๗ ก็ไม่ได้ แต่ฟ้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้หากมีข้อผิดพลาดมีการแก้ไขได้
-ฎ.๒๐๑๘/๕๒ นิติสัมพันธ์ของผู้ร้องกับผู้คัดค้านสำหรับที่ดินพิพาทตามสัญญาที่มีต่อกันครั้งล่าสุดเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย การครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้คัดค้านอันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น หากผู้ร้องประสงค์จะเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือ ผู้ร้องก็ชอบที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๑ โดยบอกกล่าวไปยังผู้คัดค้านว่าผู้ร้องไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านอีกต่อไป
กรณีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องเพื่อให้ยินยอมให้ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๘/๒๕๓๐ นั้น คำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งแม้จะผูกพันผู้ร้องกับผู้คัดค้านตาม
ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง และอาจจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ร้องที่จะดำเนินการบังคับผู้คัดค้านให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่มีต่อกันหากผู้ร้องปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้จะซื้อครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จะให้รับฟังข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าหากผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทภายหลังจากเสร็จคดีตลอดมา ก็จะต้องถือว่าโดยพฤติการณ์เป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทมาเป็นยึดถือเพื่อตนแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงต่างประเด็นกัน ฉะนั้น จึงไม่อาจนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒
-ฎ.๘๘๕๖/๒๕๕๑ คดีเดิมจำเลยที่ ๑ เคยฟ้องขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องต่อสู้ว่าจำเลยที่๑ ปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้โดยยังไม่กรอกข้อความ ต่อมาจำเลยทั้งกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตนเอง โดยผู้ร้องไม่ยินยอมศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ ๑ มิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจและฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ ๑ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์เป็นของผู้ร้องอีกและจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีเดิม ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมย่อมผูกพันผู้ร้องกับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นคู่ความกันมาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องอีกหาได้ไม่ ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าทรัพย์จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่า และฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง หลังจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนี้ที่ศาลในประเทศญี่ปุ่น และศาลแห่งประเทศญี่ปุ่นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยฎีกาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ก่อนศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้านศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๕๙) คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความจนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้ตามมาตรา ๑๗๕ วรรคสอง ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว (คำสั่งศาลฎีกาที่ ๕๖๒๓/๔๘)

มาตรา ๑๔๖ เมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันต่างกล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นขัดกันให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่สูงกว่า
ถ้าศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน หรือศาลชั้นต้นสองศาลในลำดับชั้นเดียวกัน หรือศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวมาแล้ว คู่ความในกระบวนพิจารณาแห่งคดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปให้มีคำสั่งกำหนดว่าจะให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งใด คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๑๔๗ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป
คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์ ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง ถ้าได้มีอุทธรณ์ ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๒ คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้น ให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว
-อธิบาย
-ฎ.๙๓๒๐/๕๒ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาสำหรับคดีในเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด กู้เบิกเงินเกินบัญชี ตั๋วเงิน ค้ำประกัน และจำนองเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๗ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา คดีย่อมถึงที่สุดตั้งแต่เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์คือ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ต้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มอีกจำนวน ๑๓๗,๘๙๕ บาท ไม่ถูกต้องตามตาราง ๑ (๑) (ก) ท้าย
ป.วิ.พ. โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๖๘ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงหามีสิทธิยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลจำนวนดังกล่าวได้ไม่

**มาตรา ๑๔๘ คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(๑) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
(๒) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(๓) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
-อธิบาย
-มาตรานี้เป็นเรื่องห้ามฟ้องซ้ำ ให้ดูมาตรา ๑๔๔(ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ) และ มาตรา ๑๗๓ วรรค สอง (๑) (เรื่องห้ามฟ้องซ้อน) ประกอบและเปรียบเทียบกันด้วยจึงจะเข้าใจดีขึ้น
-ฎ.๗๕/๕๑ คดีก่อน โจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ ๑ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ ๑ เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ ๒ กับพวกร้องขัดทรัพย์ในคดี ดังกล่าว โจทก์ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยที่ ๑ สละมรดกให้แก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ โดยสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ ๑ หรือของผู้ร้องขัดทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ ๒ กับพวก มิใช่ของจำเลยที่ ๑ เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ได้สละมรดกโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการสละมรดกระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ อีก แม้จะอ้างเหตุเพิกถอนการฉ้อฉล แต่คดีก็มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยที่ ๑ เป็นไปโดยชอบหรือไม่ จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๘
-ตัวอย่างคำถาม คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินแก่โจทก์ในราคา ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนจากโจทก์ภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่มีแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาซื้อขายมากรอกข้อความแทนสัญญากู้ยืมเงิน ศาลวินิจฉัยว่า หนังสือสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่าเมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมาฟ้องขับไล่ พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีหลังโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ปรากฏหลักฐานการกู้ยืมเงินที่จำเลยเบิกความรับและลงลายมือชื่อต่อศาลในคดีก่อนกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์เคยนำหนังสือสัญญาซื้อขายมาฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยกับได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายเป็นพยานในคดีก่อนมาแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนให้วินิจฉัยว่า คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯข้อ ๒ สมัย ๖๑) คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่า จำเลยอยู่ในบ้านและที่ดินโดยไม่มีสิทธิเพราะขายให้แก่โจทก์ไปแล้ว อันเป็นการฟ้องในมูลละเมิดซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยว่า จำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์และยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินเป็นการกระทำโดยละเมิดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระเงินคืนโจทก์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้กู้ยืมหรือไม่ จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้คดีก่อนจำเลยให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินตามที่จำเลยให้การถึงหรือไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๕๔/๙๓ และ ๒๙๕๐/๔๙)ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘ หรือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา ๑๔๔ กับคดีก่อนดังนั้น คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยที่อ้างว่าฟ้องของโจทก์คดีหลังเป็นฟ้องซ้ำและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงฟังไม่ขึ้น
-ฎ.๔๘๗/๕๑ ก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง ๑๒๘ ฉบับ ที่ศาลแพ่งธนบุรี ๒ คดี ซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ ว. ชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ และโจทก์ฟ้องบริษัท น. ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ๒ คดี ซึ่งศาลจังหวัดสมุทรปราการพิพากษาให้บริษัท น. ชำระเงินตามฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด ส่วนคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการจำเลยอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๑ คดีทั้งสี่สำนวนดังกล่าวจำเลยผู้สั่งจ่ายยังไม่ได้ชำระเงินตามคำพิพากษาให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้และโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามคดีนี้ให้รับผิดตามสัญญาขายลดเช็ค ส่วนคดีเดิมทั้งสี่สำนวนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นการฟ้องเกี่ยวกับเช็คพิพาทชุดเดียวกันแต่มูลหนี้คดีนี้เป็นคนละมูลหนี้กับคดีเดิมและสภาพแห่งข้อหาต่างกันทั้งจำเลยก็เป็นคนละคนกัน กรณีมิใช่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๘ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อน
-ฎ.๒๓๔๘/๕๓ แม้จำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๒๙๑/๒๙ ของศาลชั้นต้น ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และประเด็นพิพาทเป็นประเด็นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินพิพาทมาจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน แต่เป็นการฟ้องในฐานะเจ้าของคนก่อนซึ่งได้ขายที่พิพาทให้แก่ ส. กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทต่อจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเดียวกันกับคดีก่อน มีสิทธิฟ้องเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสองได้
-คำว่านับแต่ยื่น ดูวันยื่นเป็นหลัก ไม่ใช่วันศาลรับฟ้อง คดีหลังจะซ้อนหรือฟ้องซ้ำ สองคดีต่างศาลกัน คดีที่ยื่นก่อนอาจรับฟ้องทีหลังก็ได้
-ฎ.๖๖๖๗/๔๗ คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินหรือไม่ จำเลยต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์เพียงใด คดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพียงใด แม้เหตุคดีก่อนกับคดีนี้จะเป็นมูลเหตุอย่างเดียวกัน แต่ประเด็นของคดีทั้งสองไม่เหมือนกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
-นำมูลหนี้เดิมที่เคยฟ้องในคดีล้มละลายจนศาลยกฟ้องมาฟ้องในคดีแพ่งใหม่เป็นฟ้องซ้ำ
-ฎ.๑๒๔/๔๖ คดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสินสมรสไปขายให้แก่ผู้มีชื่อในราคา ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ภายใน ๑ เดือนแล้วนำเงินมาแบ่งกัน โดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ โดยอ้างว่าผู้ซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อจึงมีการทำข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสกันใหม่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามข้อตกลงใหม่เป็นคดีที่สอง คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแรกเป็นสัญญามีเงื่อนไขไม่สามารถสำเร็จผล อันมีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปไม่มีผลบังคับ ส่วนข้อตกลงจัดการสินสมรสกันใหม่เป็นสัญญาระหว่างสมรส เมื่อคู่สมรสบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสเดียวกับที่ฟ้องคดีแรก ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมในคดีแรกเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าคดีแรกได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๘
-ฎ.๔๙๒๖/๔๘ มีกรรมสิทธิ์ร่วมถือเป็นคู่ความเดียวกัน เช่นเดียวกับทายาทที่ฟ้องหรือถูกฟ้องแทนทายาทด้วยกัน คดีถึงที่สุดแล้วมาฟ้องอีกถือเป็นฟ้องซ้ำ
-ฎ.๒๑๗๒-๒๑๗๓/๓๓ บุคคลเดียวกันถูกฟ้องอยู่แล้วมาฟ้องอีกในต่างฐานะกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
-ฎ.๑๔๘/๙๕ ฟ้องเรียกสิทธิในมรดก จะฟ้องใหม่อีกไม่ได้ แม้มรดกคนละชิ้นกัน
-คดีที่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนคือคดีที่ฟ้องทีหลัง
-ฎ.๕๘๖๗/๔๔ (เคยถูกแต่งเป็นข้อสอบเนฯแต่ยังไม่ได้รับเลือก) โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระราคา ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ในวันทำสัญญา และเรียกค่าผ่อนชำระที่จำเลยผิดนัดงวดที่ ๑-๘ ที่ถึงกำหนดชำระแล้วจำเลยไม่ยอมชำระ ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งให้จำเลยชำระการผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่ ๙เป็นต้นไป ฟ้องโจทก์คดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะขณะฟ้องคดีแรกสิทธิฟ้องในคดีหลังยังไม่เกิดแม้มูลหนี้อย่างเดียวกันก็ตามถือว่าไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกัน(ตราบใดที่สัญญาซื้อขายไม่เลิกค่างวดในการผ่อนชำระค่างวดเดินต่อไป
-ฎ.๖๖๖๗/๔๗ คดีแรกโจทก์อ้างว่าจำเลยนำที่ดินของ ส.มาหลอกขายให้โจทก์รับซื้อ โจทก์หลงเชื่อได้ทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินไปให้จำเลยไปแล้ว พอจะเข้าครอบครองที่ดิน ส.อ้างว่าไม่รู้เห็นการซื้อขายเลย โจทก์ได้เข้าอยู่ในที่ดินโดยละเมิดสิทธิ์ ส. จึงได้จ่ายค่าเสียหายให้ ส.และต่อมาโจทก์ต้องออกจากที่ดินไม่สามารถครอบครองที่ดินได้อีกต่อไป จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีเพื่อให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ถูกจำเลยหลอกลวง และขอบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินและเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้ ส. คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ได้มาฟ้องจำเลยเดิมเป็นอีกคดีหนึ่งโดยเป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามที่ตกลงประนีประนอมยอมความกันอันเกิดจากที่จำเลยหลอกลวงให้ซื้อที่ดิน(สองเรื่องมาจากต้นเหตุอย่างเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหาทั้งสองเรื่อง เรื่องแรกให้รับผิด เพิกถอนนิติกรรม คืนเงิน ชดใช้ค่าเสียหาย
คดีที่สอง ให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันนอกศาล โดยชดใช้ค่าเสียหายที่เคยหลอกให้ซื้อที่ดินซึ่งจำเลยยอมรับว่าได้หลอกโจทก์)
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สภาพแห่งข้อหาไม่ได้มีประเด็นอย่างเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ตาม ม.๑๗๓ วรรค ๒(๑)
-ฎ.๔๙๒๖/๔๘ โจทก์ในคดีนี้ อ. และ ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีก่อน ซึ่ง อ. เป็นโจทก์ จำเลยคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย และคดีระหว่างจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ ค. เป็นจำเลย ซึ่งรวมพิจารณาพิพากษา โดยมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ การที่ อ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี และ ค. เป็นจำเลยต่อสู้คดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๕๙ จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง ม. ๑๔๘
-วิธีวินิจฉัยใช้หลัก
๑.อันดับแรกดูว่าเป็นโจทก์หรือจำเลยเดียวกันหรือไม่
-เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่งฟ้องถือว่าทำแทนเจ้าของรวมคนอื่นด้วย เช่นเดียวกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ถือว่าฟ้องแทนทายาทคนอื่นด้วย ลักษณะเดียวกับผู้สืบสิทธิโจทก์หรือจำเลยเดิม และกรณีอัยการเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิอาญา ม.๔๓ ผู้เสียหายก็มาฟ้องอีกไม่ได้เว้นแต่ดอกเบี้ยซึ่งอัยการไม่ได้เรียกร้องแทน
๒.ดูประเด็นที่ฟ้องเป็นประเด็นเดียวกันหรือไม่ หากไม่เข้าข้อ ๑ ข้อ ๒ ก็ไม้ต้องดู
-*ฎ.๒๐๒๒/๕๒ ก่อนคดีนี้จำเลยทั้งสองเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง โจทก์ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมกับให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินโจทก์ ขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขเนื้อที่ในโฉนดของจำเลย เมื่อคดีนี้และคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับประเด็นพิพาทในคดีก่อน หากข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงจะพิพากษาให้เพิกถอนและแก้ไขเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดินตามฟ้องโจทก์ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๘ วรรคหนึ่ง
๓.คดีเดิมถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หากยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกาได้ก็อาจเป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนได้ คดีหลังดูวันยื่นฟ้องเป็นหลัก บางกรณีเป็นทั้งกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
-ฎ.๕๘๒๒/๔๖ นำ ป.วิ แพ่งใช้ในคดีล้มละลายได้โดยอนุโลม เมื่อนำมูลหนี้ที่เคยฟ้องคดีล้มละลายจนศาลยกฟ้องและถึงที่สุด โดยอาศัยเหตุเดิมมาฟ้องใหม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ
-ตัวอย่างคำถามในการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาเมื่อวันที่ ๒ พ.ย.๒๕๕๑ ม.หลัก คือ ม.๑๔๘ มาตรารองคือ ม.๑๔๔ และ ๑๗๓ วรรคสอง (๑)
ถาม คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้ออาคารชุดจากจำเลย โดยจำเลยสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารสูงเพียง ๒๗ ชั้น แต่จำเลยผิดสัญญาสร้างอาคารสูงถึง ๓๐ ชั้น ขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือรื้อถอนอาคารชั้นที่ ๒๘ ถึง ๓๐ จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยผิด
สัญญาจริงแต่เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญา จึงไม่มีสิทธิ์บังคับให้จำเลยรื้อถอนได้ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว ขอให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลย
ให้วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและเป็นฟ้องซ้อนหรือไม่
ตอบ คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือรื้อถอนอาคารชั้นที่ ๒๘ ถึงชั้นที่ ๓๐ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยผิดสัญญาจริงแต่ไม่อาจบังคับให้จำเลยรื้อถอนได้ เช่นนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้จึงได้บอกเลิกสัญญาและฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ที่ชำระให้แก่จำเลย
แม้ข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นเหตุฟ้องคดีหลังจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อน แต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบอกเลิกสัญญา เพราะหากคดีก่อนจำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ประเด็นแห่งคดีก่อนและคดีหลังจึงแตกต่างกัน โดยคดีก่อนมีประเด็นว่าโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารชั้นที่ ๒๘ ถึงชั้นที่ ๓๐ ได้หรือไม่ แต่คดีหลังนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินคืนได้หรือไม่เพียงใด อีกทั้งขณะยื่นฟ้องคดีหลัง คดีก่อนศาลยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดด้วย ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๔๘ (เทียบ ฎ.๔๒๗๖/๒๕๔๕)
เมื่อประเด็นพิพาทคดีก่อนและคดีหลังเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน กรณีย่อมถือไม่ได้ว่า การยื่นฟ้องของโจทก์ในคดีหลังเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลอันเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วอันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๔๔
แม้โจทก์ในคดีก่อนและคดีหลังจะเป็นคนเดียวกัน และโจทก์ฟ้องคดีหลังขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อประเด็นข้อพิพาทคดีก่อนและคดีหลังแตกต่างกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลอันเป็นการฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๗๓ วรรคสอง(๑)

หมวด ๓
ค่าฤชาธรรมเนียม
ส่วนที่ ๑
การกำหนด และการชำระค่าฤชาธรรมเนียม
และการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

มาตรา ๑๔๙ ค่าฤชาธรรมเนียมได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่วยการค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ว่าด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมศาลที่เป็นค่าขึ้นศาลให้คู้ความผู้ยื่นคำฟ้องเป็นผู้ชำระเมื่อยื่นคำฟ้อง ค่าธรรมเนียมศาลนั้น ให้ชำระหรือนำมาวางศาลเป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งธนาคารรับรอง โดยเจ้าพนักงานศาลออกใบรับให้ หรือตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดประธานศาลฎีกา
คำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด คำให้การ หรือร้องคำขออื่นซึ่งได้ยื่นต่อศาลพร้อมด้วยคำขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา ๑๕๖ ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าว ไม่ต้องนำเงินค่าค่าธรรมเนียมศาลและวางเงินศาลมาชำระ เว้นแต่ศาลจะได้ยกคำร้องขอนั้นเสีย

มาตรา ๑๕๐ ในคดีที่คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์นั้นอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท
ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ถ้าจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียตามจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น แต่ถ้าผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาได้รับความพอใจแต่บางส่วนตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลล่างแล้วและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่ำกว่าในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาต่ำนั้น เมื่อได้ชำระค่าขึ้นศาลแล้ว ถ้าทุนทรัพย์แห่งคำฟ้องหรือฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาทวีขึ้น โดยการยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือโดยประการอื่น ให้เรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายนี้ เมื่อยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร แล้วแต่กรณี
ถ้าเนื่องจากศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน หรือให้แยกคดีกัน คำฟ้องใด หรือข้อหาอันมีอยู่ในคำฟ้องใดจะต้องโอนไปยังศาลอื่น หรือจะต้องกลับยื่นต่อศาลนั้นใหม่ หรือต่อศาลอื่นเป็นคดีเรื่องหนึ่งต่างหาก ให้โจทก์ได้รับผ่อนผันไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในการยื่นหรือกลับยื่นคำฟ้องหรือข้อหาเช่นว่านั้น เว้นแต่จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์แห่งคำฟ้องหรือข้อหานั้นจะได้ทวีขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ค่าขึ้นศาลเฉพาะที่ทวีขึ้น ให้คำนวณและชำระตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน
ในกรณีที่บุคคลซึ่งเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ต่างยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแยกกัน โดยต่างได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาตามความในวรรคสอง หากค่าขึ้นศาลดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าขึ้นศาลที่คู่ความเหล่านั้นต้องชำระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์หรือฎีการ่วมกัน ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณีมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่คู่ความเหล่านั้นตามส่วนชองค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละคนได้ชำระไปในเวลาที่ศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
อธิบาย
-ฎ.๖๕๔๕/๕๒ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ ๑ และที่จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ ๓ เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน

มาตรา ๑๕๑ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ ถ้าศาลไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกา หรือคำขอให้พิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด
เมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความ หรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนความคืนไปยังศาลล่างเพื่อตัดสินใหม่หรือเพื่อพิจารณาใหม่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๓ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกเว้นมิให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หรือในการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาใหม่ของศาลล่างได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๑๕๒ ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นผู้ชำระ เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือที่ศาลมีคำสั่ง ถ้าศาลเป็นผู้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ให้ศาลกำหนดผู้ซึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น รวมทั้งระยะเวลาที่ต้องชำระไว้ด้วย
ถ้าผู้ซึ่งที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ชำระ ศาลจะสั่งให้งดหรือเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นหรือจะสั่งให้คู่ความฝ่ายอ่านเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้หากคู่ความฝ่ายนั้นยินยอม

มาตรา ๑๕๓ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของเจ้าพนักงานบังคับคดี ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการบังคับคดีบรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับนั้นเป็นผู้ชำระ
การชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบรับให้ในกรณีที่มีการเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๒๙๐ วรรคแปด หรือมาตรา ๒๙๑(๒) ให้เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในส่วนที่ดำเนินการบังคับคดีต่อไป

มาตรา ๑๕๓/๑ ค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา ๑๔๙ และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีตามมาตรา ๑๕๓ ให้ชำระตามวิธีการและอัตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือตามวิธีการและอัตราที่กฎหมายอื่นบังคับไว้

มาตรา ๑๕๔ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะสั่งให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือวางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามจำนวนที่เห็นจำเป็น ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ให้แจ้งเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินเพิ่มขึ้นอีกได้
ถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีเห็นว่าการวางเงินตามวรรคหนึ่งไม่จำเป็นหรือมากเกินไป ก็อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งได้ คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด
ถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดบังคับคดีไว้จนกว่าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลแล้วแต่กรณี
บทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๒๙๐ วรรคแปด และมาตรา ๒๙๑ (๒) โดยอนุโลม

มาตรา ๑๕๕ คู่ความซึ่งไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๖/๑

**มาตรา ๑๕๖ ผู้ใดมีความจำนงจะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้องหรือได้ฟ้องคดีไว้นั้น พร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด หรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องอาจเสนอพยานหลักฐานไปพร้อมคำร้อง และหากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการไต่สวนโดยเร็วเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ศาลจะมีคำสั่งให้งดการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวจนกว่าการพิจารณาสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะถึงที่สุดก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร
อธิบาย
-หลัก ม.๑๕๖-ยื่นได้สองระยะคือ พร้อมคำฟ้อง,คำฟ้องอุทธรณ์,คำฟ้องฎีกา,คำร้องสอด,คำให้การ และเวลา
ใดๆก็ได้ก่อนศาลพิพากษากรณีไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมได้ในภายหลังจากได้ยื่นฟ้องแล้ว
-ผู้ยื่นคำร้องต้องเสนอพยานหลักฐาน และศาลไต่สวนโดยเร็วเท่าที่จำเป็น(ผู้ร้องไม่ต้องสาบานตน
เหมือน กม.ฉบับเก่า ชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลไม่ไต่สวน)
-ศาลงดกระบวนพิจารณาไว้ชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคำร้องยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนี้จะ
ถึงที่สุดหรือตามที่ศาลเห็นสมควร
-ยื่นต่อศาลชั้นต้นเสมอ
-หมายเหตุ ๑.หากโกหกศาลเรื่องไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมศาล มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม
ป.วิ แพ่ง ม.๓๑(๒)
๒.ร้องให้พิจารณาว่ายากจนใหม่ทำไม่ได้เหมือนกฎหมายเก่าแล้ว

**มาตรา ๑๕๖/๑ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จ ให้ศาลมีคำสั่งโดยเร็วโดยศาลจะมีคำสั่งอนุญาตทั้งหมด หรือแต่จะเฉพาะบางส่วน หรือยกคำร้องนั้นเสียก็
ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องเช่นว่านั้น เว้นแต่จะเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร เมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีผู้ร้องเป็นโจทก์หรือผู้อุทธรณ์หรือฎีกา การฟ้องร้องหรืออุทธรณ์หรือฎีกานั้นมีเหตุอันสมควรด้วย
เมื่อคู่ความคนใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น แล้วยื่นคำร้องเช่นว่านั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณีอีก ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังคงไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้วจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
อธิบาย
-มาตรานี้เป็นเรื่องการพิจารณาคำขอและการห้ามอุทธรณ์มีหลักดังนี้
-ศาลพิจารณาคำสั่งโดยเร็ว
-ศาลสั่งได้ ๓ ประการ คืออนุญาตทั้งหมด , อนุญาตบางส่วน และยกคำร้อง
-การอนุญาตต้องได้ความ (๑) เชื่อได้ว่าไม่มีทรัพย์พอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือ (๒)หาก
ไม่ได้รับยกเว้นฯจะได้รับความเดือดร้อนเกินควร (๓)ผู้ร้องเป็นโจทก์ เป็นผู้อุทธรณ์หรือเป็นผู้ฎีกา
คำฟ้อง,ฟ้องอุทธรณ์หรือฟ้องฎีกานั้นต้องมีเหตุผลอันสมควรด้วย(ในศาลชั้นต้นหมายถึงคดีมีมูล
ฟ้องร้องและมีอำนาจฟ้อง ในศาลอุทธรณ์,ฎีกา อุทธรณ์หรือฎีกานั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย)
-อนุญาตทั้งหมดอุทธรณ์ไม่ได้ จะถึงที่สุด
-การอุทธรณ์คำสั่ง(กรณี ยกคำร้องหรืออนุญาตบางส่วน )
-(๑)ร้องขอในศาลชั้นต้น
-ยื่นต่อศาลชั้นต้น
-ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐาน ไต่สวน
-อนุญาตบางส่วนหรือยกคำร้อง ต้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ใน ๗ วัน นับแต่วันมีคำสั่ง และคำสั่ง
ศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
-อนุญาตทั้งหมดถึงที่สุด
-(๒)ร้องขอชั้นอุทธรณ์
-ยื่นต่อศาลชั้นต้น
-ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐาน ไต่สวน และสั่ง
-อนุญาตทั้งหมดถึงที่สุด
-อนุญาตบางส่วนหรือยกคำร้อง อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคใน ๗ วันฯ
-คำสั่งศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคเป็นที่สุด
-(๓)ร้องขอในชั้นฎีกา
-ยื่นต่อศาลชั้นต้น
-ศาลชั้นต้นพิจารณาพยาน ไต่สวน และทำคำสั่ง
-อนุญาตทั้งหมดถึงที่สุด
-อนุญาตบางส่วน หรือยก อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาใน ๗ วัน
-คำสั่งศาลฎีกาเป็นที่สุด

มาตรา ๑๕๗ เมื่อศาลอนุญาตให้บุคคลใดยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล บุคคลนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น ค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ให้รวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตในระหว่างการพิจารณา การยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลนั้นให้ใช้บังคับแต่เฉพาะค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลที่จะต้องเสีย หรือวางภายหลังคำสั่งอนุญาตเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมศาล หรือเงินวางศาลที่เสียหรือวางไว้ก่อนคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอันไม่ต้องคืน

มาตรา ๑๕๘ ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของ ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร

มาตรา ๑๕๙ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นสามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำร้องตามมาตรา ๑๕๖ หรือในภายหลังก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับยกเว้นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไว้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่า
(๑) ค่าฤชาธรรมเนียมจะเป็นพับแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลมีคำสั่งให้เอาชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(๒) คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแทนผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายนั้นชำระค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลในนามของผู้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ศาลเอาชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่ง ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หรือ
(๓) ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งให้เอาชำระค่าฤชาธรรมเนียมนั้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่ง ส่วนค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับการยกเว้น ให้เอาชำระจากทรัพย์สินที่เหลือ ถ้าหากมี ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

มาตรา ๑๖๐ ถ้าผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลประพฤติตนไม่เรียบร้อย เช่นดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญถึงขนาด หรือกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล หรือจงใจประวิงความเรื่องนั้น ศาลจะถอนอนุญาตเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้และบุคคลเช่นว่านั้นจำต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับกระบวนพิจารณาภายหลังที่ศาลได้ถอนอนุญาตนั้นแล้ว
อธิบาย (สรุปรวมในส่วนที่ ๑)
-มีการแก้ไข ป.วิแพ่ง ฉบับที่ ๒๔ พ.ศ.๒๕๕๑ ยกเลิกเรื่องการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เป็นการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเพราะเหตุไม่มีทรัพย์สินพอเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ หรือหากไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับเดือดร้อนเกินสมควร
-มาตราที่สำคัญคือมาตรา ๑๕๐,๑๕๕,๑๕๖,๑๕๖/๑ หลักการสำคัญอยู่ในมาตรา ๑๕๕,๑๕๖,และ๑๕๖/๑
-ค่าฤชาธรรมเนียม ปรากฏตามตารางท้ายวิแพ่ง ๗ ตาราง ซึ่งได้แก่ค่าธรรมเนียมศาล,ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล,ค่าป่วยการ,ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่ามและ เจ้าพนักงานศาล,ค่าทนายความ,ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าใช้จ่ายหรือธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
-ค่าธรรมเนียมศาลที่เป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง ๑ ผู้ฟ้องต้องยื่นพร้อมคำฟ้องเป็นเงินสดหรือเช็คที่ธนาคารรับรอง ยกเว้นหากได้รับอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตาม ม.๑๕๖(คำฟ้อง,คำฟ้องอุทธรณ์,คำฟ้องฎีกา,คำร้องสอด,คำให้การ,และคำร้องขออื่น/คำร้องขอซึ่งมีฐานะเป็นคำฟ้องตาม ม.๑(๕))
-คำร้องขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้(คดีมีทุนทรัพย์)เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือตามราคาทรัพย์สินที่พิพาทขณะยื่นฟ้อง ชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเท่ากับศาลชั้นต้น ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออุทธรณ์แล้วคู่ความไม่พอใจคำพิพากษาดังกล่าว

ส่วนที่ ๒
ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา ๑๖๑ ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพอนิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี
คดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ฝ่ายเริ่มคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา ๑๖๒ บุคคลที่เป็นโจทก์ร่วมกันหรือจำเลยร่วมกันนั้น หาต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียมไม่ หากต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมหรือลูกหนี้ร่วมหรือศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๖๓ ถ้าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยการตกลง หรือการประนีประนอมยอมความหรืออนุญาโตตุลาการ คู่ความแต่ละฝ่ายย่อมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณาของตน เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๖๔ ในกรณีที่วางเงินต่อศาลตามมาตรา ๑๓๕, ๑๓๖ นั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแห่งจำนวนเงินที่วางนั้นอันเกิดขึ้นภายหลัง
ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องแล้ว จำเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลนั้นเป็นการพอใจเพียงส่วนหนึ่งแห่งจำนวนเงินที่เรียกร้อง และดำเนินคดีต่อไป จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะได้พิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ในกรณีเช่นนี้โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การที่ตนไม่ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการพอใจตามที่เรียกร้อง

มาตรา ๑๖๕ ในกรณีที่มีการชำระหนี้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๗ ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องแล้ว จำเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชำระหนี้เช่นว่านั้น และดำเนินคดีต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ถ้าศาลเห็นว่าการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้นั้นโจทก์ต้องเป็นผู้รับผิด

มาตรา ๑๖๖ คู่ความฝ่ายใดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็นหรือมีลักษณะประวิงคดี หรือที่ต้องดำเนินไปเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คู่ความฝ่ายนั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยมิพักคำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจักได้ชนะคดีหรือไม่

มาตรา ๑๖๗ คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ไม่ว่าคู่ความทั้งปวงหรือแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จักมีคำขอหรือไม่ก็ดี ให้ศาลสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือในคำสั่งจำหน่ายคดีออกสารบบความแล้วแต่กรณี แต่ถ้าเพื่อชี้ขาดตัดสินคดีใด ศาลได้มีคำสั่งอย่างใดในระหว่างการพิจารณา ศาลจะมีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับกระบวนพิจารณาที่เสร็จไปในคำสั่งฉบับนั้น หรือในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้แล้วแต่จะเลือก
ในกรณีที่มีข้อพิพาทในเรื่องที่ไม่เป็นประเด็นในคดี ให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับข้อพิพาทเช่นว่านี้ในคำสั่งชี้ขาดข้อพิพาทนั้น
ในกรณีที่มีการพิจารณาใหม่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับการพิจารณาครั้งแรก และการพิจารณาใหม่ในคำพิพากษาหรือคำสั่งได้

มาตรา ๑๖๘ ในกรณีคู่ความอาจอุทธรณ์ หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้นั้น ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว เว้นแต่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นจะได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

มาตรา ๑๖๙ เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแล้ว ให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมชั้นต้นทำบัญชีแสดงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปโดยลำดับ และจำนวนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอาจขอสำเนาบัญชีเช่นว่านั้นได้

มาตรา ๑๖๙/๑ ถ้าบุคคลซึ่งต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมค้างชำระค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลก็ดี หรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี หรือต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ดี ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลเช่นว่านั้นอาจบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลนั้นเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าฤชาธรรมเนียมนั้นแล้วแต่กรณีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีตามวรรคหนึ่งให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีทั้งปวง แต่หากยังมีเงินที่ได้จากการบังคับคดีคงเหลือภายหลังชำระให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ ให้หักค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไว้จากเงินนั้น

มาตรา ๑๖๙/๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖๙/๓ ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการยึด อายัด ขาย หรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือจากเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางไว้
ในกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ผู้ค้ำประกันในศาล ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีในส่วนนั้น ให้หักออกจากเงินที่ได้จากการบังคับคดีตามสัญญาประกัน
ในกรณีที่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม หรือมรดกให้เจ้าของรวมหรือทายาทผู้ได้รับส่วนแบ่งทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีโดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการขาย หรือจำหน่ายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือทรัพย์มรดกนั้น
ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา ๒๙๕(๑) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอยึด หรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

มาตรา ๑๖๙/๓ บุคคลใดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีส่วนใดโดยไม่จำเป็น หรือมีลักษณะประวิงการบังคับคดี หรือที่ต้องดำเนินไปเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะบังคับคดีไปโดยไม่สุจริตก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วแต่กรณี อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ยังศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด


ภาค ๒
วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ ๑
วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น

มาตรา ๑๗๐ ห้ามมิให้ฟ้อง พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่นนอกจากศาลชั้นต้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในภาคนี้ว่าด้วยคดีไม่มีข้อพิพาท คดีมโนสาเร่ คดีขาดนัด และคดีที่มอบให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด การฟ้อง การพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น นอกจากจะต้องบังคับตามบทบัญญัติทั่วไปแห่งภาค ๑ แล้ว ให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ด้วย

มาตรา ๑๗๑ คดีที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติว่าจะฟ้องยังศาลชั้นต้น หรือจะเสนอปัญหาต่อศาลชั้นต้นเพื่อชี้ขาดตัดสิน โดยทำเป็นคำร้องขอก็ได้นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลย และวิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำฟ้องมาใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขอและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าหากมี และบังคับแก่วิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำร้องขอด้วยโดยอนุโลม

**มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทำเป็นคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
อธิบาย
-ม.๑๗๒ วรรค ๒ คำฟ้องต้องมีแยกเป็น ๑)คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ๒)ต้องมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ๓)ต้องมีคำขอบังคับ ไม่ครบเป็นฟ้องเคลือบคลุม
-ฎ.๑๘๑๗/๔๘ คำบรรยายฟ้องได้ครบถ้วนทั้งสามข้อข้างต้นแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันแล้วเมื่อใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบ ได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
-ฎ.๑๖๓๓/๒๕ ข้อหาที่ระบุในคำฟ้องไม่ตรงกับใจความที่บรรยายมาในฟ้องก็ต้องถือตามข้อหาที่บรรยายในคำฟ้องเป็นหลัก โจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันแล้วเมื่อใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบ ได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
-ฎ.๔๘๔๖/๕๒ จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ หากโจทก์เห็นว่าหน้าต่างของอาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างเมื่อเปิดแล้วจะรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพอแปลได้ว่า โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างหรือส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์กว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๖ เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันจึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดินเลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้ว เห็นว่ามีราคาไม่ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
-ฎ.๑๐๐๗/๓๗ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๒๔ การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา ๒๒๓ ทวิวรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๓ วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้น โดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๒ เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
-ฎ.๖๔๔๘/๕๑ (ป.วิแพ่ง ม.๕๕,๑๔๒,๑๗๒) โจทก์ฟ้องและขอให้เรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารที่ปลูกอยู่และส่งมอบที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็คือจำเลยไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไป และไม่ยอมรื้อถอนอาคารของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนคำขอบังคับก็คือให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารและส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์รวมทั้งใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๒ วรรคสองแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่า โจทก์ร่วมบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยหรือไม่ อย่างไร และจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๗๗ ประกอบมาตรา ๕๔๙ แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
-อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา

**มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(๑) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ
(๒) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่
อธิบาย
-มาตรา ๑๗๓ เป็นเรื่องการฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย ดูคำอธิบายเพิ่มเติมท้ายมาตรา ๑๔๘
-คำว่าโจทก์ใน ม.๑๗๓วรรค๒(๑) หมายถึงโจทก์ผู้ยื่นฟ้อง,จำเลยที่ฟ้องแย้ง,ผู้ร้องสอดเป็นโจทก์ร่วม และผู้ร้องขัดทรัพย์ และให้ดูวันฟ้องเป็นหลัก ไม่ใช่ดูวันประทับฟ้อง
-คดีแรกไม่อยู่ระหว่างพิจารณาแต่ยังอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ได้ มาฟ้องใหม่อาจเป็นฟ้องซ้อนได้
-โจทก์ไม่ร้องขอตาม ม.๑๗๓วรรคหนึ่งเพื่อให้ส่งหมายถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
-การห้ามตาม (๑) ดูวันยื่นฟ้องเป็นหลักไม่ใช่ดูวันศาลประทับฟ้อง และคำว่าโจทก์ คือโจทก์ที่ยื่นฟ้อง จำเลยฟ้องแย้ง ผู้ร้องสอด โจทก์ร่วม ผู้ร้องขัดทรัพย์ ด้วย
-ฎ.๓๑๔๖/๓๓ ท. ทายาทของเจ้ามรดกคนหนึ่งเคยฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทอีกคนหนึ่งมาฟ้องคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นเป็นโมฆะอีก เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ท. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกอันจะถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนทายาททั้งหมดรวมทั้งโจทก์ด้วยแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
-ฎ ๓๘๗๖/๔๖ (ประเด็นในคดีก่อนกับคดีหลังเป็นคนละมูลกรณีกัน) ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกัน แม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่า แต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑)
-ฎ.๕๘๘๘/๕๒ คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทดังกล่าว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีกก็ตาม แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท แล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอนุบาล บ." โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติ ขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑)
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดภูเขียว ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินที่กู้ยืมจำนวน
๑๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีหลายประการ ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลจังหวัดภูเขียวฟังจำเลยทั้งสองแล้วอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยอ่านคำสั่งวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๘ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดชัยภูมิขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้น ศาลจังหวัดชัยภูมิรับฟ้องไว้พิจารณาวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลจังหวัดภูเขียวที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในกำหนดต่อศาลจังหวัดชัยภูมิโดยยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์คดีหลังนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีของโจทก์ที่ศาลจังหวัดภูเขียวให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๕๘) คดีเดิมโจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดภูเขียว ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองศาลจังหวัดภูเขียวมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองได้ และสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องคดีหลังต่อศาลจังหวัดชัยภูมิเพื่อเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหนี้ตามสัญญากู้ฉบับเดียวกันกับคดีก่อน เมื่อจำเลยที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดภูเขียวในคดีก่อน คดีก่อนในส่วนของโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๓ แม้จำเลยที่ ๑ จะยื่นอุทธรณ์หลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีหลังก็ตาม ฟ้องโจทก์ในคดีหลังระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ก็เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ ๑ ฟังขึ้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๕๕/๓๘ และ ๘๐๖๘/๔๗) สำหรับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ นั้น คดีก่อนศาลจังหวัดภูเขียวมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ถอนฟ้อง จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ ๒ เป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา ๑๗๖ แม้โจทก์จะฟ้องคดีหลังขณะคดีก่อนยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ ๒ มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดภูเขียวที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีจนคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๒ เป็นคดีหลังนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ฟ้องโจทก์ในคดีหลังเฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ ๒ ฟังไม่ขึ้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๔/๔๘)
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ต่อมาโจทก์พบว่าคำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่อง จึงยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ระหว่างนั้น โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์อีก แต่ได้เรียกค่าเสียหายจากเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินด้วย จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ให้วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ และศาลจะพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งต่อไปอย่างไร
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๕๖) ในคดีก่อนโจทก์ขอถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง แต่จำเลยยังอุทธรณ์ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีก่อน แม้จะได้เรียกค่าเสียหายจากเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินมาด้วย แต่ค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ก็สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว จึงชอบที่โจทก์จะได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายมาพร้อมกับคำฟ้องในคดีก่อนเสียในคราวเดียวกัน คำฟ้องในคดีใหม่จึงเป็นเรื่องเดียวกับคำฟ้องในคดีก่อน ส่วนการถอนคำฟ้องที่จะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๖ นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คำฟ้องของโจทก์ในคดีใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามมาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่มีคำฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๗๒/๓๒, ๑๙๖๔/๓๕, ๔๗๑/๔๑, ๗๒๖๕/๔๔)
-ฎ.๕๗๑๖/๓๙ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้าไปในคดีตามมาตรา ๕๗(๑) และจำเลยมิได้ยื่นคำให้การแก้คำร้องสอดในเวลาที่ศาลกำหนด ผู้ร้องสอดก็ไม่ได้ร้องขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้ร้องสอดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยจากสารบบความ ผู้ร้องสอดก็ยื่นคำร้องสอดตามมาตรา ๕๗(๑) ใหม่อีก มีปัญหาว่า คำร้องสอดที่ยื่นใหม่เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗(๑) ถือเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ โจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลย โดยมิได้จำหน่ายคดีเกี่ยวกับโจทก์ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ผู้ร้องสอดคงมีอำนาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยเท่านั้น
-ฎ.๗๘๙๐/๕๑ วิแพ่ง ม.๑๗๓,๒๒๓ ทวิ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๓ ทวิ วรรคหนึ่ง
แม้คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๒๗/๒๕๔๖ กับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ แต่การวินิจฉัยเรื่องฟ้องซ้อนจะต้องพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องในมูลคดีอันเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่เป็นสำคัญ คำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทำลายรั้วอิฐบล็อกของโจทก์แล้วก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกขึ้นใหม่รุกล้ำเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกไปจากเขตที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า ขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาเกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดรั้วอิฐบล็อกที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์พังทลาย ต่อมาจำเลยตัดฟันต้นมะพร้าวของโจทก์ แล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่โดยบางส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ ดังนี้ แม้หากจะถือว่าจำเลยยังคงยึดถือที่ดินบริเวณที่พิพาทกับโจทก์ต่อเนื่องมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภายหลังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีทางที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารและชดใช้ราคาต้นมะพร้าวขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนี้ก็เป็นคนละส่วนกับคดีก่อน การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจถือว่าเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) ส่วนการที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีก่อนโดยกล่าวถึงการก่อสร้างอาคารจำเลยและขอให้สั่งระงับการก่อสร้างไว้ก่อนนั้น ก็มิใช่การยื่นคำฟ้อง จึงไม่อาจนำมาเป็นเหตุถือว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนดังที่จำเลยอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ได้
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป
- *ฎ. ๒๐๖๙/๕๒ คดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้บุกรุกที่ดินของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เป็นคดีที่มิใช่คดีใดคดีหนึ่งในคดีความผิด 9 สถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓ ที่ให้พนักงานอัยการเมื่อยื่นฟ้องคดีความผิดนั้นๆ มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย ดังนั้น แม้พนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวมีคำขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินรวมทั้งให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโดยโจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ก็ตาม เมื่อความผิดฐานบุกรุกไม่มีกฎหมายรับรองให้พนักงานอัยการมีคำขอในส่วนแพ่ง แม้โจทก์คดีนี้จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาดังกล่าว ก็มีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่บุกรุก มูลคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกันกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์เนื้อที่ ๒ ไร่ ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างครอบครองอยู่ จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การว่า โจทก์ครอบครองที่ดินเนื้อที่เพียง ๑ ไร่ เท่านั้น และฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา ๕๗(๑) อ้างว่า ผู้ร้องสอดได้ครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนที่ซื้อมาจากโจทก์จนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒ แล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องสอด ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองให้การแก้คำร้องสอดใน ๗ วัน โจทก์ยื่นคำให้การแก้คำร้องสอดว่า ผู้ร้องสอดเช่าที่ดินโจทก์จึงเป็นเพียงบริวารของโจทก์ ขอให้ยกคำร้อง ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การแก้คำร้องสอดในกำหนด ผู้ร้องสอดมิได้ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสองจากสารบบความ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นฟ้องซ้อนจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอด ผู้ร้องสอดอุทธรณ์ว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ให้วินิจฉัยว่า (๑) อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดฟังขึ้นหรือไม่ (๒) ถ้าท่านเป็นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีนี้อย่างไร
ธงคำตอบ การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗(๑) นั้น ถือเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ โจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลย เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้องสอดแล้วผู้ร้องสอดจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในฐานะเป็นโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดมีหน้าที่ต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายชนะคดีจำเลยทั้งสองโดยขาดนัด โดยต้องยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องสอดมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว มาตรา ๑๙๘ วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้ร้องสอดเสียจากสารบบความ หมายถึงจำหน่ายคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองออกจากสารบบความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาของคดี ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องสอดเข้ามาอีกได้ แต่ต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยฟ้องซ้อนด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้ (๑) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ฯลฯ
ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสอง โดยมิได้จำหน่ายคดีเกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด จึงถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองออกจาก
สารบบความแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา ผู้ร้องสอดย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองได้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดฟังขึ้นบางส่วน ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับคำร้องสอดที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองไว้พิจารณา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น

*มาตรา ๑๗๔ ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ
(๑) ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง
(๒) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว
คำอธิบาย
-ทิ้งฟ้องมิใช่มีแต่โจทก์อย่างเดียว เพราะชั้นอุทธรณ์ฎีกา ผู้อุทธรณ์หรือฎีกาถือเป็นโจทก์อุทธรณ์หรือโจทก์ฎีกาแล้วแต่กรณี ดังนั้นอาจเป็นจำเลยในคดีเดิมก็ได้
-การทิ้งฟ้องตาม ม.๑๗๔(๑) ไม่ต้องมีคำสั่งศาลและไม่ต้องดูว่าโจทก์ทราบคำสั่งหรือไม่ เป็นกรณีที่ กฎหมายบังคับให้เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ฟ้องต้องนำส่งหมายเรียกให้จำเลยแก้คดีเมื่อไม่ทำตามหน้าที่จะเป็นการทิ้งฟ้องโดยอัตโนมัติ
-ในเรื่อง ๓ ประการคือโจทก์ฟ้องปกติ,โจทก์ฟ้องแย้ง(เป็นจำเลยในฟ้องเดิม),ผู้ร้องขัดทรัพย์(โจทก์นำยึด ย่อมเป็นจำเลยในคดีร้องขัดทรัพย์)มีหน้าที่ส่งหมายเรียกให้อีกฝ่ายแก้คดีใน ๗ วัน ไม่ดำเนินการถือว่าทิ้งฟ้องได้ คดีร้องขัดทรัพย์กฎหมายให้นำวิธีพิจารณาคดีแพ่งสามัญมาใช้ คำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง
-ชั้นอุทธรณ์ฎีกา ไม่มีการปฏิบัติตาม ม.๑๗๔(๑) มีแต่การส่งสำเนาคำฟ้องตาม ม.๑๗๓ จึงเป็นการทิ้งฟ้องได้เฉพาะตาม ๑๗๔(๒) เท่านั้น
-การถอนฟ้องเป็นขั้นตอนดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามคำท้า เมื่อโจทก์ไม่ถอนฟ้องในกำหนด ถือว่าเพิกเฉยตาม ม.๑๗๔(๒) ศาลสั่งจำหน่ายตาม ม.๑๓๒ ซึ่งยังฟ้องใหม่ในอายความตาม ม.๑๗๖ ได้
-ฎ.๓๔๔๓/๔๕ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๔(๒) ไม่ได้หมายความว่า เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉยจะเป็นกรณีทิ้งฟ้องเสมอไป จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดก็ตาม แม้โจทก์จะเพิกเฉย ก็ไม่ใช่กรณีที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๕ วรรคสอง (๑) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ ๑ เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นไม่อาจสอบถามจำเลยที่ ๑ ได้นั้น ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ เสียได้แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ เพราะมาตรา ๑๗๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติชัดว่าถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลฉะนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๒ ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ ๑ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง
-ฎ.๖๐๘๖/๕๑ (ป.วิแพ่ง ม.๑๗๔,๒๔๖) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา(ปัจจุบันเป็นเรื่องการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล)ให้โจทก์ แต่จำเลยได้วางค่าธรรมเนียมในการส่งหมายโดยมิได้นำส่งเอง จำเลยจึงมีหน้าที่ติดตามผลการส่งหมายว่าส่งได้หรือไม่อย่างไร เมื่อปรากฏว่าส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ และจำเลยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรภายใน ๑๕ วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๔ (๒) ประกอบมาตรา ๒๔๖
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยแล้ว กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีทั้งหมดภายหลังจากนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งหรือมีคำพิพากษาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง จึงเป็นคำสั่งที่ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของศาลอุทธรณ์และไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนั้นได้ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งหากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์คำสั่งไปอย่างไรย่อมทำให้การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาสิ้นสุดลงและศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งกำหนดระยะเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมศาลเพื่อที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปเนื่องจากในขณะที่จำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้น ระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียในตอนนี้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนไปสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและเป็นการไม่ชอบ การที่ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งกรณีขอให้เพิกถอนคำสั่งทิ้งอุทธรณ์คำสั่งและไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง กลับวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทิ้งอุทธรณ์คำสั่งและไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเป็นการชอบแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยที่ข้ามขั้นตอนของกฎหมายและเป็นการไม่ชอบ
-ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาเมื่อ ๒ พ.ย.๒๕๕๑ ข้อ ๓ (มาตราหลัก ม.๑๗๔ มาตรารอง ม.๑๗๕,๑๗๓)
ถาม โจทก์ให้จำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกัน ก่อนถึงกำหนดชำระเงินยืมตามสัญญา จำเลยที่ ๑ ได้ออกเช็คผู้ถือลงวันที่ล่วงหน้า มีจำเลยที่ ๒ ลงชื่อสลักหลังเช็คเป็นอาวัลมอบให้โจทก์เพื่อชำระ
หนี้ตามสัญญากู้ยืม เมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและถึงวันที่ลงในเช็คแล้ว โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและจำเลยที่ ๑ ก็ไม่นำเงินมาชำระตามสัญญากู้ยืม โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้คดี ส่วนจำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วทนายโจทก์แถลงและศาลได้บันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ ๒ ต่อไป และยังประสงค์จะตกลงกับจำเลยที่ ๑ แต่
หากตกลงกันไม่ได้ทนายโจทก์จะติดต่อนัดหมายให้ตัวโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดหน้า มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลเห็นว่าคำแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ ๒
เป็นการถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ จึงได้สอบถามจำเลยที่ ๑ ซึ่งมาศาลในวันดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ ๑ แถลงไม่คัดค้านที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ และให้จำหน่ายเฉพาะ
จำเลยที่ ๒ เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยที่ ๑ ทนายโจทก์แถลงว่าตัวโจทก์พิจารณาข้อเสนอของจำเลยที่ ๑
แล้วไม่อาจตกลงกันได้ จึงไม่ขอมาศาลในวันนี้ ศาลเห็นว่าการที่ตัวโจทก์ไม่มาศาลเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีในเวลาทีกำหนดไว้โดยทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี ต่อมาในวันเดียวกันนั้นโจทก์ได้นำเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวมายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชำระเงินตามเช็คในฐานะจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ออกเช็ค และจำเลยที่ ๒ เป็นผู้อาวัล กับทั้งโจทก์และจำเลยที่ ๒ ต่างอุทธรณ์คำสั่งของศาลในคดีแรก
ให้วินิจฉัยว่า (ก) คำสั่งของศาลในคดีแรกที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ และให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้องชอบหรือไม่
(ข) ศาลจะรับคำฟ้องโจทก์ในคดีหลังไว้พิจารณาได้หรือไม่
ตอบ (ก) สำหรับคำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ นั้น คดีนี้จำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ
และคำแถลงของโจทก์ที่ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ ๒ นั้น ถือว่าโจทก์ประสงค์จะถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ จึง
เป็นกรณีโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ก่อนจำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การ ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๗๕ วรรคหนึ่ง โดยมิต้องฟังจำเลยที่ ๒ ก่อนดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๕ วรรคสอง การที่โจทก์แถลงการณ์ต่อศาลและศาลได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือแล้ว การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ได้นั้นจึงชอบแล้ว (เทียบ ฎ.๓๔๑๑-๓๔๑๒/๒๕๒๖)
ส่วนคำสั่งให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น แม้ทนายโจทก์จะแถลงว่าหากตกลงกันไม่ได้จะให้ตัวโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบในวันนัดสืบพยานจำเลยมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และเมื่อถึงวันนัดดังกล่าวตัวโจทก์จะไม่ได้มาศาลก็ตามแต่ทนายโจทก์ก็มาศาลและได้แถลงให้ศาลทราบถึงเหตุที่ตัวโจทก์ไม่มาศาลเพราะไม่อาจตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่ ๑ ได้จึงไม่ขอมาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้การที่ตัวโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในวันนัดที่แล้ว แต่เมื่อทนายโจทก์ได้แถลงรายละเอียดการเจรจาที่ไม่สามารถตกลงกันได้ให้ศาลทราบแล้ว หากตัวโจทก์มาศาลก็คงแถลงเช่นเดียวกับทนายโจทก์แถลง และเมื่อไม่อาจตกลงกันได้ก็คงต้องสืบพยานจำเลยที่ ๑ ต่อไป ทั้งทนายโจทก์มาศาลแล้วศาลสามารถสืบพยานจำเลยที่ ๑ ต่อไปได้ เช่นนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๗๔(๒) การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจึงไม่ชอบ (เทียบ ฎ.๔๙๖๑/๒๕๔๘)
(ข) คดีแรกโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญากู้ยืม จำเลยที่ ๒ ผิดสัญญาคำประกันเงินยืม ของให้บังคับจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาดังกล่าว ส่วนคดีหลังโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตาม
เช็คพิพาทที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยจำเลยที่ ๑ รับผิดฐานะผู้อกเช็ค จำเลยที่ ๒ รับผิดฐานะผู้อาวัล ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับมูลฟ้อง และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแต่ละคดีแตกต่างกัน จึงไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวกัน แม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันก็ตาม ดังนั้นแม้คดีแรกจะยังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ซึ่งถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น อันจะถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) แต่เมื่อคดีหลังไม่เป็นฟ้องเรื่องเดียวกับคดีแรกแล้ว ศาลจึงชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ในคดีหลังไว้พิจารณา (เทียบ ฎ.๗๗๓๘/๒๕๔๗)

*มาตรา ๑๗๕ ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล
ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่
(๑) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน
(๒) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้อง เนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น
อธิบาย
-ม.๑๗๕ นำไปใช้ในศาลอุทธรณ์ด้วย
-ฎ.๙๐๓/๔๗ การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจ แม้จำเลยคัดค้านแต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
-ตาม (๑) หากศาลไม่อนุญาตศาลไม่จำเป็นต้องฟังจำเลยก่อน
-ฎ.๑๓๖๕/๓๐ คำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง ไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา แต่ถ้าไม่อนุญาตถอนฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณาโจทก์ต้องโต้แย้งตาม ม.๒๒๖ ก่อนจึงจะอุทธรณ์ได้
-ฎ.๑๐๒๐/๔๘ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้ว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใด
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันรับผิดชำระเงินกู้จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้คดีแล้ว ส่วนจำเลยที่ ๒ ยังอยู่ในระหว่างส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอ้างเหตุว่า จำเลยที่ ๒ ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ได้ตกลงชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ว่า ให้โจทก์ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องแก่ทนายจำเลยที่ ๑ ภายใน ๕วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้ทนายจำเลยที่ ๑ ศาลชั้นต้นจึงสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นในกรณีของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๕๕) การจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๔ (๒) ต้องเป็นกรณีโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วและกรณีตามบทบัญญัติดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าเมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้วโจทก์เพิกเฉยจะเป็นกรณีทิ้งฟ้องเสมอไป จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป กรณีตามปัญหา การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ วรรคสอง (๑) บัญญัติว่า ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ ๑ เป็นเหตุให้ศาลไม่อาจสอบถามจำเลยที่ ๑ ได้นั้น ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ เสียได้เท่านั้น จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในกรณีของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่ในกรณีของจำเลยที่ ๒ ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ เพราะมาตรา ๑๗๕วรรคหนึ่งได้บัญญัติว่า ถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล จำเลยที่ ๒ ยังมิได้ยื่นคำให้การ ดังนั้นคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ ๒ ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ ๑ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในกรณีของจำเลยที่ ๒ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน(คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๔๓/๔๕)

*มาตรา ๑๗๖ การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

*มาตรา ๑๗๗ เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา ๕๗ (๓) โดยอนุโลม
อธิบาย
-คำให้การในคดีแพ่งไม่เหมือนคดีอาญาจะปฏิเสธลอยๆไม่ได้ต้องอ้างเหตุและต่อสู้ตามประเด็นในคำฟ้องของโจทก์เพราะหากปฏิเสธโดยไม่มีเหตุจะไม่มีประเด็นต่อสู้และไม่มีประเด็นนำสืบเท่ากับยอมรับตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง
-แต่ถ้าจำเลยไม่ยื่นคำให้การเลยถือว่ารับตามคำฟ้องไม่ได้แต่กฎหมายให้ใช้วิธีการพิจารณาโดยขาดนัด
-ฎ.๓๔๘๐/๓๗ โจทก์ฟ้องให้ชำระเงินกู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้ เอกสารสัญญากู้ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม โจทก์ทำขึ้นเองทั้งฉบับ ถือว่าปฏิเสธโดยชัดแจ้งตาม ม.๑๗๗ ว.๒ แล้ว
*-ฎ.๘๒๘/๕๐ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมกับขอให้บังคับจำนอง จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแต่โจทก์ไม่โอนให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยในกำหนดเวลา โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.๒๕๔๔ ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้แก่จำเลยดังกล่าว
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
-ฎ.๖๙๐๙/๔๓ ศาลสั่งจำหน่ายคดีเพราะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ฟ้องแย้งไม่ตกไปด้วย
-ฎ.๓๑๓๒/๔๙ ฟ้องแย้งตกไปด้วยก็แต่เฉพาะศาลสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
*-ฎ.๔๘๖๑/๔๘ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปในที่ดินมีโฉนดของโจทก์โดยมีเจตนาแย่งการครอบครองที่ดิน ของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ และจำเลยที่ ๑ ได้คัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อสอบเขตที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ดินพิพาทที่ จำเลยทั้งสองบุกรุกดังกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ ๑ ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองกับบริวารและรื้อสิ่งปลูกสร้างและ ขนย้ายของทั้งหมดออกไป จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุก จำเลยที่ ๑ กับสามีได้ซื้อที่ดินมีโฉนด แล้วได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ที่ดินที่ซื้อมานั้นรวมทั้งที่ดินพิพาท โดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ ๑ ซื้อมา จำเลยที่ ๑ กับสามีได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า ๑๐ ปี แล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้คำให้การของจำเลยทั้งสองในตอนแรกจะปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองให้การในตอนต่อมาว่าจำเลยที่ ๑ ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมากับที่ดินที่ซื้อมา เข้าใจว่าเป็นที่ดินที่ซื้อมาจากบุคคลอื่น ซึ่งเป็นคำให้การที่จำเลยที่ ๑ยกข้อต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ ๑ ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของบุคคลอื่น เมื่อคำให้การของจำเลยที่ ๑ มิได้กล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ ๑ มาตั้งแต่ต้น จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ ๑ อ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๑ ที่ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ ๑ได้ มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยที่ ๑ โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งนี้เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและ ชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม และมาตรา ๑๗๙ วรรคสาม
-การฟ้องแย้ง ต้องแย้งโจทก์ แย้งจำเลยด้วยกันไม่ได้ และแย้งแบบมีเงื่อนไขก็ไม่ได้
-นำ ม.๕๕ มาใช้บังคับการฟ้องแย้งด้วย กล่าวคือจำเลยผู้ฟ้องแย้งต้องอ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิด้วย (ต้องมีโจทก์เดิมอยู่ด้วยจึงจะฟ้องแย้งได้)
-ฎ.(ป)๖๒๙/๒๔ จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การตาม ม.๑๗๗ วรรค ๓ หรือฟ้องมาในคำขอแก้ไขคำให้การตาม ม.๑๗๙(๓) ก็ได้

มาตรา ๑๗๘ ถ้าจำเลยฟ้องแย้งรวมมาในคำให้การ ให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งคำให้การถึงโจทก์
บทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้ใช้บังคับแก่คำให้การแก้ฟ้องแย้งนี้โดยอนุโลม

*มาตรา ๑๗๙ โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้
การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(๑) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ
(๒) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือ
(๓) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
อธิบาย
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาซื้อขายข้าว ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบข้าวตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแก่โจทก์ และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ไม่สามารถส่งมอบข้าวแก่ผู้ซื้อสองราย รายละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทรวมเป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ด้วย ในระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวแก่โจทก์โดยให้จำเลยส่งมอบข้าวตามฟ้องให้แก่โจทก์ในระหว่างพิจารณา โจทก์จึงทำสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่ผู้ซื้ออีกหลายราย แต่ต่อมาก่อนจำเลยส่งมอบข้าวให้แก่โจทก์ตามคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งมอบข้าวให้แก่ผู้ซื้อดังกล่าวได้เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอีกเป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งแรก ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มเติมอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยอ้างว่าเป็นมูลหนี้ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับฟ้องเดิมซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ และต่อมาหลังการชี้สองสถานแล้วโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่สอง โดยขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องจากเดิมที่ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยอ้างว่าพิมพ์ผิดพลาด จำเลยยื่นคำคัดค้านคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองครั้งให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องทั้งสองครั้งได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๖๒) การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งแรก ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมขึ้นอีกเป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท นั้น เป็นการกล่าวอ้างมูลคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ดังนั้น แม้มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมจะมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่มูลคดีเกิดขึ้นคนละคราวไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากจะฟังว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมก็เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเดิมแล้ว ถือไม่ได้ว่าคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๙ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๑๖-๕๐๑๗/๕๐) ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่สอง ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจาก ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท นั้น โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องถึงค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวที่โจทก์ต้องชดใช้แก่ผู้ซื้อสองรายรายละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ไว้แล้ว โดยมิได้บรรยายคำฟ้องว่าประสงค์เรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวเพียงรายการเดียว ตามพฤติการณ์จึงเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนาขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายทั้งสองรายรวม ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท มาตั้งแต่ต้นแล้ว หากแต่มีการพิมพ์คำขอบังคับท้ายคำฟ้องผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลงเล็กน้อย โจทก์ย่อมขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้ แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๐ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๘/๐๘ และ ๘๒๑/๔๐)
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ทำสัญญาค้ำประกัน ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ อย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ๒ งวดติดต่อกัน โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ ๑ ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ ๑ ออกจากสารบบความ จำเลยที่ ๒ ให้การว่า ในระหว่างจำเลยที่ ๑ มีชีวิตอยู่ได้ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามนัดครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และโจทก์มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ทายาทของจำเลยที่ ๑ ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งบังคับโจทก์จดทะเบียนใส่ชื่อเด็กชายมานพทายาทของจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ ส่วนจำเลยที่ ๓ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ ๓ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ ๓ ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งให้โจทก์ส่งมอบสัญญาค้ำประกันปลอมดังกล่าวแก่จำเลยที่ ๓ เพื่อนำไปทำลายต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ชอบหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๖๑) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ตามสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ ๒ ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ ๑ ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่า โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ ๑ หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ ๒ ไม่ จำเลยที่ ๒ ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับฟ้องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม และ ๑๗๙ วรรคสาม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๓๒/๔๙) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๒ ไว้พิจารณาจึงไม่ชอบ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๓ นั้น ข้อที่จำเลยที่ ๓ ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ ๓ ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ ๓ สัญญาค้ำประกันจึงเป็นเอกสารปลอมนั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ ๓ อ้าง ก็ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องตามฟ้องของโจทก์ไม่ได้รับการบังคับให้ตามกฎหมาย และศาลย่อมนำมาเป็นเหตุยกฟ้องได้อยู่แล้วจำเลยที่ ๓ หาจำต้องฟ้องแย้งให้โจทก์ส่งมอบสัญญาค้ำประกันปลอมแก่จำเลยที่ ๓ เพื่อนำไปทำลายแต่ประการใดไม่ ทั้งคำขอตามฟ้องแย้งดังกล่าวศาลก็ไม่อาจบังคับให้ได้ เพราะหากสัญญาค้ำประกันตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม ก็เท่ากับการค้ำประกันรายนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจนำมาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยที่ ๓ ได้ จึงถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๓ ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์พอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม และ ๑๗๙ วรรคสาม (คำพิพากษาฎีกาที่๖๒๕/๔๘) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ ๓ ไว้พิจารณาจึงไม่ชอบเช่นกัน
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้นำรถยนต์ของโจทก์ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ ๒ กระทำโดยทุจริตรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยเกินไปกว่าจำนวนที่ต้องชำระจริง จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยส่วนที่โจทก์ได้ชำระเกินไปกว่าจำนวนที่ต้องชำระจริง จำเลยที่ ๑ ให้การว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ทำสัญญาประกันภัยจริง แต่ปฏิเสธว่าจำเลยที่ ๑ ไม่มีส่วนกระทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกิน ๑ ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่จำต้องชี้สองสถานจึงสั่งให้งดชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ หลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ ๑ ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ตามฟ้องในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ ๒ เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ดังกล่าวให้เป็นของนายเก่งแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรถยนต์ดังกล่าว อีกทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยเพราะเงินค่าเบี้ยประกันภัยเป็นทรัพย์ของนายเก่ง ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นสอบโจทก์โจทก์คัดค้านว่า จำเลยที่ ๑ ขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่มีการสืบพยานโจทก์แล้ว อีกทั้งเป็นการแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นเข้ามาใหม่ ไม่เกี่ยวกับคำให้การหรือข้ออ้างเดิมของจำเลย ขอให้ยกคำร้องให้วินิจฉัยว่า คำคัดค้านของโจทก์ฟังขึ้นหรือไม่ และศาลจะสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ ๑อย่างไร
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๓ สมัย ๕๗) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๙ มิได้บัญญัติว่าข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจำเลยนั้นจะต้องเกี่ยวกับคำให้การหรือข้ออ้างเดิมของจำเลย คงห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น แม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยจะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้ตามมาตรา ๑๗๙ (๓) เมื่อจำเลยที่ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ ๑ มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๐ ดังนั้น ข้อคัดค้านของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้นการที่จำเลยที่ ๑ เคยยื่นคำให้การว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ทำสัญญาประกันภัย แต่ต่อมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การมีข้อความว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ดังกล่าวในขณะทำสัญญาประกันภัย โจทก์ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในรถยนต์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้ยกเลิกคำให้การเดิมเท่ากับจำเลยที่ ๑ ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ที่เอาประกันภัย ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ ๑ จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๗๗ วรรคสอง ทำให้ไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ศาลจึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องดังกล่าวได้ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ ๑(คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๓๖/๔๕)

*มาตรา ๑๘๐ การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
อธิบาย
- ดู ม.๑๗๙ วรรคสามประกอบ”แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ “
-มาตรานี้ใช้คำว่าก่อนวันชี้สองสถาน ไม่ใช่คำว่าก่อนการชี้สองสถาน ดังนั้นวันเดียวกันไม่ได้
-ฎ.๖๑๐๗/๓๘ แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องใบมอบอำนาจของคนเสมือนไร้ความสามารถ ทำให้ฟ้องเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่ต้น
-ฎ.๑๘๘๔/๙๗ ขอแก้ว่าผู้รับบุตรบุญธรรมอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี จะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่ได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
-จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฯ
-ฎ.๒๖๐๑/๒๖ ถ้าศาลไม่ได้สั่งแต่ได้สืบพยานไปจนเสร็จ ถือว่าใช้ฟ้องเดิม จะถือว่าศาลสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยปริยายไม่ได้
-ฎ.๔๘๓๕/๔๕ การที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ม.๒๒๖
-ไม่อนุญาตเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ม.๑๘ อุทธรณ์ได้ทันที และเป็นเรื่องดุลพินิจศาลการโต้แย้งดุลพินิจศาลเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง
-ฎ.๗๑๑๕/๕๒ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์แล้วนัดฟังคำพิพากษา จึงไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน จำเลยที่ ๓ ย่อมจะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนอกจากที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ ๓ แก้ไขคำให้การได้แล้วจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘๐
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ต่อมาหลังวันชี้สองสถาน ๑ วัน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ผิดหลงพิมพ์ข้อความในคำฟ้องบางส่วนผิดไป ขอแก้ไขคำฟ้องในข้อความที่ว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ คือนางสาวธิดา มิใช่นางสาวสมศรี ส่วนจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลย เนื่องจากขณะที่ทำสัญญาดังกล่าว จำเลยมีอายุเพียง ๑๗ ปี ยังเป็นผู้เยาว์กระทำนิติกรรมโดยมิได้รับความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม ประกอบกับจำเลยซึ่งต่อมาบรรลุนิติภาวะได้บอกล้าง
โมฆียะกรรมแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะสั่งอนุญาตให้โจทก์และจำเลยแก้ไขคำฟ้องและคำให้การดังกล่าวได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯข้อ ๓ สมัย ๖๐) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๐ บัญญัติให้โจทก์หรือจำเลยที่ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อศาล โดยมิได้ยื่นก่อนวันชี้สองสถาน แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติ แต่ที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า ผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ คือนางสาวธิดา มิใช่นางสาวสมศรี เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริง เพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไปเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงแก้ไขได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๐ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๙๙/๔๕) ศาลชอบที่จะสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ส่วนที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลย เนื่องจากขณะทำสัญญาดังกล่าวจำเลยมีอายุเพียง ๑๗ ปี ยังเป็นผู้เยาว์กระทำนิติกรรมโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม ดังนั้น คำร้องที่ขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่จำเลยหยิบยกเรื่องความเป็นโมฆียะกรรมของสัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องขึ้นโต้เถียงโจทก์ ซึ่งการกล่าวอ้างว่านิติกรรมที่ทำเป็นโมฆียะโดยจะบอกล้างหรือไม่ก็ตาม มิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยขอแก้ไขคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายดังกล่าวได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๗๔/๔๙) ทั้งมิใช่กรณีที่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันนั้นหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแก้ไข ศาลชอบที่จะยกคำร้องของจำเลย

มาตรา ๑๘๑ เว้นแต่ในกรณีที่คำร้องนั้นอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว
(๑) ห้ามไม่ให้มีคำสั่งยอมรับการแก้ไข เว้นแต่จะได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้น
(๒) ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความได้แก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้อหาหรือข้อต่อสู้ใหม่ หรือข้ออ้าง หรือข้อเถียงใหม่ที่กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขนั้น

มาตรา ๑๘๒ เมื่อได้ยื่นคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้งถ้าหากมีแล้วให้ศาลทำการ
ชี้สองสถานโดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) จำเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ
(๒) คำให้การของจำเลยเป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น
(๓) คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ซึ่งศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการชี้สองสถาน
(๔) ศาลเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน
(๕) คดีมโนสาเร่ตามมาตรา ๑๘๙ หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากตามมาตรา ๑๙๖
(๖) คดีที่ศาลเห็นว่ามีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากหรือไม่จำเป็นที่จะต้องชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่ต้องมีการชี้สองสถาน ให้ศาลมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและกำหนดวันสืบพยาน ถ้าหากมี แล้วให้ส่งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทราบตามมาตรา ๑๘๔ เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดจะได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว
คู่ความอาจตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทโดยยื่นคำแถลงร่วมกันต่อศาลในกรณีเช่นว่านี้ ให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามนั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่าคำแถลงนั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำแถลงนั้น แล้วดำเนินการชี้สองสถานไปตามมาตรา ๑๘๓

มาตรา ๑๘๓ ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความ แล้วนำข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คำคู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท และกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้
ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบคำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียง และพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ในขณะนั้น
คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้อง โดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยานคำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๒๒๖

มาตรา ๑๘๓ ทวิ ในกรณีที่คู่ความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว
คู่ความที่ไม่มาศาลนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้อง เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันชี้สองสถาน เพราะเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ หรือเป็นการคัดค้านในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๘๔ ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลกำหนดวันสืบพยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันสืบพยานส่งให้แก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน

มาตรา ๑๘๕ ในวันนัดสืบพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ศาลจะอ่านให้คู่ความฟังซึ่งคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมีหรือรายงานพิสดารแห่งการชี้สองสถาน แล้วแต่กรณี และคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม (ที่ได้ยื่นต่อศาลและส่งไปให้แก่คู่ความแล้วโดยชอบ) ก็ได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติสามมาตราต่อไปนี้ ให้ศาลสืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาทตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานหลักฐาน และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของคู่ความทั้งปวง

มาตรา ๑๘๖ เมื่อสืบพยานเสร็จแล้วให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แถลงการณ์ด้วยวาจาก่อน แล้วจึงให้จำเลยแถลงการณ์ด้วยวาจาทบทวนข้อเถียง แสดงผลแห่งพยานหลักฐานในประเด็นที่พิพาท ต่อจากนี้ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แถลงตอบจำเลยได้อีกครั้งหนึ่งนอกจากนี้ห้ามไม่ให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยวาจาอย่างใดอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ก่อนพิพากษาคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะได้แถลงการณ์ด้วยวาจาแล้วหรือไม่คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำแถลงการณ์เป็นหนังสือต่อศาลก็ได้ แต่ต้องส่งสำเนานั้น ๆ ไปยังคู่ความอื่น ๆ

มาตรา ๑๘๗ เมื่อได้สืบพยานตามที่จำเป็นและคู่ความได้แถลงการณ์ ถ้าหากมีเสร็จแล้ว ให้ถือว่าการพิจารณาเป็นอันสิ้นสุด แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำพิพากษาศาลอาจทำการพิจารณาต่อไปอีกได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

มาตรา ๑๘๘ ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(๑) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
(๒) ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็น และวินิจฉัยชี้ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(๓) ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดยวิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะในสองกรณีต่อไปนี้
(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง
(๔) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท แต่ในคดีที่ยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้คำอนุญาตที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสียหรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ผู้ไร้ความสามารถนั้น ให้ถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความสามารถนั้นจะได้มาศาล และแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาต หรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น
อธิบาย
-ฎ.๗๐๙๒/๕๒ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘๘(๔) ที่ว่าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความ มิได้หมายความว่า ถ้าใครมาคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด แต่คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัท ก. คืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้กับบริษัทดังกล่าวแทนบรรดาผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่า มีเหตุสมควรที่จะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวคืนเข้าสู่ทะเบียนหรือไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิการเช่าอาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวเท่านั้น หาได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีไม่ จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาในคดี ที่ศาลชั้นต้นรับคำคัดค้านไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้าน

ลักษณะ ๒
วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด ๑
วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่

*มาตรา ๑๘๙ คดีมโนสาเร่ คือ
(๑) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่เกินสามแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๒) คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
อธิบาย
-คดีมโนสาเร่ตาม (๑)และ(๒) อาจเกิดขึ้นในคดีเดียวกันได้
-ตาม (๑) ต้องไม่มีคำขอที่ไม่มีทุนทรัพย์ปะปนมาด้วย จึงจะเป็นมโนสาเร่
-ตาม (๒) ถ้าจำเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์(ต่อสู้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้น ต่อสู้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์บุคคลภายนอกไม่เข้ากรณีนี้) ไม่ต้องคำนึงถึงการเช่า เพราะจะกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไปทันที ดังนั้นต้องดูที่ราคาทรัพย์ว่าเป็นมโนสาเร่หรือไม่
-ข้อสังเกตคดีมโนสาเร่
(๑) คดีมีทุนทรัพย์ที่สามารถฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ ได้แก่
๑. คดีฟ้องขอให้ส่งมอบทรัพย์กลับคืนมาเป็นของโจทก์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์พิพาท เช่น ฟ้องให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ ต้องตีราคาที่ดิน ถ้ามีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ก็เป็นคดีมโนสาเร่
๒. ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ มีผลให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ ถ้าที่ดินมีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท เป็นคดีมโนสาเร่ ( เทียบเคียงจาก ฎ.๒๑๐๘/๒๕๑๗ )
๓. ฟ้องบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดิน ถ้าที่ดินที่จะโอนมีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ก็เป็นคดีมโนสาเร่ ( ฎ.๗๖๖๑/๒๕๓๘ และ คร.(ป) ๔๒๑/๒๕๐๑ )
๔. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งมีผลทำให้ทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของโจทก์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องให้กลับคืนมาเป็นของโจทก์ (เทียบเคียงกับแนวคำพิพากษาฎีกาในเรื่องทุนทรัพย์ในคดีต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๑/๒๕๓๖ และ ๗๐๗๙/๒๕๔๐ เป็นต้น )
๕. คดีฟ้องบังคับให้คืนที่ดินโดยอ้างว่าได้ไถ่ขายฝากในกำหนดแล้ว มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายฝากกลับมาเป็นของโจทก์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่ขายฝาก เช่น โจทก์ขายฝากที่ดินไว้กับจำเลย โจทก์ขอไถ่ในกำหนดแต่จำเลยไม่ยอมรับไถ่ จึงมาฟ้องต่อศาลให้บังคับจำเลยรับไถ่ ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินที่ขายฝาก ( เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๒๐/๒๕๔๐ )
๖. ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกโดยอ้างว่าพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ หรือฟ้องทำลายพินัยกรรม มีผลทำให้ทรัพย์มรดกตกมาเป็นทรัพย์มรดก ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าวในฐานะทายาทโดยธรรม เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่เรียกร้อง ถ้าทรัพย์ดังกล่าวมีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ก็เป็นคดีมโนสาเร่
(๒) คดีที่ไม่เป็นคดีมโนสาเร่ ได้แก่
๑. คดีที่มีคำขอบังคับให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ฟ้องให้ส่งมอบโฉนดที่ดินคืน ฟ้องให้รื้อถอนกำแพงที่ก่อสร้างรุกล้ำ ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยประกอบกิจการโรงงานงดส่งเสียงดัง ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้เดือดร้อนรำคาญตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๓๗ ( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๕๓/๒๕๒๐ ) หรือฟ้องห้ามใช้เครื่องหมายการค้า ห้ามใช้ชื่อประกอบการค้า ( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๗/๒๕๓๐ )
๒. คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่มีคำขอให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการรวมอยู่ด้วย เช่น ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดที่ส่งเสียงดังรบกวนเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และมี
คำขอให้งดเว้นกระทำการส่งเสียงดัง หรือ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะขาดประโยชน์จากการที่ไม่สามารถใช้ที่ดินในส่วนที่ถูกจำเลยบุกรุกได้คิดเป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท และมีคำขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินดังกล่าว ไม่เป็นคดีมโนสาเร่เพราะเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย
๓. คดีฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๓๗ ซึ่งมีผลให้ทรัพย์กลับคืนมาเป็นของลูกหนี้อย่างเดิม ไม่ได้ตกมาเป็นของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกตัวทรัพย์มาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ (ฎ.ป.๙๑๒๙/๒๕๐๘ และ ๒๘๕๕/๒๕๒๖ )
๔. คดีฟ้องบังคับให้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามสัญญาต่างตอบแทน หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ก็ขอให้คืนเงินที่โจทก์จ่ายล่วงหน้าไป เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เพราะคำขอหลักเป็นเรื่องบังคับให้กระทำการ คือ ให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้แล้วจึงจะมาพิจารณาคำขอให้คืนเงินที่โจทก์จ่ายไว้ล่วงหน้า คำขอให้คืนเงินจึงเป็นคำขอรอง ต้องถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามคำขอหลัก
(๓) คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
๑. ฟ้องขับไล่ผู้เช่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ ปกติการเช่าทรัพย์จะมีค่าเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญา แต่มีบางกรณีมีการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าหรือเงินกินเปล่าเพื่อให้ได้อยู่ในอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลานานๆ ค่าเช่าล่วงหน้านี้สามารถนำมาเฉลี่ยได้ว่าเป็นค่าเช่าเดือนละเท่าไร ( ฎ.๓๙๕๔/๒๕๓๓ และ ๓๘๓๐/๒๕๔๐ )
๒. ฟ้องขับไล่ผู้อาศัย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นเรื่องให้อาศัย
๓. ฟ้องผู้ที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยละเมิด เป็นการเข้ามาอยู่ในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีนิติสัมพันธ์
-ฎ.๕๑๐๐/๔๕ โจทก์ฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงซึ่งคดีอยู่ในเขตอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๖ วรรคสี่ได้

มาตรา ๑๙๐ จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้น ให้คำนวณดังนี้
(๑) จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้นให้คำนวณตามคำเรียกร้องของโจทก์ ส่วนดอกผลอันมิถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำฟ้องหรือค่าธรรมเนียมศาลซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์รวมอยู่ในคำเรียกร้อง ห้ามไม่ให้คำนวณรวมเข้าด้วย
(๒) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีข้อโต้แย้ง จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้น ให้ศาลกะประมาณตามที่เป็นอยู่ในเวลายื่นฟ้องคดี
(๓) คดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่มีข้อหาหลายข้อ อันมีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาไม่เกินสามแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้รวมจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน แต่ถ้าข้อหาเหล่านั้นจะต้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยหลายคน ถึงแม้ว่าถ้ารวมความรับผิดของจำเลยหลายคนนั้นเข้าด้วยกันแล้วจะไม่เป็นคดีมโนสาเร่ก็ตาม ให้ถือเอาจำนวนที่เรียกร้องเอาจากจำเลยคนหนึ่ง ๆ นั้น เป็นประมาณแก่การที่จะถือว่าคดีนั้นเป็นคดีมโนสาเร่หรือไม่

มาตรา ๑๙๐ ทวิ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้
อธิบาย
-ฎ.๒๔๔๔/๔๒ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การไม่มีบัญญัติไว้ ต้องนำ ม.๑๘๐ มาใช้คือยื่นก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน

มาตรา ๑๙๐ ตรี ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นได้ เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

มาตรา ๑๙๐ จัตวา ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตางราง ๑ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ แต่ค่าขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งพันบาท
ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียตามจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี

มาตรา ๑๙๑ วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่นั้น โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาลก็ได้
ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
ถ้าโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหาเหล่านั้นไว้อ่านให้โจทก์ฟัง แล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

มาตรา ๑๙๒ เมื่อศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ถ้าคดีนั้นได้ฟ้องโดยคำแถลงด้วยวาจา ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออย่างคดีสามัญ แต่ถ้าคดีนั้นได้ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออยู่แล้ว ห้ามมิให้ศาลออกหมายเรียกอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้สำหรับคดีสามัญ
ถ้าคดีนั้นไม่เป็นคดีมโนสาเร่ต่อไป เนื่องจากได้มีคำฟ้องเพิ่มเติมยื่นเข้ามาภายหลังและศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปอย่างคดีสามัญ
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว ถ้าศาลไม่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญ ให้ศาลมีคำสั่งคืนคำฟ้องนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ในกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดีมโนสาเร่และฟ้องแย้งนั้นมิใช่คดีมโนสาเร่หรือในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีสามัญรวมกับคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีมโนสาเร่ไปอย่างคดีสามัญ แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ลักษณะคดี สถานะของคู่ความหรือเหตุสมควรประการอื่นแล้วเห็นว่า การนำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่คดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญเช่นว่านั้นจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ก็ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญนั้นอย่างคดีมโนสาเร่ได้
คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลตามวรรคสี่ ไม่กระทบถึงค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละฝ่ายต้องชำระอยู่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเช่นว่านั้น

*มาตรา ๑๙๓ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้องและข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้นก่อน
ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การให้ศาลสอบถามคำให้การของจำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำมาตรา ๑๙๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุการณ์นั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟังแล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ โดยถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน ก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ

มาตรา ๑๙๓ ทวิ ในคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา ๑๙๓ แล้ว ไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา ๑๙๓ แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนหรือในวันนัดดังกล่าวให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและให้บังคับตามมาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ มาตรา ๒๐๖ ละมาตรา ๒๐๗ และไม่ว่าจะเป็นกรณีใดถ้าศาลมีคำสั่งให้สืบพยานก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ มาตรา ๑๙๓ ตรี เมื่อศาลได้รับคำให้การของจำเลยตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสาม หรือศาลมีคำสั่งให้สืบพยานตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสี่ หรือมาตรา ๑๙๓ ทวิวรรคสองให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยเร็ว และให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วบันทึกไว้ หรือสั่งให้คู่ความจัดทำบัญชีระบุพยานต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควร โดยในกรณีที่มิใช่การพิจารณาคดีฝ่ายเดียวศาลจะกำหนดให้คู่ความคนใดนำพยานหลักฐานมาสืบก่อนหลังก็ได้
อธิบาย
-ศาลสั่งจำหน่ายคดีตาม ม.๑๙๓ ทวิ โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ได้ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นเนื้อหาแห่งคดี ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำด้วย
-ฎ.๕๒๐๔/๔๘ โจทก์ขาดนัดพิจารณา จำเลยประสงค์ให้พิจารณาชี้ขาดฝ่ายเดียวตาม ม.๒๐๒ ไม่ได้ ศาลได้แต่จำหน่ายตาม ๑๙๓ ทวิวรรคหนึ่งแต่ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณาก็ถือว่าขาดนัดจึงนำ ม.๒๐๔ มาใช้ ซึ่งหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การก็ถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การด้วยไม่เหมือนคดีสามัญหากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่ถือว่าเป็นผู้ขาดนัดพิจารณาแล้ว

มาตรา ๑๙๓ จัตวา ในคดีมโนสาเร่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเองให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้วจึงให้ตัวความหรือทนายความซักถามเพิ่มเติมได้
ให้ศาลมีอำนาจซักถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม
ในการบันทึกคำเบิกความของพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร จะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้

มาตรา ๑๙๓ เบญจ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเลื่อน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนได้ครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน

มาตรา ๑๙๔ คดีมโนสาเร่นั้น ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือคำพิพากษาด้วยวาจาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๑

มาตรา ๑๙๕ นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยโดยอนุโลม

**มาตรา ๑๙๖ ในคดีสามัญซึ่งโจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธ หรือตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าคดีตามวรรคหนึ่งนั้น ปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตรา ๑๙๐ จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้
ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้ ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิม แล้วดำเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อบังคับแห่งคดีสามัญได้

หมวด ๒
การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่ ๑
การขาดนัดยื่นคำให้การ

*มาตรา ๑๙๗ เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
อธิบาย
-คำว่าจำเลย ในที่นี้หมายถึง จำเลยเดิมที่ถูกฟ้อง จำเลยร่วมที่ถูกหมายเรียกเข้ามาในคดีตามมาตรา ๕๗(๓) โจทก์ที่ถูกฟ้องแย้ง โจทก์และจำเลยในกรณีมีผู้ร้องสอดตามมาตรา ๕๗(๑) (ฎ. ๕๗๑๖/๓๙) และโจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ บุคคลเหล่านี้มีฐานะเป็นจำเลยในคดี จึงต้องยื่นคำให้การแก้คดีด้วย
-คำว่า ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย คือ ระยะเวลาที่จำเลยต้องให้การแก้ฟ้องโจทก์ตามมาตรา ๑๗๗ วรรคหนึ่ง คือ ๑๕ วันนับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือโจทก์ต้องให้การแก้ฟ้องแย้งตามมาตรา ๑๗๘ วรรคหนึ่ง คือ ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำให้การ ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่มีกฎหมายกำหนดไว้ ส่วนคำว่า ระยะเวลาตามคำสั่งศาล คือ ระยะเวลายื่นคำให้การตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ในกรณีที่จำเลยร่วมถูกเรียกเข้ามาในคดีตามมาตรา ๕๗(๓) จำเลยร่วมมีสิทธิเสมือนว่าตนได้ถูกฟ้องคดีใหม่ จำเลยร่วมมีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ แต่กรณีนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้ว่าจะต้องให้การในกี่วัน ศาลจึงต้องกำหนดเวลาให้ เช่น กำหนดให้จำเลยร่วมให้การแก้คดีใน ๑๕ วัน หรือในคดีร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องขัดทรัพย์จะมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์จะมีฐานะเป็นจำเลย แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าโจทก์จะต้องให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ในกี่วัน ศาลจึงต้องกำหนดเวลาให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ เช่น ให้โจทก์ให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์
-การขัดนัดยื่นคำให้การจะมีผลทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
-ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ คือ ประเด็นแห่งคดีจะมีเฉพาะประเด็นประเด็นตามคำฟ้องเท่านั้น ไม่มีประเด็นตามคำให้การ ดังนั้น จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามมาตรา ๒๔ ไม่ได้ เช่น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน ๑ ปี นับแต่วันเกิดเหตุละเมิด ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. ม.๒๔ ศาลสอบถามโจทก์ โจทก์แถลงรับว่าโจทก์ฟ้องเกิน ๑ ปี นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดจริง ศาลจึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เช่นนี้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะแม้ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็จริง แต่ไม่ใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้าจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การแล้ว ศาลไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จึงมีประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น จำเลยก็ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้ การที่ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ม.๑๔๒
-ฎ.๕๑๙/๒๐,๒๒๕๖/๒๑ การอุทธรณ์ ฎีกาเกี่ยวกับคดีที่พิจารณาโดยขาดนัดก็อยู่ในบังคับของ มาตรา ๒๒๔,๒๔๘ ด้วย

**มาตรา ๑๙๘ ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้โจทก์มีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
ถ้าโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไปตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่ทราบหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้มีการส่งหมายเรียกใหม่ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนและจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้จำเลยได้ทราบหมายเรียกนั้นก็ได้
อธิบาย
-คำว่า โจทก์ ตามมาตรา ม.๑๙๘ วรรคหนึ่ง ได้แก่ โจทก์ผู้ยื่นฟ้องคดี จำเลยที่ใช้สิทธิฟ้องแย้ง และผู้ร้องขัดทรัพย์ในคดีร้องขัดทรัพย์
-กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องยื่นคำขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีเพราะขาดนัด ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายใน ๑๕ วันนับแต่ระยะเวลาที่ให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลง ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี แม้ว่าศาลจะนัดสืบพยานไว้แล้ว หรือศาลนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การตาม ม.๑๙๙ วรรคหนึ่ง ก็ตาม โจทก์ก็ยังไม่หมดหน้าที่ที่จะต้องร้องขอต่อศาล ถ้าไม่ขอศาลก็จะมีคำสั่งจำหน่ายคดี
-ตัวอย่างคำถาม (เคยออกเป็นข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา) ถามว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว ครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๖ จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๖ จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้อง ครั้นวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๖ โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีจำเลยที่ ๒ โดยขาดนัด หลังจากนั้นจำเลยที่ ๒ มาศาลและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีโดยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองแล้วไม่อนุญาตให้จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การ แต่อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ ๒ ไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดอีก และโจทก์ก็ไม่ได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยที่ ๒ ขาดนัดอีก ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองเสียจากสารบบความ ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
-แนวคิดในการตอบ คำถามนี้มีตัวละคร ๒ ตัว การตอบต้องแยกตอบเป็นรายคนไป สำหรับจำเลยที่ ๑ นั้นเป็นไปตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๒๐/๒๕๓๐ คือ เป็นจำเลยที่ ๑ ขออนุญาตในระหว่างนั้น ศาลนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจงใจหรือไม่จงใจ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอต่อศาลให้พิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ในระหว่างนั้นศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรกับฝ่ายจำเลย ก็เป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยที่ ๑ ไม่เกี่ยวกับโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์มายื่นวันที่ ๑๘ มีนาคม ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีสำหรับจำเลยที่ ๒ โดยขาดนัดเท่านั้น สำหรับจำเลยที่ ๑ ยังได้ได้ยื่นคำขอเลย
ธงคำตอบ สำหรับจำเลยที่ ๑ การที่จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยที่ ๑ เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอต่อศาลตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ ๑ เสียจากสารบบความ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๒๐/๓๐ )
สำหรับจำเลยที่ ๒ แม้โจทก์จะเคยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดสำหรับจำเลยที่ ๒ ตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การ ศาลก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นับแต่เวลาที่จำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง ดังนั้น คำขอของโจทก์ที่ยื่นไว้ก่อนนั้นก็ย่อมเป็นอันถูกเพิกถอนไป เมื่อครบกำหนดที่ศาลอนุญาตจำเลยที่ ๒ ไม่ยื่นคำให้การอีก โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องมายื่นคำขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีจำเลยที่ ๒ โดยขาดนัดอีก เมื่อโจทก์ไม่ยื่นก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ ๒ จากสารบบความได้(คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๓๘/๒๘ )
ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองเสียจากสารบบความจึงชอบด้วยกฎหมาย
-ฎ.๙๑๑/๔๘ รายงานกระบวนพิจารณาเป็นเอกสารที่ศาลจดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา ๔๘ ส่วนคำให้การเป็นคำคู่ความซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งใน ป.วิ.พ. มาตรา ๖๗ ว่าให้คู่ความทำเป็นหนังสือโดยใช้แบบพิมพ์ของศาลและมีรายการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้บันทึกคำแถลงของจำเลยที่ ๔ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ถือไม่ได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวเป็นคำให้การของจำเลยที่ ๔ เมื่อจำเลยที่ ๔ มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยที่ ๔ ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน ๑๕ วันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ ๔ ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง และศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๔ ออกจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๘ วรรคสอง
-แม้ตัวบทจะบัญญัติเหมือนกับเป็นบทบังคับให้ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดี แต่ตามแนวคำพิพากษาฎีกาวางหลักว่า การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นว่าเหมาะสมและยุติธรรม โดยพิจารณาจากความใส่ใจที่จะดำเนินคดีของโจทก์ ถ้าโจทก์ติดตามคดีไม่ทอดทิ้งคดี ศาลอาจจะไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ได้ แม้จะพ้นกำหนดเวลา ๑๕ วัน แล้วก็ตาม ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดี และไม่มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ละทิ้งไม่สนใจคดี เมื่อโจทก์ก็มีคำขอศาลก็จะดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๗๑๓/๔๑ , ๔๙๘ - ๔๙๙/๐๙ และ ๕๔๖๒/๓๖)
-ตัวอย่างคำถาม (เคยออกเป็นข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา) จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่โจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำขอต่อศาลให้พิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ถึงวันนัดโจทก์ก็ยังไม่ได้ยื่นคำขอต่อศาล ศาลสืบพยานโจทก์นัดแรกไปแล้ว ให้เลื่อนไปสืบพยานต่อในนัดที่ ๒ และศาลตรวจพบว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันสืบพยานนัดแรกที่ผ่านมา แล้วสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการสืบพยานในนัดแรกและให้จำหน่ายคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดเวลา ๑๕ วัน นับแต่กำหนดเวลาที่ให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง ในมาตรา ๑๙๘ วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีจาก
สารบบความนั้นเป็นกรณีที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์ไม่ให้โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของศาล (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๘, ๔๙๙/๐๙ และ ๑๔๖๔/๙๕ ) คดีนี้โจทก์ได้มาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลทุกครั้ง ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกโจทก์นำพยานมาสืบจนหมดพยานที่เตรียมมา และนำพยานมาสืบในนัดที่ ๒ แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปโดยไม่ละเลยหรือทอดทิ้งคดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งจำหน่ายคดี การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาคือสืบพยานนัดแรกและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๖๕/๓๓)
-ฎ.๕๔๖๒/๓๖,๑๐๖๕/๓๓ ตราบใดที่ศาลยังไม่จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ไม่มีพฤติการณ์ที่ศาลเห็นว่าโจทก์เจตนาทิ้งฟ้อง ศาลให้ดำเนินคดีต่อไปได้
-ถ้าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง จนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามมาตรา ๑๙๘ วรรคสอง แล้ว โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวของศาลชั้นต้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ ไม่ได้ เพราะการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีเป็นการสั่งตามที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นการสั่งโดยชอบ ไม่ใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทางแก้ของโจทก์ก็คือ โจทก์ต้องอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่ได้ทอดทิ้งหรือละเลยคดี ศาลชั้นต้นยังไม่สมควรสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิจารณาว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเหมาะสมหรือไม่ ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่า ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทอดทิ้งคดี ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะพิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

**มาตรา ๑๙๘ ทวิ ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
(๑) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน
(๒) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น
ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรานี้ มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์
อธิบาย
-กรณีไม่เกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว ได้แก่ผิดสัญญาหมั้น,ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูตามท้ายสัญญาที่ทำไว้,ฟ้องบังคับให้ชำระเงินตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า,การแบ่งทรัพย์มรดก (แต่กรณีฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู,ค่าทดแทนหรือค่าเลี้ยงชีพ เป็นเรื่องสิทธิในครอบครัว)
-กรณีไม่เป็นข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่การครอบครองภาระจำยอม,การอาศัยสิทธิเหนือพื้นดิน,สิทธิเก็บกิน,ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ,ฟ้องขับไล่ผู้เช่าผู้อาศัยโดยโต้เถียงการครอบครองไม่ได้โต้เถียงกรรมสิทธิ์,ฟ้องบังคับจำนอง,ฟ้องเรียกโฉนดคืนจากผู้ไม่มีอำนาจยึดถือ เป็นต้น
-สังเกตคดีใน ๓ ประเภทที่จะต้องมีการสืบพยานหลักฐานไปฝ่ายเดียวให้ชัดเจนตาม ม.๑๙๘ ทวิวรรค ๒ ซึ่งแตกต่างกับ ม.๒๒๔ วรรค ๒ คดี ๓ ประเภทไม่อยู่ในบังคับต้องห้ามอุทธรณ์ ๑๙๘ ทวิ คือ (๑)สิทธิสภาพบุคคล(๒)สิทธิในครอบครัวและ(๓)ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ส่วน ม.๒๒๔ คือ (๑)สิทธิสภาพบุคคล (๒)สิทธิในครอบครัวและ(๓)ไม่ใช่คดีไม่มีข้อพิพาท
-ฎ.๑๕๑๓๙/๕๑ โจทก์บรรยายฟ้องโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ. ขับและถูกจำเลยกระทำละเมิด โดยโจทก์ได้จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ไปเป็นเงิน ๔๑,๕๒๖.๙๗ บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้ทำละเมิด เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสาม กำหนดหลักเกณฑ์ให้ศาลปฏิบัติในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ดังนี้ (๑) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน และ (๒) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ๔๑,๕๒๖.๙๗ บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นการอ้างเหตุว่าโจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกจำเลยกระทำละเมิด อันเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องมาจากเรื่องละเมิดและเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้โดยแน่นอน ตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสาม (๒) ซึ่งบัญญัติให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสาม (๑) ที่ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๘ ว่าเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน อนุญาตให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสาม (๒) เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ก็ตาม ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ ประกอบมาตรา ๒๔๓ (๒), ๒๔๗
-ตัวอย่างคำถามและแนวตอบ ตาม ม.๑๙๘ ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายสร้อยเพชรราคา ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบสร้อยเพชรให้แก่โจทก์ตามกำหนด ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบสร้อยเพชรแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง ศาลต้องพิจารณาคดีต่อไปตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เว้นแต่ศาลได้พิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นว่าฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทำสัญญาขายสร้อยเพชรแก่โจทก์ราคา ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์ได้ชำระราคาแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว อันเป็นการชำระหนี้ในส่วนของโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบสร้อยเพชรดังกล่าวแก่โจทก์ตามกำหนด อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๖๙ แต่จำเลยได้ผิดนัดไม่ส่งมอบสร้อยเพชรแก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว ถือว่าคดีของโจทก์มีมูล และเนื่องจากโจทก์ได้ชำระหนี้ในส่วนของโจทก์แล้ว จึงไม่ต้องห้ามที่จะโจทก์จะฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ วรรคสาม ถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อกฎหมาย กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลต้องสืบพยานฝ่ายเดียวก่อนพิพากษา และศาลไม่ได้ใช้ดุลพินิจสั่งให้โจทก์นำสืบพยานฝ่ายเดียวก่อนมีคำพิพากษา ดังนี้ ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้จำเลยส่งมอบสร้อยเพชรแก่โจทก์ได้ทันที
-ตัวอย่างคำถาม (พร้อมคำอธิบายสำหรับการจัดทำแนวทางการเขียนคำตอบ ตาม ม.๑๙๘ ทวิ,๑๙๘ ตรี)
-ถาม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริต ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การว่า จำเลยที่ ๒ ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่จำเลยที่ ๒ มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ไม่ได้สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีสำหรับจำเลยที่ ๑ โดยขาดนัด ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลชั้นต้นถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
-แนวการเขียนตอบ เมื่ออ่านคำถามแล้ว อย่าไปมุ่งหาธงคำตอบในทันที ต้องถามตัวเองก่อนว่า กรรมการต้องการให้ตอบเรื่องอะไรบ้าง เมื่อเข้าใจแนวคิดของกรรมการผู้ออกข้อสอบแล้ว จะทำให้ตอบได้ตรงใจกรรมการ ซึ่งจะมีผลต่อคะแนนเป็นอย่างมาก เพราะมีจำนวนมากทีเดียวที่ตอบถูกธงแต่สอบไม่ผ่าน
-ในเรื่องนี้กรรมการเขาต้องการวัดความเข้าใจในการใช้กฎหมายเรื่องขาดนัดใหม่ ประเด็นก็คือ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว จำเลยนั้นจะขาดนัดพิจารณาอีกได้หรือไม่ คำถามให้ข้อเท็จจริงมาชัดเจน มีจำเลย ๒ คน จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การแต่ขาดนัดพิจารณา นักศึกษาเห็นประเด็นตัวละครแล้วก็สามารถคาดเดาได้ว่า การให้คะแนนนั้นจะแบ่งเป็นประเด็นละ ๕ คะแนน เมื่อได้แนวคิดแล้วนักศึกษาควรแยกตอบแต่ละประเด็นโดยจับคู่เป็นคู่ๆ เพราะหลักกฎหมายสำหรับจำเลยแต่ละคนแตกต่างกัน
-คู่แรก สำหรับโจทก์และจำเลยที่ ๑ ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ คู่นี้ต้องนำบทบัญญัติในส่วนที่ ๑ ว่าด้วยการขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้ ตามคำถามโจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่จำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา อันเป็นการรุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การพิพาทกันในเรื่องแดนกรรมสิทธิ์ถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ แม้จำเลยที่ ๑ จะขาดนัดยื่นคำให้การศาลก็ต้องสืบพยานก่อนตัดสินตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสอง ถึงวันนัดโจทก์และจำเลยที่ ๑ ไม่มาศาลและไม่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดี จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เป็นไปตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ ๑ ที่ไม่มาก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ ๑ ขาดนัดพิจารณา เป็นไปตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสี่ จะนำบทบัญญัติเรื่องขาดนัดพิจารณามาใช้ไม่ได้เพราะมาตรา ๒๐๐ บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา หมายความว่า ถ้าเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีที่ศาลจะต้องสืบพยานไปฝ่ายเดียวก่อนตัดสินเพื่อให้เห็นมูลคดีของโจทก์ตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี แล้วจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานจะไม่ถือว่าเป็นกรณีคู่ความขาดนัดพิจารณา กรณีที่โจทก์ไม่มาศาลเท่ากับโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นมูลคดีของโจทก์ มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคท้าย ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ส่วนกรณีที่จำเลยที่ ๑ ไม่มาศาล มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสี่ ไม่ให้ถือว่าจำเลยที่ ๑ ขาดนัดพิจารณา กรณีนี้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้
-คู่ที่ ๒ ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๒ ที่ยื่นคำให้การแต่ขาดนัดพิจารณา คู่นี้เมื่อจำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การแล้ว คดีจะมีประเด็นข้อพิพาทอันเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ การนัดสืบพยานสำหรับโจทก์และจำเลยที่ ๒ จะเป็นการสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การนำสืบของโจทก์นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นมูลคดีตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง และขณะเดียวกันก็ต้องนำสืบหักล้างข้ออ้างของจำเลยด้วย ไม่ใช่เป็นการสืบพยานฝ่ายเดียวเพื่อให้เห็นมูลคดีตามคำฟ้องอย่างกรณีสืบพยานฝ่ายเดียวในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เพราะกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จะไม่มีประเด็นที่จำเลยยกขึ้นแก้ฟ้องโจทก์เลย คงมีประเด็นตามคำฟ้องเท่านั้น การสืบพยานฝ่ายเดียวในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเป็นการสืบให้เห็นมูลคดีของโจทก์เท่านั้น ไม่ต้องสืบหักล้างข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะจำเลยไม่ได้ให้การแก้ฟ้องเลย สำหรับจำเลยก็เหมือนกัน จำเลยต้องสืบพยานแก้คำฟ้องของโจทก์และสืบพยานสนับสนุนข้ออ้างตามที่ตนให้การด้วย ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทกฎหมายในส่วนที่ ๒ ว่าด้วยการขาดนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยที่ ๒ ไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ก็เป็นเรื่องที่คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา มาตรา ๒๐๑ บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
-ดังนั้นธงคำตอบคือ กรณีโจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ขาดนัดยื่นคำให้การ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนโรงเรือนที่ปลูกรุกล้ำที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ เป็นอ้างหลักเรื่องแดนกรรมสิทธิ์ การพิพาทกันในเรื่องแดนกรรมสิทธิ์ถือว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ แม้จำเลยที่ ๑ จะขาดนัดยื่นคำให้การศาลก็ต้องสืบพยานก่อนตัดสินตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การและโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่งแล้ว ศาลจะต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสอง และในการสืบพยานดังกล่าว ถ้าจำเลยที่ ๑ ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสี่ มิให้ถือว่าจำเลยที่ ๑ ขาดนัดพิจารณา ส่วนโจทก์ถ้าไม่นำพยานหลักฐานมาสืบในวันนัดสืบพยาน มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคห้า ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลและให้ศาลพิพากษายกฟ้องของโจทก์ ศาลจะถือว่าการที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดีเป็นการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๐ ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติเรื่องคู่ความขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๐ จะต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ ขาดนัดพิจารณาและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับโจทก์และจำเลยที่ ๒ ที่ยื่นคำให้การ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติในหมวด ๒ ส่วนที่ ๒ ว่าด้วยการขาดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยที่ ๒ ไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี มาตรา ๒๐๐ ให้ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ๒ ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตามมาตรา ๒๐๑ บัญญัติว่า ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น ศาลจึงต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๒ ออกเสียจากสารบบความเพราะเป็นกรณีที่คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ ๒ ขาดนัดพิจารณาและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
-หมายเหตุ ถ้าสังเกตคำตอบนี้ จะเห็นได้ว่า เหตุผลในการตอบและหลักกฎหมายสามารถกล่าวไว้ด้วยกันได้ และการกล่าวถึงบทกฎหมายก็กล่าวเพียงเท่าที่จำเป็นตามที่คำถามให้ข้อเท็จจริงมาเท่านั้น ไม่ต้องเขียนกฎหมายทั้งมาตรา การตอบกฎหมายไม่จำเป็นต้องเขียนว่า มาตราใดบัญญัติไว้อย่างไร การเขียนบทกฎหมายแต่ละมาตราจะทำให้เสียเวลามาก และถ้าเขียนตัวบทได้แต่คำตอบไม่ได้ให้เหตุผลในการตอบตามบทกฎหมายที่เขียนไว้เลย ก็เท่ากับไม่มีเหตุผลในการตอบ กรรมการจะไม่ให้คะแนน การเขียนตัวบทได้แต่ตอบไม่มีเหตุผลจะไม่มีคะแนน หรืออย่างดีก็ได้ไม่เกิน ๑ หรือ ๒ คะแนนจึงต้องหมั่นฝึกการเขียนคำตอบด้วยจะช่วยได้มาก
-เปรียบเทียบระหว่าง ม.๑๙๘ ทวิ วรรค ๑ กับ ม.๒๐๖ วรรค ๑ และใน ม.๑๙๘ ทวิ วรรค ๒,๓ นำไปใช้กับคดีขาดนัดพิจารณาตาม ม.๒๐๖ ด้วย

*มาตรา ๑๙๘ ตรี ในคดีที่จำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นไปก่อนและดำเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ยื่นคำให้การต่อไปแต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ให้ศาลรอการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดำเนินการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ยื่นคำให้การเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสำหรับจำเลยทุกคน
ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานของคู่ความอื่น มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
อธิบาย
-การชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ ได้แก่กรรมสิทธิ์รวม ลูกหนี้ร่วม ลูกหนี้ชั้นต้นกับผู้ค้ำประกัน ผู้เอาประกันประผู้รับประกันภัยค้ำจุน เป็นต้น
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ผู้กู้และจำเลยที่ ๒ ผู้ค้ำประกันให้ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ ๑ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ามูลความแห่งคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ให้รอการพิพากษาไว้ก่อน เมื่อศาลดำเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เสร็จสิ้นแล้ว จะได้มีคำพิพากษาต่อไป ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ คู่ความทราบนัดโดยชอบแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ ๑ มาศาล ส่วนโจทก์และจำเลยที่ ๒ ไม่มีผู้ใดมา จำเลยที่ ๑ แถลงต่อศาลขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยจำเลยที่ ๑ ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อโจทก์และจำเลยที่ ๒ ขาดนัดพิจารณาและจำเลยที่ ๑ ไม่ประสงค์จะสืบพยาน จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จำเลยทั้งสองต่างยื่นอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสอง การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๔ สมัย ๖๐) กรณีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๐ วรรคหนึ่ง แต่จำเลยที่ ๑ ได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีส่วนของจำเลยที่ ๑ ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา ๒๐๒ เมื่อจำเลยที่ ๑ แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยคดีไปตามภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาท จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๘๑/๓๕, ๑๔๑๑/๔๑) ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ ฟังขึ้น กรณีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๒ การที่จำเลยที่ ๒ ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่มาศาลในวันสืบพยานระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๒ ไม่ถือว่าจำเลยที่ ๒ ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๑๙๘ ตรี วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยที่ ๒ ขาดนัดพิจารณา จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำเลยที่ ๑ แถลงขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป โดยจำเลยที่ ๑ ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยคดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ ไปตามภาระการพิสูจน์ และต้องพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความตามที่ฟ้อง และศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ ๒ ได้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้อุทธรณ์ของจำเลยที่ ๒ ฟังขึ้น
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ๓ ฉบับ ฉบับละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ศาลมีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ ในวันนัดสืบพยานโจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน โจทก์ส่งสัญญากู้ยืมเงินจำนวน ๓ ฉบับ ต่อศาล ศาลหมาย จ.๑ ถึง จ.๓ แล้วศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินหมาย จ.๑ และ จ.๒ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่สำหรับสัญญากู้ยืมเงินหมาย จ.๓ นั้น เห็นว่า โจทก์ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จึงยกคำขอส่วนนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ และไม่ได้นำสืบพยานหักล้างว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์อ้างส่งศาลเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินหมาย จ.๓ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง แล้ว มาตรา ๑๙๘ วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ ซึ่งมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ส่วนในวรรคสองบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ และในวรรคสามบัญญัติว่า ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน
ตามปัญหา ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้โจทก์สืบพยานไปฝ่ายเดียวก่อนพิพากษา เป็นการสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ตามที่เห็นว่าจำเป็น และเนื่องจากคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้งดสืบพยานบุคคลโดยให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานบุคคลก็ได้ แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีข้อความบังคับศาลว่าจะต้องพิพากษาไปตามคำขอของโจทก์ทุกประการ เพราะศาลชั้นต้นยังต้องพิจารณาว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคแรก ด้วย การที่มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสาม (๑) กำหนดให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดสืบพยานและให้ส่งพยานเอกสารแทนนั้นเป็นเพียงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคดีเท่านั้น เพราะแม้ว่าศาลชั้นต้นจะสั่งให้สืบพยานต่อไปฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นก็อาจพิพากษาให้ไม่เต็มตามคำขอของโจทก์ก็ได้ หากพยานเอกสารไม่เพียงพอหรือมีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังพยานเอกสารนั้น ซึ่งถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่มีมูลในส่วนที่ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดง หรือถือว่าฟ้องโจทก์ขัดต่อกฎหมายในส่วนที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังพยานเอกสารนั้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่า สัญญากู้ยืมเงินหมาย จ.๓ เป็นตราสารที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากรบัญญัติห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง เท่ากับว่าการกู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงินหมาย จ.๓ นั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือมาแสดง จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้แม้จะมีมูลแต่ก็เป็นฟ้องที่ขัดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าสัญญากู้ยืมเงินหมาย จ.๓ เป็นตราสารที่ไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างได้เอง และพิพากษาให้ยกคำขอดังกล่าวเสียได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

**มาตรา ๑๙๙ ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมิได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
ในกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามวรรคสอง หรือศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ตามคำขอของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ ตรี มาก่อน จำเลยนั้นจะขอยื่นคำให้การตามมาตรานี้อีกหรือจะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
อธิบาย
-มาตรานี้เป็นเรื่องขอให้ให้พิจารณาใหม่เพราะขาดนัดยื่นคำให้การก่อนศาลมีคำพิพากษา
-ฎ.๓๐๔๐/๕๒ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ในระหว่างสืบพยานได้ โดยจำเลยจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์นำพยานเข้าสืบ ๑ ปาก ไม่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยซึ่งมาศาลขอใช้สิทธิถามค้าน กระทั่งในวันสืบพยานโจทก์ปากสุดท้าย จำเลยมาศาล แต่ไม่ใช้สิทธิถามค้าน เพราะในบันทึกคำพยานโจทก์ดังกล่าว มีข้อความว่า "ตอบจำเลยถามค้าน (ไม่ถาม)" ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า หมดพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยก็ไม่โต้แย้งกลับลงชื่อรับทราบ ถือว่าจำเลยไม่ใช้สิทธิถามค้านแล้ว จึงเอาเหตุที่มิได้ถามค้านดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างในภายหลังว่า เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพื่อให้ศาลยกเลิกกระบวนพิจารณานั้นไม่ได้
-ฎ.๙๖๗/๔๓ จำเลยบวชพระอยู่ห่างจากบ้านประมาณ ๑ กม.ที่บ้านมีภรรยา และลูกๆอาศัยอยู่เมื่อ จนท.ส่งหมายก็ไม่ยอมรับหมายจนกระทั่งต้องปิดหมาย การที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ย่อมเป็นไปโดยจงใจ จึงไม่มีเหตุให้พิจารณาคดีใหม่และรับคำให้การจำเลย
-สังเกตข้อแตกต่าง ศาลไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การตาม ม.๑๙๙ วรรคหนึ่ง เท่ากับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ม. ๒๒๖ (คำขออนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความเพราะไม่ได้ตั้งประเด็น ส่วนการที่ศาลสั่งไม่รับคำให้การ เป็นการไม่รับคำคู่ความตาม ม.๑๘ อุทธรณ์ได้ทันทีตาม ม.๒๒๗ (เป็นการไม่รับเนื้อคำให้การที่ตั้งประเด็น)
-ฎ.๖๕๕๗/๓๙ โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินกู้ ๕๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าสัญญากู้ยืมปลอมนั้นเพราะจำเลยนำเอกสารสัญญากู้มาถามค้านแล้วโจทก์ไม่ตอบ(โจทก์ไม่ยอมรับ) เป็นกรณีที่จำเลยนำพยานเอกสารของตนมาสืบในระหว่างการพิจารณาฝ่ายเดียวซึ่งต้องห้ามตาม ม.๑๙๙ วรรคสองตอนท้าย ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น (แตกต่างกับบางฎีกาที่จำเลยสามารถนำเอกสารมาประกอบการถามค้านของตนได้ หากโจทก์ยอมรับก็สามารถฟังประกอบการถามค้านได้ ข้อเท็จจริงจะแตกต่างกัน)
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว ถึงวันนัดสืบพยาน โจทก์และจำเลยมาศาล ระหว่างการสืบพยาน จำเลยมิได้แถลงข้อความใดต่อศาลนอกจากยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ศาลสอบถาม เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นให้นัดฟังคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นในวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัด เพราะจำเลยเพิ่งทราบเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง แล้วพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ตามฟ้องให้วินิจฉัยว่า
(ก) คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยชอบหรือไม่
(ข) หากจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยจะมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๔ สมัย ๕๗)
(ก) จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมีสิทธิขออนุญาตยื่นคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง โดยจำเลยนั้นต้องมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และต้องแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี การที่จำเลยมาศาลโดยไม่แถลงข้อความใดต่อศาล นอกจากแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ศาลสอบถามจนกระทั่งศาลดำเนินการสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาเช่นนี้ ถือว่าจำเลยไม่ได้แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาจำเลยจึงมายื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยแล้ว ศาลชอบที่จะยกคำร้องของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยจึงชอบแล้ว (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๓๕/๒๑)
(ข) จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ แม้มาศาล แต่มิได้แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี ถือว่าเป็น กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคสอง แม้ต่อมาหากศาลพิพากษาให้จำเลยนี้แพ้คดีและจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยก็จะมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยนั้นต้องห้ามตามมาตรา ๑๙๙ ตรี (๒) ประกอบมาตรา ๑๙๙ วรรคสาม
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว ถึงวันนัดสืบพยาน จำเลยมาศาลและแจ้งต่อศาลว่าจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการสืบพยานโจทก์ต่อไป
ก) ระหว่างการสืบพยานโจทก์ จำเลยนำเอกสารฉบับหนึ่งที่มีข้อความว่า โจทก์ได้ให้อภัยในการกระทำอันเป็นเหตุฟ้องหย่าแล้วให้ตัวโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานดูประกอบการถามค้าน โจทก์รับว่าได้ทำเอกสารฉบับนี้จริง จำเลยขออ้างส่งเอกสารฉบับนี้ต่อศาล ดังนี้ ศาลจะรับเอกสารฉบับนี้มาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้หรือไม่
ข) ต่อมาหากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี และจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษานั้น จำเลยจะมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๔ สมัย ๕๕)
ก) การที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและขออนุญาตยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง นั้น หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร และมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว มาตรา ๑๙๙ วรรคสอง บัญญัติให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร การที่จำเลยนำเอกสารมาใช้ถามค้านตัวโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยาน และโจทก์รับว่าได้ทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นจริง จำเลยย่อมมีสิทธิส่งเอกสารฉบับนี้ต่อศาลได้ เพราะเป็นเอกสารประกอบการถามค้าน หาใช่กรณีที่จำเลยนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายข้างต้นไม่ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงรับเอกสารฉบับนี้มาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๑๒/๐๑ และ ๙๖๗๖/๓๙)
ข) การที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคสอง ต่อมาหากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จำเลยจะมิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษานั้นก็ตาม จำเลยก็จะมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙๙ ตรี (๒) ประกอบมาตรา ๑๙๙ วรรคสาม
-สรุปห้ามขอให้พิจารณาใหม่ตาม ม.๑๙๙ คือ ๑)ได้รับอนุญาตแล้วยังขาดนัดยื่นคำให้การอีกครั้ง ๒)ขาดนัดโดยจงใจ,มิได้แจ้งต่อศาลในโอกาสแรก,ไม่มีเหตุอันสมควร ๓)เคยได้รับอนุญาตให้พิจารณามาแล้ว

มาตรา ๑๙๙ ทวิ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ศาลอาจกำหนดการอย่างใด ตามที่เห็นสมควรเพื่อส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน หรือศาลจะให้เลื่อนการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นไปภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นให้บังคับตามมาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๙๒ และมาตรา ๓๑๗

**มาตรา ๑๙๙ ตรี จำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จำเลยนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เว้นแต่
(๑) ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว
(๒) คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย
อธิบาย
-ม.๑๙๙ ตรี เป็นการขอให้พิจารณาใหม่หลังคำพิพากษา
-ฎ.๗๑๓๗/๔๑ คดีไต่สวนอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทในเรื่องครอบครองปรปักษ์ ไม่ได้มีการแพ้คดีโดยการขาดนัดยื่นคำให้การตาม ม.๑๙๙ ตรี ไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
-ตาม ม.๒๐๗ นำมาตรานี้ไปใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณาด้วย
-ดูตัวอย่างคำถาม ข้อ (ข) ในมาตรา ๑๙๙ ประกอบด้วย

*มาตรา ๑๙๙ จัตวา คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนจะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
คำขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย
อธิบาย
-มาตรา ๑๙๙ จัตวาเป็นเรื่องหลักเกณฑ์การขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อเนื่องจาก ม.๑๙๙ ตรี
-ฎ.๖๑๑๔/๓๘ จะอุทธรณ์หรือฎีกาให้ศาลสูงสั่งให้ศาลล่างมีการพิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้
-ฎ.๒๔๓๓/๒๓ ระยะเวลา ๑๕ วันหรือ ๖ เดือนแล้วแต่กรณีนั้น เริ่มนับได้ต่อเมื่อได้ส่งคำบังคับแล้วโดยชอบเท่านั้น และใช้บังคับเฉพาะจำเลยผู้ถูกยึดทรัพย์หรือถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องศาลมีคำสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพราะโจทก์กับพนักงานเดินหมายสมคบกันหลอกลวงศาลโดยทำรายงานว่าจำเลยไม่มีภูมิลำเนาตามฟ้อง จนศาลหลงเชื่อได้ประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยที่ ๑ มีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิมซึ่งโจทก์ทราบดีทำให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสอง หลังจากนั้น ๗ เดือน โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนในโฉนดที่ดินแล้ว จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเมื่อกลับจากต่างประเทศ จึงขอให้พิจารณาคดีใหม่ใน ๑๐ วัน ศาลยกคำร้องอ้างว่ายื่นเกิน ๖ เดือน นับแต่มีการบังคับคดีโดยวิธีอื่น ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชอบหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ สมัย ๓๕) มาตรา ๑๙๙ จัตวา บัญญัติว่า คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ให้ยื่นต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ... ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนด ๖ เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
การขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ว่าในกรณีปกติหรือในกรณีที่มีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ระยะเวลาในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน ๑๕ วัน หรือภายใน ๖ เดือน แล้วแต่กรณี นั้น จะเริ่มบังคับต่อเมื่อได้มีการส่งคำบังคับโดยชอบแล้ว หากไม่มีการส่งคำบังคับโดยชอบแล้วจำเลยจะยื่นคำขอพิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๑๙๙ จัตวา
ตามปัญหาจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่า โจทก์กับพนักงานเดินหมายสมคบกันหลอกลวงศาลโดยรายงานว่าจำเลยไม่มีภูมิลำเนาตามฟ้อง จนศาลหลงเชื่อได้ประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยที่ ๑ มีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิมซึ่งโจทก์ทราบดี ถ้าหากเป็นความจริงดังที่จำเลยอ้าง การส่งคำบังคับให้จำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ระยะเวลาในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน ๑๕ วัน หรือภายใน ๖ เดือน แล้วแต่กรณีจึงยังไม่เริ่มนับ คำขอของพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามในเรื่องกำหนดเวลา ที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องเกิน ๖ เดือน จึงไม่ชอบ ( อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๓๓/๒๕๒๓ )
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ให้รับผิดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ให้จำเลยที่ ๒ รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี โดยมีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองโดยปิดประกาศหน้าศาลเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๗ การส่งคำบังคับจะมีผลต่อเมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วัน ได้ล่วงพ้น ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ ต่อมาวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๗ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๗ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยที่ ๑ ต่อมาวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ต่างยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยบรรยายรายละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่ได้ขาดนัด ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ามาด้วย ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะรับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ สมัย ๔๗) คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์นั้นเป็นการยื่นเกินกำหนด ๖ เดือน นับวันที่มีการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ ๑ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๑ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ จัตวา ( อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๕๒/๒๕๓๖ )
สำหรับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๒ นั้น บทบัญญัติที่ห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกำหนด ๖ เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ตามความในตอนท้ายของมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง นั้น หมายถึงเฉพาะจำเลยผู้ที่ถูกยึดทรัพย์หรือถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นเท่านั้น ข้อกำหนด ๖ เดือน จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๒ ซึ่งยังไม่ได้ถูกบังคับคดีด้วย จำเลยที่ ๒ จึงมีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ดังนี้ ศาลจะต้องมีคำสั่งให้ยกคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๑ เพราะยื่นเกินกำหนดเวลา และมีคำสั่งให้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๒ ไว้พิจารณาต่อไป
-ตัวอย่างคำถาม (ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา) โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของจำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โดยศาลชั้นต้นออกคำบังคับกำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน ๓๐ วัน ซึ่งสามารถส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมาย ณ ที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ ต่อมาวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ ๒ บรรยายคำร้องไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ต่อมาวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ต่างยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยบรรยายคำร้องมาครบถ้วนตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ อ้างเหตุที่เพิ่งยื่นคำร้องล่าช้าเพราะจำเลยที่ ๑ ได้ไปพักอาศัยอยู่ที่อื่น เพิ่งไปพบคำบังคับที่หน้าบ้านเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จึงมายื่นคำร้องในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ส่วนจำเลยที่ ๒ อ้างว่า จำเลยที่ ๒ ขอคัดสำเนาสำนวนคดีจากศาลและเพิ่งได้รับสำเนาสำนวนคดีดังกล่าวจากเจ้าพนักงานศาลเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ทำให้ไม่สามารถตรวจดูสำนวนคดีและคำพิพากษาของศาลได้ก่อนนั้น
ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะรับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ไว้พิจารณาได้หรือไม่ และจะต้องสั่งคำร้องดังกล่าวอย่างไร
ธงคำตอบ สำหรับจำเลยที่ ๑ ศาลส่งคำบังคับโดยวิธีปิดหมายไว้ที่บ้านของจำเลยที่ ๑ ตามสำเนาทะเบียนบ้านเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ การส่งคำบังคับมีผลเมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วันนับแต่เวลาที่ปิดคำบังคับได้ล่วงพ้นไป ซึ่งจะครบกำหนดเวลา ๑๕ วัน นับแต่ส่งคำบังคับในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จำเลยจำเลยที่ ๑ มายื่นคำร้องในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ เกินกำหนดเวลาตามที่มาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ จำเลยที่ ๑ จะนำระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับอีก ๓๐ วัน มารวมกับระยะเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันปิดคำบังคับตามมาตรา ๗๙ ไม่ได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๑๒/๒๕๓๖) ส่วนที่จำเลยที่ ๑ อ้างว่าจำเลยที่ ๑ ไปพักอาศัยอยู่ที่อื่นเพิ่งพบคำบังคับที่หน้าบ้านนั้นไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันจะทำให้จำเลยที่ ๑ สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง เหตุที่ไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ก็เพราะจำเลยที่ ๑ ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใดและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าจำเลยที่ ๑ เพิ่งมาพบคำบังคับวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๔๐/๒๕๔๕ ) จำเลยที่ ๑ ต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่มีการส่งคำบังคับตามมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ ๑ เพิ่งยื่นคำขอในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ศาลชั้นต้นไม่อาจรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๑ ไว้พิจารณาได้ ต้องสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๑
สำหรับจำเลยที่ ๒ ครบกำหนดที่จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๒ ได้ไปคัดถ่ายสำเนาสำนวนคดีนี้จากศาล แต่เจ้าพนักงานศาลล่าช้าถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๓๓/๒๕๓๒ ) แต่แม้ว่าจะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เกิดขึ้นก็ตาม การที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เพราะเหตุว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จะต้องเป็นกรณีที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นมีผลตลอดเวลาจนทำให้ไม่สามารถจะยื่นคำขอได้ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ ๒ ตามมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ ได้รับสำเนาสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานศาลเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ยังเหลือเวลาอีก ๗ วัน ที่จำเลยที่ ๒ จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ ๒ ได้ จำเลยที่ ๒ จึงต้องยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ ๒ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ( อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๘๒/๒๕๓๙ ) แม้จำเลยที่ ๒ จะเคยยื่นคำขอมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดังกล่าวไปแล้วก็ตาม จำเลยที่ ๒ ก็สามารถยื่นคำขอฉบับใหม่ได้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๒ นั้นไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี แต่จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องฉบับที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ศาลชั้นต้นไม่อาจรับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ ๒ ไว้พิจารณาได้ จึงต้องมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าวเช่นกัน

*มาตรา ๑๙๙ เบญจ เมื่อศาลได้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และศาลเห็นว่าเหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ทั้งในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้นผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ในกรณีเช่นนี้ ถ้ามีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ทราบด้วย
เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามวรรคสองคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่น ๆของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว และให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับเช่นนั้น เพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลพิจารณาคดีนั้นใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเหตุให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมมากกว่าที่ควรจะต้องเสีย ค่าฤชาธรรมที่เพิ่มขึ้นนั้นให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอันไม่จำเป็นตามความหมายแห่งมาตรา ๑๖๖
อธิบาย
-ฎ.๒๗๓๖/๒๘ คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมก่อให้เกิดผลคำพิพากษา และการบังคับคดีจะถูกเพิกถอนไปด้วย โดยไม่ต้องสั่งเพิกถอนคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม แต่บัญชีระบุพยานที่ยื่นไว้เดิมยังใช้ได้ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย
-คร.(ป) ๒๑๑๕/๔๖ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การจำเลยเนื่องจากยื่นเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ และกรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายจำกัดสิทธิในการฎีกา จำเลยจึงยังมีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลย แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว จำเลยที่ ๑ มาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ ๑ จงใจขาดนัด จึงไม่อนุญาตให้จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคสอง จำเลยที่ ๑ ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๒๖(๒) ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี จำเลยที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามาตรา ๑๙๙ ตรี ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยที่ ๒ ขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการขาดนัดของจำเลยทั้งสองเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร จึงพิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัด ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองได้หรือไม่
ธงคำตอบ สำหรับจำเลยที่ ๑ ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง เป็นการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การเพราะเห็นว่าจำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งระหว่างพิจารณา ที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำสั่งศาลดังกล่าวเป็นที่สุดไม่ เมื่อจำเลยที่ ๑ ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๖(๑) แล้ว จำเลยที่ ๑ ย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามมาตรา ๒๒๖(๒) แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษายืนโดยเห็นว่าจำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็หาได้เป็นที่สุดตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ บัญญัติไว้ไม่ เพราะมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ จะให้บังคับแก่กรณีจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การและศาลพิพากษาให้แพ้คดีใช้สิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ ตรี อันเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น หาได้ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีด้วยไม่ เมื่อกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่จำกัดสิทธิในการฎีกา จำเลยที่ ๑ จึงมีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๗ ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ ๑
สำหรับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นพิพากษาให้แพ้คดี จำเลยที่ ๒ ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ จำเลยที่ ๒ อาจจะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา ๑๙๙ ตรี เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เพราะเห็นว่าจำเลยที่ ๒ จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ ๒ ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ตามมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ ๒ ไม่มีสิทธิที่จะยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้อีกต่อไป ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ ๒ อ้างคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๒๑๑๕/๒๕๔๖ (ประชุมใหญ่)
-คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ถือเป็นคำฟ้องตาม ม.๑(๓) ต้องส่งสำเนาอีกฝ่ายด้วย
-ข้อสังเกตเรื่องการขอให้พิจารณาคดีใหม่
๑) ก่อนศาลพิพากษา ตาม ม.๑๙๙ กฎหมายใช้คำว่าดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ(กรณีศาลมีความเห็นว่าไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และอนุญาตยื่นคำให้การ) กรณีศาลเห็นว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การตาม ม.๑๙๙ วรรค๒ จำเลยได้แต่ถามค้าน นำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ และตาม วรรค ๓ ขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
๒) หลังคำพิพากษา เป็นเรื่องแพ้เพราะการขาดนัด หลักร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ตาม ม.๑๙๙ ตรี และ ๑๙๙ จัตวา ซึ่งไม่ได้เฉพาะหากเคยขอมาครั้งหนึ่งแล้ว ,ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว,คำขอต้องห้ามเช่น ม.๑๙๙ วรรค ๓ การยื่นหลังคำพิพากษาใน ๑๕ วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ แต่ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษก่อนครบ ๑๕ วัน นับ ๑๕ วันแต่พฤติการณ์พิเศษหมดสิ้นไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๖ เดือนนับแต่วันยึดทรัพย์(ไม่ใช่วันขายทอดตลาดทรัพย์นั้น
-พฤติการณ์พิเศษเช่นป่วยไข้เพราะอุบัติเหตุ , จนท.ศาลหาสำนวนไม่พบ เป็นต้น แต่กรณีตนหลบหนีคดีอาญาจะอ้างพฤติการณ์พิเศษไม่ได้
-ข้อสรุปการขอให้พิจารณาคดีใหม่
๑. การขอให้พิจารณาคดีใหม่เพราะจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
๑.๑ ก่อนพิพากษา ม.๑๙๙ เพียงแสดงให้ศาลเห็นว่า ขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจ หรือมีเหตุอันสมควร
๑.๒ หลังคำพิพากษาตาม ม.๑๙๙ จัตวาวรรค ๒ ต้องประกอบด้วยเหตุผล ๓ อย่างคือ(๑)กล่าวชัดแจ้งเหตุที่ขาดนัด(๒)แสดงว่าหากศาลให้พิจารณาใหม่ตนอาจชะคดี และ(๓)แสดงเหตุที่ล่าช้า(กรณียื่นคำขอล่าช้า) ซึ่งต้องเป็นพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้
๒. แพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาแล้วขอให้พิจารณาคดีใหม่
๒.๑ ก่อนพิพากษา(อยู่ระหว่างพิจารณาฝ่ายเดียว) ม.๒๐๖ วรรค ๓ (เทียบ ม.๑๙๙)
๒.๒ หลังพิพากษา ม.๒๐๗ ให้นำ ม.๑๙๙ จัตวามาใช้ด้วย

มาตรา ๑๙๙ ฉ ในกรณีที่โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ ๑ นี้มาใช้บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งเช่นว่านั้นโดยอนุโลม


ส่วนที่ ๒
การขาดนัดพิจารณา

*มาตรา ๒๐๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว
อธิบาย
-การดำเนินกระบวนพิจารณาจะแยกการขาดนัดยื่นคำให้การออกจากการขาดนัดพิจารณาอย่างเด็ดขาด ถ้าจำเลยคนใดไม่ยื่นคำให้การในกำหนด ถือว่าจำเลยคนนั้นขาดนัดยื่นคำให้การ กระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยคนนั้นจะใช้กระบวนพิจารณาในส่วนที่ ๑ เรื่อง การขาดนัดยื่นคำให้การตลอดไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จะนำบทบัญญัติเรื่องการขาดนัดพิจารณามาใช้ร่วมด้วยไม่ได้เลย จำเลยคนใดยื่นคำให้การแต่ขาดนัดพิจารณา กระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยคนนั้นจะบังคับด้วยส่วนที่ ๒ เรื่อง การขาดนัดพิจารณาตลอดไป จะนำบทบัญญัติเรื่องการขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้ร่วมไม่ได้เช่นเดียวกัน จะนำบทบัญญัติเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้ได้เฉพาะกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้นำบทบัญญัติเรื่องการขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้โดยอนุโลมเท่านั้น เช่น ตามมาตรา ๒๐๗ บัญญัติให้นำมาตรา ๑๙๙ ทวิ มาตรา ๑๙๙ ตรี มาตรา ๑๙๙ จัตวา และมาตรา ๑๙๙ เบญจ มาใช้โดยอนุโลม
-คำว่าวันสืบพยานคือวันแรกที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานจริงๆ
-คำว่าภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ,๑๙๘ ตรี หมายความว่าถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แล้วขาดนัดพิจารณา วิธีการการขาดนัดพิจารณานำมาใช้กับคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้ และหากโจทก์ไม่มาวันสืบพยานในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลยกฟ้องตาม ม.๑๙๘ ทวิวรรค ๕ เท่านั้น
-แม้คู่ความมาศาลแต่มาช้า หรือมาแต่ไม่ได้เข้าห้องพิจารณาก็ถือว่าไม่มาศาล และวันสืบพยานวันแรกอาจเป็นการเดินเผชิญสืบที่เกิดเหตุก็ได้
-ฎ.๘๖๓/๙๔ จำเลยฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ถือว่าขาดนัดทั้งสองฐานะ ศาลพิจารณาฝ่ายเดียวตาม ม.๒๐๔ และจำหน่ายคดีตาม ม.๒๐๒ ได้
-คำอธิบายเรื่องการขาดนัดพิจารณากรณีฟ้องแย้ง
คดีที่มีการฟ้องแย้ง โจทก์และจำเลยจะมี ๒ ฐานะ คือ โจทก์จะมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องเดิมและมีฐานะเป็นจำเลยในส่วนฟ้องแย้ง ส่วนจำเลยมีฐานะเป็นจำเลยในส่วนฟ้องเดิม และมีฐานะเป็นโจทก์ในส่วนฟ้องแย้ง การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และจำเลยจะขาดนัดทั้งสองฐานะ
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ที่ ๑ ถึงโจทก์ที่ ๕ ฟ้องว่า โจทก์ที่ ๑ เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน กก ๑๒๓๔ กรุงเทพมหานคร ส่วนโจทก์ที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นผู้โดยสารที่นั่งมาในรถยนต์ดังกล่าว จำเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ เป็นเจ้าของรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน ขข ๕๖๗๘ กรุงเทพมหานคร ส่วนจำเลยที่ ๓ เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๑ ขับรถยนต์ของจำเลยที่ ๒ ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยขับเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด และชนรถยนต์ของโจทก์ที่ ๑ ทำให้รถยนต์ของโจทก์ที่ ๑ เสียหายเป็นอย่างมาก โจทก์ที่ ๑ ต้องเสียค่าซ่อมเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และโจทก์ที่ ๑ ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนโจทก์ที่ ๒ ถึงที่ ๕ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลคนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เหตุละเมิดเกิดในระหว่างที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลคุ้มครอง โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ ๑ เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ ๒ ถึงที่ ๕ คนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ ๑ แต่ฝ่ายเดียว ที่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่หยุดหรือชะลอความเร็วขณะแล่นผ่านทางร่วมทางแยก โจทก์ทั้งห้าไม่ได้รับความเสียหายตามที่ฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท ความเสียหายเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ ๑ แต่เพียงฝ่ายเดียวที่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่หยุดหรือชะลอความเร็วขณะแล่นผ่านทางร่วมทางแยก ทำให้ชนรถยนต์ของจำเลยที่ ๒ ขณะที่แล่นผ่านทางร่วมทางแยก จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งห้า นอกจากนี้การกระทำโดยประมาทของโจทก์ที่ ๑ ทำให้รถยนต์ของจำเลยที่ ๒ เสียหายต้องซ่อมเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้ยกฟ้อง และให้โจทก์ที่ ๑ ชำระค่าเสียหายจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ ๓ ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ ๑ เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ ๒ ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ ๑ กระทำด้วย ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ ในวันนัดสืบพยาน โจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ ๑ กับที่ ๓ ไม่มาศาล จำเลยที่ ๒ แถลงขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่ ๒ ตามฟ้องแย้ง โดยจำเลยที่ ๒ ไม่ขอสืบพยาน ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ทั้งห้า จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ ๒ แถลงไม่ขอสืบพยาน จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความให้วินิจฉันว่าคำสั่งของศาลชอบหรือไม่ แนวคำตอบ มาตรา ๒๐๐ บัญญัติว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา

ป.วิ แพ่ง น.5


    

   
 
เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

 BTCTHB ชาร์และราคา

  
  

 

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld